พระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท) สอนว่า...

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย NUI, 15 มีนาคม 2007.

  1. NUI

    NUI เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    389
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +983
    [​IMG]

    พระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท) สอนว่า...

    รู้ปฏิบัติที่จิตดีกว่ารู้แต่ตำรา

    เรื่องสมถะหรือวิปัสสนานี้ ให้ทำให้เกิดในจิต ให้เกิดในจิตจริงๆจึงจะรู้จัก ถ้าไปเรียนตามตำราว่าเจตสิกเป็นอย่างนั้นๆ จิตเป็นอย่างนั้นก็เรียนได้ แต่ว่าใช้ระงับความโลภ ความโกรธ ความหลงของเราไม่ได้ เพราะเรียนไปตามอาการของความโลภ ความโกรธ ความหลง

    ความโลภมีอาการอย่างนั้นๆ ความโกรธมีอาการอย่างนั้นๆ ความหลงมีอาการอย่างนั้นๆ ไปเล่าอาการของมันเท่านั้น ก็รู้ไปตามอาการ พูดไปตามอาการ รู้อยู่ ฉลาดอยู่ แต่ว่าเมื่อมันเกิดกับใจเรา จะเป็นไปตามอาการหรือไม่ เมื่อถูกอารมณ์ที่ไม่ชอบใจมากระทบ มันก็เกิดเป็นอาการขึ้นกับใจเรา เราติดมันไหม เราวางมันได้ไหม เมื่ออาการที่ไม่ชอบใจนั้นเกิดขึ้นมา เรารู้แล้ว ผู้รู้เอาความไม่ชอบใจไว้ในใจหรือเปล่า หรือว่าเห็นแล้ววาง

    ถ้าเห็นสิ่งที่ไม่ชอบแล้วยังเอาไว้ในใจของเรา ให้เรียนใหม่ เพราะยังผิดอยู่ ยังไม่ยิ่งถ้ามันยิ่งแล้วมันวางให้ดูอย่างนี้ ดูจิตของเราจริงๆมันจึงจะเป็นปัจจัตตัง ถ้าจะพูดไปตามอาการของจิต อาการของเจตสิกว่ามีเท่านั้นดวงเท่านี้ดวง อาตมาว่ายังน้อยเกินไปมันยังมีมาก ถ้าเราจะไปเรียนสิ่งเหล่านี้ให้รู้แจ้งแทงตลอดนั้น ไม่แจ้งมันจะหมดอย่างไร มันไม่หมดหรอกหมดไม่เป็น

    ฉะนั้นเรื่องการปฏิบัตินี้จึงสำคัญมาก อาตมาไม่รู้ว่าจิตเจตสิกอะไรหรอก ดูผู้รู้นี้แหละถ้ามันคิดชัง ทำไมจึงชัง ถ้ามันคิดรักทำไมจึงรัก อย่างนี้แหละจะเป็นจิตหรือเจตสิกก็ไม่รู้ จี้เข้าตรงนี้จึงแก้เรื่องที่มันรักหรือชังนั้นให้หายออกจากใจได้ จะเป็นอะไรก็ตามถ้าทำให้จิตอาตมาหยุดรักหยุดชังได้ จิตอาตมาก็พ้นทุกข์แล้ว จะเป็นอะไรก็ช่างมันสบายแล้วไม่มีอะไรมันก็หยุด เกิดก็เกิดออกจากนี่ดับก็ดับออกจากนี่มันจะไปไหน ท่านจึงให้นามว่าผู้รู้ อาการที่ผู้รู้ รู้ตามความเป็นจริง ถ้ารู้ตามความเป็นจริงแล้ว มันก็รู้จิตรู้เจตสิกนี่แหละ


    ปัญญามาก่อนศีล, สมาธิ

    การรักษาศีล ปัญญาต้องมาก่อน แต่เราพูดว่ารักษาศีลก่อน ศีลจะสมบูรณ์อย่างไรนั้นจะต้องมีปัญญา ต้องค้นคิดกายของเรา วาจาของเรา พิจารณาหาเหตุผล นี่ตัวปัญญาทั้งนั้น ก่อนที่จะตั้งศีลขึ้นได้ต้องอาศัยปัญญา

    เมื่อพูดตามปริยัติก็ว่า ศีล สมาธิ ปัญญา อาตมาพิจารณาแล้วการปฏิบัตินี้ ต้องปัญญามาก่อน มารู้เรื่องกาย วาจา ว่าโทษของมันเกิดขึ้นมาอย่างไร “ ปัญญานี้ต้องหาเหตุผลควบคุม กาย วาจาจึงจะบริสุทธิ์ได้ ถ้ารู้จักอาการของกาย วาจาที่สุจริต ทุจริตแล้วก็เห็นที่ปฏิบัติ ถ้าเห็นที่ปฏิบัติแล้วก็ละสิ่งที่ชั่วประพฤติสิ่งที่ดีละสิ่งที่ผิด ประพฤติสิ่งที่ถูกเป็นศีล ถ้ามันละสิ่งที่ผิดให้ถูกเป็นศีล เมื่อละสิ่งที่ผิดให้ถูกแล้วใจก็แน่วแน่

    อาการที่ใจแน่วแน่มันคงมิได้ลังเลสงสัยในกาย วาจา ของเรานี้ก็เป็นสมาธิความตั้งใจมั่นแล้ว เมื่อตั้งใจมั่นแล้ว รูปเกิดขึ้นมา เสียงเกิดขึ้นมา พิจารณามันแล้วนี่เป็นกำลังตอนที่สอง เมื่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ หรือรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เกิดขึ้นมาบ่อยๆ พิจารณาบ่อยๆ ด้วยอาการที่เราตั้งใจ มิได้เผลอจึงรู้อาการของสิ่งเหล่านี้ มันเกิดตามความเป็นจริงของมัน เมื่อรู้ไปเรื่อยๆก็เกิดปัญญา เมื่อรู้ตามเป็นจริงตามสภาวะของมัน สัญญาจะหลุด เลยกลายเป็นตัวปัญญา จึงเป็นศีล สมาธิ ปัญญา คงรวมเป็นอันเดียวกัน

    ถ้าปัญญากล้าขึ้นก็อบรมสมาธิให้มั่นขึ้นไป เมื่อสมาธิมั่นขึ้นไปศีลก็มั่นสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เมื่อศีลสมบูรณ์ขึ้นสมาธิก็กล้าขึ้นอีก เมื่อสมาธิกล้าขึ้น ปัญญาก็กล้ายิ่งขึ้น สามอย่างนี้เป็นไวพจน์ซึ่งกันและกัน สมกับพระศาสดาตรัสว่ามรรคเป็นหนทาง เมื่อสามอย่างนี้กล้าขึ้นมาเป็นมรรค ศีลก็ยิ่ง สมาธิก็ยิ่ง ปัญญาก็ยิ่ง มรรคนี้จะฆ่ากิเลส โลภเกิดขึ้น โกรธเกิดขึ้น หลงเกิดขึ้น มีมรรคเท่านั้นจะเป็นผู้ฆ่าได้


    มรรคกับศีล , สมาธิ , ปัญญา

    ข้อปฏิบัติอริยสัจ คือ ที่ท่านว่าทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค นั้นคือศีล สมาธิ ปัญญา คือข้อปฏิบัติอยู่ในใจ คำว่าศีล สมาธิ ปัญญา ที่เป็นอยู่นี้มันอยู่ที่จิต ทั้งศีล สมาธิ ปัญญาเป็นอยู่อย่างนั้น มันหมุนอยู่ตลอดกาลตลอดเวลา อาศัย รูป กลิ่น เสียง รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ อะไรเกิดขึ้นมามรรคนี้จะครอบงำอยู่เสมอ ถ้ามรรคไม่กล้า กิเลสก็ครอบได้ ถ้ามรรคกล้ามรรคก็ฆ่ากิเลส ถ้ากิเลสกล้า มรรคอ่อน กิเลสก็ฆ่ามรรคฆ่าใจเรานี่เอง

    ถ้ารูป เวทนา สัญญา สังขาร เกิดขึ้นมาในใจเราไม่รู้เท่าทันมัน มันก็ฆ่าเรา มรรคกับกิเลสเดินเคียงกันไปอย่างนี้ ผู้ปฏิบัติคือใจ จำเป็นต้องเคียงกันไปอย่างนี้ตลอดทาง คล้ายมีคนสองคนเถียงกัน แท้จริงเป็นมรรคกับกิเลสเท่านั้นเอง ที่เถียงกันอยู่ในใจของเรา มรรคมาคุมให้เราพิจารณากล้าขึ้น เมื่อพิจารณาได้กิเลสก็แพ้เรา เมื่อกิเลสกล้าแข็งมาอีก ถ้าเราอ่อนมรรคก็จะหายไป กิเลสเกิดขึ้นแทน ย่อมต่อสู้กันอยู่อย่างนี้จนกว่าจะมีฝ่ายชนะจึงจะจบเรื่องได้ ถ้าพยายามตรงมรรคมันก็ฆ่ากิเลสอยู่เรื่อยไป


    มรรคเป็นเหตุ

    ศีลก็ดี สมาธิก็ดี ปัญญาก็ดี สิ่งทั้งสามประการนี้ท่านเรียกว่ามรรค อันมรรคนี้ยังมิใช่ศาสนา อีกซ้ำยังมิใช่สิ่งที่ศาสดาต้องการอย่างแท้จริงเลย แต่ก็เป็นหนทางที่จะดำเนินเข้าไป เหมือนกับที่ท่านมาจากกรุงเทพฯจะมาวัดหนองป่าพง ท่านคงไม่ต้องการหนทาง ต้องการถึงวัดต่างหาก แต่หนทางเป็นสิ่งจำเป็นแก่ท่านที่จะต้องมา ฉะนั้นถนนที่ท่านมานั้นมันไม่ใช่วัด มันเป็นเพียงถนนที่จะมาวัดเท่านั้นเอง แต่จำเป็นต้องมาทางถนนจึงจะมาวัดได้ หรือเปรียบเหมือนเราจำเป็นต้องใช้เรือข้ามฟากฝั่งตรงข้าม เมื่อพายเรือข้ามขึ้นฝั่งได้แล้ว เรือนั้นก็ไม่มีค่าอะไรจะต้องใช้แล้ว
    ศีลก็ดี สมาธิก็ดี ปัญญาก็ดี เป็นถนนหนทางที่จะเข้าไปถึงศาสนา เมื่อทำศีลให้ยิ่ง สมาธิให้ยิ่ง ปัญญาให้ยิ่งแล้ว ผลคือความสงบเกิดขึ้นมา สงบจากกิเลส และ ละกิเลสได้

    หลักของพระพุทธศาสนาจึงมิได้มีฤทธิ์อะไร ไม่มีปาฏิหาริย์อย่างอื่นทั้งหลายทั้งปวง สิ่งเหล่านี้พระศาสดามิได้กล่าวสรรเสริญ แต่มันทำได้เป็นได้ สิ่งเหล่านี้เป็นโมหธรรม พระศาสดาไม่สรรเสริญ ท่านสรรเสริญผู้ที่ทำให้พ้นจากทุกข์ได้เท่านั้น ซึ่งต้องอาศัยการปฏิบัติ อุปกรณ์เครื่องปฏิบัตินั้นได้แก่ ทาน ศีล สมาธิ ปัญญา จะต้องฝึกหัดอย่างนี้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. NUI

    NUI เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    389
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +983
    ปัญญามาก่อนศีล,สมาธิ
    ปัญญาที่ท่านกล่าวไว้ดีแล้วนี้คือปัญญาเบื้องต้น "จินตมยปัญญา" เป็นปัญญาที่คิดพิจารณาเอาเองได้ เป็นปัญญาขั้นพื้นฐาน ไม่ใช่ปัญญาขั้นสูงสุดในพระพุทธศาสนา ส่วน"ภาวนามยปัญญา"เป็นปัญญาขั้นสูงสุด ที่เกิดจากการภาวนาหรือปัญญาในสมาธิ เป็นญาณทัศนะ เป็นขั้นสูง มีศีล สมาธิ และปัญญา(ขั้นสูง)ตามมา
     
  3. ธรรมวิวัฒน์

    ธรรมวิวัฒน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    26,444
    กระทู้เรื่องเด่น:
    82
    ค่าพลัง:
    +115,509
    มันต้องเริ่มมาจาก" สุตมยปัญญา" คือ ปัญญาเกิดจาการฟัง เช่นที่ พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนธรรมะอันเป็นเครื่องพ้นทุกข์ต่างๆ แล้วจึงเกิด
    "จิตตมยปัญญา" เป็นปัญญาที่คิดพิจารณาเอาเองได้ เป็นปัญญาขั้นพื้นฐาน ของพระพุทธศาสนา
    จากนั้นจึงเกิด"ภาวนามยปัญญา"เป็นปัญญาขั้นสูงสุด ที่เกิดจากการภาวนาหรือปัญญาในสมาธิ เป็นญาณทัศนะ เป็นขั้นสูง มีศีล สมาธิ และปัญญา(ขั้นสูง)ตามมาครับ<!-- / message -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มีนาคม 2007

แชร์หน้านี้

Loading...