เรื่องเด่น พระพุทธรูปเขาชีจรรย์ พระพุทธรูปฝีพระหัตถ์รัชกาลที่ ๑๐

ในห้อง 'ในหลวงกับพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 29 สิงหาคม 2021.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    225493595_4297514480304672_9210763713198740215_n.jpg
    225714281_4297514266971360_1627239317366437056_n.jpg


    “พระพุทธมหาวชิรอุตตโมภาสศาสดา” พระพุทธรูปสลักที่หน้าผาเขาชีจรรย์ ตำบลนาจอมเทียน ชลบุรี พระพุทธรูปฝีพระหัตถ์ของ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐

    พระพุทธรูปเขาชีจรรย์ .. พระพุทธรูปฝีพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
    “พระพุทธมหาวชิรอุตตโมภาสศาสดา” พระพุทธรูปสลักที่หน้าผาเขาชีจรรย์ ตำบลนาจอมเทียน อำเภอ จังหวัดชลบุรี ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศใต้ของวัดญาณสังวราราม ระยะทางราว ๒.๘๕ เมตร

    สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร เมื่อครั้งยังเป็นสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกทรงมีพระดำริที่จะอนุรักษ์เขาชีจรรย์จากการระเบิดภูเขาจากทางทหารเรือ ครั้งนั้นทางทหารเรือจึงยกพื้นที่เขาชีจรรย์ถวายเจ้าพระคุณสมเด็จฯ แล้วจึงโปรดให้ ดร.สุวิชญ์ รัศมิภูติ ซึ่งครั้งนั้นยังเป็นรองอธิบดีกรมศิลปากรอยู่ เข้าไปเฝ้าที่วัดบวรนิเวศวิหาร เพื่อหาแนวทางในการแกะสลักพระพุทธรูปนูนต่ำบนหน้าผาเขาชีจรรย์ ขนาดความสูง ๑๐๙ เมตร แต่ด้วยขนาดที่ยากเกินจะสร้างได้ ดร.สุวิชญ์จึงหาทางเลี่ยงที่จะเข้าเฝ้าเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ในกาลต่อมา

    จนกระทั่ง ดร.สุวิชญ์ ขึ้นมาดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ จึงไปทูลพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรว่า "คุณสุวิชญ์ เขาไม่ยอมทำให้"


    226066939_4297514370304683_4286353497209306747_n.jpg


    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ จึงรับสั่งให้คุณสุวิชญ์เข้าเฝ้าฯ ในคราวเวียนเทียนที่พุทธมณฑลในวันวิสาขบูชา และได้ตรัสถามว่า "ทำไม ไม่ทำให้"

    ดร.สุวิชญ์จึงกราบทูลด้วยคุณภาพหินที่ยุ่ย ร่วน ไม่สามารถแกะลอยตัวด้วย เนื่องจากภูเขาถูกระเบิดจากการทำสัมปทานหิน

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ จึงรับสั่งว่า "ถ้าแกะลอยตัวไม่ได้ ให้ทำลายเส้น" “ทำได้ไหม!! และจะให้สมเด็จพระบรมฯ เป็นประธาน”

    ครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังดำรงพระราชอิสริยยศที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร จึงทรงรับเป็นประธานในการประชุมโครงการจัดสร้างพระพุทธรูป แกะสลักหน้าผาเขาชีจรรย์ วัดญาณสังวราราม

    ในการประชุมนั้น พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรับสั่งกับ ดร.สุวิชญ์ ว่า “คุณสุวิชญ์ต้องทำสำเร็จนะ จะทำถวายสมเด็จพ่อ”

    โดยในระยะแรกต้องมีการระเบิดหินเพื่อปรับพื้นที่หน้าผาให้เรียบเสมอกัน แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ไม่ให้ระเบิดให้เรียบ ด้วยทรงมัธยัสถ์

    ก่อนที่จะใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ผสานเทคโนโลยีเลเซอร์ฉายเข้าไปที่หน้าผา แล้วใช้น้ำปูนขาวทาตามลายเส้นในเวลากลางคืน ก่อนที่จะมาแต่งเส้นในเวลากลางวัน

    ตลอดระยะเวลาในการจัดสร้างองค์พระ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมาทอดพระเนตรการสลักพระพุทธรูปอยู่เป็นประจำ

    ในระหว่างการจัดสร้างเศียรพระ ซึ่งมีขนาดกว่า ๕๐ เมตร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ เสด็จพระราชดำเนินมาทอดพระเนตรแล้วไม่ต้องพระทัย ด้วยทรงโปรดพุทธศิลป์สุโขทัย จึงมีการระเบิดหน้าหินออกใหม่

    พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เข้าเฝ้าฯ รับสั่งว่า “สมเด็จพ่อรับสั่งว่าไม่สวย ให้ทำพระพักตร์เป็นแบบสุโขทัย”

    ครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงลงประทับราบกับพื้น แล้วทรงเขียนภาพเศียรพระพุทธรูปขึ้นเอง ร่วมกับอาจารย์กนก บุญโพธิ์แก้ว รองอธิบดีกรมศิลปากรผู้ออกแบบพระ
    ดังนั้น รูปพระพักตร์พระพุทธมหาวชิรอุตตโมภาสศาสดาจึงเป็นภาพฝีพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐

    226128466_4297514296971357_1186354046634399474_n.jpg


    ตลอดจนถึงเมื่อมีการยิงเลเซอร์เข้าไปที่หน้าผาเขาชีจรรย์ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงมีส่วนร่วมในการรับวิถีของเลเซอร์ให้เข้ากับเหลี่ยมมุมของหน้าผาเขาชีจรรย์อีกด้วย และเป็นแกะพระพุทธรูปตลอดองค์แล้ว ก็ยังมองเห็นไม่ชัดเจน ดร.สุวิชญ์จึงทูลขอให้ใช้โมเสกทองปิดตลอดแนวเส้นขององค์พระ

    พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงรับสั่งสำทับว่า "ไม่เวอร์ ใช่ไหม"

    นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ยังโปรดให้ขุดบ่อน้ำด้านหน้า ด้วยเป็นภูเขาที่ระเบิดจนเนื้อหินยุ่ยไปหมด จึงให้สร้างบ่อน้ำขนาดใหญ่ด้านหน้า เพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนเข้าไปใกล้ เพราะอาจเกิดอันตรายร่วงใส่ผู้คนได้

    พระพุทธรูปองค์นี้จึงเป็นอนุสรณ์ที่พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร ทรงสร้างถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ ๕๐ ปี




    (เรื่อง ศรัณย์ มะกรูดอินทร์ เรียบเรียงจาก
    ๑) บวรธรรมบพิตร ประมวลพระรูป
    ๒) ดร.สุวิชญ์ รัศมิภูติ บรรยายในการอบรมโครงการดูแลทรัพย์สินทางศิลปวัฒนธรรมของชาติของพระสังฆาธิการ ณ หอประชุมพุทธมณฑล ในวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๘
    ๓) ดร.สุวิชญ์ รัศมิภูติ บรรยายในงาน สุดยอดศิลปวัฒนธรรมไทย ในสมัยรัชกาลที่ ๙ ณ โรงละครแห่งชาติ ในวันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๑)




    ขอบคุณที่มา วัดบวรนิเวศวิหาร
    ธรรมะเพื่อทางพ้นทุกข์ โดย ท. ส. ปัญญาวุฑโฒ
     

แชร์หน้านี้

Loading...