พุทธศาสนา มุ่งชี้อะไร เป็นอะไร (โดยหลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ)

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย trilakbooks, 29 พฤศจิกายน 2011.

  1. trilakbooks

    trilakbooks เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,357
    ค่าพลัง:
    +414
    [​IMG]
    คู่มือมนุษย์ เรื่องที่ ๒

    พุทธศาสนา มุ่งชี้อะไร เป็นอะไร

    (โดยหลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ)



    พุทธศาสนา คือ วิชารวมทั้งระเบียบปฏิบัติ สำหรับจำให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไร

    ขอให้เข้าใจในคำจำกัดความนี้ให้มากเป็นพิเศษ เพื่อที่จะเข้าใจพุทธศาสนาได้โดยเร็วและโดยง่าย ๑๔





    ท่านทั้งหลาย ลองพิจารณาดูว่า ท่านรู้จักอะไรเป็นอะไร กันหรือเปล่า

    แม้จะรู้ว่าตัวเองเป็นอะไร ชีวิต

    การงาน หน้าที่ อาชีพ เงินทองข้าวของ เกียรติยศ

    ชื่อเสียงคืออะไรก็ตาม ... ใครกล้ายืนยันว่ารู้ถึงที่สุดบ้าง



    ถ้าเรารู้ว่าอะไรเป็นอะไรจริงๆ แล้ว

    เราย่อมไม่ปฏิบัติผิดต่อสิ่งทั้วปวง เมื่อปฏิบัติถูก

    แล้วก็เป็นอันแน่นอนว่า ความทุกข์จะเกิดขึ้นไม่ได้

    เดี๋ยวนี้ เรายังไม่รู้ว่า มันป็นอะไร

    เราจึงปฏิบัติผิดไม่มากก็น้อย ความทุกข์ก็เกิดขึ้นตามส่วนการปฏิบัติหลักของ

    พระพุทธศาสนา ก็คือ ปฏิบัติเพื่อให้รู้ว่า สิ่งทั้งปวงคืออะไร

    เมื่อรู้แจ้งแท้จริง ก็ย่อมหมายถึงการบรรลุมรรคผลขั้นใดขั้นหนึ่ง

    หรือ ขีดสุด เพราะความรู้นั่นเอง เป็นตัวทำลายกิเลสไปในตัว ๑๕







    เมื่อรู้ว่าสิ่งทั้งปวงเป็นอะไรจริงๆ แล้ว ความเบื่อหน่าย

    คลายความอยาก และความหลุดพ้นทุกข์ ย่อมจะเกิดขึ้นเอง

    โดยอัตโนมัติ

    เราทำความเพียรปฏิบัติก็แต่ขั้นที่ยังไม่รู้อะไรเป็นอะไร

    กันเท่านั้น โดยเฉพาะก็ในขั้นที่ยังไม่รู้ว่าสิ่งทั้งหลายนี้ไม่เที่ยง

    ไม่ใช่ตัวตน ขณะนี้เราไม่รู้ว่าชีวิตหรือสิ่งทั้งปวงที่เรากำลัง

    หลงรักใคร่ยินดีนี้ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จึงหลงรัก ยินดี ติดพัน

    ยิดถึงในสิ่งเหล่านั้น ครั้นรู้จริงตามวิธีของพระพุทธศานา

    คือมองเห็นชัดว่าสิ่งทั้งปวงไม่เที่ยง เป็นทุกข์

    ไม่ใช่ตัวตน ไม่มีอะรน่าผูกมัดตัวเรา เข้าไปกับสิ่งนั้นๆ

    จริงๆแล้ว จิตก็จะเกิดความหลุดพ้นจากอำนาจ

    ครอบงำของสิ่งเหล่านั้นขึ้นมาทันที ๑๖









    ขอยืนยันในคำจำกัดความข้อนี้ว่า เป็นคำจำกัดความ

    ที่เพียงพอและเหมาะสม สำหรบท่านทั้งหลายจะเอาไปใช้สำหรับ

    ดำเนินการปฏิบัติของตน เพราะเหตุว่าหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า

    ทั้งพระไตรปิฎก ก็ล้สนแต่เป็นการบ่งระบุให้รู้ว่า อะไรเปนอะไร เท่านั้นเอง

    เช่นหลักเรื่องอริยสัจจ์ ๔ ประการ ซึ่งจะนำมาเปรียบกับคำจำกัดความดังกล่าว

    เพื่อดูว่าจะลงรอบกันได้เพียงใด ๑๗





    อริยสัจจ์ข้อที่ ๑

    แสดงว่า สิ่งปรุงแต่งทั้งปวงเป็นทุกข์

    นี่ก็คือบอกตรงๆ ว่า สิ่งทั้งปวงเป็นอะไรนั่นเอง

    สิ่งปรุงแต่ง ทั้งปวงเป็นที่ตั้งแห่งความทุกข์ใจ

    แต่คนทั้งหลายไม่รู้ไม่เห็นว่าสิ่งทั้งปวงเป็นความทุกข์

    จึงได้มีความอยากในสิ่งเหล่านั้น

    ถ้ารู้ว่า มันเป็นทุกข์ ไม่น่าอยาก และไม่น่ายึดถือ ไม่น่าผูกพันตัวเอง

    เข้ากับสิ่งใดแล้ว ก็คงจะไม่อยาก ๑๘





    อริยสัจจ์ข้อที่ ๒

    แสดงว่า ความอยากด้วยอวิชชานั้น

    เป็นหตุของความทุกข์ คนทั้งหลายก็ยังไม่รู้

    ไม่เห็น ไม่เข้าใจ ว่าความอยากนี่แหละเป็นตัวเหตุของความทุกข์ใจ

    จึงได้พากันอยากนั่นอยากนี่ร้อยแปดพันประการ

    เพราะไม่รู้ว่าความอยากด้วยอำนาจอวิชชานั้นคืออะไร ๑๙





    อริยสัจจ์ข้อที่ ๓

    แสดงว่านิโรธ หรือนิพพาน คือการดับ ความอยากเสียให้สิ้น

    เป็นความไม่มีทุกข์ คนทั้งหลายยิ่งไม่รู้จักกันใหญ่

    ทั้งๆ ที่เป็นสิ่งที่อาจลุถึงได้ในที่ทั่วๆ ไปคือ

    พบได้ ตรงที่ความอยากมันดับลงไปนั่นเอง.

    นี่คือไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร

    จึงไม่มีใครปรารถนา ที่จะดับความอยาก

    ไม่มีปรารถนานิพพาน เพราะไม่รู้ว่าอะไรเป็นนิพพาน ๒๐







    ที่นี้ก็มาถึง อริยสัจจ์ข้อที่ ๔ ที่เรียกว่า มรรค

    อันได้แก่ วิธีดับความอยากนั้นๆ เสีย ไม่มีผู้ใด

    เข้าใจว่าการทำอย่างนี้เป็นวิธีดับความอยาก ไม่มีใครสนใจ

    เรื่องอริยมรรอันมีองค์ ๘ ประการ ซึ่งดับความอยากเสียได้

    ไม่รู้จักว่าอะไรเป็นที่พึ่งแก่ตนเอง

    อะไรควรขวนขาย จึงไม่สนใจกับเรื่อง

    อริยมรรคของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นสิ่งที่เลิศ ประเสริฐที่สุดในบรรดา

    วิชาความรู้ของมนุษย์เราในโลกนี้ นี่แหละ

    คือการไม่รู้อะไรอย่างน่าหวาดเสียว ๒๑







    ทั้งหมดนี้ จะเห็นได้ว่า เรื่อง อริยสัจจ์ ๔

    ประการนั้นคือ ความรู้ที่บอกให้เห็นชัดว่า อะไรเป็นอะไรนั่นเอง ๒๒







    เมื่อได้กล่าวถึงหลักที่ว่า เราต้องรู้ว่าสิ่งทั้งปวง

    เป็นอะไร และต้องปกิบัติอย่างไรจึงจะตรงตี่อกฎธรรมชาติของสิ่งทั้งปวงดังนี้แล้ว

    หลักในพระบาลีก็มีอีกพวกหนึ่ง เรียกว่า

    โอวาทปาฏิโมกข์ แปลว่า คำสอนที่เป็นประธานของคำสอนทั้งหมด

    มีอยู่ ๓ ข้อ สั้นๆ คือ ไม่ทำความชั่วทั้งปวง

    ทำความดีให้เต็มที่

    ทำจิตใจให้สะอาด ปราศจากความเศร้าหมอง นี้เป็นหลักสำหรับปฏิบัติ ๒๓







    เมื่อรู้ว่าสิ่งทั้งปวงไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ของตัว

    ยึดถือไม่ได้ และไปหลงใกลด้วยไม่ได้ เราก็ต้องปฏิบัติต่อสิ่งทั้งปวง

    ให้ถูกต้องด้วยความระมัดระวัง คือเว้นจากการทำชั่ว หมายถึง

    การละโมบ โลกภลาภด้วยกิเลส ไม่ไปลงทุนด้วยการฝืนศีลธรรม

    ขนบธรรมเนียมต่างๆ

    เพื่อไปทำความชั่ว อีกทางหนึ่งนั้น ให้ทำแต่

    ความดีตามแต่ที่บัณฑิตสมมติตกลงกันว่าเป็นความดี

    แต่ทั้งสิงขั้นนี้ เป็นเพียงขั้นศีลธรรม ข้อที่ สามที่ว่า

    ทำจิตให้บริสุทธิ์ หมดจดจากเครื่องเศร้าหมอง

    โดยประการทั้งปวงนั้น นั่นแหละ เป็นตัวพุทธศาสนาตรงโดยตรง

    หมายความว่า ทำให้ใจเป็นอิสระ ถ้ายังไม่เป็นอิสระ

    จากอำนาจครอบงำของสิ่งทั้งปวงแล้ว จะเป็นจิตใจที่

    สะอาด บริสุทธิ์ ไม่ได้ จิตจะเป็นอิสระ

    ก็ต้องมาจากความรู้ว่าอะไร เป็นอะไรถึงที่สุด ๒๔





    สรุปความว่า พุทธศาสนา คือ

    วิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้ว่าอะไร

    เป็นอะไร เมื่อเรารู้ว่า อะไรเป็นอะไรถูกต้องจริงๆ

    แล้วไม่ต้องมีใครมาสอนเราหรือมาแนะนำเรา

    เราต้องปฏิบัติต่อสิ่งนั้นๆ ถูกต้องได้ด้วยตนเอง

    แล้วกิเลสก็จะหมดไปเอง

    เราจะเป็นอริยบุคคลขั้นใดขั้นหนึ่งขึ้นมาทันที

    เราจะปฏิบัติอะไรไม่ผิดขั้นมรทันที เราจะลุถึงสิ่งที่ดี ที่สุด

    ที่มนุษย์ ควรจะได้ เพราะการที่เรามีความรู้ว่า

    อะไรเป็นอะไร โดยถูกต้องถึงที่สุดอย่างแท้จริงเท่านั้น.๒๕
     

แชร์หน้านี้

Loading...