พิธีปัจฉิมนิเทศพระธรรมทูตไปต่างประเทศ

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย aprin, 30 มีนาคม 2008.

  1. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    พิธีปัจฉิมนิเทศพระธรรมทูตไปต่างประเทศรุ่นที่ ๑๔/๒๕๕๑

    [​IMG]

    วันอาทิตย์ที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๐๐ พระพรหมมุนี ผู้รักษาการแทนเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต, กรรมการมหาเถรสมาคม เป็นประธานมอบวุฒิบัตรแก่พระธรรมทูตไปต่างประเทศ (ธรรมยุต) รุ่นที่ ๑๔/๒๕๕๑, มอบใบแต่งตั้งเจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์(ธรรมยุต) และแต่งตั้งประธานกรรมการบริหาร คณะสงฆ์ธรรมยุตในประเทศอินโดนีเซีย ณ สถาบันฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ (ธรรมยุต) วัดพระศรีมหาธาตุ แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร

    พระธรรมวรเมธี ได้อ่านประกาศการแต่งตั้งเจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์(ธรรมยุต) ตามที่มหาเถรสมาคม ได้ประชุมมีมติให้พระสิริรัตนสุธี(ทรงยศ ชยยโส) อายุ ๖๖ พรรษา๔๗ วัดแสงธรรมสุทธารามเป็นเจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์(ธรรมยุต)

    จากนั้นพระเทพปริยัติวิมล อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย กรรมการบริหารสำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศได้รายงานการฝึกอบรมอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ (ธรรมยุต) รุ่นที่ ๑๔/๒๕๕๑ ความว่า พระเดชพระคุณ พระพรหมมุนี ผู้รักษาการแทนเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต, กรรมการมหาเถรสมาคม

    [​IMG]

    ในนามสำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ (ธรรมยุต) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย พระเถรานุเถระ คณะผู้สำเร็จการฝึกอบรม รู้สึกเป็นความกรุณาอย่างสูงที่พระเดชพระคุณได้เมตตามาเป็นประธานในพิธีปิดการฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศครั้งนี้ ขออนุญาตกราบเรียนรายงานกิจการพระธรรมทูตไปต่างประเทศโดยสังเขป ดังนี้

    การดำเนินการฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ ได้เริ่มจากมหาเถรสมาคมมอบหมายให้กรมการศาสนากับมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมหามจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ร่วมจัดการฝึกอบรมขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๑๐ ที่สำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ ตำหนักล่าง วัดบวรนิเวศวิหาร โดยรับพระภิกษุผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่ง ภายหลังต้องหยุดไปด้วยสาเหตุบางประการ ขณะที่งานเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศกลับเพิ่มขึ้น ได้มีพุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติร่วมกันจัดตั้งวัดขึ้นทั้งในทวีปเอเชีย ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา และยุโรป อาราธนาพระภิกษุไปอยู่ประจำวัดนั้น ๆ เสมือนเป็นศูนย์รวมจิตใจ บทบาทของวัดจะดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อมีพระสงฆ์ที่มีคุณภาพไปอยู่ประจำปฏิบัติศาสนกิจในต่างประเทศ สำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ(ธรรมยุต)ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย จึงได้จัดให้มีการฝึกอบรมพระภิกษุผู้สมัครจะไปเป็นพระธรรมทูตในต่างประเทศขึ้น ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๘ ถึงปัจจุบัน เป็นรุ่นที่ ๑๔ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

    ๑.เพื่อฝึกอบรมพระธรรมทูตให้มีความสามัคคี มีความมั่นใจในการปฏิบัติศาสนกิจด้านการเผยแผ่ในต่างประเทศและให้มีหลักการสอนในแนวเดียวกัน
    ๒.เพื่อเตรียมพระธรรมทูตที่มีคุณภาพ มีศีลาจารวัตรอันดีงาม มีความรู้ความสามารถทั้งในทางโลกและทางธรรม ส่งไปปฏิบัติศาสนกิจประจำวัดต่าง ๆ ในต่างประเทศ
    ๓. เพื่อสนองงานด้านการเผยแผ่ของคณะสงฆ์และมหาเถรสมาคม
    ๔. เพื่อสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาและรักษาศรัทธาของชาวพุทธทั่วโลก


    [​IMG]


    สำนักฝึกอบรมได้วางหลักสูตรการฝึกอบรม เป็น ๓ ภาค คือ ภาคทฤษฎี ภาคนวกรรม และภาคจิตภาวนา รวมเวลา ๓ เดือน เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการปฏิบัติศาสนกิจของพระธรรมทูตในต่างประทศ สำหรับอาจารย์ผู้ถวายความรู้ ได้รับความร่วมมือจากพระเถรานุเถระ พระธรรมทูต คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร สภากาชาดไทย เป็นต้น ทั้งนี้ ได้รับความอนุเคราะห์ด้านสถานที่พัก ที่อบรมจากวัดพระศรีมหาธาตุ การปฏิบัติภาคนวกรรมได้รับความอนุเคราะห์จากวัดเขาสุกิม อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี และการปฏิบัติภาคจิตภาวนาได้รับความอนุเคราะห์จากวัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ​

    ในการดำเนินการครั้งนี้ ได้รับความอุปถัมภ์และสนับสนุนส่วนงบประมาณค่าใช้จ่ายจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติในนามมหาเถรสมาคม มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และผู้มีจิตศรัทธาทั้งภายในประเทศและต่างประเทศเป็นอย่างดียิ่ง​

    สำหรับผู้สำเร็จการฝึกอบรมฯ รุ่นที่ ๑๔ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๑ นี้ มีจำนวน ๕๐ รูป ประกอบด้วยวิทยฐานะพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ระดับเปรียญเอก ๑ รูป เปรียญโท ๖ รูป และเปรียญตรี ๙ รูป ในจำนวนนี้มีคุณวุฒิระดับปริญญาโท ๗ รูป ปริญญาตรี ๑๙ รูป และต่ำกว่าปริญญาตรี ๒๔ รูป นับว่าการฝึกอบรมพระธรรมทูต ฯ ครั้งนี้ คาดว่าจะได้พระธรรมทูตผู้มีความสามารถ ทั้งด้านความรู้ ประสบการณ์ ความมั่นใจ ความมีศีลาจารวัตรอันดีงาม ความเสียสละ ตลอดถึงความสมัครสมานสามัคคี อันจะเป็นประโยชน์เกื้อกูลหนุนต่อการปฏิบัติศาสนกิจในต่างประเทศ และก่อให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาของชาวพุทธทั่วไป​

    ในพิธีปัจฉิมนิเทศการฝึกอบรมในครั้งนี้ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย โดยศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้อนุเคราะห์การถ่ายทอดสด และสัมภาษณ์สดไปในต่างประเทศพร้อมกันใน ๔ ทวีป เพื่อเผยแพร่กิจกรรมให้พระธรรมทูต และผู้สนใจทั่วไปทั้งในและต่างประเทศได้รับชมด้วย​

    อนึ่ง ในพิธีปัจฉิมนิเทศและมอบวุฒิบัตรพระธรรมทูต จะมอบใบแต่งตั้งประธานกรรมการบริหารคณะสงฆ์ธรรมยุตในประเทศอินโดนีเซียพร้อมกันนี้ด้วย​

    บัดนี้ ได้เวลาอันสมควรแล้ว เกล้า ฯ ขออนุญาตให้เจ้าหน้าที่ สำนักฝึกอบรม อ่านคำสั่งแต่งตั้งประธานกรรมการบริหาร คณะสงฆ์ธรรมยุตในประเทศอินโดนีเซีย และขานชื่อผู้สำเร็จการฝึกอบรม เข้ารับวุฒิบัตร พร้อมกับโปรดให้โอวาทแก่ผู้สำเร็จการฝึกอบรม เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติศาสนกิจ เป็นสิริมงคลแก่คณะกรรมการและเจ้าหน้าที่ดำเนินการฝึกอบรม ตลอดถึงอุบาสกอุบาสิกาผู้ถวายการอุปถัมภ์ครั้งนี้โดยทั่วกัน​

    แต่งตั้งประธานกรรมการบริหาร คณะสงฆ์ธรรมยุตใน ประเทศอินโดนีเซีย
    ก่อนจะมอบวุฒิบัตรแก่พระธรรมทูต พระพรหมมุนีได้มอบใบแต่งตั้งพระสิริรัตนสุธี(ทรงยศ ชยยโส) เป็นเจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์(ธรรมยุต) และมอบแต่งตั้งประธานกรรมการบริหาร คณะสงฆ์ธรรมยุตใน ประเทศอินโดนีเซียแก่พระครูใบฎีกาวงศ์สิน ลาภิโก วัดวิปัสสนา คราหะ พระธรรมทูตรุ่นที่ ๓ ได้เผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศอินนีเชียเป็นเวลา ๙ ปี ในประเทศอินโดนีเชียพระธรรมทูตไทยได้ซื้อกิจการโรงเรียนของอินโดนีเชีย และจะเปิดรับนักเรียนระดับอาชีวศึกษาในปีการศึกษา ๒๕๕๑ นี้ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศอินโดนีเชียส่วนมากจะเน้นที่ภาษาอินโดนีเชีย ซึ่งปัจจุบันมีศาสนาที่ได้รับการรับรอง ๕ ศาสนา ศาสนาพุทธกำลังเริ่มเป็นที่ยอมรับของชาวอินโดนีเชีย

    จากนั้นพระพรหมมุนี ได้กล่าวสัมโมทนียถาแก่พระธรรมทูตสรุปความว่า ท่านพระเถรานุเถระ ผู้สำเร็จการฝึกอบรม และผู้ร่วมในพิธีทุกท่าน พระธรรมทูตจงตั้งใจไปปฏิบัติหน้าที่เป็นพระธรรมทูตที่ดี เพื่อประโยชน์ของพระพุทธศาสนาต่อไป เราต้องตั้งใจเป็น แม้จะเป็นไม่สมบูรณ์นัก เช่นปีนี้รู้สึกจะมีการอบรมที่เข้มข้นโดยใช้เวลานานถึงสามเดือน หวังว่าพระธรรมทูตทุกท่านคงได้รับความรู้ของการเป็นพระธรรมทูตที่มีคุณภาพ จะได้ทำงานเพื่อพระพุทธศาสนา การไปเป็นพระธรรมทูตในต่างประเทศนั้นนับว่าเป็นความเสียสละอย่างสูง เพราะการอยู่ในต่างประเทศอาจจะไม่มีความสะดวกเหมือนในบ้านเรา ทั้งดินฟ้าอากาศ ที่อยู่อาศัยจึงขออนุโมทนาต่อทุกท่าน การเผยแผ่พระพุทธศาสนามีหลักการที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงหลักการไว้ในการส่งพระสาวกไปประกาศพระศาสนาคือขันติในทุกเรื่อง ทั้งจากฝ่ายตรงข้ามที่อาจจะมีคำโต้แย้งที่อาจจะทำให้เราต้องลำบากใจ ต้องไม่ไม่ว่าร้ายเขา ไม่ทำร้ายใคร ต้องมีความประพฤติเหมาะสมดีงาม ที่ท่านใช้คำว่าสำรวมในพระปาฏิโมกข์ นั่นคือการประพฤติเคร่งครัดในพระธรรมวินัย แม้ความรู้จะมีไม่มากนัก แต่ถ้ามีความประพฤติดีก็อาจจะทำให้ผู้พบเห็นเกิดความเลื่อมใสได้ดังเช่นพระอัสสชิที่ทำให้อุปติสสะเลื่อมใส ต่อมาได้กลายเป้นอัครสาวกเบื้องขวาของพระพุทธเจ้า ดังนั้นความประพฤติที่ดีจึงเป็นสิ่งที่พระธรรมทูตควรสังวรให้มาก แม้ในเมืองไทยผู้ที่มีความประพฤติดีงามก็ทำให้เกิดศรัทธาได้ง่ายเช่นหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธเป็นต้น ความประพฤติดีจึงเป็นเหมือนเกราะป้องกันตัวที่ดี

    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ให้หลักการไว้คือต้องฟังเป็น และชี้แจงให้เขาเข้าใจได้ นั่นคือการศึกษาที่แท้คือการทรงจำพุทธวจนะไว้ได้ ข้อสำคัญคือไม่ก่อความไม่งามให้เกิดขึ้น ถ้าหากไม่ชี้แจงให้เขาเข้าใจได้ถือว่าเป็นความผิดของเรา มิใช่ความผิดของเขา ดังนั้นพระธรรมทูตไม่ควรก่อความทะเลาะวิวาทขึ้น

    พระธรรมทูตรุ่นแรกอบรมพร้อมกันทั้งสองนิการที่วัดบวรนิเวศวิหาร และพระธรรมทูตเหล่านั้นไปประกาศพระพุทธศาสนา ที่ได้ประโยชน์มากแห่งหนึ่งคือที่ประเทศอินโดนีเชีย ทำให้มีคนอินโดนีเชียเข้ามาอุปสมบทเป็นจำนวนมาก ส่วนในประเทศอื่นๆก็ยังไม่ค่อยมีคนท้องถิ่นเข้ามาบวช ถ้าคนท้องถิ่นเข้ามมาบวชนั่นแสดงว่าพระพุทธศาสนาตั้งมั่น

    ในวันนี้ขอให้ทุกท่านจงตั้งใจว่า ทำอย่างไรจึงจะทำให้พระพุทธศาสนาแผ่กระจายไปยังต่างประเทศให้มากที่สุด พระไทยในต่างประเทศไปปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของพระธรรมทูต ขอให้พเราตั้งใจเป็นพระก็ต้องตั้งใจเป็นให้ได้ เป็นพระธรรมทูตก็ต้องเป็นพระธรรมทูตให้ได้ แม้จะไม่เต็มก็ต้องพยายามทำให้ได้ ความรู้แม้จะน้อยแต่ความประพฤติดีก็ใช้ได้ แต่ถ้าความรู้มาก แต่ความประพฤติไม่ดีอย่างนี้ใช้ไม่ได้

    ขออนุโมทนาคณะกรรมการ และผู้ดำเนินการฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ (ธรรมยุต) พุทธศาสนิกชนผู้ให้การอุปถัมภ์ ตลอดถึงผู้สำเร็จการฝึกอบรมทุกท่านได้ร่วมมือร่วมใจกันดำเนินการครั้งนี้ เป็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ช่วยกันสร้างศาสนทายาทออกไปเผยแผ่ในต่างประเทศ ขออนุโมทนาและขออำนวยพรให้ทุกท่านมีความสุขความเจริญ และขอให้ทุกท่านปฏิบัติหน้าที่เต็มความสามรถและขอให้มีความเจริญงอกงามในพระพุทธศาสนาตลอดไป

    พระธรรมทูตไปต่างประเทศ(ธรรมยุต) มีการฝึกอบรมเป็นเวลาสามเดือน โดยอบรมภาคทฤษฎีเป็นเวลา ๓๐ วัน ภาคนวกรรม ๑๕ วันและภาคจิตภาวนาอีก ๑๕ วัน

    การอบรมภาคทฤษฎีเป็นเรื่องของวิชาการต่างๆที่พระธรรมทูตจำเป้นต้องรู้เช่นความรู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา พระไตรปิฎก ข้อปฏิบัติบางประการในต่างประเทศ ภาษาต่างประเทศเป็นต้น
    อบรมภาคนวกรรม

    พระธรรมทูตรุ่นที่ ๑๔ มีเวลาในการฝึกอบรมเป็นเวลา ๓ เดือนโดยฝึกอบรมภาคทฤษฎีที่วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขนเป็นเวลาสองเดือน จากนั้นไปฝึกอบรมภาคนวกรรมที่วัดเขาสุกิม จันทรบุรีเป็นเวลา ๑๕ วัน วัดเขาสุกิม ตำบลเขาบายศรี อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี มีประวัติโดยย่อดังนี้

    ใน ปี พ.ศ. ๒๕๐๙ พันโทสนิท พร้อมด้วยคุณนายประนอม บูรณะคุณและคุณรัตนา เอกครพานิช ได้มีจิตศรัทธาบริจาคที่ดิน จำนวน ๖ ไร่ ๕๐ ตารางวา ถวายเพื่อสร้างวัด ต่อจากนั้น ประชาชนชาวบ้านได้เข้ามาสนับสนุน ส่งเสริมด้านต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น เป็นต้นว่า ได้ช่วยกันบริจาคทุนทรัพย์ในการสร้างกุฏิกรรมฐานขนาดเล็กขึ้นจำนวนหลายหลัง เพื่อทดแทนกุฏิชั่วคราวที่ได้จัดสร้างไว้ในครั้งแรก ที่ได้ชำรุดทรุดโทรมลงไปและได้ทำการปลูกสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกด้านอื่น ๆ อีกหลายอย่าง เพื่อถวายแก่พระภิกษุสามเณร และผู้ปฏิบัติธรรม ในระยะเวลาต่อมา กุฏิกรรมฐานขนาดเล็กก็ได้พัฒนาขึ้นเป็นกุฏิกรรมฐานขนาดถาวรสองชั้น มีทางเดินจงกรมยาว ๒๕ ก้าว ทั้งชั้นล่างและชั้นบน

    [​IMG]

    ตลอดระยะเวลาที่ หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ได้ก้าวขึ้นมาบนภูเขาสุกิมแห่งนี้ นับเป็นระยะเวลาถึง ๔๐ ปีเศษ (๒๕๐๗-๒๕๕๑) หลวงปู่ท่านเป็นผู้บุกเบิก ริเริ่มและสร้างสรรค์ภูเขาซึ่งเป็นป่าดงดิบ ให้เป็นวัดที่ร่มรื่น เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของพระภิกษุสามเณรและผู้ที่สนใจปฏิบัติกรรมฐาน เป็นสถานที่ทัศนาจรของประชาชนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ในเวลา ๔๐ ปีเศษ วัดเขาสุกิมได้พัฒนาขึ้นมาอย่างช้า ๆ แต่ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้น ได้แก่ ศาสนสถาน ศาสนสมบัติ ศาสนวัตถุ เช่น เสนาสนะ กุฏิ อาคาร สิ่งของต่าง ๆ และวัตถุโบราณต่าง ๆ ที่มีอยู่ในวัดเขาสุกิมทั้งหมดนั้น เกิดขึ้นด้วยบุญญาบารมีของหลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโยทั้งสิ้น กล่าวคือ ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นด้วยพลังศรัทธาของประชาชนที่มีความเคารพนับถือเลื่อมใส แล้วจึงได้เสียสละทุนทรัพย์จัดสร้างและบริจาคสิ่งของสนับสนุนเป็นประจำวันมิได้ขาด ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นจากผู้ที่มีศรัทธานำมาถวายทั้งสิ้น ปัจจุบันวัดเขาสุกิมมีเนื้อที่ในการขออนุญาตสร้างวัด จำนวน ๖ ไร่ ๕๐ ตารางวา มีเนื้อที่เป็นของวัด ๓,๓๔๔ ไร่ ต่อมาได้ยกที่ให้ โรงเรียนมัธยมวัดเขาสุกิม ๕๐ ไร่ และโรงพยาบาลวัดเขาสุกิม ๑๔ ไร่ จึงเหลือเนื้อที่ของวัด ๓,๒๘๐ ไร่ หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ได้เริ่มบุกเบิก จนเป็นที่รู้จักของผู้ปฏิบัติธรรมและสาธุชนทั่วไป เป็นที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นสถานที่มีความสำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดจันทบุรี

    ในแต่ละวันที่วัดเขาสุกิมจะมีสาธุชนเดินทางไปกราบนมัสการหลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย เป็นประจำทุกวันมิได้ขาด ทั้งประชาชนในท้องถิ่นและต่างจังหวัด ตลอดจนทั้งชาวต่างประเทศ บุคคลที่ไปนั้นไม่เฉพาะพุทธศาสนิกชนเท่านั้น ศาสนิกในศาสนาอื่นก็ได้ไปเยี่ยม นมัสการอยู่เป็นประจำ เช่น ศาสนาคริตส์ อิสลาม ซิกส์ เป็นต้น

    วัดเขาสุกิมตั้งแต่เริ่มแรกจนถึงปัจจุบัน มีเจ้าอาวาสมาแล้ว ๓ รูป ลำดับได้ดังนี้
    ๑. พระอธิการคำพันธ์ สิริปญฺโญ เป็นเจ้าอาวาส ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๘-๒๕๑๗
    ๒. พระอธิการคำพันธ์ คมฺภีรญาโณ เป็นเจ้าอาวาส ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๗-๒๕๒๖
    ๓. พระญาณวิลาศ (บุญ สิริปญฺโญ) เป็นเจ้าอาวาส ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๖- ปัจจุบัน
    ปัจจุบันมีพระภิกษุ ๒๕ รูป สามเณร ๒ รูป แม่ชี ๓๐ คน และคณะอุบาสก อุบาสิกาผู้ปฏิบัติธรรมในแต่วัน ประมาณ ๒๐ คน
    วัดเขาสุกิมมีความชำนาญในงานนวกรรม เพราะมีการก่อสร้างถาวรวัตถุเพื่อประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา ดังนั้นพระธรรมทูตจึงได้ไปศึกษาเรียนรู้งานด้านนวกรรม เพื่อจะได้นำไปใช้ในการทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศ

    อบรมภาคจิตภาวนา
    เมื่อเสร็จสิ้นการฝึกอบรมภาคนวกรรมแล้ว จากนั้นผู้เข้ารับการฝึกอบรมพระธรรมทูตจึงได้เดินทางไปฝึกภาคจิตภาวนาที่วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม ตำบลกลางดง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม มีความสงบ ร่มเย็น เป็นวัดที่สวยงาม มีพระพุทธรูปสีขาว ประดิษฐานอยู่ ณ ไหล่เขา อันมีนามว่าเขาสีเสียดอ้า หรือเขาเทพพิทักษ์ มีประวัติโดยย่อดังนี้

    วัดเทพพิทักษ์ปุณณารามเกิดขึ้นจากดำริของพระอาจารย์ท่านพ่อลี (พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์) ที่จะสร้างวัดขึ้น ณ เชิงเขาสีเสียดอ้าไปพร้อม ๆ กับการสร้างพระพุทธรูปไว้บนเนินเขา การสร้างพระพุทธรูปองค์นี้ได้ทำการขยายส่วนมาจากพระพุทธรูป ภ.ป.ร. ซึ่งเป็นพระพุทธรูป ปางประทานพร

    สำหรับผู้ที่เป็นผู้นำในการก่อสร้างวัดเทพพิทักษ์ปุณณารามพร้อมกับพระพุทธรูปองค์นี้ คือ พลเอกพงษ์ ปุณณกันต์ ซึ่งได้เริ่มสร้างตั้งแต่ครองยศเป็นพลโท และตามจารึกปณิธานวจนะ ซึ่งบรรจุอยู่ภายในองค์พระพุทธรูปบอกไว้ว่า เนื่องจากผู้สร้างได้รำลึกถึงโอวาทของพระอาจารย์ท่านพ่อลี เมื่อท่านพระอาจารย์ยังมีชีวิตอยู่ได้มอบหมายให้ตนสร้างพระพุทธปฏิมากรกับองค์แห่งธุดงค์วัตร ๑๓ ประการ จึงได้ชักชวนศิษยานุศิษย์ของท่านพ่อลีก่อสร้างพระพุทธรูปองค์นี้ ซึ่งได้ลงมือสร้างเป็นปฐมเมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๐ และได้สำเร็จเป็นองค์พระบริบูรณ์เมื่อวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๑๒

    พระพุทธสกลสีมามงคล ซึ่งนับได้ว่าเป็นพระพุทธรูปปางประทานพรที่ใหญ่ที่สุดในโลก องค์พระหล่อด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กทั้งหมดมีน้ำหนักถึง ๓,๐๐๐ ตัน หน้าตักกว้าง ๒๗ เมตร และการสร้างนี้เพื่อเป็นการน้อมเกล้าฯ ถวายโดยพระราชกุศลเป็นพระบรมราชานุสรณ์พิเศษ และได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานพระนามจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พร้อมทั้งขอพระราชทานพระปรมาภิไธยย่อทั้ง ๒ พระองค์ อัญเชิญประดิษฐานที่ฐานพระพุทธรูป และทรงพระราชทานพระนามว่า
     

แชร์หน้านี้

Loading...