พระมาลัยสนทนา กับพระศรีอริยะเมตไตรย

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 21 กุมภาพันธ์ 2009.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    พระศรีอริยเมตไตรย

    พระมาลัยเถระผู้ทรงเป็น พระอรหันต์ ขึ้นไปยังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์และได้มีโอกาสเข้าเฝ้าและ สนทนาธรรมกับเทพบุตรผู้ต่อไปจะลงมาตรัสเป็นพระพุทธเจ้า นามว่า พระศรีอริยเมตไตรย ขณะนี้ทรงสถิตย์อยู่ ณ สวรรค์ชั้นดุสิต แต่เสด็จ ลงมากราบพระจุฬามณีเจดีย์ ณ สวรรค์ชั้นนี้ ความต่อไปนี้เป็นการ สนทนากันระหว่างพระมาลัยเถรเจ้ากับพระศรีอาริยเมตไตรย)

    [​IMG]

    สาธุ สาธุ ดีแล้วๆ มหาบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ เมื่อไรพระองค์ จึงจะเสด็จลงไปบังเกิดในมนุสสโลก โปรดเวไนยสัตว์ ตรัสเป็นพระสัมมา สัมพุทธเจ้าเล่า มหาบพิตร

    [​IMG] ภันเต ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ในเมื่อครบถ้วน ๕๐๐๐ พระวรรษา สิ้นศาสนาแห่งพระโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า ในกาลใด ในกาลนั้นหมู่สัตว์ ทั้งหลายก็จะพากันมืดมนนัก ไม่รู้จักทำบุญทำกุศล มีแต่จะพากันทำบาป หยาบช้าทารุณ หาหิริโอตตัปปะมิได้ ดุจหนึ่งว่าไก่ แพะ แกะและสุนัข ทั้งหลาย ลูกกับแม่ก็จะอยู่กินเป็นสามีภรรยากัน พี่สาวน้องชาย พี่ชาย น้องหญิง ตลอดถึงพี่ป้าน้าอาว์ ลุงกับหลานต่างก็พากันสมัครสังวาสอยู่ ด้วยกัน กิเลส คือโลภะ โทสะ โมหะ ของหมู่สรรพสัตว์ก็จะหนาแน่นขึ้น ทุกเวลา อายุก็จะน้อยถอยลงไปตราบเท่าอายุไขย์ได้ ๑๐ ปี แม้ทารกมี อายุเพียง ๕ ปีก็จะทำการวิวาหะอยู่กินด้วยกัน ในกาลนั้นคนทั้งหลาย เห็นกันก็จะสำคัญว่าเป็นเนื้อเป็นปลา จับสิ่งใดได้เป็นต้นว่า กิ่งไม้ก็กลาย เป็นศาสตราวุธ ครั้นแล้วต่างก็จะไล่ฆ่าฟันทิ่มแทงกันและกัน ให้ถึงแก่ ความตายสุดที่จะประมาณได้ ฝ่ายชนทั้งหลาย ผู้มีบุญวาสนา มีปัญญา ครั้นทราบเหตุการณ์ว่า ถึงคืนนั้น วันนั้นจะเกิดฆ่าฟันกันวุ่นวายเป็นหนัก หนา ก็พากันหนีไปซุกซ่อนอยู่ตามซอกห้วยและภูเขาตามเหว ตามถ้ำ แต่ผู้เดียว เมื่อคนทั้งหลายฆ่าฟันกันล้มตามภายใน ๘ วันแล้ว ผู้มีบุญ วาสนาก็ออกจากที่ซ่อนเร้นเมื่อเห็นกันพบกัน ต่างก็สวมกอดซึ่งกันและกัน สมัครสมานปรึกษากันว่า มาริสา ดูกรชาวเราทั้งหลายเอ๋ย ความพินาศ เกิดขึ้นในครั้งนี้ เป็นเหตุด้วยคนทั้งหลายมัวเมาประมาท ประกอบแต่ กรรมอันหยาบช้า หาเมตตาปราณีต่อกันมิได้

    อิโต ปัฏฐายะ จำเดิมแต่นี้ไป ชาวเราทั้งหลายจงหมั่นประกอบการกุศล งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม กล่าวมุสาวาท ดื่ม สุราเมรัย และงดเว้นจากอภิชฌา-พยาบาท-มิจฉาทิฏฐิเถิด เมื่อปรึกษา กัน ฉะนี้แล้ว ต่างก็ตั้งหน้าอุตส่าห์บำเพ็ญทาน รักษาศีล เจริญเมตตา ภาวนา เมื่อคนเหล่านั้นมีลูก ลูกก็มีอายุยืนไป ๒๐ ปี หลานอายุยืนขึ้นไป ๓๐ ปี เหลนอายุยืนขึ้นไป ๔๐ ปี โดยนัยนี้ เจริญขึ้นไปจนตราบเท่าถึง อสงไขยหนึ่ง กาลครั้งนั้น ความไข้ ความตายดูเหมือนจะไม่ปรากฏแก่ สัตว์ทั้งหลาย ต่อแต่นั้น คนทั้งหลายก็เกิดความประมาท เมื่อเกิดความ ประมาทแล้ว อายุก็พลันน้อยถอยลงมาตั้งอยู่ ๘ หมื่นปี สมัยนั้น ฝนตกทุกกึ่งเดือน ถึง ๑๕ วัน ตกคราวหนึ่ง เมื่อจะตกก็ตกในมัชฌิมยาม ยังพื้นแผ่นดินให้ชุ่มชื่นน่ารื่นรมย์ ประชาชนต่างก็พากันมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ มีแม่น้ำใหญ่ไหลขึ้นทางฟากหนึ่ง ไหลลงทางฟากหนึ่ง มีน้ำอันเต็มเปี่ยม เสมอฝั่งตั้งอยู่เป็นนิตยกาล บรรดาพฤกษาชาติใหญ่น้อยก็ผลิดอกออกผล ตามฤดูกาลเสมอเป็นนิรันดร์ ทั้งบ้านเรือนนิคมนั้นก็มิไกลกัน ตั้งอยู่เพียง ระยะไก่บินถึง อันตรายซึ่งจะกวน เช่น โจรผู้ร้ายก็ไม่มี สมบูรณ์พูลสุข เป็นอย่างดีด้วยเครื่องอุปโภคบริโภค ตลอดทั้งแก้วแหวนเงินทอง สามี และภรรยาต่างก็ประคับประคองทนุถนอมน้ำใจกัน มิได้ทะเลาะวิวาท ทำร้ายกันเลย หญิงชายทั้งหลาย ต่างก็จะพากันเสวยโภคสมบัติอัน เป็นทิพย์ ไม่ต้องทำสวน ทำไร่ ทำนา ค้าขาย หญิงทั้งหลายมิต้องทอหูก ปั่นฝ้าย จะนุ่งห่มผ้าผ่อนสะไปแต่ล้วนเป็นของทิพย์ เหล่าเสนาราชอำมาตย์ ก็ย่อมตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรมประเพณี มิได้เบียดเบียนบีฑาประชาราษฎร์ ให้เดือดร้อน มีความเอ็นดูกรุณาเป็นอย่างดี สัตว์ทั้งหลาย เช่น กากับนกเค้า แมวกับหนู งูกับพังพอน เสือกับเนื้อต่างก็มีไมตรีจิตสนิทสนมมิได้ประทุษร้าย กัน คนในยุคนั้นแต่ล้วนตั้งอยู่ในศีลธรรม เลี้ยงชนม์ชีพด้วยอาหารอันเป็น ทิพย์ มั่งมีศรีสุขสนุกสำราญ พื้นแผ่นดินก็ราบเรียบดูจหนึ่งหน้ากลองชัยเภรี ปราศจากตอเสี้ยนหนามอันจะทำให้เป็นบาดแผลและคนทั้งหลายก็จะ งดงามสะอาด คนวิกล วิกาล ใบ้บ้า บอด หนวก เสียขา หรือเตี้ยค่อม ชนิดใดชนิดหนึ่งมิได้มี เมื่อชนทั้งหลายแลเห็นกันแล้วก็มีแต่ความเมตตา ปราณีรักใคร่กัน พลันแต่ประสบสุข นิราศทุกข์ นิราศโรค นิราศโศก นิราศภัย ภันเต ข้าแต่พระมาลัยผู้เจริญ ในยุคนั้นนั่นแล โยมจักไปอุบัติบังเกิดใน มนุสสโลก ตรัสเป็นองค์พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วและเทศน์ โปรดสรรพสัตว์ทั้งหลาย คนสมัยนั้น ก็ล้วนแต่พื้นมีสันโดษ ชายจะพอใจ อยู่แต่ในภรรยาของตน มิได้ร่วมประเวณีหญิงซึ่งเป็นภรรยาของคนอื่น แม้ฝ่ายหญิงเล่าก็มิได้เอาใจออกห่างจากสามีของตน คนทุกคนล้วนแต่ ประสบสุขสำราญ มิต้องประกอบการอาชีพ เช่น ทำนา ทำสวน เมื่อ บริโภคของอันเป็นทิพย์แล้ว ก็มีแต่จะนั่งนอนเล่น ฟังเสียงทิพยดนตรี ตามความปรารถนาของตน กษัตริย์ พราหมณ์ เศรษฐี คฤหบดี ไพร่กุดุมพี นั้นมิได้มี แต่ล้วนมีทรัพย์สินเสมอเหมือนกัน อันจะหาคนเข็ญใจยากไร้ นั้นมิได้มี การวิวาทกันด้วยแย่งชิงที่บ้านเรือน เรือกสวน ไร่นา และทาส ทาษี และสัตว์ ช้าง ม้า โค กระบือ ของกันและกันนั้นย่อมไม่มี ครั้งนั้น พืชข้าวสาลีแม้แต่เมล็ดเดียว ถ้าตกลงบนแผ่นดินแล้ว ก็จะงอกขึ้นแตก ออกไปได้ร้อยส่วนพันส่วนทวีคูณขึ้นไปทีเดียวละพระคุณท่านผู้เจริญ


    ดูกรมหาบพิตรพระราชสมภาร ศาสนาของพระองค์ หาคนเป็นใบ้บ้า เป็นต้นมิได้นั้น เป็นเพราะเหตุผลแห่งอะไร ขอถวายพระพร

    [​IMG]

    ศาสนาของโยมหาคนใบ้บ้ามิได้นั้น เป็นเพราะเหตุที่โยมมิได้เจรจามุสา ล่อลวงคนทั้งหลายฯ หาคนตาบอดมิได้นั้น เป็นเพราะเหตุที่โยมเหลียว แลดูสมณะพราหมณาจารย์ ผู้มีศีลมีสัตย์ทั้งปวงด้วยตาอันเป็นที่รักฯ หาคนเตี้ยค่อมิได้นั้น ด้วยเหตุที่โยมทำกายให้ตรง คือว่าประพฤติสุจริต รักษาศีล ฟังพระธรรมเทศนาฯ หาคนเป็นโรคภัยไข้เจ็บมิได้ เพราะเหตุที่ โยมให้ยาเป็นทาน และช่วยกันบรรเทาทุกข์ภัยของสัตว์ทั้งปวงฯ คนใน ศาสนาของโยมมีความสุขสบายดีเสมอกันนั้น ด้วยว่าโยมให้ข้าวน้ำ ผ้าผ่อนท่อนสะไบ เรือแพนาวา ของหอม เป็นทานฯ ศาสนาของโยมไม่มี มารมาผจญ ด้วยเหตุที่โยมมิได้ทำสัตว์ให้สดุ้งตกใจกลัวฯ คนในศาสนา ของโยมล้วนแต่มีรูปร่างงามๆ นั้น เป็นผลที่โยมให้ของรักเป็นทานแก่ สมณพราหมณาจารย์และยาจกวณิพกคนกำพร้าอนาถาฯ คนในศาสนา ของโยมนั้น ได้ไปสวรรค์ทั้งสิ้น คือได้ไปหมดทุกคน ด้วยเหตุที่โยมให้ช้าง ม้า ราชรถ ยวดยาน คานหาม เป็นทานฯ ศาสนาของโยม มีพื้นแผ่นดิน เรียบราบเสมอกันนั้น เป็นผลที่โยมแผ่เมตตาจิตไปในสัตว์ทั้งหลาย เสมอหน้ากันฯ คนในศาสนาของโยมที่มั่งคั่งสมบูรณ์มีความสุขร่าเริงนั้น เป็นด้วยเหตุที่โยมยังจิตยาจก ให้ชุ่มชื่นด้วยทรัพย์สิ่งของเงินทองตามความ ปรารถนาตามชอบใจ ขอท่านอรหันตมาลัยจงเข้าพระทัยโดยนัยดังที่โยม ได้เล่าถวายมานี้เถิดฯ


    ดูกรมหาบพิตรพระราชสมภารพระองค์ มหาบพิตรทรงบำเพ็ญบารมีมา กี่อสงไขย์และจะลงไปเกิดในตระกูลไหน พระชนกชนนี สาวกสาวิกา ตลอดจนไม้ที่จะได้ไปตรัสรู้ชื่อว่าอย่างไร ขอจงได้กรุณาบอกไป ณ บัดนี้เถิด ขอถวายพระพร

    ข้าแต่พระคุณเจ้าอรหันตมาลัย โยมได้บำเพ็ญบารมีมาช้านานถึง ๑๖ อสงไขย์แสนมหากัลป์ สมตึงสบารมี ๓๐ ทัศนั้น โยมก็ได้ลำเพ็ญมาเป็น อย่างดี ถ้าโยมให้ทานแล้วโยมจะได้ระวังหน้าระวังหลังนั้นหามิได้ฯ โยมจะลงไปเกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาล มั่งมีทรัพย์สมบัติพร้อม ทุกสิ่งฯ พระชนกนามว่า สุพรหมพราหมณ์ เป็นปุโรหิตของพระเจ้า สังขจักรพรรดิ์ฯ พระชนนีนั้นนามว่า นางพรหมวดีพราหมณีฯ พระอัคร สาวกเบื้องขวานามว่า อโสกเถระฯ พระอัครสาวกเบื้องซ้ายนามว่า สุพรหมเทวเถรฯ พระสีหเถระ เป็นพุทธอุปฐากฯ อัครสาวิกา ชื่อว่า สุมนาภิกษุณี ปทุมาภิกษุณีฯ อุบาสกพุทธอุปฐาก ๒ คน คือ สุทัตตคฤหบดีคน ๑ สังฆคฤหบดีคน ๑ฯ และอุบาสิกาเป็นพุทธอุปฐาก อีก ๒ คน คือ สวดีอุบาสิกาคน๑ สังฆอุบาสิกาคน ๑ฯ อัครมเหษีชื่อ นางจันทมุขีฯ โอรสชื่อ พรหมวดีกุมารฯ จะได้ตรัสรู้ที่ ไม้กากะทิง แต่พื้นดิน ถึงค่าคบ ๑๒๐ ศอก แต่คาคบถึงยอด ๑๒๐ มีกิ่งใหญ่ ๔ กิ่ง ทอดออกไป ในทิศทั้ง ๔ ยาวได้ ๑๒๐ ศอก ดอกโตเท่ากงจักรรถ แต่ละดอกมีเกษรได้ ทะนาน ๑ มีกลิ่นหอมขจรไปในทิศานุทิศได้ ๑๐๐ โยชน์ฯ ส่วนโยมนั้น มีกายสูง ๘๘ ศอก แต่พระนาภีถึงพระรากขวัญ ๒๒ ศอก แต่พื้นพระบาท ถึงพระชานุ ๒๒ ศอก แต่พื้นพระชานุถึงพื้นพระนาภี ๒๒ ศอก แต่พระ รากขวัญถึคงพระอุณหิส ๒๒ ศอก พระชนมายุยืนได้ ๘๐๐๐๐ ปี (แปด หมื่นปี- deedi) ขอพระคุณเจ้าผู้เจริญโปรดทราบตามนี้เถิด

    [​IMG]

    ดูกรมหาบพิตร นิยตโพธิสัตว์ ที่ว่าต้องประกอบด้วย " พุทธภูมิ" นั้น อยาก ทราบว่า คำว่า "พุทธภูมิ" แปลและหมายความว่าอย่างไร มีเท่าไร อะไรบ้าง ขอถวายพระพร

    ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ นักปราชญ์นิยมเรียกกันว่า "พุทธภูมิธรรม" คำว่า "พุทธภูมิธรรม" แปลว่าธรรมอันเป็นชั้นของพระพุทธเจ้า หมายความว่า ธรรมซึ่งจัดเป็นชั้นของผู้จะเป็นพระพุทธเจ้า อธิบายว่า นิยตโพธิสัตว์ คือ ผู้ที่เที่ยงแท้แน่นอนที่จะได้เป็นพระพุทธเจ้านั้น จำเป็นต้องมีภูมิชั้นเชิงดีกว่า คนอื่นๆ มาก เพื่อเป็นเครื่องส่อให้เห็นว่า แปลกจากคนอื่นๆ อย่างไร และธรรมซึ่งเป็นภูมิ หรือ เป็นชั้นเชิงของผู้จะเป็นพระพุทธเจ้านั้น เรียกว่า พุทธภูมิธรรม มีอยู่ ๔ ประการ คือ

    ๑. อุสสาโห ความองอาจกล้าหาญในการทำดี ไม่ยอ่ท้อต่อสิ่งอะไรทั้งหมด เป็นต้นว่า การงานที่ทำ ความเมื่อยล้า หิวกระหาย ใกล้ ไกล

    ๒. อุมมัคโค มีปัญญาแก่กล้าเชี่ยวชาญ ความรู้อันแก่กล้า ได้แก่ความรู้ใน เหตุผลของการกระทำ นิยตโพธิสัตว์ต้องมีความรู้ในเหตุผลต้นปลายของ การกระทำต่างๆ ว่าอย่างไหนจะมีเหตุผลดีชั่วอย่างไร แล้วเลือกไม่ทำสิ่งที่ มีผลชั่ว เลือกทำแต่สิ่งที่มีผลดี

    ๓. วะวัตถานัง มีอธิษฐานมั่นคง คือมีใจคอหนักแน่นมั่นคง มีความมั่นใจ นิยตโพธิสัตว์ย่อมมีใจคอมั่นคง หนักแน่น ไม่เหลาะแหละเหลวไหล เมื่อทำ สิ่งใดต้องทำให้สำเร็จ เป็นอันไม่ทอดทิ้ง

    ๔. หิตจริยา ทำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ นิยตโพธิสัตว์ย่อมทำแต่สิ่งที่เป็น ประโยชน์แก่ตนและแก่ผู้อื่น

    ในคุณธรรม ๔ ข้อนี้ ถ้าลำดับตามวิธีใช้ ต้องลำดับอย่างนี้ คือ อุมมัคคะ- หิตจริยา-อวัตถานะ-อุสสาหะ

    [​IMG] อธิบายว่า ก่อนจะทำสิ่งใดลงไป ต้องใช้อุมมัคคะ คือ ปัญญาพิจารณาดู เสียก่อน แล้วจึงใช้หิตจริยา คือทำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ ใช้วัตถานะ คือ ความมั่นใจเป็นที่ ๓ ใช้อุตสาหะคือความไม่ย่อท้อเป็นที่ ๔

    [​IMG] ส่วนพวกเราที่ไม่ใช่โพธิสัตว์ประเภทนิยตโพธิสัตว์ หรือสักว่าโพธิสัตว์ ก็ควรพยายามทำตนให้ตั้งอยู่ในภูมิธรรมทั้ง ๔ ประการนี้ เมื่อสามารถ เลื่อนตนไปถึงภูมิธรรมทั้ง ๔ ประการนี้แล้ว จึงจะเรียกว่า "ปณีตบุคคล" คือ บุคคลชั้นดี และได้ชื่อว่า เป็นผู้มีภูมิดี


    ดูกร มหาบพิตรพระราชสมภาร คำว่า "อัชฌาสัย" ซึ่งเป็นธรรมประจำ นิยตโพธิสัตว์นั้น แปลและหมายความว่าอย่างไร

    แปลว่า "สิ่งที่นอนทับ" หมายความว่า สิ่งที่มีประจำใจ เรียกตามโวหาร ในทางภาษาไทยว่านิสสัยใจคอ หรือน้ำใจ มีทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว ส่วนที่จะกล่าวต่อไปนี้ ล้วนแต่เป็นฝ่ายดีทั้งนั้น เพราะเป็นคุณสมบัติ ของนิยตโพธิสัตว์

    ตามธรรมดานิยตโพธิสัตว์ ย่อมมีอัชฌาสัย หรือ อัธยาศัย ได้แก่ นิสสัยใจคอ หรือน้ำใจดี น้ำใจมีคุณธรรมสูง

    [​IMG]
    สัตว์นรกได้สั่งให้พระมาลัยจดจำ ความทุกข์ ทรมานของตนนำไปบอกแก่ญาติให้ทำบุญ แล้วกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลไปให้

    อัชฌาสัยของนิยตโพธิสัตว์มีอยู่ ๖ ประการ คือ

    ๑. อโลภัชฌาสัย มีอัธยาศัยไม่โลภ คือ มีน้ำใจ ไม่เห็นแก่ได้ฝ่ายเดียว เหลียวแลถึงประโยชน์ของคนอื่นด้วย

    ๒. อโทสัชฌาสัย มีอัธยาศัยไม่โกรธ คือ เป็นคนไม่ดุร้าย ไม่หยาบคาย มีความยั้งใจ รั้งใจไม่ให้ฉุนเฉียว ไม่ให้หุนหันพลันแล่น ไม่ทะลุดุดัน ในเวลาที่กระทบกับอนิฏฐารมณ์หรือในเวลาที่มีความโกรธเกิดขึ้น ก็รีบระงับเสียโดยอุบายอันดีอันชอบเสมอ ไม่ตกอยู่ในอำนาจของ ความโกรธ คือ มีเมตตา กรุณาประจำใจ

    ๓. อโมหัชฌาสัย มีอัธยาศัยไม่หลง คือ ไม่งมงาย ไม่โง่เขลา มีปัญญา มีวิจารณญาณ มีปรัชญาประจำใจ ไม่ยอมเชื่อง่ายๆ ไม่ยอมเชื่ออย่าง งมงาย ต้องเห็นเหตุผล รู้เหตุรู้ผลดีเสียก่อนจึงเชื่อ ครั้นเชื่อแล้วก็ได้ ดำเนินชีวิตไปโดยมีหลักการ วิธีการ ปฏิบัติการและสิทธิการอันถูกต้อง เช่นไม่หลงทางเดินแห่งชีวิต พยายามเว้นทางไปอบายภูมิทั้ง ๔ (นรก เปรต อสุรกายและสัตว์เดรัจฉาน- deedi) แล้วเดินทางไปสุคติภูมิ คือทางไปมนุษย์ สวรรค์ พรหมและนิพพาน เป็นวิถีทางแห่งชีวิตอันตรง อันถูกต้องโดยแท้

    ๔. เนกขัมมัชฌาสัย มีอัธยาศัยออกบวช ออกจากกิเลสตัณหา เมื่อมี โอกาสก็ปลีกตัวออกบวชบำเพ็ญสมณธรรม ทำตนให้ห่างจากความ หมกมุ่นอยู่กับกามคุณ ๕ หรือเมื่อไม่สามารถออกบวชก็เจริญสมถ กรรมฐานอยู่กับบ้านเรือนได้

    ๕. ปวิเวกัชฌาสัย มีอัธยาศัยชอบเงียบ ชอบสงบ ชอบสงัด คือ ชอบ ความสงบวิเวกได้แก่กายวิเวก สงัดกาย ๑ จิตตวิเวก สงัดจิต ๑ และ อุปธิวิเวก สงัดกิเลส ๑ อธิบายว่า ชอบความสงัดจากหมู่ ไม่ชอบคลุกคลี ด้วยหมู่ คณะ หรือกับใครๆ ชอบทำใจให้สงัดจากความรัก คือไม่อยาก ให้มีความรักรุมสุมอยู่ในใจ ชอบสงัดจากความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นอัธยาศัย

    ๖. นิสสรณัชฌาสัย มีอัธยาศัยสลัดออกจากภพ จากชาติ จากกิเลส ตัณหา จากบาปจากกรรม คือ ชอบแสวงหาหนทางออกไปจากโลก ชอบแสวงหาหนทางออกจากกิเลสตัณหา แสวงหาหนทางออกจาก กองทุกข์นานาประการบรรดามีอยู่ในโลก


    ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ คำว่า "อัจฉริยธรรม" นั้นแปลว่า ธรรมะที่น่า อัศจรรย์ คำว่า "อัศจรรย์" แปลว่า ควรปรบมือให้ ควรยกนิ้วให้ว่าดี เลิศ ประเสริฐ ยอดเยี่ยม อธิบายว่า นิยตโพธิสัตว์นั้น มีธรรมควรที่เทวดา มนุษย์จะยกนิ้วให้ ปรบมือให้ว่ายอดเยี่ยมที่สุด

    อัจฉริยธรรมนั้น มีอยู่ ๗ ประการ คือ

    ๑. ปาปะปะฏิกุฏจิตโต มีจิตหดหู่จากบาป คือ จิตของนิยตโพธิสัตว์นั้น ไม่สู้กับความชั่ว ไม่สู้กับบาปอกุศล มีแต่ละอายบาป กลัวบาป ละอายชั่ว กลัวชั่ว เกลียดความบาป เกลียดความชั่ว

    ๒. ปะสาระณะจิตโต มีจิตแผ่ออกแต่ความดี คือ เป็นจิตที่เบิกบานต่อ ความดีอยู่เป็นนิจ คอยรับแต่ความดีอยู่เสมอ มีอาการแผ่ออก ไม่ถอย จากความดี ถ้ายังไม่ถึงจุดมุ่งหมาย เป็นอันไม่หยุดความเพียร ไม่ละเลิก ความเพียรเป็นอันขาด

    ๓.อธิมุตตะกาละกิริยา น้อมใจตาย คือ เมื่อได้เกิดในสวรรค์ที่มีอายุ ยืนนาน ท่านกลัวเสียเวลาสร้างบารมีไปนาน (เพราะในสวรรค์เป็นที่ เสวยสุขเป็นส่วนมาก โอกาสที่จะได้บำเพ็ญบุญบารมีต่างๆ มีน้อย ไม่เหมือนเกิดเป็นมนุษย์- deedi) จึงอธิษฐานขอให้สิ้นชีวิต คำอธิษฐานนั้นว่า "ขออย่าให้ชีวิตของข้าพเจ้ามีอยู่ต่อไปเลย" พออธิษฐานเสร็จก็จุติทันที ข้อนี้ถ้าไม่ใช่นิยตโพธิสัตว์ทำไม่ได้

    ๔. วิเสสะชะนัตตัง ความเป็นคนวิเศษ คือ เป็นคนแปลกไม่เหมือนคนอื่นๆ เมื่อนิยตโพธิสัตว์อยู่ในครรภ์มารดาในชาติที่สุด (คือ ชาติสุดท้าย ชาติที่ จะได้ตรัสรู้- deedi) จะไม่เหมือนคนทั้งหลายคือ คนธรรมดาเรานั้น เมื่ออยู่ในครรภ์มารดานั่งทับอาหารเก่า ทูนอาหารใหม่ของมารดาไว้ ๑ ผินหน้าเข้า ข้างหลังมารดา ๑ ผินหลังออกไปข้างหน้ามารดา ๑ นั่งยองๆ เอามือทั้งสอง ค้ำคางไว้ ๑ ส่วนนิยตโพธิสัตว์ตรงกันข้ามคือ นั่งอยู่ในที่สะอาด ไม่เปื้อน อะไร ๑ ผินหน้าออกทางหน้ามารดา ๑ นั่งพับพะแนงเชิงเหมือนพระนั่งเทศน์ บนธรรมาสน์ ๑

    ๕.ติกาลัญญู รู้กาล ๓ นิยตโพธิสัตว์ในชาติที่สุดนั้น รู้พระองค์ใน ๓ กาล คือ เมื่อจะจุติจากสวรรค์ลงสู่พระครรภ์ ก็รู้ว่าจะจุติลงสู่พระครรภ์ ๑ เวลาที่ อยู่ในพระครรภ์ ๑๐ เดือน ก็รู้ว่าอยู่ในพระครรภ์ ๑ เวลาประสูติจากพระ ครรภ์ก็รู้ว่าประสูติจากพระครรภ์ ๑ ส่วนพระปัจเจกพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แต่ไม่ได้ออกสั่งสอนเวไนยสัตว์ ไม่สามารถรื้อถอนสัตว์ออกจากสังสารวัฏได้- deedi) กับพระอัครสาวกทั้ง สอง เป็น ทวิกาลัญญู รู้กาล ๒ คือ เวลาจุติลงสู่ครรภ์ ๑ เวลาที่อยู่ในครรภ์ ๑ อสีติมหาสาวกใหญ่ทั้ง ๘๐ เป็น เอกาลัญญู รู้กาลเดียว คือ เวลาจะถือ ปฏิสนธิเท่านั้น
    นอกจากบุคคล ๓ ประเภทนี้ เป็น อกาลัญญู คือ ไม่รู้กาลทั้งหมดฯ

    ๖. ปสูติกาโล กาลประสูติ เวลาประสูติ หมายความว่า ในชาติที่สุดนั้น นิยตโพธิสัตว์มีการประสูติดังนี้ คือ เวลาจะประสูติ พระมารดายืน ส่วน พระองค์ท่านที่อยู่ในครรภ์ ก็ยืนขึ้นและทรงเหยียดพระหัตถ์ทั้งสองลงไป ตามลำขา มีอาการเหมือนพระเทศน์ลงจากธรรมาสน์ ไม่รู้สึกลำบาก พระองค์และพระมารดาเลย หมื่นโลกธาตุก็หวั่นไหวใหญ่ ๗. มะนุสสะชาติโย เกิดเป็นมนุษย์ หมายความว่า การที่นิยตโพธิสัตว์ ผู้มีบุญญาภินิหารเต็มที่สามารถเลือกเกิดได้ตามชอบใจในชาติที่สุด แต่ต้องเกิดเป็นมนุษย์นั้น ก็นับเป็นข้อควรอัศจรรย์อย่างหนึ่ง ท่านอ้างเหตุ ไว้ ๓ อย่าง คือ

    ๑. มนุษยโลก สมควรเป็นที่ตั้งศาสนพรหมจรรย์ คือ การบรรพชาอุปสมบท ซึ่งทรงคำสั่งสอนไว้
    ๒. เป็นที่อัศจรรย์ในพุทธานุภาพ
    ๓. เป็นที่มีโอกาสไว้พระสารีริกธาตุในเวลาพระองค์นิพพาน



    [​IMG] ส่วนต่อไปนี้นับว่าเป็นส่วนเพิ่มเติมเพราะส่วนข้างบนทั้งหมดเป็นคำสนทนา โดยตรงระหว่างพระศรีอริยเมตไตรยกับพระอรหันต์พระนามพระมาลัยเถระ แต่ส่วนที่จะยกมาตรงนี้เป็นบทสนทนาระหว่างสมเด็จพระอมรินทราธิราช กับพระมาลัยเถระ เกี่ยวกับ พระศรีอาริย์ก่อนที่พระมาลัยจะได้มีโอกาสกราบเข้าเฝ้าและทูลถาม


    ดูกรมหาบพิตร สมเด็จพระศรีอริยเมตไตรยนั้น พระองค์ท่านได้ทรงบำเพ็ญ กุศลธรรมเป็นประการใด จึงประกอบไปด้วยรัศมีเครื่องประดับประดา อาภรณ์วิภูสิตงดงามยิ่งกว่าเทพยดาองค์ไหนๆ ทั้งมีเทพบุตรเทพธิดาเป็น บริวารถึงแสนโกฏิปานนี้ มหาบพิตร

    ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ อันกุศลกรรมของพระศรีอริยเมตไตรยหน่อพระ- พุทธางกูร พระองค์ทรงก่อสร้างกุศลสมภารมา ก็ด้วยความปรารถนาจะ ปลดเปลื้องซึ่งหมู่สัตว์อันขัดข้องอยู่ด้วยเครื่องจองจำคือกิเลสมาร ทรงตั้ง พระทัยจะโปรดปรานมนุสสมบัติแก่หมู่สรรพสัตว์ จึงได้อุตส่าห์บำเพ็ญ เนกขัมมบารมีเป็นหลายแสนโกฏิแห่งกัปป์ฯ

    [​IMG] หวังจะโปรดประทานพระโสดาปัตติมรรคโสดาปัตติผล แก่บุคคลผู้เห็นทุกข์ จึงอุตส่าห์บำเพ็ญปัญญาบารมีฯ

    [​IMG] หวังจะโปรดประทานพระสกทาคามิมรรค แก่นรชนผู้เห็นประจักษ์ในทาง อนิจจัง จึงทรงบำเพ็ญวิริยบารมี

    [​IMG] หวังจะโปรดประทานพระอนาคามิผล แก่นรชนผู้เห็นแจ้งโดยทางอนัตตา จึงอุตส่าห์บำเพ็ญ ขันติบารมีฯ

    [​IMG] หวังจะโปรดประทานพระอรหัตตมรรคอรหัตตผล แก่บุคคลผู้เห็นแจ้ง ประจักษ์ในพระไตรลักษณะทั้ง ๓ ประการ จึงอุตส่าห์บำเพ็ญสัจจบารมีฯ

    [​IMG] หวังจะโปรดประทานพระอัฏฐังคิกมรรค แก่บุคคลผู้งดเว้นจากปาณาติบาต จึงหมั่นบำเพ็ญอธิษฐานบารมีฯ

    [​IMG] หวังจะโปรดประทานนิพพานสมบัติ แก่สัตว์ผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสาร จึงอุตส่าห์บำเพ็ญเมตตาบารมีและอุเบกขาบารมีฯ

    สมเด็จพระศรีอริยเมตไตรยบรมพุทธางกูรนี้ ได้ทรงสร้างบารมีมาหลาย แสนกัปป์ ก็เพื่อจะโปรดประทานศีล สมาธิ ปัญญา แก่เวไนยสัตว์ให้ล่วงพ้น จากวัฏฏสงสาร บรรลุถึงฟากฝั่งพระนิพพาน เห็นสภาวะปานฉะนี้ ขอพระคุณเจ้าจงรอคอยพระองค์ก่อน เมื่อพระองค์เสด็จมาถึงเมื่อใด ขอพระคุณเจ้าจงได้ไต่ถามพุทธการกภูมิให้พิสดารกว้างขวาง ตามอัธยาศัยของพระคุณเจ้าเมื่อนั้นเถิดฯ


    ที่มาของข้อมูล

    http://www.sanyana.com/webboard/viewtopic.php?f=13&t=111

    -----------------------------------------
     

แชร์หน้านี้

Loading...