พุทธศาสนา กับ แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ ๔

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย telwada, 27 มกราคม 2010.

  1. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    ตอนที่ ๔
    ตามที่ได้กล่าวไปแล้วว่า หลักธรรมะในพุทธศาสนาอันเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงนั้น ยังเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับอีกมากมายหลายหมวดธรรมะ รวมไปถึงหลักความจริงหรือหลักอริยะสัจสี่ ซึ่งหลักปรัชญาแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เปรียบเป็นมรรค หรือเป็นหนทางหรือข้อปฏิบัติในอันที่จะช่วยทำให้การดำเนินชีวิต ช่วยให้การดำเนินกิจกรรม หรือช่วยให้การพัฒนาทั้งในระดับบุคคล กลุ่ม ชุมชน และรัฐบาล เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล หากจะกล่าวถึงความเกี่ยวข้องสัมพันธ์และสอดคล้องกัน ระหว่าง แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง กับหลักอริยะสัจสี่ตามแนวทางพุทธศาสนา แล้วนั้น
    ทุกข์ ก็คือ ความไม่พอเพียง คือไม่พอดี น้อยเกินไป มากเกินไป เบียดเบียนตัวเองและผู้อื่น ย่อมทำให้ความทุกข์ เพราะคำว่าทุกข์ ในหลักความจริงอริยะสัจสี่นั้น หมายถึง “1.สภาพที่ทนอยู่ได้ยาก, สภาพที่คงทนอยู่ไม่ได้ เพราะถูกบีบคั้นด้วยความเกิดขึ้นและความดับสลาย เนื่องจากต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัยทั้งหลายที่มีอยู่ 2.สภาพที่ทนได้ยาก, ความรู้สึกไม่สบายกาย ไม่สบายใจ หรือ ทุกข์ หมายถึงความไม่สบายกายไม่สบายใจ คือทั้งทุกข์กายและทุกข์ใจ” (จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฏก) ซึ่งหากจะกล่าวในศัพท์ภาษาทั่วๆไปแล้ว ความทุกข์ ก็คือ ไม่มีเงิน ไม่มีอาหารอย่างพอเพียง ไม่มีเครื่องนุ่งห่ม ไม่มียารักษาโรค ไม่มีที่อยู่อาศัย ไม่มีงานทำ ปลูกพืชผลแล้วขาดทุน ถูกภัยธรรมชาติคุกคาม ฯลฯ หรือมีความหมายโดยรวมหมายถึง ความไม่พอเพียง คือไม่พอดี น้อยเกินไป มากเกินไป เบียดเบียนตัวเองและผู้อื่น
    สมุทัย ก็คือ การไม่มีเหตุผล ไม่มีการตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงอย่างถูกต้อง ด้วยเหตุผล ไม่พิจารณาจากเหตุและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ไม่คำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ กระทำไปเพราะตัณหา คือความอยาก อยากได้นั่นอยากได้นี่ เพราะในหลักความจริงทางพุทธศาสนาหรือหลักอริยะสัจสี่นั้น คำว่า สมุทัย หมายถึง “ เหตุให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา คือความทะยานอยาก เช่น อยากได้นั่นได้นี่ อยากเป็นโน่นเป็นนี่ อยากไม่เป็นโน่นเป็นนี่, “ตัณหา” “ความทะยานอยาก, ความดิ้นรน, ความปรารถนา, ความเสน่หา มี ๓ คือ ๑.กามตัณหา ความทะยานอยากในกาม อยากได้อารมณ์อันน่ารักใคร่ ๒.ภวตัณหา ความทะยากอยากในภพ อยากเป็นนั่นเป็นนี่ ๓.วิภวตัณหา ความทะยานอยากในวิภพ อยากไม่เป็นนั่นไม่เป็นนี่ ฯ(พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับพระธรรมปิฏก) แต่ถ้าหากจะกล่าวในทางศัพท์ภาษาโดยทั่วไปแล้ว เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ก็คือ การดำเนินกิจกรรม การดำเนินชีวิต การประกอบอาชีพการผลิต การบริโภค ฯ ของแต่ละบุคคล อันปฏิสัมพันธ์ หรือเกี่ยวข้องกับคน สัตว์ พืช สิ่งของ เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิประเทศ เกี่ยวข้องกับ เครื่องอุปโภค บริโภค และการที่ได้ดำเนินกิจกรรม ดำเนินชีวิต ฯ อันเกี่ยวข้องปฏิสัมพันธ์กับ คน สัตว์ พืช สิ่งของ สภาพภูมิอากาศ ภูมิประเทศ จึงทำให้บุคคลเกิดสภาพสภาวะจิตใจที่เรียกว่า ความอยาก อยากได้โน่น อยากได้นี่ จนไม่คำนึงถึงเหตุผล จนไม่สามารถบังคับควบคุมความต้องการของตัวเองได้ตามฐานะความเป็นอยู่ที่แท้จริงของตัวเอง อันเป็นเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ หรือเป็นเหตุให้ บุคคลหรือกลุ่มบุคคลไม่มีเหตุผล ไม่มีการตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงอย่างถูกต้อง ด้วยเหตุผล ไม่พิจารณาจากเหตุและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ไม่คำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ ตามคุณลักษณะประการที่ ๒ ของแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
    เมื่อได้กล่าวถึงความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ความเป็นไปที่สอดคล้องกัน ระหว่างหลักอริยะสัจสี่
    ในพุทธศาสนา และ หลักปรัชญาแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ในเรื่องของทุกข์ และ เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ คือ สมุทัย แล้ว หลักอริยะสัจสี่ ข้อที่ ๓ ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์และสอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงได้แก่
    นิโรธ ซึ่งหากจะเปรียบเป็นหลักปรัชญาแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงแล้ว ก็คือ การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว สามารถเตรียมตัวให้พร้อมในอันที่จะรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆที่จะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอนาคตอันใกล้หรือไกล เพราะการมีภูมิคุ้มกันที่ดี ฯ ย่อมเป็นการดับทุกข์ ดับตัณหา คือดับความอยากได้ในบางอย่าง ดังความหมายของคำว่า นิโรธ อันเป็น หลักความจริง หรือหลักอริยะสัจสี่ คือ “ความดับทุกข์ ดับตัณหา” (ตัดตอนจากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฏก)
    ความดับทุกข์ ดับตัณหา ก็คือ การขจัดหรือการดับซึ่งสภาพที่ทนอยู่ได้ยาก, สภาพที่คงทนอยู่ไม่ได้ เพราะถูกบีบคั้นด้วยความเกิดขึ้นและความดับสลาย เนื่องจากต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัยทั้งหลายที่มีอยู่ การขจัดหรือการดับซึ่งสภาพที่ทนได้ยาก, ความรู้สึกไม่สบายกาย ไม่สบายใจ หรือ การขจัดหรือการดับซึ่งความไม่ชอบในจิตใจ คือการขจัดการดับทั้งทุกข์กายและทุกข์ใจ หรือขจัดปัญหา ดับปัญหา แก้ปัญหา ของการไม่มีเงิน หรือมีไม่เพียงพอต่อการใช้จ่าย, ไม่มีอาหารบริโภคอย่างพอเพียง, ไม่มีเครื่องนุ่งห่มหรือมีไม่เพียงพอ, ไม่มียารักษาโรคหรือมีน้อยไม่เพียงพอต่อการรักษาโรคนั้นๆ, ไม่มีที่อยู่อาศัยคือไม่มีบ้านเป็นของตัวเองไม่มีที่ทำกิน , ไม่มีงานทำหรืองานที่ทำอยู่มีรายได้ไม่เพียงพอ, การปลูกพืชผลหรือประกอบอาชีพแล้วขาดทุน ,หรือถูกภัยธรรมชาติคุกคาม ฯลฯ และหรือ ขจัดปัญหา ดับปัญหา แก้ปัญหา ความอยากได้โน่น อยากได้นี่ อย่างนี้เป็นต้น
    การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว สามารถเตรียมตัวให้พร้อมในอันที่จะรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆที่จะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอนาคตอันใกล้หรือไกลนั้น ย่อมหมายถึงการมีปัจจัยต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต เป็นสิ่งจำเป็นในการดำเนินกิจกรรม เป็นสิ่งจำเป็นในการประกอบการ ประกอบอาชีพ ฯ อันเป็นสิ่งจำเป็นที่จะใช้ในการแก้ไขปัญหา ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านครอบครัว เศรษฐกิจ สังคม และอื่นๆ อันขึ้นอยู่กับสภาพการประกอบอาชีพหรือการงานของแต่ละบุคคล หรือแต่ละกลุ่ม หรือแต่ละชุมชน นั้นๆ ตลอดรวมไปถีง รัฐบาลใดใด ดังนั้น ความมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว อันเป็นคุณลักษณะที่ ๓ ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงนั้น ย่อมเป็นเช่น นิโรธหรือความดับทุกข์ ในรูปแบบหนึ่ง เป็นความดับทุกข์ที่จะเกิดขึ้นต่อสภาพทางกาย และจิตใจ ไม่ว่าจะเป็นอนาคตอันใกล้หรือไกล
    นิโรธ หรือความดับทุกข์ ยังเปรียบเป็นการดำเนินกิจกรรม ที่พอประมาณ คือมีความพอดีไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไปโดยไม่เบียดเบียนผู้อื่น รวมไปถึงการตัดสินใจเกี่ยวระดับของความพอดี อย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการดำเนินกิจกรรมนั้นๆ ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำ ในการดำเนินกิจกรรมนั้นอย่างรอบคอบ หรือจะกล่าวในทางกลับกันว่า การดำเนินกิจกรรม ที่พอประมาณ คือมีความพอดีไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป
    โดยไม่เบียดเบียนผู้อื่น รวมไปถึงการตัดสินใจเกี่ยวระดับของความพอดี อย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการดำเนินกิจกรรมนั้นๆ ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำ ในการดำเนินกิจกรรมนั้นๆอย่างรอบคอบ และมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว เพื่อการเตรียมตัวให้พร้อมในการรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นทั้งใกล้และไกล คือ นิโรธ หรือ ความดับทุกข์
    หลักปรัชญา แนวคิดเศรษกิจพอเพียง มีคุณลักษณะ ๓ ประการประกอบกัน มีจุดประสงค์
    เพื่อเป็นการสร้างพื้นฐาน ในการดำรงชีวิตของแต่ละบุคคล ในอันที่จะพัฒนาไปสู่ความเป็นปึกแผ่นของประเทศชาติบ้านเมือง อันเป็นพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดัง พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อ วันที่ ๑๙ กรกฏาคม ๒๕๑๗ ความว่า.-
    “ ในการพัฒนาประเทศนั้น จำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น
    เริ่มด้วยการสร้างพื้นฐาน คือความมีกินมีใช้ของประชาชนก่อน
    ด้วยวิธีการที่ประหยัดระมัดระวัง แต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ
    เมื่อพื้นฐานเกิดขึ้นมั่นคงพอควรแล้ว
    จึงค่อยเสริมสร้างความเจริญขั้นที่สูงขึ้นตามลำดับต่อไป
    .....การถือหลักที่จะส่งเสริมความเจริญ ให้ค่อยเป็นไปตามลำดับ
    ด้วยความรอบคอบระมัดระวังและประหยัดนั้น
    ก็เพื่อป้องกันความผิดพลาดล้มเหลว และเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จ ได้แน่นอนบริบูรณ์”
    พระบรมราโชวาทฯข้างต้นนั้น เปรียบเป็นเช่น มรรค หรือ ข้อหนทางในการปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ในรูปแบบหนึ่ง ตามแต่สถานะหรือบทบาทของแต่ละบุคคล ทรงเน้นให้เริ่มจากความพอเพียงมีกินมีใช้ของประชาชนเป็นลำดับแรก เพราะประชาชนย่อมเป็นรากฐานของประเทศชาติ ดังนั้น แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง อันประกอบกันทั้ง ๓ คุณลักษณะ ได้แก่ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ก็คือ มรรค หมายถึง ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์(พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎก) เพราะ ความพอดี หรือความต้องการปัจจัยในการดำรงชีวิต อย่างพอเพียง นั้นขึ้นอยู่กับความคิด ความรู้ในวิชาการด้านต่างๆอันเกี่ยวข้องกับบทบาทหรืออาชีพที่ประกอบการหรือกระทำอยู่ และขึ้นอยู่กับความจำเป็นในการใช้ ขึ้นอยู่กับความจำเป็นในการที่จะต้องมีเก็บไว้เป็นส่วนสำรอง หรือมีไว้ ตระเตรียมไว้ เผื่อเหลือเผื่อขาด (พจนานุกรมฉบับ-ราชบัณฑิตยสถาน) อันได้มา หามาโดยความสุจริต อีกทั้งยังต้องคิดพิจารณาถึงความจำเป็นและความต้องการในอันที่จะต้องใช้ จะต้องเก็บ หรือจะต้องกระทำ เพื่อมิให้เกินความจำเป็นในการที่จะใช้ ในการที่จะเก็บไว้เป็นส่วนสำรอง ซึ่งล้วนเป็นภูมิคุ้มกันที่ดี เป็นการเตรียมตัวเพื่อพร้อมที่จะใช้เป็นปัจจัยในการแก้ไขปัญหา หากได้รับผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจ และสังคม หรือเกิดจากการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสภาพลมฟ้าอากาศ หรือการเปลี่ยนแปลงทางด้านราคาสินค้า อันเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต หรือเกี่ยวข้องกับการประกอบการ หรือการทำงานนั้นๆ ดังนั้นแต่ละบุคคลจำเป็นต้องรับรู้ข่าวสารเพื่อการคาดเดา ในสถานการณ์ต่างๆที่อาจเกิดขึ้นได้ทั้งในอนาคตอันใกล้และไกล ตามที่ได้กล่าวไปล้วนเป็นแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงอันเป็นข้อปฏิบัติเพื่อให้ถึงความดับทุกข์ ในการดำรงชีวิตของแต่ละบุคคล หรือครอบครัว หรือกลุ่ม หรือชุมชน จนไปถึงระดับรัฐบาล ซึ่งเกี่ยวข้องสัมพันธ์และเป็นไปตามหลักความจริงหรือหลักอริยะสัจสี่ในพุทธศาสนา
    มรรค คือ หนทางหรือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์นั้น ในทางพุทธศาสนาย่อมมีปัจจัยหรือมีสิ่งประกอบในการที่จะปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ได้นั้น บุคคลต้องประกอบไปด้วย ความมีสติ คือ ความระลึกได้, นึกได้, ความไม่เผลอ, การคุมใจไว้กับกิจการใดใด(คัดความจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับพระธรรมปิฎก), สัมปชัญญะ คือความรู้สึกตัว ทั้งสองสิ่งเป็นผลแห่ง ความมีสมาธิ, ความมีจิตใจที่ดี ด้วยการรักษาศีล , ความมีสติ คือ ความระลึกได้ ,นึกได้, ความไม่เผลอ, การคุมใจไว้กับกิจการใดใด ,สัมปชัญญะ คือความรู้สึกตัว อันเป็นผลแห่ง ความมีสมาธิ, ย่อมก่อให้เกิดความคิดที่ดี นำไปสู่การมีความเห็นในทางที่ถูกที่ควร,ตลอดจนการระลึกนึกถึงความรู้ ตามหลักวิชา ตามประสบการณ์ รวมไปถึง ความเข้าใจในความรู้ ตามหลักวิชาและประสบการณ์เหล่านั้น,ซึ่งทำให้เกิดมีความตั้งจิตมั่น , ก่อให้เกิดการพูดหรือการติดต่อสื่อสารที่ดี ที่ถูกที่ควร ,เป็นเหตุให้เกิดการกระทำการใดใดอันเกิดคุณต่อตนเองและผู้อื่น, แล้วแปรเปลี่ยนเป็นการเลี้ยงชีพชอบหรือเป็นอาชีพที่สุจริต, ล้วนต้องประกอบด้วยความเพียรหรือความขยันหมั่นเพียรหรือความพยายามในอันที่จะทำให้สำเร็จ,(คัดและตัดต่อความจากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับเจ้าคุณธรรมปิฎก)
     

แชร์หน้านี้

Loading...