พระอริยบุคคล ๑๐ กว่า ประเภท..

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย jinny95, 13 กันยายน 2009.

  1. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    พระโสดาบัน<o></o>

    คำว่า โสดาบัน แปลว่า ถึงกระแส
    [1] หมายความว่า ผู้ ที่บรรลุถึงความเป็นพระโสดาบันแล้ว เป็นผู้ถึงกระแสนิพพาน และจักมุ่งหน้าไปตามกระแสนิพพานจนบรรลุถึงความเป็นพระอรหัตน์ ไม่มีวันตกต่ำ เมื่อจุติสิ้นอายุขัยแล้ว จักไม่ปฏิสนธิ คือเกิดในอบายภูมิมีนรกเป็นต้นอีกเลย[2] เพราะประหาณอกุศลกรรมบถ ๕ ประการคือ ปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท และมิจฉาทิฏฐิได้โดยเด็ดขาด เป็นสมุจเฉท

    โสดาบัน มี ๓ ประเภท

    ๑. เอกพิซีโสดาบัน เป็นพระโสดาบันมีพืชกำเนิดอีกเพียงครั้งเดียว หมายความว่าพระโสดาบันเอกพิชีนี้ จะเกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดาอีกเพียงชาติเดียวก็จะบรรลุเป็นพระอรหันต์
    [3]

    ๒. โกลังโกลโสดาบัน คือ พระโสดาบันผู้ยังต้องเกิดเป็นมมุษย์หรือเทวดาอีก ๒ ถึง ๖ ชาติ จึงจะบรรลุเป็นพระอรหันต์
    [4]

    ๓. สัตตักขัตตุปรมโสดาบัน คือ พระโสดาบันผู้ต้องเกิดอีกถึง ๗ ชาติจึงจะบรรลุเป็นพระอรหัตน์
    [5]

    ที่แตกต่างกันเช่นนี้ เป็นเพราะอินทรีย์แก่กล้ายิ่งหย่อนกว่ากัน
    [6] จึงทำให้ความมุ่งมั่นในการบรรลุเป็นพระอรหัตน์นั้น เนินนานกว่ากัน แต่อย่างไรก็ตาม พระโสดาบันจักไม่เกิดในชาติที่ ๘ ถึงแม้จะเป็นผู้เพลิดเพลินมีความประมาทบ้างก็ต้องบรรลุอรหันต์ในชาติที่ ๗ แน่นอน

    มีอยู่ในพระสูตรหนึ่ง พระพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบให้ทราบถึงกิเลส และความทุกข์ที่เหลือของพระโสดาบันกับปุถุชน ให้เข้าใจดังนี้

    มีอยู่ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าทรงตรัสบอกกับพระภิกษุว่า "ภิกษุทั้งหลาย เธอจงหยิบเศษดินบนแผ่นดินมาหนึ่งกำมือ" เมื่อภิกษุหยิบเศษดินขึ้นมาหนึ่งกำมือแล้ว พระพุทธเจ้าทรงตรัสถามว่า

    "เธอทั้งหลายจงเปรียบเทียบดูจำนวนเศษดินที่อยู่ในมือ กับแผ่นดินต่างกันมากใช่ไหม่?"


    พระภิกษุตอบว่า "ใช่ครับ" พระพุทธเจ้าจึงอธิบายให้ทราบ "เศษดินที่อยู่ในมือเธอเปรียบ เสมือนกิเลสที่เหลืออยู่ของพระโสดาบันบุคคล แต่ แผ่นดินนั้นเปรียบเสมือนกิเลสที่มีอยู่ของปุถุชนทั้งหลาย ดังนั้นความทุกข์เร้าร้อนที่พระโสดาบันได้รับ ย่อมน้อยกว่าปุถุชนมากมายจนประมาณไม่ได้"

    คุณวิเศษที่พระโสดาบันได้รับมีดังนี้

    ๑. สามารถเข้าผลสมาบัติตามฐานของพระโสดาบันได้

    ๒. จะไม่ไปเกิดในอบายภูมิ คือ สัตว์เดรัชฉาน เปรต อสุรกาย และสัตว์นรก อีกเลย เพราะกิเลสที่จะก่อให้เกิดทำอกุศลกรรม ที่ร้ายแรงที่ต้องให้ไปเกิดในอบายภูมิ ย่อมไม่มีอีกแล้ว

    ๓. จะเกิดในภพมนุษย์ หรือ สวรรค์ หรือพรหม ตามบุญกุศล หรือสมาธิ ของแต่ละท่าน

    ๔. จะมาเกิดในภพมนุษย์อย่างมากที่สุดไม่เกิด ๗ ชาติ ก็จะบรรลุเป็นพระอรหันต์
    <o></o>





    <hr width="33%" align="left" size="1"> [1] องฺ.ทสก.อ. ๓/๖๓-๖๔/๓๕๓<o></o>

    [2] องฺ.ติก.อ.๒/๘๗/๒๔๒<o></o>

    [3] เกิดอีกครั้งเดียวก็จักบรรลุอรหัตตผล (สํ.ม.อ.๓/๔๙๔/๓๑๓)<o></o>

    [4] หมายถึงผู้ไปจากตระกูลสู่ตระกูล คือเกิดในตระกูลสูงอีก ๒-๓ ครั้ง หรือเกิดในสุคติภพอีก ๒-๓ ครั้ง ก็จักบรรลุอรหัตตผล (สํ.ม.อ. ๓/๔๙๔/๓๑๓)<o></o>

    [5] เวียนเกิดในสุคติภพอีกอย่างมากเพียง ๗ ครั้ง ก็จักบรรลุอรหัตตผล (สํ.ม.อ. ๓/๔๙๔/๓๑๔)<o></o>

    [6] ม.มู.อ.(บาลี)๒/๒๔๘/๒๖, องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๙/๕๕, องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๒
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กันยายน 2009
  2. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    พระสกทาคามี<o>

    </o>
    คำว่า สกทาคามี แปลว่า กลับมาอีกครั้งเดียวหรือครั้งหนึ่ง[1] คือ ผู้ที่บรรลุเป็นพระสกทาคามีจะกลับมาเกิดในกามภูมิ ได้แก่มนุษย์โลกอีกครั้งเดียวเท่านั้น[2] พระสกทาคามีนี้ ละกิเลสได้เท่ากับพระโสดาบัน ไม่ได้ละเพิ่มอีกแต่ประการใด เพียงแต่ทำกิเลสที่เหลือให้เบาบางลงเท่านั้น <o>

    </o>
    พระสกิทาคามี คือ พระอริยะบุคคลที่ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานครบ ๑๖ ญาณในรอบแรกแล้ว ยังเพียรกำหนดวิปัสสนากรรมฐานต่อ จนวิปัสสนาญาณบังเกิดขึ้น มีอินทรีย์แก่กล้าเป็นทวีคูณจนบรรลุเข้าสู่มรรคที่ ๒ ได้ คือ ตั้งแต่ญาณที่ ๔ อุทยัพพยญาณจนญานที่ ๑๒ อนุโลมญาณ ชึ่งวิ ปํสสนาญาณนั้นเกิดขึ้นอย่างละเอียดอ่อนแจ่มแจ้งกว่าสภาวะญาณที่เคยฝ่านมา แล้ว และติดตามด้วยโวทานะแทนโคตรภูญาณ เพราะท่านเป็นอริยะบุคคลแล้ว หลังจากนั้นบรรลุถึงพระสกิทาคามีมรรค และเมื่อบรรลุเข้าสู่มรรคญาณที่ ๒ แล้ว กิเลสที่มีอยู่จะเบาบางจากเดิมที่มีอยู่ในทันที่ แต่ไม่สามารถละสัญโญชน์ที่เหลืออยู่ให้ตัวใดตัวหนึ่งขาดหายโดยสิ้นเชิ่ง แต่กิเลสของท่านเบาบางกว่าพระโสดาบันอย่างมาก ดำรงค์ฐานะเป็นพระสกทาคามีบุคคล

    พระสกทาคามี ๕ จำพวก คือ

    ๑. อิธ ปตฺวา อิธ ปรินิพฺพายี ผู้ ที่บรรลุเป็นพระสกทาคามีในมนุษย์โลก เมื่อหมดอายุขัยแล้วเกิดในมนุษย์โลกอีก จนได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ และดับขันธืปรินิพพานในมนุษย์โลก

    ๒. ตตฺถ ปตฺวา ตตฺถ ปรินิพฺพายี ผู้ที่บรรลุเป็นพระสกทาคามีในเทวโลก เมื่อหมดอายุขัยแล้วก็เกิดในเทวโลกอีก จนได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ และดับขันธ์ปรินิพพานในเทวโลก

    ๓. อิธ ปตฺวา ตตฺถ ปรินิพฺพายี ผู้ที่บรรลุเป็นพระสกทาคามีในมนุษย์โลก เมื่อหมดอายุขัยแล้วไปเกิดในเทวโลก จนบรรลุเป็นพรอรหันต์ และดับขันธปรินิพพานในเทวโลก

    ๔. ตตฺถ ปตฺวา อิธ ปรินิพฺพายี ผู้ที่บรรลุเป็นพระสกทาคามีในเทวโลก เมื่อหมดอายุขัยแล้วก็มาเกิดในมนุษย์โลก จนบรรลุเป็นพระอรหันต์ และดับขันธปรินิพพานในมนุษย์โลก

    ๕. อิธ ปตฺวา ตตฺถ นิพฺพตฺติตฺวา อิธ ปรินิพฺพายี ผู้ ที่บรรลุเป็นพระสกทาคามีในมนุษยโลก เมื่อหมดอายุขัยแล้วไปเกิดในเทวโลก พอหมดอายุขัยในเทวโลกแล้ว ก็กลับมาเกิดในมนุษย์โลกอีก จนได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ และดับขันธปรินิพพานในมนุษย์โลก[3]


    สำหรับคำว่า สกทาคามีที่แปลว่า กลับมาครั้งเดียว หรือกลับมาอีกครั้งหนึ่งนั้น น่าจะหมายถึงพระสกทาคามีจำพวกที่ ๕ นี้ ความ เป็นอยู่ของพระสกทาคามีนี้ ไม่แตกต่างกับพระโสดาบันมากนัก เพระยังมีครอบครัวลูกหลานอยู่ เพียงแต่มีกิเลสที่เบาบางกว่าพระโสดาบันเท่านั้น

    คุณวิเศษที่พระสกิทาคามีได้รับมีดังนี้

    ๑. สามารถเข้าผลสมาบัติตามฐานของพระสกิทาคามีได้

    ๒. จะไม่ไปเกิดในอบายภูมิ คือ สัตว์เดรัชฉาน เปรต อสุรกาย และสัตว์นรก อีกเลย เพราะกิเลสที่จะก่อให้เกิดทำอกุศลกรรม ที่ร้ายแรงที่ต้องให้ไปเกิดในอบายภูมิ ย่อมไม่มีอีกแล้ว

    ๓. จะเกิดในภพมนุษย์ หรือ สวรรค์ หรือ พรหม ตามบุญกุศลหรือตามกำลังสมาธิ ของแต่ละท่าน

    ๔. จะมาเกิดในภพมนุษย์อย่างมากที่สุดเพียง ๑ ชาติ ก็จะบรรลุเป็นพระอรหันต์ดับขันธ์นิพพาน

    <o></o>

    <hr width="33%" align="left" size="1"> [1] ผู้กลับมาสู่กามภพอีกครั้งเดียวด้วยสามารถปฏิสนธิ (ขุ.ป.อ. ๒/๑๕๑/๗๘)<o></o>

    [2] ที.สีล.(ไทย) ๙/๓๗๓/๑๕๖<o></o>

    [3] ดูรายละเอียดใน อภิธมฺมฏฺฐกถา ปญฺจปกรณวณฺณนา (ปรมตฺถทีปนี) - หน้าที่ 73
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กันยายน 2009
  3. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    อนาคามี<o>

    </o>
    คำว่า อนาคามี แปลว่า ไม่กลับมาอีก[1] หมายความว่า ผู้ ที่บรรลุเป็นพระอนาคามีในมนุษย์โลกหรือเทวโลก เมื่อหมดอายุขัยแล้ว จะไปเกิดในพรหมโลก และดับขันธปรินิพพานในพรหมโลกนั้น จักไม่กลับมาเกิดในมนุษย์โลกหรือเทวโลกอีก พระอนาคามีนี้สามารถละกิเลสได้โดยเด็ดขาดเป็นสมุจจเฉทปทานได้เพิ่มอีก <o>

    </o>
    พระอนาคามีบุคคล คือ พระอริยะบุคคลที่ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานครบ ๑๖ ญาณในรอบแรกแล้ว ยังเพียรกำหนดวิปัสสนากรรมฐานต่อ จนวิปัสสนาญาณบังเกิดขึ้น มีอินทรีย์แก่กล้าเป็นทวีคูณจนบรรลุเข้าสู่มรรคที่ ๒ และที่ ๓ ได้ คือ ตั้งแต่ญาณที่ ๔ อุทยัพพยญาณจนญานที่ ๑๒ อนุโลมญาณ ชึ่งวิปํสสนาญาณนั้นเกิดขึ้นอย่างละเอียดอ่อนแจ่มแจ้งกว่าสภาวญาณที่เคยฝ่านมาแล้ว และติดตามด้วยโวทานะ โวทานะแทนโคตรภูญาณ เพราะท่านเป็นอริยะบุคคลแล้ว ก็บรรลุถึงพระอนาคามีมรรค และเมื่อบรรลุเข้าสู่มรรคญาณที่ ๓ แล้ว กิเลสที่มีอยู่จะเบาบางจากเดิมที่มีอยู่ในทันที่ และสามารถละสัญโญชน์ทีเหลืออยู่ได้อีก ๒
    สัญโญชน์อย่างสิ้นเชิ่ง ได้แก่ กามราคะสัญโญชน์ และปฏิคะสัญโญชน์ ก็คือละกามและโทษะได้อย่างะเด็ดขาด ดำรงค์ฐานะเป็นพระอนาคามีบุคคล
    <o></o>
    กล่าวโดยสังโยชน์ ละได้อีก ๒ คือ กามราคสังโยชน์ และปฏิฆสังโยชน์ ขณะที่เป็นพระโสดาบันละได้ ๓ คือ สักกายทิฏฐิสังโยชน์ วิจิกิจฉาสังโยชน์ และสีลัพพตปรามาสสังโยชน์

    กล่าวโดยอกุศลกรราบถละได้อีก ๓ คือ ปิสุณวาจา ผรุสวาจา และพยาบาท

    ความเป็นอยู่ของพระอนาคามีนี้ มีความเป็นอยู่แบบสันโดษ ไม่มีครอบครัว รักษาศีล ๘ เป็นประจำ เมื่อหมดอายุขัยแล้วจะไปเกิดในพรหมโลกชั้นสุทธาวาส ซึ่งเป็นชั้นที่สูงสุดในพรหมโลก อันเป็นที่อยู่เฉพาะของผู้ที่บรรลุเป็นพระอนาคามีเท่านั้น

    พระอนาคามีตายแล้วไปเกิดในพรหมโลก ยังเป็นพระอนาคามีอยู่เหมือนเดิมไม่? <o></o>

    ตอบ : ไม่เฉพาะแต่พระอนาคามีเท่านั้น พระโสดาบันและพระสกทาคามีก็เหมือนกัน เช่น พระโสดาบันที่ต้องเกิดอีก ๗ ครั้ง ถึงท่านนจะเกิดใหม่ตั้งหลายครั้ง ก็ยังคงเป็นโสดาบันอยู่ ไม่มีวันเสื่อมถอยกลับมาเป็นปุถุชนอีก พระสกทาคามีเมื่อตายแล้วไปเกิดในเทวโลก ก็ยังคงเป็นพระสกทาคามีเหมือนเดิม

    สำหรับพระอนาคามีนี้ก็เหมือนกัน เมื่อหมดอายุขัยคือตายแล้วไปเกิดในชั้นสุทธาวาสพรหมโลก ก็ยังคงเป็นพระอนาคามี อยู่เหมือนเดิม<o></o>
    <o></o>
    <o></o>
    พระอนาคามี ๕ ประเภท คือ <o></o>

    ๑. อันตราปรินิพพายี สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ปรินิพพานภายในอายุครึ่งแรกของสุทธาวาสภูมิพรหมโลกที่สถิตอยู่[2]<o></o>

    ๒. อุปหัจจปรินิพพานยี สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ปรินิพพานภายในอายุครึ่งหลังของสุทธาวาสภูมิพรหมโลกที่สถิตอยู่[3]<o></o>

    ๓. อสังขารปรินิพพายี สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ปรินิพพานในพรหมโลกที่สถิตอยู่โดยสะดวก สบายไม่ต้องใช้ความเพียรมาก[4]<o></o>

    ๔. สสังขารปรินิพพายี สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ปรินิพพานในพรหมโลก โดยต้องพยายามอย่างแรงกล้า[5]<o></o>

    ๕. อุทธังโสตอกนิฏฐคามี ไป เกิดในสุทธาวาสพรหมโลก ชั้นต่ำที่สุด (อวิหาสุทธาวาสพรหมโลก) แล้วจึงจุติไปเกิด ชั้นสูงขึ้นไปตามลำดับ คือ อวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี และสำเร็จเป็นพระอรหันต์ปรินิพพานในอกนิฏฐพรหมโลก[6]

    ที่แตกต่างกันเช่นนี้ เป็นเพราะอินทรีย์แก่กล้ายิ่งหย่อนกว่ากัน จึงทำให้ความมุ่งมั่นในการบรรลุเป็นพระอรหัตน์นั้น เนินนานกว่ากัน[7]<o></o>
    <o></o>
    คุณวิเศษที่พระอนาคามีได้รับมีดังนี้

    ๑. สามารถเข้าผลสมาบัติตามฐานของพระอนาคามีได้ แต่ท่านที่เคยฝึกสมาธิถึงฌานที่ ๔ ท่านสามารถเข้านิโรธสมาบัติได้ หรือบางท่านบังเกิดมีวิชา ๓ อภิญญา ๕ สามารถสำแดงฤทธิ์เดชได้

    ๒. ถ้ายังไม่บรรลุเป็นพระอรหันจะไปเกิดใน พรหมโลก ชั้นสุทาวาสพรหม อย่างเดียว จะไม่มาเกิดในมนุษย์โลกนี้อีกเลย แล้วจะบรรลุเป็นพระอรหันดับขันธ์นิพพานบนสุทาวาสพรหมนั้น ชั้นสุทาวาสพรหม เป็นชั้นของพระพรหมที่เป็นที่จุติของพระอนาคามีอริยะบุคคลในพระพุทธศาสนาอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งสามารถแบ่งลำดับชั้นในสุทาวาสพรหมได้อีก ๕ ชั้น จากลำดับล่างไปสู่ชั้นสูง ดังนี้

    ๑. ชั้นอวิหาภูมิ

    ๒. ชั้นอตัปปาภูมิ

    ๓. ชั้นสุทัสสาภูมิ

    ๔. ชั้นสุทัสสีภูมิ

    ๕. ชั้นอกนิฏฐกาภูมิ[8]


    ซึ่งพระอนาคามีท่านจะไปจุติตามชั้นต่างๆ ตามกำลังพละ ๕ ของท่านที่เด่นชัด


    <hr width="33%" align="left" size="1"> [1] องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๘๘/๓๑๖<o></o>

    [2] สํ.ม.อ. ๓/๑๘๔/๒๑๐, องฺ.ติก.อ. ๒/๘๘/๒๔๓<o></o>

    [3] สํ.ม.อ.๓/๑๘๔/๒๑๐, องฺ.ติก.อ. ๒/๘๘/๒๔๓<o></o>

    [4] สํ.ม.อ. ๓/๑๘๔/๒๑๐, องฺ.ติก.อ. ๒/๘๘/๒๔๓<o></o>

    [5] สํ.ม.อ. ๓/๑๘๔/๒๑๐, องฺ.ติก.อ. ๒/๘๘/๒๔๓

    [6] สํ.ม.อ.๓/๑๘๔/๒๑๐, องฺ.ติก.อ. ๒/๘๘/๒๔๒<o></o>

    [7] สํ.มหา.(ไทย) ๑๙/๔๘๕/๒๙๖, ม.มู.อ. ๑/๖๙/๑๗๗, เทียบ องฺ.ทุก.อ. ๒/๘๘/๖๒<o></o>

    [8] สํ.ม.อ. ๓/๑๘๔/๒๑๐, องฺ.ติก.อ. ๒/๘๘/๒๔๓
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กันยายน 2009
  4. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    พระอรหันต์ <o></o>

    คำว่า อรหันต์ แปลว่า ผู้ควรแก่การบูชาอันวิเศษ เพราะเป็นผู้ควรแก่ทักษิณาอันเลิศ[1]
    ได้ชื่อว่า ขีณาสพ เพราะเป็นผู้ที่หมดกิเลสอาสวะแล้ว[2] เป็นผู้สิ้นภพสิ้นชาติแล้ว เป็นผู้พ้นจากสังสารวัฏฏ์ ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป[3]<o></o>

    พระอริยะบุคคลที่ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานครบ ๑๖ ญาณในรอบแรกแล้ว ยังเพียรกำหนดวิปัสสนากรรมฐานต่อ จนวิปัสสนาญาณบังเกิดขึ้น มีอินทรีย์แก่กล้าเป็นทวีคูณจนบรรลุเข้าสู่มรรคที่ ๒ ที่ ๓ และที่ ๔ ได้ คือ ตั้งแต่ญาณที่ ๔ อุทยัพพยญาณจนญานที่ ๑๒ อนุโลมญาณ ชึ่งวิ ปํสสนาญาณนั้นเกิดขึ้นอย่างละเอียดอ่อนแจ่มแจ้งเป็นที่สุดด้วยบารมีที่เต็ม บริบูรณ์ และติดตามด้วยโวทานะ โวทานะแทนโคตรภูญาณ เพราะท่านเป็นอริยะบุคคลแล้ว ก็บรรลุถึงพระอรหัตมรรค สามารถตัดกิเลสทั้งหมดได้สิ้นเชิง และเมื่อบรรลุเข้าสู่มรรคญาณที่ ๔ แล้ว

    กิเลสที่ตัดขาดโดยอรหัตมรรคได้แก่สัญโยชน์ที่เหลืออยู่ ๕ อย่างคือ

    ๖. รูปราคะสัญโญชน์ คือความยินดีในรูปภพ

    ๗. อรูปราคะสัญโญชน์ คือความยินดีในอรูปภพ

    ๘. มานะสัญโญชน์ คือความถือตัว

    ๙. อุทธัจจะสัญโญชน์ คือความที่จิตฟุ้งไป ไม่สามารถตั้งอยู่อารมณ์เดียวได้นาน

    ๑๐. อวิชชาสัญโญชน์ คือสภาพไม่รู้ ความมืดหลงของจิต หรือ โง่ หรือ โมหะ

    <o></o>
    พระอรหันต์มี ๓ ประเภทคือ

    ๑.พระอรหันต์ ที่ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณด้วยพระองค์เอง และสามารถโปรดเวไนยสัตว์ให้พ้นทุกข์ คือให้ถึงมรรคผลนิพพานได้ด้วย เพราะทรงเป็นผู้ถึงพร้อมด้วย อาสยานุสยญาณ ญาณที่สามารถ รู้อัธยาศัยของเวไนยสัตว์ทั้งหลาย อินทริยปโรปริยัตติญาณ ญาณที่สามารถรู้อินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลายว่า ยิ่งหรือหย่อนเพียงใด และสัพพัญญญุตญาณ ญาณที่สามารถรอบรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง อันได้พระนามว่าพระสัพญญู

    ๒. พระอรหันต์ปัจจเจกพุทธเจ้า เป็นพระอรหันต์ที่ตรัสรู้ได้ด้วยพระองค์เองเหมือนกัน แต่ไม่สามารถโปรดสัตว์ให้พ้นทุกข์ได้ เพราะไม่ถึงพร้อมด้วยญาณ ๓ ประการ เหมือนพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้านี้จะบังเกิดมีได้ เฉพาะในยุคที่ว่างจากพระพุทธศาสนาเท่านั้น ที่เรียกว่า สุญญกัป

    ๓.พระอรหันต์ที่ตรัสรู้เองไม่ได้ ต้องอาศัยคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทำตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงสามารถตรัสรู้ได้ อันได้ชื่อว่า อนุพุทธะ พระอรหันต์อนุพุทธะนี้ มี ๒ ประเภท <o></o>

    ๓.๑ ปัญญาวิมุตติ สำเร็จพระอรหันต์ด้วยการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานล้วน ๆ ไม่ได้บำเพ็ญสมรรถกรรมฐานมาก่อนเลย เรียกว่า สุกขวิปัสสกพระอรหันต์ คือ ผู้ปฏิบัติทำให้ฌาณแห้งแล้ง (ไม่สามารถทำการสังคายนาพระไตรปิฏกได้ เพราะมีแต่ญาณละกิเลส แต่มิได้มีญาณหยั่งรู้ในการระลึกชาติผู้ใดได้)[4]<o>

    </o>
    ๓.๒ เจโตวิมุตติ เป็นผู้ปฏิบัติสมถกรรมฐานได้ฌานก่อน แล้วเจริญวิปัสสนากรรมฐานต่อ จนสำเร็จพระอรหันต์[5] หรือ ผู้ที่ปฏิบัติเฉพาะวิปัสสนากรรมฐาน เมื่อได้มรรคผลนั้นพร้อมกับได้วิชชา ๓ อภิญญา ๖ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ สามารถแสดงฤทธิ์ได้

    การได้มาซึ่งฌานนั้น ได้มา ๒ ประเภทด้วยกันคือ

    ๑. เป็นผู้ที่เจริญสมถกัมมัฏฐานจนได้ฌาน อันนี้เรียกว่า ปฏิปทาสิทธิฌาน ได้ฌานด้วยการปฏิบัติ จากนั้นมาเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานจนได้บรรลุเป็นพระอรหันต์

    ๒. เป็นผู้ที่ไม่ได้เจริญสมถกัมมัฏฐาน แต่เมื่อเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน จนบรรลุถึงอรหัตตมัคคญาณอรหัตตผลญาน ด้วยอำนาจแห่งบุญญาธิการที่ได้สั่งสมมาแต่ปางก่อน เมื่อบรรลุถึงซึ่งอรหัตตมัคคญาณ ก็ถึงพร้อมซึ่งฌานด้วย คือ ได้ฌานด้วย อย่างนี้เรียกว่ามัคคสัทธิฌาน ได้ฌานด้วยอำนาจแห่งมรรค จนถึงบได้อภิญญาด้วยก็มี บางองค์ก็ได้ฌาน ไม่ได้อภิญญาเลยก็มี <o></o>

    สำหรับพระอรหันต์ที่ได้อภิญญาด้วยนั้น มี ๒ จำพวก คือ<o></o>

    ๑. เตวิชโช พระอรหันต์ผู้ได้วิชชา ๓ คือ<o></o>

    ๑.๑ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติได้

    ๑.๒ ทิพพจักขุญาณ หรือจตูปปาตญาณ ตาทิพย์ รู้จุติคือการตาย และปฏิสนธิคือการเกิดของสัตว์ทั้งหลาย

    ๑.๓ อาสวักขยญาณ รู้วิชชาที่ทำให้สิ้นกิเลสสอาสวะ สำหร้บอาสวักขยญาณนี้เป็นญาณที่เป็นญาณทั่วไปแก่พระอรหันต์ทุกอ งค์ แม้พระอรหันต์ที่ไม่ได้ญาณก็ต้องมี[6]
    <o></o>

    ๒.ฉฬภิญโญ พระอรหันต์ผู้ได้อภิญญา ๖ หรือ วิชชา ๖ คือ

    ๑. ปุพเพนิวาสนุสสติญาณ

    ๒.ทิพพจักขุหรือจุตูปปาตญาน

    ๓.อาสวักขยญาณ

    ๔.ปรจิตตวิชานนญาณ หรือเจโปริยญาณ รู้จิตใจ ผู้อื่น

    ๕.ทิพพโสตญาณ หูทิพย์

    ๖.อิทธิวธี แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ได้[7]
    <o></o>

    อีกนัยหนึ่ง พระอรหันต์นั้นแบ่งออกเป็น ๒ ประเภทคือ

    ๑.พระอรหันต์ที่ไม่มีปฏิสัมภิทาญาณ

    ๒.พระอรหันต์ที่มีปฏิสัมภิทาญาณ ปฏิสัมภิทาญาณนี้ คือ ความถึงพร้อมด้วยปัญญาอันแตกฉาน มี ๔ ประการคือ

    ๑. อัตถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาแตกฉานในผลทั้งปวง

    ๒. ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ สปัญญาแตกฉานในเหตุทั้งปวง

    ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาแตกฉานในภาษา คือ รู้จักใช้ถ้อยคำหรือภาษาในการอธิบายขยายความแห่งเหตุและผล ให้ผู้ฟังรู้และเข้าใจได้อย่างแจ่มแจ้งลึกซึ่งโดยถ้วนถี่

    ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณคือมีปัญญาว่องไว ไหวพริบ เฉียบแหลม คมคาย ในการโต้ตอบอัตถปฏิสัมทาญาณ ธีมมปฏิสัมภิทาญาณ และนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ได้อย่างถูกต้องคล่องแคล่ว ชัดแจ้งโดยฉับพลันทันที[8]
    <o></o>

    วิโมกข์ ๘ คือ ๑.ผู้มีรูปย่อมเห็นรูปทั้งหลาย[9] ๒.ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอก[10] ๓.บุคคลย่อมน้อมใจไปว่า สิ่งนี้งามทีเดียว[11] ๔.เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไป เพราะไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา บุคคลย่อมเข้าถึงซึ่งอากาสานัญจายตนะด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ ดังนี้อยู่ ๕.เพราะล่วงเสียซึ่งอากาสา-นัญจายตนะโดยประการทั้งปวง บุคคลย่อมเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ ดังนี้อยู่ ๖.เพราะล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง บุคคลย่อมเข้าถึงอากิญจัญญายตนะด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไรดังนี้อยู่ ๗.เพราะล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนะ บุคคลย่อมเข้าซึ่งถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่ ๘.เพราะล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง บุคคลย่อมเข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่[12]<o></o>

    ผู้ ถึงภูมินี้เป็นผู้ที่สมควรแก่การบูชา ของเหล่าเทพยดา และมนุษย์ทั้งหลาย เพราะสิ้นกิเลสโดยตัดสังโยชน์ ๑๐ ประการได้ สามารถเข้าอรหัตผลสมาบัติ เสวยอารมณ์พระนิพพานได้ตามปรารถนา และไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกในวัฏสงสาร เมื่อถึงอายุขัยก็ดับขันธ์ปรินิพพาน<o></o>

    ความเป็นอยู่ของพระอรหันต์นี้ แตกต่างจากความเป็นอยู่ของคนทั่วไปที่ไม่ใช่พระอรหันต์ คือ ถ้า หากว่าคฤหัสถ์ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์จะต้องบวชเป็นพระภิกษุภ ายใน ๗ วัน ถ้าไม่บวชภายใน ๗ วันนี้ อายุจะสั้น เพราะเพศของคฤหัสถ์นั้นไม่สามารถที่จะรองรับความเป็นพระอาหันต์ได้ นี้เป็นข้อที่แตกต่างอีกอย่างหนึ่ง พระอรหันต์นั้นท่านเป็นผู้ที่ไม่มีกิเลสแล้ว ความเป็นอยู่ของท่านก็ย่อมแตกต่างกับคนธรรมดาบ้าง เป็นบางกรณี เช่น คนทั่วไปย่อมนอนฝัน แต่พระอรหันต์ท่านไม่ฝัน เพราะท่านไม่มีสัญญาวิปปัลลาส

    ที่เหมือนกับคนอื่นทั่วไป เช่น ในทางตา คนทั่วไปเห็นอย่างไรท่านก็เห็นอย่างนั้น เขาว่างาม ท่านก็ว่างาม เขาว่าไม่งาม ท่านก็ว่าไม่งามเหมือนเขา ในความเหมือนกันนั้นก็มีความไม่เหมือนกัน คือ คน ทั่ว ๆ ไปเมื่อเห็นแล้ว ถ้าสิ่งที่เห็นนั้นเป็นอิฏฐารมณ์คือเป็นสิ่งที่สวยงาม น่ารัก น่าใคร่ น่าชอบใจ พอใจ อยากได้ในสิ่งนั้นแต่พระอรหันต์ท่านเห็นแล้ง ท่านก็เฉย ๆ ไม่อยากได้ ที่ท่านว่า สวยว่างามนั้น ท่าน พูดตามชาวโลกเขาเท่านั้น ถ้าสิ่งที่เห็นนั้นเป็นอนิฏฐารมณ์คือส่งที่ไม่ชอบใจ คนทั่วๆ ไปย่อมเกิดความไม่พอใจอยากหนีไปให้ไกล หรือไม่ก็ไม่เอาสิ่งที่ไม่น่าชอบใจนั้นไปให้ไกล ๆ แต่พระอรหันต์ท่านเห็นแล้ว ท่านก็เฉยๆ ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย นี่เป็นความแตกต่าง และไม่แตกต่างกันระหว่างคนทั่วๆ ไปกับพระอรหันต์

    คุณวิเศษของพระอรหันต์ได้รับมีดังนี้

    ๑. สามารถเข้าผลสมาบัติตามฐานของพระอรหันต์ได้

    ๒. ไม่มีกิเลสเหลือในจิตใจแม้แต่เพียงนิดเดียว

    ๓. เมื่อดับขันธ์ต้องปรินิพพานอย่างเดียว

    <o></o>

    <hr width="33%" align="left" size="1"> [1] วิ.อ. (บาลี) ๑/๑/๑๐๓-๑๑๘, วินยฏฺ€กถา (สมนฺตปาสาทิกา ๑) - หน้าที่ 137<o></o>

    [2] ที.ปา.อ.(บาลี) ๑๑๖/๔๘<o></o>

    [3] ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๖/๒๗ , ขุ.จู. ๓๐/๒๘/๙๐<o></o>

    [4] องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๑ , ม.มู.อ. ๑/๖๙/๑๗๗, เทียบ องฺ.ทุก.อ. ๒/๘๘/๖๒<o></o>

    [5] องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๐, องฺ.นวก.อ. ๓/๔๕/๓๑๖ , ที.ม.อ. ๑๓๐/๑๑๓<o></o>

    [6] ที.ปา. ๑๑/๓๐๕/๑๙๗ , องฺ.จตุกฺก.๒๑/๑๗๐/๒๑๒ ; ขุ.ปฏิ.๓๑/๕๓๔/๔๓๒, วิสุทธิ.ฎีกา๓/๕๑๐<o></o>

    [7] ม.ม.(ไทย)๑๓/๑๙๘/๒๓๕ , ที.สี.(แปล) ๙/๒๓๔-๒๔๘/๗๗-๘๔, องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๒/๔๑๒-๔๑๔<o></o>

    [8] องฺ.จตุกฺก.(แปล) ๒๑/๑๗๒/๒๔๒-๒๔๓<o></o>

    [9] หมายถึงได้รูปฌานโดยเจริญกสิณที่กำหนดวัตถุในกายของตน เช่น สีผม เห็นรูปทั้งหลาย หมายถึงเห็นรูปฌาน ๔ (ที.ม.อ. ๑๒๙/๑๑๒-๑๑๓)<o></o>

    [10] หมายถึงเห็นรูปทั้งหลายมีนีลกสิณเป็นต้นด้วยญาณจักขุ (ที.ม.อ. ๑๒๙/๑๑๒-๑๑๓)<o></o>

    [11] หมายถึงผู้เจริญวัณณกสิณ กำหนดสีที่งาม (ที.ม.อ. ๑๒๙/๑๑๒-๑๑๓<o></o>

    [12] ที.มหา.(ไทย) ๑๐/๑๒๙/๗๕


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กันยายน 2009
  5. trainee

    trainee สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2009
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +3
    ถ้า หากว่าคฤหัสถ์ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์จะต้องบวชเป็นพระภิกษุภายใน ๗ วัน ถ้าไม่บวชภายใน ๗ วันนี้ อายุจะสั้น เพราะเพศของคฤหัสถ์นั้นไม่สามารถที่จะรองรับความเป็นพระอาหันต์ได้ นี้เป็นข้อที่แตกต่างอีกอย่างหนึ่ง พระอรหันต์นั้นท่านเป็นผู้ที่ไม่มีกิเลสแล้ว


    หลวงพ่อท่านกล่าวว่า หากว่าคฤหัสถ์ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์จะต้องบวชเป็นพระภิกษุทันที ก่อนพระอาทิตย์ของวันใหม่ขึ้น ไม่เช่นนั้นจะตาย
    ขันธ์ 5 ยั้งไม่ไหว
     

แชร์หน้านี้

Loading...