พระไตรปิฏกกัณฐ์ที่ ๓/๒๐ พระศรีอารย์ คือพระจักรพรรดิกึ่งพระศาสนานี้

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย พลน้อย, 1 กรกฎาคม 2009.

  1. พลน้อย

    พลน้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +473
    ใบลาน : พระศรีอารย์เทศนา ๒๐กัณฐ์
    โดย : ธวัช เฟื่องประภัสสร์ ป.๙ สำนักวัดเบญจมบพิตร<o></o>
    ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา : นายรวล รุ่งเรืองธรรม พ.ศ.๒๔๙๘ (สงวนลิขสิทธิ์)<o></o>
    สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์อักษรเจริญทัศน์<o></o>
    ๑๙๕ เสาชิงช้า ถ.บำรุงเมือง พระนคร กรุงเทพฯ<o></o>

    <o></o>
    พระศรีอารย์กัณฐ์ที่๓<o></o>
    มิตตกถา การคบเพื่อน<o></o>
    สตฺโถ ปสวโต มิตฺตํ มาตา มิตฺตํ สเก ฆเร<o></o>
    สหาโย อตฺถชาตสฺส โหติ มิตฺตํ ปุนปฺปุนํ<o></o>
    สยํ กตานิ ปุญฺญานิ ตํ มิตฺตํ สมฺปรายิกนฺติ<o></o>
    <o></o>
    บัดนี้ จะแสดงพระธรรมเทศนาเรื่องพระศรีอารย์ ต่อจากกัณฐ์ก่อน เพื่อเป็นเครื่องเจริญศรัทธาประดับปัญญาแห่งท่านทั้งหลาย ก็การที่ท่านมาประชุมกันฟังธรรมในวันนี้ ก็ได้ชื่อว่าได้กระทำคุณงามความดีหรือที่เรียกว่าบุญกุศล อันนับว่าเป็นเพื่อนที่ดี สามารถติดตามท่านไปในภพหน้า<o></o>
    <o></o>

    ธรรมดาคนเราจะอยู่แต่โดยลำพังในโลกไม่ได้ เพราะต่างต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เป็นอันว่า จะต้องช่วยกันทำการงาน ซึ่งคนๆเดียวไม่สามารถทำให้สำเร็จลุล่วงไปได้ หรืองานบางอย่างต้องอาศัยกำลังคนหลายคนช่วยกันทำ เช่นการปลูกบ้านสร้างเรือนเป็นต้น ต้องอาศัยความช่วยเหลือของคนโน้นบ้าง คนนี้บ้าง จึงจะสำเร็จได้
    <o></o>
    <o></o>

    อนึ่ง ตามธรรมดาของคน ย่อมมีการขาดตกบกพร่องด้วยวัสดุสิ่งของเครื่องใช้ ในบางครั้งบางคราวต้องมีการหยิบยืมกันใช้สอย หรือบางคราวก็บกพร่องด้วยสติปัญญาวิชาความรู้ ซึ่งอาจจะทำงานพลั้งพลาดบ้างในบางกาลบางขณะ ต้องอาศัยผู้อื่นคอยเตือนสติบ้าง เหตุเหล่านี้แล เป็นปัจจัยให้คนทั้งหลายต้องคบหาสมาคม เอื้อเฟื้อเจือจาน ผูกไมตรีจิตในกันและกัน เพื่อได้อาศัยกันในคราวที่ต้องการ
    <o></o>
    <o></o>

    แต่บุคคลทุกๆคนย่อมมีอัธยาศัยและนิสสัยใจคอแตกต่างกัน มีความคิดและปัญญาความประพฤติไม่เหมือนกัน บางคนก็มีใจหนักแน่นอดทน บางคนก็โกรธง่าย แต่คงแบ่งได้สั้นๆเป็น๒ประเภท คือ ที่เป็นพาลสันดานชั่วร้ายที่เรียกว่า ปาปชนประเภทหนึ่ง เป็นคนดีมีสันดานสงบเรียบร้อย ประพฤติกาย วาจา ใจ ตามทำนองคลองธรรม ที่เรียกว่า กัลยาณชนประเภทหนึ่ง<o></o>
    <o></o>

    ก็แหละ การคบหาสมาคมซึ่งกันและกันนั้น ย่อมเป็นปัจจัยให้นิสสัยสืบเนื่องติดต่อกันได้ ถ้าคบคนชั่ว ย่อมมีคนชั่วเป็นคติ ดังนัยเทศนาว่า ยํ เว สวติ ตาทิโส คบคนเช่นไรย่อมเป็นเหมือนคนนั้น ดังนี้ การคบคนชั่วย่อมเป็นมลทิน พาตัวให้มัวหมอง ปราศจากประโยชน์ที่จะพึงได้พึงถึง มักจะชักชวนในสิ่งที่ผิด ประกอบการทุจริตต่างๆ หรือแม้ไม่ถึงเช่นนั้น อันบุคคลผู้สมาคมหรือดำเนินตามรอยคนพาล ย่อมได้รับการครหานินทา เช่นว่า เราจะไม่เป็นคนเสพสุรายาเมาเป็นความจริง แต่ไปเดินตามคนเสพสุรายาเมาเข้า ย่อมมีอาการให้มหาชนลงสันนิษฐานว่า เราเป็นคนเช่นนั้นด้วย ยากที่จะพิสูจน์ตัวให้บริสุทธิ์ได้ ท่านจึงมีอุปมาไว้ว่า เหมือนด้วยใบไม้ที่ห่อของเน่า มีปลาร้าเป็นต้น แม้จะไม่ติดเปื้อนเปรอะก็คงมีกลิ่นเหม็นติดอยู่ เพราะฉะนั้น บุคคลจึงไม่ควรคบหาคนพาล ดังคำว่า อเสวนา จ พาลานํ ความไม่คบหาซึ่งคนพาลเป็นมงคลอันสูงสุด ดังนี้
    <o></o>
    <o></o>

    ส่วนการคบหาสมาคมกับด้วยกัลยาณชนคนดี มีความประพฤติสงบเสงี่ยมเรียบร้อยนั้นย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ เพราะบุคคลผู้เป็นสัตบุรุษเช่นนั้น อาจสามารถจะแนะนำสั่งสอนชักชวนให้ปฏิบัติดำเนินไปในปฏิปทาอันเป็นทางมาแห่งความดีความชอบเป็นลำดับไป หรือว่าบางคาบบางสมัย เราจะพลั้งเผลอปราศจากสติ ทำความชั่วอย่างใดอย่างหนึ่ง สัตบุรุษนั้นอาจตักเตือนให้รู้สึกและละเว้นเสีย กลับดำเนินในทางที่ถูกได้ โดยที่สุดแม้จะทำดีให้เสมอเหมือนเขาไม่ได้ ก็ยังได้รับการยกย่องสรรเสริญว่าเป็นผู้คบสัตบุรุษ ซึ่งท่านเปรียบไว้ว่า เหมือนใบไม้หรือกระดาษที่ห่อกฤษณาหรือกะลำพัก แม้จะไม่มีเนื้อไม้ของหอมติดมาเลย ก็คงมีกลิ่นหอมติดมาบ้าง เพราะฉะนั้น จึงควรที่จะเลือกคบหาสมาคมด้วยธีรชนบัณฑิตชาติ แม้นักปรารชญ์ก็สรรเสริญไว้ว่า ความคบหาสมาคมซึ่งบัณฑิต เป็นอุดมมงคลอีกประการหนึ่ง

    <o></o>

    อนึ่ง คำว่ามิตรและสหายเป็นคำมาคู่กัน แต่ท่านมุ่งอัตถะต่างกัน กล่าวโดยสาธารณนัย ชนผู้ประพฤติร่วมกัน เช่นทำหน้าที่การงานและอยู่ร่วมกัน ไม่ถึงแก่การรักใคร่กัน ท่านเรียกว่าสหายบ้าง อมาตย์บ้าง ชนผู้รักใคร่สนิทสนม ร่วมสุขร่วมทุกข์กัน จะอยู่ร่วมกันหรือไม่ก็ตาม ท่านเรียกว่ามิตร<o></o>
    <o></o>

    มิตรมีหลายประเภท ที่เป็นภายในก็มี ภายนอกก็มี ดังพระพุทธภาษิตคาถา ซึ่งยกไว้ ณ เบื้องต้นว่า

    <o></o>
    สตฺโถ ปสวโต มิตฺตํ มาตา มิตฺตํ สเก ฆเร<o></o>
    สหาโย อตฺถชาตสฺส โหติ มิตฺตํ ปุนปฺปุนํ<o></o>
    สยํ กตานิ ปุญฺญานิ ตํ มิตฺตํ สมฺปรายิกนฺติ<o></o>
    <o></o>

    ความว่า หมู่เกวียนเป็นมิตรของคนเดินทาง มารดาเป็นมิตรในเรือนของตน สหายเป็นมิตรของคนมีธุระเกิดขึ้นเนืองๆ บุญทั้งหลายที่ทำไว้แล้วด้วยตนเป็นมิตรติดเนื่องในภพเบื้องหน้า ดังนี้
    <o></o>
    <o></o>

    คนผู้เดินทางเมื่อขาดมิตรย่อมรู้สึกอ้างว้างเปลี่ยวใจ เมื่อได้พบหมู่เกวียนในระหว่างทางย่อมยินดี หรือผู้เดินทางไกลจนเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าหมดกำลัง เมื่อได้นั่งเกวียนบรรเทาความกรากกรำและทำให้ปลอดภัยอันตราย ก็จัดได้ว่าหมู่เกวียนเป็นมิตร เพราะยังประโยชน์กิจให้สำเร็จได้<o></o>
    <o></o>

    บรรดาอันโตชนผู้ร่วมกิจการอันสนิท ท่านยกเอามารดาเป็นมิตรอย่างสำคัญ เมื่อมารดาอยู่ด้วย ช่วยทำกิจตามส่วนที่ควรจัดทำ ทั้งเป็นผู้อุปถัมภ์บุตรธิดาในกรณียทุกอย่าง เหตุนั้น ท่านจึงขนานนามมารดาว่าเป็นพรหม เป็นบุรพาจารย์ และเป็นอาหุเนยยบุคคล แต่มิตรประเภทนี้ มีกำลังช่วยเหลือเพียงภายใน
    <o></o>
    <o></o>

    ชนผู้เป็นเพื่อนร่วมการงาน ท่านเรียกเพียงสหาย ต่อเป็นผู้มีเมตตาสนิทสนมไว้วางใจกันได้ ในสมัยที่มีธุระเกิดขึ้นก็ช่วยขวนขวายในกิจนั้นๆจนสำเร็จลุล่วงไปอย่างนี้ จึงสมควรเรียกว่ามิตร แต่ก็เป็นมิตรภายนอก
    <o></o>
    <o></o>

    บุญทั้งส่วนเหตุและส่วนผลอันสำเร็จด้วยทาน ศีล ภาวนา ที่บุคคลบำเพ็ญอยู่แล้ว ย่อมติดตามไปเป็นอุปถัมภกปัจจัย ให้ได้รับความสำราญชื่นบานในสุคติภพยิ่งๆขึ้นไป จัดเป็นมิตรภายในที่ให้ผลยั่งยืนถึงภายหน้า
    <o></o>
    <o></o>

    บรรดามิตรเหล่านั้น มิตรภายนอกทั่วไปอาจเป็นมิตรได้ทั้งชั่วและดี เพราะยังขึ้นอยู่แก่คน ถ้ามิตรชั่วก็เรียกว่าปาปมิตร ถ้ามิตรดีก็เรียกว่ากัลยาณมิตร ความเป็นผู้มีปาปมิตรย่อมเป็นไปเพื่อความเสียหายอย่างใหญ่ ความเป็นผู้มีกัลยาณมิตรย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างมหันต์ เหตุนั้น บัณฑิตท่านจึงสอนไว้ให้เว้นมิตรชั่วเสียให้ห่างไกล เหมือนคนเดินทางเว้นทางที่มีภัยอันตราย และพึงเข้าหามิตรดี เหมือนมารดาไม่ทิ้งบุตร ฉะนั้น<o></o>
    <o></o>

    ก็แหละ บุคคลแม้จะได้กัลยาณมิตรแล้วก็ตาม แต่ถ้ามีจิตปฏิพัทธ์ มุ่งมั่นอนุเคราะห์จนเกินไป กล่าวคือพะวงแต่ในกิจธุระของมิตรสหายส่วนเดียว ไม่แลเหลียวถึงการจะบำเพ็ญประโยชน์ตน ก็เป็นผลทำตนให้เสื่อมจากคุณที่จะพึงได้พึงถึง มิหนำ ถ้ามุ่งอนุเคราะห์มิตรสหายในทางที่ไม่ดีไม่ชอบ ก็อาจยังประโยชน์ส่วนน้อยและประโยชน์ส่วนรวมให้เสียได้ อันเป็นภัยแก่ส่วนย่อยและส่วนรวม เพราะฉะนั้น ทางที่ดีจึงสมควรที่บุคคลจะพึงทำประโยชน์ให้เกิดขึ้นทั้งแก่ตน และทั้งแก่คนเป็นมิตรสหายตลอดถึงส่วนรวมร่วมกันไป จึงจะเป็นความดีงามในข้อนี้ ทั้งนี้ ก็เพราะเห็นในสันถวไมตรีนั้นว่าเป็นภัย จึงไม่มุ่งแต่จะสงเคราะห์มิตรสหายโดยฆ่าประโยชน์เสีย
    <o></o>
    <o></o>
    ก็แหละ คำที่ว่า ยังประโยชน์ให้เสื่อมนั้น ท่านหมายถึงประโยชน์ทั้ง๓ คือ<o></o>
    ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ คือประโยชน์ในปัจจุบัน๑ สัมปรายิกัตถประโยชน์ คือประโยชน์ในภายหน้า๑ และปรมัตถประโยชน์ คือประโยชน์อย่างยิ่ง๑<o></o>
    <o></o>

    ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์นั้น อันผู้ศึกษาพึงทราบว่าท่านไม่ได้หมายเอาธรรม๔ประการ มีอุฏฐานสัมปทาเป็นต้น ว่าเป็นตัวประโยชน์ แท้จริงธรรม๔ประการนั้น เป็นปฏิปทาทางดำเนินให้บรรลุทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ต่างหาก เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็อะไรเล่าเป็นตัวทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์<o></o>

    <o></o>
    ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์นั้น ได้แก่ทรัพย์ ยศ ไมตรีซึ่งเป็นอิฏฐผล อันสามัญชนพึงปรารถนา ชนใดทำตนให้ได้บรรลุผลเหล่านี้ครบทั้ง๓เช่นนั้น จัดว่าตั้งตนได้ และได้ชื่อว่า ยึดไว้ได้ซึ่งทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ก็บุคคลที่จะได้บรรลุผลเช่นนั้น ต้องประกอบด้วยธรรม๔ประการ มีอุฏฐานสัมปทาเป็นต้น<o></o>
    <o></o>

    ส่วน สัมปรายิกัตถประโยชน์ คือประโยชน์ในภายหน้านั้นได้แก่สมบัติ๒ประการ คือ มนุษย์สมบัติ๑ สวรรค์สมบัติ๑ สมบัติทั้ง๒ประการนี้ อันบุคคลจะพึงถึงก็เพราะประกอบด้วยธรรม๔ประการ มีสัทธาสัมปทาเป็นต้น
    <o></o>
    ปรมัตถประโยชน์ ประโยชน์อย่างยิ่งคือนิพพานสมบัติ ข้อปฏิบัติอันจะพึงเป็นไปเพื่อปรมัตถประโยชน์คือวิมุติมรรคผล สมเด็จพระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้เป็นอเนกประการ มีนัยวิจิตรพิสดารต่างๆ แต่เมื่อจะย่นลงกล่าวแล้ว ได้แก่ข้อปฏิบัติ๓ประการคือ ศีล สมาธิ ปัญญา
    <o></o>

    <o></o>
    ข้อที่ยกเอาวิมติ ความหลุดพ้นจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งปวงเป็นปรมัตถประโยชน์นั้น เพราะวิมุติเป็นคุณที่สุดแห่งพรหมจรรย์ จึงนับว่าเป็นประโยชน์อย่างสูง บุคคลหวังต่อประโยชน์คือวิมุตินั้น ต้องชำระกิเลสอย่างหยาบ ด้วยการศึกษาปฏิบัติในกองศีล, ต้องชำระกิเลสอย่างกลาง ด้วยการศึกษาปฏิบัติในกองสมาธิ, ต้องชำระกิเลสอย่างละเอียดที่เป็นอนุสัยเสีย ด้วยการศึกษาปฏิบัติในกองปัญญา
    <o></o>
    <o></o>

    เมื่อชำระจิตของตนให้ปราศจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งปวง เช่นนั้นแล้ว ย่อมมีจิตผ่องใสไม่ขุ่นมัว ดุจน้ำอันใสสะอาดปราศจากมลทินฉะนั้น เมื่อปฏิบัติและหยั่งทราบชัดลงเช่นนั้น จิตย่อมหลุดพ้นจากอาสวกิเลส เป็นสมุจเฉทประหาร บรรลุมรรคผลนิพพาน อันเป็นเอกันตบรมสุข โดยเหตุนี้ สีล สมาธิ ปัญญา จึงนับว่าเป็นข้อปฏิบัติส่วนปรมัตถปฏิปทา ด้วยประการฉะนี้.

    <o></o>
    บัดนี้จะได้แสดงเรื่องพระศรีอารย์สืบต่อไป ดำเนินความว่า เมื่อมหายักษ์ได้สมาทานศีลอยู่ตราบเท่าอายุขัยแล้วก็กระทำกาลกิริยา ตายไปบังเกิดเป็นบุรุษคนหนึ่ง มีกำลังร่างกายแข็งแรง อาศัยอยู่ ณ เชิงเขาแห่งหนึ่ง หาเลี้ยงชีพด้วยการปลูกผักพืชพรรณต่างๆ เขาที่บุรุษอาศัยอยู่นั้นก็เป็นเขาลูกเดียวกันกับเขาที่สมเด็จพระพุทธองค์เคยเสด็จไปสรงน้ำ และได้ทรงตากผ้าชุบสรงไว้ และได้มีฝูงลิงพากันมาถ่ายมูตรคูถ ทำให้เปรอะเปื้อนนั่นเอง<o></o>

    <o></o>
    อเถก ทิวสํ อยู่มากาละวันหนึ่ง บุรุษอริยเมตไตรยนั้นได้ออกมาตรวจตราดูไร่แตงโมของตนซึ่งกำลังมีผลดกอยู่เต็มไร่ ขณะที่ออกมายืนดูอยู่นั้นก็ได้เห็นฝูงลิงพากันมาลักแตงโมกินเป็นอาหาร บุรุษหนุ่มจึงวิ่งไล่กวดฝูงลิงเพื่อให้หนีไป<o></o>
    <o></o>

    บังเอิญวันนั้น สมเด็จพระบรมศาสดามาถึงไร่แตงโมของบุรุษอริยเมตไตรย ประทับยืนอยู่ ณ สถานที่แห่งหนึ่ง บุรุษหนุ่มได้วิ่งไล่ลิงไปถึงสถานที่ที่พระพุทธองค์ประทับยืนอยู่นั้น และได้เหยียบเอาพระฉายา เงาขององค์พระบรมศาสดาโดยมิทันได้สังเกต
    <o></o>

    <o></o>
    ครั้นบุรุษหนุ่มเหลียวไปเห็นพระพุทธองค์ก็เกิดมีความเลื่อมใสเป็นกำลัง ตรงเข้าไปถวายอภิวาทแล้วจึงนำแตงโมจากไร่ของตน๗ผลด้วยกัน น้อมนำเข้าไปถวายพระองค์ แต่ว่าแตงโมผลหนึ่งนั้นไม่บริสุทธิ์ เพราะมีรอยหนูเจาะกัดกินเสียก่อน<o></o>
    <o></o>
    เมื่อพระพุทธเจ้าทรงรับผลแตงโมจากบุรุษหนุ่มอริยเมตไตรยแล้ว จึงได้ตรัสพยากรณ์ว่า ดูก่อนบุรุษ กุศลผลทานที่ท่านได้นำเอาแตงโม๗ผลมาถวายแก่ตถาคตนี้ จะเป็นปัจจัยให้ท่านได้บังเกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิราชอันประเสริฐในระหว่างกลางแห่งศาสนาของตถาคต และท่านจะได้ช่วยยกย่องศาสนาของตถาคตให้รุ่งเรืองสืบไป ก็แต่ว่า ผลกรรมที่ท่านได้เหยียบเงาของตถาคตนั้นก็ดี ผลกรรมที่ท่านนำแตงโมไม่บริสุทธิ์ มีรอยหนูเจาะมาถวายตถาคตนั้นก็ดี ผลกรรมนั้นจะส่งให้ท่านบังเกิดเป็นมนุษย์มีรูปร่างน่าเกลียดน่ากลัว ที่ศีรษะของท่านจะมีรอยแผลเป็น ดุจรอยหนูเจาะแตงโม ครั้นต่อมา ท่านจึงจะกลับมีผิวพรรณผ่องใส มีร่างกายงามผุดผ่องดุจสีทอง<o></o>

    <o></o>
    เมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสพยากรณ์จบลงแล้ว ฝ่ายบุรุษหนุ่มศรีอริยเมตไตรยก็ได้สมาทานศีล อำนวนทานจนตราบเท่าอายุขัย ครั้นสิ้นชีพแล้วก็ได้ไปบังเกิดเป็นโอรสของพระราชา มีพระนามว่า อชิตกุมารเมื่อเจริญวัยก็ได้เล่าเรียนศิลปวิทยา แล้วได้ออกบรรพชาในสำนักของพระพุทธเจ้า ได้เรียนพระไตรปิฎกจนแตกฉานเชี่ยวชาญ และได้บำเพ็ญสมณธรรมอยู่จนตราบเท่าอายุขัย เมื่อแตกกายทำลายขันธ์แล้ว ได้จุติไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิตเทวพิภพ<o></o>
    <o></o>
    ในคัมภีร์อนาคตวงศ์ได้กล่าวไว้ว่า เมื่อใกล้ศาสนาของพระบรมศาสดาของเราจะเสื่อมโทรม พระศรีอารย์บรมโพธิสัตว์จะได้จุติจากสวรรค์ลงมาเสวยพระชาติเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิ ช่วยยกย่องพระศาสนาให้รุ่งเรืองสืบต่อไป<o></o>
    <o></o>

    ในพระคัมภีร์ได้กล่าวต่อไปว่า ในกาลเมื่อพระศรีอารย์จะได้จุติจากสวรรค์ลงมาเกิดเป็นสมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิราชนั้น ท้าวเธอจะมาประทับอยู่ในปราสาทราชวังอันใหญ่โต ณ ปราสาทที่ท้าวเธอประทับอยู่นั้น จะมีเทวดา๕หมื่นองค์มาคอยพิทักษ์รักษา นอกจากพวกเทวดาแล้ว ยังมียักษ์อีก๕หมื่นตน พร้อมทั้งพระยานาคและพระยาครุฑ รวมทั้งบริวารอีกมากมาย ต่างก็จะพากันมาเฝ้าปราสาท<o></o>

    <o></o>
    พระราชวังของพระศรีอารย์นั้น จะมีประตู๘๐ประตู แต่ละประตูจะมีฝูงเทพยดาและยักษ์คอยเฝ้าอยู่ทุกๆประตู ประชาชนที่จะผ่านเข้าประตูพระราชวังของท้าวเธอได้นั้น จะต้องเป็นผู้ที่ตั้งอยู่ในศีลธรรม ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ประพฤติแต่การสุจริต ส่วนผู้ที่ประพฤติทุจริตจะไม่สามารถผ่านเข้าไปภายในได้
    <o></o>
    <o></o>
    ในบริเวณปราสาทนั้นเล่า ก็จะสว่างไสวไปด้วยดวงประทีป รุ่งเรืองด้วยแสงแก้ว๙ประการ กลางคืนกับกลางวันนั้นก็จะแลดูเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ต่างกันแต่ว่าตอนกลางวันสว่างด้วยแสงอาทิตย์ ส่วนกลางคืนจะสว่างด้วยแสงจันทร์และแสงแก้วมณี เป็นที่น่าดูน่าชมยิ่งนัก
    <o></o>

    <o></o>
    เมื่อพระศรีอารย์บรมโพธิสัตว์ประทับอยู่ในพระราชวังนั้น จะมีเทพบุตรนำเอาผลไม้ทิพย์มีรสอันโอชานำมาถวายพระองค์ ผลไม้นี้ ถ้าใครได้บริโภคแล้ว คนแก่ก็จะกลายเป็นหนุ่ม มีกำลังแข็งแรง แม้มีอายุมากแล้วก็จะดูประดุจมีอายุเพียง๒๐ปี และจะมีพระมหาเถระ๒๔รูป เดินทางมาจากทิศต่างๆ เพื่อเฝ้าถวายพรแด่สมเด็จพระศรีอารย์บรมจักรพรรดิ ท้าวเธอจะได้นำผลไม้ทิพย์ที่เทวดานำมาถวายพระองค์นั้น น้อมนำไปถวายแก่พระมหาเถระผู้เฒ่าที่มาเฝ้าพระองค์ พระเถระเหล่านั้น เมื่อฉันผลไม้แล้วก็จะรู้สึกง่วงนอนและนอนหลับไป ครั้นตื่นขึ้นก็จะรู้สึกว่าร่างกายของตนกลับแข็งแรงและมีผิวพรรณผุดผ่อง ประหนึ่งว่าเป็นพระภิกษุเมื่อแรกอุปสมบทได้เพียง๑พรรษาเท่านั้น เมื่อพระศรีอารย์นำผลไม้ถวายพระเถระแล้ว ก็จะได้นำเมล็ดผลไม้นั้นไปปลูกไว้ ณ ที่ดินริมปราสาท แล้วก็จะทรงรดน้ำที่เมล็ดนั้น
    <o></o>
    <o></o>
    ตสฺมิง ขเณ ในขณะนั้น เมล็ดผลไม้ทิพย์นั้นก็จะงอกงามเจริญขึ้น แตกกิ่งก้านสาขา ออกดอกออกช่อ และผลเต็มไปทั้งต้น ฝูงประชาชนทั้งหลาย ก็จะพากันมาจากทิศต่างๆ แล้วเก็บผลไม้นั้นบริโภค คนแก่ก็จะกลับกลายเป็นคนหนุ่ม ผู้ที่มีผิวพรรณไม่งดงาม ก็จะกลับมีผิวพรรณงดงามผ่องใส คนที่เป็นโรคต่างๆหรือร่างกายอ่อนแอ ก็จะหายจากโรค กลับมีร่างกายแข็งแรง
    <o></o>
    <o></o>
    รอบปราสาทของพระองค์ จะมีต้นกัลปพฤกษ์ ๑,๖๐๐๐ต้น อาณาเขตของปราสาทนั้นจะกว้างขวางหลายโยชน์ จะเป็นที่อยู่ของประชาชนพลเมือง ซึ่งล้วนแต่มีจิตใจเป็นกุศลทั้งหมด บ้านเมืองจะร่มเย็นเป็นสุขด้วยประการฉะนี้<o></o><o></o>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มีนาคม 2010
  2. Frozen

    Frozen Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    63
    ค่าพลัง:
    +33
    อนุโมทนา ครับ
    _____________
    ผู้มีความเพียรย่อมละความชั่วได้และทำความดีให้เกิดขึ้นได้
     
  3. วรกันต์

    วรกันต์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    190
    ค่าพลัง:
    +257
    "เมื่อ พระพุทธองค์ได้ตรัสพยากรณ์จบลงแล้ว ฝ่ายบุรุษหนุ่มศรีอริยเมตไตรยก็ได้สมาทานศีล อำนวนทานจนตราบเท่าอายุขัย ครั้นสิ้นชีพแล้วก็ได้ไปบังเกิดเป็นโอรสของพระราชา มีพระนามว่า อชิตกุมารเมื่อเจริญวัยก็ได้เล่าเรียนศิลปวิทยา แล้วได้ออกบรรพชาในสำนักของพระพุทธเจ้า"


    แอบ งง นิดนึงครับ ในช่วงท้าย


    ที่บอกว่าพระศรีอาริย์ ถวายแตงโม แก่พระุพุทธเจ้า แล้วทำนายแล้ว พระศรีอาริย์จะเสด็จลงมาในกึ่งพุทธศาสนาของพระตถาคตองค์เดิม

    ครั้นแล้ว พระศรีอาริย์ ก็บำเพ็ญศีล จนสิ้นชีวิต กลับมาเกิดเป็นอชิตกุมาร ในสมัยพระพุทธเจ้าองค์เดิมอีก ????

    พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน พระชนมายุ ไม่ถึงร้อยพรรษา (จะเป็นไปได้หรือครับ งง)

    เพราะพระศรีอาริย์ต้องแก่ตายและกลับมาเกิดเป็นคนอีก ยังไง ก็ต้องใช้เวลาเกินร้อยปี จะมาเจอพระุพุทธเจ้า 2 ครั้งได้อย่างไร
     
  4. พลน้อย

    พลน้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +473
    นำมาจาก

    ใบลาน : พระศรีอารย์เทศนา ๒๐กัณฐ์
    โดย : ธวัช เฟื่องประภัสสร์ ป.๙ สำนักวัดเบญจมบพิตร<o></o>
    ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา : นายรวล รุ่งเรืองธรรม พ.ศ.๒๔๙๘ (สงวนลิขสิทธิ์)<o></o>
    สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์อักษรเจริญทัศน์<o></o>
    ๑๙๕ เสาชิงช้า ถ.บำรุงเมือง พระนคร กรุงเทพฯ<o></o>


    ลองไปถาม นายรวล รุ่งเรืองธรรม สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์อักษรเจริญทัศน์ ๑๙๕ เสาชิงช้า ถ.บำรุงเมือง พระนคร กรุงเทพฯ ดูนะครับ อาจได้คำตอบ ไม่แน่ใจว่ายังอยู่หรือเปล่า หรือ หาเรื่องของพระศรีอารย์ ในกัณฐ์ อื่นๆอาจได้คำตอบ

    อะไรที่เป็นเรื่องของพระโพธิสัตว์ เป็นเรื่องที่คนทั่วไปคาดเดาไม่ได้ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มีนาคม 2010
  5. Aunyasit

    Aunyasit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    1,312
    ค่าพลัง:
    +13,053
    ระบบพระจักรพรรดิ์ มีอยู่จริง อัศจรรย์ครับ เป็นเรื่องของบุญญฤทธิ์ เป็นเรื่องเฉพาะของบุคคลผู้ทำบารมี

    หากเราปฏิบัติ เข้าถึง แล้วจะเข้าใจ ความเป็นไปในเรื่องของพระจักรพรรดิ์

    ที่ผมปฏิบัติเข้าไปถึงแล้วก็มี องค์ของพระจักรพรรดิ์ จักรแก้ว ม้าแก้ว และแก้วจักรพรรดิ์-ไม่อยู่ในของสำคัญ 7 อย่าง ของพระจักรพรรดิ์
     
  6. พลน้อย

    พลน้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +473
    น่าจะเป็นอย่างนั้นครับ

    และครั้งนี้ก็คือ ข้อที่ 1 ครับ และลงมาเป็นพระบรมจักร์พรรดิ
     
  7. Aunyasit

    Aunyasit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    1,312
    ค่าพลัง:
    +13,053
    ครับ พระศรีอริยเมตรัย จะลงมาสงเคราะห์โลก เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ ในอนาคตอันใกล้ครับ

    สำหรับเรื่องของชาติที่พระศรีฯ มาใช้ชาติเป็นยักษ์ขินีอยู่ทางตอนใต้ของประเทศพม่านั้น หลวงปู่ทองทิพย์ ท่านบอกผมว่า อยู่ในยุคของพระพุทธเจ้ากัสสปะ ครับ
     
  8. piak_piak

    piak_piak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    248
    ค่าพลัง:
    +6,484
    พระศรีฯ100ปีท่านมาเกิดทีนึงบางครั้งท่านก็พักเหมือนกัน...สาธุ
     
  9. ถิ่นธรรม

    ถิ่นธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    1,824
    ค่าพลัง:
    +5,398
    ครับ ก็เคยได้ยินได้ฟังมาเช่นกัน แต่ก็สงสัยอยู่นิดหน่อยว่า อันตรกัปป์นี่ยาวนานกว่าอสงไขยมากมาย เทวดาบนดุสิตมีอายุแค่ 576 ล้านปีมนุษย์ แล้วพระศรีอาริย์ท่านจุติและเกิดในสวรรค์ดุสิตที่เดิมตลอดอันตรกัปป์เลยหรือเปล่า
     
  10. จันทโค

    จันทโค เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,866
    ค่าพลัง:
    +35,603
    ขอแซงท่านอนันติชิน ก่อนนะครับ ท่านอนันตชินคงไม่ว่าผมนะ
    1 * (10 ตามด้วยเลข 0 140 ) ปี = 1 อันตรกัปป์
    64 อันตรกัปป์ = 1 อสงไขย
    4 อสงไขย = 1 มหากัปป์
    ท่านครับอันตรกัปป์สั้นกว่า อสงไขย ครับ
    อายุทิพย์ของสวรรค์ชั้นที่ ๔ คือ ๔,๐๐๐ ปีทิพย์ ๔๐๐ ปีของโลกมนุษย์เท่า ๑ วัน ๑ คืน ของสวรรค์ชั้นที่ ๔ ลองคำนวณดูนะครับว่าเท่ากับเท่าไร

    พระศรีอาริย์น่าจะอยู่บนชั้นที่ ๔ ตลอดอันตรกัปป์ นะครับ
     
  11. พลน้อย

    พลน้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +473
    ใบลาน : พระศรีอารย์เทศนา ๒๐กัณฐ์
    โดย : ธวัช เฟื่องประภัสสร์ ป.๙ สำนักวัดเบญจมบพิตร
    ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา : นายรวล รุ่งเรืองธรรม พ.ศ.๒๔๙๘ (สงวนลิขสิทธิ์)
    สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์อักษรเจริญทัศน์
    ๑๙๕ เสาชิงช้า ถ.บำรุงเมือง พระนคร กรุงเทพฯ

    พระศรีอารย์กัณฐ์ที่๓
    มิตตกถา การคบเพื่อน
    สตฺโถ ปสวโต มิตฺตํ มาตา มิตฺตํ สเก ฆเร
    สหาโย อตฺถชาตสฺส โหติ มิตฺตํ ปุนปฺปุนํ
    สยํ กตานิ ปุญฺญานิ ตํ มิตฺตํ สมฺปรายิกนฺติ
    บัด นี้ จะแสดงพระธรรมเทศนาเรื่องพระศรีอารย์ ต่อจากกัณฐ์ก่อน เพื่อเป็นเครื่องเจริญศรัทธาประดับปัญญาแห่งท่านทั้งหลาย ก็การที่ท่านมาประชุมกันฟังธรรมในวันนี้ ก็ได้ชื่อว่าได้กระทำคุณงามความดีหรือที่เรียกว่าบุญกุศล อันนับว่าเป็นเพื่อนที่ดี สามารถติดตามท่านไปในภพหน้า
    ธรรมดา คนเราจะอยู่แต่โดยลำพังในโลกไม่ได้ เพราะต่างต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เป็นอันว่า จะต้องช่วยกันทำการงาน ซึ่งคนๆเดียวไม่สามารถทำให้สำเร็จลุล่วงไปได้ หรืองานบางอย่างต้องอาศัยกำลังคนหลายคนช่วยกันทำ เช่นการปลูกบ้านสร้างเรือนเป็นต้น ต้องอาศัยความช่วยเหลือของคนโน้นบ้าง คนนี้บ้าง จึงจะสำเร็จได้



    อนึ่ง ตามธรรมดาของคน ย่อมมีการขาดตกบกพร่องด้วยวัสดุสิ่งของเครื่องใช้ ในบางครั้งบางคราวต้องมีการหยิบยืมกันใช้สอย หรือบางคราวก็บกพร่องด้วยสติปัญญาวิชาความรู้ ซึ่งอาจจะทำงานพลั้งพลาดบ้างในบางกาลบางขณะ ต้องอาศัยผู้อื่นคอยเตือนสติบ้าง เหตุเหล่านี้แล เป็นปัจจัยให้คนทั้งหลายต้องคบหาสมาคม เอื้อเฟื้อเจือจาน ผูกไมตรีจิตในกันและกัน เพื่อได้อาศัยกันในคราวที่ต้องการ



    แต่ บุคคลทุกๆคนย่อมมีอัธยาศัยและนิสสัยใจคอแตกต่างกัน มีความคิดและปัญญาความประพฤติไม่เหมือนกัน บางคนก็มีใจหนักแน่นอดทน บางคนก็โกรธง่าย แต่คงแบ่งได้สั้นๆเป็น๒ประเภท คือ ที่เป็นพาลสันดานชั่วร้ายที่เรียกว่า ปาปชนประเภทหนึ่ง เป็นคนดีมีสันดานสงบเรียบร้อย ประพฤติกาย วาจา ใจ ตามทำนองคลองธรรม ที่เรียกว่า กัลยาณชนประเภทหนึ่ง


    ก็ แหละ การคบหาสมาคมซึ่งกันและกันนั้น ย่อมเป็นปัจจัยให้นิสสัยสืบเนื่องติดต่อกันได้ ถ้าคบคนชั่ว ย่อมมีคนชั่วเป็นคติ ดังนัยเทศนาว่า ยํ เว สวติ ตาทิโส คบคนเช่นไรย่อมเป็นเหมือนคนนั้น ดังนี้ การคบคนชั่วย่อมเป็นมลทิน พาตัวให้มัวหมอง ปราศจากประโยชน์ที่จะพึงได้พึงถึง มักจะชักชวนในสิ่งที่ผิด ประกอบการทุจริตต่างๆ หรือแม้ไม่ถึงเช่นนั้น อันบุคคลผู้สมาคมหรือดำเนินตามรอยคนพาล ย่อมได้รับการครหานินทา เช่นว่า เราจะไม่เป็นคนเสพสุรายาเมาเป็นความจริง แต่ไปเดินตามคนเสพสุรายาเมาเข้า ย่อมมีอาการให้มหาชนลงสันนิษฐานว่า เราเป็นคนเช่นนั้นด้วย ยากที่จะพิสูจน์ตัวให้บริสุทธิ์ได้ ท่านจึงมีอุปมาไว้ว่า เหมือนด้วยใบไม้ที่ห่อของเน่า มีปลาร้าเป็นต้น แม้จะไม่ติดเปื้อนเปรอะก็คงมีกลิ่นเหม็นติดอยู่ เพราะฉะนั้น บุคคลจึงไม่ควรคบหาคนพาล ดังคำว่า อเสวนา จ พาลานํ ความไม่คบหาซึ่งคนพาลเป็นมงคลอันสูงสุด ดังนี้



    ส่วน การคบหาสมาคมกับด้วยกัลยาณชนคนดี มีความประพฤติสงบเสงี่ยมเรียบร้อยนั้นย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ เพราะบุคคลผู้เป็นสัตบุรุษเช่นนั้น อาจสามารถจะแนะนำสั่งสอนชักชวนให้ปฏิบัติดำเนินไปในปฏิปทาอันเป็นทางมาแห่ง ความดีความชอบเป็นลำดับไป หรือว่าบางคาบบางสมัย เราจะพลั้งเผลอปราศจากสติ ทำความชั่วอย่างใดอย่างหนึ่ง สัตบุรุษนั้นอาจตักเตือนให้รู้สึกและละเว้นเสีย กลับดำเนินในทางที่ถูกได้ โดยที่สุดแม้จะทำดีให้เสมอเหมือนเขาไม่ได้ ก็ยังได้รับการยกย่องสรรเสริญว่าเป็นผู้คบสัตบุรุษ ซึ่งท่านเปรียบไว้ว่า เหมือนใบไม้หรือกระดาษที่ห่อกฤษณาหรือกะลำพัก แม้จะไม่มีเนื้อไม้ของหอมติดมาเลย ก็คงมีกลิ่นหอมติดมาบ้าง เพราะฉะนั้น จึงควรที่จะเลือกคบหาสมาคมด้วยธีรชนบัณฑิตชาติ แม้นักปรารชญ์ก็สรรเสริญไว้ว่า ความคบหาสมาคมซึ่งบัณฑิต เป็นอุดมมงคลอีกประการหนึ่ง



    อนึ่ง คำว่ามิตรและสหายเป็นคำมาคู่กัน แต่ท่านมุ่งอัตถะต่างกัน กล่าวโดยสาธารณนัย ชนผู้ประพฤติร่วมกัน เช่นทำหน้าที่การงานและอยู่ร่วมกัน ไม่ถึงแก่การรักใคร่กัน ท่านเรียกว่าสหายบ้าง อมาตย์บ้าง ชนผู้รักใคร่สนิทสนม ร่วมสุขร่วมทุกข์กัน จะอยู่ร่วมกันหรือไม่ก็ตาม ท่านเรียกว่ามิตร


    มิตรมีหลายประเภท ที่เป็นภายในก็มี ภายนอกก็มี ดังพระพุทธภาษิตคาถา ซึ่งยกไว้ ณ เบื้องต้นว่า
    สตฺโถ ปสวโต มิตฺตํ มาตา มิตฺตํ สเก ฆเร
    สหาโย อตฺถชาตสฺส โหติ มิตฺตํ ปุนปฺปุนํ
    สยํ กตานิ ปุญฺญานิ ตํ มิตฺตํ สมฺปรายิกนฺติ
    ความ ว่า หมู่เกวียนเป็นมิตรของคนเดินทาง มารดาเป็นมิตรในเรือนของตน สหายเป็นมิตรของคนมีธุระเกิดขึ้นเนืองๆ บุญทั้งหลายที่ทำไว้แล้วด้วยตนเป็นมิตรติดเนื่องในภพเบื้องหน้า ดังนี้



    คน ผู้เดินทางเมื่อขาดมิตรย่อมรู้สึกอ้างว้างเปลี่ยวใจ เมื่อได้พบหมู่เกวียนในระหว่างทางย่อมยินดี หรือผู้เดินทางไกลจนเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าหมดกำลัง เมื่อได้นั่งเกวียนบรรเทาความกรากกรำและทำให้ปลอดภัยอันตราย ก็จัดได้ว่าหมู่เกวียนเป็นมิตร เพราะยังประโยชน์กิจให้สำเร็จได้


    บรรดา อันโตชนผู้ร่วมกิจการอันสนิท ท่านยกเอามารดาเป็นมิตรอย่างสำคัญ เมื่อมารดาอยู่ด้วย ช่วยทำกิจตามส่วนที่ควรจัดทำ ทั้งเป็นผู้อุปถัมภ์บุตรธิดาในกรณียทุกอย่าง เหตุนั้น ท่านจึงขนานนามมารดาว่าเป็นพรหม เป็นบุรพาจารย์ และเป็นอาหุเนยยบุคคล แต่มิตรประเภทนี้ มีกำลังช่วยเหลือเพียงภายใน



    ชน ผู้เป็นเพื่อนร่วมการงาน ท่านเรียกเพียงสหาย ต่อเป็นผู้มีเมตตาสนิทสนมไว้วางใจกันได้ ในสมัยที่มีธุระเกิดขึ้นก็ช่วยขวนขวายในกิจนั้นๆจนสำเร็จลุล่วงไปอย่างนี้ จึงสมควรเรียกว่ามิตร แต่ก็เป็นมิตรภายนอก



    บุญ ทั้งส่วนเหตุและส่วนผลอันสำเร็จด้วยทาน ศีล ภาวนา ที่บุคคลบำเพ็ญอยู่แล้ว ย่อมติดตามไปเป็นอุปถัมภกปัจจัย ให้ได้รับความสำราญชื่นบานในสุคติภพยิ่งๆขึ้นไป จัดเป็นมิตรภายในที่ให้ผลยั่งยืนถึงภายหน้า



    บรรดา มิตรเหล่านั้น มิตรภายนอกทั่วไปอาจเป็นมิตรได้ทั้งชั่วและดี เพราะยังขึ้นอยู่แก่คน ถ้ามิตรชั่วก็เรียกว่าปาปมิตร ถ้ามิตรดีก็เรียกว่ากัลยาณมิตร ความเป็นผู้มีปาปมิตรย่อมเป็นไปเพื่อความเสียหายอย่างใหญ่ ความเป็นผู้มีกัลยาณมิตรย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างมหันต์ เหตุนั้น บัณฑิตท่านจึงสอนไว้ให้เว้นมิตรชั่วเสียให้ห่างไกล เหมือนคนเดินทางเว้นทางที่มีภัยอันตราย และพึงเข้าหามิตรดี เหมือนมารดาไม่ทิ้งบุตร ฉะนั้น


    ก็ แหละ บุคคลแม้จะได้กัลยาณมิตรแล้วก็ตาม แต่ถ้ามีจิตปฏิพัทธ์ มุ่งมั่นอนุเคราะห์จนเกินไป กล่าวคือพะวงแต่ในกิจธุระของมิตรสหายส่วนเดียว ไม่แลเหลียวถึงการจะบำเพ็ญประโยชน์ตน ก็เป็นผลทำตนให้เสื่อมจากคุณที่จะพึงได้พึงถึง มิหนำ ถ้ามุ่งอนุเคราะห์มิตรสหายในทางที่ไม่ดีไม่ชอบ ก็อาจยังประโยชน์ส่วนน้อยและประโยชน์ส่วนรวมให้เสียได้ อันเป็นภัยแก่ส่วนย่อยและส่วนรวม เพราะฉะนั้น ทางที่ดีจึงสมควรที่บุคคลจะพึงทำประโยชน์ให้เกิดขึ้นทั้งแก่ตน และทั้งแก่คนเป็นมิตรสหายตลอดถึงส่วนรวมร่วมกันไป จึงจะเป็นความดีงามในข้อนี้ ทั้งนี้ ก็เพราะเห็นในสันถวไมตรีนั้นว่าเป็นภัย จึงไม่มุ่งแต่จะสงเคราะห์มิตรสหายโดยฆ่าประโยชน์เสีย


    ก็แหละ คำที่ว่า ยังประโยชน์ให้เสื่อมนั้น ท่านหมายถึงประโยชน์ทั้ง๓ คือ
    ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ คือประโยชน์ในปัจจุบัน๑ สัมปรายิกัตถประโยชน์ คือประโยชน์ในภายหน้า๑ และปรมัตถประโยชน์ คือประโยชน์อย่างยิ่ง๑


    ทิฏฐธัม มิกัตถประโยชน์นั้น อันผู้ศึกษาพึงทราบว่าท่านไม่ได้หมายเอาธรรม๔ประการ มีอุฏฐานสัมปทาเป็นต้น ว่าเป็นตัวประโยชน์ แท้จริงธรรม๔ประการนั้น เป็นปฏิปทาทางดำเนินให้บรรลุทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ต่างหาก เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็อะไรเล่าเป็นตัวทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์
    ทิฏฐธัม มิกัตถประโยชน์นั้น ได้แก่ทรัพย์ ยศ ไมตรีซึ่งเป็นอิฏฐผล อันสามัญชนพึงปรารถนา ชนใดทำตนให้ได้บรรลุผลเหล่านี้ครบทั้ง๓เช่นนั้น จัดว่าตั้งตนได้ และได้ชื่อว่า ยึดไว้ได้ซึ่งทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ก็บุคคลที่จะได้บรรลุผลเช่นนั้น ต้องประกอบด้วยธรรม๔ประการ มีอุฏฐานสัมปทาเป็นต้น
    ส่วน สัมปรายิกัตถประโยชน์ คือประโยชน์ในภายหน้านั้นได้แก่สมบัติ๒ประการ คือ มนุษย์สมบัติ๑ สวรรค์สมบัติ๑ สมบัติทั้ง๒ประการนี้ อันบุคคลจะพึงถึงก็เพราะประกอบด้วยธรรม๔ประการ มีสัทธาสัมปทาเป็นต้น

    ปรมัต ถประโยชน์ ประโยชน์อย่างยิ่งคือนิพพานสมบัติ ข้อปฏิบัติอันจะพึงเป็นไปเพื่อปรมัตถประโยชน์คือวิมุติมรรคผล สมเด็จพระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้เป็นอเนกประการ มีนัยวิจิตรพิสดารต่างๆ แต่เมื่อจะย่นลงกล่าวแล้ว ได้แก่ข้อปฏิบัติ๓ประการคือ ศีล สมาธิ ปัญญา

    ข้อ ที่ยกเอาวิมติ ความหลุดพ้นจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งปวงเป็นปรมัตถประโยชน์นั้น เพราะวิมุติเป็นคุณที่สุดแห่งพรหมจรรย์ จึงนับว่าเป็นประโยชน์อย่างสูง บุคคลหวังต่อประโยชน์คือวิมุตินั้น ต้องชำระกิเลสอย่างหยาบ ด้วยการศึกษาปฏิบัติในกองศีล, ต้องชำระกิเลสอย่างกลาง ด้วยการศึกษาปฏิบัติในกองสมาธิ, ต้องชำระกิเลสอย่างละเอียดที่เป็นอนุสัยเสีย ด้วยการศึกษาปฏิบัติในกองปัญญา
    เมื่อ ชำระจิตของตนให้ปราศจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งปวง เช่นนั้นแล้ว ย่อมมีจิตผ่องใสไม่ขุ่นมัว ดุจน้ำอันใสสะอาดปราศจากมลทินฉะนั้น เมื่อปฏิบัติและหยั่งทราบชัดลงเช่นนั้น จิตย่อมหลุดพ้นจากอาสวกิเลส เป็นสมุจเฉทประหาร บรรลุมรรคผลนิพพาน อันเป็นเอกันตบรมสุข โดยเหตุนี้ สีล สมาธิ ปัญญา จึงนับว่าเป็นข้อปฏิบัติส่วนปรมัตถปฏิปทา ด้วยประการฉะนี้.
    บัด นี้จะได้แสดงเรื่องพระศรีอารย์สืบต่อไป ดำเนินความว่า เมื่อมหายักษ์ได้สมาทานศีลอยู่ตราบเท่าอายุขัยแล้วก็กระทำกาลกิริยา ตายไปบังเกิดเป็นบุรุษคนหนึ่ง มีกำลังร่างกายแข็งแรง อาศัยอยู่ ณ เชิงเขาแห่งหนึ่ง หาเลี้ยงชีพด้วยการปลูกผักพืชพรรณต่างๆ เขาที่บุรุษอาศัยอยู่นั้นก็เป็นเขาลูกเดียวกันกับเขาที่สมเด็จพระพุทธองค์ เคยเสด็จไปสรงน้ำ และได้ทรงตากผ้าชุบสรงไว้ และได้มีฝูงลิงพากันมาถ่ายมูตรคูถ ทำให้เปรอะเปื้อนนั่นเอง

    อเถ ก ทิวสํ อยู่มากาละวันหนึ่ง บุรุษอริยเมตไตรยนั้นได้ออกมาตรวจตราดูไร่แตงโมของตนซึ่งกำลังมีผลดกอยู่ เต็มไร่ ขณะที่ออกมายืนดูอยู่นั้นก็ได้เห็นฝูงลิงพากันมาลักแตงโมกินเป็นอาหาร บุรุษหนุ่มจึงวิ่งไล่กวดฝูงลิงเพื่อให้หนีไป
    บังเอิญ วันนั้น สมเด็จพระบรมศาสดามาถึงไร่แตงโมของบุรุษอริยเมตไตรย ประทับยืนอยู่ ณ สถานที่แห่งหนึ่ง บุรุษหนุ่มได้วิ่งไล่ลิงไปถึงสถานที่ที่พระพุทธองค์ประทับยืนอยู่นั้น และได้เหยียบเอาพระฉายา เงาขององค์พระบรมศาสดาโดยมิทันได้สังเกต

    ครั้น บุรุษหนุ่มเหลียวไปเห็นพระพุทธองค์ก็เกิดมีความเลื่อมใสเป็นกำลัง ตรงเข้าไปถวายอภิวาทแล้วจึงนำแตงโมจากไร่ของตน๗ผลด้วยกัน น้อมนำเข้าไปถวายพระองค์ แต่ว่าแตงโมผลหนึ่งนั้นไม่บริสุทธิ์ เพราะมีรอยหนูเจาะกัดกินเสียก่อน
    เมื่อ พระพุทธเจ้าทรงรับผลแตงโมจากบุรุษหนุ่มอริยเมตไตรยแล้ว จึงได้ตรัสพยากรณ์ว่า ดูก่อนบุรุษ กุศลผลทานที่ท่านได้นำเอาแตงโม๗ผลมาถวายแก่ตถาคตนี้ จะเป็นปัจจัยให้ท่านได้บังเกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิราชอันประเสริฐในระหว่าง กลางแห่งศาสนาของตถาคต และท่านจะได้ช่วยยกย่องศาสนาของตถาคตให้รุ่งเรืองสืบไป ก็แต่ว่า ผลกรรมที่ท่านได้เหยียบเงาของตถาคตนั้นก็ดี ผลกรรมที่ท่านนำแตงโมไม่บริสุทธิ์ มีรอยหนูเจาะมาถวายตถาคตนั้นก็ดี ผลกรรมนั้นจะส่งให้ท่านบังเกิดเป็นมนุษย์มีรูปร่างน่าเกลียดน่ากลัว ที่ศีรษะของท่านจะมีรอยแผลเป็น ดุจรอยหนูเจาะแตงโม ครั้นต่อมา ท่านจึงจะกลับมีผิวพรรณผ่องใส มีร่างกายงามผุดผ่องดุจสีทอง
    เมื่อ พระพุทธองค์ได้ตรัสพยากรณ์จบลงแล้ว ฝ่ายบุรุษหนุ่มศรีอริยเมตไตรยก็ได้สมาทานศีล อำนวนทานจนตราบเท่าอายุขัย ครั้นสิ้นชีพแล้วก็ได้ไปบังเกิดเป็นโอรสของพระราชา มีพระนามว่า อชิตกุมารเมื่อ เจริญวัยก็ได้เล่าเรียนศิลปวิทยา แล้วได้ออกบรรพชาในสำนักของพระพุทธเจ้า ได้เรียนพระไตรปิฎกจนแตกฉานเชี่ยวชาญ และได้บำเพ็ญสมณธรรมอยู่จนตราบเท่าอายุขัย เมื่อแตกกายทำลายขันธ์แล้ว ได้จุติไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิตเทวพิภพ
    ใน คัมภีร์อนาคตวงศ์ได้กล่าวไว้ว่า เมื่อใกล้ศาสนาของพระบรมศาสดาของเราจะเสื่อมโทรม พระศรีอารย์บรมโพธิสัตว์จะได้จุติจากสวรรค์ลงมาเสวยพระชาติเป็นสมเด็จพระ จักรพรรดิ ช่วยยกย่องพระศาสนาให้รุ่งเรืองสืบต่อไป


    ใน พระคัมภีร์ได้กล่าวต่อไปว่า ในกาลเมื่อพระศรีอารย์จะได้จุติจากสวรรค์ลงมาเกิดเป็นสมเด็จพระเจ้า จักรพรรดิราชนั้น ท้าวเธอจะมาประทับอยู่ในปราสาทราชวังอันใหญ่โต ณ ปราสาทที่ท้าวเธอประทับอยู่นั้น จะมีเทวดา๕หมื่นองค์มาคอยพิทักษ์รักษา นอกจากพวกเทวดาแล้ว ยังมียักษ์อีก๕หมื่นตน พร้อมทั้งพระยานาคและพระยาครุฑ รวมทั้งบริวารอีกมากมาย ต่างก็จะพากันมาเฝ้าปราสาท
    พระราชวัง ของพระศรีอารย์นั้น จะมีประตู๘๐ประตู แต่ละประตูจะมีฝูงเทพยดาและยักษ์คอยเฝ้าอยู่ทุกๆประตู ประชาชนที่จะผ่านเข้าประตูพระราชวังของท้าวเธอได้นั้น จะต้องเป็นผู้ที่ตั้งอยู่ในศีลธรรม ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ประพฤติแต่การสุจริต ส่วนผู้ที่ประพฤติทุจริตจะไม่สามารถผ่านเข้าไปภายในได้

    ใน บริเวณปราสาทนั้นเล่า ก็จะสว่างไสวไปด้วยดวงประทีป รุ่งเรืองด้วยแสงแก้ว๙ประการ กลางคืนกับกลางวันนั้นก็จะแลดูเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ต่างกันแต่ว่าตอนกลางวันสว่างด้วยแสงอาทิตย์ ส่วนกลางคืนจะสว่างด้วยแสงจันทร์และแสงแก้วมณี เป็นที่น่าดูน่าชมยิ่งนัก

    เมื่อ พระศรีอารย์บรมโพธิสัตว์ประทับอยู่ในพระราชวังนั้น จะมีเทพบุตรนำเอาผลไม้ทิพย์มีรสอันโอชานำมาถวายพระองค์ ผลไม้นี้ ถ้าใครได้บริโภคแล้ว คนแก่ก็จะกลายเป็นหนุ่ม มีกำลังแข็งแรง แม้มีอายุมากแล้วก็จะดูประดุจมีอายุเพียง๒๐ปี และจะมีพระมหาเถระ๒๔รูป เดินทางมาจากทิศต่างๆ เพื่อเฝ้าถวายพรแด่สมเด็จพระศรีอารย์บรมจักรพรรดิ ท้าวเธอจะได้นำผลไม้ทิพย์ที่เทวดานำมาถวายพระองค์นั้น น้อมนำไปถวายแก่พระมหาเถระผู้เฒ่าที่มาเฝ้าพระองค์ พระเถระเหล่านั้น เมื่อฉันผลไม้แล้วก็จะรู้สึกง่วงนอนและนอนหลับไป ครั้นตื่นขึ้นก็จะรู้สึกว่าร่างกายของตนกลับแข็งแรงและมีผิวพรรณผุดผ่อง ประหนึ่งว่าเป็นพระภิกษุเมื่อแรกอุปสมบทได้เพียง๑พรรษาเท่านั้น เมื่อพระศรีอารย์นำผลไม้ถวายพระเถระแล้ว ก็จะได้นำเมล็ดผลไม้นั้นไปปลูกไว้ ณ ที่ดินริมปราสาท แล้วก็จะทรงรดน้ำที่เมล็ดนั้น

    ตสฺ มิ ง ขเณ ในขณะนั้น เมล็ดผลไม้ทิพย์นั้นก็จะงอกงามเจริญขึ้น แตกกิ่งก้านสาขา ออกดอกออกช่อ และผลเต็มไปทั้งต้น ฝูงประชาชนทั้งหลาย ก็จะพากันมาจากทิศต่างๆ แล้วเก็บผลไม้นั้นบริโภค คนแก่ก็จะกลับกลายเป็นคนหนุ่ม ผู้ที่มีผิวพรรณไม่งดงาม ก็จะกลับมีผิวพรรณงดงามผ่องใส คนที่เป็นโรคต่างๆหรือร่างกายอ่อนแอ ก็จะหายจากโรค กลับมีร่างกายแข็งแรง


    รอบปราสาทของพระองค์ จะมีต้นกัลปพฤกษ์ ๑,๖๐๐๐ ต้น อาณาเขตของปราสาทนั้นจะกว้างขวางหลายโยชน์ จะเป็นที่อยู่ของประชาชนพลเมือง ซึ่งล้วนแต่มีจิตใจเป็นกุศลทั้งหมด บ้านเมืองจะร่มเย็นเป็นสุขด้วยประการฉะนี้

    แนบพระไตรปิฏกกัณฐ์ที่ ๓/๒๐ พระศรีอารย์ ของจริงมาให้ดูด้วยครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. พลน้อย

    พลน้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +473
    ตำนานละแวก-พญาธรรมมิกราช

    ก่อนที่จะมีพญาธรรมมิกราชจะเกิดขึ้นนั้น ท้องฟ้าจะมืดมิดเป็นเวลา ๗ วัน (ตำนานละแวก)


    [​IMG]

    3269. พระพุทธมหาเศรษฐีแสนล้านมหาลาภทันใจ (พระเจ้าแสนล้าน)
    สร้างในโอกาสที่ พระพุทธพจนวราภรณ์ (หลวงปู่จันทร์ กุสโล) เจริญมงคลอายุ 90 ปี ในปีพุทธศักราช 2550
    ประดิษฐานที่พระวิหารหลวง วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่

    ภาพประกอบ: ไม่เกี่ยวกับเนื้อเรื่อง



    [​IMG]

    3272. พระพุทธมหาเศรษฐีแสนล้านมหาลาภทันใจ (พระเจ้าแสนล้าน)
    ประดิษฐานที่พระวิหารหลวง วัดเจดีย์หลวง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

    ภาพประกอบ: ไม่เกี่ยวกับเนื้อเรื่อง



    ต้นฉบับตำนานละแวกนี้เป็นของวัดศรีพิงค์เมือง (วัดศรีปิงเมือง) ต.หายยา อ.เมือง จ.เชียงใหม่ จำนวน ๑ ผูกความยาว ๖๒ หน้า
    คัดลอกโดยมหาวันภิกขุ เมื่อพ.ศ. ๒๔๒๓ ตรงกับ จ.ศ.๑๒๔๒ ปีกดสะง้า

    เดือน ๑๒ แรม ๙ ค่ำ วัน ๓ สรุปใจความได้ดังนี้

    ใน สมัยที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่นั้น ทรงทำนายเหตุการณ์ในอนาคตไว้ที่เมืองละแวก เมื่อเสด็จมาถึงเมืองแห่งนี้พญานาคได้มาอุปัฏฐาก
    จึงทำนายว่า สถานที่ดังกล่าวนี้จะเป็นที่ตั้งของพระพุทธศาสนา พระอานนท์จึงขอเอาพระเกศาธาตุบรรจุไว้ที่นี่ พระพุทธองค์ทรงมอบพระเกศาธาตุ
    ให้ จำนวน ๕ เส้น จากนั้นพระอินทร์ พระพรหม ครุฑ นาค และพญาเจ้าเมืองละแวก จึงก่อเจดีย์ขึ้นเป็นจำนวน ๕ องค์ สำหรับเป็นเครื่องหมายของศาสนา ๕,๐๐๐ ปี

    ครั้น เมื่อพระพุทธองค์นิพพานไปแล้ว ๒๒ ปี พญาอโสกธัมมิกราชได้มาบูรณปฏิสังขรณ์เจดีย์ดังกล่าวให้เจริญรุ่งเรือง โดยก่อกำแพงแก้วรอบบริเวณพร้อมทั้งติดแผ่นทองจังโกทุกองค์เจดีย์

    ส่วนเมืองละแวกแห่งนั้นมีบริเวณกว้าง ๓ พันวา ยาว ๒ พันวา กำแพงเมืองก่อด้วยหินหนา ๖ วา สูง ๔ วาคูเมือง ลึก ๗ วา

    สำหรับ บริเวณที่สร้างเจดีย์ ๕ องค์กว้าง ๓๐๐ วาฐานเจดีย์องค์หนึ่งกว้าง ๑๔ วา สูง ๒๐ วา แต่ละเจดีย์มีซุ้มพระพุทธรูปทั้ง ๔ ด้านเหมือนกันหมดทุกองค์

    เจดีย์ ทั้ง ๕ องค์ดังกล่าวนี้พระพุทธองค์ให้สร้างไว้ เพื่อเป็นเครื่องหมายทางศาสนา หากเจดีย์จมพื้นดินลงไป ๑ องค์เท่ากับศาสนาพ้นไปแล้ว ๑ พันปี
    จนกว่าจะครบ ๕ พันปีเจดีย์ทั้งหมดจึงจะหายไปในที่สุด เจดีย์ดังกล่าวนี้มีผู้อุปัฏฐากดูแลคือ ภิกษุ ๕๐๐ องค์ สามเณร ๕๐๐ รูป คฤหัสถ์ ๕๐๐ คน
    ในช่วงระยะเวลาระหว่างพุทธศาสนา ๕,๐๐๐ ปีนั้น จะมีพญาธัมมิกราชเกิดมาจำนวน ๕ องค์โดยมีช่วงเวลาครั้งละ ๑ พันปื


    [​IMG]

    3171.พระพุทธมหาเศรษฐีแสนล้านมหาลาภทันใจ (พระเจ้าแสนล้าน)
    ประดิษฐานที่พระวิหารหลวง วัดเจดีย์หลวง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

    ภาพประกอบ: ไม่เกี่ยวกับเนื้อเรื่อง



    สำ หรับพญาธัมมิกราชองค์ที่ ๓ ที่จะเกิดมาในระหว่างพุทธศาสนาได้ ๓,๐๐๐ ปีนั้น (ตั้งแต่ พ.ศ.2001-3000 ) จะเกิดมาในขณะที่บ้านเมืองเดือดร้อนวุ่นวาย ผู้คนไม่มีศีลธรรม เกิดมีการรบพุ่งฆ่าฟันกันไปทั่ว

    ก่อนที่จะมีพญา ธัมมิกราชเกิดขึ้นนั้น ท้องฟ้าจะมืดมิดเป็นเวลา ๗ วัน ครั้นถึงวันที่ ๘ ท้องฟ้าจึงจะสว่างสดใส เทวบุตรจะนำเอาเครื่องสูง ๕ ประการ
    มาทำพิธี ราชาภิเษก(มุรธาภิเษก) โดยมีเทวดานางฟ้าและพระฤาษีมาร่วมพิธีด้วย รวมทั้งข้าทาสบาทบริจาริกาจำนวนหนึ่งหมื่นหกพันนางจากอุตรกุรุทวีป

    เมื่อ เสร็จพิธีราชภิเษกแล้ว ปราสาท ๓ หลังจะผุดขึ้นมาจากพื้นดิน แต่ละหลังทำด้วยทองคำ แก้วและเงิน พญาธัมมิกราชองค์นั้นได้เสวยราชสมบัติในเมืองฝาง

    ในราชสำนักจะมี บุรุษผู้ประเสริฐจำนวน ๖ คน พญาธัมมิกราชจะขุดเอาข้าวของเงินทองจากพื้นดิน มาบูรณะบ้านเมืองและแจกจ่ายเป็นทานแก่คนทั่วไป หลังจากนั้นจึงได้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ให้มีความเจริญรุ่งเรืองสืบต่อไป

    ที่มา
    BlogGang.com : : moonfleet : 006. ��͹�����վ�Ҹ����ԡ�Ҫ���Դ��鹹�� ��ͧ��Ҩ��״�Դ������ � �ѹ (�ӹҹ���ǡ)
     
  13. พลน้อย

    พลน้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +473
    พุทธทำนาย (ถอดความจากศิลาจารึกเขตมหาวิหาร สวนมฤคทายวัน ประเทศอินเดีย)

    [​IMG]
    สาธุ อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นพระสัพพัญญู รู้แจ้งโลก ทั้งในอดีตและอนาคต ทรงมีเมตตากรุณาแก่สัตว์โลกเป็นล้นพ้น เมื่อครั้งพระองค์ดำรงพระชนม์อยู่ ได้ตรัสกับพระอานนท์ว่า
    "ดูก่อนอานนท์ เมื่อศาสนาขอตถาคตล่วงเลยไปถึงกึ่งพุทธกาล สัตว์โลกทั้งหลายที่เกิดในยุคนั้นจะพบกับความลำบากทุกชาติทุกศาสนา ตามธรรมชาติอันหมุนเวียนของโลกที่หมุนไปใกล้ความแตกสลาย แผ่นดินแผ่นน้ำจะลุกเป็นไฟ มนุษย์และสัตว์จะได้รับภัยภิบัติสารพัดทั่วทิศ คนในสมัยนั้นจะมีนิสัยโหดดุจกำเนิดจากสัตว์ป่าอำมหิต จะรบราฆ่าฟันกันถึงเลือดนองแผ่นดินแผ่นน้ำ ส่วนเวยไนยสัตว์ผู้ขวนขวายในกุศลตามวจนะของตถาคตก็จะระงับร้อนไม่รุนแรง บ้านเมืองใดมีความเคารพยำเกรงในพระรัตนตรัยและคุณบิดามารดา เหตุร้ายภัยพิบัติจะเบาบาง แต่ก็จะหนีกฎธรรมชาติไม่พ้น"

    เริ่มแต่ พุทธศาสนาล่วงเลย 2,500 ปีเป็นต้นไป ไฟจะลุกลามมาทางทิศตะวันออก ไหม้วัดวาอาราม สมณะ ชี พราหมณ์จะอดอยากยากเข็ญ ลูกไฟจะตกจากฟ้าเป็นเพลิงผลาญ เหล็กกล้าจะทะยานจากน้ำ มหาสมุทรจะชอกช้ำ สงครามจากทั่วทิศจะติดเมือง ข้าวจะขาดแคลน ทั่วแคว้นจะอดอยาก ผีโขมดป่าจะเข้าเมือง พระเสื้อเมืองทรงเมืองจะหนีเข้าไพร ผู้เป็นใหญ่มีอำนาจจะเรียกแมลงผีเสื้อเหล็กนับแสนตัวมาปล่อยไข่เป็นไฟผลาญ ยักษ์หินที่ถูกสาปเป็นเวลานานจะตื่นขึ้นมาอาละวาดโลก ดินฟ้าอากาศจะแปรปรวน ตลิ่งจะพัง แผ่นดินจะถล่มเป็นทะเล โลกมนุษย์จะดิ่งสู่ความหายนะ นักปราชญ์จะถูกทำร้ายให้สิ้นสูญ

    ในระยะนั้นศาสนาของตถาคตเสื่อมลงมาก เพราะพุทธบริษัทไม่อยู่ในศีลธรรม เชื่อคำของคนโกง กล่าวคำเท็จ ไม่เคารพรักธรรมนิยม คนประจบ สอพลอได้รับความเชื่อถือในสังคม ผู้ที่มีศีลธรรมประพฤติดีประพฤติชอบกลับไม่มีใครเคารพยำเกรง

    พระ ธรรม จะเริ่มเปล่งรัศมีฉายส่องโลกอีกวาระหนึ่ง ก็ต่อเมื่อมีธรรมิกราชโพธิญาณบังเกิดขึ้นอยู่ในความอุปถัมภ์ของพระเถระ ผู้ทรงธรรมฤทธิ์ ทั้ง 2 พระองค์สถิต ณ เบื้องตะวันออกของมัชฌิมประเทศ จะเสด็จมาเสริมสร้างศาสนาของตถาคตให้รุ่งเรืองสืบไปถึง 5000 พระวัสสา

    ดู ก่อนอานนท์ เวลานั้นพลโลกเหลือน้อย คำทำนายของตถาคตนี้ย่อมยังเวไนยสัตว์ให้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท ผู้ใดรู้แล้วไม่เชื่อ นับว่าเป็นกรรมของสัตว์ที่ต้องสิ้นสุดไปตามกรรมของตน ผู้ใดปรารถนารอดพ้นจากภัยพิบัติให้รักษาศีล 5 ประการ เจริญเมตตากรุณา ประกอบสัมมาอาชีพ มีใจสันโดษ ร้จักพอ ไม่โป้ปดคดโกง ไม่หลงมัวเมาอำนาจและลาภยศ ตั้งใจประพฤติตนตามคำสอนของตถาคตให้มั่นคง จึงจะพ้นอันตรายใน " ยุคกึ่งพุทธกาล "

    จากหนังสือกฎแห่งกรรม-ธรรมปฏิบัติ เล่ม 16
    โดย หลวงพ่อ จรัล ฐิตธัมโม วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี
     
  14. พลน้อย

    พลน้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +473
    พระยาธรรมิกราช

    พุทธทำนายจากพระโอษฐ์...จากหนังสือผูกอีสาน …บัดนี้จักกล่าวภาคพื้นติดต่อตามประวัติ ตามแต่เฮามองเห็น หากสิจาไปหน้า อันว่าแนวนามเชื้อผิวเหลืองชนะเลิศ พวกพระสังฆเจ้าประจำไว้สู่เมือง จำพวกผิวขาวเผี้ยงสิพากันแพ้พ่าย พญาครุฑราชเจ้าสิบินเข้าสู่สถาน อันนรานอรินเดินจรก็สิได้กลับต่าว สิได้ไหลหลั่งเข้ากรุงกว้างดั่งเดิม

    ยู ท่างบำเพ็ญสร้างศีลทานบ่ได้ขาด ศาสนาของเฮาจังสิฮูงเหลื่อมเสมอแก้วหน่วยพิฑูรย์ ไผผู้มาเพียรสู้ตามพระธรรมเฮาชี้ช่องมานั้น สิบ่ขำเขือกฮ้อนคาถานั้นให้ฮ่ำเฮียน หรือสิเขียนใส่ผ้าพันหัวกันเสนียด หรือเอาไปกราบไหว้แลงเซ้าก่อนเข้านอนอานนท์เอ่ย อานนท์เป็นศิษย์แก้วเพียรเฮาบ่ได้ห่าง เฮาสงสารมากล้นภายหน้าศาสนา ฝูงหมู่อุบาสกอุบาสิกาคณาญาติ ให้พร่ำเพียรต่อสู้อย่าคร้านเศิกยาม เฮาแนะซ่องให้ยากง่ายตามความจริง อันความชั่วให้ละทิ้งเพียรไว้ตั้งแต่ดี ทางไกลก็สิเป็นทางใกล้ คนเฮาไปบ่ได้หย่อน ควรหมั่นสีของหม่นเศร้าให้ใสแจ้งอยู่เฮิ่ง
    ไผผู้บ่เกียจคร้านเพียรหมั่นภาวนา ก็จักมีอายุยืนอยู่เสถียรหายฮ้อน องค์พระยาธรรมเจ้าสิลงมาครองโลก หากสิเห็นเที่ยงแท้ให้เพียรสร้างส่วนบุญ หัวทีนั้นพระองค์ทรงยั้งอยู่เมืองใหญ่สีปาด เป็นปัจจุบันเป็นเมืองลานช้างเฮาแท้เที่ยงจริง เผินจักมาเถิงแท้เดือน ๑๑ ขึ้น ๘ ค่ำ


    ครั้น พ.ศ. ไปเถิงสองพันห้าฮ้อยแล้วปีกุนหน้าเที่ยงจริง ลูกแก่นต้นสิตามพ่อโดยเสด็จ กับทั้งหลานสององค์สิเหล่าเทียมมาพร้อม ตามแต่มาศะเกณฑ์ตั้งในระหว่างปีเถาะ ก็จักมีมหาสองยักษ์ยกพลมาล้นมาแต่ทางหนห้องทางปัจฉิมเอ้าอูด มากินสะมะณะพราหมณ์ทั้งหลายให้ตายประมาณได้เจ็ดล้านสามแสนห้าหมื่น บ่ใส่แต่ทอนั้นทวีเท่าทั่วแดน จนว่ามาเถิงปีมะโรงจังสิได้โค้งอ่วย

    ครั้น ผู้ใดอยากพบหน้าพระธรรมเจ้าให้หมั่นเพียร เต็มใจสู้ทำศีลทานเททอด ให้พากันอุปฐากพ่อแม่เจ้าสองเฒ่าให้อยู่เย็น ลุเถิงเข้าเขตปีมะเสง แม่น้ำมหาสมุทรไหลเซาะออกมาพังม้าง ฝูงหมู่สังโฆเจ้ามัวหมองปองหาลาภ ธุดงคะคุณมีแต่ละน้อยเพียรสู้ก็บ่หลาย

    พอมาเถิงห้องปีมะเมียแถมถ่าย คนจักละถิ่นบ้านเดินดั้นเทียวขอ ฝูงลูกเต้าสิพรากแม่มารดา กับทั้งบิดาพลัดพรากกันคนก้ำในระหว่างคราวนั้น มันจักเกิดเป็นหนามเสี้ยนคันคายอยู่ในบ่อน เพราะว่าผีป่าในบ้านอืดเสียงผีเมืองดั้นหนีภัยเข้าป่า เมืองกรุงศรีอยุธยาก็จักเกิดเดือดร้อนการเขี้ยวขุ่นมัว อันว่านารีสร้อยฝูงผู้หญิงสิลำบาก จักเกิดเข็ญยากยุ่งเสมอด้ามดั่งกัน วันคืนมื้อกังวนไหวหวั่น

    อานนท์เอ๋ยหากสิเน เที่ยงแท้ภายสร้อยศาสนา พอมาเถิงห้องพระยาลิงปีวอก คนสิออกจากบ้านเดินเข้าสู่ทะเล ถัดจากนั้นมาจวบปีระกา กรรมของพวกชาวมนุษย์มันสิบันดาลให้มีมืดควันคุงฟ้า ดูประมาณได้เจ็ดวันเป็นเขต ในเวลามืดนั้นเทวดาเฮียกเอิ้นเอาผีเสื้อยักษ์หลวง นับอ่านได้เถิงโกฏิเป็นประมาณมากินฝูงหญิงชายหมู่กรรมเหลือล้น กับทั้งฝูงผีเสื้ออีกแสนตัวแข็งขนาด ฝูงคนบุญอย่าได้ประมาทแท้คุณแก้วให้ฮำเพิง ให้พากันบำเพ็ญสร้างบำเพ็ญบำเพ็ญบุญอย่าได้หย่อน ลางเทื่อบุญช่วยยู้เวรฮ้ายสิแล่นหนีแท้แล้ว

    จำจากนี้สิเข้าเขตปีจอ พระยาอินทร์เผิ่นสิแปลงสารทิพย์หว่านโปรยลงพื้น สาส์นนั้นอินตาใช้ตัวทองเขียนขีด เพราะว่าบอกล่วงหน้าพระธรรมเจ้าสิล่วงลง บ่นานแท้ปีเดียวเสด็จด่วน ลงมาเที่ยวตรวจค้นตามบ้านหมู่คน ถ้าบ่ได้พบพ้อคำแห่งพระคาถา อันพระสงฆ์ทำนายคำสอนสั่งมาจริงแจ้ง กับทั้งเป็นคนฮ้ายประมาทธรรมหีนะโหด บอกว่าโทษผู้นั้นเห็นแท้สิเกิดกรรม เลยสิบรรดาลให้ตายโหงลงเลือด เพราะว่าเขาบ่ฮู้จำข้อแห่งพระธรรม ในคราวนั้นคนสิเกิดเหลือหลาย ทั้งหญิงชายบ่คัณนาได้ ฝูงหมู่อาหารเข้าบ่พอกินสิเขินขาด ความอดอยากก็จะบังเกิดขึ้นทั้งเฝ้าฮบเฮ็วแท้แล้ว

    ครั้น ผู้ใดได้ฟังแล้วให้เว้าต่อกันฟังแด่เดอ ก็จักมีอานิสงส์อายุยืนยาวมั่น กับทั้งหวังเห็นหน้าพระยาธรรมิกราช เผินสิขึ้นผ่านแผ้วครองคุ้มให้อยู่เย็น ครั้นไผบ่บอกเล่าจาต่อกันไปมัวแต่ปิดบังเสียสิเกิดโภยภายซ้อย ทั้งบ่หวังเห็นห้องความเจริญดั่งเฮาบอก พระยาธรรมิกราชเจ้าเลยจ้อยแม่นบ่เห็น

    ...ข้อหนึ่งนั้นยังมีสามพี่น้องประสงค์แข่งแดงฤทธิ์ กำหนดกาลเวลาแข่งดีให้เห็นแจ้ง เจ้าผู้พี่ขานไขตามใจเฮารบสิบห้าวันจิงเซายั้ง องค์กลางนั้นเจ็ดวันหักเที่ยง พระองค์น้อยผู้หลังว่าสามมื้อบ่ให้กลายไผสิดีก็ดีหั้น ไผสิตายก็ตามช่าง บ่ให้๙กว่านั้นสิฮามมื้อเศิกคราว แต่นั้นมีมหาเถรเฒ่ากายงามเฮืองฮุ่ง ท่านนั้นเสด็จออกมาจากสามทวีปซ้ำมากั้นบ่ให้เฮ็ว ท่านนั้นโฉมสีเหลื่อมปุนเปรียบพระอาทิตย์ ฮองๆ ใสดั่งมณีโชติแก้ว ยังจักมาแถมซ้ำหกสิบองค์โดยด่วน เผิ่นประสงค์สิมาบอกห้ามภัยฮ้ายแห่งพระยา

    …เวลา เข้าเถิงปีกุลจำจือเอาเนอเดือนสิบเอ็ดข้างขึ้นจำไว้อย่าสิลืม ให้พวกท่านทั้งหลายพร้อมหญิงชายชาวโลกเฮาเฮ๋ย ฮีบหากันก่อสร้างกุศลไว้ฮับพระองค์ ครั้นผู้ใดโมโหฮ้ายโลภาโลภมาก ศีลบ่เข้าพระธรรมเจ้าบ่เหลียว มีแต่เมาทางได้บ่ตรึกตรองทางชอบ เห็นแต่ทางหม่อตื้นตัวได้แม่นเอา อันว่าในหนห้วงศีลธรรมพระเจ้าเทศน์มานี้ เขาบ่ตั้งต่อสร้างให้เห็นแจ้งแก่ใจ คนผู้นั้นสิบ่ได้พบพ้อองค์เอกพระยาธรรม สิเกิดมีโภยภัยเบียดเบียนให้ตายเมี้ยน เพราะว่ายุคกุลีขึ้นนำภัยนับบ่ข่วย เมตตานับมื้อน้อยโมโหหุ้มห่อใจ

    ตามกระบิลเบื้ององค์พุทโธเผิ่นกล่าวมานั้น เผิ่นว่า พ.ศ. ๒๕๐๐ กลางปีมาแถมถ่ายมานั้น อุบาทฮ้ายโฮมฮ้อนสิเกิดเป็น มีแต่กุมกันวุ้นถกเถียงหาเหตุ เหลียวเห็นกันมีแต่คิดอยากฆ่าก็ทำได้ดั่งใจ บ่ว่าแต่ไกลและใกล้จีนจามแขกฝรั่ง เกิดรบเร็วอยู่บ่มั้วยั้งเขี้ยวเขาใส่กัน จนว่าโลหิตห้งเสมอธารแม่น้ำใหญ่ เลือดสิท่วมเล็บช้างหนูน้อยได้ล่องลอยพุ้นแล้ว เผิ่นจึ่งซ้ำแล้วซ้ำให้เฮาหน่ำทำบุญ ใ ห้พากันบำเพ็ญจิตใจให้อ่อนโอนหายกระด้าง ลางเทือพอไขได้กันคะดีให้เบาห่าง หรือเพื่อตัดขาดเว้นให้หายเสี้ยงหมู่เวร องค์ก็จึ่งตรัสเผือไว้เสมือนตืมเต็มปัญญา เถิงคราวหน้าปัญญาเฮานับมื้ออ่อน อวิชาตัณหานับมื้อแก่กล้า ธรรมสิเศร้าหม่นหมอง ความจริงธรรมหากรักษาไว้โลกาจิงบ่แตก โลกของเฮานี้หากจักยังอยู่ได้พระธรรมเจ้าจ่องดึง

    …อัน คราวไปหน้า ความโมหังนับมื้อแผ่ ความมืดใจนั้นนับมื้อห่อหุ้มขังไว้บ่ให้เห็น พอปานเอาฟืนมาอ่อยไว้ทางเย็นนั้นแม่นบ่มี ความดีเผิ่นว่าได้ขันตีธรรมให้เพียรฮำเอาท่อญ หากสิเห็นทางดับมอดเชื้อไฟได้บ่หล่ายความ องค์นั้นมาเป็นกำแพงแก้วกันไฟกองใหญ่เอาความอีดู เมตตากรุณานั้นเป็นน้ำบ่แก้วเทเข้ามอดไฟโลกของเฮา จังสิเย็นอยู่ได้หายกังวลแสนแสบ หัวทีนั้นหัดให้ฮักใกล้ๆ คือพ่อแม่เป็นประถม หักให้สงสารกันตลอดทั้งลุงป้า หัดให้ดีไปเรื่อยๆ ญาติกาชั้นใกล้ก่อน ต่อ

    จากหั้นขอให้รักเพื่อนบ้านบ่มี ขั้นต่อไป จนตลอดสัตว์สองเท้าทุบบาทพระหุบท ทั้งอยู่ในดินแดนหมู่ปลาในน้ำ ครั้นว่าเฮาฮักกันแล้ว ความชังก็เลยผ่าย ครั้นความชังหนีจากแล้วความอยากฆ่าแม่นบ่มี ความอยากหักง้าวปืนกระสุนก็อิ๊ดอ่อน มีแต่ฮักฮ่วมห้องเสมอน้องพี่กัน ยู่ถ่างทำการสร้างหากินโดยทางชอบ ประกอบอาชีพล้นชาวเผี้ยงโทษบ่ดี อินทรีพรหมฟ้าเทวดาก็ยินม่วนนำแล้ว เหตุว่าอานิสงส์เมตตานั้น เป็นเสน่หาจ่องน้าวจิตใจนั้นให้ชื่นชม ก็จิงบรรดาลให้ชลธาไหลหลั่ง ข้าวในนาและหมากไม้หวานส้มก็มากมูล ครั้นแม่นมันแข็งกล้าหมดโลกาบ่มีอ่อน ดั่งนั้นก็จักเกิดเดือดร้อนคุงฟ้าดั่งกัน อินตาเจ้าจึ่งหลิงโลกโลกา เผิ่นก็ยินระอาเมืองมนุษย์บาปหนาเหลือล้น อันว่าธรณีเจ้าพระสุธาก็อกแตก เกิดระแหงแผ่ม้างดังขึ้นทั่วไป ฝูงหมู่คนกลัวย้านขวัญหายอกสั่น ย้านแต่ภัยห่อหุ้มสิตายเมี้ยนบ่นาน มันหากบรรดาลขึ้นเพราะเข็ญกรรมที่สัตว์ก่อ พร้อมทั้งฝนขาดฟ้าน้ำขาดห้วยอึดล้นยิ่งทวี ตามทีเผิ่นกล่าวไว้ในปีจอคนสิเข้ามามาก แต่ว่ามันสิลดน้อยเพราะฝนฟ้าบ่ซุ่มเลิ่งแท้แล้ว แต่ว่าราคาข้าวเกวียนเดียวหกร้อยชั่งพุ้นแล้ว นับเงินใส่เม็ดข้าวเสมอเท่าพอกันนั่นแล้ว แต่นั้นอานนท์ต้านขานตอบองค์พุทโธ ครั้นแม่นเป็นจั่งซั้นไผหนอสิค้างโลกพระองค์เอ๋ย แต่นั้นพระองค์แย้มไขวาจาแล้วตรัสบอก

    อานนท์ เอ๋ยโชคไผมีจิงสิได้พ้นคือความดั่งกล่าวมานั้น อันนี้เผิ่นกล่าวไว้ตามแห่งสรญาณ ตามความมีแต่ประถมประเหียนได้ ครั้นบ่เป็นจริงแท้สาธุการเป็นจังโชค ขอให้มนุสสาโลกกว้างเจริญขึ้นอย่าเสื่อมถอย อันนี้องค์พุทโธเจ้าหลิงโลกาสอดส่อง เผิ่นก็รู้เหตุฮ้อนดีแล้วจิงเผย เผิ่นเทศนาเอาไว้อาจารย์เฮาจำจื่อจึงดาย เผิ่นได้จารึกไว้เสาหินหน้าวัดใหญ่ เผิ่นบอกให้ฮอดห้องคราวนี้ให้ฮินตรองนั่นท่อญ ไผผู้ได้ฟังแล้วให้พยายามเพียรเอาแน่อีเฮียมเอ๋ย.

    (คัดจาก “พุทธทำนายจากพระโอษฐ์ และพระปฐมสมโพธิ์ ภาคอีสานฉบับสมบูรณ์” พิมพ์ที่โรงพิมพ์ ลูก ส.ธรรมภักดี พ.ศ. ๒๕๒๙)
     
  15. พลน้อย

    พลน้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +473
    คิริมานนทสูตร (พระยาธรรมมิกราชสูตร)

    คิริมานนทสูตร (พระยาธรรมมิกราชสูตร)

    อานนฺท ดูกาอานนท์ ธรรมนี้ชื่อว่าพระยาธรรมิกราช เพราะเป็นใหญ่กว่าธรรมทั้งหลาย ข้อที่เราตถาคตได้ตรัสไว้แล้วในธรรมหมวดนี้คือได้ชี้นรก สวรรค์ พระนิพพาน กิเลสตัณหา โดยจะแจ้งสิ้นเชิง เมื่อผู้ใดได้ฟังแล้วปรารถนาสุขทุกข์ประการใด ก็จงเลือกประพฤติตามความปรารถนา"
    ที่มา : หนังสือคิริมานนทสูตร (อุบายรักษาโรค)


    "พระสูตรที่ชื่อ พระยาธรรมิกราช" นี้ แปลว่า ธรรมที่เป็นใหญ่กว่าธรรมทั้งหลาย หรือราชาแห่งธรรมทั้งปวง
     
  16. พลน้อย

    พลน้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +473
    พระยาธรรมมิกราช คือ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระบรมมหาจักรพรรดิ์

    <hr style="color:#FFFFFF; background-color:#FFFFFF" size="1"> อ้างอิง:
    <table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border:1px inset"> ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ พลน้อย [​IMG]
    คิริมานนทสูตร (พระยาธรรมมิกราชสูตร)

    อานนฺท ดูกาอานนท์ ธรรมนี้ชื่อว่าพระยาธรรมิกราช เพราะเป็นใหญ่กว่าธรรมทั้งหลาย ข้อที่เราตถาคตได้ตรัสไว้แล้วในธรรมหมวดนี้คือได้ชี้นรก สวรรค์ พระนิพพาน กิเลสตัณหา โดยจะแจ้งสิ้นเชิง เมื่อผู้ใดได้ฟังแล้วปรารถนาสุขทุกข์ประการใด ก็จงเลือกประพฤติตามความปรารถนา"
    ที่มา : หนังสือคิริมานนทสูตร (อุบายรักษาโรค)


    "พระสูตรที่ชื่อ พระยาธรรมิกราช" นี้ แปลว่า ธรรมที่เป็นใหญ่กว่าธรรมทั้งหลาย หรือราชาแห่งธรรมทั้งปวง
    </td> </tr> </tbody></table>

    พระยาธรรมมิกราช คือ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระบรมมหาจักรพรรดิ์

    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระบรมมหาจักรพรรดิ์ ผู้เกิดจากการตรัสรู้ด้วยตนเอง ไม่ใช่พระเจ้าจักรพรรดิ์ที่เกิดจากผลบุญอานิสงค์ไม่

    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระบรมมหาจักรพรรดิ์จึงมิใช่พระเจ้าจักรพรรดิ์ทั่วไป และไม่สามารถเทียบกันได้เลย หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ เคยสอนลูกศิษย์ว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระบรมมหาจักรพรรดิ์ คือ ผู้ที่มีบุญบารมีมากกว่าองค์สมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า และเป็นผู้คุ้มครองปกป้องพระศาสนาและองค์สมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า


    องค์ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระบรมมหาจักรพรรดิ์ เกิดจากฆราวาสผู้ตรัสรู้ธรรมด้วยตนเอง จึงเป็นการยากยิ่งที่จะเกิดขึ้นได้ในโลกนี้ เป็นผู้คุ้มครองปกป้องพระศาสนา และคุ้มครองโลกนี้


    องค์สมเด็จพระ อรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าที่พบเจอได้ยากแล้ว แต่การจะหาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระบรมมหาจักรพรรดิ์ พบเจอได้ยากยิ่งกว่า

    จากที่ได้หาข้อมูล มาทั้งหมด ในอดีตองค์สมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ทรงเครื่องพระบรมมหาจักรพรรดิ์ มีพระองค์เดียว คือ องค์พระปฐม(องค์สมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์แรก)

    ในกึ่งพุทธกาลนี้จะเกิดพระยาธรรมิกราช ขึ้นซึ่งจะทำให้พระพุทธศาสนาเจริญถึงขีดสุด คล้ายกับองค์สมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีพระชนน์ชีพอยู่

    ในกัปนี้แก้วพระจำองค์ขององค์สมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าทั้ง 5 พระองค์เป็นดังนี้


    1. พระกกุสันธพุทธเจ้า หลังจากได้รับพุทธพยากรณ์
    เป็นครั้งแรกจากพระพุทธเจ้า เมื่อสมัย เป็นพระโพธิสัตว์
    หลังจากนั้น 8 อสงไขยแสนกัป
    ได้สร้างบารมีกับพระพุทธเจ้าอีกประมาณ 37,024 พระองค์

    เป็นศรัทธาพุทธเจ้า อายุไขย 40,000 พรรษา
    พระสรีระสูง 40 ศอก หรือ 20 เมตร
    บำเพ็ญทุกกิริยาชาติสุดท้าย 10 เดือน
    พุทธรังสีสร้านไปไกล 10 โยชน์ (160 กิโลเมตร)
    พระแก้วประจำองค์ พระแก้วขาว หน้าตักกว้าง 20 วา

    2. พระโกนาคมพุทธเจ้า
    หลังจากได้รับพุทธพยากรณ์เป็นครั้งแรกจากพระพุทธเจ้า
    เมื่อสมัยเป็นพระโพธิสัตว์หลังจากนั้น 8 อสงไขยแสนกัป
    ได้สร้างบารมีกับพระพุทธเจ้าอีกประมาณ 37,024 พระองค์

    เป็นศรัทธาพุทธเจ้า อายุไขย 30,000 พรรษา
    พระสรีระสูง 30 ศอก หรือ 15 เมตร
    บำเพ็ญทุกกิริยาชาติสุดท้าย 1 เดือน
    พุทธรังสีสร้านไปไกล ตามแต่พระประสงค์
    พระแก้วประจำองค์ พระแก้วเหลือง หน้าตักกว้าง 15 วา

    3. พระกัสสปพุทธเจ้า
    หลังจากได้รับพุทธพยากรณ์เป็นครั้งแรกจากพระพุทธเจ้า
    เมื่อสมัยเป็นพระโพธิสัตว์หลังจากนั้น 8 อสงไขยแสนกัป
    ได้สร้างบารมีกับพระพุทธเจ้าอีกประมาณ 37,024 พระองค์
    เป็นศรัทธาพุทธเจ้า อายุไขย 20,000 พรรษา
    พระสรีระสูง 20 ศอก หรือ 10 เมตร
    บำเพ็ญทุกกิริยาชาติสุดท้าย 7 วัน
    พุทธรังสีสร้านไปไกล ตามแต่พระประสงค์
    พระแก้วประจำองค์ พระแก้วน้ำเงิน หน้าตักกว้าง 10 วา

    4. พระศากยมุนีโคดมพุทธเจ้า
    หลังจากได้รับพุทธพยากรณ์เป็นครั้งแรกจากพระพุทธเจ้า
    เมื่อสมัยเป็นพระโพธิสัตว์หลังจากนั้น 4 องไขยแสนกัป
    ได้สร้างบารมีกับพระพุทธเจ้าอีก 24 พระองค์ ซึ่งน้อยมาก
    เป็นปัญญาพุทธเจ้า อายุไขย 80 พรรษา
    พระสรีระสูง 4 ศอก หรือ 2 เมตร
    บำเพ็ญทุกกิริยาชาติสุดท้าย 6 ปี
    พุทธรังสีสร้านไปข้างละ 1 วา เป็นปกติ
    พระแก้วประจำองค์ พระแก้วเขียว(เขียวมรกต) หน้าตักกว้าง 5 วา

    5. พระอริยเมตตรัยพุทธเจ้า
    หลังจากได้รับพุทธพยากรณ์เป็นครั้งแรกจากพระพุทธเจ้า
    เมื่อสมัยเป็นพระโพธิสัตว์หลังจากนั้น 16 อสงไขยแสนกัป
    ได้สร้างบารมีกับพระพุทธเจ้าอีกประมาณ 477,029 พระองค์
    เป็นวิริยะพุทธเจ้า อายุไขย 80,000 พรรษา
    พระสรีระสูง 80 ศอก หรือ 40 เมตร
    บำเพ็ญทุกกิริยาชาติสุดท้าย 7 วัน
    พุทธรังสีสร้านไปไกล ยังกำหนดไม่ได้
    พระแก้วประจำองค์ พระแก้วแดง และทรงเครื่องบรมมหาจักรพรรดิ
    หน้าตักกว้าง 20 วา

    พระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์จะมีพระแก้วประจำองค์
    และมีได้ตั้งแต่ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่และจะปรากฎชัดขึ้น
    ตามความเข้มข้นของบารมีที่สร้าง
    ยุคพระศรีก็จะมีพระแก้วแดงทำจากทับทิมแดง
    ปัจจุบันนี้ประดิษฐานเตรียมไว้แล้ว ณ ภูมิทิพย์
    ซึ่งซ้อนอยู่กับ สถานที่แห่งหนึง
    และพระแก้วแดงจะปรากฎออกมา เมื่อถึงยุคพระศรี
    พระแก้วคู่บารมีของพระพุทธเจ้า องค์ปัจจุบันก็คือพระแก้วมรกต
    ส่วนพระแก้วคู่บารมีของพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ
    เป็นพุทธนิมิตอยู่ที่พระนิพพานคู่วิมานพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์​
     
  17. พลน้อย

    พลน้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +473
    อ้างอิง:
    <table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border:1px inset"> ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ พลน้อย [​IMG]
    <table cellpadding="5" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td height="100%" valign="top" width="85%">[​IMG]


    พระธรรม จะเริ่มเปล่งรัศมีฉายส่องโลกอีกวาระหนึ่ง ก็ต่อเมื่อมีธรรมิกราชโพธิญาณบังเกิดขึ้นอยู่ในความอุปถัมภ์ของพระเถระ ผู้ทรงธรรมฤทธิ์ ทั้ง 2 พระองค์สถิต ณ เบื้องตะวันออกของมัชฌิมประเทศ จะเสด็จมาเสริมสร้างศาสนาของตถาคตให้รุ่งเรืองสืบไปถึง 5000 พระวัสสา


    </td></tr><tr><td class="smalltext" valign="bottom" width="85%"> <table style="table-layout: fixed;" border="0" width="100%"><tbody><tr></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
    </td> </tr> </tbody></table>
    ใน กระทู้หนึ่งมีผู้สงสัยว่า ธรรมมิกราชโพธิญาณ(พระยาธรรมมิกราช) อยู่ในความอุปถัมภ์ของพระเถระผู้ทรงธรรมฤทธิ์ ก็เข้าใจผิดไปว่า พระเถระผู้ทรงธรรมฤทธิ์ มีบุญบารมีว่ากว่า ธรรมมิกราชโพธิญาณ(พระยาธรรมมิกราช) ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง และคำตอบที่ถูกต้องอธิบายอยู่ข้างล่างนี้ครับ


    องค์ สมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ตอนที่มีพระชนน์ชีพอยู่มีท่านใดบ้างคอยอุปถัมถ์ ที่เป็นทั้ง ฆราวาส คือใคร และที่เป็นพระสงฆ์ คือใคร

    ถ้าท่านที่สังเกตุให้ดีซักนิดหนึ่ง
    1.ผู้ถูกอุปถัมถ์มีบุญบารมีมากกว่าผู้อุปถัมถ์
    2.ขึ้นชื่อว่า องค์สมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ไม่เคยเจาะจงไปอุปถัมถ์ ผู้หนึ่งผู้ใด มีแต่ผู้ปรารถนาอุปถัมถ์พระองค์ทั้งสิ้น
    3.ในกึ่งพระพุทธศาสนา พระเถระ ผู้ทรงธรรมฤทธิ์ คือ ผู้อุปถัมถ์พระยาธรรมมิกราช แล้วพระยาธรรมมิกราชจะมีบุญบารมีมากขนาดไหน



    พระเถระ ผู้ทรงธรรมฤทธิ์ คือ พระมหาเถระโพธิสัตว์ เชี่ยวชาญทางอภิญญาในสุวรรณภูมิ ที่อยู่ในหนังสือทิพย์อำนาจ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เป็นผู้บอกไว้มีใจความว่า


    พุทธ ปรินิพพานมา พระพุทธศาสนาจะกลับเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสูงสุดคล้ายสมัยพุทธกาล พระมหาเถระโพธิสัตว์ ผู้มีบุญญาภิสมภาร มีอิทธาภินิหาร เชี่ยวชาญทางอภิญญาในสุวรรณภูมิ จะได้เป็นประธานาธิบดีสงฆ์ ทำการเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปยังนานาประเทศ เริ่มต้นที่อินเดียไปยุโรปและอเมริกา

    ที่มา อยู่ในหนังสือทิพยอำนาจ ของลูกศิษย์ท่าน หลวงปู่มั่น ท่านว่าท่านไม่สามารถมีอายุให้ถึงวันนั้นได้นะครับ

    พระมหาเถระโพธิสัตว์ คือพระมหาโพธิสัตว์ที่บวชในพระศาสนา ซึ่งมีบุญและบารมีมากกว่าพุทธสาวกทั่วไปมาก ในศิลาจารึก ใช้คำว่า ทั้งสองพระองค์สถิตย์ ณ เบื้องต้นตะวันออกของมัชฌิมประเทศ จะเสด็จมาเสริมสร้างศาสนาของตถาคต ให้รุ่งเรืองสืบไปถึง ๕,๐๐๐ พระวัสสา

    พระมหาเถระโพธิสัตว์ ผู้อุปถัมถ์พระยาธรรมมิกราช แล้วพระยาธรรมมิกราชจะมีบุญบารมี มากมายขนาดไหน ไปพิจารณากันเองหาข้อมูลได้มาแบบนี้

    ขยายความ

    ธรรมมิกราชโพธิญาณ คือ ญาณของ พระยาธรรมมิกราช ซึ่งพระยาธรรมมิกราช จึงไม่ใช่พระเจ้าจักรพรรดิ์ที่เกิดจากผลบุญอานิสงค์ไม่

    พระยาธรรมมิกราช คือ องค์ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระบรมมหาจักรพรรดิ์ เกิดจากฆราวาสผู้ตรัสรู้ธรรมด้วยตนเอง จึงเป็นการยากยิ่งที่จะเกิดขึ้นได้ในโลกนี้

    พระยาธรรมิกราช" นี้ แปลว่า ธรรมที่เป็นใหญ่กว่าธรรมทั้งหลาย หรือราชาแห่งธรรมทั้งปวง
     
  18. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,705
    ค่าพลัง:
    +51,934
    *** สัจจะธรรม ****

    สัจจะปลดกิเลสนิสัย ที่ทำสำเร็จ
    เกิดเป็นตัวกระทำเที่ยง ที่ไม่ตาย และมีผลตอบแทน

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     

แชร์หน้านี้

Loading...