พุทธศาสนา กับ แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ ๒

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย telwada, 19 มกราคม 2010.

  1. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    ตอนที่ ๒
    แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักปรัชญา ที่แฝงไปด้วยหลักพุทธศาสนา หรือเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับพุทธศาสนาอย่างเหมาะเจาะและลงตัว
    เพราะ ความพอดี โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ตามหลักพุทธศาสนาแล้ว ย่อมก่อให้เกิดหรือเป็นปัจจัยหรือเป็นเหตุทำให้เกิดความมีศีล หรือเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการมีศีล ตามหลักพุทธศาสนา ในแต่ละบุคคล ในแต่ละกลุ่ม ในแต่ละชุมชน จนถึงในระดับรัฐบาล โดยอัตโนมัติ เพราะ ความพอดี ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงนั้น จะแฝงไปด้วยหลักศีลทั้ง ๕ ข้อหรือเป็นไปตามหลักศีล ๕ ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติของคนทั่วไปทุกระดับชั้น
    ศีลในทางพุทธศาสนา หมายถึง ความประพฤติดีทางกายและวาจา, การรักษากายและวาจาให้เรียบร้อย, หรือเป็นข้อปฏิบัติสำหรับควบคุมกาย,วาจา,ใจ ให้ตั้งอยู่ในความดีงาม, หรือการรักษาความเป็นปกติตามระเบียบวินัย, หรือเป็นปกติมารยาทที่สะอาดปราศจากโทษ,หรือเป็นข้อปฏิบัติในการเว้นจากความชั่ว, หรือเป็นข้อปฏิบัติในการฝึกหัดกายวาจาให้ดียิ่งขึ้น, หรือเป็นความสุจริตทางกายวาจาและอาชีพ ( ตัดตอนมาจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎก )
    จากความหมายของศีล ในทางพุทธศาสนาข้างต้น จะเห็นได้ว่า เข้ากันได้ หรือเกี่ยวข้องสัมพันธ์ กับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ได้อย่างเหมาะเจาะลงตัว เพราะการดำเนินการตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงนั้น ย่อมเป็นการประพฤติดีทั้งทางใจ และกาย เป็นการควบคุม กาย ,วาจา และใจ ไปในตัว อีกทั้งยังเป็นข้อปฏิบัติในการละเว้นจากความชั่ว คือ ความพอประมาณ หรือความพอดี ที่ไม่เบียดเบียนผู้อื่น เป็นการประกอบอาชีพในทางสุจริต อย่างนี้เป็นต้น
    สำหรับศีล ๕ ในทางพุทธศาสนานั้น ประกอบไปด้วย
    ๑.ปาณาติปาตา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ เว้นจากทำลายชีวิต
    ๒.อทินนาทานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ เว้นจากถือเอาของที่เขามิได้ให้
    ๓.กาเมสุมิจฺฉานารา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ เว้นจากประพฤติผิดในกาม
    ๔.มุสาวาทา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ เว้นจากพูดเท็จ
    ๕.สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เว้นจากของเมา คือ สุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท;
    (จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับเจ้าคุณธรรมปิฏก)
    ความพอดี ที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น นั้น ต้องเป็นไปด้วยความมีเหตุผล ในอันที่จะตัดสินใจกับระดับความพอเพียง โดยคำนึงถึงผลได้ผลเสีย ที่จะเกิดขึ้น จากการกระทำ อย่างรอบคอบ แห่งความพอดี หรือพอเพียง ซึ่งก็ย่อมหมายความว่า ความพอดี ฯ ในแต่ละบุคคล ในแต่ละกลุ่ม ในแต่ละชุมชน หรือในระดับรัฐบาล ย่อมต้องไม่กระทำไปในทางคดโกงแย่งชิงหรือคอร์รัปชั่น หรือพฤติกรรมการกระทำอันเป็นไปในทางคดโกงแย่งชิงหรือคอร์รัปชั่นในรูปแบบใดก็ตาม ย่อมต้องไม่โกหกหลอกลวงเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการ ย่อมต้องไม่ทำลายชีวิตทรัพย์สินของผู้อื่นเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการ ย่อมต้องไม่ละโมบโลภมากเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการ และย่อมไม่ตั้งอยู่ในความประมาทหรือฟุ้งเฟ้อไม่ใช้จ่ายจนเกินควร หรือไม่ใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย เกินรายได้ของตัวเองหรือครอบครัว พฤติกรรมที่ได้กล่าวไปย่อมก่อให้เกิดความอดทนอดกลั้น ย่อมก่อให้เกิดความสามัคคีในครอบครัว จนไปถึงความสามัคคีของประชาชนในชาติ ก่อให้เกิดความมีศีลในจิตใจของแต่ละบุคคลตามหลักพุทธศาสนาได้ในระดับหนึ่ง เพราะ ศีลในทางพุทธศาสนา ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่า หมายถึง ความประพฤติดีทางกายและวาจา, การรักษากายและวาจาให้เรียบร้อย, หรือเป็นข้อปฏิบัติสำหรับควบคุมกาย,วาจา,ใจ ให้ตั้งอยู่ในความดีงาม, หรือการรักษาความเป็นปกติตามระเบียบวินัย, หรือเป็นปกติมารยาทที่สะอาดปราศจากโทษ,หรือเป็นข้อปฏิบัติในการเว้นจากความชั่ว, หรือเป็นข้อปฏิบัติในการฝึกหัดกายวาจาให้ดียิ่งขึ้น, หรือเป็นความสุจริตทางกายวาจาและอาชีพ ( ตัดตอนมาจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎก )
    เมื่อบุคคล กลุ่ม ชุมชน หรือระดับรัฐได้ดำเนินการหรือกระทำการใดใดอันเป็นไปตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงแล้ว ความเป็นปกติในการดำรงชีพความเป็นปกติในการประกอบอาชีพ ความเป็นปกติในวิถีชีวิตของครอบครัว กลุ่ม ชุมชน จนถึงระดับรัฐ ก็ย่อมเกิดขึ้น อีกทั้งยังก่อให้เกิดความสบายใจในแต่ละบุคคลไม่คิดฟุ้งซ่าน แต่จะคิดไปตามเหตุผลตามสถานการณ์ เป็นเหตุให้ประพฤติดีทั้งทางกาย และวาจา และใจ หรือทุกคนล้วนมีการควบคุม กาย วาจา และใจ ให้ตั้งอยู่ในความดีงามโดยอัตโนมัติ และที่ได้กล่าวไปแล้วนี้เป็นตัวอย่างเพียงเล็กน้อยของความพอดีฯอันเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับหลักศีลในพุทธศาสนา
     

แชร์หน้านี้

Loading...