พระสูตรที่เกี่ยวกับการทำทาน

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย ggg107, 10 กุมภาพันธ์ 2013.

  1. ggg107

    ggg107 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มกราคม 2013
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +23
    PANTIP.COM : Y12796162 บุญที่ทำแล้วได้ผลมากที่สุด ไม่ต้องเสียเงินซักบาทเดียว!!! []

    20. พระพุทธเจ้าพูดลำดับท้ายที่สุดว่าว่า“แม้จะได้อุปสมบทเป็นภิกษุ รักษาศีลครบ 227 ข้อ ไม่เคยขาด ไม่ด่างพร้อย 100 ปี บุญกุศลที่ได้รับยังน้อยกว่าผู้ที่ทำสมาธิให้จิตสงบ(ฌาน) แม้นานเพียงไก่กระพือปีก”

    คือผมไม่เข้าใจจริงๆว่าการทำสมาธิให้จิตสงบ ทำไมมันได้บุญกุศลเยอะกว่าการทำบุญทั้งปวง(เช่นทำบุญด้วยสิ่งของ) ท่านใดช่วยมาโปรดทีเถอะครับ
    เเล้วเรื่องการทำบุญที่ว่ามาในข้อที่20.นี้มันอยู่ในพระไตรปิฎกเล่มไหนเเล้วพระพุทธเจ้าท่านให้เหตุผลไว้หรือไม่ว่าทำไมมันมากกว่ากันเช่นไร
    ตอบเเบบมีพระไตรปิฎกอ้างอิงก็จะดีมากๆครับผมจะได้ไปค้นคว้าต่อได้
     
  2. al-qaeda

    al-qaeda Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +25


    เข้าไปอ่านใน พันทิพ ตาม link
    ผมเข้าใจว่า พระพุทธองค์ ทรงหมายถึง จะทำอะไร ก็เดินสายกลาง อย่าตึงไป หย่อนไป
    ไม่ใช่ทำแต่ ทาน อย่างเดียว หรือ ภาวนา หรือ ถือศีล อย่างเดียว
    โดยที่ไม่มีอะไรที่มาเกื้อกลู กัน คือ ควรทำไปพร้อมๆกัน ทั้งสามอย่าง
    ทำแบบ พอดีตน ไม่มากเกินจนตนลำบาก และไม่น้อยเกินไปจน เป็นคนตระหนี่ ถี่เหนียว
    ทาน คือการให้ แบบ สมัครใจ และไม่สนใจ ว่าจะได้อะไรตอบแทนกลับมา
    ให้แล้ว จิตใจ เป็นสุข ให้แล้วเราไม่ลำบาก นั่นคือ ทาน ที่สมบรูณ์
    นี่คือ ความคิดของผม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 10 กุมภาพันธ์ 2013
  3. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ดูกรคฤหบดี บุคคลให้ทานอันเศร้าหมองหรือประณีตก็ตาม แต่ให้ทานนั้นโดยเคารพ
    ทำความนอบน้อมให้ ให้ด้วยมือตนเอง ให้ของที่ไม่เหลือ เชื่อกรรมและผลของกรรมให้ทาน
    ทานนั้นๆ บังเกิดผลในตระกูลใดๆ ในตระกูลนั้นๆ จิตของผู้ให้ทานย่อมน้อมไปเพื่อบริโภค
    อาหารอย่างดี ย่อมน้อมไปเพื่อบริโภคผ้าอย่างดี ย่อมน้อมไปเพื่อบริโภคยานอย่างดี ย่อมน้อมไป
    เพื่อบริโภคกามคุณ ๕ อย่างดี แม้บริวารชนของผู้ให้ทานนั้น คือ บุตร ภรรยา ทาส คนใช้
    คนทำงาน ก็เชื่อฟังดี เงี่ยหูฟัง ไม่ส่งจิตไปที่อื่น ข้อนั้นเพราะเหตุไรทั้งนี้เป็นเพราะผล
    ของกรรมที่ตนกระทำโดยเคารพ ฯ
    ดูกรคฤหบดี เรื่องเคยมีมาแล้ว มีพราหมณ์ชื่อเวลามะ พราหมณ์ผู้นั้นได้ให้ทานเป็น
    มหาทานอย่างนี้ คือ ได้ให้ถาดทองเต็มด้วยรูปิยะ ๘๔,๐๐๐ ถาดถาดรูปิยะเต็มด้วยทอง ๘๔,๐๐๐
    ถาด ถาดสำริดเต็มด้วยเงิน ๘๔,๐๐๐ ถาด ให้ช้าง ๘๔,๐๐๐ เชือก มีเครื่องประดับล้วนเป็นทอง
    มีธงทอง คลุมด้วยข่ายทองให้รถ ๘๔,๐๐๐ คัน หุ้มด้วยหนังราชสีห์ หนังเสือโคร่ง หนัง
    เสือเหลือง ผ้ากัมพลเหลือง มีเครื่องประดับล้วนเป็นทอง มีธงทอง คลุมด้วยข่ายทอง
    ให้แม่โคนม ๘๔,๐๐๐ ตัว มีน้ำนมไหลสะดวก ใช้ภาชนะเงินรองน้ำนม ให้หญิงสาว ๘๔,๐๐๐ คน
    ประดับด้วยแก้วมณีและแก้วกุณฑล ให้บัลลังก์ ๘๔,๐๐๐ ที่ ลาดด้วยผ้าโกเชาว์ ลาดด้วยขนแกะ
    สีขาว เครื่องลาดมีสัณฐานเป็นช่อดอกไม้ มีเครื่องลาดอย่างดีทำด้วยหนังชมด มีเครื่องลาด
    เพดาน มีหมอนข้างแดงทั้งสอง ให้ผ้า๘๔,๐๐๐ โกฏิ เป็นผ้าเปลือกไม้ ผ้าแพร ผ้าฝ้าย
    เนื้อละเอียด จะป่วยกล่าวไปไยถึงข้าว น้ำ ของเคี้ยว ของบริโภค เครื่องลูบไล้ ที่นอนไหลไปเหมือนแม่น้ำ
    ดูกรคฤหบดี ก็ท่านพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า สมัยนั้น ผู้อื่นไม่ใช่เวลามพราหมณ์ผู้ที่ให้ทานเป็นมหาทานนั้น
    ดูกรคฤหบดี แต่ท่านไม่ควรเห็นอย่างนี้ สมัยนั้นเราเป็นเวลามพราหมณ์ เราได้ให้ทานนั้นเป็นมหาทาน
    ก็ในทานนั้นไม่มีใครเป็นพระทักขิเณยยบุคคล ใครๆ ไม่ชำระทักขิณา(ทานเพื่อผลอันเจริญ)นั้นให้หมดจด
    ดูกรคฤหบดี ทานที่บุคคลเชื้อเชิญท่านผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิผู้เดียวบริโภค มีผลมากกว่าทานที่เวลามพราหมณ์ให้แล้ว
    ทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิร้อยทานบริโภค มีผลมากกว่าทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิผู้เดียวบริโภค
    ทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้พระสกทาคามีผู้เดียวบริโภค มีผลมากกว่าทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิร้อยท่านบริโภค
    ทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้พระสกทาคามีร้อยท่านบริโภค มีผลมากกว่าทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้พระสกทาคามีผู้เดียวบริโภค
    ทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้พระอนาคามีผู้เดียวบริโภค มีผลมากกว่าทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้พระสกทาคามีร้อยท่านบริโภค
    ทานที่บุคคลเชื้อเชิญพระอนาคามีร้อยท่านบริโภค มีผลมากกว่าทานที่บุคคลเชื้อเชิญพระอนาคามีผู้เดียวบริโภค
    ทานที่บุคคลถวายให้พระอรหันต์ผู้เดียวบริโภค มีผลมากกว่าทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้พระอนาคามีร้อยท่านบริโภค
    ทานที่บุคคลถวายให้พระอรหันต์ร้อยท่านบริโภค มีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายให้พระอรหันต์ผู้เดียวบริโภค
    ทานที่บุคคลถวายให้พระปัจเจกพุทธเจ้ารูปเดียวบริโภคมีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายให้พระอรหันต์ร้อยรูปบริโภค
    ทานที่บุคคลถวายให้พระปัจเจกพุทธเจ้าร้อยรูปบริโภค มีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายให้พระปัจเจกพุทธเจ้ารูปเดียวบริโภค
    ทานที่บุคคลถวายให้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าบริโภค มีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายให้พระปัจเจกพุทธเจ้าร้อยรูปบริโภค
    ทานที่บุคคลถวายให้ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขบริโภค มีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายให้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าบริโภค
    การที่บุคคลสร้างวิหารถวายสงฆ์ผู้มาจากจาตุรทิศ มีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายให้ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขบริโภค
    การที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ มีผลมากกว่าทานที่บุคคลสร้างวิหารถวายสงฆ์อันมาจากจาตุรทิศ
    การที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสสมาทานสิกขาบท คืองดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ จากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นฐานะแห่งความประมาท
    มีผลมากกว่าการที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ
    การที่บุคคลเจริญเมตตาจิตโดยที่สุดแม้เพียงเวลาสูดดมของหอม มีผลมากกว่าการที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสสมาทานสิกขาบท คือ งดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ
    ดูกรคฤหบดีทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้ท่าน ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิผู้เดียวบริโภค มีผลมากกว่ามหาทานที่เวลามพราหมณ์ให้แล้ว ...
    การที่บุคคลเจริญเมตตาจิต โดยที่สุดแม้เพียงเวลาสูดดมของหอม มีผลมากกว่าการที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสสมาทานสิกขาบท คือ งดเว้นจากปาณาติบาต ...
    และ การที่บุคคลเจริญอนิจจสัญญา(ทำสมาธิ)แม้เพียงเวลาลัดนิ้วมือ มีผลมากกว่าการที่บุคคลเจริญ เมตตาจิตโดยที่สุดแม้เพียงเวลาสูดดมของหอม ฯ

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๓๑๖/๓๗๙
     
  4. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    [๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง แต่ว่าจิตนั้นแล เศร้าหมองแล้ว ด้วยอุปกิเลส
    ที่จรมา ปุถุชนผู้มิได้สดับ ย่อมจะไม่ทราบจิตนั้นตามความเป็นจริงฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า
    ปุถุชนผู้มิได้สดับ ย่อมไม่มีการอบรมจิต ฯ
    [๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง และจิตนั้นแล พ้นวิเศษแล้วจากอุปกิเลส
    ที่จรมา พระอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมทราบจิตนั้นตามความเป็นจริง ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า
    พระอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมมีการอบรมจิต ฯ
    [๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุซ่องเสพเมตตาจิต แม้ชั่วการเพียงลัดนิ้วมือเดียว
    เท่านั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า อยู่ไม่เหินห่างจากฌาน ทำตามคำสอนของพระศาสดา ปฏิบัติตาม
    โอวาท ไม่ฉันบิณฑบาตของชาวแว่นแคว้นเปล่า ก็จะกล่าวไยถึงผู้ทำเมตตาจิตนั้นให้มากเล่า ฯ
    [๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเจริญเมตตาจิต แม้ชั่วกาลเพียงลัดนิ้วมือเดียวเท่านั้น
    ภิกษุนี้เรากล่าวว่า อยู่ไม่เหินห่างจากฌาน ทำตามคำสอนของ พระศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท
    ไม่ฉันบิณฑบาตของชาวแว่นแคว้นเปล่า ก็จะกล่าวไยถึงผู้ทำเมตตาจิตนั้นให้มากเล่า ฯ
    [๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุใส่ใจเมตตาจิต แม้ชั่วกาลเพียงลัดนิ้วมือเดียว
    เท่านั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า อยู่ไม่เหินห่างจากฌาน ทำตามคำสอนของพระศาสดา ปฏิบัติตาม
    โอวาท ไม่ฉันบิณฑบาตของชาวแว่นแคว้นเปล่า ก็จะกล่าวไยถึงผู้ทำเมตตาจิตนั้นให้มากเล่า ฯ
    [๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อกุศลธรรมที่เป็นไปในส่วนอกุศล ที่เป็นไปในฝักฝ่ายอกุศล
    ทั้งหมด มีใจเป็นหัวหน้า ใจเกิดก่อนธรรมเหล่านั้น อกุศลธรรมเกิดหลังเทียว ฯ
    [๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุศลธรรมที่เป็นไปในส่วนกุศล ที่เป็นไปในฝักฝ่ายกุศล
    ทั้งหมด มีใจเป็นหัวหน้า ใจเกิดก่อนธรรมเหล่านั้น กุศลธรรมเกิดหลังเทียว ฯ
    [๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นเหตุให้
    อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เสื่อมไป เหมือนความประมาท
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลประมาทแล้ว อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และกุศลธรรม
    ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป ฯ
    [๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นเหตุให้
    กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรืออกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เสื่อมไปเหมือนความไม่ประมาท
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลไม่ประมาทแล้ว กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และ
    อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป ฯ
    [๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรม
    ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เสื่อมไปเหมือนความเป็นผู้เกียจคร้าน
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลเกียจคร้านแล้ว อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และกุศล
    ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป ฯ
    จบวรรคที่ ๖

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๙/๒๙๐ ข้อที่ ๕๒ - ๖๑
     
  5. ธัมมนัตา

    ธัมมนัตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +9,766
    การทำกุศลอย่างหยาบจะได้วิบากอย่างหยาบ
    การทำกุศลละเอียดได้ผลวิบากอย่างละเอียด

    ทำบุญด้วยวัตถุทานยังต้องอาศัยวัตถุวึ่งในวัตถุเหล่านั้นก็มีความหยาบและละเอียดในตัวอีก
    และเป็นการพัฒนาจิตของตนที่หยาบให้จิตละเอียดคือให้มีการสละออก(จาคะจริต) แสดงออกด้วยการส่งมอบสิ่งของออกไป จิตพัฒนาขึ้นแต่ก็ยังไม่ได้ละเอียดมากเพราะยังยึดวัตถุ มีอุปาทานอยู่ ดีไม่ดีอาจผูกติดกับทานนั้นอีกก็มี และส่งผลอย่างมากไปแค่สวรรค์เท่านั้น

    ส่วนการบำเพ็ญภาวนาเป็นการชำระพัฒนาจิตเช่นกัน และไม่ได้พึ่งพาวัตถุ สิ่งของเป็นหลัก อาศัยความเพียรตั้งใจ ตั้งมั่นอย่างแน่วแน่ซึ่งจะทำได้ลึกซึ้งกว่า โดยไม่ติดของหยาบ มีผลยาวนานและกว้างขวางกว่ากันมาก
    ผลที่ได้จะมีแรงส่งมีพลังงานคือกุศลวิบากไปในภพภูมิที่สูงขึ้นคือชั้นพรหม
    และหากภาวนาได้ดีย่อมเข้าถึงมรรคผลชั้นโลกุตระได้

    การทำทานแม้ทำจำนวนมากแม้แสนล้านๆๆ จึงมีผลน้อยกว่าการภาวนาอย่างเห็นได้ชัดด้วยเหตุนี้
    ลองทำดูเองจะเห็นความแตกต่างระหว่างการทำทานขั้นสูงเช่น ธรรมทาน และการภาวนาแม้เป็นเมตตาภาวนา คือการแผ่เมตตา1 ครั้ง จะส่งผลต่างกันมากจริงๆ

    เป็นประสบการณ์ทั้งของตนเองและที่สังเกตุเห็นเพื่อนญาติธรรมที่ก้าวหน้าในธรรมเป็นมาในแนวทางนี้ทั้งหมด ไม่มีใครวกกลับเลยสักคนเดียว คือแรกๆ จะทำทานทุกอย่าง แบบมากมายมหาศาลต่อมาลดลงแต่มีการภาวนามากขึ้น จนตอนหลังทานน้อยลงและมีการภาวนามากกว่า

    เอวัง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กุมภาพันธ์ 2013
  6. LungKO

    LungKO เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    590
    ค่าพลัง:
    +925
    กระผมเข้าใจว่า หรือคิดว่า องค์สมเด็จพระสังฆราช ฯ
    พระองค์ท่านถอดความมาจาก เวลามสูตร และรวบรวมจากพระสูตรอื่น ๆ มา
    แล้ว ก็ทรงอธิบายให้พวกเราเข้าใจง่ายขึ้น มากกว่าครับ

    เพราะถ้ามีในพระไตรปิฎกโดยตรง พวกเราก็คงค้นหาเจอแล้ว
    กระผมยังหาไม่เจอ จึงคิดว่าเป็นอย่างนั้น ครับผม
     
  7. blackangel

    blackangel เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,750
    ค่าพลัง:
    +1,919
    วันก่อนไปเจอข้อความนี้มา
     
  8. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    "การทำบุญ" โจรมันก็ทำได้ มันเป็น "ปลายเหตุ",
    "การไม่กระทำบาป" ทั้งหลายทั้งปวงนั้นนะ เป็น "ต้นเหตุ"

    - หลวงพ่อชา สุภัทโท

    หลวงพ่อกล่าวไม่เคยผิดสักครั้ง
     
  9. โบกขรณี

    โบกขรณี สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +0
    ด้วยเหตุผลง่ายๆครับแต่ขอแยกกรณีว่าไม่เกี่ยวกับการให้ทานรักษาศีลภาวนาเพื่อมรรคผลนิพพานนะครับ

    บุญด้วยการให้ทานและรักษาศีลจะมากมายขนาดไหนแต่ไม่มากพอที่จะทำให้จิตสงบเป็นฌาน ย่อมส่งผลให้ผู้ทำทานและรักษาศีลนั้นๆวนเวียนเกิดในสุคติภูมิมีมนุษย์-เทวดา-นางฟ้าเท่านั้นไม่สามารถไปเกิดในภพพรหมโลก อันปราณีตกว่าได้เลย

    แต่บุึคคลใดสามารถทำจิตให้สงบเป็นฌานจากการให้ทานรักษาศีลหรือภาวนาเพียงแค่ขณะจิตเดียว(ไก่กระพือปีก)ผู้นั้นสามารถไปเกิดเป็นพรหม ในพรหมโลกได้ครับ

    คิดว่าเหตุผลคงพอจึงไม่ขออ้างพระไตรปิฏกครับ
     
  10. ปักธงชัย

    ปักธงชัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    584
    ค่าพลัง:
    +3,721
    ทำสมาธิให้จิตสงบ(ฌาน) แม้นานเพียงไก่กระพือปีก

    นิยาม คำว่า จิตสงบ เป็นยังงัย ครับ
    ให้คนเริ่มต้นรู้หน่อย ครับ

    ถ้าเราไม่ทำทานเลย ภาวนา อย่างเดียว จะได้ไปนิพพาน ใช่ไหม ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 สิงหาคม 2013

แชร์หน้านี้

Loading...