พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตต์ (กวนอิมพู่สัก) พระโพธิสัตต์ผู้มากล้นด้วยความเมตตา

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย Kamen rider, 23 กันยายน 2004.

  1. Kamen rider

    Kamen rider เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    3,763
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,998
    เรื่องของพระโพธิสัตต์พระองค์นี้ มิใช่สิ่งแปลกปลอมในพุทธศาสนา แต่เป็นพระโพธิสัตต์องค์สำคั_ที่ได้รับการสักการะบูชามากที่สุด ที่อินเดียรูปเคารพมักจะเป็นภาพเขียน ปูนปั้น หินและไม้แกะสลัก ซึ่งปรากฏอยู่ตามฝาผนังถ้ำ วัดวาอาราม สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และวิทยาลัยทางพุทธศาสนาไม่ว่าจะเป็นนาลันทา , วิกรมศาลา ไม่จำเพาะแต่ที่อินเดียเท่านั้น ในเอเชียกลาง อาฟกานิสถานก็ปรากฏอย่างมากมาย

    ลักษณะของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตต์ในอินเดีย พระพักตร์ พระวรกาย และพระอิริยาบท ตลอดจนการฉลองพระองค์อยู่ในรูปลักษณะของเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินจักรพรรดิเป็นมหาราช มิได้มีฉลองพระองค์จนอ่อนพลิ้วอย่างจีน หรืออย่างที่พบกันในปัจจุบันของเมืองไทย ก็ได้อิทธิพลมาจากจีนทั้งสิ้น

    เนื่องด้วยพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตต์ ทรงมีพระกตั__ู (เมตตากรุณาธิคุณ) คอยปลดเปลื้องความทุกข์ภัยของสัตว์โลก จึงมีพระเนมิตตกนาม ( นามที่ได้จากลักษณะและคุณสมบัติ ) ตามภาษาจีนเรียกว่า พระกวนอิมพู่สัก แปลว่า พระโพธิสัตต์ที่มีพระกรรณาวธานโลกาศัพท์ หรือเรียกง่ายๆก็คือ ผู้คอยเงี่ยหูสดับรับฟังความทุกข์ของสัตว์โลก

    ในพระพุทธศาสนามหายาน คณะสงฆ์จีนนิกาย กล่าวไว้ว่า สามารถเนรมิตกายได้ 32 กาย แล้วแต่ว่าจะไปโปรดใคร มิใช่มีรูปร่างเป็นห_ิงดังที่ปรากฏเท่านั้น ที่สำคั_ มี 6 ร่าง คือ

    1. อวโลกิเตศวร (กวนอิมพู่สัก)
    2. สหัสหัตถสหัสเนตรอวโลกิเตศวร
    3. เอกาทสมุขีอวโลกิเตศวร
    4. หัยครีวอวโลกิเตศวร
    5. จัณฑิอวโลกิเตศวร
    6. จินดามณีจักรอวโลกิเตศวร
     
  2. Kamen rider

    Kamen rider เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    3,763
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,998
    มงกุฏเหนือเศียรเกล้าแห่งพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตต์มหาสัตต์ หลังพุทธศตวรรษที่ 14 มักจะเป็นรูปของพระอมิตาภะในปางสมาธิแทบทั้งสิ้น ในกรณีที่เป็นพระโพธิสัตต์มีหลายเศียร เศียรบนสุดอย่างไรเสียก็ต้องเป็นพระพุทธเจ้าอมิตภะ ไม่สามารถเลี่ยงหรือแส่ส่ายไปทางอื่น ดอกบัวสั__ลักษณ์ของกวนอิม คือ บัวสีชมพู สีขาวใช้กับพระมั_ชุศรีโพธิสัตต์เท่านั้น ด้วยดอกบัวสีชมพูในตระกูลปัทมะนี้เอง ทำให้พระองค์ได้รับการขนานพระนามว่า " พระปัทมปาณีโพธิสัตต์ "

    ด้วยความเมตตา กรุณาต่อสรรพสัตว์อันประมาณมิได้นี้เอง ก่อให้เกิดแนวในการสร้างพระกวนอิมพันมือพันตาในเวลาต่อมา โดยขนานนามพระองค์ท่านว่า พระสหัสสหัตถ์สหัสสเนตรอวโลกิเตศวร หรือถ้าเป็นปาง 4 พระกร เรียก จตุหัตถ์อวโลกิเตศวร

    ส่วนพระคาถาสรรพราเชนทร์ ด้วยถ้อยความศักดิ์สิทธิ์ 6 พยางค์ " โอม มณี ปัทเม หุม " นั้นมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า " ษฑักษรีมหาวิทยา " โดยกำหนดให้ปางหนึ่งของพระอวโลกิเตศวร หรือพระษฑักษรีโลเกศวร เป็นพระโพธิสัตต์ผู้รักษามนตราศักดิ์สิทธิ์ 6 พยางค์นี้

    ในพุทธศาสนามหายานนั้น ยกย่องพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตต์ ว่าเป็นพระผู้ได้รับธรรมจักรมาโดยตรงจากพระพุทธเจ้า และเป็นผู้นำในการรักษาพระพุทธศาสนา และหมุนธรรมจักรต่อไป

    พระคัมภีร์สำคั_ๆของพุทธศาสนาฝ่ายมหายานประกอบด้วย คัมภีร์มหาสุขาวดีวยุหสูตร , จุลสุขาวดีวยุหสูตร , อมิตายุรธยานสูตร , ปรัช_าปารมิตาหฤทัยสูตร , พระสัทธรรมปุณฑรีกสูตร

    เพราะฉะนั้นโดยวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของอินเดียและชนชาวจีนแตกต่างกันมาก ดังนั้น เมื่อจำเป็นต้องแปลคัมภีร์เหล่านี้ จึงต้องใช้เวลาในการปรับความเข้าใจในหลักคิดและการใช้ภาษาเป็นอย่างมาก เพื่อมิให้ผิดเพี้ยนไปตามความหมายเดิม แต่คัมภีร์และแนวคิดเกี่ยวกับพระอวโลกิเตศวรนั้น ได้รับการต้อนรับเป็นอย่างมากเกือบ 800 ปี ตั้งแต่เริ่มต้นคริศตศักราชมาจนถึงจุดสูงสุดในราชวงศ์ถัง ( ราว ค.ศ. 7-8 )

    ในช่วงปลายศตวรรษที่ 6 ทางตอนเหนือของประเทศจีนมีวัดของพุทธศาสนามากกว่า 3หมื่นวัด มีพระและชีรวมกันราวๆ 2ล้านคน ส่วนทางใต้ซึ่งเป็นเขตปกครองของราชวงศ์เหลียว มีวัดมากกว่า 2,800 วัด มีพระและชีราวๆ 82,700 รูป

    แนวความเชื่อเรื่องพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตต์เริ่มแพร่หลายในประเทศจีนเป็นอย่างมาก พระพุทธเจ้าที่ได้รับการบูชาอย่างแพร่หลายคือ พระอมิตภพุทธเจ้า , พระศากยมุนีพุทธเจ้า , พระไภษัชคุรุพุทธเจ้า , พระไวโรจนพุทธเจ้า เป็นต้น พระโพธิสัตต์ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมากคือ กวน เซ ยิน หรือ กวน ยิน หรือคนไทยคุ้นเคยกับการอ่านและสะกดว่า กวนอิม ซึ่งมีต้นรากมาจากพระโพธิสัตต์พระองค์หนึ่งซึ่งปรากฏพระนามในภาษาสันสกฤตว่า อวโลกิเตศวรโพธิสัตต์

    จากกวนอิมหน้าม้าเป็นมหาบุรุษ

    เทพฝ่ายจีนในระยะเริ่มต้นนั้นมักผสมปนเปกันไประหว่างเพศห_ิงและเพศชาย รวมถึงครึ่งมนุษย์ครึ่งสัตว์ด้วย ฉะนั้นเทวปกรณ์ของฝ่ายจีนนั้น จึงมีทั้งเทพและมารด้วยตำนานอันแสนพิสดาร แม้ว่าต้นเค้าของพระเป็นเจ้าแห่งสวรรค์ตะวันตก หรือโลกทิพย์สุขาวดี อันประกอบด้วยพระอมิตภพุทธเจ้า , พระโพธิสัตต์อวโลกิเตศวรมหาสัตต์ , พระโพธิสัตต์มหาสถามะปราบต์มหาสัตต์ จะมีที่มาหลากหลายทางก็ตาม

    แต่ทางอินเดียแล้ว รากฐานดั้งเดิมของพระโพธิสัตต์อวโลกิเตศวรมาจาก เทพม้าคู่ ในลัทธิพราหมณ์-ฮินดู ทั้งนี้เมื่อปราช_์ฮินดูเริ่มปฏิรูปและจัดหมวดหมู่ของพระเวทและเทพเจ้าใหม่ เป็นระยะๆด้วยการสถาปนาพระเป็นเจ้าพระองค์ใหม่ๆ หรือการเพิ่มเติมฤทธิ์เดชอย่างมากมายนั้น ก็เพื่อสร้างศูนย์รวมศรัทธาให้เหนียวแน่น เป็นเครื่องบีบรัดมิให้คนของตนเองถ่ายเทมายังศาสนาพุทธ อย่างกรณี พุทธาวตาร ซึ่งถือว่า เป็นนารายณ์อวตารองค์ที่ 9 นั้น

    ก็เพื่อที่จะกลืนเอาศาสนาพุทธไปเป็นพวกตน ดังนั้นเพื่อที่สืบต่อพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืน จึงมีการผ่อนปรน ปรับหลักคิดเสียใหม่ ด้วยการนำเอาความคิดเรื่องเทพเจ้ามาปรับใหม่ให้กลายเป็นเรื่องพระโพธิสัตต์เสีย เพื่อเป็นการชักจูง โน้มน้าวด้วยเครื่องบันเทิงตั้งแต่คัมภีร์ เทวปกรณ์ ไปจนถึงการประโคมดนตรีขับกล่อมพระโพธิสัตต์ ดังจะเห็นได้ว่า เรื่องสุขาวดีพุทธเกษตรของพระอมิตภพุทธเจ้านั้น น่ารื่นรมย์เพียงไร

    ในสมัยฤคเวทของพราหมณ์นั้น มีเทพเจ้าคู่หนึ่งเป็นม้าแฝด ชื่อ พระกุศลเทพ สร้างบารมีด้วยการโปรดผู้คนซึ่งตกทุกข์ได้ยาก ดังนั้นศาสนาพุทธจึงใช้ระบบสถาปนา เข้าทำนองหนามยอกเอาหนามบ่ง สร้างพระโพธิสัตต์ขึ้นมาพระองค์หนึ่ง เรียกว่า พระหัยครีวโพธิสัตต์ หรือเรียกกันง่ายๆว่า กวนอิมหัวม้า

    ในสมัยที่เป็นเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์นั้น ม้าแฝดคู่นี้เป็นสั__ลักษณ์แห่งความเมตตา กรุณาและความดีงาม เนื่องด้วยมีอิทธิฤทธิ์มากมาย สามารถทำให้คนตาบอดกลับกลายเป็นคนมีนัยน์ตาปกติ คนเป็นหมันสามารถมีบุตรได้ โคถึกสามารถให้นมแก่ลูกได้ ไม้ผุสามารถออกดอกได้

    เพื่อให้แนวคิดในการโปรดสรรพสัตว์ในห้วงทุกข์ ได้รับการต้อนรับมากยิ่งขึ้น จึงก่อให้เกิดรูปลักษณ์อย่างมหาบุรุษขึ้นที่อินเดียก่อน จากนั้นในเมืองจีน ราวๆคริสตศตวรรษที่ 5 กวนอิมจึงค่อยๆขยับฐานะจากม้ามารับสถานภาพของบุรุษเพศครั้งแรก รูปลักษณ์ของใบหน้าซึ่งมีหนวดในการบ่งบอกเพศอย่างชัดเจน จากนั้นจึงเริ่มแปรพักตร์เป็นชายใบหน้าอิ่มเอิบ และฉายแววของความกรุณาปราณีผ่านทางแววตาเพียงเล็กน้อย แม้บางลักษณะจะดูกลืนกันไประหว่างเพศห_ิงและเพศชายก็ตามที แต่กระนั้นกวนอิมก็ยังคงรูปแบบของอณูแห่งความเป็นชายมากกว่า จนเมื่อคริสตศตวรรษที่ 8 ภาพลักษณ์ของผู้ห_ิงเพิ่งจะปรากฏออกมาให้เห็น

    ในระยะ 200 ปีนี้ ต้องยอมรับในความพยายามของศาสนาพุทธฝ่ายมหายานที่ต้องปรับตัวอย่างหนักเพื่อมิให้กลืนหายไปกับลัทธเต๋า ข้างฝ่ายลัทธิเต๋านั้น ก็มีเทพฝ่ายห_ิงเหมือนกัน และที่ได้รับความนิยมและศรัทธามากคือ พระมารดาราชินีแห่งทิศตะวันตก สี หวาง มู เหตุที่บั__ัติทิศตะวันตกเช่นเดียวกับพระอมิตภพุทธเจ้าและกวนอิมโพธิสัตต์ เพราะชาวจีนเชื่อว่า เป็นทิศแห่งสรวงสวรรค์ (สุขาวดี) ที่คนตายจะไปเฝ้าพระพุทธเจ้า
     
  3. Kamen rider

    Kamen rider เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    3,763
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,998
    กวนอิมในสถานภาพของเพศห_ิงขึ้นมาเพื่อรองรับความจำเป็นทางวัฒนธรรมของชุมชน และต้องการลดกระแสของเพศชายซึ่งมีอำนาจสูงสุดมาแต่เดิม

    ทุกศาสนาล้วนแต่มีเทวนารีด้วยกันทั้งสิ้น ศาสนาคริสต์มีการบูชาพระนางมาเรีย มารดาของพระเยซูคริสต์ ศาสนาพุทธฝ่ายมหายานสร้างพระแม่กวนอิม ศาสนายิวมีพระนางโซเฟีย หรือแม้แต่ฮินดูเองก็เกิดลัทธิบูชาศักติชายาของมหาเทพขึ้น แม้จะไม่สามารถเปลี่ยนศูนย์กลางอำนาจของฝ่ายชายได้เต็มร้อย แต่ก็ทำให้เกิดมุมมองและวัฒนธรรมทางศาสนาอย่างใหม่ และขยายตัวอย่างกว้างขวาง

    หากพิจารณาอย่างลึกซึ้ง ภาพลักษณ์ภายนอกระหว่างพระนางมาเรียกับกวนอิมในเพศห_ิง ( ปางกวนอิมชุดขาวอุ้มบุตร ) , เทพธิดาไอซีสกับเทพบุตร , พระนางอุมาอุ้มพระคเณศ เหล่านี้ต่างกันแต่ผู้แสดงนำเท่านั้น แต่โดยเนื้อแท้แล้ว ย่อมไม่แตกต่างกัน เพราะนั่นคือการถ่ายเททางวัฒนธรรมระหว่างศาสนาซึ่งมีมาแต่โบราณ

    รูปแบบการสร้างรูปเคารพของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตต์มหาสัตต์ในระยะแรกจนถึงราชวงศ์ถัง ได้สร้างขึ้นด้วยแนวคิดเยี่ยงบุรุษเพศ หลังจากนั้นจึงเริ่มสร้างแนวคิดใหม่ กลายพันธุ์จากชายเป็นห_ิง ซึ่งสะท้อนถึงความรู้สึกและความเชื่อของประชาชนพื้นบ้านให้ห่างไกลแม่แบบซึ่งมาจากอินเดีย จนอาจจะเรียกได้ว่า กวนอิมในรูปลักษณ์ของสตรีนั้นเป็นเอกลักษณ์ที่ได้รับการต้อนรับอย่างกว้างขวางที่เมืองจีน และขยายเข้าสู่ประเทศอื่นๆในแถบเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นเกาหลี _ี่ปุ่น สิงคโปร์ ฯลฯ ทั้งนี้เพราะรูปลักษณ์ของฝ่ายห_ิงแทนค่าในเรื่องเมตตากรุณาได้มากกว่า ในขณะที่รูปลักษณ์อย่างชายนั้น สะท้อนในเรื่องคุณธรรมมากกว่าความเมตตา

    ที่ธิเบต แม้ว่าทางด้านภูมิศาสตร์แล้ว จะใกล้เคียงอินเดียและจีน แต่พระโพธิสัตต์ก็นิยมสร้างอย่างเพศมหาบุรุษ และบางรูปลักษณ์นั้นมีรูปลักษณ์น่าสะพรึงกลัว ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพของประเทศธิเบตที่เคยมีความเชื่อเรื่องธรรมชาติ ความเชื่อในเรื่องยักษ์ มาร ภูติ ผี ปีศาจ และอำนาจเร้นลับต่างๆ ซึ่งเป็นอิทธิพลของศาสนาบอนปะที่ธิเบตนับถือกันมาแต่เดิม ก่อนที่พุทธศาสนาจะเข้าไปเผยแพร่ โดยท่านมหาโยคี คุรุปัทมะสัมภวะ

    พระโพธิสัตต์ในศาสนาพุทธถูกระบุเพศมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ฉะนั้นกฏอันเข้มงวดนี้จึงต้องแทนค่าด้วยความเมตตาและช่วยเหลือให้ประชาชนพ้นทุกข์ จากนั้นจึงวางกุศโลบายอันแยบยลอีกชั้นหนึ่งเพื่อแปลงโฉมกวนอิมโพธิสัตต์ในคราบบุรุษเพศให้เป็นอิสตรี

    กฏอันเข้มงวดยังคงอยู่ แต่สร้างวัฒนธรรมใหม่ หรือใช้กฏที่เลี่ยงได้ กล่าวคือ ในโลกมนุษย์ กวนอิมคือเพศห_ิง ในโลกสวรรค์ กวนอิมคือเพศชาย โดยใช้ตำนานและความเชื่อท้องถิ่นเข่ามาอธิบายความเปลี่ยนแปลงนั้นๆ เทพเจ้าฝ่ายห_ิงจะได้รับความนิยมเพียงพระองค์เดียวหาได้ไม่ ดังนั้นจึงเริ่มรวมเอาเทพีท้องถิ่น เข้ามาอยู่ร่วมวงศ์เทวั_ ด้วยการมอบตำแหน่งตามลำดับชั้นลงไป
     
  4. Kamen rider

    Kamen rider เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    3,763
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,998
    อวโลกิเตศวร มีความหมายอย่างไร

    เนื่องจากพระโพธิสัตต์พระองค์นี้มีชื่อเสียงสูงสุดในประเทศอินเดียมาแต่เดิม และขยายความเชื่อไปยังนานาประเทศในแถบเอเชีย ดังนั้นเรื่องราวของพระองค์จึงได้รับความสนใจจากนักปราช_์ทางศาสนา โบราณคดี หลายชาติ หลายภาษา ซึ่งแต่ละท่านให้ความหมายของคำว่า อวโลกิเตศวร แตกต่างกันไป

    มหาปณิธานของพระโพธิสัตต์พระองค์นี้ คือ หากยังมีสัตว์โลกตกทุกข์ได้ยาก แม้เพียงคนเดียว จะไม่ขอบรรลุพุทธภูมิ นั่นย่อมแสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติในด้าน พระมหากรุณา

    ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน โพธิสัตต์ หมายถึง ท่านผู้ที่จะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า

    อวโลกิเตศวร ประกอบขึ้นด้วยคำ 2 คำ คือ อวโลกิตะ หมายถึง ผู้มองมายังเบื้องล่าง และ อิศวร แปลว่า ผู้เป็นให_่

    เคอร์น ชาวฮอลันดา - อวโลกิเตศวร แปลว่า ผู้เป็นให_่ที่มองเห็น

    นักปราช_์ชาวเบลเยี่ยม - พระผู้เป็นเจ้าของสิ่งที่เรามองเห็น , พระผู้เป็นเจ้าซึ่งเราแลเห็น , พระผู้เป็นเจ้าซึ่งมองดู , พระผู้เป็นเจ้าซึ่งมองลงมาจากเบื้องบน , พระผู้เป็นเจ้าผู้มองดูด้วยความเมตตา

    โธมัส ปราช_์ชาวอังกฤษ - ผู้ซึ่งได้รับการกล่าวอำลาแล้ว , ผู้ซึ่งถูกมองเห็นเป็นครั้งสุดท้าย

    ลาวา เล่ปุสแซง - ทรงเป็นเจ้าของผู้ที่จากไป และเป็นผู้ช่วยเหลือผู้ที่กำลังจะตาย

    ซิมเมอร์ ชาวเยอรมัน - อาจแปลได้ว่า สมันตมุข คือ พระพักตร์อยู่ทุกทิศ หรือแลเห็นทั้งหมด , ผู้ที่สามารถบรรลุพระสัมมาสัมโพธิ_าณ คือ อาจจะเป็นพระพุทธเจ้าเมื่อใดก็ได้ แต่ทรงปฏิเสธ เนื่องจากความกรุณาสงสารต่อสรรพสัตว์

    ชาวจีน - ผู้พิจารณาเสียง (สวดมนตร์) หรือผู้พิจารณาเสียงของโลก หรือ ผู้ฟังการสวดมนตร์ของโลก ในภาษาสันสกฤต พระโพธิสัตต์พระองค์นี้ยังเรียกอีกพระนามหนึ่งว่า อวโลกิตโลเกศวร ทางจีนนั้น พระภิกษุเหี้ยนจัง ( พระถังซัมจั๋ง ) เรียกเป็นภาษาจีนว่า กวนเซยินเซอไซ , กวนเซอไซ

    นักปราช_์ทางพุทธศาสนาบางท่านให้ข้อคิดที่น่าสนใจว่า คำว่า อิศวร นั้น เป็นตำแหน่งที่ติดมากับพระนามอวโลกิตะ เรียกได้ว่า พระองค์ทรงเป็นพระโพธิสัตต์พระองค์เดียวเท่านั้นที่มีตำแหน่งระบุไว้ท้ายพระนาม ในขณะที่พระโพธิสัตต์พระองค์อื่นหามีไม่ นั่นแสดงให้เห็นถึง ความยิ่งให_่ของพระโพธิสัตต์พระองค์นี้

    จาก พระอวโลกิเตศวรกวนอิมโพธิสัตต์
    พระพุทธศาสนามหายาน คณะสงฆ์จีนนิกาย
     

แชร์หน้านี้

Loading...