พระพุทธเจ้า

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย รสมน, 11 สิงหาคม 2010.

  1. รสมน

    รสมน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,451
    ค่าพลัง:
    +2,047
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 align=center border=0><TBODY><TR><TD>พระอริยเจ้าทั้งหลายท่านศึกษาและรอบรู้ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ตามความเป็นจริง
    ท่านเหล่านั้นชื่อว่า เป็นผู้ฉลาดในขันธ์ ในธาตุ ในอายตนะ ส่วนกัลยาณปุถุชน
    ผู้ศึกษาพระสัทธรรมของพระอริยเจ้า ย่อมเริ่มเข้าใจในขันธ์ตามความเป็นจริง เริ่ม
    ศึกษา เริ่มรอบรู้ เริ่มฉลาดในขันธ์ ในธาตุ ในอายตนะ ส่วนผู้ที่ไม่ได้ศึกษาชื่อว่าเป็น
    ผู้ไม่ฉลาดครับ

    พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 504

    [๘๕๖] ธาตุกุสลตา เป็นไฉน ?

    ธาตุ ๑๘ คือ จักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ โสตธาตุ สัททธาตุ

    โสตวิญญาณธาตุ ฆานธาตุ คันธธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาธาตุ รสธาตุ

    ชิวหาวิญญาณธาตุ กายธาตุ โผฏฐัพพธาตุ กายวิญญาณธาตุ มโนธาตุ

    ธัมมธาตุ มโนวิญญาณธาตุ, ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง

    ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันเป็นเหตุฉลาดในธาตุแห่งธาตุทั้งหลายนั้น ๆ

    อันใด นี้เรียกว่า ธาตุกุสลตา.

    [๘๕๗] อายตนกุสลตา เป็นไฉน ?

    อายตนะ ๑๒ คือ จักขายตนะ รูปายตนะ โสตายตนะ สัททายตนะ

    ฆานายตนะ คันธายตนะ ชิวหายตนะ รสายตนะ กายายตนะ โผฏฐัพพายตนะ

    มนายตนะ ธรรมายตนะ, ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัย

    ธรรม สัมมาทิฏฐิ อันเป็นเหตุฉลาดในอายตนะแห่งอายตนะทั้งหลายนั้น ๆ

    อันใด นี้เรียกว่า อายตนกุสลาตา.
    ข้อความอธิบายจากอรรถกถา

    ในนิทเทสธาตุกุสลตาทุกะ ปัญญาที่รู้การกำหนดการเรียน การ

    มนสิการ การฟัง การทรงจำ ซึ่งธาตุ ๑๘ ชื่อว่า ธาตุกุสลตา (ความเป็น

    ผู้ฉลาดในธาตุ) ปัญญาที่รู้การเรียน การมนสิการซึ่งธาตุเหล่านั้นนั่นแหละ

    ชื่อว่า มนสิการกุสลตา (ความเป็นผู้ฉลาดในมนสิการ).

    ในนิทเทสอายตนกุสลตาทุกะ ปัญญาที่รู้กำหนดการเรียน การ

    มนสิการ การฟัง การทรงจำซึ่งอายตนะ ๑๒ ชื่อว่า อายตนกุสลตา

    (ความเป็นผู้ฉลาดในอายตนะ).

    อีกอย่างหนึ่ง บรรดากุสลตาเหล่านี้แม้ทั้ง ๓ (ธาตุกุสลตา มนสิการ-

    กุสลตา อายตนกุสลตา) ความรู้ทั้งปวง คือ การเรียน มนสิการ การฟัง

    การเข้าใจ การแทงตลอด การพิจารณาเห็น ย่อมสมควร. ในบรรดาการรู้ทั้ง

    ๖ เหล่านั้น การฟัง การเรียน การพิจารณาเห็นเป็นโลกีย์ การแทงตลอดเป็น

    โลกุตระ การเข้าใจและมนสิการเป็นมิสสกะคือเป็นโลกีย์ก็มี เป็นโลกุตระก็มี.

    บทว่า อวิชฺชาปจฺจยา สํขารา เป็นต้นจักแจ่มแจ้งในปฏิจจสมุป-

    ปาทวิภังค์. ปัญญาที่รู้ว่า ธรรมนี้เป็นปัจจัยแก่ธรรมนี้ ดังนี้ ชื่อว่า ปฏิจจ-

    สมุปปาทกุสลตา (ความเป็นผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท).
    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ ๒๑๙

    พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า "ความสรรเสริญ เป็นของน้อย ไม่พอเพื่อสงบกิเลส"

    มีคำอธิบายว่า .-

    ความสรรเสริญนั้น เป็นส่วนน้อย ต่ำช้า นิดหน่อย ลามก สกปรก ต่ำต้อย ไม่พอ

    เพื่อสงบกิเลส คือ ไม่พอเพื่อยังราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ

    ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ มารยา ความโอ้อวด ความ

    กระด้าง ความแข่งดี ความถือตัว ความดูหมิ่น ให้สงบ ให้เข้าไปสงบ ดับ สละคืน

    ระงับไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความสรรเสริญนั้นเป็นของน้อย ไม่พอเพื่อสงบกิเลส.

    (ข้อความบางตอนจาก ... พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส)


    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ -หน้าที่ 466

    สองบทว่า ยญฺเจ วิญฺญู ความว่า การนินทาหรือสรรเสริญของพวกชนพาล

    ไม่เป็นประมาณ
    แต่บัณฑิตทั้งหลาย ใคร่ครวญเเล้ว ....ย่อมควรเพื่อนินทาบุคคลนั้น

    ผู้เป็นดุจดังแท่งทองชมพูนุท อันเว้นจากโทษแห่งทองคำอันควรเพื่อจะบุและขัด.
    พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 467

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ
    ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ให้ถูกทำลาย เขาย่อมเป็นไปกับด้วยโทษ ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้ง
    ได้ประสบบาปเป็นอันมาก ธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ไม่พิจารณาไตร่ตรองพูด

    สรรเสริญคุณของผู้ที่ควรติเตียน ๑ ไม่พิจารณาไตร่ตรองพูดติโทษของคนที่ควร

    สรรเสริญ ๑ .

    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 264
    ข้อความบางตอนจาก.. อรรถกถารัตนสูตร
    พระผู้มีพระภาคเจ้า มิใช่ทรงแสดงเพราะเห็นแก่ลาภ มิใช่ทรงแสดงเพราะเห็น
    แก่สักการะเป็นต้น หากแต่มีพระหฤทัยอันพระมหากรุณาให้ทรงขะมักเขม้น
    อย่างเดียว ได้ทรงแสดงพระปริยัติธรรมอันประเสริฐ

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 374

    ข้อความบางตอนจาก โรคสูตร

    เพราะเหตุนั้น ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจัก

    ไม่เป็นผู้มักมาก มีความร้อนใจ ไม่สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ

    คิลานปัจจัยตามมีตามได้ จักไม่ตั้งความปรารถนาลามกเพื่อจะได้ความยกย่อง

    เพื่อจะได้ลาภสักการะและความสรรเสริญ จักไม่วิ่งเต้นขวนขวายพยายามเพื่อ

    ให้ได้ความยกย่อง เพื่อให้ได้ลาภสักการะและความสรรเสริญ

    พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 257

    ๖. วรรณนาสูตร

    ว่าด้วยธรรมที่ทำให้ภิกษุณีเหมือนตกนรกและขึ้นสวรรค์

    [๑๑๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

    เหมือนถูกนำมาไว้ในนรก ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุณีไม่ใคร่ครวญ

    ให้ตระหนักแน่ก่อนแล้ว สรรเสริญผู้ไม่ควรสรรเสริญ ๑ ไม่ใคร่ครวญให้

    ตระหนักแน่ก่อนแล้ว ติเตียนผู้ควรสรรเสริญ ๑
    ไม่ใคร่ครวญให้ตระหนัก

    แน่ก่อนแล้ว เข้าไปกำจัดความเลื่อมใสในฐานะอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความ

    เลื่อมใส ๑ ไม่ใคร่ครวญให้ตระหนักแน่ก่อนแล้ว เข้าไปกำจัดความไม่เลื่อมใส

    ในฐานะอันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส ๑ ทำสัทธาไทยให้ตกไป ๑ ดูก่อน

    ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เหมือนถูกนำมา

    ไว้ในนรก.
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=600><TABLE cellSpacing=2 cellPadding=0 width="100%" align=center><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=8 width=580 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 align=center border=0><TBODY><TR><TD> พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 218

    ๘. เทวทัตตสูตร

    เปรียบเหมือนต้นไผ่ออกขุยมาก็สำหรับฆ่าตัวเอง ออกขุยมาก็เพื่อความพินาศของ

    ตัวเองฉันใด...ต้นอ้อออกขุยมาก็สำหรับฆ่าตัวเอง ออกขุยมาก็เพื่อความพินาศของตัว

    เองฉันใด... แม่ม้าอัสดรตั้งครรภ์ก็สำหรับฆ่าตัวเองตั้งครรภ์ก็เพื่อความพินาศ (ของตัว

    เอง) ฉันใด ลาภสักการะและความสรรเสริญเกิดมีแก่เทวทัตก็เพื่อทำลายล้างตน


    ลาภ สักการะและความสรรเสริญเกิดมีแก่เทวทัตแก่เพื่อความพินาศ (ของตัวเอง)ฉัน

    นั้นเหมือนกัน

    ผลกล้วยฆ่าต้นกล้วย ขุยไผ่ฆ่าต้นไผ่ ขุยอ้อฆ่าต้นอ้อ

    ลูกม้าอัสดรฆ่าแม่ม้าอัสดรฉันใด สักการะก็ทำลายล้างคนชั่วเสียฉันนั้น.

    จบเทวทัตตสูตรที่ ๘
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD bgColor=#eeeeee> <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 align=center border=0><TBODY><TR><TD> พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 647

    ๖. อสนิสูตร

    ว่าด้วยคนติดลาภสักการะเหมือนคนถูกขวานฟ้า

    [๕๔๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

    ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

    ภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญ

    ได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญ

    ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษม

    จากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า.

    [๕๕๐ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขวานฟ้าตกถูกใคร ลาภสักการะ

    และความสรรเสริญ ย่อมตามถึงพระเสขะผู้ยังไม่บรรลุอรหัตผล คำว่า

    " ขวานฟ้า" นี้ เป็นชื่อของลาภสักการะและความสรรเสริญ ดูก่อนภิกษุ

    ทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญ ทารุณ ฯ ล ฯ อย่างนี้แล

    เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.

    จบอสนิสูตรที่ ๖
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 align=center border=0><TBODY><TR><TD>ปุถุชนทั้งหลายแสวงหาลาภ สักการะ ชื่อเสียง แต่เขาไม่รู้ว่านั่นเป็นสิ่งที่เป็นอันตราย
    แก่การบรรลุมรรค ผล ของเขา สมดังพระพุทธพจน์ดังนี้
    พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 639

    ลาภสักการสังยุต สุทธกสูตร
    ว่าด้วยลาภสักการะเป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรม

    [๕๓๖] ข้าพเจ้าได้ฟังมาอย่างนี้ :-

    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

    ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

    ภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น

    ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า.

    [๕๓๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

    ลาภสักการะ และความสรรเสริญ ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็น

    อันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า

    เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักละ

    ลาภสักการะและความสรรเสริญที่เกิดขึ้นแล้วเสีย และลาภสักการะและ

    ความสรรเสริญที่บังเกิดขึ้นแล้ว จักครอบงำจิตของเราทั้งหลายตั้งอยู่ไม่ได้

    เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.

    จบสุทธกสูตรที่ ๑
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD><TD width=1 bgColor=#999999></TD></TR></TBODY></TABLE>
    ทีฆโลมสูตร

    ว่าด้วยคนติดลาภสักการะเหมือนแกะถูกหนามเกี่ยว


    [๕๔๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

    ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

    ภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญ

    ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษม

    จากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า.

    [๕๔๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แกะขนยาวเข้าไปสู่ชัฏหนาม มัน

    พึงข้องอยู่ อันหนามเกี่ยวไว้ ติดอยู่ในที่นั้น ๆ ได้รับทุกข์ ถึงความ

    พินาศในที่นั้น ๆ ฉันใด ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อันลาภ สักการะ

    และความสรรเสริญครอบงำ ย่ำยีจิตแล้วก็ฉันนั้น ...............
    เอฬกสูตร

    ว่าด้วยคนติดลาภสักการะเหมือนแมลงวัน


    [๕๔๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

    ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

    ภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญ

    ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษม

    จากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า.

    [๕๔๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แมลงวันกินขี้เต็มท้อง และ

    ข้างหน้ายังมีกองขี้ใหญ่ มันพึงดูหมิ่นแมลงวันเหล่าอื่นว่า เรากินขี้

    เต็มท้องแล้ว และเรายังมีกองขี้ใหญ่อยู่ข้างหน้าอีกฉันใด ภิกษุบางรูปใน

    ธรรมวินัยนี้ อันลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำ ย่ำยีจิตแล้ว

    ก็ฉันนั้น เวลาเช้า นุ่งแล้วถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังบ้าน

    หรือนิคม ฉันอยู่ ณ ที่นั้นพอแก่ความต้องการแล้ว และทายกนิมนต์

    เพื่อให้ฉันในวันรุ่งขึ้น แม้บิณฑบาตของเธอจะเต็มแล้ว เธอไปอาราม

    แล้ว อวกอ้างที่ท่ามกลางหมู่ภิกษุว่า ผมฉันพอแก่ความต้องการแล้ว

    ทายกยังนิมนต์เพื่อให้ฉันในวันรุ่งขึ้น บิณฑบาตของผมก็เต็ม และยังจะ

    ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารอีก ส่วนภิกษุ

    เหล่าอื่นนี้มีบุญน้อย มีศักดิ์น้อย จึงไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ

    และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เธออันลาภสักการะและความสรรเสริญ

    ครอบงำย่ำยีจิตแล้ว ย่อมดูหมิ่นภิกษุเหล่าอื่นผู้มีศีลเป็นที่รัก ข้อนั้นของ

    โมฆบุรุษนั้นย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน

    ลาภสักการะและความสรรเสริญ ทารุณ ฯ ล ฯ อย่างนี้แล เธอทั้งหลาย

    พึงศึกษาอย่างนี้แหละ.

    จบเอฬกสูตรที่ ๕
    คาถาพระบิณโฑลภารทวาช
    นักปราชญ์มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ได้กล่าวการ
    ไหว้ การบูชา ในตระกูลทั้งหลายว่า เป็นเปลือก
    ตม เป็นลูกศรอันละเอียด ถอนขึ้นได้ยาก สักการะ
    อันบุรุษชั่วละได้ยาก ดังนี้.


    เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน
    อนุโมทนาบุญกับผู้ใส่บาตรตามถนนหนทาง กรวดน้ำอุทิศบุญ เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน
    รักษาศีล อาราธนาศีล เจริญวิปัสสนา ได้ปฏิบัติธรรม
    ได้ถวายข้าวพระพุทธรูป สักการะพระธาตุ
    ทำงานบ้านช่วยพ่อแม่และเจริญอาโปกสิน ศึกษาการรักษาโรค
    และสร้างบารมีครบทั้ง 10 อย่าง ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


    อเชิญทอดผ้าป่าสมทบทุนสร้างเสาเข็มหลักอาคารปฏิบัติวิปัสนากรรมฐาน วัดบรมสถล(วัดดอน)
    ขอเรียนเชิญร่วมพิธีวางศิลาฤกษ์ก่อสร้างอาคารปฎิบัติธรรมดังกล่าว
    ในวันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม 2553 เวลา 12.30 น. ณ. วัดบรมสถล (วัดดอน) ยานนาวา กทม

    <!-- google_ad_section_end -->โทร 02-211-5149
     

แชร์หน้านี้

Loading...