พุทธศาสนา กับ แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ ๓

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย telwada, 22 มกราคม 2010.

  1. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    ตอนที่ ๓
    หลักปรัชญาแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ยังเกี่ยวข้องสัมพันธ์และผสมผสานไปด้วยหรือเป็นไปตามหลักความจริงหรือหลักอริยสัจสี่ในพุทธศาสนา ได้อย่างกลมกลืนและลงตัว เพราะแต่ละบุคคลล้วนย่อมมีความพอดี ที่ตัวเองต้องการอันแตกต่างจากกัน ซึ่งย่อมหมายรวมไปถึง ระดับกลุ่ม ชุมชน และระดับ กระทรวง ทะบวงกรม และในระดับรัฐบาลด้วย ความพอดีที่แตกต่างจากกันนั่นเองจึงเกี่ยวข้องสัมพันธ์หรือเป็นไปตามหลักความจริงตามหลักอริยะสัจสี่ อีกทั้งในหลักความจริงหรือหลักอริยสัจสี่และหลักธรรมะในทางพุทธศาสนานั้นย่อมมี ย่อมเป็น หลักความจริงที่ย่อมเกิดมีหรือย่อมเกิดขึ้นในการดำรงชีพ ในการประกอบการ ในการประกอบกิจกรรม ในการประกอบอาชีพ ของแต่ละบุคคลฯ
    ก่อนที่จะกล่าวถึงความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ระหว่างแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงกับ หลักอริยะสัจสี่ จะขอกล่าวถึงความเกี่ยวข้องสัมพันธ์หรือเป็นไปตามหลักธรรมะในอีกหมวดธรรมะหนึ่ง เพราะหลักธรรมะในทางพุทธศาสนานั้น ย่อมล้วนเป็นสิ่งที่สถิต หรือมีอยู่ในจิตใจ มีอยู่ในความคิดของแต่ละบุคคล โดยการได้รับการขัดเกลาทางสังคม โดยจารีตวัฒนธรรมประเพณี ทางศาสนา ฯ หรือมีอยู่ในตัวบุคคลตามธรรมชาติอันสืบทอดต่อๆกันมา หลักธรรมอันหนึ่งหรืออีกหมวดหนึ่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่มีอยู่ในจิตใจมนุษย์โดยธรรมชาติ หรือ/และได้รับการขัดเกลาทางสังคม ทางจารีตวัฒนธรรมประเพณี ทางศาสนา ฯ อีกทั้งยังเกี่ยวข้องสัมพันธ์ เชื่อมโยง และเป็นปัจจัยภายในจิตใจของแต่ละบุคคล ในการดำเนินการตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง นั้นก็คือ หลักธรรมพรหมวิหารสี่ ได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ซึ่งในจิตใจของทุกคนล้วนมีหลักธรรมพรหมวิหารสี่ อยู่แล้วตามธรรมชาติ เป็นสภาพสภาวะจิตใจ ๔ อย่างที่มี อยู่ในจิตใจของมนุษย์ รวมไปถึงการได้รับการสั่งสมหรือขัดเกลา จากบิดา มารดา ญาติสนิท มิตรสหาย ตลอดจน ครู อาจารย์ และบุคคลอื่นๆ อันทำให้เกิดเป็นสภาพสภาวะจิตใจที่เรียกว่า.-
    อุเบกขา ความวางเฉย กริยาวางเฉย
    มุทิตา ความพลอยมีความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี เห็นผู้อื่นอยู่อย่างมีความสุข ก็แช่มชื่นไปด้วย ความกรุณา หรือความสงสารคิดช่วยผู้อื่นให้พ้นทุกข์
    ความเมตตา ความรักหรือความปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข
    ความวางเฉย , ความพลอยมีความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี ,ความสงสารคิดช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นทุกข์ ,ความรัก หรือปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข ที่มีอยู่แล้วในจิตใจของมนุษย์ จะช่วยทำให้ การประกอบการ การดำเนินกิจกรรม การประกอบอาชีพ การทำงาน ในอันที่ผลิตสิ่งต่างๆ ให้เป็นไปในทิศทางที่เรียกว่า พอประมาณ หรือพอดี โดยไม่เบียดเบียนผู้อื่นอย่างมีเหตุผล หรือหากจะกล่าวในอีกรูปแบบหนึ่ง ก็คือ ย่อมเป็นไปในทางที่ช่วยเหลือหรือแบ่งปันแลกเปลี่ยนในผลผลิต แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการในด้านต่างๆซึ่งกันและกัน ภายในกลุ่ม ในชุมชน ตลอดไปจนถึงระดับรัฐ อันเป็นความพอดีหรือพอเพียงที่เป็นไปตามเหตุผล ตามสภาพสังคม ตามสภาพชุมชน และย่อมเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวได้ในระดับหนึ่ง ตั้งแต่ระดับบุคคลจนไปถึงระดับประเทศชาติเลยทีเดียว
    สภาพสภาวะจิตใจอันเรียกว่าหลักธรรมพรหมวิหาร ๔ นี้ สามารถช่วยยับยั้งความฟุ้งเฟ้อ ความโลภ อยากได้มาก ความไม่พอดี ความไม่มีเหตุผล ความไม่มีภูมิความรู้ ไม่มีปัจจัย หมายถึงไม่มีสิ่งจำเป็นต่างๆในการดำรงชีวิต
    เพราะเมื่อบุคคลจะมีอุเบกขาคือความวางเฉยได้ ก็ต่อเมื่อมีความรู้ความเข้าใจในสิ่งใดใด ที่ได้เห็น ได้ยิน ได้สัมผัส หรือบุคคลจะเกิดมีความมุทิตา ความพลอยมีความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี ก็ย่อมต้องเป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจถึงการดำรงชีวิต มีความรู้และเข้าใจในการประกอบกิจกรรมใดใด ที่ได้พบ ได้ประสบ ได้ยิน มีความรู้ความเข้าใจในการดำรงชีวิตของตนเองและผู้อื่น อีกทั้งบุคคลจะเกิดมีความกรุณา คือความสงสารคิดช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ ก็ย่อมต้องมีปัจจัยในด้านความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินชีวิต มีความเข้าใจในความจำเป็นของแต่ละบุคคล ความจำเป็นในการผลิตในการบริโภค และบุคคลผู้จะมีเมตตาคือความรัก หรือปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข ก็ย่อมต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจ หรือต้องหมั่นศึกษาหาความ รู้ขยันหมั่นเพียรในอันที่จะดำเนินชีวิต ดำเนินกิจกรรมหรือประกอบการ หรือทำงานใดใด เพื่อให้ประสบผลสำเร็จ อันจักทำให้ทั้งตนเองและผู้ที่ร่วมงานประสบผลสำเร็จและมีความสุข ทั้งในการทำงาานหรือประกอบการนั้นๆ จนถึงการได้รับผลสำเร็จในกิจกรรมดังกล่าว ซึ่งหลักธรรมในแต่ละข้อล้วนย่อมสัมพันธ์กันเกี่ยวข้องกัน อีกทั้งสภาพสภาวะธรรมที่ได้กล่าวไปแล้วนั้น ยังสามารถเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวหรือเป็นเครื่องป้องกันสภาพจิตใจเมื่อได้รับผลกระทบและเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม อีกทั้งยังกระตุ้นให้บุคคลกระทำการใดใดด้วยเหตุผล หรือเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจกับระดับความต้องการในสิ่งต่างๆ ได้อย่างรอบคอบ เมื่อทุกคนมีรากฐานและได้เรียนรู้หลักปรัชญาแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง อันนับได้ว่าเป็นพื้นฐานเป็นรากฐานแห่งความพอดีแล้ว ความพอดีของแต่ละบุคคลก็จะมีความแตกต่างกันน้อยลง หรือมีความพอดีที่ใกล้เคียงกัน เนื่องด้วยธรรมะที่เป็นธรรมชาติอันมีอยู่ในใจของแต่ละบุคคล หรือเกิดมีเพิ่มพูนขึ้นเมื่อได้เรียนรู้และรับเอาแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ปฏิบัติในการดำรงชีวิต ดัง พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๒๓ ธันวามคม ๒๕๔๒ ความว่า .-
    " ถ้าไม่มีเศรษฐกิจพอเพียงเวลาไฟดับ.....จะพังหมด จะทำอย่างไร .
    ที่ที่ต้องใช้ไฟก็ต้องแย่ไป.
    หากมีเศรษฐกิจพอเพียงแบบไม่เต็มที่ ถ้าเรามีเครื่องปั่นไฟ ก็ใช้ปั่นไฟ
    หรือถ้าขั้นโบราณ กว่า มืดก็จุดเทียน
    คือมีทางที่จะแก้ปัญหาเสมอ.
    ฉะนั้น เศรษฐกิจพอเพียงนี้ ก็มีเป็นขั้นๆ
    แต่จะบอกว่าเศรษฐกิจพอเพียงนี้
    ให้พอเพียงเฉพาะตัวเองร้อยเปอร์เซ็นต์ นี่เป็นสิ่งที่ทำไม่ได้.
    จะต้องมีการแลกเปลี่ยนต้องมีการช่วยกัน.
    ......พอเพียงในทฤษฎีหลวงนี้ คือให้สามารถที่จะดำเนินงานได้.......”
     

แชร์หน้านี้

Loading...