พระสัทธรรมกำลังเลือนหายไป

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมภูต, 12 กุมภาพันธ์ 2016.

  1. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    <font size='4'><font color='#ff0000'><b>เรื่องพระสัทธรรมปฏิรูปนั้นมีมานานแล้ว ปัจจุบันปรากฏชัดเจนมากยิ่งขึ้น เพราะเหตุจากความเชื่อ ความศรัทธา ที่เชื่อศรัทธาตามๆ กันมา โดยขาดหลักเหตุผล ไม่มีการนำมาตรวจสอบ สอบสวน เทียบเคียงกับพระพุทธพจน์ ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ดีแล้ว</b></font>

    มีการปรารภเรื่องพระสัทธรรมจะเลือนหายไปนี้ไว้ล่วงหน้าแต่ครั้งพุทธกาล ที่พระมหากัสสปได้ทูลถามพระพุทธองค์ไว้ และมีพระพุทธวจนะทำนายไว้ ดังนี้

    <font color='#0000ff'><b>ดูกรกัสสป เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเหล่านี้ ย่อมเป็นไปพร้อม
    เพื่อความฟั่นเฟือน เพื่อความเลือนหายแห่งพระสัทธรรม

    เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเป็นไฉน คือ
    ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้
    ไม่เคารพยำเกรงในพระศาสดา ๑
    ไม่เคารพยำเกรงในพระธรรม ๑
    ไม่เคารพยำเกรงในพระสงฆ์ ๑
    ไม่เคารพยำเกรงในสิกขา ๑
    ไม่เคารพยำเกรงในสมาธิ ๑

    เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปพร้อม
    เพื่อความฟั่นเฟือน เพื่อความเลือนหายแห่งพระสัทธรรมฯ</b></font>

    เมื่อสิกขาบทได้ถูกเพิ่มเติมเสริมแต่งเข้ามาอย่างมากมายในปัจจุบัน บัญญัติไปตามมติความรู้สึกนึกคิดขึ้นมาเอง กลับเป็นตัวทำให้พระสัทธรรมที่ถูกต้อง เที่ยงตรงตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ ได้บิดเบือนเลือนลางหายไปทีละเล็กละน้อย และบุคคลผู้เข้าถึงพระสัทธรรมที่แท้จริง (อริยบุคคล) กลับมีน้อยลงเป็นอย่างมาก จนน่าใจหาย น่าเป็นห่วง ต่อพระสัทธรรมที่ถูกบิดเบือนไป

    มีความพยายามของผู้สอนรุ่นใหม่ๆ ได้ประดิษฐ์ประดอยถ้อยคำที่บัญญัติขึ้นเอง เพื่อให้ฟังแล้วเป็นเรื่องสบายใจ เข้าถึงง่ายๆ และลัดสั้น ไม่ต้องลำบากลำบนในการปฏิบัติธรรมกรรมฐานเพื่อให้เข้าถึงพระสัทธรรมที่แท้จริง โดยมักอ้างว่าเป็นผู้มีปัญญาแต่ไม่มีเวลาที่จะปฏิบัติธรรมกรรมฐานภาวนา

    คำสอนที่ปรากฎออกมามักเป็นไปในแนวให้กำลังใจเสียมากกว่า เช่น เพียงอาศัยความพยายามก็พอ ไม่ต้องเพียรเพ่งภาวนากรรมฐานใดๆ เพราะจะดูแข็งๆ ทื่อๆ จนกลาย "อัตตกิลมถานุโยค" ไป ฯลฯ...

    เมื่อได้มาพิจารณาตามพระพุทธวจนะ ที่พระพุทธองค์ได้ทรงทำนายไว้ ก็เห็นจริงตามนั้น

    <font color='#ff0000'><b>๑.ไม่เคารพยำเกรงในพระศาสดา</b></font>

    จะเห็นได้ว่า ชาวพุทธส่วนใหญ่ในปัจจุบัน ได้ลืมเลือนคำสั่งเสียที่พระพุทธองค์ได้ทรงวางหลักเกณฑ์ไว้ในอนาคตที่ว่า

    <font color='#0000ff'><b>"ดูก่อนอานนท์ ธรรมและวินัยใด ที่เราได้แสดงแล้ว บัญญัติแล้ว แก่เธอทั้งหลาย
    ธรรมและวินัยนั้น จักเป็นศาสดาแทนเรา ปกครองท่านแทน เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว ฯลฯ"</b></font>

    จะเห็นได้ว่าปัจจุบันชาวพุทธกลับไปให้ความเคารพยำเกรงต่อภาพลักษณ์ รูปภาพ รูปปั้น รูปสมมุติต่างๆ ด้วยคำว่า <b>"ไม่เชื่ออย่าลบหลู่"</b> ซึ่งเป็นเพียงความเชื่อ ความศรัทธา ที่เชื่อศรัทธาแบบตามๆ กันมา (งมงาย) ทั้งที่มีพระพุทธพจน์รับรองไว้ว่า <font color='#0000ff'><b>"ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ( พระพุทธเจ้า)"</b></font> ชัดเจนโดยไม่ต้องตีความใดๆ เลย

    <font color='#ff0000'><b>๒.ไม่เคารพยำเกรงในพระธรรม</b></font>

    ข้อนี้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ถ้าชาวพุทธเคารพยำเกรงในพระธรรมคำสั่งสอนของพระองค์อย่างแท้จริงแล้ว พระสัทธรรมจะไม่ปฏิรูปไปอย่างรวดเร็วขนาดนี้ ทั้งๆที่พระพุทธองค์ได้ทรงวางหลักเกณฑ์เพื่อป้องกันไว้อย่างรัดกุม อันมี <b>"กาลามสูตร"</b> ที่กล่าวถึง เรื่องราวความเชื่อต่างๆ ๑๐ ประการว่า

    <font color='#0000ff'><b>"อย่าปลงใจเชื่อ ให้ฟังและศึกษาด้วยดี ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้สรรเสริญ ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข"</b></font>

    พระพุทธองค์ทรงเน้นให้สมาทาน (ปฏิบัติ) อย่างเต็มที่ เพื่อเป็นการพิสูจน์ทราบตามความเป็นจริง จนได้ผลออกมาว่า จิตของตนมีสติสงบตั้งมั่นไม่หวั่นไหวง่าย ไม่ซัดส่ายไปมาตามอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดที่มากระทบ การสมาทานนั้นเป็นไปเพื่อการกำหนดรู้ว่า นี่ทุกข์ นี่เหตุแห่งทุกข์ นี่ทางปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์ นี่การดับทุกข์ แล้วค่อยเชื่อสิ่งที่ศึกษาและได้ยินได้ฟังมาก็ยังไม่สาย

    <font color='#ff0000'><b>๓.ไม่เคารพยำเกรงในพระสงฆ์</b></font>

    เมื่อกล่าวถึงพระสงฆ์แล้ว ย่อมมีข้อจำกัดเกิดขึ้นมาอย่างมากมาย โดยเฉพาะในประเทศไทย ที่ถูกพร่ำสอนให้เคารพยำเกรงในผ้ากาสาวพัสตร์ ส่วนมากมองข้ามพระธรรมคำสั่งสอน ต่อให้คนนุ่งเหลืองห่มเหลืองได้กระทำผิดหรือสอนผิดอย่างไร ถ้าไม่ใช่ถูกจับผิดในการกระทำผิดนั้นได้อย่างคาหนังคาเขา โอกาสรอดปลอดภัยมีมาก

    ได้แต่รอให้ "ผลกรรม วิบากกรรม" เครื่องเศร้าหมองที่ได้กระทำไว้ มาจัดสรรเอง ซึ่งก็บอกไม่ได้ว่า "เมื่อไหร่" สมมุติสงฆ์เหล่านั้น จึงยังอยู่รอดปลอดภัย ทั้งที่สอนผิดบิดเบือน จนพระสัทธรรมปฏิรูปไป

    คำว่า "พระสงฆ์" นั้น คือผู้ซึ่งฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า แล้วเลื่อมใส สละเรือนออกบวช เราเรียกว่า "สมมุติสงฆ์" หรือภิกษุ ต่อเมื่อนำพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ไปปฏิบัติตามด้วยความเพียรเพ่งพยายามอย่างจริงจังไม่ลดละ เข้าถึงธรรมแท้ เราเรียกว่า "อริยสงฆ์" หรือภิกษุอีกเช่นกัน

    ในครั้งพุทธกาล ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ใหม่ๆ ขณะนั้นมีพระอริยสาวกที่พระพุทธองค์ทรงบวชให้ ๖๐ รูป รวมพระองค์เข้าไปด้วยเป็น ๖๑ รูป ทรงเน้นออกไปสั่งสอนกุลบุตร กุลธิดา รูปละทิศ รูปละทาง อย่าไปซ้อนทางกัน ด้วย <b>ศีล สมาธิ ปัญญา</b>

    <font color='#0000ff'><b>"พวกเธออย่าได้ไปรวมทางเดียวกันสองรูป
    จงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น (ศีล)
    งามในท่ามกลาง (สมาธิ)
    งามในที่สุด (ปัญญา)"</b></font>

    <b>"ศีล สมาธิ ปัญญา"</b> <b>สิกขา ๓</b> หรือที่เรียกว่า <b>"อริยมรรคมีองค์ ๘"</b>

    วิถีแห่งอริยมรรค คือหนทางปฏิบัติเดียวที่จะกำจัดกิเลสและอุปกิเลสให้หมดสิ้น เป็นหนทางพ้นทุกข์เข้าสู่วิมุตติหลุดพ้น จิตสะอาดบริสุทธิ์หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองทั้งหลาย <b>ตราบใดที่ยังมีการปฏิบัติ "อริยมรรคมีองค์ ๘" อยู่ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ตราบนั้นโลกจะไม่ว่างเว้นจากพระอรหันต์ ดังนี้</b>

    <font color='#ff0000'><b>๔.ไม่เคารพยำเกรงในสิกขา</b></font>

    ข้อนี้มีความสำคัญมากในปัจจุบัน เพราะองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้อยู่ชี้ถูกชี้ผิดให้ จึงมีสิกขาบทใหม่ๆ ที่เพิ่มเติมเสริมแต่งเข้ามา ทำให้ <b>"อริยะตราตั้ง"</b> มีมากยิ่งขึ้น แต่ผู้เข้าถึงพระสัทธรรมที่แท้จริงกลับน้อยลงมาก

    <b>"สิกขา"</b> คือ ข้อที่จะต้องศึกษา ข้อที่ต้องปฏิบัติ ในทางพระพุทธศาสนา พระพุทธองค์ได้บัญญัติ สิกขา ๓ (สมณสูตร)

    <font color='#0000ff'><b>"สิกขา ๓ นี้ ที่สิกขาบท ๑๕๐ นั้นรวมอยู่ด้วยทั้งหมดไว้ ดังนี้"</b></font>

    <font color='#0000ff'><b>ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขา ๓ นี้ เป็นไฉน คือ
    อธิศีลสิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑ อธิปัญญาสิกขา ๑</b></font>

    โดยเฉพาะอธิจิตตสิกขานั้น เป็นหลักใหญ่ หัวใจความสำคัญทางพระพุทธศาสนา

    <font color='#0000ff'><b>อธิจิตตสิกขาเป็นไฉน?

    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย
    บรรลุปฐมฌาณ มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
    เพราะวิตกและวิจารสงบไป จึงบรรลุทุติยฌาน
    มีความผ่องใสแห่งใจในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
    ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่
    เพราะปีติสิ้นไป จึงมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
    เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลาย
    สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข
    เพราะละสุขและทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้
    จึงบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
    มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

    นี้เรียกว่า อธิจิตตสิกขา</b></font>

    <font color='#ff0000'><b>๕.ไม่เคารพยำเกรงในสมาธิ</b></font>

    เป็นข้อสรุปสุดท้ายที่ชัดเจนว่า เมื่อไม่เคารพยำเกรงในสมาธิ แต่กลับไปยำเกรงในวิปัสสนา (รู้เห็นตามความเป็นจริง) โดยไม่เอาสมาธิ บ้างก็เอาเพียงนิดหน่อยก็พอ ทั้งมีพระพุทธพจน์ทรงตรัสไว้ชัดเจนว่า

    <font color='#0000ff'><b>"สมาธึ ภิกฺขเว ภาเวถ สมาหิโต ยถาภูตํ ปชานาติ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงยังสมาธิให้เกิดขึ้นเถิด
    ผู้ที่มีจิตตั้งมั่นดีแล้ว ย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริง ดังนี้"</b></font>

    บุคคลที่จะมีวิปัสสนาได้นั้น จำเป็นต้องมีสติจิตสงบตั้งมั่นไม่หวั่นไหว จึงจะรู้เห็นตามความเป็นจริงได้ ส่วนบุคคลที่มีจิตซัดส่ายหวั่นไหววุ่นวายไม่ตั้งมั่น จะไปเอาวิปัสสนาปัญญา-รู้เห็นตามความเป็นจริงมาจากไหนได้

    เนื่องจากไม่ยำเกรงในพระศาสดา พระธรรม พระสงฆ์ และสิกขาบทนั่นเอง ข้อที่ ๕ นี้ ก็ถูกมองเมินไปด้วยเช่นกัน แต่ในทางกลับกัน บุคคลใดที่ให้ความสำคัญในการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา เพราะเคารพในสิกขา เข้าถึงอธิจิตตสิกขา (สัมมาสมาธิ) ย่อมหมดความสงสัยใน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มีวิปัสสนาปัญญา-รู้เห็นตามความเป็นจริงดังกล่าว

    มีพระพุทธพจน์ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรับรองไว้

    <font color='#0000ff'><b>"ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขา ๓ นี้แล ฯ
    ภิกษุผู้มีความเพียร มีเรี่ยวแรง มีปัญญา เพ่งพินิจ
    มีสติคุ้มครองอินทรีย์ พึงครอบงำทั่วทุกทิศ ด้วยอัปปนาสมาธิ
    ประพฤติทั้งอธิศีล อธิจิต และอธิปัญญา ฯลฯ

    ภิกษุเช่นนั้น บัณฑิตกล่าวว่า เป็นผู้ตรัสรู้ชอบ
    เป็นนักปราชญ์ เป็นผู้ถึงที่สุดของการปฏิบัติในโลก
    ท่านผู้ประกอบด้วยวิมุตติอันเป็นที่สิ้นตัณหา ฃ
    ย่อมมีจิตหลุดพ้นจากสังขารธรรม
    เพราะวิญญาณดับสนิท เหมือนความดับของประทีป ฉะนั้น ฯ"</b></font>

    สรุปสุดท้าย พระพุทธพจน์ตรัสไว้ว่า
    <font color='#0000ff'><b>"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทำได้เพียงบางส่วน
    ย่อมให้สำเร็จได้เพียงบางส่วน
    ผู้ทำให้บริบูรณ์ ย่อมให้สำเร็จได้บริบูรณ์อย่างนี้แล

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสิกขาบททั้งหลายว่า ไม่เป็นหมันเลย ฯ"</b></font>

    <font color='#006600'><b>"สัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นในโลกเมื่อใด
    เมื่อนั้นพระสัทธรรมจึงเลือนหายไป
    ทองเทียมยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด
    ตราบนั้นทองคำธรรมชาติก็ยังไม่หายไป
    และเมื่อทองเทียมเกิดขึ้น
    ทองคำธรรมชาติจึงหายไปฉันใด
    พระสัทธรรมก็ฉันนั้น
    สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด
    ตราบนั้นพระสัทธรรมก็ยังไม่เลือนหายไป"</b></font> สาธุฯ</font>

    <font color='#0000ff' size='4'><b>เจริญในธรรมทุกๆ ท่าน
    ธรรมภูต</b></font>​
     
  2. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    "..ข้อสรุปสุดท้ายที่ชัดเจนว่า
    เมื่อไม่เคารพยำเกรงในสมาธิ
    แต่กลับไปยำเกรงในวิปัสสนา..ฯ"!!

    อ่านแล้วแปลกๆ

    สมาธิแปลว่าอะไรอะพี่ธรรมภูติ
     
  3. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ***************************
    น้องทีบูน

    สมาธิ แปลว่า ความสงบตั้งมั่น

    สัมมาสมาธิ แปลว่า มีสติสงบตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว

    จากบทความชี้ให้เห็นว่า การปฏิบัติธรรมอย่างทุกวันนี้

    มีบุคคลบางส่วนที่เข้าใจผิดไปว่า "สมาธิ" ไม่จำเป็น

    มีก็ได้ ไม่มีก็ได้ หรือ มีเพียงเล็กๆน้อยๆก็พอ

    หัมไปเสพความสบายๆ ง่ายๆ ลัดสั้น มองข้ามความ "เพียรเพ่ง"

    เอาเพียงรู้ทันกาย-ใจ ก็พอ เพราะเข้าผิดจากคำสอนของอาจารย์บางท่าน

    ว่าการรู้ทันนั้นเป็น "วิปัสสนา" แล้ว

    จึงเคารพยำเกรงในวิปัสสนา

    เจริญในธรรมทุกท่าน
     
  4. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424

    โพชฌังโค สะติสังขาโต ธัมมานัง วิจะโย ตถาฯ
    พี่ธรรมภูติว่าไงครับ ขึ้นต้นด้วยสติก่อนเลย
    ไม่มีสติก่อน จะเอาอะไรไปเห็นไปธัมมวิจยะได้
    ผู้เพียรเจริญสติ ได้ครูบาอาจารย์ผู้รู้จริงชี้ช่อง
    นำทาง ก็ไปได้ตามหลักแห่งโพชฌงค์สูตรเลย

    ครูบาอาจารย์ผู้ฉลาดในมรรคบางทีท่าน
    ใช้วิธีจี้ใจดำให้ระลึกเห็นกิเลสในตนเองได้บ่อยๆ
    ถ้าไม่หัวดื้อขี้ร้ายจนเกินไป มีจิตใจมุ่งตรงต่อความ
    หลุดพ้น มันก็พอไปได้ อีกหน่อยศรัทธามันมีกำลัง
    มากขึ้น ๆ พละมันมี เริ่มสังเกตตนเองเป็น เริ่มมี
    ธัมมวิจยะตนเองเป็น เห็นกิเลสบ่อยๆ ทันนิวรณ์
    บ่อยๆ จิตมันก็สงบระงับลงได้เองเหมือนกัน

    พอสงบเป็น มันก็เปิดช่องให้เกิดปัญญารู้แจ้งเห็น
    ทุกข์ตามความเป็นจริงได้เหมือนกัน ทางนี้มันก็มีอยู่
    จะไปดูแคลนกันก็ไม่ดีนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กุมภาพันธ์ 2016
  5. kengkenny2

    kengkenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    592
    ค่าพลัง:
    +289
    พี่ทั้งสองอย่าลืมนะคับว่าสติเป็นเหตุเกิดและสติเป็นเหตุดับ สติที่รู้เหตุเกิดจากจิตที่ตั้งมั่นเป็นสมาธิเป็นปกติหรือมีศีล มันจะไม่เกิดเองแน่นอน เพียงเพราะทำซ้ำไปมา แต่มันจะเกิดได้เพราะมีปัญญาพิจารณาสิ่งที่เกิดขึ้น ว่าเป็นเหตุแห่งสิ่งใด ผู้หลงอยู่จะไม่สามารถแยกแยะได้ว่าพระธรรมแตกต่างจากสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง พิจารณาอย่างเดียวจึงไม่พอมันต้พร้อมด้วยสติที่เกิดจากสมาธิรวมไปถึงความศรัทธา บางครั้งมันจะไม่ได้ผลแต่จริงๆแล้วมันส่งผล คือ ทราบว่าติดอยู่ที่อะไร จึงควรสมาทานในศีล สมาธิและปัญญา อยู่เป็นระยะๆ จิตสงบอาจเกิดจากสมาธิและจิตสงบอาจเกิดจากปัญญาต้องพิจารณาว่า จิต เลือกสิ่งใด จึงแก้ไขได้ เพราะเลือกทางหนึ่งก็จะเจอสิ่งหนึ่ง เช่น เลือกสมาธิเจอคสามสงบ ถ้าเลือกปัญญาก็เกิดอุปกิเลส เพราะฉนั้นจิตที่ตั้งมั่นด้วยสติจึงสำคัญอย่างยิ่งต่อการปฏิบัติธรรม หรืออะไรก็ตามที่ทำให้เงื่อนไขแปรเปลี่ยนไป
     
  6. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424

    ผมอ่านไม่ค่อยเคลียร์ เลยขออนุญาตเน้นตัวดำ
    เฉพาะใจความที่เห็นว่าเป็นประเด็นหลักๆ นะ

    ถาม 2 ข้อครับ

    "แต่มันจะเกิดได้เพราะ มีปัญญาพิจารณา
    สิ่งที่เกิดขึ้น ว่าเป็นเหตุแห่งสิ่งใด"
    นั่นสิครับ เป็นเหตุแห่งสิ่งใด?

    "จึงควรสมาทานในศีล สมาธิและปัญญา
    อยู่เป็นระยะๆ" สมาทานยังไงครับ?

    ปัญหาของคนเจริญสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง
    แล้วเกิดท้อ เลิกละไป ซ้ำร้ายบางคน
    หลงเข้าใจผิดไปว่า นี่คือหนทางที่เป็นไปไม่ได้
    ปัญหามันอยู่ตรงที่..
    ไปเผลอภาวนาเพื่อจะเอาอะไรๆ นั่นเอง
    ไม่ทันตัณหาตั้งแต่ต้นแล้ว พลาด ผิดทางหมด
    ต้องกลับมารู้ทันต้นเหตุคือความหลงมีตัณหาให้ดี
    เผลอแล้วรู้ ๆ ควรจะรู้อย่างนี้ด้วย ของมันเผลอกันได้
    เผลอแล้วรู้ มันจึงสอนให้เกิดปัญญาสัมมาทิฏฐิได้
    นี่กล่าวเฉพาะคนที่มีกำลังใจมุ่งพ้นทุกข์อย่างแท้จริงเท่านั้นนะครับ
     
  7. kengkenny2

    kengkenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    592
    ค่าพลัง:
    +289
    เผลอแล้วรู้ไม่ค่อยเจอคับแต่เผลอแล้วหลงเจอบ่อยคับ ตั้งมั่นในสิ่งที่ไม่ทำให้ตนและคนอื่นเดือดร้อนเป็นหลักใหญ่ ลดในสิ่งที่เกินความจำเป็นต่อการใช้ชีวิต ทีนี้มาดูว่าอยู่ในสถานะไหน ถ้าไม่ใช่ฐานะ ก็พิจารณาปล่อยวาง สติจึงจะเกิดการเรียนรู้เมื่อสติรู้จึงเกิดปัญญา มันไม่ใช่เป็นไปไม่ได้แต่เบื้องต้นต้องรู้สถานะ กาล จึงต้องสมาทานไตรสิกขาอยู่เป็นระยะอย่างต่อเนื่อง ไม่วิตกและไม่คาดหวัง จึงเจริญในธรรมอย่างเป็นลำดับ ผมคิดว่าไม่ง่ายแต่ก็ไม่ยากเกินพิจารณา เอาไปเอามาคนที่คิดว่ากิเลสตนเหลือน้อยกลับกลายเป็นมีเต็ม. ถ้ายังเริ่มต้นไม่ถูกต้องแต่การลองผิดลองถูกก็คือการเรียนรู้ล้วนเป็นไปตามกรรม
     
  8. kengkenny2

    kengkenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    592
    ค่าพลัง:
    +289
    กล่าวโดยสรุป
     
  9. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424

    กิเลสมันเดือดร้อน ก็ให้อภัยกันเถอะครับ
    ไม่ว่ากิเลสว่าธรรมผลสุดท้ายก็เอากองไว้หมด
    ฆ่ากิเลสกันไปกันมาจนกระทั่งสำนึกได้
    รักกับผลักไสมีค่าเท่ากัน คือยึดมั่นทั้งคู่
    เรียนธรรมจึงเรียนไปเพื่อความสิ้นสงสัย
    หายโง่นั่นเอง
     
  10. สังฆะ

    สังฆะ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กุมภาพันธ์ 2016
    โพสต์:
    79
    ค่าพลัง:
    +35
    ผมไม่รู้ว่าคุณเป็นใครแต่คุณสามารถชี้ธรรมได้ ขอสาธุครับ
     
  11. kengkenny2

    kengkenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    592
    ค่าพลัง:
    +289
    ต่างกันนืดนึงผมไม่ฆ่ากิเลสคับ ถ้าพิจารณาแล้วกิเลสมันไม่ได้ผิดอะไร เราเองต่างหากที่ยิ่งทำอะไรไปก็ตามดูเหมือนจะยิ่งสร้างกิเลสให้พอกพูนมันเป็นเหตุบางอย่างที่มีกิเลส และมีบางอย่างที่ทำให้ไม่มี แต่บอกเลยว่ายังไงก็ควรมี และมีเพื่อหหาทางทำให้มันไม่มี วันนึงในอนาคตเมื่อถึงเวลาคับ ความสงสัยไม่มีวันจบถ้าไม่รู้ว่ามันมาจากไหนอะไรทำให้เกิด จนถึงที่สุดคือ ไม่มีอะไรที่ทำให้เกิด มันจึงไม่ใช่การทำลาย...มันจะอิงกับธรรมที่พระศาสดาตรัสไปโดยปริยาย
     
  12. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424

    กิเลสโผล่หรือไม่โผล่
    ขึ้นอยู่กับเหตุกับปัจจัยน่ะครับ สั่งไม่ได้
    ความโง่ถ้ามันยังมี มันก็กลายเป็นมากวนได้เรื่อยๆ ครับ
     
  13. kengkenny2

    kengkenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    592
    ค่าพลัง:
    +289
    พี่รู้ไหมทำไมใช้คำว่าบางอย่างในการตอบ เพราะอะไรรู้ไหม มันไม่ใช่หน้าที่ของผมจะมาตอบ และการที่ตอบกลับว่ามัม...ผมว่า เรายังคงยึดติดกับการคิดว่าตนมีอำนาจก็เลยเสนอแนวทางผ่าน ไม่ใช่ทำลายและก็ไม่ได้ไปสั่งหรือใช้พลังอะไรก็ตามไปควบคุม ใครหลายคนมักพูดและพร่ำเสมอว่าเป็นไปตามเหตุปัจัยแต่เชื่อไหมว่า การรู้ถึงเหตุปัจจัยทั้งหลายมันไม่ได้หมายความถึงการไปบังคับควบคุมหรือแม้แต่ทำลาย เอาเถอะนะพี่ ยังมีเวลาอีก ตายไปแล้วถ้ายังคงเพียรพิจารณาอยู่อย่างไรก็ได้พิจารณาอีกนั่นแหละ ผมกอดกิเลสแต่กิเลสก็ไม่ได้เป็นสิ่งเดีวกับผมเช่นเดียวกับทุกสิ่งที่ความจริงล้วนแยกออกจากกันแ่เหตุบางอย่างทำให้มันมารวมเป็นสิ่งเดียวกันจนบางครั้งคิดว่านั่นคือสิ่งหนึ่งสิ่งใดแต่มันไม่ใช่อย่างนั้น กิเลสมันอาจโผล่แต่ถ้าเกาะติดมันโผล่ก็โผล่มา...ว่าจริงไหม
     
  14. animejanai

    animejanai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    510
    ค่าพลัง:
    +494
    1.สร้างรูปเคารพ
    2.คิดพระธรรมของตัวเอง ไม่ศึกษา บิดเบือนคำสอน
    3.นุ่งผ้าไม่เหมือนสงฆ์สมัยก่อน
    4.ไม่ใช่วิถีของสงฆ์สมัยก่อน
    5.ผลของสมาธิไม่มี
     
  15. kengkenny2

    kengkenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    592
    ค่าพลัง:
    +289
    เป็นพุทธมามกะไหม...ถ้าไม่เป็นไม่แปลก ถ้าเป็นจะแปลกคือ ไม่มีใครจะทำได้ในสิ่งที่กล่าวและไม่มีใครจะละเลยได้ถ้าดำรงสถานะเป็นพุทธศาสนิกชน เว้นเสียว่าเขาไม่ใช่ จึงตั้งไว้เป็นข้อยกเว้น เป็นไปตามธรรม รูปคือรูป นามคือนาม แต่ไม่ใช่ความจริงที่มันเป็นจริง ถ้าเข้าใจจะรู้ว่า สิ่งใดคือพระสัทธรรมและสิ่งใดคือสัทธรรมปฏิรูป อนุโมทนาคับแต่อย่าไปตั้งแง่ เพราะสิ่งที่เห็นจริงๆอาจไม่เป็นอย่างที่คิดเสมอ
     
  16. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    ขอแสดงความเห็นเฉพาะบางส่วนก็แล้วกันครับ

    เรื่องการรู้ถึงเหตุปัจจัยนั้นเป็นการระลึกได้ แล้วย้อน
    กลับไปเห็นเหตุปัจจัยก็เท่านั้นเอง ทั้งหมดเป็นเรื่องที่
    รู้ตามหลังสิ่งที่เกิดขึ้นไปแล้วทั้งสิ้นครับ ซึ่งถ้ามัว
    ไปหลงยึดมั่นมาก ก็กลับนำทุกข์มาให้อีก เพราะ
    สัญญูปาทานักขันโธ สังขารูปาทานักขันโธ มันเป็น
    เช่นนั้นเอง และสิ่งใดที่เกิดขึ้นไปแล้ว มารู้ตามเอา
    ทีหลังยังไงก็ไม่สามารถไปบังคับควบคุมหรือทำลาย
    ได้อยู่แล้ว มันเป็นอดีต ยกเว้นรู้ก่อนเกิด คือถ้ารู้ว่า
    มันไม่ดีไม่ควรก็อย่าไปทำอีก มีแค่นั้นครับ แต่ถ้า
    เผลอกิเลสโผล่อีก ก็ยอมรับความจริง โผล่ก็โผล่
    ยิ่งไปร้องแรกแหกกระเชอ ก็ยิ่งทุกข์มากกว่าเก่า
    คนเห็นทุกข์จะรู้ทุกข์ในข้อนี้ดีเหมือนกัน
     
  17. kengkenny2

    kengkenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    592
    ค่าพลัง:
    +289
    ทำไมถึงคิดว่าการรู้ถึงกิเลสถึงเป็นทุกข์คับ การเห็นกิเลส ไม่ต้องคิดหรือทำอย่างที่ว่าเพราะวิธีการมันเป็นเพียงรูปแบบของการเรเริ่มต้น ถ้าปักจิตแล้วว่าเมื่อเห็นจะทุกข์และเมื่อรู้และจะทุกข์ผมว่านั่นหมายความว่าไม่รู้ การรู้การเห็นอาจไม่ใช่การสร้างมโนถาพเพื่อรอที่จะรู้ก็ได้ ถ้าทำถูตามคำสอน ยิ่งถ้าเพียรและพิจารณาอย่างมีสติจริงก็ไม่ควรแล้วที่จะทุกข์ แต่อย่างที่บอกไปแล้วว่าเวลายังมีอีกตามที่เข้าใจนั่นแหละคับ
     
  18. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    อ่าน พิจารณาดีแล้วหรือครับ
    ถึงตั้งคำถามแบบนั้น
    อันนี้เป็นไม้ตายได้เลยนะครับเนี่ย
    คู่สนทนาถึงไหนๆ ตั้งคำถามแบบนี้
    มันฟ้องเลยครับ ว่ายังไม่เก็ทจริงๆ
    หรือแกล้งลองใจกัน
     
  19. kengkenny2

    kengkenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    592
    ค่าพลัง:
    +289
    ก็ตามนั้นคับ อย่าลืมบางอย่างก็พอคับ ความเป็นจริงมันขึ้นและไม่ได้ขึ้นกับสิ่งใด ผมคงไม่มีอะไรมาแก้ต่าง มันจะฟ้องอะไรก็ให้มันฟ้องไปคับ สำคัญไว้อย่างนึงคือ ไม่มีอะไรที่จริงถ้าเราคิดไปเอง และสิ่งที่เป็นจริงมักไม่ใช่สิ่งที่เราคิดไว้เสมอ เวลายังมีอีกมาก ไม่ว่ามองยังไงหรือใครจะคิดว่าตนเองรู้ดีแล้วก็ตามอย่าลืมอย่างที่กล่าวข้างต้นนะคับ
     
  20. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    อย่าไปกล่าวอะไรแบบกำกวมสิครับ
    กล่าวให้มันชัดเจนชัดถ้อยชัดคำฟันธงไปเลย
    มัวอ้ำอึ้งติดฉลาดกฎเกณฑ์เยอะ เลยติดเป็นพัลวัน
    ไปหมด สิ้นอิสรภาพไปเลย ลองดูครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...