พระอภิธรรมเล่ม ๓ จตุกกนิทเทส บุคคล ๔ จำพวก

ในห้อง 'พระไตรปิฎก เสียงอ่าน' ตั้งกระทู้โดย Kob, 20 เมษายน 2011.

  1. Kob

    Kob เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    6,161
    ค่าพลัง:
    +19,894
    <CENTER>[MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.1457787/[/MUSIC]</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>36-039 จตุกกนิทเทส01
    36-039 จตุกกนิทเทส02

    </CENTER><CENTER>ที่มาไฟล์เสียง ทดลองอ่าน พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๖ พระอภิธรรมเล่ม ๓ - Buddhism Audio</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>จตุกกนิทเทส
    </CENTER><CENTER>[บุคคล ๔ จำพวก]
    </CENTER> [๑๐๔] คนที่เป็นอสัตบุรุษ เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม
    พูดเท็จ ดื่มสุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท นี้เรียกว่าคนที่เป็นอสัตบุรุษ
    คนที่เป็นอสัตบุรุษยิ่งกว่าอสัตบุรุษ เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ฆ่าสัตว์ด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้ฆ่าสัตว์
    ด้วย ลักทรัพย์ด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้ลักทรัพย์ด้วย ประพฤติผิดในกาม
    ด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้ประพฤติผิดในกามด้วย พูดเท็จด้วยตนเองด้วย
    ชักชวนให้ผู้อื่นพูดเท็จด้วย ดื่มสุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทด้วยตนเอง
    ด้วย ชักชวนผู้อื่นให้ดื่มสุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทด้วย นี้เรียกว่า
    คนเป็นอสัตบุรุษยิ่งกว่าอสัตบุรุษ
    คนที่เป็นสัตบุรุษ เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติปาต เว้นขาดจาก
    อทินนาทาน เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร เว้นขาดจากมุสาวาท เว้นขาดจาก
    การดื่มสุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท นี้เรียกว่าคนที่เป็นสัตบุรุษ
    คนที่เป็นสัตบุรุษยิ่งกว่าสัตบุรุษ เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาตด้วยตนเองด้วย
    ชักชวนผู้อื่นให้เว้นจากปาณาติบาตด้วย เว้นขาดจากอทินนาทานด้วยตนเองด้วย
    ชักชวนผู้อื่นให้เว้นจากอทินนาทานด้วย เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจารด้วยตนเอง
    ด้วย ชักชวนผู้อื่นให้เว้นจากกาเมสุมิจฉาจารด้วย เว้นขาดจากมุสาวาทด้วย
    ตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้เว้นจากมุสาวาทด้วย เว้นขาดจากการดื่มสุราเมรัย
    อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้เว้นจากการดื่ม
    สุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทด้วย นี้เรียกว่า คนที่เป็นสัตบุรุษยิ่งกว่า
    สัตบุรุษ
    [๑๐๕] คนลามก เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม
    พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ โลภอยากได้ของเขา
    พยาบาทปองร้ายเขา เห็นผิดจากคลองธรรม นี้เรียกว่า คนลามก
    คนที่ลามกยิ่งกว่าคนลามก เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ฆ่าสัตว์ด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้ฆ่าสัตว์
    ด้วย ลักทรัพย์ด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้ลักทรัพย์ด้วย ประพฤติผิดใน
    กามด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้ประพฤติผิดในกามด้วย พูดเท็จด้วยตนเอง
    ด้วย ชักชวนผู้อื่นให้พูดเท็จด้วย พูดส่อเสียดด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้
    พูดส่อเสียดด้วย พูดคำหยาบด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้พูดคำหยาบด้วย
    พูดเพ้อเจ้อด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้พูดเพ้อเจ้อด้วย โลภอยากได้ของ
    เขาด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้โลภอยากได้ของเขาด้วย พยาบาทปองร้าย
    เขาด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้พยาบาทปองร้ายเขาด้วย เห็นผิดจากคลอง
    ธรรมด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้เห็นผิดจากคลองธรรมด้วย นี้เรียกว่า
    คนลามกยิ่งกว่าคนลามก
    คนดี เป็นไฉน
    คนบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต จากอทินนาทาน
    จากกาเมสุมิจฉาจาร จากมุสาวาท จากการพูดส่อเสียด จากการพูดคำหยาบ
    จากการพูดเพ้อเจ้อ เป็นผู้ไม่โลภอยากได้ของเขา ไม่พยาบาทปองร้ายเขา เห็น
    ชอบตามทำนองคลองธรรม นี้เรียกว่า คนดี
    คนดียิ่งกว่าคนดี เป็นไฉน
    คนบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาตด้วยตนเองด้วย
    ชักชวนผู้อื่นให้เว้นจากปาณาติบาตด้วย เป็นผู้เว้นขาดจากอทินนาทานด้วยตนเอง
    ด้วย ชักชวนผู้อื่นให้เว้นจากอทินนาทานด้วย เป็นผู้เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร
    ด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้เว้นจากกาเมสุมิจฉาจารด้วย เป็นผู้เว้นขาดจาก
    มุสาวาทด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้เว้นจากมุสาวาทด้วย เป็นผู้เว้นขาดจาก
    การพูดส่อเสียดด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้เว้นจากการพูดส่อเสียดด้วย
    เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดคำหยาบด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้เว้นจากการพูด
    คำหยาบด้วย เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่น
    ให้เป็นผู้เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อด้วย เป็นผู้ไม่โลภอยากได้ของเขาด้วยตนเองด้วย
    ชักชวนคนอื่นไม่ให้โลภอยากได้ของเขาด้วย ไม่พยาบาทปองร้ายเขาด้วยตนเอง
    ด้วย ไม่ชักชวนให้ผู้อื่นพยาบาทปองร้ายเขาด้วย เป็นผู้เห็นชอบตามทำนอง
    คลองธรรมด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้เห็นชอบตามทำนองคลองธรรมด้วย
    นี้เรียกว่า คนดียิ่งกว่าคนดี
    [๑๐๖] คนมีธรรมอันลามก เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ฯลฯ เห็นผิดจาก
    ทำนองคลองธรรม นี้เรียกว่า คนมีธรรมอันลามก
    คนมีธรรมลามกยิ่งกว่าคนมีธรรมลามก เป็นไฉน
    คนบางคนในโลกนี้ ฆ่าสัตว์ด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้ฆ่าสัตว์
    ด้วย ลักทรัพย์ด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้ลักทรัพย์ด้วย ฯลฯ เห็นผิดจาก
    ทำนองคลองธรรมด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้เห็นผิดจากทำนองคลองธรรม
    ด้วย นี้เรียกว่า คนมีธรรมอันลามกยิ่งกว่าคนมีธรรมลามก
    คนมีธรรมงาม เป็นไฉน
    คนบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต จากอทินนาทาน ฯลฯ
    มีความเห็นชอบตามทำนองคลองธรรม นี้เรียกว่า คนมีธรรมงาม
    คนมีธรรมงามยิ่งกว่าคนมีธรรมงาม เป็นไฉน
    คนบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาตด้วยตนเองด้วย ชัก
    ชวนผู้อื่นให้เว้นจากปาณาติบาตด้วย ฯลฯ เห็นชอบตามทำนองคลองธรรมด้วย
    ตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้เห็นชอบตามทำนองคลองธรรมด้วย นี้เรียกว่า คน
    มีธรรมงามยิ่งกว่าคนมีธรรมงาม
    [๑๐๗] คนมีที่ติ เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยกายกรรมที่มีโทษ ประกอบ
    ด้วยวจีกรรมที่มีโทษ ประกอบด้วยมโนกรรมที่มีโทษ นี้เรียกว่าคนมีที่ติ
    คนมีที่ติมาก เป็นไฉน
    คนบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยกายกรรมที่มีโทษมาก ประกอบ
    ด้วยกายกรรมที่ไม่มีโทษน้อย ประกอบด้วยวจีกรรมที่มีโทษมาก ประกอบด้วย
    วจีกรรมที่ไม่มีโทษน้อย ประกอบด้วยมโนกรรมที่มีโทษมาก ประกอบด้วยมโน
    กรรมที่ไม่มีโทษน้อย นี้เรียกว่า คนมีที่ติมาก
    คนมีที่ติน้อย เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ประกอบด้วยกายกรรมที่ไม่มีโทษมาก ประ
    กอบด้วยกายกรรมที่มีโทษน้อย ประกอบด้วยวจีกรรมที่ไม่มีโทษมาก ประกอบ
    ด้วยวจีกรรมที่มีโทษน้อย ประกอบด้วยมโนกรรมที่ไม่มีโทษมาก ประกอบด้วย
    มโนกรรมที่มีโทษน้อย นี้เรียกว่า คนมีที่ติน้อย
    คนไม่มีที่ติ เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ประกอบด้วยกายกรรมหาโทษมิได้ ประกอบ
    ด้วยวจีกรรมหาโทษมิได้ ประกอบด้วยมโนกรรมหาโทษมิได้ นี้เรียกว่า คนไม่มี
    ที่ติ
    [๑๐๘] บุคคลผู้อุคฆติตัญญู เป็นไฉน
    การบรรลุมรรคผล ย่อมมีแก่บุคคลใด พร้อมกับเวลาที่ท่านยกหัวข้อ
    ขึ้นแสดง บุคคลนี้เรียกว่า บุคคลผู้อุคฆติตัญญู
    บุคคลผู้วิปัญจิตัญญู เป็นไฉน
    การบรรลุมรรคผล ย่อมมีแก่บุคคลใด ในเมื่อท่านจำแนกเนื้อความ
    แห่งภาษิตโดยย่อให้พิสดาร บุคคลนี้เรียกว่า บุคคลผู้วิปัญจิตัญญู
    บุคคลผู้เนยยะ เป็นไฉน
    การบรรลุมรรคผลเป็นชั้นๆ ไป ย่อมมีแก่บุคคลใด โดยเหตุอย่างนี้
    คือโดยอุทเทส โดยไต่ถาม โดยทำไว้ในใจโดยแยบคาย โดยสมาคม โดย
    คบหา โดยสนิทสนมกับกัลยาณมิตร บุคคลนี้เรียกว่า บุคคลผู้เนยยะ
    บุคคลผู้ปทปรมะ เป็นไฉน
    บุคคลใดฟังพุทธพจน์ก็มาก กล่าวก็มาก จำทรงไว้ก็มาก บอกสอนก็
    มาก แต่ไม่มีการบรรลุมรรคผลในชาตินั้น บุคคลนี้เรียกว่า บุคคลผู้ปทปรมะ
    [๑๐๙] บุคคลผู้โต้ตอบถูกต้องแต่ไม่ว่องไว เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกเขาถามปัญหา ย่อมแก้ได้ถูกต้องแต่ไม่ว่องไว
    นี้เรียกว่า บุคคลผู้โต้ตอบถูกต้องแต่ไม่ว่องไว
    บุคคลผู้โต้ตอบว่องไวแต่ไม่ถูกต้อง เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกเขาถามปัญหาย่อมแก้ได้ว่องไว แต่แก้ไม่
    ถูกต้อง นี้เรียกว่า บุคคลโต้ตอบว่องไวแต่ไม่ถูกต้อง
    บุคคลผู้โต้ตอบถูกต้องและว่องไว เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกเขาถามปัญหา ย่อมแก้ได้ถูกต้องและแก้ได้
    ว่องไว นี้เรียกว่า บุคคลผู้โต้ตอบถูกต้องและว่องไว
    บุคคลผู้โต้ตอบไม่ถูกต้องและไม่ว่องไว เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกเขาถามปัญหา ย่อมแก้ไม่ได้ถูกต้องและไม่
    ว่องไว นี้เรียกว่า บุคคลผู้โต้ตอบไม่ถูกต้องและไม่ว่องไว
    [๑๑๐] บุคคลเป็นธรรมกถึก ๔ จำพวก เป็นไฉน
    ธรรมกถึกบางคนในโลกนี้ ย่อมกล่าวน้อยและกล่าวคำไม่ประกอบด้วย
    ประโยชน์ ทั้งบริษัทก็ไม่รู้คำนั้นว่าประกอบด้วยประโยชน์ หรือไม่ประกอบด้วย
    ประโยชน์ ธรรมกถึกเช่นนี้ ย่อมถึงซึ่งอันนับว่าเป็นธรรมกถึกของบริษัทเห็นปาน
    นี้เท่านั้น
    ธรรมกถึกบางคนในโลกนี้ ย่อมกล่าวน้อย และกล่าวคำที่ประกอบด้วย
    ประโยชน์ และบริษัทรู้คำนั้นว่าประกอบด้วยประโยชน์ หรือไม่ประกอบด้วย
    ประโยชน์ ธรรมกถึกเช่นนี้ ย่อมถึงซึ่งอันนับว่าเป็นธรรมกถึกของบริษัทเห็น
    ปานนี้เท่านั้น
    ธรรมกถึกบางคนในโลกนี้ ย่อมกล่าวมาก และกล่าวคำไม่ประกอบ
    ด้วยประโยชน์ ทั้งบริษัทก็ไม่รู้คำนั้นว่าประกอบด้วยประโยชน์ หรือไม่ประกอบ
    ด้วยประโยชน์ ธรรมกถึกเช่นนี้ ย่อมถึงซึ่งอันนับว่าเป็นธรรมกถึกของบริษัทเห็น
    ปานนี้เท่านั้น
    ส่วนธรรมถึกบางคนในโลกนี้ ย่อมกล่าวมาก และกล่าวคำที่ประกอบ
    ด้วยประโยชน์ ทั้งบริษัทก็รู้คำนั้นว่าประกอบด้วยประโยชน์ หรือไม่ประกอบด้วย
    ประโยชน์ ธรรมกถึกเช่นนี้ ย่อมถึงซึ่งอันนับว่า เป็นธรรมกถึกของบริษัทเห็น
    ปานนี้เท่านั้น
    เหล่านี้เรียกว่า บุคคลผู้เป็นธรรมกถึก ๔ จำพวก
    บุคคลเปรียบด้วยวลาหก ๔ อย่าง เป็นไฉน
    [๑๑๑] วลาหก ๔ อย่าง
    ฟ้าร้องฝนไม่ตก
    ฝนตกฟ้าไม่ร้อง
    ฟ้าร้องฝนตก
    ฟ้าไม่ร้องฝนไม่ตก
    [๑๑๒] บุคคลเปรียบด้วยวลาหก ๔ อย่างนี้ มีปรากฏอยู่ในโลกก็ฉัน
    นั้นเหมือนกัน
    บุคคล ๔ จำพวก เป็นไฉน
    บุคคลเหมือนฟ้าร้องฝนไม่ตก
    บุคคลเหมือนฝนตกฟ้าไม่ร้อง
    บุคคลเหมือนฟ้าร้องฝนตก
    บุคคลเหมือนฟ้าไม่ร้องฝนไม่ตก
    บุคคลเหมือนฟ้าร้องฝนไม่ตก เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้พูดแต่ไม่ทำ อย่างนี้เป็นคนเหมือนฟ้า
    ร้องฝนไม่ตก ฟ้านั้นร้องแต่ฝนไม่ตก แม้ฉันใด บุคคลนี้ก็มีอุปไมยฉันนั้น
    บุคคลเหมือนฝนตกฟ้าไม่ร้อง เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนทำแต่ไม่พูด อย่างนี้เป็นคนเหมือนฝนตก
    ฟ้าไม่ร้อง ฝนตกฟ้าไม่ร้องแม้ฉันใด บุคคลนี้ก็มีอุปไมยฉันนั้น
    บุคคลเหมือนฟ้าร้องฝนตก เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้พูดด้วยทำด้วย อย่างนี้เป็นคนเหมือนฟ้า
    ร้องฝนตก ฟ้าร้องฝนตกแม้ฉันใด บุคคลนี้ก็มีอุปไมยฉันนั้น
    บุคคลเหมือนฟ้าไม่ร้องฝนไม่ตก เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่พูดไม่ทำ อย่างนี้เป็นคนเหมือนฟ้าไม่ร้อง
    ฝนไม่ตก ฟ้าไม่ร้องฝนไม่ตกแม้ฉันใด บุคคลนี้ก็มีอุปไมยฉันนั้น
    บุคคลเปรียบด้วยวลาหก ๔ อย่างเหล่านี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
    บรรดาบุคคลเหล่านั้น บุคคลเปรียบด้วยหนู ๔ จำพวก เป็นไฉน
    [๑๑๓] หนู ๔ จำพวก
    หนูที่ขุดรูไว้ แต่ไม่อยู่
    หนูที่อยู่ แต่มิได้ขุดรู
    หนูที่ขุดรูด้วย อยู่ด้วย
    หนูที่ทั้งไม่ขุดรู ทั้งไม่อยู่
    [๑๑๔] บุคคลเปรียบด้วยหนู ๔ จำพวกเหล่านี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
    ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
    บุคคลเปรียบด้วยหนู ๔ จำพวก เป็นไฉน
    บุคคลเป็นผู้ทำที่อยู่ แต่ไม่อยู่
    บุคคลเป็นผู้อยู่ แต่ไม่ทำที่อยู่
    บุคคลเป็นผู้ทำที่อยู่ และอยู่ด้วย
    บุคคลทั้งไม่ทำที่อยู่ ทั้งไม่อยู่ด้วย
    บุคคลทำที่อยู่ แต่ไม่อยู่ เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยา-
    *กรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ บุคคลนั้น
    ไม่รู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธ-
    *คามินีปฏิปทา บุคคลอย่างนี้ชื่อว่าเป็นผู้ทำที่อยู่ แต่ไม่อยู่ หนูนั้นทำรังไว้แต่ไม่อยู่
    แม้ฉันใด บุคคลนี้ก็มีอุปไมยฉันนั้น
    บุคคลเป็นผู้อยู่ แต่ไม่ทำที่อยู่ เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไม่เล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ
    เวยยากรณะ คาถา อุทาน อติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ บุคคล
    นั้นรู้อยู่ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธ-
    *คามินีปฏิปทา บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า เป็นผู้อยู่ แต่ไม่ทำที่อยู่ หนูที่เป็นผู้อยู่ แต่
    ไม่ทำรังนั้น แม้ฉันใด บุคคลนี้ก็มีอุปไมย ฉันนั้น
    บุคคลเป็นผู้ทำที่อยู่ และอยู่ด้วย เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ
    เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ บุคคล
    นั้น ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกข-
    *นิโรธคามินีปฏิปทา บุคคลอย่างนี้ชื่อว่าเป็นผู้ทำที่อยู่ และอยู่ด้วย หนูที่ทำรังอยู่
    และอยู่ด้วยนั้น แม้ฉันใด บุคคลนี้ก็มีอุปไมยฉันนั้น
    บุคคลทั้งไม่ทำที่อยู่ ทั้งไม่อยู่ด้วย เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไม่เล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ
    เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ
    บุคคลนั้นไม่รู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกข-
    *นิโรธคามินีปฏิปทา บุคคลอย่างนี้ชื่อว่าทั้งไม่ทำที่อยู่ ทั้งไม่อยู่ด้วย หนูที่ทั้ง
    ไม่ทำรัง ทั้งไม่อยู่ด้วยนั้น แม้ฉันใด บุคคลนี้ก็มีอุปไมยฉันนั้น
    บุคคลเปรียบด้วยหนู ๔ จำพวกเหล่านี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
    บรรดาบุคคลเหล่านั้น บุคคลเปรียบด้วยมะม่วง ๔ จำพวก เป็นไฉน
    [๑๑๕] มะม่วง ๔ ชนิด
    มะม่วงดิบ แต่สีเป็นมะม่วงสุก
    มะม่วงสุก แต่สีเป็นมะม่วงดิบ
    มะม่วงดิบ สีก็เป็นมะม่วงดิบ
    มะม่วงสุก สีก็เป็นมะม่วงสุก
    [๑๑๖] บุคคลเปรียบด้วยมะม่วง ๔ ชนิด มีปรากฏอยู่ในโลกฉันนั้น
    เหมือนกัน
    บุคคล ๔ จำพวก เป็นไฉน
    บุคคลเช่นมะม่วงดิบ แต่สีเป็นมะม่วงสุก
    บุคคลเช่นมะม่วงสุก แต่มีสีเป็นมะม่วงดิบ
    บุคคลเช่นมะม่วงดิบ มีสีก็เป็นมะม่วงดิบ
    บุคคลเช่นมะม่วงสุก มีสีก็เป็นมะม่วงสุก
    บุคคลที่เป็นเช่นมะม่วงดิบ แต่มีสีเป็นมะม่วงสุก เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ มีการก้าวไปข้างหน้า ถอยหลังแลตรง เหลียว
    ซ้ายแลขวา คู้เข้าเหยียดออก ทรงสังฆาฏิบาตรและจีวร น่าเลื่อมใส บุคคล
    นั้นไม่รู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธ-
    *คามินีปฏิปทา บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า เป็นเช่นมะม่วงดิบ แต่มีสีเป็นมะม่วงสุก
    มะม่วงดิบแต่มีสีเป็นมะม่วงสุกนั้น แม้ฉันใด บุคคลนี้ก็มีอุปไมยฉันนั้น
    บุคคลที่เป็นเช่นมะม่วงสุก แต่มีสีเป็นมะม่วงดิบ เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ มีการก้าวไปข้างหน้า ถอยหลังแลตรง เหลียว
    ซ้ายแลขวา คู้เข้าเหยียดออก ทรงสังฆาฏิบาตรและจีวร ไม่น่าเลื่อมใส บุคคล
    นั้น รู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธ-
    *คามินีปฏิปทา บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า เป็นเช่นมะม่วงสุก แต่มีสีเป็นมะม่วงดิบ
    มะม่วงสุกแต่มีสีเป็นมะม่วงดิบนั้นฉันใด บุคคลนี้ก็มีอุปไมยฉันนั้น
    บุคคลเช่นมะม่วงดิบมีสีก็เป็นมะม่วงดิบ เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ มีการก้าวไปข้างหน้า ถอยหลังแลตรง เหลียว
    ซ้ายแลขวา คู้เข้า เหยียดออก ทรงสังฆาฏิบาตรและจีวร ไม่น่าเลื่อมใส
    บุคคลนั้นไม่รู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ ย่อมไม่รู้ตามความเป็นจริงว่า
    นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา บุคคลอย่างนี้ชื่อว่าเป็นเช่นมะม่วงดิบ มีสีก็เป็น
    มะม่วงดิบ มะม่วงดิบมีสีเป็นมะม่วงดิบนั้นแม้ฉันใด บุคคลนี้ก็มีอุปไมยฉันนั้น
    บุคคลเช่นมะม่วงสุก มีสีก็เป็นมะม่วงสุก เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ มีการก้าวไปข้างหน้า ถอยหลังแลตรง เหลียว
    ซ้ายแลขวา คู้เข้า เหยียดออก ทรงผ้าสังฆาฏิบาตรและจีวร น่าเลื่อมใส
    บุคคลนั้นรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข-
    *นิโรธคามินีปฏิปทา บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า เป็นเช่นมะม่วงสุก มีสีก็เป็นมะม่วง
    สุก มะม่วงสุกมีสีเป็นมะม่วงสุกนั้นแม้ฉันใด บุคคลนี้ก็มีอุปไมยฉันนั้น
    บุคคลเปรียบด้วยมะม่วง ๔ จำพวกเหล่านี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
    บรรดาบุคคลเหล่านั้น บุคคลเปรียบด้วยหม้อ ๔ จำพวก เป็นไฉน
    [๑๑๗] หม้อ ๔ ชนิด
    หม้อเปล่าปิด
    หม้อเต็มเปิด
    หม้อเปล่าเปิด
    หม้อเต็มปิด
    [๑๑๘] บุคคลเปรียบด้วยหม้อ ๔ ชนิด เหล่านี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
    ฉันนั้นเหมือนกัน
    บุคคล ๔ จำพวก เป็นไฉน
    คนเปล่าปิด
    คนเต็มเปิด
    คนเปล่าเปิด
    คนเต็มปิด
    บุคคลที่เป็นคนเปล่าปิด เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ มีการก้าวไปข้างหน้า ถอยหลังแลตรง เหลียว
    ซ้ายแลขวา คู้เข้า เหยียดออก ทรงสังฆาฏิบาตรและจีวร น่าเลื่อมใส บุคคล
    นั้นย่อมไม่รู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา บุคคล
    อย่างนี้ชื่อว่า เป็นคนเปล่าปิด หม้อเปล่าปิดแม้ฉันใด บุคคลนี้ก็มีอุปไมยฉันนั้น
    บุคคลที่เป็นคนเต็มเปิด เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ มีการก้าวไปข้างหน้า ถอยหลังแลตรง เหลียว
    ซ้ายแลขวา คู้เข้า เหยียดออก ทรงสังฆาฏิบาตรและจีวร ไม่น่าเลื่อมใส บุคคล
    นั้นรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา บุคคลอย่าง
    นี้ชื่อว่าเป็นคนเต็มเปิด หม้อเต็มเปิดนั้นแม้เป็นฉันใด บุคคลนี้ก็มีอุปไมยฉันนั้น
    บุคคลที่เป็นคนเปล่าเปิด เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ มีการก้าวไปข้างหน้า ถอยหลังแลตรง เหลียว
    ซ้ายแลขวา คู้เข้า เหยียดออก ทรงผ้าสังฆาฏิบาตรและจีวร ไม่น่าเลื่อมใส
    บุคคลนั้นไม่รู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา บุคคล
    อย่างนี้ชื่อว่า เป็นคนเปล่าเปิด หม้อเปล่าเปิดนั้นแม้ฉันใด บุคคลนี้ก็มีอุปไมย
    ฉันนั้น
    บุคคลที่เป็นคนเต็มปิด เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ มีการก้าวไปข้างหน้า ถอยหลังแลตรง เหลียว
    ซ้ายแลขวา คู้เข้า เหยียดออก ทรงสังฆาฏิบาตรและจีวร น่าเลื่อมใส บุคคล
    นั้นรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา บุคคลอย่าง
    นี้ชื่อว่า เป็นคนเต็มปิด หม้อเต็มปิดนั้นแม้ฉันใด บุคคลนี้ก็มีอุปไมยฉันนั้น
    บุคคลเปรียบด้วยหม้อ ๔ จำพวกเหล่านี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
    บรรดาบุคคลเหล่านั้น บุคคลเปรียบด้วยห้วงน้ำ ๔ จำพวก
    เป็นไฉน
    [๑๑๙] ห้วงน้ำ ๔ ชนิด
    ห้วงน้ำตื้นเงาลึก
    ห้วงน้ำลึกเงาตื้น
    ห้วงน้ำตื้นเงาตื้น
    ห้วงน้ำลึกเงาลึก
    [๑๒๐] บุคคลเปรียบด้วยห้วงน้ำ ๔ ชนิด มีปรากฏอยู่ในโลกก็ฉันนั้น
    เหมือนกัน
    บุคคล ๔ จำพวก เป็นไฉน
    คนตื้นเงาลึก
    คนลึกเงาตื้น
    คนตื้นเงาตื้น
    คนลึกเงาลึก
    คนตื้นเงาลึก เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ มีการก้าวไปข้างหน้า ถอยหลังแลตรง เหลียว
    ซ้ายแลขวา คู้เข้า เหยียดออก ทรงสังฆาฏิบาตรและจีวร น่าเลื่อมใส บุคคล
    นั้นไม่รู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา บุคคล
    อย่างนี้ชื่อว่า คนตื้นเงาลึก ห้วงน้ำตื้นเงาลึกนั้น แม้ฉันใด บุคคลนี้ก็มีอุปไมย
    ฉันนั้น
    คนลึกเงาตื้น เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ มีการก้าวไปข้างหน้า ถอยหลังแลตรง เหลียว
    ซ้ายแลขวา คู้เข้า เหยียดออก ทรงสังฆาฏิบาตรและจีวร ไม่น่าเลื่อมใส บุคคล
    นั้นรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา บุคคลอย่าง
    นี้ชื่อว่า คนลึกเงาตื้น ห้วงน้ำลึกเงาตื้นนั้น แม้ฉันใด บุคคลนี้ก็มีอุปไมย
    ฉันนั้น
    คนตื้นเงาตื้น เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ มีการก้าวไปข้างหน้า ถอยหลังแลตรง เหลียว
    ซ้ายแลขวา คู้เข้า เหยียดออก ทรงสังฆาฏิบาตรและจีวร ไม่น่าเลื่อมใส บุคคล
    นั้นไม่รู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา บุคคล
    อย่างนี้ชื่อว่า คนตื้นเงาตื้น ห้วงน้ำตื้นเงาตื้นนั้น แม้ฉันใด บุคคลนี้ก็มีอุปไมย
    ฉันนั้น
    คนลึกเงาลึก เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ มีการก้าวไปข้างหน้า ถอยหลังแลตรง เหลียว
    ซ้ายแลขวา คู้เข้า เหยียดออก ทรงสังฆาฏิบาตรและจีวร น่าเลื่อมใส บุคคล
    นั้นรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา บุคคลอย่างนี้
    ชื่อว่า คนลึกเงาลึก ห้วงน้ำลึกเงาลึกนั้น แม้ฉันใด บุคคลนี้ก็มีอุปไมยฉันนั้น
    บุคคลเปรียบด้วยห้วงน้ำ ๔ จำพวกเหล่านี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
    บรรดาบุคคลเหล่านั้น บุคคลเปรียบด้วยโคถึก ๔ จำพวก เป็นไฉน
    [๑๒๑] โคถึก ๔ จำพวก
    โคดุพวกของตน ไม่ดุพวกอื่น
    โคดุพวกอื่น ไม่ดุพวกของตน
    โคดุทั้งพวกของตน ดุทั้งพวกอื่น
    โคไม่ดุทั้งพวกของตน ไม่ดุทั้งพวกอื่น
    [๑๒๒] บุคคลเปรียบด้วยโคถึก ๔ จำพวกเหล่านี้ ปรากฏอยู่ในโลก
    ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
    บุคคล ๔ จำพวก เป็นไฉน
    คนดุพวกของตน แต่ไม่ดุพวกอื่น
    คนดุพวกอื่น แต่ไม่ดุพวกของตน
    คนดุทั้งพวกของตน ดุทั้งพวกอื่น
    คนไม่ดุทั้งพวกของตน ไม่ดุทั้งพวกอื่น
    บุคคลดุพวกของตนไม่ดุพวกอื่น เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ชอบเบียดเบียนบริษัทของตน แต่ไม่เบียดเบียน
    บริษัทของผู้อื่น บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า เปรียบด้วยโคที่ดุแต่ในพวกของตน ไม่ดุ
    พวกอื่น โคถึกที่ดุพวกของตนแต่ไม่ดุพวกอื่น แม้ฉันใด บุคคลนี้ก็มีอุปไมยฉันนั้น
    บุคคลดุพวกอื่นไม่ดุพวกของตน เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ชอบเบียดเบียนบริษัทของผู้อื่น แต่ไม่เบียด
    เบียนบริษัทของตน บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า เปรียบด้วยโคที่ดุพวกอื่นแต่ไม่ดุพวก
    ของตน โคถึกที่ดุพวกอื่นแต่ไม่ดุพวกของตน แม้ฉันใด บุคคลนี้ก็มีอุปไมย
    ฉันนั้น
    บุคคลดุทั้งพวกของตน ดุทั้งพวกอื่น เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ เบียดเบียนทั้งบริษัทของตน เบียดเบียนทั้ง
    บริษัทของผู้อื่น บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า เปรียบด้วยโคที่ดุทั้งพวกของตน ดุทั้ง
    พวกอื่น โคถึกที่ดุทั้งพวกของตนดุทั้งพวกอื่น แม้ฉันใด บุคคลนี้ก็มีอุปไมย
    ฉันนั้น
    บุคคลไม่ดุทั้งพวกของตน ไม่ดุทั้งพวกอื่น เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่เบียดเบียนทั้งบริษัทของตน ไม่เบียดเบียน
    ทั้งบริษัทของคนอื่น บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า เปรียบด้วยโคที่ไม่ดุทั้งพวกของตนและ
    พวกอื่น โคถึกที่ไม่ดุทั้งพวกของตน ไม่ดุทั้งพวกอื่น แม้ฉันใด บุคคลนี้ก็มี
    อุปไมยฉันนั้น
    บุคคลเปรียบด้วยโคถึก ๔ จำพวก เหล่านี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
    บรรดาบุคคลเหล่านั้น บุคคลเปรียบด้วยอสรพิษ ๔ จำพวก
    เป็นไฉน
    [๑๒๓] อสรพิษ ๔ จำพวก
    อสรพิษมีพิษแล่นเร็ว แต่ไม่ร้าย
    อสรพิษมีพิษร้าย แต่ไม่แล่นเร็ว
    อสรพิษมีพิษแล่นเร็วด้วย มีพิษร้ายด้วย
    อสรพิษมีพิษไม่แล่นเร็วด้วย มีพิษไม่ร้ายด้วย
    [๑๒๔] บุคคลเปรียบด้วยอสรพิษ ๔ จำพวกเหล่านี้ มีปรากฏอยู่ใน
    โลกฉันนั้นเหมือนกัน
    บุคคล ๔ จำพวก เป็นไฉน
    บุคคลมีพิษแล่นเร็ว แต่ไม่ร้าย
    บุคคลมีพิษร้าย แต่ไม่แล่นเร็ว
    บุคคลมีพิษแล่นเร็วด้วย มีพิษร้ายด้วย
    บุคคลมีพิษแล่นไม่เร็วด้วย มีพิษไม่ร้ายด้วย
    บุคคลมีพิษแล่นเร็ว แต่ไม่ร้าย เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมโกรธเนืองๆ แต่ว่าความโกรธของเขานั้น
    แล ย่อมไม่นอนเนื่องอยู่ตลอดกาลยาวนาน บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า ผู้มีพิษแล่น
    เร็วแต่ไม่ร้าย อสรพิษที่มีพิษแล่นเร็วแต่มีพิษไม่ร้ายนั้น แม้ฉันใด บุคคลนี้ก็มี
    อุปไมยฉันนั้น
    บุคคลมีพิษร้าย แต่ไม่แล่นเร็ว เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไม่โกรธเนืองๆ แต่ความโกรธของเขา
    นั้นแล ย่อมนอนเนื่องอยู่ตลอดกาลยาวนาน บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า มีพิษร้ายแต่
    มีพิษไม่แล่นเร็ว อสรพิษที่มีพิษร้ายแต่มีพิษไม่แล่นเร็ว แม้ฉันใด บุคคลนี้ก็
    มีอุปไมยฉันนั้น
    บุคคลมีพิษแล่นเร็วด้วย มีพิษร้ายด้วย เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมโกรธเนืองๆ และความโกรธของเขา
    นั้นแล ย่อมนอนเนื่องอยู่ตลอดกาลยาวนาน บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า มีพิษแล่นเร็ว
    ด้วย มีพิษร้ายด้วย อสรพิษนี่มีพิษแล่นเร็วด้วย มีพิษร้ายด้วย แม้ฉันใด
    บุคคลนี้ก็มีอุปไมยฉันนั้น
    บุคคลมีพิษไม่แล่นเร็วด้วย มีพิษไม่ร้ายด้วย เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไม่โกรธเนืองๆ ทั้งความโกรธของเขา
    นั้น ไม่นอนเนื่องอยู่ตลอดกาลยาวนาน บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า มีพิษไม่แล่นเร็ว
    ด้วย มีพิษไม่ร้ายด้วย อสรพิษที่มีพิษไม่แล่นเร็วด้วย มีพิษไม่ร้ายด้วย แม้ฉันใด
    บุคคลนี้ก็มีอุปไมยฉันนั้น
    บุคคลเปรียบด้วยอสรพิษ ๔ จำพวกเหล่านี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
    [๑๒๕] บุคคลไม่ใคร่ครวญไม่ไตร่ตรองแล้ว พูดสรรเสริญคนที่
    ไม่ควรสรรเสริญ เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ พูดสรรเสริญพวกเดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์
    ผู้ปฏิบัติชั่วปฏิบัติผิด ว่าเป็นผู้ปฏิบัติดีบ้าง เป็นผู้ปฏิบัติชอบบ้าง บุคคลอย่าง
    นี้ชื่อว่า ไม่ใคร่ครวญไม่ไตร่ตรองแล้ว พูดสรรเสริญคนที่ไม่ควรสรรเสริญ
    บุคคลไม่ใคร่ครวญไม่ไตร่ตรองแล้ว พูดติเตียนคนที่ควรสรรเสริญ
    เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ พูดติเตียนพระพุทธเจ้า พระสาวกของพระ-
    *พุทธเจ้า ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ว่าเป็นผู้ปฏิบัติชั่วบ้าง เป็นผู้ปฏิบัติผิดบ้าง บุคคล
    อย่างนี้ชื่อว่าไม่ใคร่ครวญไม่ไตร่ตรองแล้ว พูดติเตียนคนที่ควรสรรเสริญ
    บุคคลไม่ใคร่ครวญไม่ไตร่ตรองแล้ว มีความเลื่อมใสในฐานะ
    ที่ไม่ควรเลื่อมใส เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ยังความเลื่อมใสให้เกิดขึ้น ในข้อปฏิบัติชั่ว
    ปฏิบัติผิด ว่าเป็นข้อปฏิบัติดีบ้าง เป็นข้อปฏิบัติชอบบ้าง บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า
    ไม่ใคร่ครวญไม่ไตร่ตรองแล้ว มีความเลื่อมใสในฐานะที่ไม่ควรเลื่อมใส
    บุคคลไม่ใคร่ครวญแล้วไม่ไตร่ตรองแล้ว ไม่เลื่อมใสในฐานะ
    ที่ควรเลื่อมใส เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ยังความไม่เลื่อมใสให้เกิดขึ้น ในข้อปฏิบัติดี
    ปฏิบัติชอบ ว่าเป็นข้อปฏิบัติชั่วบ้าง เป็นข้อปฏิบัติผิดบ้าง บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า
    ไม่ใคร่ครวญไม่ไตร่ตรองแล้ว ไม่เลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส
    [๑๒๖] บุคคลใคร่ครวญไตร่ตรองแล้ว พูดติเตียนคนที่ควรติเตียน
    เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมพูดติเตียนพวกเดียรถีย์ สาวกเดียรถีย์
    ผู้ปฏิบัติชั่วปฏิบัติผิด ว่าเป็นผู้ปฏิบัติชั่วบ้าง เป็นผู้ปฏิบัติผิดบ้าง บุคคลอย่างนี้
    ชื่อว่า ใคร่ครวญไตร่ตรองแล้ว พูดติเตียนคนที่ควรติเตียน
    บุคคลใคร่ครวญไตร่ตรองแล้ว พูดสรรเสริญคุณของคนที่ควร
    สรรเสริญ เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมสรรเสริญพระพุทธเจ้า พระสาวกของ
    พระพุทธเจ้า ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ว่าเป็นผู้ปฏิบัติดีบ้าง ปฏิบัติชอบบ้าง บุคคล
    อย่างนี้ชื่อว่า ใคร่ครวญไตร่ตรองแล้ว พูดสรรเสริญคุณของคนที่ควรสรรเสริญ
    บุคคลใคร่ครวญไตร่ตรองแล้ว ไม่เลื่อมใสในฐานะที่ไม่ควร
    เลื่อมใส เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ยังความไม่เลื่อมใสให้เกิดขึ้น ในข้อปฏิบัติชั่ว
    ข้อปฏิบัติผิด ว่าข้อปฏิบัตินี้ชั่วบ้าง ข้อปฏิบัตินี้ผิดบ้าง บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า
    ใคร่ครวญไตร่ตรองแล้ว ไม่เลื่อมใสในฐานะที่ไม่ควรเลื่อมใส
    บุคคลใคร่ครวญไตร่ตรองแล้ว เลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส
    เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ยังความเลื่อมใสให้เกิดขึ้น ในข้อปฏิบัติดี
    ปฏิบัติชอบ ว่านี้เป็นข้อปฏิบัติดีบ้าง นี้เป็นข้อปฏิบัติชอบบ้าง บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า
    ใคร่ครวญไตร่ตรองแล้ว เลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส
    [๑๒๗] บุคคลพูดติเตียนคนที่ควรติเตียนจริงแท้ตามกาล แต่ไม่
    พูดสรรเสริญคนที่ควรสรรเสริญจริงแท้ตามกาล เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ควรสรรเสริญก็มี ควรติเตียนก็มี ในคน ๒ คนนั้น
    ผู้ใดควรติเตียน ย่อมติเตียนผู้นั้น จริงแท้ตามกาล ผู้ใดควรสรรเสริญ ย่อม
    ไม่พูดสรรเสริญผู้นั้น จริงแท้ตามกาล บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า พูดติเตียนคนที่ควร
    ติเตียนจริงแท้ตามกาล แต่ไม่พูดสรรเสริญคนที่ควรสรรเสริญ จริงแท้ตามกาล
    บุคคลพูดสรรเสริญคนที่ควรสรรเสริญจริงแท้ตามกาล แต่ไม่พูด
    ติเตียนคนที่ควรติเตียนจริงแท้ตามกาล เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ควรสรรเสริญก็มี ควรติเตียนก็มี ใน ๒ คนนั้น
    ผู้ใดควรสรรเสริญ ย่อมพูดสรรเสริญผู้นั้น จริงแท้ตามกาล ผู้ใดควรติเตียน
    ย่อมไม่พูดติเตียนผู้นั้น จริงแท้ตามกาล บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า พูดสรรเสริญคนที่
    ควรสรรเสริญจริงแท้ตามกาล แต่ไม่พูดติเตียนคนที่ควรติเตียนจริงแท้ตามกาล
    บุคคลพูดติเตียนคนที่ควรติเตียนจริงแท้ตามกาลและพูดสรรเสริญ
    คนที่ควรสรรเสริญจริงแท้ตามกาล เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ควรสรรเสริญก็มี ควรติเตียนก็มี ใน ๒ คนนั้น
    ผู้ใดควรติเตียน ย่อมพูดติเตียนผู้นั้นจริงแท้ตามกาล ผู้ใดควรสรรเสริญ ย่อม
    พูดสรรเสริญแม้บุคคลนั้นจริงแท้ตามกาล เป็นผู้รู้กาล เพื่อจะแก้ปัญหานั้นใน
    ที่นั้น บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า พูดติเตียนคนที่ควรติเตียนจริงแท้ตามกาล และพูด
    สรรเสริญคนที่ควรสรรเสริญจริงแท้ตามกาล
    บุคคลไม่พูดติเตียนคนที่ควรติเตียนจริงแท้ตามกาล ทั้งไม่พูด
    สรรเสริญคนที่ควรสรรเสริญจริงแท้ตามกาล เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ควรสรรเสริญก็มี ควรติเตียนก็มี ใน ๒ คนนั้น
    ผู้ใดควรติเตียน ย่อมไม่พูดติเตียนผู้นั้นจริงแท้ตามกาล ผู้ใดควรสรรเสริญ
    ย่อมไม่พูดสรรเสริญแม้ผู้นั้นจริงแท้ตามกาล เป็นผู้วางเฉย มีสติ มีสัมปชัญญะ
    บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า ไม่พูดติเตียนคนที่ควรติเตียนจริงแท้ตามกาล ทั้งไม่พูด
    สรรเสริญคนที่ควรสรรเสริญจริงแท้ตามกาล
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • playlist2.txt
      ขนาดไฟล์:
      218 bytes
      เปิดดู:
      186
  2. Kob

    Kob เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    6,161
    ค่าพลัง:
    +19,894
    [๑๒๘] บุคคลดำรงชีพอยู่ด้วยผลแห่งความหมั่น มิใช่ดำรงชีพ
    อยู่ด้วยผลแห่งบุญ เป็นไฉน
    อาชีพของบุคคลใด ย่อมเจริญรุ่งเรืองเพราะความหมั่น ความขยัน
    ความเพียรพยายาม มิได้บังเกิดแต่บุญ นี้เรียกว่า บุคคลผู้ดำรงชีพ อยู่ด้วยผล
    แห่งความหมั่น มิใช่ดำรงชีพอยู่ด้วยผลแห่งบุญ
    บุคคลดำรงชีพอยู่ด้วยผลแห่งบุญ มิใช่ดำรงชีพอยู่ด้วยผลแห่ง
    ความหมั่น เป็นไฉน
    เทวดาชั้นสูงๆ ขึ้นไป ตลอดถึงเทวดาเหล่าปรนิมมิตวสวดี ชื่อว่า
    ผู้ดำรงชีพอยู่ด้วยผลแห่งบุญ มิใช่ผู้ดำรงชีพอยู่ด้วยผลแห่งความหมั่น
    บุคคลดำรงชีพอยู่ด้วยผลแห่งความหมั่นด้วย ดำรงชีพอยู่ด้วยผล
    แห่งบุญด้วย เป็นไฉน
    อาชีพของบุคคลใด ย่อมเจริญรุ่งเรืองเพราะความหมั่น ความขยัน
    ความเพียรพยายามด้วย เพราะบุญด้วย นี้เรียกว่า บุคคลผู้ดำรงชีพอยู่ด้วยผล
    แห่งความหมั่นด้วย ดำรงชีพอยู่ด้วยผลแห่งบุญด้วย
    บุคคลผู้มิใช่ดำรงชีพอยู่ด้วยผลแห่งความหมั่น ทั้งมิใช่ดำรงชีพ
    อยู่ด้วยผลแห่งบุญด้วย เป็นไฉน
    สัตว์นรกทั้งหลาย ชื่อว่ามิใช่ผู้ดำรงชีพอยู่ด้วยผลแห่งความหมั่น ทั้ง
    มิใช่ดำรงชีพอยู่ด้วยผลแห่งบุญด้วย
    [๑๒๙] บุคคลผู้มืดมามืดไป เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เกิดในภายหลัง ในตระกูลต่ำ คือตระกูล
    คนจัณฑาล ตระกูลนายพราน ตระกูลช่างสาน ตระกูลช่างหนัง ตระกูลคนเท
    ดอกไม้ ซึ่งขัดสน มีข้าวน้ำโภชนะน้อย มีความเป็นอยู่ฝืดเคือง มีอาหารที่จะ
    พึงกิน มีผ้านุ่งห่มหาได้ยาก และบุคคลนั้นเป็นผู้มีผิวพรรณขี้ริ้ว ไม่น่าดู เป็น
    คนเตี้ย มีอาพาธมาก เป็นคนบอด คนมือเท้ากุด คนกระจอก หรือเป็นคนง่อย
    มักไม่ได้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย วัตถุ
    เป็นอุปกรณ์แก่ประทีป เขาย่อมประพฤติทุจริตทางกาย ประพฤติทุจริตทางวาจา
    ประพฤติทุจริตทางใจ ครั้นเขาประพฤติทุจริตทางกาย วาจา ใจแล้ว เบื้องหน้า
    แต่ตายเพราะความแตกแห่งกาย ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก บุคคล
    อย่างนี้ชื่อว่ามืดมามืดไป
    บุคคลผู้มืดมาสว่างไป เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เกิดในภายหลัง ในตระกูลต่ำ คือตระกูล
    คนจัณฑาล ตระกูลนายพราน ตระกูลช่างสาน ตระกูลช่างหนัง ตระกูลคนเท
    ดอกไม้ ซึ่งขัดสน มีข้าวน้ำโภชนะน้อย มีความเป็นอยู่ฝืดเคือง มีอาหารที่จะ
    พึงกิน มีผ้านุ่งห่มหาได้ยาก และบุคคลนั้นเป็นผู้มีผิวพรรณขี้ริ้ว ไม่น่าดู เป็นคนเตี้ย
    มีอาพาธมาก เป็นคนบอด คนมือเท้ากุด คนกระจอก หรือเป็นคนง่อย มักไม่ได้
    ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย วัตถุอุปกรณ์แก่
    ประทีป เขาย่อมประพฤติสุจริตทางกาย ประพฤติสุจริตทางวาจา ประพฤติสุจริต
    ทางใจ ครั้นเขาประพฤติสุจริตทางกาย วาจา ใจแล้ว เบื้องหน้าแต่ตายเพราะความ
    แตกแห่งกาย ย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ บุคคลอย่างนี้ชื่อว่ามืดมาสว่างไป
    บุคคลผู้สว่างมามืดไป เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เกิดแล้วในภายหลัง ในตระกูลสูง คือ
    ตระกูลขัตติยมหาศาล ตระกูลพราหมณ์มหาศาล ตระกูลคหบดีมหาศาล ซึ่งมี
    อำนาจวาสนามาก มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองและเงินเพียงพอ มีอุปกรณ์
    เครื่องปลื้มใจเพียงพอ มีทรัพย์และข้าวเปลือกเพียงพอ และบุคคลนั้นเป็นผู้มี
    รูปงาม น่าดูน่าชม น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยเป็นผู้มีสรีระมีสีราวกับทอง มีปกติ
    ได้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย วัตถุเป็น
    อุปกรณ์แก่ประทีป เขาย่อมประพฤติทุจริตทางกาย ประพฤติทุจริตทางวาจา
    ประพฤติทุจริตทางใจ ครั้นเขาประพฤติทุจริตทางกาย วาจา ใจแล้ว เบื้องหน้า
    แต่ตายเพราะความแตกแห่งกาย ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก บุคคล
    อย่างนี้ ชื่อว่าสว่างมามืดไป
    บุคคลที่สว่างมาสว่างไป เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เกิดแล้วในภายหลัง ในตระกูลสูง คือ
    ตระกูลขัตติยมหาศาล ตระกูลพราหมณ์มหาศาล หรือตระกูลคหบดีมหาศาล
    ซึ่งมีอำนาจวาสนามาก มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองและเงินเพียงพอ มีอุปกรณ์
    เครื่องปลื้มใจเพียงพอ มีทรัพย์และข้าวเปลือกเพียงพอ และบุคคลนั้นเป็นผู้มี
    รูปงาม น่าดูน่าชม น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยความเป็นผู้มีสรีระมีสีราวกับทอง
    มีปกติได้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย วัตถุ
    เป็นอุปกรณ์แก่ประทีป เขาย่อมประพฤติสุจริตทางกาย ประพฤติสุจริตทางวาจา
    ประพฤติสุจริตทางใจ ครั้นเขาประพฤติสุจริตทางกาย วาจา ใจแล้ว เบื้องหน้า
    แต่ตาย เพราะความแตกแห่งกาย ย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ บุคคลอย่างนี้
    ชื่อว่า สว่างมาสว่างไป
    [๑๓๐] บุคคลผู้ต่ำมาต่ำไป เป็นไฉน ฯลฯ บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า
    ต่ำมาต่ำไป
    บุคคลผู้ต่ำมาสูงไป เป็นไฉน ฯลฯ บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า ต่ำมาสูงไป
    บุคคลผู้สูงมาต่ำไป เป็นไฉน ฯลฯ บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า สูงมาต่ำไป
    บุคคลผู้สูงมาสูงไป เป็นไฉน ฯลฯ บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า สูงมาสูงไป
    บรรดาบุคคลเหล่านั้น บุคคลเปรียบด้วยต้นไม้ ๔ จำพวก เป็นไฉน
    [๑๓๑] ต้นไม้ ๔ ชนิด คือ
    ไม้กระพี้ แต่บริวารมีแก่น
    ไม้มีแก่น แต่บริวารมีกระพี้
    ไม้กระพี้ บริวารก็มีกระพี้
    ไม้มีแก่น บริวารก็มีแก่น
    [๑๓๒] บุคคลเปรียบด้วยต้นไม้ ๔ จำพวกเหล่านี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
    ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
    บุคคล ๔ จำพวก เป็นไฉน
    บุคคลกระพี้ แต่บริวารมีแก่น
    บุคคลมีแก่น แต่บริวารมีกระพี้
    บุคคลกระพี้ บริวารก็เป็นกระพี้
    บุคคลมีแก่น บริวารก็มีแก่น
    บุคคลกระพี้ แต่บริวารมีแก่น เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนทุศีล มีธรรมอันลามก แต่บริษัทของ
    บุคคลนั้น เป็นคนมีศีล มีธรรมอันงาม บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า บุคคลกระพี้แต่
    บริวารมีแก่น ต้นไม้นั้นเป็นกระพี้ แต่บริวารมีแก่น แม้ฉันใด บุคคลนี้ก็มีอุปไมย
    ฉันนั้น
    บุคคลมีแก่น แต่บริวารมีกระพี้ เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีศีล มีธรรมอันงาม ส่วนบริษัทของ
    บุคคลนั้น เป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันลามก บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า บุคคลมีแก่น แต่
    บริวารมีกระพี้ ต้นไม้นั้นมีแก่น แต่บริวารมีกระพี้ แม้ฉันใด บุคคลนี้ก็มีอุปไมย
    ฉันนั้น
    บุคคลกระพี้ บริวารก็เป็นกระพี้ เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันลามก แม้บริษัทของ
    บุคคลนั้น ก็เป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันลามก บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า บุคคลกระพี้
    บริวารก็เป็นกระพี้ ต้นไม้กระพี้ มีบริวารเป็นกระพี้นั้น แม้ฉันใด บุคคลนี้ก็มี
    อุปไมยฉันนั้น
    บุคคลมีแก่น บริวารก็มีแก่น เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนมีศีล มีธรรมอันลามก ฝ่ายบริษัทของ
    บุคคลนั้นก็เป็นผู้มีศีล มีธรรมอันงาม บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า บุคคลมีแก่น บริวาร
    ก็มีแก่น ต้นไม้มีแก่น บริวารก็มีแก่นนั้น แม้ฉันใด บุคคลนี้ ก็มีอุปไมยฉันนั้น
    บุคคลเปรียบด้วยต้นไม้ ๔ จำพวกเหล่านี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
    [๑๓๓] บุคคลผู้ถือรูปเป็นประมาณ เลื่อมใสในรูป เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ เห็นรูปที่สูง รูปที่ไม่อ้วนไม่ผอม รูปที่มีอวัยวะ
    สมส่วน หรือรูปที่งามพร้อมไม่มีที่ติ ถือเอาเป็นประมาณในรูปนั้น แล้วจึงยังความ
    เลื่อมใสให้เกิด นี้เรียกว่า บุคคลผู้ถือรูปเป็นประมาณ เลื่อมใสในรูป
    บุคคลถือเสียงเป็นประมาณ เลื่อมใสในเสียง เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ถือเอาประมาณในเสียงนั้นโดยการสรรเสริญคุณ
    ที่คนอื่นพูดในที่ลับหลัง โดยการชมเชยที่คนอื่นนิพนธ์ขึ้น โดยการยกย่องที่คนอื่น
    พูดต่อหน้า โดยการสรรเสริญที่ผู้อื่นนำไปพรรณนาต่างๆ กันไป แล้วจึงยังความ
    เลื่อมใสให้เกิด นี้เรียกว่า บุคคลถือประมาณในเสียง เลื่อมใสในเสียง
    บุคคลถือความเศร้าหมองเป็นประมาณ เลื่อมใสในความ
    เศร้าหมอง เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ เห็นความเศร้าหมองแห่งจีวร เห็นความ
    เศร้าหมองแห่งบาตร เห็นความเศร้าหมองแห่งเสนาสนะ หรือเห็นการทำทุกกร-
    *กิริยามีอย่างต่างๆ ถือเอาประมาณในความเศร้าหมองนั้นแล้ว จึงยังความเลื่อมใส
    ให้เกิดขึ้น นี้เรียกว่า บุคคลผู้ถือความเศร้าหมองเป็นประมาณ เลื่อมใสในความ
    เศร้าหมอง
    บุคคลถือธรรมเป็นประมาณ เลื่อมใสในธรรม เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ เห็นศีล เห็นสมาธิ เห็นปัญญา ถือเอาประมาณ
    ในธรรมนั้นแล้ว ยังความเลื่อมใสให้เกิดขึ้น นี้เรียกว่า บุคคลถือธรรมเป็น
    ประมาณ เลื่อมใสในธรรม
    [๑๓๔] บุคคลปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์
    คนอื่น เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลด้วยตนเอง แต่ไม่ชักชวน
    คนอื่นให้ถึงพร้อมด้วยศีล เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิด้วยตน แต่ไม่ชักชวนคนอื่น
    ให้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วยตน แต่ไม่ชักชวนคนอื่น
    ให้ถึงพร้อมด้วยปัญญา เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติด้วยตน แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึง
    พร้อมด้วยวิมุตติ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุติญาณทัสสนะด้วยตน แต่ไม่ชักชวนผู้อื่น
    ให้ถึงพร้อมด้วยวิมุติญาณทัสสนะ บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน
    ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์คนอื่น
    บุคคลปฏิบัติเพื่อประโยชน์คนอื่น แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน
    เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลด้วยตน แต่ชักชวนผู้อื่น
    ให้ถึงพร้อมด้วยศีล ไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิด้วยตน แต่ชักชวนคนอื่นให้ถึง
    พร้อมด้วยสมาธิ ไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วยตน แต่ชักชวนคนอื่นให้ถึง
    พร้อมด้วยปัญญา ไม่ถึงพร้อมด้วยวิมุตติด้วยตน แต่ชักชวนคนอื่นให้ถึงพร้อมด้วย
    วิมุตติ ไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะด้วยตน แต่ชักชวนผู้อื่นให้ถึง
    พร้อมด้วยวิมุติญาณทัสสนะ บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า ปฏิบัติเพื่อประโยชน์คนอื่น
    ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน
    บุคคลปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนด้วย เพื่อประโยชน์คนอื่นด้วย
    เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลด้วยตนเอง ชักชวนผู้
    อื่นให้ถึงพร้อมด้วยศีลด้วย เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิด้วยตนด้วย ชักชวนผู้อื่น
    ให้ถึงพร้อมด้วยสมาธิด้วย เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วยตนด้วย ชักชวนคน
    อื่นให้ถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วย เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติด้วยตนด้วย ชักชวนคน
    อื่นให้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติด้วย เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุติญาณทัสสนะด้วยตนด้วย
    ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยวิมุติญาณทัสสนะด้วย บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า ปฏิบัติ
    เพื่อประโยชน์ตนด้วย เพื่อประโยชน์ผู้อื่นด้วย
    บุคคลไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์คนอื่น
    เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลด้วยตน ไม่ชักชวน
    ผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยศีล ไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิด้วยตน ไม่ชักชวนผู้อื่น
    ให้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วยตน ไม่ชักชวนคน
    อื่นให้ถึงพร้อมด้วยปัญญา ไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติด้วยตน ไม่ชักชวนผู้
    อื่นให้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ ไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะด้วยตน ไม่
    ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า ไม่ปฏิบัติ
    เพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์คนอื่น
    [๑๓๕] บุคคลทำตนให้เดือดร้อน ขวนขวายประกอบสิ่งที่ทำตน
    ให้เดือดร้อน เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนเปลือย ไม่มีอาจาระ บริโภคอุจจาระ
    ซึ่งติดที่มือ คนเรียกให้มารับภิกษาไม่มา คนบอกให้หยุดไม่หยุด ไม่ยินดีภิกษา
    ที่เขารับก่อนแล้วนำมา ไม่ยินดีภิกษาที่เขาทำอุทิศเพื่อตน ไม่รับนิมนต์เขา ไม่
    รับภิกษาที่เขาคดจากหม้อแล้วก็ให้ ไม่รับจากหม้อข้าวหรือกระเช้า ไม่รับภิกษา
    ที่มีธรณีประตูเป็นระหว่างคั่น ไม่รับภิกษาที่มีท่อนไม้เป็นระหว่างคั่น ไม่รับภิกษา
    ที่มีสากเป็นระหว่างคั่น ไม่รับภิกษาของคนทั้ง ๒ ซึ่งกำลังบริโภคอยู่ ไม่รับ
    ภิกษาของหญิงมีครรภ์ ไม่รับภิกษาของหญิงที่กำลังให้ลูกดื่มน้ำนมอยู่ ไม่รับ
    ภิกษาของหญิงผู้อยู่ในระหว่างบุรุษ ไม่รับภิกษาในภัตที่เขาทำรวมกันไว้ ไม่
    รับภิกษาในที่เขาเลี้ยงสุนัข ไม่รับภิกษาในที่มีแมลงวันอยู่เป็นหมู่ๆ ไม่รับปลา
    เนื้อ ไม่ดื่มสุราเมรัย น้ำส่าหมัก บุคคลผู้นั้นเป็นผู้รับภิกษาในเรือนหลังเดียว
    ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยข้าวเพียงคำเดียวบ้าง เป็นผู้รับภิกษาในเรือนสองหลัง
    ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยข้าวสองคำบ้าง ฯลฯ เป็นผู้รับภิกษาในเรือนเจ็ดหลัง
    ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยข้าวเจ็ดคำบ้าง ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยภิกษาอันเขาจัด
    ไว้ให้ ๑ ที่บ้าง ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยภิกษาอันเขาจัดไว้ให้ ๒ ที่บ้าง ฯลฯ
    ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยภิกษาอันเขาจัดไว้ให้ ๗ ที่บ้าง ย่อมบริโภคอาหารวัน
    ละ ๑ ครั้งบ้าง ย่อมบริโภคอาหารสองวันต่อครั้งบ้าง ฯลฯ ย่อมบริโภคอาหาร
    เจ็ดวันต่อครั้งบ้าง เป็นผู้ขวนขวายประกอบในการบริโภคอาหารโดยปริยาย กึ่ง
    เดือนต่อครั้งบ้าง เห็นปานนี้อยู่ ด้วยประการฉะนี้ บุคคลผู้นั้นเป็นผู้มีผักเป็น
    ภักษาบ้าง เป็นผู้มีข้าวฟ่างเป็นภักษาบ้าง เป็นผู้มีลูกเดือยเป็นภักษาบ้าง เป็นผู้มี
    เศษหนังเป็นภักษาบ้าง เป็นผู้มียางไม้เป็นภักษาบ้าง เป็นผู้มีปลายข้าวเป็นภักษาบ้าง
    เป็นผู้มีข้าวตังเป็นภักษาบ้าง เป็นผู้มีน้ำข้าวเป็นภักษาบ้าง เป็นผู้มีหญ้าเป็น
    ภักษาบ้าง เป็นผู้มีโคมัยเป็นภักษาบ้าง ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยมูลผลาหารในป่า
    มีปกติบริโภคผลไม้ที่หล่นแล้ว บุคคลผู้นั้นย่อมครองผ้าป่านบ้าง ย่อมครองผ้าเจือ
    ป่านบ้าง ย่อมครองผ้าที่เขาทิ้งจากซากศพบ้าง ย่อมครองผ้าบังสุกุลบ้าง ย่อมครอง
    ผ้าเปลือกไม้บ้าง ย่อมครองผ้าหนังเสือบ้าง ย่อมครองผ้าหนังเสือผ่ากลางบ้าง
    ย่อมครองผ้าคากรองบ้าง ย่อมครองผ้าเปลือกไม้กรองบ้าง ย่อมครองผ้าผลไม้
    กรองบ้าง ย่อมครองผ้ากัมพลที่ทำด้วยผมมนุษย์บ้าง ย่อมครองผ้ากัมพลที่ทำด้วย
    หนังสัตว์ร้ายบ้าง ย่อมครองผ้าที่ทำด้วยปีกนกเค้าบ้าง เป็นผู้ถอนผมและหนวด
    ขวนขวายประกอบในการถอนผมและหนวดบ้าง เป็นผู้ยืนอยู่โดยไม่ต้องการที่นั่ง
    บ้าง เป็นผู้นั่งกระโหย่งประกอบความเพียรในการนั่งกระโหย่งบ้าง เป็นผู้ทำการ
    ยืนและจงกรมเป็นต้นบนเหล็กแหลม สำเร็จการนอนบนเหล็กแหลมนั้นบ้าง เป็นผู้
    ขวนขวายประกอบความเพียรในการลงน้ำลอยบาปมีเวลาเย็นเป็นครั้งที่ ๓ อยู่บ้าง
    เป็นผู้ขวนขวายประกอบในการยังกายให้ร้อนทั่ว และให้ร้อนรอบ มีประการมิใช่
    น้อยเห็นปานนี้ ด้วยประการฉะนี้อยู่ บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า ยังตนให้เดือดร้อน และ
    ขวนขวายประกอบในสิ่งที่ทำตนให้เดือดร้อน
    บุคคลทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ขวนขวายประกอบสิ่งที่ยังผู้อื่นให้
    เดือดร้อน เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าแกะ ฆ่าสุกร ฆ่าเนื้อ ฆ่านก เป็น
    พราน เป็นชาวประมง เป็นโจร เป็นโจรผู้ฆ่าคน เป็นคนฆ่าโค เป็นผู้รักษา
    เรือนจำ ก็หรือว่าบุคคลบางพวกแม้เหล่าอื่น ผู้มีการงานอันทารุณ บุคคล
    อย่างนี้ชื่อว่า ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ขวนขวายประกอบสิ่งที่ยังให้ผู้อื่นเดือดร้อน
    บุคคลทำตนให้เดือดร้อน และขวนขวายประกอบสิ่งที่ยังตนให้
    เดือดร้อน ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน และขวนขวายประกอบสิ่งที่ทำผู้อื่นให้
    เดือดร้อน เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นกษัตริย์ผู้พระราชาได้รับมุรธาภิเษกแล้ว
    หรือเป็นพราหมณ์มหาศาล บุคคลนั้นให้สร้างสันถาคารใหม่สำหรับพระนคร
    ด้านทิศบูรพา ปลงผมและหนวด นุ่งห่มหนังเสือพร้อมทั้งเล็บ ทากายด้วยเนย
    ใสและน้ำมัน เกาหลังด้วยเขาเนื้อ เข้าไปสู่สันถาคารพร้อมมเหสีและพราหมณ์
    ปุโรหิต ผู้นั้นย่อมสำเร็จการนอนในที่นั้น บนพื้นดินปราศจากเครื่องลาด
    ซึ่งบุคคลเข้าไปฉาบทาด้วยของเขียว พระราชาย่อมยังอัตภาพให้เป็นไปด้วย
    น้ำนมในถันข้างหนึ่งของแม่โคนั้น ซึ่งมีลูกเช่นกับแม่ [คือแม่ขาวลูกก็ขาว แม่
    แดงลูกก็แดง] มเหสีย่อมยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยน้ำนมในถันที่สองนั้น
    พราหมณ์ปุโรหิตย่อมยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยน้ำนมในถันที่สามนั้น ย่อมบูชา
    ไฟด้วยน้ำนมในถันที่สี่นั้น ลูกโคย่อมยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยน้ำนมที่เหลือ
    พระราชานั้นกล่าวแล้วอย่างนี้ว่า พวกท่านจงฆ่าโคตัวผู้ประมาณเท่านี้เพื่อบูชา
    ยัญ จงฆ่าลูกโคตัวผู้ประมาณเท่านี้ ตัวเมียประมาณเท่านี้เพื่อบูชายัญ จงฆ่า
    แพะประมาณเท่านี้ จงฆ่าแกะประมาณเท่านี้เพื่อบูชายัญ จงฆ่าม้าประมาณเท่านี้
    เพื่อบูชายัญ จงตัดไม้ประมาณเท่านี้เพื่อปลูกโรงพิธี จงเกี่ยวแฝกประมาณเท่านี้
    เพื่อประโยชน์แก่การทำเครื่องแวดล้อม แม้คนเหล่าใดเป็นทาส เป็นคนใช้ หรือ
    เป็นกรรมกรของพระราชานั้น แม้คนเหล่านั้นก็ถูกอาชญาคุกคามแล้ว ถูกภัย
    คุกคามแล้ว มีหน้าชุ่มด้วยน้ำตาร้องไห้อยู่ ย่อมต้องทำการงานรอบข้างทั้งหลาย
    บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน และขวนขวายประกอบสิ่งที่ทำตน
    ให้เดือดร้อน ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน และขวนขวายประกอบสิ่งที่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
    บุคคลที่ไม่ทำตนให้เดือดร้อน และไม่ขวนขวายประกอบสิ่งที่ทำ
    ตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน และไม่ขวนขวายประกอบสิ่ง
    ที่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นไฉน
    บุคคลนั้น ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่มีตัณหา
    ดับกิเลสได้แล้ว เป็นผู้เยือกเย็น เสวยความสุข มีตนอันประเสริฐอยู่ในทิฏฐ-
    *ธรรม พระตถาคตทรงอุบัติขึ้นในโลกนี้ พระองค์เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้
    เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี ทรงรู้โลก เป็น
    สารถีฝึกบุรุษไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระ
    พุทธเจ้า เป็นผู้มีโชค พระองค์ทรงทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก
    มารโลก พรหมโลก สมณพราหมณ์ ประชาพร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ เพราะ
    รู้ยิ่งด้วยพระองค์เองแล้วทรงประกาศ พระองค์ทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น
    งามในท่ามกลาง งามในที่สุด พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ ประกาศพรหมจรรย์
    บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง คหบดีหรือบุตรแห่งคหบดี หรือผู้ที่เกิดเฉพาะแล้วใน
    ตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ย่อมฟังธรรมนั้น ผู้นั้น ครั้นฟังธรรมแล้ว ย่อมได้
    ความเลื่อมใสในพระตถาคต เขาประกอบด้วยการได้เฉพาะซึ่งความเลื่อมใส
    นั้น ย่อมพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ฆราวาสคับแคบ เป็นทางแห่งธุลี บรรพชา
    มีโอกาสดียิ่ง การที่เราอยู่ครองเรือน จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์โดย
    ส่วนเดียว เช่นกับสังข์ที่ขัดดีแล้วเป็นของทำได้ยาก ถ้ากระไรแล้ว เราพึงปลง
    ผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตผู้ไม่มีเรือนดังนี้
    โดยสมัยอื่นเขาละกองแห่งโภคะน้อยหรือมาก ละเครือญาติน้อยหรือมาก ปลง
    ผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตผู้ไม่มีเรือน
    ผู้นั้นเป็นผู้บวชแล้วอย่างนี้ ถึงพร้อมด้วยสิกขาสาชีพของภิกษุทั้งหลาย ละปาณา
    ติบาต เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต วางท่อนไม้ วางศัสตรา มีความละอาย
    มีความเอ็นดู มีความกรุณา หวังประโยชน์เกื้อกูลแก่ปวงสัตว์อยู่ ละการลัก
    ทรัพย์ เป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์ รับแต่ของที่เขาให้ ต้องการแต่ของที่
    เขาให้ ไม่ประพฤติตนเป็นขโมย เป็นผู้สะอาดอยู่ ละกรรมเป็นข้าศึกแก่
    พรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์ มีความประพฤติห่างไกลจากกรรมอันเป็นข้าศึก
    แก่พรหมจรรย์ เว้นขาดจากเมถุนธรรมอันเป็นกิจของชาวบ้าน ละการพูดเท็จ
    เว้นจากการพูดเท็จ พูดแต่คำจริง ดำรงคำสัตย์เป็นนิจ มีถ้อยคำมั่นคง ไม่
    พูดพล่อย ไม่พูดลวงโลก ละคำพูดส่อเสียด ฟังข้างนี้แล้วไม่ไปบอกข้างโน้น
    เพื่อให้คนหมู่นี้แตกร้าวกัน หรือฟังข้างโน้นแล้วไม่มาบอกข้างนี้ เพื่อให้คน
    หมู่โน้นแตกร้าวกัน สมานคนที่แตกร้าวกันแล้วบ้าง ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกัน
    แล้วบ้าง ชอบความพร้อมเพรียงกัน ยินดีให้ความพร้อมเพรียงกัน เพลิดเพลินใน
    หมู่คนที่พร้อมเพรียงกัน กล่าวแต่คำที่ทำให้คนพร้อมเพรียงกัน ละคำหยาบ
    เว้นขาดจากคำหยาบ กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษ เพราะหู เป็นที่ตั้งแห่งความรัก
    จับใจ เป็นของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่ พอใจ ละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาด
    จากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดแต่คำที่เป็นจริง พูดอิงอรรถ พูดอิงธรรม
    พูดอิงวินัย พูดแต่คำมีหลักฐาน มีที่อ้าง มีที่กำหนดประกอบด้วยประโยชน์
    โดยการอันควร ผู้นั้นเป็นผู้เว้นขาดจากการพรากพืชคาม และภูตคาม เป็น
    ผู้ฉันหนเดียว เว้นการฉันในราตรี งดจากการฉันในเวลาวิกาล เว้นขาดจากการ
    ฟ้อนรำขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการเล่นอันเป็นข้าศึกต่อพระศาสนา
    เว้นขาดจากการทัดทรงประดับ และตกแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ของหอม และ
    เครื่องประเทืองผิว อันเป็นที่ตั้งแห่งการแต่งตัว เว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่ง
    ที่นอนสูงและใหญ่ เว้นขาดจากการรับทองและเงิน เว้นขาดจากการรับธัญญา-
    *หารดิบ เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ เว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี เว้นขาด
    จากการรับทาสีและทาสา เว้นขาดจากการรับแพะและแกะ เว้นขาดจากการรับ
    ไก่และสุกร เว้นขาดจากการรับช้าง ม้า ลา เว้นขาดจากการรับไร่นา และ
    ที่ดิน เว้นขาดจากการประกอบทูตกรรมและการรับใช้ เว้นขาดจากการซื้อการ
    ขาย เว้นขาดจากการโกงด้วยเครื่องตวงเครื่องวัด เว้นขาดจากการคดโกงโดยการ
    รับสินบน โดยการหลอกลวง โดยการทำของเทียมของปลอม เว้นขาดจากการ
    ตัด การฆ่า การจองจำ การตีชิง การปล้น และการกรรโชก เธอเป็นผู้ยินดี
    ด้วยจีวรสำหรับบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตสำหรับบริหารท้อง เธอย่อมถือ
    เอาเพียงบริขาร ๘ เท่านั้นแล้ว หลีกไปโดยทิศที่ตนปรารถนาจะไป นกซึ่งมี
    ปีก มีภาระเพียงปีกของตนอย่างเดียวเท่านั้น ย่อมบินไปตามทิศที่ตนประสงค์
    จะไป ชื่อแม้ฉันใด เธอก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมยินดีด้วยจีวรสำหรับบริหาร
    กาย ด้วยบิณฑบาตสำหรับบริหารท้อง ย่อมถือเอาเพียงบริขารเท่านั้นแล้วหลีก
    ไปโดยทิศที่ตนปรารถนาจะไป เธอประกอบแล้วด้วยศีลขันธ์อันประเสริฐนี้ย่อม
    เสวยเฉพาะซึ่งสุขอันหาโทษมิได้ในภายใน เธอเห็นรูปด้วยตา ไม่เป็นผู้ถือเอา
    ซึ่งนิมิต ไม่เป็นผู้ถือเอาซึ่งอนุพยัญชนะ อกุศลธรรมทั้งหลายอันลามก คือ
    อภิชฌาและโทมนัส พึงซ่านไปตามบุคคลผู้ไม่สำรวมอินทรีย์ คือจักษุนี้อยู่
    เพราะการไม่สำรวมอินทรีย์คือจักษุใดเป็นเหตุ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมอินทรีย์คือ
    จักษุนั้น ย่อมรักษาอินทรีย์คือจักษุ ย่อมถึงความสำรวมในอินทรีย์คือจักษุ
    ฟังเสียงด้วยหู ฯลฯ สูดกลิ่นด้วยจมูก ฯลฯ ลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ ถูกต้อง
    โผฏฐัพพะด้วยกาย ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่เป็นผู้ถือเอาซึ่งนิมิต
    ไม่เป็นผู้ถือเอาซึ่งอนุพยัญชนะ อกุศลธรรมทั้งหลายอันลามก คือ อภิชฌา
    และโทมนัส พึงซ่านไปตามบุคคลผู้ไม่สำรวมอินทรีย์ คือใจนี้อยู่เพราะการไม่
    สำรวมอินทรีย์ คือใจใด ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมอินทรีย์คือใจนั้น ย่อมรักษา
    อินทรีย์คือใจนั้น ย่อมถึงความสำรวมในอินทรีย์คือใจนั้น เธอประกอบแล้ว
    ด้วยอินทรียสังวรอันประเสริฐนี้ ย่อมเสวยเฉพาะซึ่งความสุขอันสรรพกิเลสรั่ว
    รดไม่ได้ เธอย่อมทำความรู้ทั่วพร้อมในการก้าวไป ในการถอยกลับ ย่อมทำ
    ความรู้ทั่วพร้อมในการแลไปข้างหน้า และเหลียวไปข้างๆ ย่อมทำความรู้ทั่ว
    พร้อมในการคู้เข้า เหยียดออก ย่อมทำความรู้ทั่วพร้อมในการทรงสังฆาฏิบาตร
    และจีวร ย่อมทำความรู้ทั่วพร้อมในการกิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้ม ย่อมทำความรู้
    ทั่วพร้อมในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ย่อมทำความรู้ทั่วพร้อมในการเดินไป ใน
    การยืน ในการนั่ง ในการหลับ ในการตื่น ในการพูด ในการนิ่งๆ เธอ
    ประกอบด้วยศีลขันธ์อันประเสริฐนี้ ประกอบด้วยอินทรียสังวรอันประเสริฐนี้
    ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะอันประเสริฐนี้ และประกอบด้วยความสันโดษอัน
    ประเสริฐนี้ ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด เช่น ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา
    ถ้ำในเขา ป่าช้า ป่าดง กลางแจ้ง กองฟาง เธอกลับจากบิณฑบาตภาย
    หลังภัตร นั่งขัดสมาธิ ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติให้มั่น เธอละอภิชฌาใน
    โลกเสียได้ มีจิตปราศจากอภิชฌาอยู่ ยังจิตให้ผ่องใสจากอภิชฌา ละความ
    ขัดเคือง คือ พยาบาทแล้ว มีจิตไม่เบียดเบียน มีความอนุเคราะห์ด้วยประโยชน์
    เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์อยู่ ยังจิตให้ผ่องใสจากความขัดเคือง คือ พยาบาท
    ละถีนมิทธะ เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะอยู่ มีสัญญาในแสงสว่าง มีสติ มี
    สัมปชัญญะ ยังจิตให้ผ่องใสจากถีนมิทธะ ละอุทธัจกุกกุจจะ เป็นผู้มีจิตไม่ฟุ้ง
    ซ่านอยู่ ผู้มีจิตสงบระงับในภายใน ยังจิตให้ผ่องใสจากอุทธัจจกุกกุจจะ ละ
    วิจิกิจฉา มีวิจิกิจฉาอันข้ามได้แล้ว ไม่มีการกล่าวว่าอย่างไรในกุศลธรรมทั้งหลาย
    อยู่ ยังจิตให้ผ่องใสจากวิจิกิจฉา เธอละนิวรณ์ห้าเหล่านั้นได้แล้ว สงัดจาก
    กามทั้งหลาย สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึงปฐมฌานมีวิตก มีวิจาร
    มีปีติ และสุข อันเกิดแต่วิเวก สำเร็จอิริยาบถอยู่ เพราะความสงบแห่ง
    วิตกและวิจาร เข้าทุติยฌานอันยังจิตใจให้ผ่องใส เป็นธรรมเอกผุดขึ้นภายใน
    ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ สำเร็จอิริยาบถอยู่ เพราะ
    เบื่อหน่ายปีติ เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขาอยู่ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยกาย
    เข้าตติยฌาน มีนัยอันพระอริยะทั้งหลายกล่าวว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ
    อยู่เป็นสุขดังนี้ สำเร็จอิริยาบถอยู่ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะความดับ
    ไปแห่งโสมนัสและโทมนัสในก่อนเทียว เข้าจตุตถฌาน ไม่มีสุข ไม่มีทุกข์
    มีสติบริสุทธิ์เกิดแต่อุเบกขาสำเร็จอิริยาบถอยู่ เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์
    ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส เป็นธรรมชาติอ่อน ควรแก่การงาน
    ตั้งมั่นแล้วถึงความไม่หวั่นไหวแล้วดังนี้ เธอย่อมน้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุส
    สติญาณ เธอย่อมระลึกชาติที่เคยเกิดในก่อนได้เป็นอันมาก นี้คืออย่างไร คือ
    หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบ
    ชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง
    แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัลป์เป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏะกัลป์เป็นอันมากบ้าง
    ตลอดสังวัฏฏวิวัฏฏะกัลป์เป็นอันมากบ้างว่า ในภพนั้น เราชื่ออย่างนั้น มีโคตร
    อย่างนั้น มีวรรณะอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น มี
    กำหนดอายุเพียงนั้น ครั้นเขาจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพ
    นั้นก็มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น
    มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นเขาจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เธอย่อม
    ระลึกถึงชาติที่เคยเกิดในก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุทเทส
    ด้วยประการฉะนี้ ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจาก
    อุปกิเลสเป็นธรรมชาติอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่นไหวแล้วอย่างนี้
    เธอย่อมน้อมจิตไปเพื่อรู้จุติ และอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย เธอย่อมเห็นหมู่
    สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังเกิดอยู่เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม
    ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุแห่งมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่
    มนุษย์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต
    มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือเอาการกระทำด้วย
    อำนาจมิจฉาทิฏฐิ เมื่อตายไป เขาเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์
    เหล่านี้ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า
    เป็นสัมมทิฏฐิ ยึดถือเอาการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เมื่อตายไป เข้าถึง
    สุคติโลกสวรรค์ ดังนี้ เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังเกิด เลว
    ประณีต มีผิวพรรณดี ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุ อันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์
    ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมด้วยประการฉะนี้ เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์
    ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส เป็นธรรมชาติอ่อน ควรแก่การงาน
    ตั้งมั่นถึงความไม่หวั่นไหวแล้ว อย่างนี้ เธอย่อมน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ
    ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อ
    ปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า เหล่านี้อาสวะ นี้เหตุเกิด
    อาสวะ นี้ความดับอาสวะ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ เมื่อเธอรู้อย่าง
    นี้เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นแม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จาก
    อวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว
    พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่าง
    นี้มิได้มีบุคคลอย่างนี้ชื่อว่าไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ขวนขวายประกอบสิ่งที่ทำตน
    ให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่ขวนขวายประกอบสิ่งที่ทำผู้อื่นให้
    เดือดร้อน บุคคลผู้ไม่ทำตนเดือดร้อน ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน เป็นผู้ไม่มี
    ตัณหา เป็นผู้มีกิเลสอันดับแล้ว เป็นผู้เย็นแล้ว ย่อมเป็นผู้เสวยความสุข มีตน
    อันประเสริฐ สำเร็จอิริยาบถอยู่ ในทิฏฐธรรม
    [๑๓๖] บุคคลมีราคะ เป็นไฉน
    บุคคลใดละราคะยังไม่ได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีราคะ
    บุคคลมีโทสะ เป็นไฉน
    บุคคลใดละโทสะยังไม่ได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีโทสะ
    บุคคลมีโมหะ เป็นไฉน
    บุคคลใดละโมหะยังไม่ได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีโมหะ
    บุคคลมีมานะ เป็นไฉน
    บุคคลใดละมานะยังไม่ได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีมานะ
    [๑๓๗] บุคคลผู้ได้เจโตสมถะในภายใน แต่ไม่ได้ปัญญาที่เห็น
    แจ้งในธรรม กล่าวคืออธิปัญญา เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ได้สมาบัติที่สหรคตด้วยรูป หรือสหรคตด้วย
    อรูป แต่ไม่ได้โลกุตรมรรค หรือโลกุตรผล บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า เป็นผู้ได้
    เจโตสมถะในภายใน แต่ไม่ได้ปัญญาที่เห็นแจ้งในธรรม กล่าวคือ อธิปัญญา
    บุคคลผู้ได้ปัญญาเห็นแจ้งในธรรม กล่าวคืออธิปัญญา แต่ไม่
    ได้เจโตสมถะเป็นภายใน เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ได้โลกุตตรมรรคหรือโลกุตตรผล แต่
    ไม่ได้สมาบัติที่สหรคตด้วยรูป หรือสหรคตด้วยอรูป บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า เป็น
    เป็นผู้ได้ปัญญาที่เห็นแจ้งในธรรมกล่าวคืออธิปัญญา แต่ไม่ได้เจโตสมถะเป็น
    ภายใน
    บุคคลผู้ได้เจโตสมถะเป็นภายในด้วย ได้อธิปัญญาธัมมวิปัสสนา
    ด้วย เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ได้สมาบัติที่สหรคตด้วยรูป หรือสหรคต
    ด้วยอรูป เป็นผู้ได้โลกุตตรมรรค หรือโลกุตตรผล บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า เป็น
    ผู้ได้เจโตสมถะเป็นภายในด้วย ได้ปัญญาที่เห็นแจ้งในธรรม กล่าวคืออธิปัญญา
    ด้วย
    บุคคลผู้ไม่ได้เจโตสมถะเป็นภายในด้วย ไม่ได้ปัญญาที่เห็นแจ้ง
    ในธรรมกล่าวคืออธิปัญญาด้วย เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่เป็นผู้ได้สมาบัติที่สหรคตด้วยรูป หรือสหรคต
    ด้วยอรูป ไม่เป็นผู้ได้โลกุตตรมรรค หรือโลกุตตรผล บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า เป็น
    ผู้ไม่ได้เจโตสมถะเป็นภายในด้วย ไม่ได้ปัญญาที่เห็นแจ้งในธรรม กล่าวคือ
    อธิปัญญาด้วย
    [๑๓๘] บุคคลไปตามกระแส เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเสพกาม ย่อมกระทำกรรมอันลามก
    นี้เรียกว่า บุคคลไปตามกระแส
    บุคคลไปทวนกระแส เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่เสพกามและไม่กระทำกรรมอันลามก บุคคล
    นั้นถึงจะมีทุกข์ มีโทมนัส มีหน้าชุ่มด้วยน้ำ ร้องไห้อยู่ ก็ยังประพฤติ
    พรหมจรรย์บริบูรณ์บริสุทธิ์อยู่ นี้เรียกว่าบุคคลไปทวนกระแส
    บุคคลผู้ตั้งตัวได้แล้ว เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เกิดผุดขึ้น เพราะความสิ้นไปแห่ง
    โอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ปรินิพพานในโลกนั้น มีการไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็น
    ธรรมดา นี้เรียกว่า บุคคลตั้งตัวได้แล้ว
    บุคคลข้ามถึงฝั่งยืนอยู่บนบก เป็นพราหมณ์ เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ กระทำให้แจ้งแล้ว เข้าถึงแล้วซึ่งเจโตวิมุติ
    ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะ
    รู้ยิ่งด้วยตนเอง สำเร็จอิริยาบถอยู่ในทิฏฐธรรม นี้เรียกว่า บุคคลข้ามถึงฝั่ง
    ยืนอยู่บนบก เป็นพราหมณ์
    [๑๓๙] บุคคลผู้มีสุตะน้อย และไม่ได้ประโยชน์เพราะสุตะ
    เป็นไฉน
    สุตะคือสูตร เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก
    อัพภูตธรรม เวทัลละ ของบุคคลบางคนในโลกนี้มีน้อย บุคคลนั้นไม่รู้
    อรรถ ไม่รู้ธรรมแห่งสุตะอันน้อยนั้น ไม่เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
    บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า เป็นผู้มีสุตะน้อย ไม่ได้ประโยชน์เพราะสุตะนั้น
    บุคคลผู้มีสุตะน้อย แต่ได้ประโยชน์เพราะสุตะ เป็นไฉน
    สุตะคือสูตร เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก
    อัพภูตธรรม เวทัลละ ของบุคคลบางคนในโลกนี้มีน้อย บุคคลนั้นรู้อรรถ
    รู้ธรรม ของสุตะน้อยนั้น เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม บุคคลอย่างนี้
    ชื่อว่า เป็นผู้มีสุตะน้อย แต่ได้ประโยชน์เพราะสุตะ
    บุคคลผู้มีสุตะมาก แต่ไม่ได้ประโยชน์เพราะสุตะ เป็นไฉน
    สุตะ คือสูตร เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ
    ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ ของบุคคลบางคนในโลกนี้มาก บุคคลนั้น
    ไม่รู้อรรถ ไม่รู้ธรรมของสุตะมากนั้น ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม บุคคล
    อย่างนี้ชื่อว่า เป็นผู้มีสุตะมาก แต่ไม่ได้ประโยชน์เพราะสุตะ
    บุคคลผู้มีสุตะมาก และได้ประโยชน์เพราะสุตะ เป็นไฉน
    สุตะคือสูตร เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก
    อัพภูตธรรม เวทัลละ ของบุคคลบางคนในโลกนี้มาก บุคคลนั้นรู้อรรถรู้ธรรม
    ของสุตะอันมากนั้น เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า
    เป็นผู้มีสุตะมาก และได้ประโยชน์เพราะสุตะ
    [๑๔๐] บุคคลผู้เป็นสมณะไม่หวั่นไหว เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ชื่อว่าเป็นพระโสดาบันเพราะความสิ้นไปแห่ง
    สัญโญชน์ ๓ มีอันไม่ตกไปในอบายภูมิ เป็นผู้เที่ยง เป็นผู้จักตรัสรู้ในเบื้อง
    หน้า นี้เรียกว่า บุคคลผู้เป็นสมณะไม่หวั่นไหว
    บุคคลผู้เป็นสมณะบัวหลวง เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ชื่อว่า เป็นพระสกทาคามี เพราะความสิ้นไป
    แห่งสัญโญชน์ ๓ เพราะทำราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางลง จะมาสู่โลก
    นี้อีกเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ก็จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ นี้เรียกว่า บุคคลผู้เป็น
    สมณะบัวหลวง
    บุคคลผู้เป็นสมณะบัวขาว เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เกิดผุดขึ้น เพราะความสิ้นไปแห่ง
    โอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ และปรินิพพานในเทวโลกนั้น มีอันไม่กลับมาจาก
    โลกนั้นเป็นธรรมดา นี้เรียกว่า บุคคลผู้เป็นสมณะบัวขาว
    บุคคลผู้เป็นสมณะสุขุมาลในหมู่สมณะ เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ รู้ยิ่งด้วยตนเองแล้ว กระทำให้แจ้งแล้ว เข้าถึง
    แล้วซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะ
    ทั้งหลายแล้ว สำเร็จอิริยาบถอยู่ ในทิฏฐธรรมเทียว นี้ เรียกว่า บุคคลผู้เป็นสมณะ
    สุขุมาลในหมู่สมณะ

    <CENTER>จตุกกนิทเทส จบ
    </CENTER>

    ที่มาเนื้อหา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 เมษายน 2011
  3. deelek

    deelek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    6,696
    ค่าพลัง:
    +16,255
    [​IMG]
    ขออนุโมทนา สาธุ ๆ
    กับท่านทั้งหลายที่ได้นำพระธรรมดี ๆ มาเผยแพร่
    และเสียงอ่านพระธรรม ให้ได้รับรู้ด้วยครับ
    นิพพานัง ปัจจโย โหตุ
    นิพพานัง ปรมัง สุขขัง
    [​IMG]
    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 เมษายน 2011

แชร์หน้านี้

Loading...