พระโพธิสัตว์ก็รู้ถึงพระนิพพานได้เช่นกันแต่ท่านไม่เอา

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย gasnaka, 9 เมษายน 2011.

  1. gasnaka

    gasnaka เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    3,811
    ค่าพลัง:
    +3,974
    แต่เดิมเคยได้ยินมาว่า พระโพธิสัตว์ ไม่สามารถบรรลุธรรมขั้นใดๆได้ ยกเว้นจะลาพุทธภูมิก่อนจึงจะสามารถรู้ถึงนิพพานได้ แต่มาวันนี้ได้อ่านกระทู้ที่คุณจอนนี่นำมาลงไว้ เรื่อง " พระโพธิสัตว์ - หน่อพุทธภูมิ - การแบ่งภาค โดยหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ" จึงมีข้อสงสัย ใคร่อยากถามความคิดเห็นของท่านทั้งหลายว่าเป็นแบบใด (ยกข้อความมานะคะ)
    ผู้เขียนเคยกราบเรียนถามหลวงปู่โดยอ้างพระไตรปิฎก ซึ่งได้กล่าวถึงบุญที่ถวายทานกับพระอริยะขั้นต่างๆ กำลังบุญไม่เสมอกัน แต่ในพระไตรปิฎกไม่ได้กล่าวถึงหน่อพุทธภูมิ
    หลวงปู่ท่านได้ตอบผู้เขียนว่า
    "หน่อพุทธภูมิ ถ้าเปรียบไปแล้ว ก็คือ พระอนาคามี เพราะกำลังจะสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า แต่จัดเป็นพระอนาคามีชั้นพิเศษ คือเหมือนกันแต่ท่านยังไม่เอา หลวงปู่ท่านจึงยังไม่สอนใครถึงนิพพาน เพราะถึงไม่ใช่กิจของท่าน แต่ท่านรู้ทั้งนั้น บารมีทั้ง ๑๖ อสงไขย ไม่รู้ได้อย่างไร หลวงปู่ทวด จิตท่านยังมีจุดดำอยู่ แกว่าจริงไหม"
    ผู้เขียนตอบว่า
    "ถ้าไม่มีท่านก็สำเร็จแล้วซิครับ แต่จุดดำนั้นเป็นจุดของความเมตตา ที่ท่านจะโปรดสัตว์ เพื่อจะให้สมกับคำว่า ศรีอริยเมตไตรย ดังนั้น จุดดำนี้ผมถือว่า มีค่าน้อยมากตัดทิ้งไปได้เลย"

    ตามที่เข้าใจหมายความว่า เหล่าพุทธภูมิที่บำเพ็ญบารมีปลายหรือบารมีเต็มแล้ว ก็สามารถรู้ถึงพระนิพพานแล้วแต่ท่านไม่เอาเนื่องจากท่านต้องการช่วยเหลือคนต่อไปอีกจนถึงยุคที่ท่านจะมาเป็นพระพุทธเจ้าและที่จริงท่านก็สามารถสอนคนได้ถึงนิพพานแต่ยังไม่ใช่หน้าที่ที่ท่านจะสอนใช่ไหมคะ

    แบบนี้การที่ใช้คำว่า พระโพธิสัตว์ไม่สามารถบรรลุธรรมได้ก็ไม่ถูกต้องทั้งหมด

    แล้วอีกข้อหนึ่งข้อสงสัยจากในกระทู้ที่ยกมา
    เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๓ วันหนึ่ง ขณะที่ผู้เขียนกำลังนั่งคุยกับหลวงปู่ ท่านได้ถามผู้เขียนว่า
    "เคยได้ยินเรื่องการแบ่งภาคไหม"
    ผู้เขียนเรียนตอบท่านว่า
    "เคยครับ ในเรื่องรามเกียรติ์ พระรามแบ่งภาคมาจากพระนารายณ์ มีจริงหรือครับหลวงปู่"
    หลวงปู่ท่านนิ่งอยู่อึดใจหนึ่งแล้วตอบว่า
    "มีจริงเหมือนกัน อย่างหลวงปู่ทวดแบ่งภาคมาเกิดไงละ"
    เกี่ยวกับเรื่องนี้ เคยมีนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรียนถามหลวงปู่ ซึ่งหลวงปู่ตอบว่า
    "มี...แต่ทำได้ในพวกหน่อพุทธภูมิ"
    หลวงปู่ท่านเคยบอกผู้เขียนว่า
    "แกรู้ไหมว่า ในหลวงท่านเป็นใคร ท่านคือผู้ปรารถนาพุทธภูมิ กำลังใจของท่านพวกนี้จะต้องเป็นผู้นำหมู่คณะ ดูอย่างวัวยังมีจ่าฝูง นกก็ต้องมีหัวหน้าฝูง วัดก็ต้องมีเจ้าอาวาส อย่างหลวงพ่อใหญ่ (พระโบราณคณิสร อดีตเจ้าอาวาสวัดสะแก) แต่หน่อพุทธภูมิที่มีบารมีเต็มแล้ว สูงแล้ว เขามักจะไม่เป็นกษัตริย์ เพราะจะมีภาระหนักหน่วง ส่วนใหญ่เขามักเป็นคนธรรมดาแล้วบวชพระ แต่จะบำเพ็ญบารมีจนในที่สุดจะกระเทือนถึงพระราชวงศ์เอง พระเจ้าแผ่นดินองค์นี้ท่านมีบุญมาก และเป็นแบบอย่างให้ข้าราชการผู้ใหญ่ทำตาม"
    ผู้เขียนจึงเรียนถามท่านต่อไปว่า
    "หลวงปู่ครับ หน่อพุทธภูมิที่บารมีเต็มแล้ว ท่านก็ไม่ต้องมาเกิดแล้วใช่ไหม รอการตรัสรู้เลยที่ชั้นดุสิต หรืออย่างหลวงปู่ก็ไม่ต้องมาเกิดแล้วใช่ไหมครับ"
    หลวงปู่ตอบว่า
    "กำลังของพุทธภูมิมีหน้าที่ที่จะทำให้มหาชนมีความสุข ถ้ามีคนเรียกร้องหรือบ้านเมืองเกิดยุคเข็ญก็ต้องลงมาช่วย จะคิดเอาแต่สบายได้ยังไง นั่นไม่ใช่ความคิดของหน่อพุทธภูมิ อย่างนี้พระอรหันต์สำเร็จแล้ว ท่านก็ไม่ต้องยุ่งกับใคร ไม่ต้องทำอะไรแล้วซิ"

    พระโพธิสัตว์ที่บารมีเต็มแล้วก็ยังกลับมาเกิดเพื่อช่วยเหลือคนอยู่อีก แต่เป็นการแบ่งภาคมา ยกตัวอย่างเช่นหลวงปู่ทวดท่านก็ยังสามารถแบ่งภาคกลับมาเกิดเป็นมนุษย์เพื่อช่วยคนได้แต่ยังไม่ได้มาในแบบของพระศรีอริยเมตตรัย หรือตอนนี้หลวงปู่ดู่ท่านก็อาจแบ่งภาคมาที่โลกมนุษย์เพื่อช่วยคนอยู่ โดยที่เราไม่รู้ว่าท่านคือหลวงปู่แบ่งภาคมา ใช่ไหม

    ในความคิดของเรา ในข้อแรก เราคิดว่าพระโพธิสัตว์ เปรียบกับว่าท่านเรียนวิชาเพื่อเป็นครูสอนคนทั้งโลก หากจะว่าท่านไม่สามารถบรรลุธรรมของใดๆได้ ก็เป็นการขัดกับเหตุผล อันนี้หมายถึงเหล่าพุทธภูมิที่บารมีขั้นปลายหรือบารมีเต็มแล้วนะคะ
    หากตั้งข้อสงสัยหรือใช้คำพูดผิดพลาดก็ต้องขออภัยด้วย เพิ่งเคยมาตั้งกระทู้ในห้องนี้ เพราะอ่านแล้วไม่แน่ใจว่าเราตีความได้ถูกต้องไหม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 เมษายน 2011
  2. gasnaka

    gasnaka เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    3,811
    ค่าพลัง:
    +3,974
    จะขอยกข้อความทั้งหมดจากในลิงค์ของคุณจอนนี่ มานะคะ เพื่อที่จะได้อ่านกันง่ายๆ
    ขออนุญาตนะคะคุณจอนนี่
    พระโพธิสัตว์ - หน่อพุทธภูมิ - การแบ่งภาค โดยหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
    <!-- google_ad_section_end -->




    <HR style="BACKGROUND-COLOR: #ffffff; COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- google_ad_section_start --><SCRIPT type=text/javascript><!--google_ad_client = "ca-pub-2576485761337625";/* 336x280 */google_ad_slot = "0551074580";google_ad_width = 336;google_ad_height = 280;//--> </SCRIPT><SCRIPT type=text/javascript src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/show_ads.js"> </SCRIPT><INS style="POSITION: relative; BORDER-BOTTOM-STYLE: none; PADDING-BOTTOM: 0px; BORDER-RIGHT-STYLE: none; MARGIN: 0px; PADDING-LEFT: 0px; WIDTH: 336px; PADDING-RIGHT: 0px; DISPLAY: inline-table; BORDER-TOP-STYLE: none; HEIGHT: 280px; VISIBILITY: visible; BORDER-LEFT-STYLE: none; PADDING-TOP: 0px"><INS style="POSITION: relative; BORDER-BOTTOM-STYLE: none; PADDING-BOTTOM: 0px; BORDER-RIGHT-STYLE: none; MARGIN: 0px; PADDING-LEFT: 0px; WIDTH: 336px; PADDING-RIGHT: 0px; DISPLAY: block; BORDER-TOP-STYLE: none; HEIGHT: 280px; VISIBILITY: visible; BORDER-LEFT-STYLE: none; PADDING-TOP: 0px" id=aswift_0_anchor><IFRAME style="POSITION: absolute; TOP: 0px; LEFT: 0px" id=aswift_0 class=inlineimg title="Light bulb" onload="var i=this.id,s=window.google_iframe_oncopy,H=s&&s.handlers,h=H&&H,w=this.contentWindow,d;try{d=w.document}catch(e){}if(h&&d&&(!d.body||!d.body.firstChild)){if(h.call){i+='.call';setTimeout(h,0)}else if(h.match){i+='.nav';w.location.replace(h)}s.log&&s.log.push(i)</IFRAME></INS></INS>
    พระโพธิสัตว์ - หน่อพุทธภูมิ -การแบ่งภาค
    [​IMG]เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๓ วันหนึ่ง ขณะที่ผู้เขียนกำลังนั่งคุยกับหลวงปู่ ท่านได้ถามผู้เขียนว่า
    "เคยได้ยินเรื่องการแบ่งภาคไหม"
    ผู้เขียนเรียนตอบท่านว่า
    "เคยครับ ในเรื่องรามเกียรติ์ พระรามแบ่งภาคมาจากพระนารายณ์ มีจริงหรือครับหลวงปู่"
    หลวงปู่ท่านนิ่งอยู่อึดใจหนึ่งแล้วตอบว่า
    "มีจริงเหมือนกัน อย่างหลวงปู่ทวดแบ่งภาคมาเกิดไงละ"
    เกี่ยวกับเรื่องนี้ เคยมีนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรียนถามหลวงปู่ ซึ่งหลวงปู่ตอบว่า
    "มี...แต่ทำได้ในพวกหน่อพุทธภูมิ"
    หลวงปู่ท่านเคยบอกผู้เขียนว่า
    "แกรู้ไหมว่า ในหลวงท่านเป็นใคร ท่านคือผู้ปรารถนาพุทธภูมิ กำลังใจของท่านพวกนี้จะต้องเป็นผู้นำหมู่คณะ ดูอย่างวัวยังมีจ่าฝูง นกก็ต้องมีหัวหน้าฝูง วัดก็ต้องมีเจ้าอาวาส อย่างหลวงพ่อใหญ่ (พระโบราณคณิสร อดีตเจ้าอาวาสวัดสะแก) แต่หน่อพุทธภูมิที่มีบารมีเต็มแล้ว สูงแล้ว เขามักจะไม่เป็นกษัตริย์ เพราะจะมีภาระหนักหน่วง ส่วนใหญ่เขามักเป็นคนธรรมดาแล้วบวชพระ แต่จะบำเพ็ญบารมีจนในที่สุดจะกระเทือนถึงพระราชวงศ์เอง พระเจ้าแผ่นดินองค์นี้ท่านมีบุญมาก และเป็นแบบอย่างให้ข้าราชการผู้ใหญ่ทำตาม"
    ผู้เขียนจึงเรียนถามท่านต่อไปว่า
    "หลวงปู่ครับ หน่อพุทธภูมิที่บารมีเต็มแล้ว ท่านก็ไม่ต้องมาเกิดแล้วใช่ไหม รอการตรัสรู้เลยที่ชั้นดุสิต หรืออย่างหลวงปู่ก็ไม่ต้องมาเกิดแล้วใช่ไหมครับ"
    หลวงปู่ตอบว่า
    "กำลังของพุทธภูมิมีหน้าที่ที่จะทำให้มหาชนมีความสุข ถ้ามีคนเรียกร้องหรือบ้านเมืองเกิดยุคเข็ญก็ต้องลงมาช่วย จะคิดเอาแต่สบายได้ยังไง นั่นไม่ใช่ความคิดของหน่อพุทธภูมิ อย่างนี้พระอรหันต์สำเร็จแล้ว ท่านก็ไม่ต้องยุ่งกับใคร ไม่ต้องทำอะไรแล้วซิ"
    หลวงปู่ท่านตอบคำถามของผู้เขียนเสร็จแล้ว ท่านปรารภถึงการจัดการเรื่องศพของท่านต่อไปว่า
    "ถ้าข้าตายแล้วอย่าเก็บศพไว้นาน เจ็ดวันเผาเลย ไม่เผาก็โยนทิ้ง เดี๋ยวจะกลายเป็นหากินกับศพ"
    ผู้เขียนได้แย้งท่านว่า
    "กลัววัดจะร้าง"
    หลวงปู่ท่านตอบว่า
    "เรื่องเผาไม่เผา ต้องแล้วแต่คำสั่ง ดูอย่างหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ท่านสั่งไม่ให้เผา เพราะกลัวพระเณรจะอดอยาก แต่สำหรับข้าให้เผา เวลาจะเผาให้เผายืน ข้าจะได้ไปไหนได้"
    ผู้เขียนจึงถามท่านว่า
    "หลวงปู่ไม่ไปนิพพานหรือ"
    ท่านตอบว่า
    "จะไปได้อย่างไร คนนี้ก็เรียก คนนั้นก็ร้อง ข้าไปแค่หัวตะพานก็พอ ดูอย่างหลวงปู่ทวดซิ มีคนเรียกร้องท่านมากมาย บารมีท่านเต็มท้องฟ้า อย่างข้าเอง คนไหนคิดถึงข้า ข้าก็คิดถึงเขา คนไหนไม่คิดถึงข้า ข้าก็คิดถึงเขา เพราะในวันหนึ่งๆ ข้าต้องอธิษฐานไปให้หมู่คณะทุกวันไม่เคยขาด วันละ ๓ ครั้ง เขาจะได้ไม่เป็นอันตรายทั้งเช้ามืด ตอนเย็น ตอนกลางคืน ก่อนนอน เพื่อเป็นการช่วยเหลือหมู่คณะ"
    ผู้เขียนฟังจบ พร้อมกับสำนึกในเมตตาของหลวงปู่ที่มีต่อลูกศิษย์อย่างมาก หลวงปู่ท่านได้ย้ำด้วยความเมตตาต่อไปอีกว่า
    "คิดถึงพระครั้งหนึ่ง บารมีพระมาถึงเราไปกลับ ๗ เที่ยว รวมแล้ว ๑๔ ครั้ง ได้กำไรดีไหมล่ะ นี่มีในพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้าบอกกับพระอานนท์ ถ้าเราคิดถึงพระได้เหมือนกับคิดถึงแฟนเมื่อไหร่ แสดงว่าจะดีแล้ว"
    ในเรื่องการแบ่งภาค ตามความเห็นของผู้เขียนเข้าใจว่า ท่านลงมาเกิดทั้งองค์ คงจะไม่ใช่เป็นการแบ่งจิตมาเกิด เนื่องจากหน่อพุทธภูมิที่มีบารมีสูงแล้ว ท่านจะมีพลังจิตสามารถตั้งพุทธนิมิต ธรรมนิมิต สังฆนิมิตได้ ซึ่งรวมเรียกว่าเป็นพลังงานหรือบารมีธรรมที่ท่านสร้างมา ซึ่งหลวงปู่เรียกรวมว่า "ภูตพระเจ้า" นั่นเอง สิ่งเหล่านี้จะเป็นบารมีที่คอยติดตาม รักษาคุ้มครองไม่ให้ออกนอกลู่นอกทางของศาสนา จวบจนกระทั่งท่านได้ปฏิบัติธรรมไปถึงจุดหนึ่ง ทำให้ท่านได้รู้ถึงอดีตที่เคยทำมา ซึ่งตรงกับมงคล ๓๘ ในข้อที่ว่า "ปุพเพจะกตะ ปุญญะตา" บุญที่เคยทำมาแต่ก่อนนั้นเป็นมงคล ดังนั้น ผู้ที่สนใจทางศาสนาได้ จึงถือว่ามีบุญแต่เก่าก่อน มาค้ำชูอุดหนุน บางคนเคบเป็นโจร เมื่อถึงเวลาผลบุญเก่าเข้ามาเสริม ก็สามารถพลิกจิตให้เกิดปัญญาได้ อาทิเช่น พระองคุลีมาล เป็นต้น
    หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ได้เคยอธิบายถึงท่านที่ได้พระโสดาบัน เมื่อมาเกิดใหม่ ไม่ใช่จะรู้ว่าตนเองเป็นพระอริยบุคคลเลยทีเดียว แต่ต้องมาปฏิบัติธรรมอีกระยะหนึ่ง จึงจะรู้อดีตได้ ซึ่งในหน่อพุทธภูมิก็คงเช่นเดียวกัน หลวงพ่อมหาวีระ ท่านเคยกล่าวถึงหน่อพุทธภูมิที่มีบารมีเต็มขั้น ซึ่งเป็นปรมัตถบารมี จึงจะไม่ตกนรกอีก เสมือนพระโสดาบัน ซึ่งไม่ตกไปสู่อบายภูมิอย่างแน่นอน พระบางองค์อาจบรรลุอรหัตตผล โดยไม่ผ่านขั้นตอนโสดาสกิทาและอนาคามีผล ซึ่งผู้เขียนมีความเห็นว่าเป็นไปได้ ๒ กรณีคือ กรณีที่ ๑ พระองค์นี้เคยเป็นพระโสดาบันมาแล้วในอดีต กรณีที่ ๒ คือ พระองค์นั้นบรรลุอรหัตตผลโดยฉับพลันทันทีตลอดสายเช่น การบรรลุอรหัตตผลของพระสีวลี เริ่มตั้งแต่เป็นเณรได้เป็นพระโสดาบัน เมื่อท่านมาบวชเป็นพระ ในขณะที่ปลงผมจนกระทั่งเป็นพระเรียบร้อย ท่านก็บรรลุเป็นพระอรหันต์ทันที
    หน่อพุทธภูมิที่มีการสร้างบารมีถึง ๓๐ ทัศน์ มีอยู่อย่างหนึ่งคือ ปัญญาบารมีขั้นปรมัตถ์ จึงทำให้ท่านไม่ต้องไปอบายภูมิ เพราะท่านล่วงรู้ถึงสัจจะธรรมต่างๆ ทำให้ไม่หลงตน
    ผู้เขียนเคยกราบเรียนถามหลวงปู่โดยอ้างพระไตรปิฎก ซึ่งได้กล่าวถึงบุญที่ถวายทานกับพระอริยะขั้นต่างๆ กำลังบุญไม่เสมอกัน แต่ในพระไตรปิฎกไม่ได้กล่าวถึงหน่อพุทธภูมิ
    หลวงปู่ท่านได้ตอบผู้เขียนว่า
    "หน่อพุทธภูมิ ถ้าเปรียบไปแล้ว ก็คือ พระอนาคามี เพราะกำลังจะสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า แต่จัดเป็นพระอนาคามีชั้นพิเศษ คือเหมือนกันแต่ท่านยังไม่เอา หลวงปู่ท่านจึงยังไม่สอนใครถึงนิพพาน เพราะถึงไม่ใช่กิจของท่าน แต่ท่านรู้ทั้งนั้น บารมีทั้ง ๑๖ อสงไขย ไม่รู้ได้อย่างไร หลวงปู่ทวด จิตท่านยังมีจุดดำอยู่ แกว่าจริงไหม"
    ผู้เขียนตอบว่า
    "ถ้าไม่มีท่านก็สำเร็จแล้วซิครับ แต่จุดดำนั้นเป็นจุดของความเมตตา ที่ท่านจะโปรดสัตว์ เพื่อจะให้สมกับคำว่า ศรีอริยเมตไตรย ดังนั้น จุดดำนี้ผมถือว่า มีค่าน้อยมากตัดทิ้งไปได้เลย"
    หลวงปู่ท่านพยักหน้ายิ้มรับ และทำให้ผู้เขียนเข้าใจถึงพระธาตุหลวงปู่ทวด ที่ท่านเสด็จมาเอง สัณฐานค่อนข้างกลม สีน้ำตาลดำ หลวงปู่ท่านบอกว่า คือพระธาตุหลวงปู่ทวด ซึ่งถ้าเราอ่านตามพระไตรปิฎก พระธาตุจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อสำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้วเท่านั้น ไม่มีการกล่าวถึงพระธาตุจากหน่อพุทธภูมิเลย เพราะท่านก็เปรียบเสมือนพระผู้บริสุทธิ์ การซักฟอกธาตุขันธ์จึงย่อมเป็นไปได้ ทำให้เข้าใจถึงฟันและเกศาของหลวงปู่ที่เป็นพระธาตุเช่นกัน ผู้เขียนนึกถึงคำพูดของหลวงพ่อมหาวีระ ที่กล่าวถึงพระโพธิสัตว์ที่มีบารมีสูง พระอรหันต์ยังให้ความเคารพ เมื่อผู้เขียนกราบเรียนถามหลวงปู่ ท่านตอบว่า
    "คงจะจริง ดูอย่างหลวงปู่ทวดนั่นไง เวลาปลุกเสกพระ พระโดยมากก็ร้องขอความช่วยเหลือจากท่าน"
    หลวงปู่ท่านเล่าให้ผู้เขียนฟังในวันหนึ่ง ถึงหมอจีนที่มารักษาท่าน โดยการจับชีพจรเพื่อตรวจอาการโรคหรือที่เรียกว่า หมอแมะ หมอบอกว่า หลวงปู่มีพระเต็มไปหมดทั้งตัว ท่านถามเหตุผลกับผู้เขียน ซึ่งผู้เขียนพิจารณาแล้วนึกถึงเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ชนิดหนึ่ง ใช้วัดการเต้นของชีพจร ถ้าเป็นผู้มีสมาธิดี การเต้นของชีพจรจะราบเรียบ การใช้ออกซิเจนจะน้อย แต่ในกรณีหลวงปู่ หมอใช้วิทยาการทางจิตตรวจสอบพบว่า การเต้นของชีพจรราบเรียบ ทั้งๆ ที่หลวงปู่นั่งอยู่ในอิริยาบถกำลังคุย คือไม่ได้นั่งสมาธิ นั่นแสดงว่า จิตของท่านเป็นสมาธิตลอดเวลา หรือจิตไม่มีความคิดปรุงแต่ง ทางหนังจีนกำลังภายในเรียกว่า ท่าไร้อารมณ์ ลักษณะเช่นนี้ เข้าลักษณะทางพุทธ คือ อารมณ์ของพระอรหันต์ เป็นลักษณะของผู้ที่ได้รับจากการปฏิบัติจิตขั้นสูง ทำให้นึกถึงหลวงปู่ปาน ที่กล่าวไว้ในประวัติของท่าน ในขณะที่ท่านกำลังคุยกับญาติโยม แต่อีกจิตหนึ่งสามารถเสกน้ำมนต์ไปพร้อมกัน หรือผู้เขียนประสบมาด้วยตัวเองกับหลวงพ่อชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี ในขณะที่ท่านนั่งคุยกับผู้เขียนและญาติโยมอยู่นั้น ท่านก็ได้จุดเทียนไว้บนขันน้ำ สักพักหนึ่งก็ได้น้ำมนต์มาพรมให้กับญาติโยมและผู้เขียน โดยท่านไม่ได้นั่งอธิษฐานจิตเลย แม้แต่หลวงปู่เอง ท่านก็ได้ทำอยู่บ่อยๆ เมื่อมีญาติโยมมานิมนต์ท่านไปร่วมพิธีต่างๆ ตั้งแต่พิธีปลุกเสกพระ งานทำบุญบ้าน ฯลฯ
    เพื่อนของผู้เขียนคนหนึ่งเรียนถามหลวงปู่ว่า จะรู้ได้อย่างไรว่าพระองค์ไหนบารมีสูง
    หลวงปู่มองหน้าผู้เขียนแล้วตอบยิ้มๆ ว่า "อย่างเช่น ท่านนั่งอยู่ที่หนึ่ง แต่อธิษฐานจิตไปช่วยเหลือ ไปได้อีกที่หนึ่ง"
    เพื่อนของผู้เขียนฟังแล้วรู้สึกงงๆ แต่ผู้เขียนเข้าใจทันที เพราะกำลังพูดคุยอยู่กับท่านพอดี เกี่ยวกับท่านอธิษฐานจิตไปช่วยเหลือในการสร้างรูปหล่อของหลวงปู่ที่กรุงเทพฯ โดยท่านบอกผู้เขียนว่า
    "ทำมาหลายวันแล้ว อธิษฐานให้หลวงพ่อทวดไปช่วยเหลือ ให้พระไปช่วย เรามีกิจมาก เดี๋ยวลืมจะทำให้เสียงานได้"
    เกี่ยวกับเรื่องความปรารถนาของหลวงปู่ ผู้เขียนสรุปได้เลยว่า ท่านปรารถนาพุทธภูมิอย่างแน่นอน ผู้เขียนเคยคุยกับลูกศิษย์ของหลวงปู่หลายคน มีคนหนึ่งชื่อ "เช็ง" อยู่วัดสะแก ได้กล่าวถึงหลวงปู่ว่า
    "หลวงลุงท่านปรารถนาพุทธภูมิ ไม่อย่างนั้น ท่านไม่มานั่งหลังขดหลังแข็งรับญาติโยมอยู่หรอก"
    มีอยู่ครั้งหนึ่ง ลูกศิษย์หลวงปู่ชื่อ "ปราณี" ได้ถามหลวงปู่เรื่องการไปนิพพานของหลวงปู่
    หลวงปู่ตอบว่า "เรื่องอะไรข้าจะไปนิพพาน ข้าหวังเป็นนายร้อย ไม่ใช่หวังเป็นนายสิบ คนอย่างข้าต้องหักยอดฉัตร จึงสมใจ"
    ซึ่งเป็นการกล่าวจากปากท่านเอง สำหรับผู้เขียนนั้น ท่านบอกความปรารถนานี้เช่นกัน และท่านยังบอกผู้เขียนอีกว่า
    "เขาว่ากันว่า ข้าจะสำเร็จระหว่างต้นไม้หนึ่งคู่ ข้าเองยังไม่รู้เมื่อไร"
    ในตอนนั้น ผู้เขียนยังไม่แน่ใจ ได้แต่มองต้นไม้ในวัดสะแกว่าจะเป็นต้นไหน แต่ก็ไม่มี มาตอนหลังจึงเข้าใจในคำพูดของท่าน จนกระทั่งหลวงปู่บุดดา ถาวโร วัดกลางชูศรีเจริญสุข จังหวัดสิงห์บุรี ท่านมาเยี่ยม เมื่อคราวที่หลวงปู่ไม่สบายก่อนมรณภาพ มีอยู่ครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนที่หลวงปู่บุดดาจะกลับ ท่านได้พูดกับหลวงปู่ดู่ว่า
    "วันนี้ผมนำมงกุฎพระพุทธเจ้ามามอบให้คุณ นิมนต์อยู่ต่อเถิด ถ้าไม่อยู่ก็ไม่เป็นไร ที่คุณปรารถนานั้นน่ะ สำเร็จแน่ ต่อไปคุณจะได้เป็นพระพุทธเจ้า"
    หลวงปู่บุดดาก็ลากลับ ในวันนั้น ผู้ได้ยินหลายคน ลูกศิษย์คนหนึ่งได้เรียนถามหลวงปู่ ถึงความหมายที่หลวงปู่บุดดาพูด ท่านตอบว่า
    "พระอรหันต์ให้พร เราก็รับไว้ไม่เสียหายอะไร"
    ผู้เขียนเคยปรารภกับหมู่คณะหลายๆ ท่าน ถึงความโชคดีที่มีโอกาสได้อยู่ใกล้ชิดกับพระผู้บริสุทธิ์ และมีเมตตาจนเรากล่าวคำนมัสการได้สนิทใจว่า
    นะโมโพธิสัตโต พรหมปัญโญ สัมมาสัมพุทโธ อนาคตกาเล
    ที่มา 17เรื่องเล่าของหลวงปู่ดู่

    <!-- google_ad_section_end -->
    __________________
    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->โครงการร่วมบูรณะวัดเกาะแก้วพร้อมรับวัตถุมงคล<!-- google_ad_section_end -->
    <INS style="BORDER-BOTTOM: medium none; POSITION: relative; BORDER-LEFT: medium none; PADDING-BOTTOM: 0px; MARGIN: 0px; PADDING-LEFT: 0px; PADDING-RIGHT: 0px; DISPLAY: inline-table; VISIBILITY: visible; BORDER-TOP: medium none; BORDER-RIGHT: medium none; PADDING-TOP: 0px"><INS style="BORDER-BOTTOM: medium none; POSITION: relative; BORDER-LEFT: medium none; PADDING-BOTTOM: 0px; MARGIN: 0px; PADDING-LEFT: 0px; PADDING-RIGHT: 0px; DISPLAY: block; VISIBILITY: visible; BORDER-TOP: medium none; BORDER-RIGHT: medium none; PADDING-TOP: 0px" id=aswift_1_anchor><IFRAME style="POSITION: absolute; TOP: 0px; LEFT: 0px" id=aswift_1 class=inlineimg title="Light bulb" onload="var i=this.id,s=window.google_iframe_oncopy,H=s&&s.handlers,h=H&&H,w=this.contentWindow,d;try{d=w.document}catch(e){}if(h&&d&&(!d.body||!d.body.firstChild)){if(h.call){i+='.call';setTimeout(h,0)}else if(h.match){i+='.nav';w.location.replace(h)}s.log&&s.log.push(i)</IFRAME></INS></INS>
    <INS style="BORDER-BOTTOM: medium none; POSITION: relative; BORDER-LEFT: medium none; PADDING-BOTTOM: 0px; MARGIN: 0px; PADDING-LEFT: 0px; PADDING-RIGHT: 0px; DISPLAY: inline-table; VISIBILITY: visible; BORDER-TOP: medium none; BORDER-RIGHT: medium none; PADDING-TOP: 0px"><INS style="BORDER-BOTTOM: medium none; POSITION: relative; BORDER-LEFT: medium none; PADDING-BOTTOM: 0px; MARGIN: 0px; PADDING-LEFT: 0px; PADDING-RIGHT: 0px; DISPLAY: block; VISIBILITY: visible; BORDER-TOP: medium none; BORDER-RIGHT: medium none; PADDING-TOP: 0px" id=aswift_2_anchor><IFRAME style="POSITION: absolute; TOP: 0px; LEFT: 0px" id=aswift_2 class=inlineimg title="Light bulb" onload="var i=this.id,s=window.google_iframe_oncopy,H=s&&s.handlers,h=H&&H,w=this.contentWindow,d;try{d=w.document}catch(e){}if(h&&d&&(!d.body||!d.body.firstChild)){if(h.call){i+='.call';setTimeout(h,0)}else if(h.match){i+='.nav';w.location.replace(h)}s.log&&s.log.push(i)</IFRAME></INS></INS>
    <SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/js/r20110330/r20110406/show_ads_impl.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://googleads.g.doubleclick.net/pagead/test_domain.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/render_ads.js"></SCRIPT><SCRIPT>google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);</SCRIPT><IFRAME id=google_ads_frame1 height=undefined marginHeight=0 src="http://googleads.g.doubleclick.net/pagead/ads?format=nanxnan&output=html&ea=0&flash=10.2.152.32&dt=1302378759640&shv=r20110330&jsv=r20110406&saldr=1&correlator=1302378759640&frm=1&adk=3258867418&ga_vid=265920653.1298734418&ga_sid=1302378407&ga_hid=1692601283&ga_fc=1&u_tz=420&u_his=27&u_java=1&u_h=768&u_w=1024&u_ah=738&u_aw=1024&u_cd=32&u_nplug=0&u_nmime=0&biw=1003&bih=513&ifk=3909717084&eid=33895130&fu=4&ifi=1&dtd=281" frameBorder=0 width=undefined allowTransparency name=google_ads_frame1 marginWidth=0 scrolling=no></IFRAME>
    <INS style="BORDER-BOTTOM: medium none; POSITION: relative; BORDER-LEFT: medium none; PADDING-BOTTOM: 0px; MARGIN: 0px; PADDING-LEFT: 0px; PADDING-RIGHT: 0px; DISPLAY: inline-table; VISIBILITY: visible; BORDER-TOP: medium none; BORDER-RIGHT: medium none; PADDING-TOP: 0px"><INS style="BORDER-BOTTOM: medium none; POSITION: relative; BORDER-LEFT: medium none; PADDING-BOTTOM: 0px; MARGIN: 0px; PADDING-LEFT: 0px; PADDING-RIGHT: 0px; DISPLAY: block; VISIBILITY: visible; BORDER-TOP: medium none; BORDER-RIGHT: medium none; PADDING-TOP: 0px" id=aswift_3_anchor><IFRAME style="POSITION: absolute; TOP: 0px; LEFT: 0px" id=aswift_3 onload="var i=this.id,s=window.google_iframe_oncopy,H=s&&s.handlers,h=H&&H,w=this.contentWindow,d;try{d=w.document}catch(e){}if(h&&d&&(!d.body||!d.body.firstChild)){if(h.call){i+='.call';setTimeout(h,0)}else if(h.match){i+='.nav';w.location.replace(h)}s.log&&s.log.push(i)}" height=undefined marginHeight=0 frameBorder=0 width=undefined allowTransparency name=aswift_3 marginWidth=0 scrolling=no></IFRAME></INS></INS><SCRIPT src="http://googleads.g.doubleclick.net/pagead/test_domain.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/render_ads.js"></SCRIPT><SCRIPT>google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);</SCRIPT><IFRAME id=google_ads_frame2 height=null marginHeight=0 src="http://googleads.g.doubleclick.net/pagead/ads?format=0x0&output=html&ea=0&flash=10.2.152.32&dt=1302379448546&shv=r20110330&jsv=r20110406&saldr=1&correlator=1302379448265&frm=1&adk=1812271804&ga_vid=265920653.1298734418&ga_sid=1302378407&ga_hid=1450874354&ga_fc=0&u_tz=420&u_his=30&u_java=1&u_h=768&u_w=1024&u_ah=738&u_aw=1024&u_cd=32&u_nplug=0&u_nmime=0&biw=1003&bih=513&ifk=1666629756&eid=33895132&fu=4&ifi=2&dtd=16" frameBorder=0 width=null allowTransparency name=google_ads_frame2 marginWidth=0 scrolling=no></IFRAME>


    ที่มา:http://palungjit.org/threads/พระโพธิสัตว์-หน่อพุทธภูมิ-การแบ่งภาค-โดยหลวงปู่ดู่-พรหมปัญโญ.86481/
    <SCRIPT>google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);</SCRIPT>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 เมษายน 2011
  3. โพธิ์แก้ว

    โพธิ์แก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    362
    ค่าพลัง:
    +440
    แล้วที่สงสัย คือสงสัยตรงไหนครับ
     
  4. gasnaka

    gasnaka เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    3,811
    ค่าพลัง:
    +3,974
    ไม่ทราบว่าคุณจะเคยได้ยินมาแบบเราไหม ก็ที่ว่าพระโพธิสัตว์ไม่สามารถบรรลุธรรมได้ และที่ว่าพระโพธิสัตว์แบ่งภาคมาเกิดได้ คุณมีความคิดเห็นว่าอย่างไรคะ
    เราก็ไม่รู้ว่าใครเป็นผู้กล่าวนะว่าพระโพธิสัตว์บรรลุธรรมไม่ได้ก็ได้แต่สงสัยว่า ใช่เหรอ พอมาอ่าน
    คำกล่าวของหลวงปู่ดู่ ท่านว่าแบบนี้ ก็เลยคิดว่าคนอื่นๆเคยได้ยินมาแบบเดียวกับเราไหม แล้วคิดเห็นกันอย่างไร ส่วนที่แบ่งภาคมาเกิด เป็นความรู้ใหม่ของเรา ก็เลยอยากได้ความรู้เพิ่มเติมจากเพื่อนๆอ่ะค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 เมษายน 2011
  5. 5314786

    5314786 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    737
    ค่าพลัง:
    +3,801
    พระโพธิสัตว์ ที่บารมีมากแล้วหรือ พระนิตยะโพธิสัตว์

    ความรู้ของท่านก็เปรียบเหมือนใบไม้ของป่าทั้งป่า

    ความรู้ที่จะสอนให้ถึงนิพพานก็เปรียบได้แค่ใบไม้ในกำมือ

    ความจริงมีพระมหาโพธิสัตว์ มาบังเกิดแล้วในปัจจุบัน

    ความรู้ของท่านนั้นไม่มีขอบเขตจริงๆ

    ทุกวิชาที่มีอยู่บนโลกและจักรวาล ทั้งวิชาในอดีต ในปัจจุบัน และอนาคต

    แต่ผมยังไม่กล้าเปิดเผยมากนัก เพราะกลัวคนสบประมาทท่าน

    จะพากันลงนรกป่าวๆ ใครมีบุญก็ได้รู้เองพบเอง
     
  6. 5314786

    5314786 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    737
    ค่าพลัง:
    +3,801
    เรื่องแบ่งภาคมาเกิด มีมานานแสนนานแล้ว อย่างเช่นเรื่องของพระนารายณ์

    ท่านก็เป็นพระมหาโพธิสัตย์แบ่งภาคลงมาบำเพ็ญบารมี ปัจจุบันท่านก็ยังบำเพ็ญอยู่

    เรื่องของพระมหาโพธิสัตว์นั้น ลึกลับซับซ้อน ยากที่ใครจะเข้าถึง

    ถ้าท่านไม่เปิดเผยภูมิเอง ก็ยากที่ผู้ด้อยปัญญาจะดูออกได้

    ยิ่งบุคคลจำพวกมองคนที่ภายนอกแล้ว ก็ไม่มีทางมองออกเลย

    เพราะบางที ท่านแสดงตนเป็นขอทานบ้าง เป็นนักบวชแปลกๆ มีข้อวัตรที่ยากจะเข้าใจ

    อย่างเช่นหลวงพ่อกบ วัดถ้ำเขาสาริกา หลวงปู่สรวง พระมหาโพธิสัตว์ตั๊กม้อ

    และหลวงปู่เทพอุดร

    พระมหาโพธิสัตว์ ท่านนิรมานกายได้มากมาย เพื่อสั่งสอนสัตว์โลก

    พระอริยสงฆ์ในอดีตมากมายก็ได้พระมหาโพธิสัตว์ ที่คอยช่วยเหลือ

    สอดส่องดูแล เมื่อยามตกทุกข์ยากในป่าเขา หรือช่วยแนะนำสั่งสอนวิชา

    ความรู้ต่างๆ รวมถึงธรรมมะอีกด้วย
     
  7. gasnaka

    gasnaka เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    3,811
    ค่าพลัง:
    +3,974
    ขอบคุณคุณ 5314786 มากๆนะคะที่มาให้ความรู้
    จริงอย่างคุณว่าเรื่องราวของพระมหาโพธิสัตว์ ลึกลับซับซ้อนมาก
    มาวันนี้เลยเข้าใจว่า ทำไมจึงไม่ค่อยมีใครมาให้ความรู้เกี่ยวกับพระมหาโพธิสัตว์
    ก็เพราะว่าบารมีท่านมากหลายจนไม่มีข้อจำกัดสำหรับท่าน
    ว่าท่านจะต้องเป็นแบบนี้ จะไม่เป็นแบบนั้น ท่านสามารถเป็นอะไรหรือทำอะไรก็ได้ ที่เราอาจจะไม่เข้าใจว่าท่านทำทำไม
    สำหรับเรื่องแบ่งภาค คุณคิดว่า พระมหาโพธิสัตว์ ท่านอาจจะกลับมาเกิดอีกเพื่อช่วยบริวารของท่านก่อนจะถึงยุคท่านอีกไหม หรืออาจจะกลับมาช่วยนางแก้ว หรือพระพุทธอุปฐากของท่าน เพื่อให้คนเหล่านั้นได้สะสมให้พร้อมให้ทันในยุคของท่านไหม อันนี้เป็นคำถามนะคะ

    ได้อ่านเจอคำกล่าวขององค์หลวงตามหาบัว ดังนี้
    เมื่อพระอรหันต์ พระโพธิสัตว์ และ พระมหาโพธิสัตว์ลงมายังโลกมนุษย์ก็จะมีลักษณะต่าง กันด้วยเช่น พระโพธิสัตว์จะไม่ยอมเป็นลูกน้องหรือเป็นรองใคร แต่พระมหาโพธิสัตว์จะยอมเป็นลูกน้องผู้อื่น, เป็นรองผู้อื่น เพียงเพื่อให้มวลสัตว์ได้สิ่งที่ดีกว่าก็พอดังนั้น จึงจะ ต้องมีกระบวนการบำเพ็ญบารมีหลายชาติที่จะ “ดัดนิสัย” พระโพธิสัตว์ให้ยอมจำนนและยอมเป็นรองคนอื่นให้ได้ ถ้าไม่ยอมเลยจะต้องตรัสรู้เป็น “พระปัจเจกพุทธเจ้า” ไป เพราะจะไม่มีใครอยากช่วยเหลือ ก็จะไม่อาจเผยแพร่ธรรมสร้างพระพุทธศาสนาได้ เพราะมีทิฐิที่อยากเป็นหนึ่งอยู่คนเดียว คนอื่นๆ ที่เก่งๆ ก็ไม่มีใครอยากช่วยงานในที่สุด ดังนั้น เห็นได้ว่าพระพุทธเจ้าจะไม่ทรงยกตนว่าเป็นเลิศในด้านใดเลย ตรงกันข้ามกลับทรงยกผู้อื่นให้เป็นเลิศกว่าตนในด้านต่างๆ อยู่เสมอ ทำให้มี “เอตทัคคะ” ในพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นมากมายด้วยเหตุนี้ นี่คือ “พุทธวิสัย” ที่มีแต่ในพระพุทธเจ้า จะไม่มีในผู้ไม่สำเร็จอย่างนี้ อนึ่ง ในหลายชาติที่พระโพธิสัตว์ถูกดัดนิสัยนั้น จะต้องเกิดมาพ่ายแพ้หรือสิ้นหวังหรือไม่สมความปรารถนาหลายต่อหลายชาติมากจนกว่าจะยอมจำนนเป็น, แพ้เป็น, เป็นที่สอง, เป็นรองผู้อื่นเป็น ฯลฯ ซึ่งจะส่งผลให้ชาติสุดท้ายที่จะได้ตรัสรู้นั้น จะยอมก้มหัวไปรับคำสอนจากผู้อื่นก่อน ก็จะไม่เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าแต่จะสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าได้ในที่สุด อนึ่ง แม้ท่านจะยอมเป็นผู้แพ้, ยอมไม่สมหวัง, แต่จะไม่ยอมละทิ้งความปรารถนาฯ -จบ-
    ที่มา:http://palungjit.org/threads/ใครติดขัดสมาธิอะไรก็เข้ามา.188398/page-126
    อันนี้ก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้พระมหาโพธิสัตว์ท่านต้องแบ่งภาคมาเกิดอีกทั้งๆที่บารมีเต็ม
    ตามที่คุณบอกนะคะ ว่าเราไม่สามารถมองคนจากภายนอกได้เลยว่า ท่านใช่พระมหาโพธิสัตว์หรือไม่ ฉะนั้นตามความเห็นของเรา ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะปรามาสใคร ทำใจนิ่งๆว่างๆไว้จะดีที่สุด เพราะอย่างน้อยก็ได้รักษาใจให้ปกติที่สุด

    มีข้อมูลเกี่ยวกับพระมหาโพธิสัตว์จะแนะนำอีกก็เชิญนะคะ อยากได้ความรู้ค่ะ
     
  8. gasnaka

    gasnaka เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    3,811
    ค่าพลัง:
    +3,974
    เราก็คิดว่าเราก็ได้เจออยู่เหมือนกัน อย่างน้อยที่สุดก็หนึ่งองค์ล่ะค่ะ
     
  9. 5314786

    5314786 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    737
    ค่าพลัง:
    +3,801

    ลองศึกษา ประวัติพระโพธิธรรม ตั๊กม้อ พระมหาโพธิสัตว์อวตารดูนะครับ

    ภายหลังจากที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบรรลุถึงอนุตตรสัมโพธิญาณแล้ว ทรงพิจารณาเห็นว่าธรรมที่พระองค์ได้ตรัสรู้มามีความละเอียดสุขุมลุ่มลึกยิ่ง ก็บังเกิดความท้อพระว่า จะมีใครสักกี่คนที่จะเข้าใจ อีกทั้งพระทัยหนึ่งก็เกิดความมักน้อยว่า จะไม่แสดงธรรมเพื่อโปรดใครเลย!
    พระ ดำริของพระพุทธองค์ด้วยเรื่องนี้ได้ทราบไปถึง ท้าวสหัมบดีพรหมในเทวโลก ท้าวสหัมบดีพรหมตกพระทัยเป็นอย่างยิ่งถึงกับเปล่งสุรเสียงอันดังถึงสามครั้ง ว่า
    "โลกจะฉิบหายในครั้งนี้ๆ..ๆ.."
    เสียงนั้น ก็ดังแผ่ไปทั่วหมื่นโลกธาตุ ท้าวสหัมบดีพรหมพร้อมด้วยเหล่าเทวาคณานิกรจึงเสด็จลงมากราบทูลอาราธนาว่า
    "ข้าแต่พระพุทธเจ้า ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ สัตว์ในโลกนั้นที่มีกิเลสบางเบาพอที่จะฟังธรรมเข้าใจนั้นมีอยู่ ขอพระองค์ได้โปรดแสดงธรรมช่วยเหลือโลกด้วยเทอญ"

    "ตำนานการถ่ายทอดธรรม"

    องค์ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเป็นบรมครูผู้ชี้ธรรมทั้งแก่ เทวดา และ มนุษย์ทั้งหลาย พระองค์ทรงแสดงธรรมด้วยวิธีการอันเหมาะอันควร ตามจริงของแต่ละบุคคล กล่าวคือ
    ๑. วิธีค่อยเป็นค่อยไป วิธีนี้ผู้ฟังจะค่อยๆได้รับธรรมะจากง่ายไปหายาก เป็นขั้นเป็นตอนไปโดยลำดับ พระพุทธองค์ทรงใช้วิธีนี้แสดงธรรมแก่คนหมู่มาก ซึ่งแต่ละคนต่างก็ได้รับรู้และหยั่งถึงความหมายในธรรมนั้น ไปตามลักษณะภูมิปัญญาของตน
    ๒. วิธีชี้ตรงฉับพลัน วิธีนี้เหมาะสมกับบุคคลผู้ที่มีพื้นฐานความสามารถสูงเป็นพิเศษ พระพุทธองค์จะทรงถ่ายทอดชี้ธรรมโดยมิต้องตรัสอะไร และผู้ซึ่งได้รับการถ่ายทอดนั้น ก็สามารถเข้าใจความหมายได้ทันที กล่าวได้ว่าวิธีการถ่ายทอดเช่นนี้ เป็นวิธีที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมโปรดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ
    ดังโศลกธรรมของนิกายฌาน หรือเซน ชึ่งกล่าวถึงการถ่ายทอดวิธีนี้ว่าเป็น
    "การส่งมอบพิเศษนอกคัมภีร์
    ไม่ต้องอาศัยตัวอักษร
    ชี้ตรงไปยังจิตของมนุษย์
    ให้เห็นแจ้งในภาวะเดิมแท้....บรรลุ "พุทธะ" โดยฉับพลัน"



    การถ่ายทอดธรรมในครั้งพุทธกาล

    โดย อาศัยพระสูตรหนึ่งซึ่งมีชื่อว่า "ต้าฝั่นเทียนอุ้มผู่เจี้ยอี้จิง"แปลว่า พระสูตรอันกล่าวถึงปัญหาที่ท้าวมหาพรหมทูลถาม มีใจความตอนหนึ่งกล่าวไว้ดังนี้
    "สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ ณ ภูเขาคิชฌกูฏค่ำนั้น ท้าวมหาพรหมได้เสด็จมาเข้าเฝ้าถวายดอกบัวเป็นพุทธบูชาแล้วจึงกราบทูลอาราธนา ให้ทรงแสดงธรรม
    พระตถาคตจึงทรงยกพระหัตถ์ขวาอันบรรจงหยิบดอกบัวชูขึ้นท่ามกลางสันนิบาตนั้น โดยมิได้ตรัสแต่ประการใด
    ในขณะนั้นปวงเทพยดาและมนุษย์ทั้งหลายต่างไม่เข้าใจในความหมาย มีเพียงพระมหากัสสปะผู้เดียวเท่านั้นที่ทัศนาองค์พระบรมครูด้วยดวงตาอัน เปล่งประกายจำรัส พร้อมกับรอยยิ้มละไม
    ครั้นแล้วพระโลกนาถเจ้า จึงตรัสขึ้นในท่ามกลางที่ประชุมว่า
    "ตถาคตมีธรรมจักษุอันถูก ตรงนิพพาน
    ตถาคตเป็นผู้มีญาณทัศนะอันรู้จบพร้อมในธรรม
    ตถาคตเป็นผู้มีดวงจิตอันหลุดพ้นแล้ว
    ตถาคตเป็นผู้ธำรงสัจจะอันบริสุทธิ์ไม่เคลือบคลุม
    สิ่งใดอันตถาคตเป็น...ธรรมใดอันตถาคตรู้
    สิ่งนั้น ธรรมนั้น....ตถาคตได้ถ่ายทอด
    ให้แก่มมกัสสปะโดยครบถ้วนบริบูรณ์แล้ว"
    พระมหากัสสปะ ผู้ถึงช่วงเวลาแห่งการตรัสรู้ได้บรรลุธรรมทันที เมื่อพระพุทธองค์ทรงใช้ดอกบัว เป็นประหนึ่ง "กุญแจทองไขประตูใจ" เปิดให้เห็นพุทธจิตธรรมญาณแท้ไนตน นี่ก็คือการส่งทอดปัญญาญาณจาก "จิต สู่ จิต" นั่นเอง
    ด้วย เหตุฉะนี้จึงถือว่า พระมหากัสสปะเถระผู้ซึ่งได้รับการแสดงธรรมโปรดโดยวิธี "ชี้ตรงฉับพลัน" และเป็นพระสังฆปรินายกองค์ที่หนึ่ง แห่งพุทธศาสนาในอินเดีย
    หลัง จากที่องค์สมเด็จพระศากยมุนีพุทธเจ้า เสด็จดับขันธ์สู่ปิรินิพพานแล้ว พระมหากัสสปะเถระจึงต้องเข้ารับภาระกิจใหญ่หลวงในการจรรโลงพระศาสนา ปกครองดูแลเหล่าสงฆ์สาวกจัดระเบียบต่างๆ ในอาณาจักรธรรม และที่สำคัญพระองค์ทรงเป็นประธานในการทำสังคายนาพระธรรมวินัย ครั้งที่ ๑

    ลำดับพระสังฆปรินายก
    ประธานคณะสงฆ์ยุคต้นพุทธกาล


    พระอริยสงฆ์สาวกผู้ซึ่งได้รับการถ่ายทอดชี้ธรรม ด้วยวิถีแห่ง "จิต สู่ จิต" แต่ละรุ่นๆ จะได้รับมอบ บาตร จีวร สังฆาฏิ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นสัญญลักษณ์สำคัญของตำแหน่ง
    การถ่ายทอดธรรมดังกล่าวมีพระอริยเจ้าแต่ละสมัยรับช่วงสืบทอดกันลงมาโดยลำดับดังนี้

    <table style="font: inherit; color: inherit;"><tbody><tr><td style="font: inherit; color: inherit;" valign="top"><table style="font: inherit; color: inherit;"><tbody><tr><td style="font: inherit; color: inherit;" valign="top">๑. พระมหากัสสปะเถระ </td><td style="font: inherit; color: inherit;" valign="top">๑๓. พระกบิลเถระ</td></tr><tr><td style="font: inherit; color: inherit;" valign="top">๒. พระอานนท์เถระ</td><td style="font: inherit; color: inherit;" valign="top">๑๔. พระนาคารชุน มหาโพธิสัตว์</td></tr><tr><td style="font: inherit; color: inherit;" valign="top">๓. พระสันนวสะเถระ </td><td style="font: inherit; color: inherit;" valign="top">๑๕. พระคุณเทวะเถระ</td></tr><tr><td style="font: inherit; color: inherit;" valign="top">๔. พระอุปคุปด์เถระ</td><td style="font: inherit; color: inherit;" valign="top">๑๖. พระราหุลตเถระ</td></tr><tr><td style="font: inherit; color: inherit;" valign="top">๕. พระธริตกะเถระ </td><td style="font: inherit; color: inherit;" valign="top">๑๗. พระสังฆนันทิเถระ</td></tr><tr><td style="font: inherit; color: inherit;" valign="top">๖. พระมัจฉกะ </td><td style="font: inherit; color: inherit;" valign="top">๑๘. พระสังฆยศัสเถระ</td></tr><tr><td style="font: inherit; color: inherit;" valign="top">๗. พระวสุมิตรเถระ</td><td style="font: inherit; color: inherit;" valign="top">๑๙. พระกุมารตเถร</td></tr><tr><td style="font: inherit; color: inherit;" valign="top">๘. พระพุทธนันทิเถระ</td><td style="font: inherit; color: inherit;" valign="top">๒๐. พระชยเถระ</td></tr><tr><td style="font: inherit; color: inherit;" valign="top">๙. พระพุทธมิตรเถระ</td><td style="font: inherit; color: inherit;" valign="top">๒๑. พระวสุพันธุเถระ</td></tr><tr><td style="font: inherit; color: inherit;" valign="top">๑๐. พระปารศวะเถระ</td><td style="font: inherit; color: inherit;" valign="top">๒๒. พระมนูระเถระ</td></tr><tr><td style="font: inherit; color: inherit;" valign="top">๑๑. พระปุณยยศัสเถระ</td><td style="font: inherit; color: inherit;" valign="top">๒๓. พระฮักเลนยศัสเถระ</td></tr><tr><td style="font: inherit; color: inherit;" valign="top">๑๒. พระอัศวโฆษ มหาโพธิสัตว์</td><td style="font: inherit; color: inherit;" valign="top">๒๔. พระสินหเถระ</td></tr><tr><td style="font: inherit; color: inherit;" valign="top">
    </td><td style="font: inherit; color: inherit;" valign="top">๒๕. พระวสิอสิตเถระ</td></tr><tr><td style="font: inherit; color: inherit;" valign="top">
    </td><td style="font: inherit; color: inherit;" valign="top">๒๖. พระปุณยมิตรเถระ</td></tr><tr><td style="font: inherit; color: inherit;" valign="top">
    </td><td style="font: inherit; color: inherit;" valign="top">๒๗. พระปรัชญาตาระ</td></tr><tr><td style="font: inherit; color: inherit;" valign="top">
    </td><td style="font: inherit; color: inherit;" valign="top">๒๘. พระโพธิธรรม</td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
    จนกระทั่งถึง พระสังฆปรินายกองค์ที่ ๒๘ คือ พระโพธิธรรมผู้ซึ่งปฏิบัติภาระกิจอันยิ่งใหญ่ โดยนำการถ่ายทอดโดยวิธี "ชี้ตรงฉับพลัน" จากแผ่นดินตะวันตก คือ อินเดีย กลับสู่แผ่นดินตะวันออกคือ จีน
    ฉะนั้นทางฝ่ายจีน จึงเริ่มนับพระโพธิธรรม เป็นพระสังฆปรินายกองค์ที่ ๑ ของจีน



    พระโพธิธรรมพระสังฆปรินายก
    องค์ที่ ๑ ของจีน


    "พระโพธิธรรม" เดิมเป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๓ ของพระเจ้าแผ่นดิน แคว้นคันธารราช ประเทศอินเดีย
    ตั้งแต่พระชนอายุยังเยาว์ ทรงปราดเปรื่องและแตกฉานในคัมภีร์ของทุกๆศาสนา ตลอดจนวรรณคดีอักษรศาสตร์โบราณ นับเป็นปราชญ์เอกแห่งยุค
    เมื่อ พระบิดาสิ้นพระชนม์ พระองค์สามารถนั่งฌานสมาบัติชั้นสูง อยู่เบื้องพระบรมศพของพระบิดานานตลอดถึง ๗ วัน หลังจากนั้น จึงไปศึกษาแสวงธรรมอยู่กับพระปรัชญาตาระเถระ ผู้เป็นพระสังฆปรินายกองค์ที่ ๒๗
    พระปรัชญาตาระเถระ ได้หยิบลูกแก้วยกขึ้นให้ท่านโพธิธรรมดูเป็นปริศนา ในทันใดนั้น ท่านก็บังเกิดความสว่างไสวรู้แจ้งแทงตลอดถึงธรรมที่ตนเคยสงสัยมาทั้งหมด กระทั่งสามารถตอบปัญหาธรรมได้หมด เมื่อบรรลุธรรมแล้วจึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุ
    พระปรัชญาตาระเถระ เห็นถึงปัญญาบารมีอันสูงล้ำของพระโพธิธรรม จึงได้เรียกประชุมคณะสงฆ์และประกาศว่า
    "พระโพธิธรรม ได้บรรลุธรรมสมบูรณ์ดีแล้ว ฉันจะมอบบาตร จีวร สังฆาฏิ และถ่ายทอดธรรมทั้งหมดของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้ท่านเป็นพระสังฆปรินายกองค์ที่ ๒๘ ต่อจากฉันไปเพื่อสืบอายุพระพุทธศาสนา
    ต่อ จากนี้ไป เป็นสิทธิหน้าที่ของท่านที่จะทำให้วิถีธรรมนี้แพร่หลายไปทั่วทุกหนทุกแห่งใน โลก และจงเลือกศิษย์ที่บรรลุธรรมตลอดจนมีความรู้ในธรรมที่ มั่นคงดีแล้ว เป็นผู้รับสืบทอด บาตรจีวร สังฆาฏิ และวิถีธรรมตรงนี้อย่างระมัดระวัง อย่าให้ขาดตอนลงไปได้
    ท่านมีบุญญลักษณะ บารมีดีพร้อม และอายุยืนยาวมากกว่าพระสังฆปรินายกองค์ใดๆ หลังจากที่ฉันดับขันธ์ไปแล้วเป็นเวลา ๖๗ ปี แผ่นดินนี้จะเกิดภัยสงครามใหญ่อันมิอาจหลีกเลี่ยงได้
    ท่านจึงควรนำวิถีธรรมขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้เผยแพร่ไปสู่ประเทศจีนเถิด

    การเดินทางอันยิ่งใหญ่
    พระโพธิธรรมพระเถระชั้นสูงชาวอินเดีย ซึ่งในนิยายจีนกำลังภายใน เรียกขานพระนามว่า" ปรมาจารย์ตั๊กม๊อ " หรือ "ผู่ ถี ต๋า ม๋อ"

    <table style="font: inherit; color: inherit;"><tbody><tr><td style="font: inherit; color: inherit;" valign="top"><table style="font: inherit; color: inherit;"><tbody><tr><td style="font: inherit; color: inherit;" valign="top">ผู่ ถี หรือ โพธิ</td><td style="font: inherit; color: inherit;" valign="top">หมายถึง ผู้รู้</td></tr><tr><td style="font: inherit; color: inherit;" valign="top">ต๋า ม๋อ</td><td style="font: inherit; color: inherit;" valign="top">หมายถึง ธรรมะ</td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
    พระโพธิธรรมมหาเถระ ออกเดินทางจากอินเดียโดยลงเรือโต้คลื่นลมฝามรสุม มุ่งสู่ประเทศจีน
    กล่าว กันว่าช่วงเวลานั้น แม้ในประเทศจีนจะมีพระพุทธศาสนาสถาปนาขึ้นแล้ว แต่พุทธบริษัททั้งหลายปฏิบัติธรรมกันแต่เพียงผิวเผิน การสวดมนต์ภาวนา ศึกษาธรรม ก็มิได้ทำอย่างจริงจังกระทั่งเล่าเรียนพระไตรปิฎก ก็หวังเพียงประดับความรู้ หรือไม่ก็ใช้เป็นข้อถกเถียงเพื่ออวดภูมิปัญญา
    จะ กล่าวไปไยกับการมุ่งปฏิบัติสมาธิวิปัสสนา ช่างยากที่จะหาคนทุ่มเทฝึกฝน คนก็คือคน นั่งนานก็บ่นว่าเมื่อย ล้วนกลัวความยากลำบาก ไม่จริงใจในการปฏิบัติ แต่ร่ำร้องจะเอามรรคผล
    แท้จริงแล้ว ก่อนหน้าที่พระอาจารย์ตั๊กม๊อจะเดินทางมาจีนท่านได้ส่งพระภิกษุสาวก ๒ รูป ให้เดินทางมาสำรวจดูลู่ทางก่อนแต่ทว่าเมื่อศิษย์ทั้งสองมาถึงแผ่นดินจีน กลับไม่ได้รับการต้อนรับหรือสนับสนุนจากทั้งนักบวชและผู้คนทั้งหลายเท่าที่ ควร
    ในที่สุดพระภิกษุทั้งสองรูป จาริกมาถึงที่ หลู่ ซัน ได้พบปะกับอาจารย์ ฮุ่ย เอวียน ไต้ชือ ผู้ซึ่งคร่ำเคร่งต่อการท่องสวด
    ท่าน ฮุ่ย เอวียนไต้ซือ ได้ถามศิษย์ของพระอาจารย์ตั๊กม๊อว่า
    "ท่านทั้งสองเป็นภิกษุอินเดีย นำธรรมะอะไรมาเผยแพร่?แล้วทำไมผู้คนถึงไม่ศรัทธา? "
    เวลา นั้นภิกษุทั้งสอง พูดภาษาจีนได้น้อยมาก ไม่รู้จะ อธิายอย่างไรจึงได้แต่แบมือยื่นออกไปแล้วตวัดกลับมาอย่างรวดเร็วพร้อมทั้ง เอ่ยขึ้นว่า
    "มันเร็วไหม? "
    ท่านฮุ่ย เอวียน ไต้ซือ ก็ตอบว่า
    "ใช่...เร็วมาก"
    ศิษย์ของอาจารย์ตั๊กม๊อ จึงกล่าวว่า
    "โพธิ และ ทุกข์ ก็เร็วเช่นนี้แหละ"
    เมื่อนั้น ท่าน ฮุ่ย เอวียน ไต้ซือ ก็บังเกิดความสว่างจิตรู้แจ้งในทันที และได้เปล่งอุทานธรรมขึ้นว่า
    "ทุกข์ คือ สุข...สุข คือ ทุกข์
    ไม่แตกต่าง..ทั้งสองอย่างเกิดดับอยู่ที่ "ใจ"

    อยู่ข้างไหน...ก็ขึ้นอยู่กับใจที่สำแดง"

    หลังจากที่ท่าน ฮุ่ย เอวียน ไต้ชือ รู้แจ้งในธรรมแล้ว จึงกล่าวนิมนต์ให้พระภิกษุอินเดียทั้ง ๒ รูป อยู่พำนักจำพรรษาที่อารามของท่าน แต่ช่างน่าเสียดายที่ต่อมาไม่นานศิษย์ทั้งสองของอาจารย์ตั๊กม๊อก็ดับขันธ์ไป ในวันเดียวกัน ชึ่งสถานที่บรรจุสรีระสังขารของทั้งสองท่าน ก็ยังคงปรากฏอยู่ ณ เขา หลู่ ชัน เป็นหลักฐานตราบจนทุกวันนี้
    ต่อมาเมื่อพระอาจารย์ตั๊กม๊อได้พิจารณาเห็นถึงวาระอันควรท่านจึงประกาศต่อบรรดาสานุศิษย์ในอินเดียว่า
    "บัดนี้เวลาแห่งการปฏิบัติภาระกิจสำคัญมาถึงแล้วอาจารย์ต้องนำเอาหลักธรรมอันยิ่งใหญ่ ไปสู่แดนบูรพา"
    พระ โพธิธรรม พระสังฆปรินายกองค์ที่ ๒๘ ผู้รับสืบทอดวิถีธรรมตรง จึงลงเรือออกเดินทางโดยมิได้ย่อท้อต่อความลำบากเหนื่อยยาก มีเพียงความมุ่งมั่นที่จะส่งมอบหลักแห่งจิตญาณอันเที่ยงแท้ เพื่อฉุดช่วยเวไนยสัตว์ทั้งปวง
    ด้วยรูปลักษณ์ของพระองค์ท่าน ที่เป็นชาวอินเดียมีหนวดเคราดกรุงรัง นัยน์ตาทั้งคู่กลมโต ผิวดำคลา ชาวบ้านที่พบเห็น ก็จะหลอกลูกหลานว่า พระแขกจะมาจับตัว เพื่อให้เด็กๆกลัว ฉะนั้นแม้ว่าท่านจะเดินไปทางไหน เด็กๆก็จะพากันวิ่งหนีเข้าบ้านหมดบางคราวต้องฝ่าแดดกรำฝน ท่านก็จะดึงเอาผ้าจีวรขึ้นคลุมศีรษะกันร้อนกันหนาว นานวันผ้าจีวรที่ห่มอยู่ก็ชำรุดคร่ำคร่าเปื่อยขาดอันเนื่องจากการรอนแรมนาน ถึง ๓ ปี!


    [​IMG]
    ภาพศิลาจารึก พระสังฆปริณายกองค์ที่ ๑.


    พระโพธิธรรม มหาครูบา. ภาษาจีนที่เห็นนั้น แต้จิ๋วอ่านว่า "ตงโท้วชอโจ้ว ผู่ที้ตกม้อใต้ซือ" ปฐมาจารย์องค์แรกจากอินเดียนำพระพุทธศาสนา นิกายเซ็น (ฌาน) สู่แผ่นดินจีน ชาวจีนนิยมเรียกสั้นๆว่า "ชอโจ้ว หรือ อิ๊ดโจ้ว" หมายว่าองค์แรกคือที่ ๑. หรือ"ตกม้อโจ้วซือ" (ถ้านับจากอินเดียตามสายลงมาเป็นอันดับองค์

    รับนิมนต์จากองค์ฮ้องเต้

    กระทั่ง ณ วันที่ ๒๑ ค่ำเดือนเก้า สมัยราชวงศ์เหลียงบู๊ตี้ประมาณปีพุทธศักราช ๑๐๗๐ ท่านจึงมาถึงยังฝั่งเมืองกวางโจว
    ขณะ นั้น พระเจ้าเหลียงบู้ตี๊ พระองค์ทรงเลื่อมใสศรัทธาพุทธศาสนามาก ทรงถือศีลกินเจอยู่เป็นประจำ เมื่อข่าวการมาถึงของพระอาจารย์ตั๊กม๊อถูกรายงานไปยังราชสำนัก พระเจ้าเหลียงบู๊ตี้ทรงปิติยินดี ยิ่งจึงได้มีพระกระแสรับสั่งให้อาราธนาเข้าเฝ้าทันที
    ในปีนั้นเองพระอาจารย์ตั๊กม๊อได้รับนิมนต์จากพระเจ้าเหลียงบู๊ตี้ ไปยังนานกิงนครหลวงเพื่อถกปัญหาธรรม
    พระเจ้าเหลียงบู๊ตี้ ได้ตรัสถามพระอาจารย์ตั๊กม๊อว่า
    "ตั้งแต่ข้าพเจ้าครองราชย์มา ได้สร้างวัดวาอาราม โบสถ์วิหาร และพระคัมภีร์มากมาย อีกทั้งอนุญาตให้ผู้คนได้บวช โปรยทาน ถวายภัตตาหารเจแด่พระภิกษุสงฆ์ ตลอดจนทะนุบำรุงพระศาสนามากมาย ไม่ทราบว่าจะได้รับกุศลมากน้อยเพียงใด? "
    พระอาจารย์ตั๊กม๊อ ตอบว่า
    "ที่มหาบพิตรบำเพ็ญมาทั้งหมด เป็นเพียงบุญกิริยาทางโลกเท่านั้น ยังมิใช่กุศลแต่อย่างใด"
    การ ที่ท่านตอบเช่นนั้น ก็เพราะพระเจ้าเหลียงบู๊ตี้มีความเข้าพระทัยผิด ดั่งที่แม้ปัจจุบันผู้คนก็จะคิดว่า "บุญ" และ "กุศล"เป็นอย่างเดียวกัน จึงเรียกสับสนปนเปกันไป
    แท้ที่จริง การให้ทานเงินทอง วัตถุสิ่งของ อาหาร หรือสร้างวัดวาอาราม ฯลฯ เรียกว่า "บุญ" หมายถึง ส่งที่ทำให้ฟูใจทำให้ใจมีปิติอิ่มเอมเท่านั้น ส่วน "กุศล" หมาย ถึงสิ่งที่จะช่วยขจัดเครื่องกางกั้น ช่วยให้จิตหลุดรอดไปจากสิ่งครอบคลุมห่อหุ้ม"พุทธะจิตธรรมญาณ" ฉะนั้นกุศลที่แท้ คือ ความรู้แจ้งทางจิตใจคือปัญญาอันผ่องแผ้วสมบูรณ์ เป็นความว่าง สงบจากกิเลส
    เวลานั้นพระเจ้าเหลี่ยงบู๊ตี้ ทรงตรัสถามอีกว่า
    "อริยสัจ คืออะไร? "
    พระอาจารย์ตั๊กม๊อ ตอบว่า "ไม่มี"
    พระเจ้าเหลียงบู๊ตี้ ทรงตรัสถามอีกว่า
    "เบื้องหน้าข้าพเจ้านี้ คือใคร?"
    พระอาจารย์ตั๊กม๊อ ตอบว่า "ไม่รู้จัก"

    พระเจ้าเหลียงบู๊ตี้ ทรงได้ยินคำตอบเช่นนั้น ไม่ค่อยพอพระทัย
    พระอาจารย์ตั๊กม๊อ เห็นว่า พระเจ้าเหลียงบู๊ตี้ทรงสั่งสมภูมิปัญญายังไม่แก่กล้าพอที่จะบรรลุได้ จึงทูลลาจากไป
    เมื่อ ท่านเดินทางพ้นจากเมืองไปแล้ว พระธรรมาจารย์ปอจี่เชี้ยงซือ คือ พระเถระผู้ทรงปราดเปรื่องรอบรู้พระไตรปิฎกได้เข้าเฝ้าแล้วกราบทูลถามพระเจ้า เหลียงบู๊ตี้ว่า
    "พระภิกษุอินเดียรูปนั้น ขณะนี้พำนักอยู่ที่ใด? "
    พระเจ้าเหลียงบู๊ตี้ ทรงตรัสว่า
    "จากไปแล้ว.....ท่านเป็นใครหรือ? "
    พระธรรมจารย์ ปอจี่เซียงซือ กราบทูลว่า
    "ท่านคือ พระกวนอิมมหาโพธิสัตว์อวตารมาทีเดียว...ฝ่าพระบาทได้พบท่าน เหมือนไม่ได้พบ ได้เห็นท่าน แต่เหมือนไม่ได้เห็น"
    พระ เจ้าเหลียงบู๊ตี้ ทรงทราบเช่นนั้นจึงมีพระดำริ จะให้ทหารออกติดตามไปอาราธนาท่านกลับมา ฝ่ายพระธรรมจารย์ปอจีเซียงซือ ได้กราบทูลต่อไปอีกว่า
    "ไร้ประโยชน์...ถึงจะยกทัพไปแสนนาย ท่านก็ไม่กลับมา"


    ชี้แนะนกแก้ว

    เมื่อ พระอาจารย์ตั๊กม๊อเดินทางจากเมืองหลวงแล้ว ระหว่างทางจาริกท่านได้พบนกแก้วตัวหนึ่งถูกขังอยู่ในกรง เจ้านกแก้วตัวนี้ถึงจะเป็นสัตว์เดรัจฉาน แต่ทว่ามันมีปัญญามากกว่าคนทั่วไปเสียอีกเพราะมันสามารถล่วงรู้ด้วย สัญชาตญาณว่า มีพระอรหันต์ขีณาสพผู้เป็นเนื้อนาบุญของโลก เหยียบย่างมาถึงแผ่นดินนี้แล้ว
    พอเห็นพระอาจารย์ตั๊กม๊อเดินเข้ามาใกล้ เจ้านกแก้วจึงร้องเรียกขึ้นว่า
    "ท่านผู้เจริญ!....ท่านผู้สูงส่ง....ขอท่านได้โปรดเมตตาชี้แนะช่องทางให้ข้าน้อยออกจากกรงขังนี้ด้วยเถิด"
    ฝ่ายพระอาจารย์ตั๊กม๊อ เมื่อได้ยินคำวิงวอนจากนกแก้ว ก็ให้คิดคำนึงในใจว่า
    "นับตั้งแต่มาถึงแผ่นดินจีน..จนกระทั่งบัดนี้ จะหาใครบ้างที่ล่วงรู้ในจิตใจ มีใครที่มีวาสนาพอจะ แนะวิถีธรรมให้ได้บ้าง จะมีก็แต่เจ้านกแก้วตัวนี้ ที่ร้องขอเมตตา"
    ครั้นแล้ว พระอาจารย์ตั๊กม๊อ จึงโปรดชี้แนะเจ้านกแก้วไปว่า
    "สองขาเหยียดตรง สองตาปิดสนิท เท่านี้แหละ....เจ้าก็จะออกจากกรงได้"
    เจ้า นกแก้วฟังแล้วก็เข้าใจความหมายทันที มันจึงเฝ้ารอคอยให้เวลามาถึง ทั้งนี้เพราทุกๆเย็น เมื่อเจ้าของนกแก้วกลับถึงบ้าน ก็จะแวะหยอกล้อกับมันเป็นกิจวัตร
    ดังนั้นพอนกแก้วเห็นนายของมันเดินมาแต่ไกล มันจึงรีบล้มตัวลงนอน หลับตาสนิท เหยียดขาตรง ทำตัวแข็งทื่อ
    ครั้น เจ้าของมองดูในกรง เห็นนกแก้วแสนรักของตนนอนแน่นิ่งไม่ไหวติงเช่นนั้นก็ตกใจ รีบเปิดกรงเอื้อมมือเข้าไปประคองอุ้มมันออกมาเพื่อตรวจดูว่าเป็นอะไร แต่เอ๊ะ...ทำไมตัวมันยังคงอุ่นๆอยู่ทันใดนั้นเอง เจ้านกแก้วชึ่งรอคอยโอกาสอยู่ก็กางปีกบินหนีไปอย่างรวดเร็ว มันโผบินขึ้นสู่ท้องฟ้า ด้วยความสุขสำราญและอิสระเสรีอย่างที่สุด
    หัน มามองดูมนุษย์ในโลกกันบ้าง ถึงไม่ได้ถูกจับใส่กรงขัง ก็อย่าหลงนึกไปว่าตนเองอิสระ ผู้คนทั้งหลาย บ้างนึกอยากจะกินก็กินใครอยากจะดื่มก็ดื่ม สำมะเลเทเมาสนุกให้สุดเหวี่ยง ไม่มีศีล ไม่มีสัจจ์ ไม่มีระเบียบวินัย ไม่มีความถูกต้อง ไม่เห็นความดีงามความควรไม่ควรไม่มีอยู่ในสายตา ทำทุกอย่างตามความพอใจของตนแล้วคิดว่านั่นเป็น ความอิสระเสรี
    แท้จริงมันเป็นอิสระจอมปลอม เป็นชีวิตที่ไร้แก่นสารไร้สาระความหมายที่แท้จริงของ "ชีวิตอิสระ" คือ อิสระจากการเกิด-ตาย
    ไม่ใช่ทุกคนที่อยากเกิด แต่ก็ต้องเกิด
    และไม่ใช่ว่าทุกคนอยากตาย แต่ก็ต้องตาย

    ใครบ้างเลือกได้ หรือ เลี่ยงได้
    มีเพียงผู้ที่อิสระแท้จริงเท่านั้นที่อยู่เหนือโลก คือ สามารถพ้นเกิดตาย เจ้านกแก้วเป็นตัวอย่างของการไปให้ถึงความเป็นอิสระ
    คือ การ "ตาย" เสียก่อน "ตาย"
    ผู้ที่สามารถ ตายจาก รัก โลภ โกรธ หลง
    ตายจาก ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข
    ชิวตในโลกของเขาผู้นั้นไม่ตกอยู่ภายใต้อำนาจของกิเลสตัณหาอวิชชาทั้งหลาย เช่นนี้..จึงจะได้ชื่อว่า "ตายก่อนตาย" ได้สู่อิสระเสรี อย่าง แท้จริง


    ชี้แนะเสินกวงฝ่าซือ

    ย้อนกล่าวถึง พระอาจารย์ตั๊กม๊อ ได้เดินทางมาถึงวัดใหญ่แห่งหนึ่ง มีท่านเจ้าอาวาสนามว่า "เสินกวง" ท่าน เจ้าอาวาสรูปนี้เป็นผู้ที่มีปัญญาหลักแหลมมาก และความจำล้ำเลิศชนิดที่ว่า คนทั่วไปอ่านหนังสือกันทีละแถว แต่ท่านสามารถอ่านได้ทีละ ๑๐ แถวท่านสามารถฟังคนร้อยคนพูดในเวลาเดียวกัน ไม่เพียงเท่านั้นท่านสามารถแยกแยะเรื่องราวจากเจ้าของเสียงได้อย่างถูกต้อง นับว่าท่านเสินกวงฝ่าชือ เป็นพระสงฆ์อัจฉริยะองค์หนึ่ง แต่ทว่าอีกด้านหนึ่งท่านก็เป็นนักบวชที่มีอารมณ์ฉุนเฉียวมากด้วยเช่นกัน ในด้านการเทศนาธรรม ท่านเจ้าอาวาสเสินกวง นับเป็นนักเทศน์ชั้นเยี่ยมยอดแห่งยุคนั้น เพราะท่านสามารถเทศน์จนศรัทธาสาธุชนที่มานั่งฟังสามารถมองเห็นภาพสวรรค์ภาพ นรกขึ้นมาได้
    วันนั้นขณะพระอาจารย์ตั๊กม๊อมาถึง ท่านเสินกวง กำลังแสดงธรรมเทศนา มีสานุศิษย์ชุมนุมอยู่เป็นจำนวนมาก พระอาจารย์ตั๊กม๊อจึงเข้าไปปะปนนั่งนิ่งฟังอยู่แถวหลังสุด ตอนไหนที่ถูกท่านก็ยิ้มๆ แล้วผงกศีรษะหน่อยๆ ตอนไหนที่เทศน์ผิดความหมาย..ท่านก็จะส่ายหน้าหน่อยๆ
    ฝ่ายท่านเสินกวง ผู้ซึ่งกำลังแสดงธรรมอยู่บนแทนธรรมมาสน์ เมื่อมองเห็นพระภิกษุอินเดียแปลกหน้ามาแสดงกิริยาเช่นนั้น เหมือนกับว่าเป็นการตำหนิตน ก็รู้สึกไม่สบอารมณ์บ้างแล้ว
    ครั้นการ เทศนาธรรมจบลง ผู้คนเริ่มทะยอยกันกลับ พระอาจารย์ตั๊กม๊อจึงถือโอกาสเข้าไปสนทนาเพื่อหวังชี้แนะ ด้วย เห็นว่าเป็นผู้มีภูมิธรรมปัญญาเป็นฐานอยู่แล้ว
    พระอาจารย์ตั๊กม๊อ "ท่านอยู่ที่นี่ทำอะไร? "
    ท่านเสินกวง "อ้าว!...ข้าก็เทศน์ธรรมอยู่ที่นี่น่ะซิ!"
    พระอาจารย์ตั๊กม๊อ "ท่านเทศน์ธรรมเพื่ออะไร?"
    ท่านเสินกวง "เทศน์เพื่อให้ผู้คนหลุดพ้น!"
    พระอาจารย์ตั๊กม๊อ"จะช่วยคนให้พ้น เกิดตายได้อย่างไร...ในเมื่อธรรมที่ท่านเทศน์ ก็คือ
    ตัวหนังสือบนคัมภีร์
    ตัวหนังสือดำ ก็เป็นสีดำ

    กระดาษขาว ก็เป็นสีขาว

    เทศน์ไปเทศน์มา ก็คือเทศน์ตามตัวหนังสือดำๆ บนกระดาษขาวๆ

    เมื่อ ถูกจู่โจมด้วยคำถามชนิดไม่ทันให้ตั้งตัว ท่านเจ้าอาวาสเสินกวงได้แต่อึกอักอ้าปากค้าง ไม่รู้จะตอบอย่างไร จากความอายกลายเป็นโกรธจัด แม้ว่ายามปกติท่านจะเป็นนักเทศน์ที่เยี่ยมยอดก็ตาม แต่คราวอารมณ์โกรธปะทุ ขึ้นมาก็จะรุนแรงราวฟ้าผ่า
    พระอาจารย์ตั๊กม๊อ เห็นท่านเสินกวงไม่อาจตอบก็พูดย้ำเข้าไปอีกว่า
    "นี่แหละน๊า...แผ่นดินจีนในยุคนี้
    มีธรรมะ ก็เหมือนไม่มี

    หากจะว่าไม่มี ก็มีคนพูดธรรมะกันทั้งเมือง"

    ถึง ตอนนี้ ท่านเสินกวงสุดจะกันความโกรธเอาไว้ได้ จึงเหวี่ยงสายประคำฟาดไปที่หน้าของพระอาจารย์ตั๊กม๊ออย่างสุดแรงพร้อมกับ ตะโกนด่าว่า
    "นี่แน่ะ!....แกกล้าดีอย่างไร ถึงมาเป็นตัวบ่อนทำลายศาสนาที่นี่"
    จะ ว่าไปแล้ว พระอาจารย์ตั๊กม๊อ ท่านก็เป็นผู้ล้ำเลิศในเชิงวิทยายุทธ แต่ก็มิได้หลบหลีกการประทุษร้าย ทั้งนี้เพราะท่านนึกไม่ถึงว่า บรรพชิตผู้ออกบวช อีกทั้งยังมีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่เคารพนับถือของผู้คนมากมาย จะมากด้วยโทสะจริตจนถึงกับลงมือลงไม้กันหนักขนาดนี้ และผลจากการถูกฟาดด้วยสายประคำเส้นใหญ่อย่างแรง ทำให้ฟันคู่หน้าทั้ง ๒ ซี่ หลุดอยู่ในปาก!
    ตามตำนานโบราณได้กล่าวว่า หากแม้นองค์พระอรหันต์เจ้าผู้บริสุทธิ์พระองค์ใด ถูกล่วงเกินทำร้ายถึงกับพระทันตธาตุต้องตกล่วง แม้ว่าเศษแห่งพระทันตธาตุนั้นตกลง ณ พื้นแผ่นดินใด แผ่นดินนั้นจะต้องประสบทุพภิกขภัย แห้งแล้งติดต่อกันถึง ๓ ปี!
    พระอาจารย์ตั๊กม๊อผู้เปี่ยมด้วยมหาเมตตาจิต พิจารณาว่า
    "หากแผ่นดินนี้ต้องแล้งฝน ขาดน้ำถึง ๓ ปี ชาวบ้านผู้คนเด็กเล็ก ตลอดจนสัตว์ใหญ่น้อยมากมาย จะต้องล้มตายกันนับไม่ถ้วนอันตัวเรานี้อุตส่าห์ดั้นต้นเดินทางจากแผ่นดิน เกิดมาไกลแสนไกลก็เพื่อประกอบภาระกิจโปรดเวไนยสัตว์ มิใช่กลับกลายเป็นก่อวิบากกรรมให้แก่มวลเวไนย ให้ทุกข์ยากลงไปอีก"
    ท่าน ดำริใคร่ครวญเช่นนี้แล้ว จึงกลืนฟันที่ถูกฟาดจนหลุดทั้ง๒ ซี่ลงไปไนท้อง ไม่ยอมบ้วนลงพื้น พระอาจารย์ตั๊กม๊อผู้มีจิตพ้นแล้วจากกิเลสใหญ่น้อยทั้งปวง ไม่มีความรู้สึกระคายเคืองใจ แม้เพียงน้อยนิต จึงได้แต่หันหลังเดินจากไปด้วยอาการสงบเย็น

    ยมฑูต เตือนสติ

    ท่าน เสินกวงเจ้าอาวาส เมื่อได้ฟาดสายประคำระบายโทสะไปแล้ว ก็รู้สึกสมใจ ยิ่งไม่ใด้รับการโต้ตอบ ก็ยิ่งคิดไปว่าเป็นเพราะพระภิกษุอินเดียแปลกหน้ารูปนั้นเกรงกลัวบารมีของตน ทำให้กระหยิ่มยิ้มย่องในใจ
    แต่หลังจากเหตุการณ์นั้นแล้ว อีก ๓ วันต่อมา ขณะที่กำลังจำวัตรพักผ่อน ยมฑูต ๒ ตน ก็ปรากฏร่างมายืนอยู่ตรงหน้าพร้อมกับแจ้งว่า
    "วันนี้...ถึงเวลาแล้วที่ท่านต้องหมดบุญสิ้นอายุขัย
    ไม่อาจอยู่บนโลกมนุษย์อีกต่อไป!

    ท่านพญายมผู้เป็นใหญ่ ให้ข้าทั้งสองมานำตัวท่านลงไปในยมโลกเดี๋ยวนี้!"

    ท่านเจ้าอาวาสได้ยินเช่นนั้นก็ตกตะลึงระล่ำระลักถามยมฑูตว่า
    "อาตมาได้บวชเรียนศึกษพระธรรมปฏิบัติกิจบำเพ็ญมากมายกระทั่งเทศนาธรรม...มวล หมู่เทพยดาบนสวรรค์ยังเสด็จลงมาฟังถึงขนาดนี้แล้วถ้าแม้ตัวอาตมายังไม่พ้น เงื้อมมือพญายม ไม่อาจหลุดพ้นจากวัฏจักรแห่งการเกิดการตาย แล้วในโลกนี้ยังจะมีใครอีกเล่า...ที่สามารถหลุดพ้นไปได้"
    ยมฑูตตนหนึ่งได้ตอบเจ้าอาวาสเสินกวงว่า
    "ในโลกมนุษย์ยังมีผู้หลุดพ้นแล้ว ไม่เพียงแต่ท่านพญายมไม่อาจเอื้อมควบคุม กลับยังจะต้องกราบสักการะท่านอยู่เป็นเนืองนิจ พระอริยเจ้าพระองค์นั้น คือ พระภิกษุอินเดีย ที่ถูกท่านใช้สายประคำฟาดจนพระทันตธาตุหลุดไปนั้นแหละ!"
    ท่านเสินกวงได้ยินเช่นนั้น ก็ทั้งตกใจและเสียใจ จึงวิงวอนว่า
    "ขอท่านยมฑูตทั้งสองโปรดให้เวลาอาตมาสักระยะหนึ่งเพื่อที่อาตมาจะได้ไปขอรับ ธรรมะแห่งการหลุดพ้นจากพระอาจารย์ผู้บรรลุแล้วพระองค์นั้น"
    ยมฑูต ทั้งสอง ก็ยินยอมผ่อนผันตามคำร้องขอ พอท่านเสินกวงสะดุ้งตื่นขึ้น ก็รีบออกติดตามหาพระอาจารย์ตั๊กม๊อ จนกระทั่งลุถึงวันที่ ๑๙ ค่ำ เดือนสิบจึงตามมาทัน ครั้นเห็นพระอินเดียยืนอยู่ริมฝั่งแม่น้ำแยงชีแต่ไกล ท่านเสินกวงจึงรีบวิ่งไปจวนเจียนจะถึงองค์ท่านอยู่แล้ว
    ขณะนั้นพระ อาจารย์ตั๊กม๊อกำลังจะข้ามฟาก แต่มองหาเรือไม่มีเลย ท่านจึงดึงเอาต้นหญ้าเล็กๆปล้องหนึ่ง โยนลงแม่น้ำที่กำลังไหลเชี่ยว แล้วกระโดดลงไปยืนลอยบนต้นหญ้าเล็กๆนั้น ตาเพ่งจมูกจมูกเพ่งใจ ใจเพ่งท้องน้อย ผนึกลมปราณสมาธิ อาศัยกระแสลมซึ่งพัดจากทิศตะวันออกเฉียงใต้ พาท่านข้ามไปยังฝั่งเหนือ ชึ่งเหตุการณ์สำคัญนี้ ในวัดเส้าหลินปัจจุบันยังคงเก็บรักษาแผ่นสิลาสลักรูป
    "พระโพธิธรรมข้ามแม่น้ำด้วยหญ้าต้นเดียว" เอาไว้เป็นหลักฐานแห่งบุญญาภินิหาร
    ฝ่าย ท่านเสินกวง ได้แต่ทรุดตัวกราบลงที่ริมฝั่งแม่น้ำพร้อมกับตะโกนร้องขอขมาโทษ...ขออาราธนา ให้ท่านกลับมาอีก...พระอาจารย์ตั๊กม๊อ หันมามองดูแล้วก็ยิ้มและยกมือกวัก ประหนึ่งว่าจะให้กระโดดน้ำก็ตามท่านไป
    อนิจจา....ท่านเสินกวง ถึงจะมีใจศรัทธายิ่งในกฤษดาภินิหารของพระอินเดีย แต่ทว่าว่ายน้ำไม่เป็น จึงไม่กล้ากระโดดตามลงไปได้แต่ยกมือพนมตะเบ็งเสียงร้องว่า
    "ขอท่านผู้สูงส่ง ได้โปรดกลับมาเถิดๆๆ"
    ขณะนั้นมีหญิงชราคนหนึ่งแบกมัดฟางเดินมา นางเห็นเหตุการณ์ที่เกด ก็ยุเสริมให้กระโดดน้ำตามไป
    ท่านเสินกวงจึงบอกว่า "อาตมาว่ายน้ำไม่เป็น"
    หญิงชรากลับย้อนว่า "ท่านกลัวตายหรือ...แล้วทำไมเขาไม่กลัวตายล่ะ? "
    ว่า แล้วนางก็โยนมัดฟางให้ ท่านเสินกวงจึงตัดสินใจกระโดดเกาะมัดฟางนั้น พยุงตัวไหลไปตามกระแสน้ำอันเชี่ยวกราดกระทั่งลับสายตาไปทั้งคู่
    พระ อาจารย์ตั๊กม๊อ ข้ามแม่น้ำแยงซีไปถึงวัดเส้าหลินบนเทือกเขาชงชาน อำเภอลั่วหยาง มณฑลเหอหนัน แล้วพำนักอยู่ที่นั่น ท่านได้ค้นหาถ้ำธรรมชาติถ้ำหนึ่งบนเขาหลังวัด แล้วนั่งสมาธิหันหน้าเข้าผนังถ้ำ วันๆจะนั่งนิ่งไม่ไหวติงไม่พูดจากับผู้ใดท่านนั่งสมาธิเข้าฌานอยู่เช่นนี้ เป็นเวลาถึง ๙ ปี
    นานวันเข้า เงาร่างที่กระทบทาบไปบนผนังศิลา ได้ฝังรอยติดอยู่จนมองเห็นได้ชัดเจน สามารถเห็นได้แม้กระทั่งปัจจุบันนี้ จึงได้ชื่อว่า "ผนังศิลาเงา

    ตัดแขนบูชาธรรม

    ฝ่าย ท่านเสินกวง ชึ่งกระโดดนาติดตามมา ก็เฝ้าคอยปรนนิบัติพระอาจารย์ตั๊กม๊ออยู่ไม่ยอมไปไหน ตลอดระยะเวลา ๙ ปีที่พระอาจารย์นั่งสมาธิหันหน้าเข้าผนัง ท่านเสินกวงก็พยายามมาคุกเข่ารออยู่ที่หน้าถ้ำ ด้วยความหวังว่าจะได้รับการถ่ายทอดธรรมอันสูงสุดเพื่อความหลุดพ้น บริเวณที่ท่านเสินกวงคุกเข่า ต่อมาได้ถูกสร้างเป็นศาลาขึ้น มีชื่อว่า"ศาลากลางหิมะ" ซึ่งยังปรากฎเป็นหลักฐานให้เห็นอยู่จนทุกวันนี้
    เวลา ผ่านไปถึง ๙ ปี ในวัน ๒๙ คำ ปีไท่เหอที่สิบ วันนั้นหิมะตกหนักมาก ท่านเสินกวงคุกเข่าอยู่หน้าถ้ำตลอดทั้งคืน จนหิมะท่วมสูงถึงเอว ครั้นรุ่งเช้าพระอาจารย์ตั๊กม๊อก็ได้เดินออกมาจากถ้ำ พร้อมกับเอ่ยถามขึ้นว่า
    "เธอมาคุกเข่าตากหิมะอยู่ที่นี่ เพื่อประสงค์อะไร? "
    ๙ ปีแห่งการรอคอย ท่านเสินกวง ตื้นตันจนน้ำตาไหลชึมออกมา แล้วตอบว่า
    "ข้าผู้น้อย....มาขอรับการถ่ายทอดวิถีธรรมขอรับ
    ขอท่านอาจารย์ได้โปรดเมตตาเปิด "ประตูมรรคผล"
    ชี้ทางแห่ง"พุทธะ" แก่ศิษย์ด้วยเถิด"
    พระ อาจารย์ตั๊กม๊อ ตอบว่า "พระพุทธองค์สละเวลามากมายทุ่มเทชีวิตในการฏิบัติธรรมเพื่อบรรลุมรรคผล แล้วตัวเธออาศัยความตั้งใจเพียงเล็กน้อยมาขอรับธรรมอันยิ่งใหญ่ คงยากที่จะสมหวัง!"
    ขณะนั้น ท่านเสินกวงได้แต่ก้มหน้านิ่ง ไม่รู้จะตอบว่าอย่างไร
    พระอาจารย์ตั๊กม๊อก็ย้อนถามอีกว่า
    "หิมะสีอะไร?"
    ท่านเสินกวง "ขาวขอรับ"
    พระอาจารย์ตั๊กม๊อ "ถ้าเช่นนั้น...เธอจงรอไปจนถึงเวลาที่หิมะเป็นสีแดงเมื่อใด เมื่อนั้นแหละฉันจึงจะถ่ายทอดวิถีธรรมเพื่อความหลุดพ้นแก่เธอ!"
    คำ พูดอันเป็นปริศนา เพื่อทดสอบภูมิธรรมปัญญาจากพระอาจารย์ตั๊กม๊อ ทำให้ท่านเสินกวงทั้งเสียใจ ทั้งสิ้นหวังหมดอาลัยตลอด ๙ ปีที่เฝ้ารอคอยมา...ความสมหวังดูช่างเลือนลาง มิหนำช้ำความรันทดอัดอั้นตันใจเมื่อระลึกถึงความผิดบาป ที่ตนได้ประทุษร้ายพระอริยเจ้าผู้บริสุทธิ์ด้วยโทสะจิต ความผิดฉกรรจ์ครั้งนั้น หากจะชดใช้ด้วยชีวิตก็มิอาจจะไถ่โทษ ถึงตัวจะตายแต่จิตวิญญาณก็ใช่ว่าจะหลุดพ้นเป็นอิสระไปได้ ความสับสนคับอกคับใจความหมดอาลัยสิ้นหวัง ทับโถมประดังเข้ามา มิอาจจะสรรหาคำพูดใดๆ มาพรรณาได้
    ทันใดนั้นเอง ท่านเสินกวงก็หันไปคว้ามีดตัดฟืนข้างกายยกขึ้นมาฟันแขนซ้ายตนเองจนขาดตกลงบน พื้น! จากนั้นท่านก็ไช้มือขวาหยิบแขนที่ขาด ยกขึ้นถวายบูชาพระอาจารย์ตั๊กม๊อประหนึ่งแทนความในใจทั้งหมด
    พระอาจารย์ตั๊กม๊อจึงกล่าวขึ้นว่า
    "เพื่อแสวงหาโมกขธรรม พระโพธิสัตว์ไม่ติดในสังขารและชีวิตเธอสละแขนขอธรรมนับว่าควรสรรเสริญ...นับว่าควรสรรเสริญ"
    ขณะ เดียวกัน ท่านเสินกวงซึ่งก้มหน้าของตนเอง เห็นเลือดจากแขนไหลนองพื้น หิมะที่ขาวสะอาดซึมซับไว้ได้กลับกลายเป็นสีแดงฉาน! ท่านจึงเงยหน้ารีบบอกไปว่า
    "ได้โปรดเถิดท่านอาจารย์...บัดนี้หิมะสีแดงปรากฏต่อสายตาท่านแล้วขอรับ!"
    พระอาจารย์ตั๊กม๊อ ยิ้มด้วยความยินดี พร้อมกับกล่าวว่า
    "นี่คือสิ่งที่ต้องเกิดขึ้น....
    การมาถึงแดนบูรพาในครั้งนี้...ไม่สูญเปล่า

    เพราะยังมีบุญวาสนามาพบผู้มีศรัทธาแรงกล้า

    ที่จะสามารถรับรู้และปฏิบัติให้เข้าถึงธรรมอันเที่ยงแท้ได้"
    เมื่อ พระอาจารย์ตั๊กม๊อกล่าวจบ ท่านได้สกัดจุดห้ามเลือดแล้วรักษา
    บาดแผล ท่านเสินกวงรู้สึกถึงความเจ็บปวดอย่างจับใจจึงเอ่ยขอให้อาจารย์ชี้แนะว่า
    "จิตของศิษย์ว้าวุ่น...ขอท่านอาจารย์ เมตตาช่วยทำให้มันสงบด้วยเถิดขอรับ"
    พระอาจารย์ตั๊กม๊อ "จงเอาจิตของเธอออกมาซิ!แล้วฉันจะทำให้มันสงบ"
    ท่านเสินกวงนิ่งไปครู่หนึ่ง แล้วก็ตอบว่า
    "ศิษย์หาจิตของตัวเองไม่พบขอรับ"
    ต่อ จากนั้นพระอาจารย์ตั๊กม๊อ องค์สังฆปรินายกองค์ที่ ๒๘แห่งอินเดียก็ได้ถ่ายทอดธรรมให้แก่ท่านเสินกวงด้วยวิถีแห่ง"จตสู่ จิต"เมื่อนั้นท่านเสินกวงก็ได้บรรลุธรรมโดยฉับพลัน
    พระอาจารย์ตั๊กม๊อจึงกล่าวว่า
    "ฉัน ได้วางจิตของเธอในที่ถูกต้อง และทำให้มันสงบแล้ว"พระอาจารย์ตั๊กม๊อได้รับท่านเสินกวงเป็นศิษย์ และตั้งสมณฉายาให้ใหม่ว่า "ฮุ่ยเข่อ" พร้อมกับได้กล่าวโศลกธรรมว่า
    "สรพศาสตร์ทั้งหลายอยู่ที่ "หนึ่ง"
    " หนึ่ง" นั้นอยู่ที่ใดเล่า

    เพราะไม่รู้ "จุดหนึ่ง" เสินกวงจึงต้องคุกเข่า

    รอ ๙ ปี เพื่อขอ "หนึ่งจุด".....หลุดพ้นยมบาล


    ฝ่ามารผจญ

    พระพุทธองค์ตรัสว่า
    "ผู้ไม่ถูกว่าร้าย ไม่มีในโลก และแน่นอนคนที่ไม่ถูกเกลียดเลยไม่มีในโลก เพราะแม้แต่พระพุทธองค์เองก็ยังถูกคนนินทาใส่ร้ายป้ายสี ยังต้องถูกมารผจญ
    พระ อาจารย์ตั๊กม๊อเองก็เช่นกัน นับแต่ย่างก้าวมาถึงแผ่นดินจีน ท่านได้ประกอบภาระกิจเผยแพร่วิถีธรรมตรง มีสานุศิษย์ก็มาก แต่ขณะเดียวกันศัตรูที่ปองร้ายก็ไม่นัอย หลายต่อหลายครั้งที่ฝ่ายปรปักษ์ หมายมุ่งจะทำลายชีวิตท่าน โดยผสมยาพิษลงไปในภัตตาหารเจ แล้วทำทีมาถวายด้วยใจศรัทธา ทั้งๆที่รู้ว่าอาหารมีพิษพระอาจารย์ตั๊กม๊อก็ยังรับมาฉันอย่างปกติจนหมด แต่เมื่อสาธุชนทั้งหลายกลับไปหมดแล้ว ท่านก็เดินลมปราณขับพิษ อาเจียรเอาอาหารทั้งหมดออกมา
    กล่าวกันว่าอำนาจของพิษร้ายและมนต์ดำ เมื่ออาหารตกลงบนพื้นเพียงเศษเล็กน้อย ก็กลายเป็นฝูงอสรพิษ
    ฝ่าย ศัตรูผู้มุ่งร้ายก็ไม่ยอมเลิกรา เมื่อเห็นว่ายาพิษไม่สามารถทำอันตรายท่านได้ ก็เพิ่มปริมาณยาพิษให้มากลงไปในภัตตาหารขึ้นอีกหลายเท่า แม้กระนั้นท่านก็ยังรับมาฉันอีก คราวหนึ่งความร้ายแรงของยาพิษ...เมื่อท่านอาเจียรออกมา มันมีอานุภาพถึงขนาดทำให้หินก้อนใหญ่แตกกระจายเป็นเสี่ยงๆ แต่กระนั้นก็มิอาจจะทำอันตรายใดๆ แก่ท่านได้



    ทดสอบภูมิธรรม คัดศิษย์สืบทอดภาระกิจ

    ปี พุทธศักราช ๑๐๗๙ อยู่มาวันหนึ่งพระอาจารย์ตั๊กม๊อได้เรียกสานุศิษย์คนสำคัญๆ เข้ามาพบเพื่อที่จะทดสอบภูมิธรรมของแต่ละคนว่าใครจะเข้าถึง "อนุตตรธรรมวิถี"ที่ท่านสั่งสอนอบรมไว้ว่าลึกตื้นมากน้อยกว่ากันเพียงไร
    พระอาจารย์ตั๊กม๊อ ตั้งคำถามว่า
    "ธรรมที่แท้จริง คือ อะไร? "
    ศิษย์ชั้นอาวุโสองค์แรก นามว่า "เต๋าหู๋" ได้ลุกขึ้นยืนแล้วตอบว่า
    "ไม่ยึดติดตัวอักษรคัมภีร์
    แต่ก็ไม่ทิ้งตัวอักษรคัมภีร์

    อยู่เหนือการยอมรับ และเหนือการปฏิเสธ

    นั่นแหละ คือ ธรรมะที่แท้จรง ขอรับ"

    พระอาจารย์ตั๊กม๊อ จึงพูดว่า
    "เอาล่ะ...เธอได้หนังของฉันไป"
    ศิษย์องค์ที่สองเป็นภิกษุณี นามว่า "จิ้งที้" ได้ลุกขึ้นยืนแล้วตอบว่า
    "ธรรมที่แท้จริง แหมือนดังที่พระอานนท์ได้เห็น พุทธภูมิของพระอักโษภยาพุทธเจ้า แว็บหนึ่งแล้วไม่เห็นอีกเลยเจ้าค่ะ"
    พระอาจารย์ตั๊กม๊อ จึงพูดว่า
    "ถูก....เธอได้เนื้อของฉันไป"
    ศิษย์องค์ที่สาม นามว่า "เต๋ายก" ลุกขึ้นยืนแล้วตอบว่า
    "มหาภูตรูปทั้ง 4 นั้นเดิมว่าง ขันธ์ 5 ก็ไม่ใช่ตัวตนไม่มีแม้แต่ธรรมใดๆ นั่นแหละคือ ธรรมะ ที่แท้จริงขอรับ"
    พระอาจารย์ตั๊กม๊อ จึงพูดว่า
    "เอ้า!...ถูก....เธอได้กระดูกของฉันไป"
    ศิษย์องค์ที่สี่ นับเป็นศิษย์ก้นกุฏิ คือ ฮุ่ยเข่อ หรือท่านเสินกวงนั่นเองท่านได้ลุกขึ้นนมัสการพระอาจารย์ตั๊กม๊อ แล้วหุบปากนั่งนิ่ง แล้วยังเม้มลึกเข้าไปอีก ความหมายก็คือ ไม่มีภาษาและเสียงใด มาอธิบายสภาวะสัจจธรรมได้เลย เป็น "ปัจจัตตัง" คือ รู้ได้เฉพาะตนเท่าที่ตนเองได้บรรลุถึงเท่านั้น
    ถึงตอนนี้ พระอาจารย์ตั๊กม๊อ จึงหัวเราะแล้วพูดว่า
    "ดี! ดี!.....เธอได้ไขในกระดูกของฉันไป"
    ดัง นั้นพระอาจารย์ตั๊กม๊อ จึงได้ส่งมอบ บาตร จึวร สังฆาฏิธรรมะทั้งหมด ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้แก่ ท่านฮุ่ยเข่อสืบทอด เป็นพระสังปรินายกองค์ที่ ๒ ของนิกายฌานเพื่อดำรงอายุพระพุทธศาสนา ถ่ายทอดหลักจิตญาณต่อไป แต่พระอาจารย์ตั๊กม๊อก็ได้บัญชาให้ท่านฮุ่ยเข่อปกปิดฐานะตำแหน่งและหลบซ่อน ตัวอีก๔๐ ปี เพื่อให้พ้นจากการปองร้าย
    หลังจากที่พระอาจารย์ตั๊กม๊อ มีผู้รับช่วงภาระกิจงานธรรมแล้ว ได้ออกจากวัดเส้าหลิน เดินธุดงค์ไปที่วัดเซียนเซิ่ง ตำบลหลงเหมน กล่าวกันว่าท่านได้ถูกพิษที่ริมฝั่งแม่น้ำลัวะสุ่ย กระทั่งใกล้วันที่จะมรณะภาพ ท่านได้เรียกประชุมบรรดาสานุศิษย์ทั้งหลายและบอกกับท่านฮุ่ยเข่อว่า

    [​IMG]
    ภาพศิลาจารึก พระสังฆปริณายกองค์ที่ ๒.

    พระเว่ยโห มหาครูบา. ตัวอักษรจีนที่เห็นนั้น แต้จิ๋วอ่านว่า"ยี่โจ้ว หุยค้อใต้ซือ" ชาวจีนนิยมเรียกท่านสั้น ๆ ว่า "ยี่โจ้ว" ถ้า นับจากอินเดียตามสายลงมาแล้ว เป็น พระสังฆปริณายกอันดับองค์ที่ ๒๙ "ด้วยปัญญาบารมีของเธอ ทำได้อย่างดีที่สุด ก็คือ ปลุกกุศลจิตอันเป็นการหว่านเมล็ดพันธุ์แห่งพุทธะบุกเบิกทางแห่งอริยภูมิให้ แก่ชาวจีนไว้ก่อนเท่านั้น สวนผลที่ได้จะเกิดขึ้น...หลังจากที่ฉันดับขันธ์ไปแล้ว ๒๐๐ ปี จะมี "บัณฑิตใต้ต้นไม้" มาเกิดเขาจะเป็นผู้มาทำให้พระธรรมคำสอนที่ฉันถ่ายทอดโดย "จิต สู่ จิต"นี้ แพร่กระจายไปทั่วทุกมุมเมือง เมื่อนั้นจะมีผู้ได้บรรลุ "ธรรมจักษุมากมาย "
    แล้ว ก็เป็นจริงดังคำพยากรณ์ เพราะอีก ๒๐๐ ปีต่อมา"บัณฑิตใต้ต้นไม้" ก็คือ ท่านเว่ยหล่างผู้ได้รับสืบทอดเป็นพระสังฆปริยนายกองค์ที่ ๖ ซึ่งเดิมท่านมีอาชีพตัดไม้ขายเพื่อเลี้ยงมารดา และพระพุทธศาสนาบนแผ่นดินจีนในยุคของท่าน เจริญรุ่งเรืองมากกว่ายุคใดๆ

    ปัจฉิม โอวาท


    สุดท้ายพระอาจารย์ตั๊กม๊อได้กล่าวปัจฉิมโอวาทฝากไว้ว่า
    "บัด นี้...ฉันอายุครบ ๑๕๐ พรรษาแล้ว และได้เสร็จสิ้นภาระกิจหน้าที่ของพระโพธิสัตว์แห่งการมาเยือนถึงแผ่นดินนี้ ฉันได้แผ้วถางบุกเบิกเส้นทางสู่อริยภูมิไว้ให้แล้ว ต่อแต่นี้เป็นต้นไป เป็นหน้าที่ของพวกเธอทั้งหลายที่จะต้องพากเพียรปฏิบัติบำเพ็ญให้ได้บรรลุถึง ธรรมที่ฉันได้สอนไว้
    จงช่วยกันหากุศโลบายประกาศธรรมนี้ ถ่ายทอดสืบไปยังอนุชนแต่ละรุ่นๆอย่างกว้างขวางทุกมุมเมืองด้วยความไม่ประมาท แล้วผลบุญกุศลบารมีจากการนี้ จะเกิดขึ้นในอนาคตกาลต่อเนื่องไปอีกหลายร้อยหลายพันชั่วอายุคน ชั้นสูงสุดจะส่งผลให้เข้าถึง"พุทธภูมิ" ขั้นต่ำที่สุดจะทำให้มนุษย์ได้มหาสติ พบแสงสว่างแห่งปัญญาญาณ อันจะส่งผลไปถึงการได้ช่วยชีวิตสัตว์เดรัจฉานให้รอดตายอีกนับไม่ถ้วน ด้วยอำนาจแห่งพระเมตตาพระกรุณาแห่งวิถีธรรมนี้เอง จะเป็นเหตุปัจจัยส่งผลให้ปกป้องคุ้มครองชีวิตสัตว์โลกไว้ได้อย่างมาก มายมหาศาลทีเดียว
    โดยเฉพาะอย่างยิ่งบ่อเกิดหรือที่มาของพระอริยเจ้า พระอรหันต์พระโพธิสัตว์ พระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ที่จะอุบัติขึ้นในอนาคตกาลก็ล้วนจะออกมาจากประตูแห่งอาณาจักรธรรมนี้ ฉะ นั้นจึงเท่ากับว่าพวกเธอทั้งหลายได้ทำหน้าที่อันสูงสุดของ "พระโพธิสัตว์" ได้แก่การช่วยแบกหาม เทิดทูนบูชา "พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ"ไว้มิให้วิถีธรรมนี้ด่วนดับสูญจากโลกไปเร็วนัก จะเป็นมหาบุญมหากุศลบารมีอย่างมหาศาลแก่พวกเธอ ตลอดจนสรรพสัตว์ทุกชาติภพไม่มีวันจบสิ้นทีเดียว
    บัดนี้ฉันขอเตือน พวกเธอเป็นครั้งสุดท้ายอีกสักหน่อยว่าจงอย่าประมาทเลยนา วันเวลาหร่อยหรอหมดไปไม่คอยใคร อายุวัย ความชราภาพแห่งสังขารก็กัดกินให้สิ้นไป โดยไม่ยอมคอยใครและวิถีธรรมนี้ ก็ไม่คอยใครเช่นกัน
    จิตตนคิด กายตนทำ ใครทำใครได้เอง สิ่งเหล่านี้ต้องต่างคนต่างทำ จะทำแทนกันนั้นมิได้เลย บุญกุศล มรรคผลนิพพานต้องไปปฏิบัติเอง ลงมือทำด้วยตนเองให้ได้ทันตาเห็น จึงจะเป็นของเธอเองไปได้"

    และแล้วพระโพธิธรรมองค์ปรมาจารย์ก็ตรัสเป็นวาจาสุดท้ายว่า
    "ฉันขออำลาพวกเธอทั้งหลาย
    ฉันจะจากโลกนี้ไปแล้ว....."

    จากนั้น ท่านก็ประทับนั่งนิ่งอยู่ในสมาธิดับขันธ์ในฌานสมบัติ ท่ามกลางความเศร้าโศกสลดของเหล่าสานุศิษย์ ทั้งหลาย
    เมื่อ ข่าวนี้ได้แพร่ถึงเมืองหลวง พระเจ้าเหลียงบู๊ตี้ ได้พระราชทานสมณศักดิ์ จารึกที่พระเจดีย์บรรจุพระศพบนภูเขาสงเอ่อชัน อำเภออี๋หยาง มณฑลเหอหนานในปัจจุบัน
    กระทั่งมาถึงสมัยราชวงศ์ถัง องค์จักรพรรดิ์ ถังไท่จง ได้พระราชทานนาม พระอาจารย์ตั๊กม๊อ ว่า "พระฌานาจารย์สัมมาสัมโพธิญาณ"




    "คืนสู่ทิพยภาวะ"

    มี เรื่องโจษจรรเล่าขานกันว่า หลังจากที่พระอาจารย์ตั๊กม๊อดับขันธ์ทิ้งสังขารแล้ว สานุศิษย์ทั้งหลายได้อัญเชิญพระสรีระเข้าบรรจุไว้ในพระเจดีย์เป็นที่เรียบ ร้อยแล้ว
    แต่ทว่า....ช่วงในเวลาเดียวกันนั้น ไกลออกไปทางตอนเหนือของจีน มีขุนนางผู้หนึ่งนามว่า ช่ง หวิน กำลังเดินทางไปปฎิบัติราชการในแถบนั้น ระหว่างทางเขาได้พบกับพระอาจารย์ตั๊กม๊อเดินธุดงค์มา ในมือของท่านหิ้วรองเท้าอยู่ข้างเดียว
    พระอาจารย์ตั๊กม๊อได้กล่าวกับ ขุนนางซ่ง ว่า
    "แผ่นดินบ้านเกิดของเธอ กำลังเกิดเหตุใหญ่ เพราะองค์ ฮ่องเต้เสด็จสวรรคตแล้ว
    เธอจงรีบเร่งกลับเข้าเมืองหลวงโดยเร็วเถิด!"

    ขุนนางซ่ง "พระคุณเจ้ากำลังจะธุดงค์ไปที่ใดหรือขอรับ? "
    พระอาจารย์ต๊กม๊อ "อาตมาเสร็จสิ้นภาระกิจแล้ว กำลังจะกลับอินเดีย "
    ขุนนางซ่ง "แล้วจะมีใครสืบทอดวิถีธรรมจากท่านเล่าขอรับ?"
    พระอาจารย์ต๊กม๊อ "อีก ๔๐ ปี ข้างหน้า บุคคลผู้นั้นจะปรากฏตัว"
    ครั้น ขุนนาง ซ่ง หวิน กลับถึงเมืองหลวงก็พบว่าเหตุการณ์เป็นจริงดังคำบอก เขาได้เล่าเรื่องราวการพบปะกับพระอาจารย์ตั๊กม๊อ ที่ภาคเหนือให้บรรดาชาวเมืองฟัง แต่ไม่มีใครยอมเชื่อ ต่างพูด ยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่า ท่านดับขันธ์ทิ้งสังขารแล้ว จะไปพบปะกับใครได้
    ดัง นั้นเพื่อพิสูจน์ความจริง จึงได้ทำการขออนุญาตเปิดหอบรรจุพระศพ ปรากฏว่าหีบพระศพว่างเปล่า! เหลือเพียงรองเท้าอีกข้างทิ้งไว้ เหตุการณ์นี้สร้างความฉงนงงงวยให้แก่ผู้คนเป็น อย่าง มาก
    จวบจนกระทั่งบัดนี้ ก็หามีใครล่วงรู้ไม่ว่า พระสรีระของพระอาจารย์ตั๊กม๊อ หายไปไหนและหายไปอย่างไร? "
    แม้ แต่อายุของท่าน ก็ยังคงเป็นที่ถกเถียงกัน เพราะเมื่อแรกที่ท่านมาถึงประเทศจีน ท่านก็บอกว่า อายุของท่าน ๑๕๐ ปีและถึงตอนจะดับขันธ์ท่านก็ยังคงบอกว่า ท่านอายุ ๑๕๐ ปี อีกเช่นกัน! ประวัติศาสตร์จึงไม่อาจยืนยันอายุที่แท้จริงของพระองค์ท่าน ได้
    พระอาจารย์ตั๊กม๊อ มีอายุ ๑๕๐ ปี จริงหรือ? อยู่ที่ใด? ท่านไปไหน?
    หรือ ว่าบางที ท่านจะยังคงจาริกไปทั่ว และผู้ที่ศรัทธาอาจจะได้พบปะสนทนากับท่านแล้ว เพียงแต่เราจำพระองค์ท่านไม่ได้หรือว่าท่านเข้าสู่สภาวะทิพย์อันเป็นอมตะ นิรันดร สามารถปรากฏกายในทุกที่ และทุกรูปแบบ ไร้ขีดจำกัด เป็นอิสระเสรีอย่างบริสุทธิ์สมบูรณ์

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 เมษายน 2011
  10. Aunyasit

    Aunyasit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    1,312
    ค่าพลัง:
    +13,053
    ปรมาจารย์ตั๊กม้อ ท่านเป็นโลกอุดรพระองค์หนึ่ง ท่านจะแสดงบุญญฤทธิ์ออกมาแบบไหนก็ย่อมทำได้ เมื่อปีที่แล้วผมพบท่านทางจิต ที่ยอดภูเขาควาย ประเทศลาว ท่านบำเพ็ญอยู่ที่นั่น ทำให้คลายความสงสัยของผมเรื่องวิชากำลังภายในและวิชาลมปราณที่ได้มาจากการทำสมาธิเป็นมาอย่างไร

    เรื่องของพระโพธิสัตว์ นั้นหากไม่ใช่พระโพธิสัตว์ด้วยกันแล้วจะเข้าใจยาก ครับ

    พระโพธิสัตว์นั้นมักจะเข้าถึงญาณธรรมของพระพุทธองค์ บุญบารมีของท่านเหล่านั้นจะสามารถเรียนรู้ธรรมกับญาณธรรมของพระพุทธองค์และมหาโพธิสัตว์ที่ท่านร่วมสร้างบารมีเกี่ยวพันกันมาได้
     
  11. 5314786

    5314786 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    737
    ค่าพลัง:
    +3,801

    พระมหาโพธิสัตว์ ท่านแบ่งภาคมาเพื่อหลายๆเหตุผล

    เช่น บำเพ็ญบารมี โปรดสัตว์ ช่วยสืบทอดพระศาสนา แต่ในขณะที่

    ท่านอวตารลงมาหรือบำเพ็ญบารมีนั้น บริวารของท่านก็จะได้บำเพ็ญ

    บารมีด้วยโดยการที่ได้พบเจอท่าน ได้ฟังธรรม ปฏิบัติธรรมกับท่าน

    ถวายทาน บำเพ็ญกุศลกับท่าน ได้สร้างวิหารทาน เจดีย์ หรือพระพุทธรูป

    ร่วมกันกับท่าน หากได้ศึกษาประวัติของพระพุทธเจ้า ครั้งที่ยังบำเพ็ญ

    เป็นพระโพธิสัตว์ จะพบว่าทุกๆชาติที่ท่านบำเพ็ญ จะมีพระสาวกของ

    ท่านเกิดร่วมกันมาได้พบเจอกัน ได้สร้างกุศลร่วมกันทุกๆชาติ
     
  12. เงาเทวดา

    เงาเทวดา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    397
    ค่าพลัง:
    +314
    [FONT=&quot]อะจิรัง วะตะยัง กาโย ปฐะวี อธิเสสสะติ[/FONT]

    [FONT=&quot]ฉุฑโฑ อะเปตะวิญญาโณ นิรัตถังวะ กลิงคะรัง[/FONT][FONT=&quot]

    อีกไม่นาน ร่างกายนี้จะปราศจากวิญญาณ แล้วถูกทอดทิ้ง[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]​
    [FONT=&quot]ทับถมลงบนผืนแผ่นดิน เหมือนท่อนไม้ที่ไร้ค่า หาประโยชน์อันใดมิได้[/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 17 เมษายน 2011
  13. 2554

    2554 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    70
    ค่าพลัง:
    +719
    ท่านได้ข้อมูลนี้มาจากไหน กรุณาช่วยอธิบาย เพื่อความกระจ่างหน่อย บอกที่มาที่ไป ฟังจากครูบาอาจารย์มาหรือปฏิบัติมาแล้วรู้มาอย่างนั้น และก็ขออนุโมทนากับท่านที่นำมาเผื่อแผ่เพื่อประดับความรู้และสติปัญญา ☺
     
  14. เงาเทวดา

    เงาเทวดา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    397
    ค่าพลัง:
    +314
    <!--[if gte mso 9]><xml> <o:OfficeDocumentSettings> <o:RelyOnVML/> <o:AllowPNG/> </o:OfficeDocumentSettings> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:TrackMoves/> <w:TrackFormatting/> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:DoNotPromoteQF/> <w:LidThemeOther>EN-US</w:LidThemeOther> <w:LidThemeAsian>X-NONE</w:LidThemeAsian> <w:LidThemeComplexScript>TH</w:LidThemeComplexScript> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> <w:SplitPgBreakAndParaMark/> <w:DontVertAlignCellWithSp/> <w:DontBreakConstrainedForcedTables/> <w:DontVertAlignInTxbx/> <w:Word11KerningPairs/> <w:CachedColBalance/> </w:Compatibility> <m:mathPr> <m:mathFont m:val="Cambria Math"/> <m:brkBin m:val="before"/> <m:brkBinSub m:val="--"/> <m:smallFrac m:val="off"/> <m:dispDef/> <m:lMargin m:val="0"/> <m:rMargin m:val="0"/> <m:defJc m:val="centerGroup"/> <m:wrapIndent m:val="1440"/> <m:intLim m:val="subSup"/> <m:naryLim m:val="undOvr"/> </m:mathPr></w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" DefUnhideWhenUsed="true" DefSemiHidden="true" DefQFormat="false" DefPriority="99" LatentStyleCount="267"> <w:LsdException Locked="false" Priority="0" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Normal"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="heading 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 7"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 8"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 9"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 7"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 8"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 9"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="35" QFormat="true" Name="caption"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="10" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Title"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="1" Name="Default Paragraph Font"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="11" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Subtitle"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="22" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Strong"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="20" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Emphasis"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="59" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Table Grid"/> <w:LsdException Locked="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Placeholder Text"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="1" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="No Spacing"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Revision"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="34" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="List Paragraph"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="29" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Quote"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="30" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Intense Quote"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="19" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Subtle Emphasis"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="21" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Intense Emphasis"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="31" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Subtle Reference"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="32" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Intense Reference"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="33" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Book Title"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="37" Name="Bibliography"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" QFormat="true" Name="TOC Heading"/> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-priority:99; mso-style-qformat:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin-top:0cm; mso-para-margin-right:0cm; mso-para-margin-bottom:10.0pt; mso-para-margin-left:0cm; line-height:115%; mso-pagination:widow-orphan; font-size:11.0pt; mso-bidi-font-size:14.0pt; font-family:"Calibri","sans-serif"; mso-ascii-font-family:Calibri; mso-ascii-theme-font:minor-latin; mso-fareast-font-family:"Times New Roman"; mso-fareast-theme-font:minor-fareast; mso-hansi-font-family:Calibri; mso-hansi-theme-font:minor-latin; mso-bidi-font-family:"Cordia New"; mso-bidi-theme-font:minor-bidi;} </style> <![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <o:shapedefaults v:ext="edit" spidmax="1026"/> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <o:shapelayout v:ext="edit"> <o:idmap v:ext="edit" data="1"/> </o:shapelayout></xml><![endif]-->
    [FONT=&quot]ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ[/FONT][FONT=&quot][/FONT]

    [FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]สิ่งหนึ่งสิ่งใดมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา[/FONT]

     
  15. 2554

    2554 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    70
    ค่าพลัง:
    +719
    แล้วเอามาลงทำไมอะ ไม่เกิดประโยชน์ ☺
     
  16. เงาเทวดา

    เงาเทวดา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    397
    ค่าพลัง:
    +314
    [FONT=&quot]สุทสฺสํ วชฺชมญฺเญสํ อตฺตโน ปน ทุทฺทสํ[/FONT]

    [FONT=&quot]ความผิดของผู้อื่น เห็นได้ง่าย ความผิดของตนเห็นได้ยาก[/FONT]

    ก็เพราะเป็นแบบนี้นี่ไง ถึงยังให้รู้ไม่ได้ ส่วนประโยชน์เขียนบอกไว้แล้ว ยังเห็นไม่ได้ แล้วเรื่องที่ลึกซึ้งจะเห็นได้อย่างไร
     
  17. 2554

    2554 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    70
    ค่าพลัง:
    +719
    เหรอ ........... ที่ถามก็เพราะอยากรู้จริงๆ ว่าท่าน จำ หรือฟัง เขามาแล้วเอามาพูด หรือปฏิบัติได้เอง ทำได้เอง รู้แล้วเอามาพูด ถ้าท่านทำได้แล้วเอามาพูดก็ขออนุโมทนาด้วย และยินดีที่ได้เสวนากับท่านด้วย เพื่อจะได้ขอความรู้จากท่าน แต่ถ้าจำเขามาหรือฟังเขามาก็ว่ากันไป ตอบไม่ได้หรืออึดอัดไม่สะดวกไม่อยากตอบก็ไม่ว่ากัน มันต้องทำให้แจ้งแสดงให้หายสงสัยจึงจะเรียกว่าของจริง รู้ไว้คนเดียวเก็บงำไว้คนเดียวมันใช้ไม่ได้ แต่ถ้าเรื่องนำมาลงเป็นสาธารณะประโยชน์ไม่ได้ก็กรุณา ส่งmail มาได้ที่ sawanpenjai2554@hotmail.com ก็ได้นะ ยินดีน้อมรับคำแนะนำ

    คำพูดใดที่ไม่เป็นไปเพื่อคลายความยึดมั่น ถือมั่น ถือเป็นคำพูดที่ไม่เป็นประโยชน์ ☺
     
  18. เงาเทวดา

    เงาเทวดา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    397
    ค่าพลัง:
    +314
    [FONT=&quot]ยาจโก อปฺปิโย โหติ[/FONT][FONT=&quot][/FONT]​
    [FONT=&quot]ผู้ขอย่อมไม่เป็นที่รักของผู้ถูกขอ[/FONT]
    [FONT=&quot]
    “ข้าฯ รู้ เอ็งจะถามเรื่องเทพเทวดาใช่ไหม นังหนู”[/FONT]
    [FONT=&quot] “ใช่แล้วจ้ะตา ทั้งเทพและเทวดาที่มีในตำราพุทธศาสตร์ และนอกตำราของศาสนาเราจ้ะตา เรื่องนี้มันเป็นเรื่องมีจริง ไม่จริงอย่างไรกันแน่ ตารู้ หรือบอกหนูไว้ประดับสติปัญญาบ้างสักเล็กน้อยได้ไหมจ๊ะ”[/FONT]
    [FONT=&quot] “มีจริงสิวะ นังหนู เมื่อมีนาม ย่อมมีรูป เอ็งลืมไปแล้วหรือ”[/FONT]
    [FONT=&quot] “อ๋อ...สิ่งที่จิตกำหนดรู้ได้ เรียกว่ารูป มีทั้งรูปหยาบ รูปละเอียด ส่วนนาม เป็นชื่อของรูป เมื่อมีรูปเกิดขึ้น จึงจำเป็นต้องตั่งนามให้กับรูปนั้นๆ ซึ่งเป็นสมมุติ เพื่อการสื่อสารกัน แปลว่าต้องมีคนเห็นเทพฯ เทวดาเหล่านั้นจริงๆ จึงมีนามของท่านฯ ปรากฏขึ้น ใช่หรือไม่จ๊ะตา”[/FONT]
    [FONT=&quot] “ใช่ ข้าฯ รู้ว่าเอ็งไม่สงสัยในเทพเทวดาที่มีในพระธรรม แต่เอ็งสงสัยในเทพเทวดาที่มีในศาสนาอื่นๆ ซึ่งเรื่องนี้ ถ้าเป็นเรื่องชื่อ ของเทพเทวดาที่ปรากฏตั้งมากมายหลายระดับ ล้วนเป็นเรื่องจริง แต่ก็มีเรื่องปลอมปนอยู่ในเนื้อเรื่องพวกนั้นด้วยเช่นกัน ด้วยวิสัยของผู้ที่มีศรัทธานับถือ และผู้ที่ไม่ศรัทธาดัดแปลงปรับเปลี่ยนเรื่องด้วยโมหะจิต อันเป็นธรรมดาของมนุษย์ที่ยังมีกิเลสอยู่ นังหนู”[/FONT]
    [FONT=&quot] “ในเมื่อเป็นเรื่องจริง ทำไมท่านไม่จัดการกับพวกมนุษย์ที่ศรัทธาท่าน หรือย่ำยีท่านจนเสียหายจ๊ะตา”[/FONT]
    [FONT=&quot] “ข้าฯ เคยบอกเอ็งแล้วนี่ กฎของฟ้าก็อย่างหนึ่ง กฎของโลกมนุษย์ก็อย่างหนึ่ง ในโลกมนุษย์เป็นที่ส่วนกลางสำหรับให้วิญญาณต่างๆ ได้บำเพ็ญบารมีกันตามแต่ใจมันจะปรารถนา ไม่ว่าเรื่องดี เรื่องชั่ว มันจึงเห็นผลไม่หนักหนา ยกเว้นในเรื่องบางอย่าง กรรมบางอย่างที่ให้ผลเร็ว เทพเทวดาท่านจึงจัดการได้เต็มที่ตามที่มีในธรรมบัญญัติ ลำพังเรื่องสรรเสริญนินทาธรรมดาๆ ท่านเทพเทวดาทั้งหลาย ท่านเห็นชัดในสัจจะธรรมนี้มาแล้วทั้งนั้น จึงมีคุณสมบัติเป็นเทพเทวดาผู้ทรงฤทธิ์ได้ ท่านจึงไม่ถือสาเรื่องที่เกิดในมิติของโลกมนุษย์ แต่ถ้าเป็นโลกวิญญาณ เอ็งเอ๋ย พวกที่ทำกรรมพวกนี้มันอ่วมแน่ ชนิดว่าลืมไม่ลงเชียวแระ ถ้าอยู่ในนรกก็ประมาณว่าขังลืมกันไปเลย จนต่อเมื่อมีเรื่องพิเศษๆ เกิดขึ้น เช่น พระพุทธองค์จะทรงลงมาเกิดโปรดสัตว์ จึงได้มีการปรับเวลาขังลืมกันใหม่นะ นังหนู”[/FONT]
    [FONT=&quot] “ขนาดนั้นเลยหรือจ๊ะตา ก็ไหนว่าท่านทำใจได้ในเรื่องสรรเสริญนินทาไงจ๊ะตา”[/FONT]
    [FONT=&quot] “ข้าฯ บอกเอ็งไม่ผิดหลอกนะ นังหนู เทพชั้นผู้ใหญ่ท่านไม่ถือ แต่เทพชั้นรองๆ ลงมายังมีอีกตังหลายพระองค์ ท่านเหล่านั้นมีฤทธิ์มากกว่าข้าฯ ซ๊ะอีก แถมท่านยังไม่ได้นิพพานแบบข้าฯ ท่านยังต้องบำเพ็ญบารมีกันอยู่ ยังมีโลภ โกรธ หลง เป็นธรรมดา และท่านก็มีความเคารพต่อกันยิ่งด้วยชีวิต ขนาดสามารถถวายชีวิตจิตวิญญาณบูชากันได้เลย แม้จะมีบารมี ตำเหน่งสูงกว่ากันเพียงขั้นเดียว ท่านก็เคารพกันแบบคนธรรมดาๆ คิดไม่ถึงเชียวแหละ ใครไปทำให้ผู้ที่ท่านเคารพขนาดนั้นมัวหมองเพราะกาย วาจา ใจ ต่ำๆ มีหรือท่านจะวางเฉย เพียงแต่ท่านรอโอกาสให้พวกนั้นมันพ้นจากแดนมนุษย์ แล้วเข้าสู่โลกของจิตวิญญาณ ท่านจึงจะจัดการกับคนพวกนั้นต่อไป เพราะมันเป็นบาปหนักชนิดหนึ่งนะ นังหนู”[/FONT]
    [FONT=&quot] “แบบนี้แปลว่า ยังมีเทพ เทวดา ที่ยังไม่บรรลุมรรคผล แต่เป็นเจ้าหน้าที่คล้ายๆ ตาเพียบเลยซิจ๊ะ หนูก็หลงนึกว่ามีแต่เทวดาแบบตา นึกว่าเทวดาที่อยู่บนสวรรค์จะมัวติดสุขที่เกิดจากกามคุณซ๊ะอีกนะจ๊ะตา”[/FONT]
    [FONT=&quot] “ที่เอ็งคิดมันก็ใช่แล้ว สำหรับเทวดาธรรมดาๆ แต่เทวดา ที่มีอายุยืนยาวกว่าเอ็งตั้งมากมายมาย ว่ากันทีหลายๆ อสงไขย เอ็งว่าบารมีที่ท่านเหล่านั้นบำเพ็ญกันมา จะมากมายกว่าของเอ็งสักเท่าไร แล้วมีกี่พระองค์ เอ็งรู้หรือไม่ ทำไมพระพุทธองค์ท่านจึงเขียนเรื่อง พุทธวงค์ และอนาคตในพุทธวงค์ ทั้งที่ไม่ใช่พระธรรมในหมวดที่ทำให้คนพ้นทุกข์ ทำไมพระองค์จึงให้มีเทวตานุสติ เบื้องหลังในเรื่องนี้ เอ็งเคยใช้ตาปัญญาเอ็งไปลองส่องดูหรือไม่ ถ้าเรื่องนี้ไม่มีความสำคัญ พระองค์จะบอกให้โลกรู้ทำไม นังหนู”[/FONT]
    [FONT=&quot] “จริงด้วย ทำไมหนูถึงมองข้ามเรื่องแบบนี้ไปได้นะ ถึงวัดแล้วจ๊ะตา เดี๋ยวหนูค่อยถามตาใหม่อักทีนะจ๊ะ หลังจากที่ถวายปิ่นโตให้หลวงพี่แล้วนะจ๊ะตา”[/FONT]
    [FONT=&quot] “เออ”[/FONT]
    [FONT=&quot] เมื่อสาวน้อยจอดรถเสร็จ จึงนำปิ่นโตขึ้นไปถวายพระหลวงพี่ตามปรกติดั่งที่เคยทำ พร้อมกับพูดคุยกันตามมารยาทเพียงเล็กน้อย พร้อมกันนั้นเธอก็หาโอกาสทำบุญใหญ่ให้ตัวเองได้ด้วย[/FONT]
    [FONT=&quot] “หลวงตายังไม่หายป่วยหรือเจ้าค่ะ ท่านต้องการไปหาหมอหรือไม่ เดี๋ยวหนูจะช่วยจัดการให้นะเจ้าคะ”[/FONT]
    [FONT=&quot] “เบาแล้วโยม ท่านแค่ต้องการพักผ่อน จึงไม่ได้ลงมาฉัน ไม่ต้องห่วงหลอกโยม”[/FONT]
    [FONT=&quot] “ถ้าเช่นนั้น หนูกราบลาหลวงพี่เลยนะเจ้าคะ หลวงพี่อยากได้อะไรเพิ่มเติมอีกหรือไม่ โยมขอปารวนาเป็นโยมอุปฐากของหลวงพี่ๆ จะได้บอกขอในสิ่งที่ต้องการ แบบไม่ผิดวินัยสงฆ์ในตอนนี้เลยนะเจ้าคะ จะขัดข้องสิ่งใดหรือไม่เจ้าคะ”[/FONT]
    [FONT=&quot] “หลวงพี่ขอรับโยมเป็นโยมอุปฐากละกัน แต่หลวงพี่ยังไม่ต้องการอะไรเพิ่มเติมหลอกนะโยม ตอนนี้โยมก็กลับไปก่อนตามที่ปรารถนาเถิดโยม”[/FONT]
    [FONT=&quot] “เจ้าค่ะ หลวงพี่ หนูกราบลาเลยนะเจ้าคะ”[/FONT]
    [FONT=&quot] “ไปดีมาดีจ้ะโยมอุปฐาก”[/FONT]
    [FONT=&quot] “อ่ะๆ ๆ ๆ เอ็งนี่ลาดดีนะ ข้าฯ อุตส่าห์ไม่บอก แต่เอ็งก็สามารถนึกออก เอาบุญจากการเป็นโยมอุปฐากพระระดับอริยะได้ ไม่เสียแรงที่ข้าฯ มาอยู่กับเอ็ง อ่ะๆ ๆ ๆ”[/FONT]
    [FONT=&quot] “แบบนี้ ตาต้องให้รางวัลหนูหน่อยนะจ๊ะ ช่วยเล่าเรื่องที่เราคุยกันค้างไว้ต่อ ให้หนูฟังนะจ๊ะตา ฮิๆ ๆ ๆ ว่าแต่วันนี้ เราจะไปทำอะไรกันที่ไหนหรือป่าวจ๊ะตา”[/FONT]
    [FONT=&quot] หลังจากกราบลาพระหลวงพี่ สาวน้อยก็พาตัวเองมานั่งในรถ แล้วขับออกจากวัด รอฟังเสียงคำสั่งจากชายชราต่อไป พร้อมกับถามเรื่องราวที่ตัวเองอยากรู้[/FONT]
    [FONT=&quot] “เดี๋ยวเอ็งก็กลับบ้านก่อนละกัน จะมีแขกมาหาเอ็งที่บ้านเอง แล้วข้าฯ ค่อยบอกว่าจะต้องทำอย่างไร เอ็งอย่าลืมแวะกินข้าวเช้าเอ็งข้างทางก่อนกลับถึงบ้านนะ นังหนู”[/FONT]
    [FONT=&quot] “จ้ะตา แล้วเรื่องเทพ เทวดาที่เราคุยกันค้างไว้ละจ๊ะตา ท่านมีอยู่จริง และมีความพิเศษกว่าที่คนทั่วๆ ไปจะคาดคิดถึงได้ ความพิเศษแบบนั้นของท่าน มันเป็นอย่างไรหรือจ๊ะตา”[/FONT]
    [FONT=&quot] “ความพิเศษของท่านมันยิ่งใหญ่มาก นังหนู เช่น ท่านได้คำว่าพระมาตั้งแต่วิญญาณกำเนิดเลยทีเดียวเชียวแหละ ในขณะที่วิญญาณเอ็งต้องปฏิบัติธรรมอย่างน้อยก็ต้องเป็นระดับโสดาปฏิผล จึงจะได้คำว่าพระมาประจิตวิญญาณเอ็ง ด้วยเพราะจิตท่านใหญ่ มีความจุในการสั่งสมบารมีมาก เมื่อบำเพ็ญบารมีจนสำเร็จ จะได้เป็นที่พึ่งให้วิญญาณดวงเล็กๆ แบบพวกเรา ท่านจึงได้ชื่อว่าพระโพธิสัตว์ นังหนู”[/FONT]
    [FONT=&quot] “หนูพอมองออกบ้างแล้วจ้ะตา แต่หนูอยากรู้เรื่องของท่านเทพผู้ยิ่งใหญ่องค์หนึ่ง ที่มีชื่อเสียงในด้านฤทธิ์เดชปาฏิหาริย์มากมาย ดังกึกก้องไปทั่วโลก ที่เค้าเรียกกันว่า พระศิวะหรือพระอิศวรจ้ะตา ความจริงมันเป็นอย่างไรกันแน่จ๊ะตา”[/FONT]
    [FONT=&quot] “ความจริงก็คือ พระองค์ท่านเป็นผู้ยิ่งใหญ่แบบที่เอ็งรู้มานั่นแหละ ชั้นของท่านอยู่ในระดับพระเจ้า จิตวิญญาณพระองค์ท่านเป็นระดับพระบรมโพธิสัตว์ มีอานุภาพ ฤทธิ์เดช ปาฏิหาริย์แบบหาประมาณมิได้ ชนิดไร้ผู้เทียมทาน หาวิญญาณในสามโลกจะมาต่อกรด้วยไม่มีเลย เพราะพระองค์ท่านบำเพ็ญบารมีมาแล้วมากมายมหาศาล ยาวนานถึงสิบหกอสงไขย รู้ธรรมแล้วทั้งหมดในแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ ตามอุปนิสัยสัตว์ที่พระพุทธองค์ท่านทรงตรัสไว้ และได้สำเร็จในทศพลญาณมาแล้วครบถ้วนบริบูรณ์ ยังเหลืออยู่แค่พุทธญาณเท่านั้น ที่พระองค์จะสำเร็จในตอนตรัสรู้ หลังจากพระศรีอริยะเมตรัยท่านทรงตรัสรู้ก่อนในโลกใบนี้ แล้วพอโลกนี้แตกสลายไป จิตวิญญาณทั้งหลายจะถูกเทพผู้ทรงฤทธิ์พาขนย้ายไปอยู่กันในโลกใบใหม่นะ นังหนู”[/FONT]
    [FONT=&quot] “แปลว่าพระองค์ท่านยิ่งใหญ่จริงๆ ขนาดตาเคยคุยว่ามีดาบอาญาสิทธิ์ มีฤทธิ์อยู่ในมือ ยังเกรงกลัวในบารมีพระองค์เลย ใช่ไหมจ๊ะตา”[/FONT]
    [FONT=&quot] “ก็แหงละ เอ็งคิดดู ข้าฯ สำเร็จมรรคผลนิพพาน มีความรู้เพียงหนึ่งในอุปนิสัยสรรพสัตว์ แต่พระองค์ท่านมีความรู้ในอุปนิสัยสัตว์ทั้งหมดที่มีแปดหมื่นสี่พันนิสัย ตำรงค์ตำเหน่งในโลกวิญญาณหลายตำเหน่ง เป็นผู้ดูแลจิตวิญญาณของมนุษย์ และสัตว์ทั้งหมดที่มีในสามโลกในเวลานี้ พระองค์สามารถติดต่อสื่อสารกับพระพุทธองค์ในแดนนิพพานได้แบบสนิทแนบกว่าเอ็ง กับข้าฯ หลายเท่าตัวแบบไม่เห็นฝุ่นเลย แล้วแบบนี้ ข้าฯ ควรจะให้ความเคารพยำเกรงในบารมีของพระองค์หรือไม่ แม้ข้าฯ จะรู้ว่าท่านมีเมตตามากมายมหาศาลต่อผู้ปฏิบัติธรรม ให้ความเคารพในผู้มีพระธรรมทุกระดับชั้น ข้าฯ ก็ห้ามใจไม่ให้เกรงในบารมีพระองค์ไม่ได้ นังหนู”[/FONT]
    [FONT=&quot] “หนูพอเข้าใจบ้างแล้วจ้ะตา เดี๋ยวหนูจอดรถกินข้าวเช้าก่อน ตากินกับหนู แล้วคุยกันไปนะจ๊ะตา”[/FONT]
    [FONT=&quot] “เออ”[/FONT]
    [FONT=&quot] สาวน้อยจอดรถแวะทานอาหารที่ร้านข้างทาง ระหว่างเดินทางกลับบ้าน เมื่อสั่งอาหารที่ต้องการเสร็จ จิตเธอก็กลับมาคุยกับชายชราต่อไป[/FONT]
    [FONT=&quot] “ตาจ๋า ในพระไตรปิฏกไม่มีพระศิวะหรือพระอิศวรนี่จ๊ะตา”[/FONT]
    [FONT=&quot] “ก็ข้าฯ บอกเอ็งแล้วนี่ พระองค์มีหลายตำเหน่ง ถ้าในอนาคตวงค์ พระองค์ชื่อรามะบรมโพธิสัตว์ แต่ในโลกวิญญาณเค้ารู้กันดีว่า พระองค์เป็นผู้ปกครองในสามโลก สวรรค์ มนุษย์ นรก แต่ละที่ก็ใช้ชื่อแตกต่างกันไปนะ นังหนู”[/FONT]
    [FONT=&quot] “แล้วพระศรีอริยะเมตรัยละจ๊ะตา พระองค์มีหลายตำเหน่งหรือไม่จ๊ะตา”[/FONT]
    [FONT=&quot] “ก็คล้ายๆ กันนั่นแหละ พระองค์คือพระนารายณ์ มีตำเหน่งเป็นประธานผู้ดูแลพระพุทธศาสนา นังหนู”[/FONT]
    [FONT=&quot] “แล้วพระองค์เก่งเหมือนพระอิศวรหรือไม่จ๊ะตา”[/FONT]
    [FONT=&quot] “เอ็งชักจะถามเรื่องของผู้ใหญ่มากไปรึป่าว นังหนู ข้าฯ จะบอกแนวคิดให้เอ็งอีกหน่อยละกัน เรื่องของตำเหน่งในโลกวิญญาณก็คล้ายๆ กับของโลกมนุษย์นี่แหละ ไล่ตั่งแต่พลทหาร นายสิบ นายร้อย นายพันยันถึงจอมพล แต่ทุกอย่างเป็นไปตามระบบระเบียบชัดเจน ไม่การใช้อิทธิพลใต้โต๊ะซื้อตำเหน่งกันเหมือนกับของโลกมนุษย์ ทุกอย่างขึ้นอยู่กับการบำเพ็ญบารมีกันมา สี่ แปด สิหกอสงไขย ไม่ต่างจากระบบอาวุโส ภันเตของพระนั่นแหละ พูดง่ายๆ ก็คือพระนารายณ์ท่านก็เคยดำรงค์ตำเหน่งของพระอิศวรมาแล้ว ที่นี้เอ็งคงจะเลิกสงสัยในความสามารถของพระองค์แล้วใช่ไหม นังหนู”[/FONT]
    [FONT=&quot] “แบบนี้ค่อยมองดูง่ายหน่อยจ้ะตา แปลว่าทุย่างเป็นระบบระเบียบดีชัดเจนในโลกของวิญญาณ แต่ในโลมมนุษย์ก็ว่ากันไปทั่ว ตามความเห็นของแต่ละดวงจิตที่มีความแตกต่างกันไป หนูเคยอ่านในพระไตรปิฏก แต่ละพระองค์ เคยทำบุญไว้กับพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาแล้วในระดับปรมัตถบารมี พระบรมโพธิสัตว์รามะ หรือพระอิศวร ท่านเคยใช้ตัวพระองค์เองแทนไส้ตะเกียง เทลาดตัวด้วยน้ำมัน แล้วจุดไฟที่คัวท่านฯ ถวายเป็นพุทธบูชา ดูแล้ว ท่าเคารพในพระพุทธองค์แบบมอบกายถวายชีวิตจิตวิญญาณได้เลย นะจ๊ะตา”[/FONT]
    [FONT=&quot] “แต่ละพระองค์ท่านทราบกันดี ต่างเคารพกันในระดับมอบการถวายชีวิตกันทั้งนั้น แม้จะมีบารมีที่บำเพ็ญมาสูงกว่ากันเพียงขั้นเดียวก็ตาม ทุกอย่างชัดเจน เมื่อถึงเวลาพระพุทธศาสนาอุบัติขึ้นในโลก ทุกๆ พระองค์ก็ต่างช่วยเหลือกิจพระศาสนากันทั้งนั้น บนสวรรค์บ้าง ลงมาเกิดบ้าง ในรูปแบบต่างๆ กันไป แต่มีเป้าหมายเดียวกัน คือเพื่อพระพุทธศาสนา นังหนู”[/FONT]
    [FONT=&quot] “หนูเข้าใจแล้วจ้ะตา หนูกินอิ่มพอดี เราจ่ายค่าอาหารแล้วกลับเข้าบ้านกันนะจ๊ะ ตา”[/FONT]
    [FONT=&quot] “เออ”[/FONT]
    [FONT=&quot] สาวน้อยทำตามที่พูด พร้อมกับหาอาหารติดตัวกับบ้านอีกเล็กน้อย ก่อนจะขึ้นรถขับออกไป[/FONT]
    [FONT=&quot] “แต่ละพระองค์มีระดับจิตใหญ่ๆ เกิดมานานเป็นอสงไขย หลายอสงไขย ท่านฯ ก็สามมารถติดต่อกับโลกอมตะของตาได้ซิจ๊ะตา”[/FONT]
    [FONT=&quot] “บารมีเล็กน้อยอย่างเอ็ง ยังติดต่อกับข้าฯ ได้ เอ็งก็คิดเอาเองละกัน ใหญ่ๆ ระดับนั้น ใครจะเป็นผู้เติมบารมีให้จิตท่านฯ เต็มได้ แต่ที่ข้าฯ รู้ เรื่องทุกอย่างมันขึ้นอยู่กับพระพุทธองค์ท่าน ส่วนรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ควรจะเป็นอย่างไร ข้าฯ ไม่กล้ายุ่งเรื่องของผู้ใหญ่ท่านฯ เอ็งก็มองดูความสำพันธุ์ระหว่างเอ็งกับข้าฯ เอาไว้เป็นตัวอย่างเอาเองละกัน ข้าฯ ไม่อยากคุยเรื่องนี้แล้ว นังหนู”[/FONT]
    [FONT=&quot] “จ้ะตา ใกล้ถึงบ้านเราแล้ว วันนี้จะมีเรื่องอะไรเข้ามาบ้างจ๊ะตา”[/FONT]
    [FONT=&quot] “วันนี้ จะมีลูกชายในอดีตของเอ็งแวะมาหาเอ็ง แต่ขอบอกเอ็งก่อนนะว่า ท่านฯ ไม่ธรรมดานะ นังหนู ท่านสำเร็จมรรคผล นิพพานไปนานแล้ว ในสมัยที่วิญญาณเอ็งเกิดได้สักสองสามแสนกับป์ นังหนู”[/FONT]
    [FONT=&quot] “วาว....อัศจรรย์พันลึกจริงๆ จ้ะตา มันเหลือเชื่อมากเลยนะจ๊ะตา ถึงบ้านเราแล้วจ้ะ เข้าบ้านแล้วตาคุยให้หนูฟังหน่อยนะจ๊ะ ว่ามันมีความนัยเป็นมาอย่างไรในเรื่องนี้ นะจ๊ะตา

    สรุป นิยายเรื่องนี้ สอนให้รู้ว่า จะเอาอะไรกับนิยาย สิ่งที่สำคัญกว่าคือพาตนเองให้พ้นเวรภัยในวัฏฏะสงสารนี้ และระวัง กาย วาจา ใจ ตนจะไปสร้างกรรมแบบบาปบริสุทธิ์ ตราบใดบาปยังไม่มาถึงตน ก็อย่าประมาทคิดว่าผลของบาปไม่มีจริง
    [/FONT]
     
  19. รากแห่งธรรม

    รากแห่งธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    667
    ค่าพลัง:
    +3,173
    เรียนตอบพี่แก๊สครับ พระโพธิสัตว์ไม่สามรถบรรลุธรรมได้ครับ แต่การยกระดับจิตใจของท่านยังคงมี ท่านบำเพ็ญทั้งสมถะและวิปัสนาเมื่อถึงจุดๆหนึ่งที่เราเรียกกันว่า "โคตรภูญาณ" จิตใจของท่านก็จะกำกึ่ง ในโลกีย์และโลกุตร ส่วนมากเมื่อมาถึงขั้นนี้แล้วพระโพธิสัตว์ที่มีบารมีมากๆก็ทรงอารมณ์อยู่ที่ตรงนี้ตลอดในชีวิตของท่านที่ทรงธาตุขันธ์อยู่ แต่ถ้าหากมาถึงขั้นนี้แล้วท่านมีความท้อใจจะบำเพ็ญบารมีต่อท่านก็จะลาพุทธภูมิ เหมือนกับการก้าวเท้าข้ามรั้วคือถอนอธิฐานปุ๊บก็เป็นพระอริยเจ้าทรงคุณวิเศษในทันที
    ส่วนที่ว่าเรื่องการแบ่งภาคลงมานั้นเป็นอย่างนี้ครับ ส่วนมากพระโพธิสัตวิเมื่อละสังขารแล้วมักไม่ยอมเสวยความสุขบนโลกทิพย์ท่านจะลงมาทำงานเพื่อมวลสรรพสัตว์เลย ซึ่งตรงนี้เป็นลักษณะพิเศษของพวกโพธิสัตว์ แต่การลงมาในบางครั้งก็ไม่ได้ทำอะไรใหญ่โตมากมาย บางครั้งก็สะเทือนฟ้าดิน เมื่อมีคนที่มีความสามรถพิเศษประเทศ หูทิพย์ ตาทิพย์ ใจทิพย์เหล่านี้ขึ้นไป ในสวรรค์หรือพรหมโลกก็ตามด้วยความปราถนาจะเจอรูปลักษณะเก่าของพระโพธิสัตว์ที่ลงมาเกิดในชาตินี้ ก็จะเจอว่าท่านทำหน้าที่ตรงนั้นตรงนี้ แต่แท้ที่จริงแล้วรูปลักษณ์นั้นเป็นสิ้งที่เกิดมาบารมีท่านที่ยังคงลงเหลืออยู่ทำหน้าที่แทน อย่างเช่นสมัยหลวงปู่ดู่ ดำรงธาตุขันธ์เวลาลูกศิษย์หลวงปู่วัดท่าซุงขึ้นไปหาหลวงปู่ทวดก็จะเจอหลวงปู่ทวด หาพระศรีฯก็เจอพระศรี นี่ล้วนเป็นพุทธนิมตร ธรรมนิมิตร สังฆนิมิตรอันเกิดจากบุญบารมีของพระโพธิสัตว์โดยแท้ แต่เมื่อลงมาหลวงปุ่ดู่ ท่านก็ยังครงเป็นหลวงปู่ดู่ นั่นเอง และสังเกตุได้อย่างหนึ่งหลวงปู่ฤๅษีลิงดำ(พระราชพรหมญาณ)กล่าวยืนยันเรื่องพระศรีอาริยฯประดับบนชั้นดุสิต ก็ต่อเมื่อหลังหลวงปู่ดูละสังขารไปแล้วก่อนหน้านั้นท่านไม่พูดถึงเลย
     
  20. Sriaraya5

    Sriaraya5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    3,079
    ค่าพลัง:
    +12,852
    จริงอยู่ท่านพระโพธิสัตย์รู้เรื่องพระนิพพาน
    แต่การรู้ของท่านเหล่านี้ ก็เป็นเพียงสัญญาจำได้หมายรู้
    ไม่ได้รู้เพราะถึงกระแสพระนิพพาน และ ได้พระนิพพานจริงๆ
    เรียกง่ายๆว่าท่านเหล่านี้ยังไม่รู้ถานะที่แท้จริงของความบรรลุพุทธะภาวะที่บริสุทธิ์เท่านั้นเอง หากจะมีกำลังใจแบบพระอนาคามีก็ไม่ได้ ได้หมายความว่าบรรดาเหล่าท่านพระโพธิสัตย์เป็นพระอนาคามีจริงๆ เพราะอะไรท่านรู้ไหมเพระท่านยังข้ามโครตของภูมิปุถุชนยังไม่ได้ ฉะนั้นที่กล่าวว่า พระโพธิสัตว์ก็รู้ถึงพระนิพพานได้เช่นกันแต่ท่านไม่เอา เพราะท่านยังติดตัวรู้ผู้รู้และความปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคตให้จงได้ น้องแก๊สน่าจะเข้าใจผิด ไม่ได้เป็นคำพูดของหลวงตามหาบัวแต่เป็นของอ.เสถียร โพธินันทะ
    ข้าพเจ้าขอรับผิดชอบที่มีส่วนทำให้ญาติธรรมเข้าใจคลาดเคลื่อนไป(ต้องขอโทษน้องแก๊สด้วยครับ)

    [​IMG]
    .เสถียร โพธินันทะ
    เมื่อพระอรหันต์ พระโพธิสัตว์ และ พระมหาโพธิสัตว์ลงมายังโลกมนุษย์ก็จะมีลักษณะต่าง กันด้วยเช่น พระโพธิสัตว์จะไม่ยอมเป็นลูกน้องหรือเป็นรองใคร แต่พระมหาโพธิสัตว์จะยอมเป็นลูกน้องผู้อื่น, เป็นรองผู้อื่น เพียงเพื่อให้มวลสัตว์ได้สิ่งที่ดีกว่าก็พอดังนั้น จึงจะ ต้องมีกระบวนการบำเพ็ญบารมีหลายชาติที่จะ “ดัดนิสัย” พระโพธิสัตว์ให้ยอมจำนนและยอมเป็นรองคนอื่นให้ได้ ถ้าไม่ยอมเลยจะต้องตรัสรู้เป็น “พระปัจเจกพุทธเจ้า” ไป เพราะจะไม่มีใครอยากช่วยเหลือ ก็จะไม่อาจเผยแพร่ธรรมสร้างพระพุทธศาสนาได้ เพราะมีทิฐิที่อยากเป็นหนึ่งอยู่คนเดียว คนอื่นๆ ที่เก่งๆ ก็ไม่มีใครอยากช่วยงานในที่สุด ดังนั้น เห็นได้ว่าพระพุทธเจ้าจะไม่ทรงยกตนว่าเป็นเลิศในด้านใดเลย ตรงกันข้ามกลับทรงยกผู้อื่นให้เป็นเลิศกว่าตนในด้านต่างๆ อยู่เสมอ ทำให้มี “เอตทัคคะ” ในพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นมากมายด้วยเหตุนี้ นี่คือ “พุทธวิสัย” ที่มีแต่ในพระพุทธเจ้า จะไม่มีในผู้ไม่สำเร็จอย่างนี้ อนึ่ง ในหลายชาติที่พระโพธิสัตว์ถูกดัดนิสัยนั้น จะต้องเกิดมาพ่ายแพ้หรือสิ้นหวังหรือไม่สมความปรารถนาหลายต่อหลายชาติมากจนกว่าจะยอมจำนนเป็น, แพ้เป็น, เป็นที่สอง, เป็นรองผู้อื่นเป็น ฯลฯ ซึ่งจะส่งผลให้ชาติสุดท้ายที่จะได้ตรัสรู้นั้น จะยอมก้มหัวไปรับคำสอนจากผู้อื่นก่อน ก็จะไม่เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าแต่จะสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าได้ในที่สุด อนึ่ง แม้ท่านจะยอมเป็นผู้แพ้, ยอมไม่สมหวัง, แต่จะไม่ยอมละทิ้งความปรารถนาฯ -จบ-
    ที่มา:ใครติดขัดสมาธิอะไรก็เข้ามา
     

แชร์หน้านี้

Loading...