พิพิธภัณฑ์หลวงปู่เสาร์

ในห้อง 'ทวีป ยุโรป' ตั้งกระทู้โดย Wat Pa Gothenburg, 1 ธันวาคม 2008.

  1. Wat Pa Gothenburg

    Wat Pa Gothenburg เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    920
    ค่าพลัง:
    +260
    <table bgcolor="honeydew" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td colspan="2">
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif][​IMG]
    เจดีย์ พิพิธภัณฑ์ หลวงปู่เสาร์ กนฺสีโล

    [/FONT]​
    </td> </tr> <tr> <td colspan="2" height="22">
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] [​IMG]พระเจดีย์พิพิธภัณฑ์ พระอาจารย์เสาร์ กนฺสีโล
    [/FONT]​
    </td> </tr> <tr> <td colspan="2">[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif][​IMG]งานสถาปัตยกรรม
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] เจดีย์ พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์ เสาร์ กนฺสีโล ได้รับการออกแบบให้มีโครงสร้างที่มั่นคงถาวร เป็นโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาด ฐษนเจดีย์ 16x16 เมตร ความสูงถึงยอดฉัตร 33 เมตร ส่วนบนเป็นที่ประดิษฐานรูปพระอาจารย์เสาร์และห้องพิพิธภัณฑ์ทรงสี่เหลี่ยม ขนาด 9.50 x 9.50 เมตร สอบเข้าและย่อมุมมีซุ้มประตู 3 ด้านต่อเนื่องกับบันไดขึ้นและลง ส่วนด้านหลั้งเป็นซุ้มตันประดิษฐานรูปหล่อพระอาจารย์เสาร์บนแท่น เพดานรูปทรงกลม ข้างนอก เป็นลานคอนกรีตกว้าง โดยรอบฐานส่วนล่างเป็นห้องเอนกประสงค์ใช้ปฏิบัติธรรม ด้านนอกฐานประดับด้วยหินทรายสีเข้มเข้ากับธรรมชาติเหนือส่วนขององค์เจดีย์มี ปล้องไฉนปิดทองเป็นข้อรูปแปดเหลี่ยม หมายถึง มรรค 8 ซ้อนกัน 3 ข้อ หมายถึง พระอาจารย์เสาร์ พระอาจารย์มั่น พระอาจารย์ดี ถัดขึ้นไปเป็นบัลลังก์ ย่อมุมรูปดอกบัวปิดทอง อันเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดอุบลราชธานี และเป็นดอกไม้ประจำพระบวรพุทธศาสนา สัณฐาณเจดีย์รูปทรงเป็นรูปกรวยเอกลักษณ์สถาปัตยกรรมอีสาน ทรงแปดเหลี่ยม หมายถึงมรรคมีองค์แปด อันได้แก่ สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ต่อด้วย ยอดเจดีย์ หมายถึง นิพพาน เป็นรูปกรวยกลมแหลมประดับด้วยทองอร่ามตา เป็นยอดสูงสุดแลลิ่วสู่ฟากฟ้าเหนือสุดมีฉัตรทอง ปรกองค์พระเจดีย์อันสูงส่ง ควรแก่การสักการะบูชา

    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif][​IMG] ภูมิสถาปัตยกรรม
    พระเจดีย์ตั้งอยู่ท่ามกลางแมกไม้ใหญ่ ที่ยังรักษาสภาพป่าไม้ธรรมชาติเดิมไว้ ฐานพระเจดีย์เป็นกำแพงหินทรายโดยรอบยกสูง ปูหญ้าและจัดแต่งสวน เบื้องหน้าพระเจดีย์ทางซ้ายมีกุฏิที่พระอาจาย์เสาร์เคยอยู่จำพรรษา เป็นกุฏิไม้เล็กๆขนาดห้อง 2.50x4.00 ตารางเมตร ยกใต้ถุนสูง 1.20 เมตร มีเพียงหนึ่งห้องและมีระเบียงหน้าห้อง ยาวตลอด ทางขึ้นเป็นบันไดไม้พาด 3 ชั้น ก้าวห่างๆผนังกั้นเป็นผนังไม้ซ้อนทับเกล็ด หลังคามุงด้วยแผ่นไม้ ผ่าเป็นแผ่นยาว 0.40 เมตร ซ้อนทับกัน มีลักษณะง่ายๆ สมถะ ถัดมาเป็นแท่นหิน ที่นั่งกรรมฐานของหลวงปู่เสาร์ เบื้องหน้าเป็นทางเดินจงกรมที่หลวงปู่เสาร์เคยใช้เดินจงกรม และมีทางเดินจงกรมที่หน้าบันไดกุฏิด้วย ทำให้เห็นถึงปฏิปทาของหลวงปู่เสาร์ที่มุ่งมั่นปฏิบัติสมาธิภาวนา โดยรอบพระเจดีย์เป็นลานกว้าง ใช้ปฏิบัติศาสนกิจ เช่น เวียนเทียน แยละมีทางเชื่อมศาลากับเจดีย์เป็นลานคอนกรีต ที่ยังเก็บรักษาต้นไม้ที่มีอยู่ไว้ จึงมีต้นไม้ใหญ่ผุดขึ้นในลานดูร่มรื่น และให้บรรยากาศของวัดป่า ด้านขวามีป้ายชื่อ "เจดีย์พิพิธภัณฑ์ ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺสีโล พระปรมาจารย์สายพระกรรมฐาน" ทำด้วยหินทรายสีขาว ขนาด 2.80 เมตร สูง 1.20 เมตร
    [/FONT]...


    </td></tr></tbody></table>
     

แชร์หน้านี้

Loading...