พระพุทธศาสนาภายใต้วัฒนธรรมทุนนิยมเสรี ที่มา : ดร.ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ราวสิบกว่าปีมาแล้ว สื่อมวลชนในยุโรปได้แถลงกันยกใหญ่ว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่จะเติบโตเร็วที่สุดในสมัยศตวรรษที่ 21 เพราะเห็นว่ากระแสผู้นับถือเติบโตเร็วมากทั้งในทวีปยุโรป, ออสเตรเลีย และอเมริกาเหนือ ไม่ว่าฝรั่งเศส, เยอรมนี, อิตาลี, อังกฤษ, สเปน, ออสเตรเลีย ฯลฯ วัดวาอารามผุดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง คนเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการนำพระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศฝรั่งเหล่านี้แต่ไหนแต่ไรมาส่วนมากแล้วนับถือศาสนาคริสต์มาก่อน และกระแสชาวคริสต์หันมานับถือพระพุทธศาสนานี้ก็ก่อตัวอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 19 ประเทศยุโรปบางแห่ง เช่น อิตาลีได้มีการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ ยกพระพุทธศาสนาให้เป็นหนึ่งในศาสนาสำคัญของชาติ ไม่ต่างอะไรกับศาสนาคริสต์ สมเด็จพระสันตปาปา จอห์น ปอล ที่สองซึ่งเป็นประมุขของคริสตจักร นิกายโรมันคาทอลิก ทรงมองเห็นกระแสดังกล่าว ครั้งได้ประทานสัมภาษณ์แก่วิตโดริโอ เมสซุรี่ นักเขียนและนักสื่อมวลชนที่มีชื่อของอิตาลี เมื่อ ค.ศ. 2536 อันเป็นช่วงที่มีการเฉลิมฉลองครบ 15 นับแต่ที่พระองค์ได้ ทรงรับเลือกให้ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสันตปาปา จึงทรงตั้งพระทัยวิพากษ์วิจารณ์เนื้อหาพระพุทธศาสนาอย่างตรงๆ ต่อมาบทประทานสัมภาษณ์ซึ่งมีหลายตอนนี้มาพิมพ์รวมเล่มในรูปหนังสือชื่อ Crossing the Threshhold of Hope (London, Jonathan Cape, 1994) มีทั้งหมด 244 หน้า (รวมดรรชนีคำศัพท์) ตอนที่ทรงวิพากษ์วิจารณ์คำสอนพระพุทธเจ้า (ซึ่งทรงเข้าพระทัยผิดๆ อยู่มาก) อยู่ในบทที่ 12 มีทั้งหมด 7 หน้า (ตั้งแต่หน้า 84-90) สาเหตุที่ทรงวิจารณ์พระพุทธศาสนา มีกล่าวชัดในบทประทานสัมภาษณ์ กล่าวคือทรงต้อง การเตือนสติชาวคริสต์ทำนองว่าไม่ควรด่วนเข้าไปนับถือคำสอนพระพุทธศาสนา แต่ควรใช้วิจารณญาณ (For this reason, it is not inappropriate to caution those Christians who enthusiastically welcome certain ideas originating in the religious traditions of the Far East, pp.89-90) ที่เป็นดังนี้ เพราะกระแสคนหันมานับถือพระพุทธศาสนา และช่วยกันเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างแข็งขันในยุโรป ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมักเป็นชาวคริสต์มาก่อน หลายคนเคยเป็นบาทหลวงระดับสูง ต่อมาก็มีฝรั่งนักวิชาการชาวพุทธหลายคนทั้งพระ ทั้งฆราวาส ซึ่งเคยเป็นชาวคริสต์มาก่อน ได้เขียนตอบโต้พระองค์ลงวารสารต่างๆ มากมาย ที่โดดเด่นก็ คือ กลุ่มพระสงฆ์ชาวอิตาเลี่ยนในอิตาลี นำโดย พระฐานวโร ได้เข้าเฝ้าเพื่อทูลชี้แจงให้สมเด็จพระสันตปาปาทรงทราบด้วยซ้ำว่าทรงอธิบายพระพุทธศาสนาผิด ๆ ยุโรปตอนนี้จึงเหมือนอินเดียครั้งพุทธกาล ศาสนาเดิมที่ผู้คนนับถือคือศาสนาพราหมณ์ แต่เมื่อพระพุทธเจ้าทรงประกาศพระศาสนาก็มีผู้เคยนับถือศาสนาพราหมณ์มานับถือ และขวนขวายเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นการใหญ่ ที่จริงแล้ว พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงเดือดเนื้อร้อนพระทัยว่าใครจะหันมานับถือศาสนาของพระองค์หรือไม่ ทรงสอนให้ผู้ฟังเทศน์ของพระองค์รู้จักไตร่ตรองหาเหตุผลให้รอบคอบก่อนถึงจะเชื่อ หลายคนที่หันมานับถือคำสอนของพระองค์เคยให้ความอุปถัมภ์ศาสนาอื่นมาก่อนก็มี พระองค์ก็ทรงแนะให้คนเหล่านี้กลับไปคิดให้รอบคอบก่อนตัดสินใจ มิหนำซ้ำพระองค์ยังคงแนะให้บรรดาผู้หันมานับถือพระพุทธศาสนาเหล่านี้ยังคงอุปถัมภ์บำรุงศาสนาอื่นๆ ที่ตนเคยนับถือตามปกติไปด้วย แต่เดิม ศาสนาคริสต์ถูกลัทธิมาร์กซ์โจมตีอย่างรุนแรงมาร์กซ์ได้ประณามศาสนาว่า คือยาเสพติด เพราะสอนให้ประชาชนศรัทธาแบบหัวปักหัวปำโดยไม่ใช้ปัญญาไตร่ตรอง หลายอย่างขัดแย้งหลักวิทยาศาสตร์ เช่น โลกแบน, โลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล ฯลฯ นักวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบความจริงใหม่ ๆ หลายคนถูกศาสนจักรลงโทษจนตายในคุก แต่เมื่อพระพุทธศาสนาเข้าสู่ยุโรป พระพุทธศาสนาได้สอนให้ปัญญาชนชาวยุโรปได้เข้าใจความหมายของ Religion เสียใหม่ว่า ศาสนาของพระพุทธเจ้าคือคำสอน ซึ่งทรงสอนให้ผู้ฟังใช้ปัญญาพิจารณาอย่างถ่องแท้ก่อนจะปลงใจเชื่อ ไม่ใช่เทวโองการ (Gospel)จากพระเจ้าซึ่งแย้งไม่ได้ พระสงฆ์หรือพุทธสาวกก็มิใช่มิชชันนารี ซึ่งมีภารกิจหลักคือจาริกไปชี้ชวนให้ใครต่อใครมานับถือพระศาสนา พระสงฆ์หรือพุทธสาวกมีหน้าที่เพียงอธิบายคำสอนของพระพุทธเจ้าให้ คนที่สนใจฟังเท่านั้น ใครไม่สนใจฟัง ชาวพุทธก็ไม่เคยใช้กฎหมายหรือรัฐธรรมนูญบังคับให้นับถือ ไม่เคยตั้งกองทุนให้การศึกษาฟรี แล้วสร้างเงื่อนไขให้ผู้รับทุนเปลี่ยนมาเป็นชาวพุทธ ไม่เคยสร้างที่พักอาศัยให้หรือแจกทานให้อาหารฟรีๆ แล้ววางเงื่อนไขให้คนมาขออาศัยตนต้องหันมานับถือศาสนาในภาวะจำยอม ขณะที่ศาสนาคริสต์ต้องใช้ความพยายาม อย่างหนักเพื่อดึงศรัทธาชาวยุโรปให้นับถือเหมือนเดิม ในเวลาเดียวกัน ก็พยายามแสวงหาผู้นับถือใหม่ๆ ในประเทศเอเชียให้มากยิ่งขึ้น การเผยแพร่หนังสือ
พุทธศาสนาเป็นคำสอนที่เป็นสากล บุคคลไม่ว่าจะเคยมีความเชื่ออย่างไร เมื่อได้ศึกษาพุทธศาสนาอย่างถ่องแท้แล้วจะพบว่าเป็นสัจธรรมที่คงทนและท้าทายต่อการพิสูจน์
อนุโมทนาครับ .... เราก็เป็นเมืองพุทธศาสนา อย่างแท้จริง เป็นศาสนาที่เป็นกลางไม่ได้โจมตีใคร.. เป็นเรื่องการศึกษา ความเข้าใจ เกี่ยวกับตัวตน เน้นการพึงตนเองมากที่สุด อริยสัจ๔ (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) ทางสายกลาง ยึดพระไตรปิฎกเป็นหลัก มีของดี ๆ อย่างนี้ ผมเป็นคนไทยคนหนึ่งจะยอมถวายชีวิตเพื่อพระธรรมของพระพุทธเจ้า รับใช้ศาสนาเท่าที่ผมทำได้ เพื่อสืบสานพระพุทธศาสนาให้อยู่ในแผ่นดินไทยสืบไป
ขอแบบเรื่อยๆแต่นานๆและมั่นคง เริ่มจากตัวพวกเราก่อน คนในสังคมทั้งหลาย โดยเฉพาะเด็กเล็กที่สำคัญในภายภาคหน้า พุทธวิถีจะเป็นสุดยอดก็ต่อเมื่อพวกเราลงมือกระทำด้วยตนเอง อแนโมทนาสาธุ
นโม พรหมรังสิโย โพธิสัตโต หลวงปู่โตเคยเทศน์ไว้ ว่าพระพุทธศาสนาบ้านเราจะเป็นเหมือน สากกระดวน ตำข้าว คือจะคอดตรงกลางจนขาด แล้วจะไปบานอีกปลายที่เมืองคนเผือกตาน้ำข้าว พระไตรปิฏกเถรวาทและของอุตรนิกายตอนนี้เยอรมันก็ทำเก็บในรูปไมโครฟิล์มเรียบร้อยแล้ว ในฝร้่งเศษก็เกิดพุทธมามกมากมาย อนุโมทนา
สวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม สนฺทิฏฺฐิโก อกาลิโก เอหิปสฺสิโก โอปนยิโก ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิติ พระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว อันผู้ได้บรรลุพึงเห็นเอง ไม่เป็นไปตามกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาใส่ใจ อันวิญญูชนพึงรู้ได้เฉพาะตน
โมทนาสาธุกับคุณ เจ.สยามล ที่นำสิ่งที่น่าโมทนามาให้ทราบ ดีใจด้วยครับกับทุกชาติทุกภาษาที่หันมานับถือพระพุทธศาสนา ยิ่งมีคนนับถือมาก โลกก็จะยิ่งร่มเย็นมาก ตามพุทธทำนาย บ้านเมืองใดที่นับถือพระพุทธศาสนาจะปลอดภัย จากยักษ์นอกศาสนาที่จะรบราฆ่าฟันกัน สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ