พระศรีอาริย์ฝากคนของท่าน 3 แสนคน โดยหลวงพ่อฤๅษี วัดท่าซุง

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย tritinnapob, 16 สิงหาคม 2014.

  1. tritinnapob

    tritinnapob เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    107
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +2,288
    แต่ว่าถ้าสมัยนี้บรรดาท่านพุทธบริษัท คนใดมีจิตใจ
    มุ่งหวังพระนิพพานเป็นอารมณ์ หากว่าท่านเป็น
    พระโสดาบันก็ดี หรือยังไม่เป็นพระโสดาบันก็ตาม
    พยายามมีความเคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม
    พระอริยสงฆ์ ให้มั่นคง นึกถึงความตายไว้เป็นปกติ
    ว่าชีวิตมันต้องตาย แต่ว่าถ้าตายเมื่อไรขอไปนิพพาน
    จิตใจรักพระนิพพานเป็นอารมณ์

    ถึงแม้ศีล หรือกรรมบถ 10 จะบกพร่องบ้างก็ตาม ถ้าจิต
    คิดอย่างนี้อยู่ตายแล้วไม่ลงอบายภูมิแน่ ก็ไปสวรรค์
    ถ้าไปสวรรค์แล้วภายในไม่ช้าถ้าไปเกิดบนสวรรค์
    ชั้นดาวดึงส์ เทวดาหรือนางฟ้าชั้นดาวดึงส์นี่มีอายุ
    1000 ปีทิพย์ จะมีอายุในดาวดึงส์ไม่ถึง 300 ปีทิพย์
    พระศรีอาริย์ฯ ก็จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ตอนนั้น
    ขณะที่ท่านเป็นเทวดาเป็นนางฟ้า ได้ฟังเทศน์
    เพียงครั้งเดียวในชีวิตก็สามารถเป็นพระอรหันต์ได้

    นี่ขอบรรดาญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลาย จงอย่าคิดว่า
    คนอย่างเราไม่มีบุญ ถ้าไม่มีบุญจริงๆ ญาติโยมทั้งหลาย
    มานั่งอยู่ตรงนี้ไม่ได้ ทนไม่ได้เพราะมันเมื่อย เหยียดแข้ง
    เหยีดขาก็ไม่ออก นั่งก็แสนจะลำบาก อาศัยบุญบารมีเก่า
    ของท่านดีมากจึงสามารถมาทนนั่งอย่างนี้ได้ และตั้งใจ
    โดยเฉพาะว่าเราต้องการบุญกุศล โดยเฉพาะอย่างยิง่วันนี้
    พูดเรื่องพระโสดาบันและนิพพาน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
    สำหรับบุคคลใดยังต้องเกิดในสมัยพระศรีอาริย์ฯ

    ท่านเคยบอกฝากไว้ บอกว่า คนของผมหลายแสนคน
    คนที่เกิดทันสมัยท่านบำเพ็ญบารมีมาด้วยกันนะ ประมาณ
    3 แสนคน ผมฝากด้วย ขอให้ทุกคนรักษากรรมบถ 10
    ให้ครบถ้วนทุกวัน ถ้าเป็นการบังเอิญครบถ้วนทุกวันไม่ได้
    วันปกติบกพร่องบ้างก็ตาม แต่ว่าวันพระอย่าให้บกพร่อง
    วันพระต้องเต็มอย่างนี้คนพวกนั้นจะเกิดทันสมัยผม

    และฟังเทศน์เพียงครั้งเดียว ถ้าอย่างอ่อนฟังเทศน์ครั้งแรก
    ก็เป็นพระโสดาบัน ถ้ารักษากรรมบถ 10 ได้ครบถ้วน
    ตลอดวันทุกวัน ทั้งวันปกติวันพระอย่างนี้ฟังเทศน์จบ
    จะเป็นพระอรหันต์ทันที ก็รวมความว่าบรรดาญาติโยม
    พุทธบริษัททั้งหลายโดยทั่วหน้า ที่มานั่งวันนี้ตรงนี้ทุกคน
    ก็เป็นคนมีบุญ บุญเก่าทำมาแล้วมากจึงสามารถมานั่งได้
    ต่อไปก็ตั้งใจหวังโดยเฉพาะว่าเราต้องการพระนิพพาน

    กรรมบถ 10 ( หลวงพ่อฤาษีลิงดำ )

    (๑) ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต หรือว่าประทุษร้ายสัตว์ทั้งหลายให้มีความลำบาก

    (๒) อทินนาทานา เวรมณี จงเว้นการถือเอาของที่บุคคลอื่นไม่ให้ มาเป็นของตนโดยเจตนา

    (๓) กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี จงเว้นจากการคบหาสมาคมกับบุตร ธิดา ภรรยาของบุคคลอื่น

    (๔) มุสาวาทา เวรมณี จงเว้นจากการพูดเท็จ

    (๕) ปิสุณาย วาจาย เวรมณี จงเว้นจากการพูดส่อเสียดยุยงส่งเสริมให้บุคคลทั้งหลายแตกร้าวกัน

    (๖) ผรุสาย วาจาย เวรมณี จงเว้นจากการพูดคำหยาบให้เป็นคำสะเทือนใจของบุคคลอื่น

    (๗) สัมผัปปลาปา เวรมณี จงเว้นจากการพูดวาจาเพ้อเจ้อ เหลวไหลไร้ประโยชน์

    (๘) อนภิชฌา องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้เห็นโทษของความโลภ ได้แก่ ไม่คิดเพ่งเล็งทรัพย์สินของบุคคลอื่นโดยอยากจะได้มาเป็นของตน

    (๙) อพยาบาท จงเว้นจากความโกรธ ความพยาบาท นี่เป็นธรรมะ

    (๑๐) สัมมาทิฏฐิ จงมีความเห็นถูก มีความเห็นตรง นี่เป็น ตัวปัญญา เป็นธรรมะ ”

    จงเว้นจากความชั่วทั้ง ๑๐ ประการนี้ คือ

    (๑) ปาณาติปาตา เวรมณี จงมีอารมณ์คิดไว้เสมอว่า เราจะไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต หรือทำอันตรายแก่ร่างกายของสัตว์และบุคคลทั้งหลายด้วยเจตนาร้าย ทั้งนี้ก็เว้นไว้แต่ว่าสิ่งนั้นทำไปโดยไม่มีเจตนา เช่น เดินไปไม่เห็นมด ไม่เห็นปลวก ตัวมันเล็กไปเหยียบมันเข้าตาย อย่างนี้ถือว่าไม่ขาดกรรมบถข้อนี้

    (๒) องค์สมเด็จพระมหามุนีทรงกล่าวว่า จงเว้นจากการถือเอาของที่บุคคลอื่นไม่ให้มาเป็นของตน นี่มีความหมายว่า ทรัพย์สินใดๆ อันตนเองไม่มีสิทธิ์ที่จะพึงทำได้ หรือไม่มีสิทธิ์จะพึงยึดถือมาได้ คำว่า “ ทำได้” น่ะ

    หมายความว่า งานการบางอย่างสมัยนี้มีมาก ตามที่เขาประกาศกันว่า ที่โน่นก็จับยาปลอม ที่นี่ก็จับของปลอม อย่างนี้เป็นต้น จะไปนั่งนึกเอาแต่เพียงว่าทรัพย์สินของบุคคนอื่นใด ที่เขาวางไว้เราไม่ยึดถือแล้วก็ไม่เป็น อทินนาทาน ทีนี้ถ้าของสิ่งใดที่เจ้าของเขาทำไว้แล้ว เช่น ยา เขาทำยาไว้ขาย ทำวัตถุธาตุอย่างใดอย่างหนึ่งไว้ขาย เราก็สร้างยี่ห้อปลอมเป็นยี่ห้อของเขาเป็นต้น อย่างนี้องค์สมเด็จพระทศพลก็ถือว่าเป็นอทินนาทาน เหมือนกัน

    ฉะนั้น ขอบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่านพึงทราบว่า องค์สมเด็จพระบรมโลกนาถทรงกล่าวว่า ถ้าเราจะเป็นมนุษย์กันจริงๆ อารมณ์ใจของเราจะไม่มีเจตนาตั้งใจจะลักขโมยของบุคคลอื่น จะคดโกงของบุคคลอื่น ไม่ตั้งใจจะปลอมสิ่งทั้งหลายที่เป็นประโยชน์แก่บุคคลอื่นที่เขาทำแล้ว

    (๓) องค์สมเด็จพระประทีปแก้วทรงกล่าวว่า ถ้าท่านปรารถนาจะเป็นมนุษย์จริงๆ ก็ต้องเว้นจาก กาเมสุมิจฉาจาร คำว่า “กาเมสุมิจฉาจาร” นี่ ยังมีคนเข้าใจยาก เข้าใจกันพลาด ถือว่าถ้าละเมิดไปร่วมรักในสามีและภรรยาของบุคคลอื่นเป็นสำคัญ อันนี้เป็น กาเมสุมิจฉาจาร สำหรับผู้ชายที่มีภรรยาอยู่แล้ว ถ้าผู้หญิงคนใดไปยุ่งกับผู้ชายคนนั้น ไปร่วมรักหรือยึดถือเอาเขามาเป็นสามี

    อย่างนี้องค์สมเด็จพระชินศรีทรงกล่าวว่า หญิงคนนั้นย่อมเป็นกาเม รวมทั้งผู้ชายด้วย แต่ว่าสำหรับผู้ชายที่ไปยุ่งกับสตรีใดที่กล่าวว่า เป็นภรรยาของบุคคลอื่นก็ดี เป็นลูก เป็นหลาน เป็นคนที่อยู่ในปกครองของบุคคลใดก็ดี ถ้าไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของ นี่ก็ถือว่าเป็นกาเมทั้งหมด ที่บรรดาประชาชนทั้งหลายมักจะเข้าใจผิดในคำสอนขององค์สมเด็จพระบรมสุคตในข้อนี้ ว่าย่อมต้องไปละเมิดเฉพาะภรรยาของบุคคลอื่นเท่านั้น ความจริงไม่ใช่เช่นนั้น ท่านกล่าวไว้ในบาลีว่า สตรี ๒๐ จำพวก ลูกเขาก็ดี หลานเขาก็ดี เหลนเขาก็ดี ที่มีผู้ปกครอง หรือว่าบุคคลใดที่มีผู้บังคับบัญชาปกครองอยู่ ถือว่าเป็นผู้ปกครองควบคุมอยู่

    ถ้าไปละเมิดประเภทนั้นเข้าเป็นโทษกาเมเหมือนกันหมด เพราะว่าเป็นการทำลายจิตใจของบุคคลผู้ปกครอง ฉะนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงให้ระมัดระวังเรื่องนี้เป็นสำคัญ ให้เว้นเสีย แต่อาการทุกอย่างนี้องค์สมเด็จพระทรงธรรมให้ถือใจเราเป็นเหตุ องค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ทรงปรารภว่า ถ้าเราเป็นผู้ปกครองบุคคลใดบุคคลหนึ่ง สตรีใดสตรีหนึ่ง ถ้าบุคคลอื่นเขามาทำอย่างนั้น เราจะมีความรู้สึกเป็นยังไง เราก็ไม่พอใจเป็นเหตุ เหตุฉะนั้น องค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์จึงทรงกล่าวว่า “ ธรรมที่เรากล่าวนี้เป็นการรักษาน้ำใจคน ให้พยายามนึกถึงอารมณ์ของเราเป็นสำคัญ ”

    ข้อที่ ๔ องค์สมเด็จพระภควันต์ทรงกล่าวว่า อย่า มุสาวาท คืออย่าพูดคำเท็จซึ่งไม่เป็นความจริง ความจริงวาจาที่เป็น มุสาวาท นี่ ต้องมีเจตนาทำลายประโยชน์เป็นสำคัญ ถ้าการกล่าววาจาที่ไม่ตรงความจริงนั้น เพื่อเป็นการรักษาประโยชน์ องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกล่าวว่า ไม่มีโทษตามนี้ ไม่เป็นการละเมิด กรรมบถ ๑๐ ประการ

    ข้อที่ ๕ องค์สมเด็จพระพิชิตมารทรงกล่าวว่า ปิสุณาย วาจาย เวรมณี จงเว้นเสีย คำว่า “ ปิสุณาย วาจาย ” ก็หมายถึงว่า วาจาที่พูดส่อเสียด ยุยงส่งเสริมให้บุคคลอื่นแตกร้าวซึ่งกันและกัน หมายความว่า เขามีความสามัคคีกันอยู่ เราหวังปรารถนาจะทำลายความสามัคคี ไปใช้เล่ห์เหลี่ยมวาจานี้พูดให้เขาแตกกันให้ได้ อย่างนี้องค์สมเด็จพระจอมไตรทรงกล่าวว่า เป็นผู้ละเมิด กรรมบถ ๑๐

    ข้อที่ ๖ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกล่าวว่า ผรุสาย วาจาย เวรมณี ข้อนี้องค์สมเด็จพระชินศรีทรงกล่าวว่า “ ท่านทั้งหลาย จงเว้นจากวาจาหยาบคายเป็นที่สะเทือนใจของบุคคลอื่น ”

    ข้อที่ ๗ สัมผัปปลาปา เวรมณี จงเว้นจากการพูดจาเพ้อเจ้อเหลวไหล คือวาจาเพ้อเจ้อเหลวไหลที่เป็นวาจาที่สะเทือนใจบุคคลอื่น พูดไม่อยู่ในเกณฑ์คำหยาบ พูดไม่อยู่ในเกณฑ์มุสาวาท พูดไม่อยู่ในเกณฑ์ส่อเสียด แต่ว่าเป็นวาจาที่ยกตนข่มท่าน เขาเรียกว่า วาจาเหลวไหล หรือวาจาประการหนึ่ง วาจาที่พูดไปไม่ได้มีประโยชน์ หาประโยชน์มิได้อย่างหนึ่ง เป็นวาจาที่ยกตนข่มท่านอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นวาจาประเภทนี้ ที่องค์สมเด็จพระชินศรีทรงบอกว่า ต้องงดเว้นถ้าเราจะเป็นมนุษย์

    หลังจากข้อ ๗ ไปแล้ว ข้อ ๑ ถึงข้อ ๗ องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกล่าวว่านี่เป็นศีล ที่เป็นศีลมากเพราะแยกจากมุสาวาท ออกมาเป็น ๔ ข้อด้วยกัน ละเอียดกว่าศีล ๕ ประการ ตั้งแต่ข้อที่ ๘ ถึงข้อที่ ๑๐ นั้น องค์สมเด็จพระพิชิตมารทรงกล่าวว่า นี่เป็นธรรมะ คือตอนนี้ให้รักษากำลังใจ ตั้งแต่ข้อที่ ๑ ถึงข้อที่ ๗ ให้รักษาส่วนในทางกายเป็นสำคัญ เช่น เราไม่ฆ่าสัตว์ เราไม่ทำร้ายสัตว์ นี่ต้องเป็นเรื่องของกายด้วย ใจด้วย ประกอบกัน
    ข้อที่ ๒ อทินนาทาน มีทั้งใจ มีทั้งกายร่วมกัน ถ้าใจไม่นึกมือมันไม่หยิบ
    ข้อที่ ๓ กาเมสุมิจฉาจาร ก็มีใจคิด มีการกระทำ
    ข้อที่ ๔ มุสาวาท วาจาพูดจากใจนึก
    ข้อที่ ๕ ปิสุณายวาจา วาจาส่อเสียด มีใจนึก ปากพูด
    ข้อที่ ๖ ผรุสวาจา วาจาหยาบ ใจนึก ปากพูด
    ข้อที่ ๗ สัมผัปปลาปา นี่ใจนึก ปากพูดเพ้อเจ้อ
    ข้อที่ ๘ นี่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ควบคุมใจโดยตรง
    ข้อที่ ๘ ถึงข้อที่ ๑๐ ก็ได้แก่

    ข้อที่ ๘ อนภิชฌา ท่านกล่าวว่า จงอย่าใช้อารมณ์เพ่งเล็งในทรัพย์สินของบุคคลอื่น ตอนนี้จำให้ดี ว่าคุมเข้าถึงใจว่าใจของเรานี้จะไม่มองทรัพย์ของบุคคลอื่น ว่าไอ้ทรัพย์สิ่งนี้เราอยากจะได้มาเป็นของตน ถ้าเจ้าของเผลอเมื่อไหร่ เราจะยึดถือเอาทรัพย์ทั้งหลายเหล่านี้ไซร้มาเป็นของตนเมื่อนั้น อารมณ์อย่างนี้องค์สมเด็จพระทรงธรรม์ทรงกล่าวว่า จงอย่ามีแก่บุคคลผู้ปรารถนาในความเป็นมนุษย์

    ข้อที่ ๙ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า จงละจากความโกรธ ความพยาบาทที่เป็นอารมณ์ของใจว่า ท่านทั้งหลาย จงทรงใจไว้ให้ดี จงตัดความโกรธ ความพยาบาท จงอย่าให้มีในจิตของตน นี่องค์สมเด็จพระทศพลถือใจเป็นสำคัญ นี่ว่ากันเรื่องใจเป็นธรรมะ

    ข้อที่ ๑๐ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกล่าวว่า สัมมาทิฏฐิ ท่านทั้งหลาย จงมีความเห็นตรงในความดีโดยเฉพาะ
    คำว่า “ เห็นตรงเห็นถูก ” ในข้อนี้ก็หมายความว่า
    จงนึกว่าส่วนใดที่เป็นกุศลกรรม คือ ความดี ข้อนี้เราทำ
    สิ่งใดที่เป็นอกุศลกรรม คือความชั่ว เราจะงดเว้นจากจิต
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. buakwun

    buakwun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    2,830
    ค่าพลัง:
    +16,614
    กราบอนุุโมทนา สาธุธรรม
    จะรักษากรรมบถ ๑๐ และปฏิบัติตามคำสอนของหลวงพ่อค่ะ
     
  3. daowdeaw

    daowdeaw เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 เมษายน 2013
    โพสต์:
    537
    ค่าพลัง:
    +1,558
    อนุโมทนา สาธุ กราบในคำสอนของหลวงพ่อด้วยจิตเคารพศรัทธาอย่างสูงยิ่ง
     

แชร์หน้านี้

Loading...