พระวจนพระพุทธจี้กง "สนทนาถึงความอยากที่ถูกต้องและการบำเพ็ญกุศล"

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย marty, 6 มิถุนายน 2009.

  1. marty

    marty เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2009
    โพสต์:
    230
    ค่าพลัง:
    +439
    สนทนาถึงความอยากที่ถูกต้องและการบำเพ็ญกุศล
    [​IMG]

    ความอยากแบ่งเป็นความอยากที่ถูกต้องและความอยากของมนุษย์
    กุศลแบ่งเป็นกุศลชั้นสูง กุศลชั้นกลาง กุศลชั้นต่ำ ผู้บำเพ็ญธรรมควรรู้แยกแยะดังต่อไปนี้

    ก. ด้านความอยากที่ถูกต้อง

    1. ผู้บำเพ็ญธรรมต้องลดซึ่งตัณหา ความอยากทำจิตใจให้สงบ ไม่คิดฟุ้งซ่าน แก้ไขความชั่ว กระทำความดี พระพุทธะได้รู้แจ้งด้วยเหตุปัจจัยเหล่านี้ ส่วนเวไนยไม่สามารถตัดซึ่งตัณหาความอยาก ไม่ทำจิตให้สงบ คิดฟุ้งซ่าน ไม่แก้ไขความชั่ว ไม่กระทำความดี จึงถูกขนาดนามว่า "ผู้หลง"
    ... แท้จริงแล้วปุถุชน เหตุเพราะลุ่มหลงจึงเป็นปุถุชน หากรู้แจ้งก็คือพุทธะ
    ... หากใจยึดติดกับภาวะคือความทุกข์กังวล หากใจออกห่างจากภาวะคือโพธิ

    แปรพิษทั้ง 3 เป็น ศีล สมาธิ ปัญญา

    ความโลภของกาย ... ให้ถือศีล
    ความโกรธของใจ ... ให้ถือสมาธิ
    ความหลงของจิต ... ให้ถือปัญญา

    ... กัลยาณชนอยู่เหนือความอยากของมนุษย์ ทุรชนมากด้วยความอยากของมนุษย์
    ... ความเห็นแก่ตัวคือฝ้าที่บดบังจิตมโนธรรม เป็นสิ่งที่บดบังใจให้ลุ่มหลง ประดุจทางสู่ประตูนรก

    2. หากมนุษย์มีความอยาก จิตใจจะคับแคบ ไร้ซึ่งความอยากจิตใจจะกว้างขวาง
    ... หากภายในจิตใจมีความอยากจักมีแต่ความทุกข์กังวล ไร้ความอยากก็จะสงบ
    ... หากภายในใจคนมีความอยากจักอันตราย ไร้ความอยากจะสงบสุข
    ... อารมณ์ของคนมีความอยากจักอ่อนแอ ไร้ความอยากจะเข้มแข็ง เพราะฉะนั้น

    ... อริยะไร้ซึ่งความอยาก ( นิพพาน)
    ... เมธีไร้ซึ่งความอยาก (อรูปภูมิ)
    ... ปุถุชนมีความอยาก (รูปภูมิ)
    ... คนเขลาเต็มไปด้วยความอยาก (นรกภูมิ)

    ผู้ที่เข้มแข็งแท้จริง คือ ผู้ที่สามารถเอาชนะความอยากและความเห็นแก่ตัวของตน มิใช่การเอาชนะผู้อื่น

    3. บาป คือ การที่ไม่พ้นจากการมีตัณหา ความอยาก

    ... ภัย คือ การที่ไม่พ้นจากการไม่รู้จักพอ
    ... แท้จริงพระพุทธะกับปุถุชนต่างก็มีความอยากแตกต่างกันเพียงความอยากที่เป็นกุศลกับความอยากของมนุษย์
    ... ตัวของความอยากไม่มีดีหรือเลว อยู่ที่ใจของพวกเจ้าจะใช้มันอย่างไร ประดุจกำปั้นอาจจะทำร้ายคนได้ และอาจจะทำประโยชน์ เช่น ทุบให้หายเมื่อยได้

    4. ความอยากของอริยะเมธี
    ... ขงจื้อกล่าวว่า "ตนต้องยืนหยัดในตน ถึงจะช่วยผู้อื่นให้ยืนหยัด ตนต้องกระทำให้สำเร็จ ถึงจะช่วยผู้อื่นให้สำเร็จ ตนต้องมีใจการุณย์ ถึงจะช่วยผู้อื่นให้มีใจการุณย์"
    ... เม่งจื้อกล่าวว่า "ความอยากในการทำความดี คือ ความอยากอันเป็นกุศล"

    5. ความอยากขอปุถุชน ร่ำรวย มั่งมี ลาภยศ ชื่อเสียง ... คือ ความอยากของปุถุชน

    6. พุทธอริยะกับปุถุชน ต่างก็มีความอยากแต่ปุถุชนอยากที่จะแย่งชิงผลประโยชน์ ทำร้ายผู้อื่น พุทธอริยะอยากที่จะสร้างสมความดี เห็นความดีมิอาจถอยหนี นี้คือความแตกต่างระหว่างอริยะกับปุถุชน

    อันว่า
    ... ผู้ที่ชอบแก่งแย่ง คือ ผู้มีใจอ่อนแอ
    ... ผู้ที่ชอบแก่งแย่งความร่ำรวย คือ ผู้ที่มีจิตใจ ยากจน
    ... ผู้ที่ชอบแก่งแย่งอำนาจ คือ ผู้มีใจวุ่นวาย
    ... ผู้ที่ชอบทำความดี คือ ผู้ที่มีจิตใจเป็นสุขตลอดกาล

    ข. ด้านการบำเพ็ญกุศล

    1. ผู้บำเพ็ญธรรม ควรละทิ้งซึ่งกรรมชั่วปฏิบัติกรรมดี อะไรคือกรรมดี?
    ... การทำใจตนให้เที่ยงตรง ก็คือ พื้นฐานของการทำกรรมดี
    ... การมีใจกตัญญูจงรักภักดี ก็คือ กรรมดีที่ควรกระทำ
    ... การมีใจศรัทธา สัจจะ คุณธรรม ก็คือการทำกรรมดีในการดำรงชีวิต
    ... การช่วยเหลือผู้อื่น ก็คือการทำกรรมดีด้านความเมตตากรุณา
    ... การบริจาคทานช่วยเหลือคน ก็คือ การทำกรรมดีด้านทานบารมี

    2. ความร่ำรวยที่แท้จริง คือ การเปี่ยมไปด้วยคุณธรรมภายใน
    ... ความสูงศักดิ์ที่แท้จริง คือ การบำเพ็ญกุศล เสียสละด้วยความยินดี
    หากเป็นได้เช่นนี้ ไม่เพียงแต่ให้ประโยชน์แก่ผู้อื่น ยังเป็นผลดีต่อตนเองด้วย
    อันว่า การแบ่งปันช่วยเหลือ ตนแบ่งปันให้ผู้อื่นมากเท่าไหร่ ตนก็ยิ่งได้รับมากเท่านั้น

    (จุดมุ่งหมายในภายภาคหน้า)
    ต่อจากนี้ไปจะต้องฝึกจิต บำเพ็ญใจ รักษาใจ หล่อเลี้ยงธรรมญาณ

    การฝึกฝนบำเพ็ญใจ
    ... อดทนต่อความทุกข์
    ... อนทนต่อการถูกเหยียบหยาม
    ... อนทนต่อการโมโหโกรธา
    ... อนทนต่อการแข็งข้อ
    ... อนทนต่อการถูกประณาม

    การรักษาใจหล่อเลี้ยงจิต
    ... อดทนต่อความลำบาก
    ... อดทนต่อการถูกอาฆาต
    ... อดทนในเรื่องการงาน
    ... อดทนในเรื่องของบุคคล
    ... อดทนต่อความยุ่งยาก

    การตอบแทนบุญคุณเบื้องบนที่ดีที่สุด คือ การช่วยเหลือคน ช่วยเหลือสังคม
    การตอบแทนบุญคุณอาจารย์ที่ดีที่สุด คือ การได้อบรมสั่งสอนคนรุ่นหลัง
     

แชร์หน้านี้

Loading...