พระโสดาบันทำให้ไม่ตกอบาย (เดรัจฉาน เปรต อสุรกาย นรก)อีกจริง หรือ? จะเป็นไปได้อย่างไร

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย banana366, 8 พฤศจิกายน 2012.

  1. banana366

    banana366 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    250
    ค่าพลัง:
    +1,345
    1. พระโสดาบันทำให้ไม่ตกอบาย (เดรัจฉาน เปรต อสุรกาย นรก)อีกจริง หรือ? จะเป็นไปได้อย่างไร

    ตอบ. จริง ..เมื่อเจริญวิปัสสนาจนวิปัสสนาญาณขึ้นถึงญาณที่ ๑๔ โสดาปัตติมรรคจะทำหน้าที่ประหารตัวมิจฉาทิฏฐิที่นอนเนื่องอยู่ในจิตสันดานได้อย่างเด็ดขาดสิ้นเชิง มิจฉาทิฏฐินี่แหละที่เป็นตัวเชื้อให้เราต้องตกอบาย (คือ กำเนิดเตรัจฉาน เปรต อสุรกาย ตกนรก)อีก(1)

    เมื่อเราบรรลุโสดาบันได้แล้ว ไม่ว่าในอดีตชาติหรือชาติปัจจุบัน เราได้เคยทำบาปอกุศลไว้มากมายเพียงใดก็ตาม ก็ไม่ต้องไปชดใช้กรรมในนรกอีกต่อไป และจะเกิดในสุคติภูมิ (โลกมนุษย์, สวรรค์) ได้อีกไม่เกิด ๗ ชาติเป็นอย่างยิ่ง สัตว์โดยทั่วไปต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ใน ๓๑ ภูมิ (คือ อรูปพรหม ๔ ชั้น รูปพรหม ๑๖ ชั้น เทวดา ๖ ชั้น มนุษย์ เดรัจฉาน เปรต อสุรกาย และนรก(2) หาเบื้องต้นและที่สุดไม่พบ ต้องตกอบายทุกข์ทรมานในนรกอยู่เป็นอาจิณ เหมือนบ้านเก่าทีต้องแวะเวียนไปอยู่เสมอ แต่ ถ้าเราสามารถบรรลุโสดาบันได้ภายในชาตินี้ ก็ไม่ต้องตกอบายอีก จะไปเกิดในสุคติภูมิอีกไม่เกิน ๗ ชาติแล้วบรรลุอรหันต์ เข้าถึงความดับภพชาติโดยสิ้นเชิง ไม่เกิดใหม่อีกต่อไป เมื่อไม่เกิดอีกก็ไม่ต้องแก่ ไม่ต้องเจ็บ ไม่ต้องตาย ไม่ต้องตกนรก, ตกอบาย และไม่ต้องเป็นทุกข์อีกแล้ว

    อ้างอิง พระไตรปิฎกภาษาไทย แปลโดยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

    1. ดูรายละเอียดในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ หน้า ๙๗ 2. ดูรายละเอียดในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ หน้า ๖๗


    http://www.kammatan.com/board/index.php?topic=275.0
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 พฤศจิกายน 2012
  2. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,213
    ค่าพลัง:
    +3,770
    รบกวนใครที่มีพระไตรปิฏก ช่วยบอกผมหน่อยได้มั้ยครับ
    ว่า
    1. ดูรายละเอียดในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ หน้า ๙๗ 2. ดูรายละเอียดในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ หน้า ๖๗

    ชื่อพระสูตรว่าอะไร

    ปล.ห้องพระของผมล็อค พ่อเอากุญแจไว้ที่ไหนก็ไม่รู้
     
  3. nmz123

    nmz123 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2010
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +29
  4. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    ๖. อัพยากตวรรค
    หมวดว่าด้วยเรื่องที่ไม่พยากรณ์
    ๑. อัพยากตสูตร
    ว่าด้วยเรื่องที่ไม่พยากรณ์
    {๕๑}[๕๔] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
    อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พระอริยสาวกผู้ได้สดับ
    ไม่เกิดความลังเลสงสัยในเรื่องที่ไม่ควรพยากรณ์”
    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ภิกษุ เพราะทิฏฐิ๑ดับไป อริยสาวกผู้ได้สดับจึงไม่
    เกิดความลังเลสงสัยในเรื่องที่ไม่ควรพยากรณ์ คือ
    ๑. ทิฏฐินี้ว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคต๒เกิดอีก’ ทิฏฐินี้ว่า ‘หลังจาก
    ตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก’ ทิฏฐินี้ว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคต
    เกิดอีกและไม่เกิดอีก’ ทิฏฐินี้ว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่า
    เกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’
    ปุถุชนผู้มิได้สดับย่อมไม่รู้ชัดทิฏฐิ๓ ไม่รู้ชัดเหตุเกิดทิฏฐิ ไม่รู้ชัด
    ความดับทิฏฐิ ไม่รู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทิฏฐิ ทิฏฐินั้นย่อม
    เจริญแก่เขา เขาย่อมไม่หลุดพ้นจากชาติ(ความเกิด) ชรา(ความแก่)
    มรณะ(ความตาย) โสกะ(ความเศร้าโศก) ปริเทวะ (ความคร่ำครวญ)
    ทุกข์(ความทุกข์กาย) โทมนัส (ความทุกข์ใจ) และอุปายาส (ความ
    คับแค้นใจ) เรากล่าวว่า ไม่หลุดพ้นจากทุกข์

    ๑ ทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงมิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด) (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๕๔/๑๘๙)
    ๒ ตถาคต ในที่นี้เป็นคำที่ลัทธิอื่นๆ ใช้มาก่อนพุทธกาล หมายถึงอัตตา (อาตมัน) ไม่ได้หมายถึงพระพุทธเจ้า
    อรรถกถาอธิบายว่า หมายถึงสัตว์ (เทียบ ที.สี.อ. ๑/๖๕/๑๐๘, องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๕๔/๑๘๙)
    ๓ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงโสดาปัตติมรรค (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๕๔/๑๙๐)

    พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๓
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
    หน้าที่ ๙๗/๕๖๔ ข้อที่ ๕๔


    ๕. มหายัญญวรรค
    หมวดว่าด้วยมหายัญ
    ๑. สัตตวิญญาณัฏฐิติสูตร๑
    ว่าด้วยวิญญาณฐิติ ๗ ประการ
    {๔๑}[๔๔] ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณฐิติ๒ (ภูมิเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณ) ๗ ประการนี้
    วิญญาณฐิติ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
    ๑. มีสัตว์ผู้มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน คือ มนุษย์บางพวก เทวดา
    บางพวก๓ และวินิปาติกะบางพวก๔ นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๑
    ๒. มีสัตว์ผู้มีกายต่างกัน แต่มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือ เทวดาชั้น
    พรหมกายิกา๕เกิดในปฐมฌานภูมิ นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๒
    ๓. มีสัตว์ผู้มีกายอย่างเดียวกัน แต่มีสัญญาต่างกัน คือ เทวดาชั้น
    อาภัสสระ นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๓
    ๔. มีสัตว์ผู้มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือ เทวดาชั้น
    สุภกิณหะ (เทวดาที่เต็มไปด้วยความงาม) นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๔

    ๑ ที.ม. ๑๐/๑๒๗/๖๑-๖๒, ที.ปา. ๑๑/๓๓๒/๒๒๒-๒๒๓, ๓๕๗/๒๕๘-๒๕๙, ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๘๓/๒๘๙
    ๒ วิญญาณฐิติ หมายถึงที่ตั้งแห่งปฏิสนธิวิญญาณ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๔๔-๔๕/๑๘๐)
    ๓ เทวดาบางพวก หมายถึงเทพในสวรรค์ชั้นกามาวาจรภูมิ ๖ คือ (๑) ชั้นจาตุมหาราช (๒) ชั้นดาวดึงส์
    (๓) ชั้นยาม (๔) ชั้นดุสิต (๕) ชั้นนิมมานรดี (๖) ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี (ที.ม.อ. ๒/๑๒๗/๑๐๙, ขุ.จู.อ.
    ๘๓/๕๗)
    ๔ วินิปาติกะบางพวก หมายถึงพวกเวมานิกเปรตที่พ้นจากอบายภูมิ ๔ มียักษิณีผู้เป็นมารดาของอุตตระ
    ยักษิณีผู้เป็นมารดาของปิยังกระ ยักษิณีผู้เป็นมิตรของผุสสะ ร่างกายของเปรตเหล่านี้แตกต่างกัน คือ มีทั้ง
    อ้วน ผอม เตี้ย สูง มีผิวขาว ผิวดำ ผิวสีทอง และสีนิล มีลักษณะ มีสัญญาต่างกัน ด้วย ติเหตุกะ ทุเหตุกะ
    และอเหตุกะ เหมือนของมนุษย์ เวมานิกเปรตเหล่านี้ไม่มีศักดิ์มากเหมือนพวกเทวดา บางพวกได้รับทุกข์
    ในข้างแรม ได้รับสุขในข้างขึ้น แต่เวมานิกเปรตที่เป็นติเหตุกะสามารถบรรลุธรรมได้ ดุจการบรรลุธรรมของ
    ยักษิณีผู้เป็นมารดาของปิยังกระ เป็นต้น (ที.ม.อ. ๒/๑๒๗/๑๐๙, องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๔๔-๔๕/๑๘๐, ขุ.จู.อ.
    ๘๓/๕๗)
    ๕ เทวดาชั้นพรหมกายิกา หมายถึงพรหมชั้นปฐมฌานภูมิ (ระดับปฐมฌาน) ๓ ชั้น คือ (๑) พรหมปาริสัชชา
    (พวกบริษัทบริวารมหาพรหม) (๒) พรหมปโรหิตา (พวกปุโรหิตมหาพรหม) (๓) มหาพรหมา (พวกท้าว
    มหาพรหม) (ที.ม.อ. ๒/๑๒๗/๑๐๙-๑๑๐, องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๔๔-๔๕/๑๘๐)
    พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๓
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
    หน้าที่ ๖๗/๕๖๔
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 พฤศจิกายน 2012
  5. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    มหายัญญวรรคที่ ๕
    จิตตสูตร
    [๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณฐิติ (ภูมิเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณ) ๗ ประการนี้ ๗ ประการ
    เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์บางพวกมีกายต่างกันมีสัญญาต่างกัน เหมือนมนุษย์
    เทวดาบางพวก และวินิปาติกสัตว์บางพวกนี้เป็นวิญญาณฐิติข้อที่ ๑ สัตว์บางพวกมีกายต่างกัน
    แต่มีสัญญาอย่างเดียวกันเหมือนเทวดาชั้นพรหมกายิกา ผู้เกิดในภูมิปฐมฌาน นี้เป็นวิญญาณ
    ฐิติข้อที่ ๒สัตว์บางพวกมีกายอย่างเดียวกัน แต่มีสัญญาต่างกัน เหมือนเทวดาชั้นอาภัสสระ
    นี้เป็นวิญญาณฐิติข้อที่ ๓ สัตว์บางพวกมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกันเหมือน
    เทวดาชั้นสุภกิณหะ นี้เป็นวิญญาณฐิติข้อที่ ๔ สัตว์บางพวกเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ โดย
    มนสิการว่า อากาศไม่มีที่สุด เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา
    เสียได้ ไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญานี้เป็นวิญญาณฐิติข้อที่ ๕ สัตว์บางพวกเข้าถึงชั้นวิญญาณัญ
    จายตนะ โดยมนสิการว่า วิญญาณไม่มีที่สุด เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง
    นี้เป็นวิญญาณฐิติข้อที่ ๖ สัตว์บางพวกเข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะ โดยมนสิการว่าไม่มีอะไรๆ
    เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิญญาณฐิติข้อที่ ๗ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    วิญญาณฐิติ ๗ ประการนี้แล ฯ
    จบสูตรที่ ๑
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๓
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
    หน้าที่ ๔๐/๓๗๙ ข้อที่ ๔๑


    วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์
    อัพยากตวรรคที่ ๑
    อัพยากตสูตร
    [๕๑] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับถวายบังคมแล้ว
    นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไร
    หนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้ความสงสัยในวัตถุที่พระองค์ไม่ทรงพยากรณ์ ไม่เกิดขึ้นแก่
    อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ฯ
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เพราะทิฐิดับ ความสงสัยในวัตถุที่เราไม่พยากรณ์
    จึงไม่เกิดขึ้นแก่อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ดูกรภิกษุ ทิฐินี้ว่าสัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็น
    อีก สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีกสัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อม
    ไม่เป็นอีกก็มี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ ดูกร
    ภิกษุ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับย่อมไม่รู้ชัดทิฐิ เหตุเกิดทิฐิ ความดับทิฐิปฏิปทาเครื่องให้ถึงความ
    ดับทิฐิ ทิฐินั้นเจริญแก่ปุถุชนนั้น เขาย่อมไม่พ้นไปจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ
    ย่อมทุกข์ โทมนัสและอุปายาส เรากล่าวว่า ไม่พ้นไปจากทุกข์ ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว
    ย่อมรู้ชัดทิฐิ เหตุเกิดทิฐิ ความดับทิฐิ ปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับทิฐิ ทิฐิของอริยสาวก
    นั้นย่อมดับ อริยสาวกนั้นย่อมพ้นจากชาติ ชรา มรณะโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและ
    อุปายาส เรากล่าวว่า ย่อมพ้นไปจากทุกข์ดูกรภิกษุอริยสาวกผู้ได้สดับ รู้เห็นอยู่อย่างนี้
    ย่อมไม่พยากรณ์ว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีก ... สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อม
    เป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ ดูกรภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับ รู้เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อม
    เป็นผู้ไม่พยากรณ์ในวัตถุที่เราไม่พยากรณ์เป็นธรรมดาอย่างนี้ อริยสาวกผู้ได้สดับ รู้เห็นอยู่อย่างนี้
    ย่อมไม่พรั่น ไม่หวั่น ไม่ไหว ไม่ถึงความสะดุ้งในวัตถุที่เราไม่พยากรณ์ ฯ

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๓
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
    หน้าที่ ๖๑/๓๗๙ ข้อที่ ๕๑

    (ดูหัวข้อ ๕๑ ข้างบน ๔๑ ล่าง)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 พฤศจิกายน 2012
  6. banana366

    banana366 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    250
    ค่าพลัง:
    +1,345
  7. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    พระวจนะ"คหบดี ในกาลใดภัยเวรห้าประการ อันอริยสาวกทำให้สงบรำงับได้แล้วด้วย อริยสาวกประกอบพร้อมแล้วด้วย โสดาปัตติยังคะสี่ ด้วย อริยญายธรรม เป็นธรรมที่อริยสาวกเห็นแล้วด้วยดี แทงตลอดแล้วด้วยดี ด้วยปัญญาด้วย ในกาลนั้นอริยสาวกนั้น เมื่อหวังอยู่ ก็พยากรณ์ตนด้วยตนนั้นแหละว่า "เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดเดรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปรตวิสัยสิ้นแล้ว มีอบายทุคติวินิบาตสิ้นแล้ว เราเป็นผู้ถึงแล้วซึ่งกระแส มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ต่อนิพพาน มีการตรัสรู้พร้อมเป็นเบื้องหน้า ดังนี้..................คหบดี ภัยเวรห้าประการ อันอริยสาวกทำให้สงบรำงับได้แล้ว เป็นอย่างไรเล่า คหบดี ในบุคคลผู้ฆ่าสัตว์อยู่เป็นปรกติ ย่อมประสพภัยเวรใดในทิฎฐิธรรมบ้าง ในสัมปรายะบ้าง ย่อมเสวยทุกข์โทมนัสทางใจบ้าง เพราะปาณาติบาตเป็นปัจจัย ผู้เว้นขาดแล้วจากปาณาติบาต ย่อมไม่ประสพภัยเวรนั้น ทั้งในทิฎฐิธรรมและสัมปรายะ ไม่ต้องเสวยทุกข์โทมนัสทางใจด้วย เมื่ออริยสาวกเว้นขาดแล้วจากปาณาติบาต ภัยเวรนั้นย่อมเป็นสิ่งสงบรำงับไปด้วยอาการอย่างนี้(ในกรณีแห่ง อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท และสุราเมรมัชปาน ก็ได้ตรัสข้อความไว้โดยทำนองเดียวกัน) คหบดี ภัยเวรทั้งห้าเหล่านี้ เป็นสิ่งที่สงบรำงับแล้ว......
     
  8. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    .......คหบดี อริยสาวก เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้วด้วย องค์แห่งการบรรลุซึ่งโสดา4องค์เป็นอย่างไรเล่า..............1 คหบดี อริยสาวกในกรณีนี้ เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่น ไม่หวั่นใหว ในพระพุทธเจ้า ว่า เพราะเหตุอย่างนี้อย่างนี้พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ใกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้ที่ฝึกคนที่ควรฝึกอย่างไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย เป้นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน ด้วยธรรม เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ดังนี้.................2 คหบดี อริยสาวกในกรณีนี้ เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้วด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่น ไม่หวั่นใหว ในพระธรรม ว่าพระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฎิบัติพึงเห็นได้ด้วยตัวเอง เป็นสิ่งที่ปฎิบัติและให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด เป็นสิ่งที่ควรน้อมมาใส่ตัว เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ดังนี้.......3 คหบดี อริยสาวกในกรณีนี้ เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่น ไม่หวั่นใหวในพระสงฆ์ ว่า สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฎิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฎิบัติตรงแล้ว เป็นผู้ปฎิบัติธรรมเครื่องออกจากทุกข์แล้ว เป้นผู้ปฎิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว เป็นผู้ปฎิบัติสมควรแล้ว ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ คู่แห่งบุรุษสี่คู่ นับเรียงตัวได้แปดบุรูษ นั้นแหละคือสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นสงฆ์ควรแก่การสักการะที่เขานำมาบูชา เป็นสงฆ์ควรแก่การสักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ เป็นสงฆ์ควรรับทักษินาทาน เป็นสงฆ์ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี เป็นสงฆืที่เป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่าดังนี้...........4คหบดี อริยสาวกในกรณีนี้ เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้วด้วย ศิลทั้งหลายในลักษณะที่เป็นที่พอใจของพระอริยเจ้า เป็นศิลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุไม่ด่างพร้อย เป็นศิลลที่เป็นไทจาก ตัณหา วิญญูชนสรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและ ทิฎฐิลูบคลำ เป็นศิลที่เป็นไปพร้อมเพื่อสมาธิดังนี้.............
     
  9. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ..........คหบดี อริยสาวก เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยองค์แห่งการบรรลุโสดา สี่องค์เหล่านี้แล..............คหบดี อริยญายธรรม เป็นธรรมที่อริยสาวกเห็นแล้วด้วยดี แทงตลอดแล้วด้วยดี ด้วยปัญญา นั้นเป็นอย่างไรเล่า คหบดี อริยสาวกในกรณีนี้ ย่อมพิจารณาโดยประจักษ์อย่างนี้ว่า..........ด้วยอาการอย่างนี้ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ย่อมมี เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ย่อมไม่มี เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไปได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ...เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะมีสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาน---(จนไปถึง)--เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขโทมนัสะอุปายาส ทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้....เพราะมความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นเทียว จึงมีความดับแห่งสังขาร เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาน---(จนไปถึง)--เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้...........คหบดี อริยญายธรรมนี้แล เป็นธรรมที่อริยสาวกนั้นเห็นแล้ว แทงตลอดแล้วด้วยดี ด้วยปัญญา.....คหบดี ในกาลใดแล ภัยเวร 5 ประการเหล่านี้ เป็นสิ่งที่อริยสาวกทำให้สงบรำงับได้แล้วด้วย อริยสาวกเป็นผู้ประกอบพร้อมแล้วด้วย โสดาปัตติยังคะสี่ เหล่านี้ด้วย อริยญายธรรมนี้ เป็นธรรมที่อริยสาวกเห็นแล้วด้วยดี แทงตลอดแล้วด้วยดี ด้วยปัญญาด้วย ในกาลนั้น อริยสาวกนั้น ปรารถนาอยู่ ก็พยากรณ์ตนด้วยตนเอง นั้นแหละว่า..."เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดเดรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปรตวิสัยสิ้นแล้ว มีอบายทุคติวินิบาตสิ้นแล้ว เราเป็นผู้ถึงซึ่งกระแส มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ต่อนิพพาน มีการตรัสรู้พร้อมเป็นเบื้องหน้า ดังนี้----ทสก.อํ.24/195/92....:cool:
     
  10. อภิมาร

    อภิมาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    711
    ค่าพลัง:
    +2,154
  11. DuchessFidgette

    DuchessFidgette เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    2,607
    ค่าพลัง:
    +9,301
    อยากทราบวิธีปัฏิบัติเพื่อจะบรรลุโสดาบัน ช่วยบอกวิธีด้วยคะ
     
  12. อภิมาร

    อภิมาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    711
    ค่าพลัง:
    +2,154

    หมั่นเจริญสติ และภาวนา ทำเพลินๆอาจเกินห้ามใจ(อย่ามั่นหมายมาก)
    บุญดีบารมีเต็มอะไรก็ห้ามไม่อยู่
     
  13. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    เจริญสติ เป็นทางเดียวเท่านั้น

    สติเป็นธรรมหลัก สมาธิเป็นส่วนเสริม มีทั้งสติ ทั้งสมาธิ ถ้าทำได้จะดีมาก จะไปได้เร็ว แต่ถ้าสมาธิน้อย ใช้สติเป็นหลัก ก็พอไปได้เหมือนกัน

    การเจริญสตินั้น ให้ระลึกรู้ ว่าเกิดอะไรขึ้น กับร่างกายของเรา กับใจของเรา กับจิตของเรา มันจะรู้อะไร ก็รู้ไปตามนั้น ไม่ต้องอยากเห็นสภาวะ ไม่ต้องไม่อยากเห็นสภาวะ ไม่ต้องผลักไสไล่ส่งสภาวะใด ไม่ต้องคิดอยากจะให้ดับ หรืออยากจะให้เกิด เพราะถ้ามีความคิดพวกนี้เข้าไปเจือปน สภาวะที่เห็นจะไม่ใช่สภาวะบริสุทธิ์ของการทำงานของกาย และ จิต เมื่อไม่สามารถเห็นตามจริงได้ ก็จะไม่เข้าใจความจริงได้

    เมื่อมีการระลึกรู้ตามจริง เรื่อยๆ เนืองๆ แล้ว การหลงในสภาวะต่างๆ จะค่อยๆ น้อยลง สุดท้าย สิ่งที่บดบังความจริง จะน้อยลง จนเห็นการทำงานเป็นปกติตามจริงของขันธ์ 5 เมื่อถึงตรงนี้แล้ว เห็นแล้วว่า กระบวนการทำงานของใจ เป็นอย่างไร อะไรเป็นส่วนประกอบของอารมณ์ ความคิด การยึด เมื่อตีตรงนี้แตก จับอุปาทาน ความหลง แยกส่วนประกอบได้ ก็จะได้ชื่อว่าเป็นผู้ไม่หลง อีกต่อไป
     

แชร์หน้านี้

Loading...