พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น กรุงเทพมหานครTHE BMA LOCAL MUSUEM

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย PyDE, 14 มกราคม 2006.

  1. PyDE

    PyDE เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2005
    โพสต์:
    811
    ค่าพลัง:
    +1,318
    สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว สังกัดกรุงเทพมหานคร ... เรื่อง
    นุ บางบ่อ ...
    ภาพ
    ไผ่พริ้ว... ป่วนเรื่อง/ภาพ

    สำนักงานวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว สังกัดกรุงเทพมหานคร ภายใต้หลักการและแนวความคิดของ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่ต้องการจะสานความฝันของคนไทยให้ได้มีแหล่งการเรียนรู้ใหม่ ๆ เกิดขึ้น จึงได้ริเริ่มโครงการที่จะดำเนินการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น กรุงเทพมหานครขึ้นมา เพื่อให้เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลความรู้เกี่ยวกับวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียม ประเพณี และประวัติศาสตร์ที่สำคัญในแต่ละท้องถิ่น รวมถึงการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น กรุงเทพมหานคร ให้เป็นแหล่งศูนย์กลางสำหรับนักท่องเที่ยว และผู้ที่สนใจสามารถที่จะค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่สำคัญ ประวัติความเป็นมา และข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ทั้งทางด้านวิชาการ และทางด้านการท่องเที่ยวอีกด้วย โดยเริ่มต้นลงมือดำเนินการไปยังบริเวณพื้นที่ 11 เขตของกรุงเทพมหานคร คือ เขตบางรัก , เขตบางกอกน้อย , เขตสัมพันธวงศ์ , เขตบางขุนเทียน , เขตคลองสาน , เขตจอมทอง , เขตทวีวัฒนา , เขตธนบุรี , เขตบางกอกใหญ่ , เขตราษฎร์บูรณะ และเขตหนองแขม
    ปัจจุบันการดำเนินงานจัดสร้างพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น กรุงเทพมหานคร จัดสร้างเสร็จสมบูรณ์ทั้งหมดทุกแห่งครบทั้ง 27 เขต โดยพิพิธภัณฑ์บางแห่งได้ทำการเปิดให้บริการกับประชาชนทั่วไป ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ที่ผ่านมา เช่น เขตบางรัก ( ซอยเจริญกรุง 43 ) , เขตบางขุนเทียน ( โรงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์ ถนนบางขุนเทียน - ชายทะเล ) , เขตสัมพันธวงศ์ ( วัดไตรมิตรวิทยาราม ) และ เขตบางกอกน้อย ( โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ซอยจรัญสนิทวงศ์ 32 )
    ส่วนพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น กรุงเทพมหานครที่ทำการจัดสร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี 2548 อันได้แก่ เขตคลองสาน , เขตจอมทอง , เขตทวีวัฒนา , เขตธนบุรี , เขตบางกอกใหญ่ , เขตราษฎร์บูรณะ และเขตหนองแขม ก็พร้อมให้บริการกับผู้ที่สนใจศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น นักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไป และได้มีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการไปตั้งแต่เมื่อช่วงเดือนมิถุนายน 2548 ที่ผ่านมา โดยได้รับเกียรติจาก นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานในพิธี โดยพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น กรุงเทพมหานคร จะเปิดบริการ ตั้งแต่เวลา 09.00 น. - 16.30 น. ทุกวันอังคาร - วันอาทิตย์
    <TABLE cellPadding=2 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="23%">[​IMG]</TD><TD width="77%" rowSpan=2>พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เขตจอมทอง ตั้งอยู่บริเวณ วัดยายร่ม ถนนพระรามที่ 2
    พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงมีพระกระแสรับสั่งให้มีการขุด เส้นทางคลองด่าน ขึ้นในเขตจอมทอง ซึ่งถือเป็นเส้นทางสายประวัติศาสตร์ ที่เชื่อมโยงวิถีชีวิตชาวคลองของชุมชนในเขตจอมทองมาแต่ครั้งสมัยอยุธยามาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ วิถีชีวิตของชาวชุมชนเขตจอมทองประกอบอาชีพชาวสวนเป็นส่วนใหญ่ และผลิตผลทางด้านการเกษตรที่สำคัญของชาวจอมทองที่เลื่องชื่อ ก็คือ " ส้มบางมด " ซึ่งมีรสชาติหวานชื่นใจ , " ลิ้นจี่บางขุนเทียน " ที่มีลักษณะผลใหญ่และมีรสชาติหวานเป็นพิเศษ , การประกอบอาชีพค้าขายข้าวหลาม ใน " คุ้งข้าวหลาม " ที่จะทำกันเฉพาะช่วงเดือนพฤศจิกายน - เดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี ซึ่งเป็นช่วงที่เนื้อของไม้ไผ่กำลังเจริญเติบโต เหมาะสำหรับการนำมาใช้ทำข้าวหลาม โดยชาวชุมชนเขตจอมทองจะมีการสืบสานและอนุรักษ์ศิลปะ การแสดงแบบโบราณ เช่น " การแสดงโขนจิ๋ว " ของโรงเรียนอนุบาลบ้านยิ้ม , " การแสดงลิเกเด็ก " ของคณะมงคลศิลป์ โรงเรียนวัดมงคลวราราม สถานที่สำคัญในเขตจอมทองก็คือ " วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร " , " ตลาดน้ำวัดไทร " , " วัดบางขุนเทียนใน " , " วัดบางขุนเทียนกลาง " และ " วัดบางขุนเทียนนอก "

    สถานที่ตั้ง : วัดยายร่ม โทร. 0 2428 0685
    </TD></TR><TR><TD width="23%">[​IMG]</TD></TR><TR><TD width="23%">[​IMG]</TD><TD width="77%" rowSpan=2>พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เขตราษฎร์บูรณะ ตั้งอยู่ในบริเวณ โรงเรียนวัดประเสริฐสุทธาวาส
    เขตราษฎร์บูรณะ ในอดีตถือเป็นเส้นทางขนส่งสินค้าทางการเกษตรที่สำคัญ มีโรงสี และโกดังสินค้าตั้งอยู่เรียงรายริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ชาวชุมชนราษฎร์บูรณะส่วนใหญ่มีอาชีพเป็นชาวสวน โดยเฉพาะอาชีพการทำ " สวนหมาก " ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และการทำสวน " ชมพู่ม่าเหมี่ยว " ซึ่งมีรสชาติหวาน กรอบเป็นเอกลักษณ์ และในเขตราษฎร์บูรณะเป็นที่ตั้งของวัดวาอารามที่สำคัญหลายแห่ง เช่น วัดประเสริฐสุทธาวาส , วัดบางปะกอก , วัดแจงร้อน , วัดสน และวัดราษฎร์บูรณะ และยังเป็นที่ตั้งของ " สะพานพระรามเก้า " เส้นทางการคมนาคมที่สำคัญอีกด้วย

    สถานที่ตั้ง : โรงเรียนประเสริฐสุทธาวาส โทร. 0 2427 1307
    </TD></TR><TR><TD width="23%">[​IMG]</TD></TR><TR><TD width="23%">[​IMG]</TD><TD width="77%" rowSpan=2>พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เขตธนบุรี ตั้งอยู่บนชั้น 3 อาคารโรงเรียนส่งเสริมพุทธศาสนา วัดประยุรวงศาวาส
    เขตธนบุรี ในอดีตเขตธนบุรีถือเป็นเมืองหน้าด่านการค้า ซึ่งเป็นแหล่งรวมผู้คนจากหลากหลายชาติพันธุ์มีทั้ง จีน , มอญ , ลาว ฝรั่ง และแขก ซึ่งมีถิ่นพำนักพักอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างผสมกลมกลืนกัน รวมถึงการประกอบธุรกิจ การค้าอยู่ในย่านเขตธนบุรีอย่างหนาแน่น จึงทำให้เขตธนบุรีเป็นแหล่งศูนย์รวมของศิลปวัฒนธรรม จากหลายสัญชาติ ไม่ว่าจะเป็น ศาลเจ้า , โบสถ์คริสต์ , มัสยิด และ วัด ตั้งอยู่เรียงรายอยู่ทั่วไปในเขตพื้นที่ธนบุรี อาทิเช่น วัดซางตาครู้ส , ศาลเจ้าเกียนอันเกง และ มัสยิดบางหลวง เป็นต้นอีกทั้งย่านธนบุรียังเป็นถิ่นฐานของเหล่าขุนนาง ตระกูลบุนนาค ที่มีชื่อเสียงมาจวบจนปัจจุบันอีกด้วย สถานที่สำคัญในเขตธนบุรี ก็คือ พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช , สำนักดนตรีไทย ตระกูลพาทยโกศล , ตระกูลสุนทรวาทิน , ตระกูลคงลายทอง และอาชีพดั้งเดิมของชาวธนบุรีก็คือ การทำสวนพลู ซึ่งเป็นแหล่งที่มาของธุรกิจการค้าพลูในย่านตลาดพลูที่ยังปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน

    สถานที่ตั้ง : วัดประยุรวงศาวาส โทร. 0 2465 5542
    </TD></TR><TR><TD width="23%">[​IMG]</TD></TR><TR><TD width="23%">[​IMG]</TD><TD width="77%" rowSpan=2>พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เขตบางกอกใหญ่ ตั้งอยู่ในพื้นที่ของ โรงเรียนฤทธิณรงค์รอน
    โดยในเขตบางกอกใหญ่ ถือเป็นศูนย์กลางการปกครองของกรุงธนบุรีเมื่อครั้งในอดีต เพราะเป็นที่ตั้งของพระราชวังเดิมของพระเจ้ากรุงธนบุรี ซึ่งชาวชุมชนบางกอกใหญ่ส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพทางด้านเกษตรกรรม และการทำสวนเป็นส่วนใหญ่ โดยวิถีชีวิตของชาวธนบุรีจะเป็นแบบวิถีชาวสวน หรือที่เรียกกันว่า " สวนใน " บางกอก และเป็นถิ่นฐานของเหล่าขุนนาง และเหล่าข้าราชบริพาร จนถูกขนานนามให้เขตบางกอกใหญ่เป็น " ถิ่นฐานย่านผู้ดีสมัยรัตนโกสินทร์ " และยังเป็นแหล่งรวมวัดวาอารามที่สำคัญเอาไว้มากมาย เช่น วัดอรุณราชวราราม ,วัดประดู่ฉิมพลี , วัดโมลีโลกยาราม และวัดราชสิทธาราม ฯลฯ รวมถึงขนบธรรมเนียมประเพณีประจำท้องถิ่น คือ งานแห่ผ้าไตร หลวงพ่อเกษร วัดท่าพระ และ งานสงกรานต์วัดอรุณ เป็นต้น

    สถานที่ตั้ง : โรงเรียนฤทธิ์ณรงค์รอน โทร. 0 2472 5542
    </TD></TR><TR><TD width="23%">[​IMG]</TD></TR><TR><TD width="23%">[​IMG]</TD><TD width="77%" rowSpan=2>พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เขตคลองสาน ตั้งอยู่บนชั้น 2 อาคารหอสมุดประชาชน วัดอนงคาราม ถนนสมเด็จเจ้าพระยา
    ซึ่งภายในบริเวณพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น จะทำการจัดแสดงชุดนิทรรศการเรื่องราวความสำคัญของเขตคลองสาน ในด้านของวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียม ประเพณีต่างๆ เอาไว้อย่างหลากหลาย และวัดอนงคารามยังมีประวัติศาสตร์ ความเป็นมาที่ผูกพันอย่างใกล้ชิดกับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือ องค์สมเด็จย่า ของชาวไทยมาแต่ครั้งอดีต และ เจ้าสัว เจ้าของธุรกิจที่ปัจจุบันประสบความสำเร็จในเมืองไทยหลาย ๆ ท่านก็เคยมีแหล่งพำนักพักอาศัยอยู่ในพื้นที่เขตคลองสานมาก่อนเช่นกัน ดังนั้นเขตคลองสานจึงถือเป็นแหล่งรวมศูนย์กลางด้านการค้าและย่านธุรกิจที่สำคัญทั้งในอดีตตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน รวมถึงมีแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ คือ " ป้อมป้องปัจจามิตร " , " สถานีศุลการักษ์ " , " สะพานปฐมราชานุสรณ์ " เป็นต้น

    สถานที่ตั้ง : อาคารหอสมุดประชาชน ชั้น 2 ภายในบริเวณวัดอนงคาราม โทร. 0 2437 5546
    </TD></TR><TR><TD width="23%">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น กรุงเทพมหานคร จึงถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับคนกรุงเทพฯ และผู้ที่สนใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น รวมถึงนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศในการเป็นแหล่งเสาะแสวงหาแหล่งความรู้ ซึ่งถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแนวใหม่ โดยผู้ที่เข้าร่วมชมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น สามารถร่วมเดินทางย้อนกลับไปศึกษาตำนาน แหล่งประวัติศาสตร์ รู้จักขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม เข้าใจวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนในแต่ละท้องถิ่นอย่างใกล้ชิด เป็นการสั่งสมประสบการณ์ เพื่อนำไปสืบทอดตำนานของกรุงเทพฯ ให้เป็นวิทยาทานสำหรับเยาวชนในรุ่นต่อๆ ไป
    ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
    www.bmalocalmuseum.com
    พิพิธภัณฑ์เปิดบริการ ตั้งแต่เวลา 09.00 น. - 16.30 น. ทุกวันอังคาร - วันอาทิตย์ (หยุดวันจันทร์)

     

แชร์หน้านี้

Loading...