พระอาจารย์ชีวกโกมาภัต

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 18 กุมภาพันธ์ 2006.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,173
    ชีวกคือหมอใหญ่ผู้เชี่ยวชาญในการรักษาและมีชื่อเสียงมากในครั้งพุทธกาล เป็นแพทย์ประจำพระองค์ของพระเจ้าพิมพิสาร และพระเจ้าพิมพิสาร ได้ถวายให้เป็นแพทย์ประจำพระองค์ของพระพุทธเจ้าด้วย, เรียกชื่อเต็มว่า ชีวกโกมารภัจจ์
    กำเนิดชีวกโกมารภัจจ์
    ก็สมัยนั้น ในพระนครราชคฤห์ มีกุมารีชื่อสาลวดีเป็นสตรีทรงโฉมสคราญตาน่าเสน่หา ประกอบด้วยผิวพรรณเฉิดฉายยิ่ง จึงพวกคนมีทรัพย์ชาวพระนครราชคฤห์ ได้คัดเลือกกุมารีสาลวดี เป็นหญิงงามเมือง
    ครั้นนางกุมารีสาลวดี(สาสวดี)ได้รับเลือกเป็นหญิงงามเมืองแล้ว ไม่ช้านานเท่าไรนัก ก็ได้เป็นผู้ชำนาญในการฟ้อนรำ ขับร้องบรรเลงเครื่องดนตรี มีคนที่มีความประสงค์ต้องการตัวไปร่วมอภิรมย์ ราคาตัวคืนละ ๑๐๐ กษาปณ์
    ครั้นมิช้ามินาน นางสาลวดีหญิงงามเมืองก็ตั้งครรภ์.
    นางมีความคิดเห็นว่า ธรรมดาสตรีมีครรภ์ไม่เป็นที่พอใจของพวกบุรุษ ถ้าใครๆ ทราบว่า เรามีครรภ์ ลาภผลของเราจักเสื่อมหมด ถ้ากระไร เราควรแจ้งให้เขาทราบว่าเป็นไข้ ต่อมานางได้สั่งคนเฝ้าประตูไว้ว่า
     
  2. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,173
    ประวัติและเรื่องที่เกี่ยวกับท่านโดย อง สรภาณมธุรส (บ๋าวเอิง)

    บันทึกปฐมเหตุที่ได้พบและการปั้นหล่อรูป

    บรมคุรุแพทย์ ชีวกโกมารภัต
    เมื่อวันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๗ ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๔ ปีมะเมีย อาตมาภาพขณะนั้นมีสมณศักดิ์เป็นที่ อง พจนสุนทร (ต่อมาได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นที่ อง สุตบทบวร และบัดนี้เป็นที่ อง สรภาณมธุรส) ได้กระทำพิธีเชิญวิญญาณคุณพูนเพ็ญ จำรูญจันทร์ ภรรยา ร.ต.อ. ทวี จำรูญจันทร์ (ขณะนี้มียศเป็น พ.ต.ต) ซึ่งได้ถึงแก่กรรมไปนานแล้ว มาประทับร่างทรงบนกุฎีของอาตมา ต่อหน้าสานุศิษย์ ๒ - ๓.คน.
    เมื่อครั้งคุณพูนเพ็ญยังมีชีวิตอยู่ได้ถวายตัวเป็นศิษย์ของอาตมาภาพ และเป็นพุทธมามกะที่ดีในพระบวรพุทธศาสนา อาตมาภาพได้รับไว้ด้วยความเต็มใจ เพื่อสนองความตั้งใจของคุณพูนเพ็ญ จากนั้นไม่นาน คุณพูนเพ็ญได้ถึงแก่กรรม หลังจากได้ฌาปนกิจศพแล้ว ร.ต.อ. ทวี จำรูญจันทร์ได้นำกระดูกของภรรยามาบรรจุไว้ในเจดีย์เล็ก ซึ่งทำไว้ที่ชานชั้นบน.กุฎีของอาตมาภาพ ตามความประสงค์ของคุณพูนเพ็ญ ซึ่งได้สั่งไว้ก่อนที่จะถึงแก่กรรม แต่นั้นมาวิญญาณคุณพูนเพ็ญก็ได้วนเวียนอยู่ใกล้กับอาตมาภาพตลอดมา
    วิญญาณคุณพูนเพ็ญมาประทับทรงในร่างของ ร.ต.อ ทวี จำรูญจันทร์ เมื่อเวลา ๒๑.๓๐ น ได้กล่าวกับอาตมาภาพตอนหนึ่งว่า
     
  3. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,173
    ชีวประวัติบรมคุรุแพทย์ ชีวกโกมารภัต

    รวบรวมและแปลจากพระไตรปิฎก
    โดย พระอริยเมธี ป. ๙
    เรียบเรียงโดย เปมังกโรภิกขุ
    [​IMG]
    คำชี้แจง
    ของผู้รวบรวมและแปลจากพระไตรปิฎก
    ข้าพเจ้าได้รวบรวมและแปลเรื่องชีวประวัติของหมอชีวกโกมารภัต จากหนังสือคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาเท่าที่จะค้นหาได้ คือ บาลีพระไตรปิฎกและอรรถกถา ตามคำขอร้องของท่าน อง สรภาณมธุรส (บ๋าวเอิง) เจ้าอาวาสวัดสมณานัมบริหาร (วัดญวน สะพานขาว ) เนื่องจากในวันหนึ่ง คุณพิศิษฐ์ พรหมอักษร ได้พาท่านไปพบข้าพเจ้าที่วัดสัมพันธวงศ์ (วัดเกาะ) ท่านได้ปรารภถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ เท่าที่ท่านได้ผ่านพบมาและปรารถนาจะจัดพิมพ์หนังสือชีวประวัติของหมอชีวกโกมารภัตขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง ให้ได้เรื่องราวของท่านโดยละเอียดเท่าที่จะค้นหาและรวบรวมมาได้ ข้าพเจ้ามีความยินดีและเต็มใจให้ความร่วมมือกับท่าน อง สรภาณมธุรส รวบรวมและแปลเรื่องชีวประวัติของหมอชีวกโกมารภัต เท่าที่ความรู้ความสามารถจะพึงอำนวยให้
    ท่านชีวกโกมารภัตผู้นี้ เท่าที่ข้าพเจ้าได้พบชีวประวัติมา เป็นเรื่องที่น่ารู้ น่าศึกษา และมีความสำคัญเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ไม่ด้อยไปกว่าท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี และ นางวิสาขามหาอุบาสิกา ในสมัยพุทธกาล
    ธรรมดาของการแปลภาษาหนึ่งสู่อีกภาษาหนึ่งย่อมจะมีภาษาเดิมติดเป็นศัพท์แสงอยู่ด้วย เป็นสำนวนขัดหูของผู้ไม่เคยชิน ทั้งยากลำบากแก่การตีความหมาย ครั้นจะตัดทิ้งเสียเลยก็ไม่เหมาะสม เพราะภาษาเดิมกินความหมายกว้าง ภาษาที่รับถ่ายทอดมานั้นอาจกินความไม่กว้างเท่าภาษาเดิมก็ได้ จึงควรรักษาของเดิมไว้บ้างบางสำนวน ทั้งข้าพเจ้าเองก็ไม่มีเวลาที่จะเรียบเรียงและประพันธ์ขึ้นใหม่ให้เป็นสำนวนไพเราะเพราะพริ้งน่าอ่านทันสมัย เนื่องจากข้าพเจ้าต้องแบกภาระหนักทางสภาการศึกษา ฯ และกองตำรา คือ ต้องบันทึกการสอนพระสูตรและพระอภิธรรมที่สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพุทธศาสนาในประเทศไทย และชำระพระไตรปิฎก ฉบับบาลีที่จะต้องพิมพ์ใหม่ซึ่งขาดคราวไป ด้วยเหตุนี้ คุณพิศิษฐ์จึงได้นำเรื่องนี้ไปให้ท่านเปมังกโรภิกขุ จัดการเรียบเรียงและประพันธ์ ดังสำนวนที่ปรากฏในหนังสือซึ่งอยู่ในมือของท่านนี้
    อนึ่ง เป็นที่น่าเสียดายที่ชีวประวัติของท่านชีวกโกมารภัตในบั้นปลายสุดท้ายแห่งชีวิต ไม่ปรากฏว่าได้ดำเนินไปอย่างไรบ้าง ท่านได้ถึงมรณกรรมก่อนหรือหลังพุทธปรินิพพานไม่ปรากฏชัด เพราะว่าในปัจฉิมโพธิกาลใกล้กับเวลาที่พระพุทธองค์จะเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน และหลังจากพุทธปรินิพพานแล้วไม่มีท่านผู้ใด หรือหนังสือเรื่องใดได้กล่าวถึงชีวประวัติตอนนี้ของท่านไว้เลย หรืออาจเป็นเพราะข้าพเจ้าดูหนังสือไม่ทั่วถึงก็อาจเป็นได้ ถ้าผู้ใดได้พบ น่าจะเขียนเล่าสู่กันฟังบ้าง จะเป็นประโยชน์ทางด้านประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา และศีลธรรม จรรยาทางแพทย์ ตลอดถึงวัฒนธรรมทางด้านอื่น ๆ อีกมาก
    พระอริยเมธี
    วัดสัมพันธวงศ์ พระนคร
    ๒๖ มกราคม ๒๕๐๒.
     
  4. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,173
    ชีวประวัติบรมคุรุแพทย์ ชีวกโกมารภัต ๑

    รวบรวมและแปลจากพระไตรปิฎก โดย พระอริยเมธี ป. ๙
    เรียบเรียงโดย เปมังกโรภิกขุ
    [​IMG]
    ปฐมภาคส่วนเบื้องต้น

    ครั้งสมัยดึกดำบรรพ์ ชมพูทวีปเป็นพื้นภูมิภาคที่เกิดอาศัยของคนหมู่มาก มีหลายพวกหลายภาษา แต่เมื่อย่อลงอาจแบ่งได้เป็นสองเหล่า คือ ชนชาติที่ได้ชื่อว่า
     
  5. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,173
    บันทึกประวัติชีวิตตอนบั้นปลาย ของบรมคุรุแพทย์ ชีวกโกมารภัต
    โดย อง สรภาณมธุรส
    เจ้าอาวาส วัดสมณานัมบริหาร
    ๑๔ ธันวาคม ๒๕๐๑
    [​IMG]
    โดยเหตุที่เรื่องราวของบรมคุรุแพทย์ ชีวกโกมารภัต เท่าที่ได้ปรากฏอยู่ตามพระสูตรต่าง ๆ ในคัมภีร์พระไตรปิฎกของพระพุทธศาสนา ซึ่งท่านเจ้าคุณอริยเมธีได้รวบรวมค้นคว้า และท่านมหาเปรม เปมังกโรภิกขุ ได้เรียบเรียง ผู้ที่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้ได้ผ่านมาแล้ว ไม่มีตอนใดปรากฏประวัติชีวิตบั้นปลายของท่าน ว่าหลังจากพระพุทธองค์ใดทรงพระประชวร เสด็จสู่พระปรินิพพาน และหลังจากถวายพระเพลิงแล้วท่านได้ไปอยู่ที่ใด ? ทำอะไรบ้าง ? และได้สิ้นอายุขัยไปเมื่อใด ?
    ถ้าหากจะปล่อยให้เรื่องนี้ขาดตอนหายไปเฉย ๆ จะทำให้เรื่องนี้ขาดความสมบูรณ์ไป
    เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๑ เวลา ๑๙.๓๐ น. อาตมาภาพจึงได้ทำพิธีอัญเชิญพระวิญญาณของบรมคุรุแพทย์ ชีวกโกมารภัต เข้าประทับร่างทรง พ.ต.ต. ทวี จำรูญจันทร์ ซึ่งท่านผู้อ่านได้รู้เรื่องดีแล้วจากบันทึกปฐมเหตุที่อาตมาภาพได้พบกับท่านได้ปั้นพระรูปของท่าน และทำการหล่อจนเป็นผลสำเร็จ เพื่อขอทราบชีวิตประวัติบั้นปลายของท่าน นำมาพิมพ์รวมกับเรื่องนี้ให้สมบูรณ์ การขอทราบชีวิตบั้นปลายของบรมคุรุแพทย์ ชีวกโกมารภัต ได้บันทึกเสียงไว้เห็นหลักฐาน อาตมาภาพได้จัดการถอดเรื่องราวจากเสียงที่บันทึกไว้ เป็นลายลักษณ์อักษรด้วยข้อความ ซึ่งเป็นคำพูดของท่านเองทั้งสิ้น มิได้แต่งเติม หากได้ตัดข้อความบางตอน ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับประวัติชีวิตของท่านเท่านั้น ( ผู้ใดสนใจต้องการฟัง จะฟังได้ในคราวเทศกาลที่วัดมีงาน )
    เมื่อพระวิญญาณบรมคุรุแพทย์ ชีวกโกมารภัต ได้เข้าประทับร่างทรงแล้วอาตมาภาพได้ชี้แจงแก่ท่านว่า อาตมาภาพได้รวบรวมเรื่องราวของท่านที่ค้นหาได้จากพระไตรปิฎกหลายเรื่อง หลายตอน เรียบเรียงแล้วเสร็จ แต่เมื่อได้อ่านพิจารณาดูแล้วปรากฏว่ามีแต่ชีวิตบั้นต้น และบั้นกลาง ส่วนชีวิตบั้นปลายนั้นไม่ปรากฏว่าท่านได้อยู่ณ ที่ใด ทำอะไรบ้าง ๆ และสิ้นอายุขัยไปเมื่อใด ? และเท่าที่อาตมาภาพได้ทราบมาว่าสมเด็จพระพุทธองค์ได้ทรงเสวยพระกระยาหาร ( เนื้อสุกรอ่อน ) ที่นายจุนทะกัมมารกบุตรได้ทูลถวายพระองค์แล้ว พระองค์ได้ทรงพระประชวรพระโรคโลหิตปักขันธิกาพาธ จนถึงพระปรินิพพาน ขณะที่พระองค์ทรงประชวรอยู่นั้น ท่านได้เข้าเฝ้าพระองค์ทูลถวายพระโอสถ แต่พระองค์ไม่ยอมเสวย ท่านได้มิความเสียใจ ได้เอาพระโอสถนั้นจำเริญลงในน้ำ และได้เกิดความมหัศจรรย์ คือ น้ำได้เดือดและพลุ่งขึ้นถึงหนึ่งชั่วลำตาล เรื่องนี้มีปรากฏอยู่ในตำนานของแพทย์แผนโบราณ ดังนี้จะจริงเท็จอย่างไร ?
    อาตมาภาพยังมีความสงสัยอยู่อีกข้อหนึ่งว่า ที่กล่าวกันว่า พระกระยาหารที่นายจุนทะได้ทูลถวายสมเด็จพระพุทธองค์นั้น เป็นเนื้อสุกรอ่อน แต่เมื่อครั้งอาตมาภาพได้ไปยังการประชุมพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก ครั้งที่ ๔ ณ กรุงคัฑมัณฑุ ประเทศเนปาล เดินทางจากประเทศไทยเมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๙ โดยเครื่องบิน ณ ท่าอากาศยานดอนเมือง และได้ท่องเที่ยวศึกษาหาความรู้เรื่องพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดียด้วย กลับถึงเมืองไทยเมื่อวันที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๐ อาตมาภาพได้พบกับท่านมหาเถระอัมริตนันทะ แห่งประเทศเนปาล ซึ่งได้สืบเชื้อสายศากยวงศ์เดียวกันกับสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาจนกระทั่งบัดนี้ และได้ทราบว่า ในราชตระกูลนับแต่โบราณกาลมาจนบัดนี้ ไม่มีผู้ใดได้เสวยเนื้อสัตว์เลย และได้ทราบมาอีกว่าที่กล่าวกันว่าพระกระยาหารที่สมเด็จพระพุทธองค์เสวยนั้น เป็นเนื้อสุกรอ่อน ความจริงคือเห็ดหมูอ่อน (สุกรมัทวะ คือ เห็ดหมู มีลักษณะขาวเนื้ออ่อน และมีรสหวาน หมูชอบกิน ) ซึ่งฟังดูแล้วผิดกันมาก ความจริงในข้อนี้เป็นอย่างไรแน่ ขอได้ตอบโดยลำดับ อาตมาภาพจะได้บันทึกเสียงไว้
    บรมคุรุแพทย์ ชีวกโกมารภัตได้กล่าวแก่อาตมาภาพว่า
     
  6. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,173
    วิจารณ์ชีวประวัติ
    ของ
    บรมเวชชคุรุ พระอาจารย์ชีวกโกมารภัต
    โดย
    ศจ. น.พ. อวย เกตุสิงห์

    พุทธมามกส่วนมากรู้สึกท่านชีวกโกมารภัต ว่า เป็นแพทย์หลวงผู้ใหญ่ของพระเจ้าพิมพิสาร มคธราช แห่งนครราชคฤห์ ซึ่งได้ส่งไปเป็นแพทย์ประจำพระองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และได้เป็นผู้รักษาอาการห้อเลือด ที่พระพุทธบาทซึ่งเกิดจากสะเก็ดหินอันพระเทวทัตใช้คนกลิ้งลงมาจากเขาคิชกูฏ เพื่อให้ทับพระพุทธองค์ เรื่องของท่านนอกเหนือไปจากนี้ไม่ใคร่มีใครทราบ จนกระทั่งท่าน อง สรภาณมธุรส (พระอาจารย์บ๋าวเอิง แห่งวัดญวนสะพานขาว ผู้มีชื่อเสียงในทางอัญเชิญวิญญาณ) ได้จัดพิมพ์หนังสือ
     
  7. PCO

    PCO เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    377
    ค่าพลัง:
    +3,626
    ขอกราบโมทนาสาธุครับกับคุณธรรมอันหมดจดงดงามและความดีในทุกๆด้านของบรมครูจอมแพทย์ที่ยิ่งใหญ่ของพระพุทธศาสนานี้ 18 กุมภาพันธ์ 2549
     

แชร์หน้านี้

Loading...