พระปุณณเถระ พระสงฆ์รูปแรกของไท ในพุทธพัสสาที่ ๑๙ (แต่คนไม่รู้จัก)

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย Tewadhol, 30 มีนาคม 2007.

  1. Tewadhol

    Tewadhol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    190
    ค่าพลัง:
    +694
    เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ พระธรรมวงศ์เวที (อ่ำ ธมฺมทตฺโต) วัดโสมนัสวรวิหาร ท่าน
    แปลภาษาจากหินทราย(กเบื้องจาร) ที่ขุดพบจากบริเวณ คูบัว ราชบุรี และ
    เพชรบุรี ผมเห็นว่าเป็นเรื่องที่มีค่าต่อคนไทยและพุทธศาสนา เพราะไม่เคยเห็น
    มีในตำราเรียนโดยเฉพาะขั้นพื้นฐาน จึงขอนำมาเล่าต่อให้ผู้ที่เห็นคุณค่าได้
    ทราบกัน ท่านแปลและยกอัฏฐกถาต่างๆในพระไตรปิฎกขึ้นประกอบ ภาษาที่ใช้
    บางส่วนก็เป็นคำโบราณ อ่านยากอาจไม่ค่อยเข้าใจ และส่วนที่เป็นคำแปลจาก
    กเบื้องจารท่านจะบอกถึงลำดับไว้ เช่น (๑๖๑/๑) หมายถึง กเบื้องจารแผ่นที่ 161
    หน้าที่ 1 เป็นต้น ทุกวันนี้ กเบื้องจารและศิลปวัตถุต่างๆที่ขุดพบก็ยังมีอยู่เป็น
    หลักฐานที่ พิพิธภัณฑ์วัดเพชรพลี จ.เพชรบุรี ครั้งหนึ่ง สมเด็จพระอริยวงศาสต-
    ญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณณสิริ) พระองค์ตรัสดำรัสไว้ตอนหนึ่งว่า
    “ลายสือไทยมีอยู่แล้วแต่โบราณกาลนับพันปี ผู้อ่านไม่ออกไม่ใช่ความผิดของ
    หนังสือ เมื่อมีผู้อ่านออก พวกเราควรรับฟัง ดีกว่าไม่รู้อะไรเลย และสำนึกรู้ใน
    เหตุผล วัตถุสถานที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของเรา และของพระพุทธศาสนาใน
    แดนสุวัณณภูมิ เด่นชัดขึ้นอีก เราเห็นที่นี่แล้วรู้สึกว่า อู่ทอง สุพรรณ กาญจนบุรี
    ด้อยลงไปมาก”

    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    แต่ครั้งขุนอินเขาเขียวและนางกวักทองมา (๘,๐๐๐ ปี ล่วงมาแล้ว) ลูกชาย
    คนที่ 13 ชื่อ กุน กับลูกสาวคนที่ 4 ชื่อ อุ่น (ให้เป็นผัวเมียกัน)ไปอยู่ที่บ้านชื่อ
    กุน (ทุกวันนี้ที่ ราชบุรี ก็ยังปรากฏอยู่) มีลูกชายชื่อ กุนอุ่นไทย ตามที่เป็นมา กุน
    ขุนชายเป็นผู้คิดเห็นดาวเคลื่อนบ้าง ตัวนิ่งบ้าง มีมาก จึงเอาชื่อน้องสาว 7 คน
    ตั้งชื่อดาวต่างๆไว้ เช่น ดาวอา ดาวอัน ดาวอาว ดาวอุ่น ดาวเอือย ดาวอู่ ดาว
    อี ขุนกุนคงขึ้นบนเขาวังเดี๋ยวนี้ และสังเกตดาวเคราะห์ ดาวฤกษ์ ดาวลอยต่างๆ
    ไว้ เช่น ดาวจรเฆ่ ดาวหมา ดาวช้าง ดาวงู ดาวเหนือ ดาวใต้ หรือดาวว่าวอีลุ้ม
    ฯลฯ ได้ตั้งชื่อต่างๆ เพราะชื่อเป็นไทย ซึ่งเป็นผู้ต้นคิดตำราท้องฟ้า หรือดารา
    ศาสตร์ไทยแต่โบราณดึกดำบรรพ์มาแล้ว ทั้งได้สอนกันสืบๆมา เมื่อสังเกตเห็น
    ก็ตั้งชื่อไว้ และนำความรู้เรื่องดาวมาตั้งเป็นตำราหมอดู ที่เรียกกันว่าตำรา 7 ตัว
    ในความรู้เก่าๆ ยังมีกล่าวถึงหมอขุน ต่อมาอาจคิดคำนวณระยะกาลได้ ตามที่
    ปรากฏในกเบื้องจารเห็นว่ามี อินกินตวันกินเดือน หรือตำราสุริยคราธ จันทรครา
    ธ ในทางโหราศาสตร์ไทยเรียก สารัมภอีกทั้งขุนกุนคงรู้ลายต่างๆ สมัยนางไทย
    งามคิดลายทอผ้า ซี่งขุนสือไทยนำมาตั้งเป็นลายสือไทย นำมาเป็นลายสลัก
    ลายแกะ ลายประดิษฐ์ต่างๆ ไว้ได้สืบต่อกันมา ฉะนี้ เป็นต้น ชาวเพชรบุรีจึงมี
    ช่างฝีมือเอกมาก ได้ทิ้งลายฝีมือต่างๆตามวัด พระพุทธรูปเก่าๆ

    <O:p</O:p</O:p
    ในสมัยพุทธกาล ขณะนั้น เมืองปราน หรือ พราน คงเจริญมีอาณาเขตมาถึง
    เพชรบุรี หรือ เพชรบุรีในขณะนั้นตั้งอยู่ที่ปรานโดยคนสำคัญกลุ่มหนึ่ง และที่
    เพชรบุรีปัจจุบันอาจเป็นที่อยู่ของคนชาวช่างหรือพวกค้า และพวกทำนาหากิน
    อื่นๆ ซึ่งมีชื่อตามที่ใหญ่ว่าปราน ซึ่งมีนามีสวนมากอันเรียกกันว่าสวนปราน (ซึ่ง
    อาจจดไปถึงหลังสวนก็ได้) เมื่อท่านแต่งเข้าภาษาบาลี เอา ว.ที่สวนเป็น , ตาม
    หลักสนธิ เป็น สุน กล่าวสุนยาวหน่อย เป็น สุนาต่อกับปราน เป็น สุนาปราน ทำ
    ให้สั้นที่เรียกว่ารัสสะเป็นปรัน ลง ต. เพื่อแจกวิภัติตบาลีได้ จึงเป็น สุนาปรันต
    ถ้าเป็นชื่อคนหรือกล่าวชื่อชาว สุนาปรัต เติม ก. เข้าไปอีกจึงเป็นศัพท์ตามบาลี
    ว่า สุนาปรันตกา ชาวเพชรบุรีมีชื่อเสียงในทางดุร้าย ในเรื่องดุร้ายนี้ ในดินแดน
    แหลมทองย่อม ดุ ทั้วไป จึงมีกฎหมายฉบับหนึ่งของไทย ห้ามกินคนเป็นๆ ใน
    ทางพุทธดำรัสเฉพาะชาวสุนาปรันต เพราะพระปุณณเป็นชาวปราน จึงตรัส
    เฉพาะ และในพระสูตรพระพุทธเจ้าตรัสเรียกพวกดุร้ายนี้ว่า จณฺฑา โข ปุณฺณ สุ
    นาปรนฺตกา มนุสฺสา ผรุสา โข ปุณฺณ สุนาปรนฺตกา มนฺสสา ปุณฺณ พวกมนุษย์
    ชาวสุนาปรันตดุร้ายนักแล ปุณณ พวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตหยาบช้านักแล อนึ่ง
    จากสาวัตถีมาถึงสุนาปรันตนี้ ตามอัฎฐกถากล่าวว่า ทางประมาณ 300 โยชน์
    หรือ 120,000 เส้น ประมาณ 4,800 ก.ม. ซึ่งเป็นระยะประมาณ ความจริงอาจ
    มากกว่าหรือน้อยกว่าได้

    <O:p</O:p</O:p
    ในคัมภีร์สาสนวงส ซึ่งพระปัญญาสามีแต่งในประเทศพม่า พ.ศ.2505 ได้
    กล่าวถึงสุนาปรันตรัฐว่าอยู่ในพม่า และกล่าวถึงมหาปุณณว่าไม่ได้เป็นภิกขุ ทั้ง
    ไมได้กล่าวถึงอัฎฐกถาตอนที่เล่าถึงพระพุทธเจ้าทรงเหยีบรอยพระพุทธบาทที่
    นิมทานทีและภูเขาสัจพันธ แต่ในไทยมีพระพุทธบาทอยู่ทั้งสองแห่ง พร้อมกับมี
    ชื่อว่า ปราน หรือ พราน เสียงใกล้เคียงกับปรันต ถ้านำคำว่าสวนหรือสุนาต่อ
    เข้าจะเห็นชื่อสุนาปรันตชัดกว่า ฉะนี้ จะเล่าเรื่องแบบแปลประสมเรียงความ ต่อ
    ตามอัฎฐกถาและบาลีในสูตร์ และกเบื้องจารเท่าที่พบ

    <O:p</O:p</O:p
    บุณณมุนี ถ้ำพุทธ (ถ้ำฤาษี) เราเขียนเรื่องนี้คอยภิกขุอ่ำ อันอุปัชฌายให้ชื่อว่า
    ธัมทัตต คน อัน พุทธกล่าวว่า ตัว ช้างป่าปาริเลยยกมาเกิด ธัมทัตต จงอ่าน
    เขียนให้คนอ่าน(๑๖๑/๑) ธัมทัตต บุณณผู้มุนีเขียนคำกล่าวของพุทธในวันขึ้น
    ๑๑ ค่ำ (เดือนอ้าย พุทธพัสสา ๒๑) เขียนคำคอยธัมวงเวที วันขึ้น ๒ ค่ำ เดือนยี่
    พุทธพัสสาปี ๔๓ ในพัสสาเรานี้ ๒๔(๑๖๑/๒)

    <O:p</O:p</O:p
    บุณณวรมุนี อยู่ถ้ำพุทธเล่าเรื่องคอยช้าง ชื่อปาลิเลยก อันพุทธอนุเคราะห์ ๓
    เดือน ผู้มีบุญสร้างบารมีมาก พุทธว่าเป็นเผ่าพันพระ(๑๘๕/๑) พุทธนิพพาน
    ๒๕๐๐ เป็นภิกขุน้อย ชื่อ พระธัมวงสเวที เมื่อใหญ่ขึ้นชื่อ...(๑๘๕/๒)

    <O:p</O:p</O:p
    เถรอานันท ตั้งเราเป็นผู้แทนเสมอ เถรตวันออก เมืองสุวัณณภูมิ เตือนตนให้
    เอาภารตวันขึ้นทุกอย่าง(๑๔๒/๑) แม่กุน ผู้เป็นแม่ พ่อกล่อม น้องจุลบุน น้อง
    สาวชื่อ แม่เล็ก น้องชายชื่อ เสมอ น้องสาวชื่อ แม่เจิม เมื่อคุมค้าทั่ว(๑๔๒/๒)

    <O:p</O:p</O:p
    ใน อัฏฐกถาปปัญจสูทนี ภาคที่ 3 หน้า 728-729 ความว่า ได้ยินว่า
    สุนาปรันตรัฐ ณ บ้านพ่อค้า พาณิชคาม แห่งหนึ่ง มีพี่น้องชาย ๒ คนเหล่านี้
    จำนวนนั้นบางคราว พี่ชายนำเกวียน ๕๐๐ ไปสู่ชนบทนำสินค้ามา บางคราวก็
    น้องชาย ก็สมัยนี้น้องอยู่บ้าน พี่ชายใหญ่ นำเกวียน ๕๐๐ เที่ยวจาริกไปตาม
    ชนบท ลุถึงกรุงสาวัตถีโดยลำดับ พักเกวียน ๑๐๐ เล่ม ณ ที่ไม่ไกลเชตวัน เสร็จ
    อาหารเช้าแล้วล้อมด้วยบริชน นั่งอยู่ในที่อันผาสุก ก็สมัยนั้น พวกชาวเมือง
    สาวัตถี บริโภคอาหารเช้าแล้ว อธิษฐานองค์อุโบสถมีผ้าห่มสีขาว มีมือถือของ
    หอม และดอกไม้เป็นต้น พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ มีโดยที่ใด ต่างหลั่ง
    ไหลไปสู่ที่นั่น มีภารธุระต่อพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ออกทางประตูทิศ
    ใต้ไปสู่เชตะวัน เขาเห็นคนเหล่านั้นแล้วจึงถามคนหนึ่งว่า “พวกเหล่านี้ไปไหน
    กัน” คนหนึ่งนั้นจึงตอบว่า “อารยะ(คำโช่งแปลว่าพ่อ)ท่านไม่รู้หรือ ชื่อพุทธ
    ธรรมสังฆรัตนะเกิดแล้วในโลก ด้วยประการนี้ มหาชนจึงไปฟังธรรม ณ สำนัก
    พระศาสดา ดังนี้”

    <O:p</O:p
    คำว่า พุทธ ตัดผิวหนังเป็นต้น จดถึงเยื่อในกระดูกได้ตั้งขึ้นแก่เขาแล้ว ลำดับนั้น
    เขาอันบริชนของตนแวดล้อมแล้ว พร้อมกับบริษัทนั้นไปสู่วิหารเมื่อพระศาสดา
    กำลังทรงแสดงธรรมอยู่ด้วยเสียงไพเราะอ่อนหวาน จึงยืนแล้ว ณ ที่สุดของ
    บริษัท ฟังธรรมแล้วบังเกิดจิตที่จะบวช ลำดับนั้น เมื่อบริษัททราบกาลแล้ว
    พระตถาคตเจ้าทรงส่งไปแล้ว เข้าไปเฝ้าพระศาสดาถวายบังคมแล้วทูลเชิญ
    เสวยในวันรุ่งขึ้น ในวันที่ ๒ ให้กระทำมณฑป ปูอาสนะทั้งหลายแล้วถวาย
    มหาทานแก่พระสงฆ์ผู้มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข อวสานพระกระยาหาร พระผู้มี
    พระภาคเจ้าทรงกระทำอนุโมทนาแล้วเสด็จหลีกไป เขาบริโภคอาหารเช้าแล้ว
    อธิษฐานองค์อุโบสถ เรียกขุนคลัง (ภัณฑาคาริก) บอกแจ้วทรัพย์ทั้งปวงว่า
    ทรัพย์เหล่านี้ เราสละแล้ว มอบทรัพย์ทั้งหมดแล้วสั่งว่า เจ้าจงให้ทรัพย์นี้แก่น้อง
    ชายของเรา

    ดังนี้แล้ว (เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ทูลขอบรรพชาอุปสมบทแล้ว) บวชในสำนัก
    พระศาสดาเมื่อบวชแล้วเป็นผู้มีกัมมัฏฐานเป็นที่ไปในเบื้องหน้าแล้ว ขณะนั้น
    เมื่อท่านทำกัมมัฏฐานในใจ กัมมัฏฐานไม่ตั้งขึ้น แต่นั้น ท่านคิดว่า “ชนบทนี้ไม่
    เป็นที่สบายของเรา ไฉนหนอ เราเรียนกัมมัฏฐานในสำนักของพระศาสดาแล้ว
    ควรไปสู่รัฐของตน” ลำดับนั้นแล ณ กาลเช้า เที่ยวไปบิฑบาตร ณ เวลาเย็น
    ออกจากที่หลีกเล้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ทูลขอให้ตรัสบอก
    กัมมัฏฐานแล้ว บันลือสีหนาท ๗ ครั้ง หลีกไปแล้ว

    <O:p</O:p</O:p
    บุณณวรภิกขุ อยู่เขางู ถ้ำพุทธ เดิมอยู่ปรานของป้อบ้านแม่กุน เดินทางถ้อ
    มคธสาวัตถี พบ พุทธ ธัม สงฆ ได้ปัพชา อุปสมบท เป็นภิกขุเมื่อพุทธพัสสา
    ๑๙ (๑๔๐/๑) เถรอานันท เป็นอุปัชฌาย เถรอุบาลีเป็น(ผู้)ให้(สรณ) สีล เมื่อ
    แล้วเข้า(หา) พุทธออกปาก(ว่า) เอหิ ภิกขุ (เธอจงเป็นภิกขุมาเถิด) เมื่อขึ้น ๑๐
    ค่ำ เดือน ๗ พุทธพัสสา ๑๙ (๑๔๐/๒)

    <O:p</O:p</O:p
    ใน ปุณโณวาทสูตร สยามรัฏฐเตปิฎกฉบับบาลี เล่มที่ 14 มัชฌิมนิกาย
    อุปริปัณณาสก หน้า 481-485พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย เล่มที่ 22 หน้า
    576-582 ความว่า ข้าพเจ้า (พระอานนทเถร) ฟังแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มี
    พระภาคเจ้าประทับอยุ่ ณ เชตวัน ใกล้กรุงสาวัตถี อันเป็นอารามของ
    อนาถปิณฑิกเศรษฐี ครั้งนั้นแลพระผู้มีอายุปุณณ ณ กาลเย็นออกจากที่หลีกเร้น
    เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ได้กราบพระผู้มี
    พระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง ท่านผู้มีอายุปุณณนั่งแล้วแล ได้
    ทูลถามคำนี้ กับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า “พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอ
    พระโอกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า โปรดโอวาทข้าพระองค์ด้วยพระโอวาทย่อๆ
    พอที่ข้าพระองค์ฟังธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พึงเป็นผู้ๆเดียวหลีกเร้น
    ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปในธรรมแล้ว อยู่ได้”

    <O:p</O:p
    “ปุณณ ถ้าเช่นนั้นเธอจงฟัง ตั้งใจให้ดี เราจักกล่าวให้ฟัง”<O:p</O:p
    “พระองค์ผู้เจริญ อย่างนั้นพระเจ้าข้า”

    <O:p</O:p
    ดังนั้น พระผุ้มีอายุปุณณ รับพระราชดำรัสของพระผุ้มีพระภาคเจ้าแล้ว
    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระดำรัสนี้

    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    “ปุณณ มีรูปทั้งหลายแล ที่พึงรุ้ได้ด้วยจักขุวิญญาณ (ตา) อันน่าปรารถนา อัน
    น่ารักใคร่ อันน่าชอบใจ อันเป็นของมีรูปน่ารัก อันประกอบด้วยกาม อันเป็นที่
    ตั้งแห่งความกำหนัด ถ้าภิกษุเพลิดเพลิน พูดถึง ดำรงอยู่ด้วยความติดใจรูปนั้น
    ความระรื่นรักของเธอผู้เพลิดเพลิน ผู้พูดถึง ผู้ดำรงอยู่ด้วยความติดใจในรูปนั้น
    ย่อมเกิดขึ้น ปุณณเพราะความระรื่นรักเกิดขึ้น เราจึงกล่าวว่า ทุกขสมุทัย คือ
    ทุกขเกิดขึ้นแล้ว”

    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    “ปุณณ มีเสียงทั้งหลายแล ที่พึงรู้ด้วยโสตวิญญาณ (หู)...........ทุกขเกิดขึ้นแล้ว”<O:p</O:p
    “ปุณณ มีกลิ่นทั้งหลายแล ที่พึงรู้ด้วยฆานวิญญาณ (จมูก).......ทุกขเกิดขึ้นแล้ว”<O:p</O:p
    “ปุณณ มีรสทั้งหลายแล ที่พึงรู้ด้วยชิวหาวิญญาณ (ลิ้น)..........ทุกขเกิดขึ้นแล้ว”<O:p</O:p
    “ปุณณ มีสิ่งถูกทั้งหลายแล ที่พึงรู้ด้วยกายวิญญาณ (กาย)......ทุกขเกิดขึ้นแล้ว”<O:p</O:p
    “ปุณณ มีธรรมารมณ์ทั้งหลายแล ที่พึงรู้ด้วยมโนวิญญาณ(ใจ)..ทุกขเกิดขึ้นแล้ว

    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    “ปุณณ มีรูปทั้งหลายแล ที่พึงรู้ด้วยจักขุวิญญาณ (ตา) อันน่าปรารถนา อันน่ารัก
    ใคร่ อันน่าชอบใจ อันเป็นของมีรูปน่ารัก อันประกอบด้วยกาม อันเป็นที่ตั้งแห่ง
    ความกำหนัด ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่พูดถึง ดำรงอยู่ด้วยความไม่ติดใจในรูป
    นั้น ความระรื่นรักของเธอผู้ไม่เพลิดเพลิน ไม่พูดถึง ดำรงอยู่ด้วยความไม่ติดใจ
    ในรูปนั้น ย่อมดับไป ปุณณ เพราะความระรื่นรักดับไป เราจึงกล่าวว่า ทุกขนิโรธ
    คือ ทุกข์ดับไป

    <O:p</O:p</O:p
    “ปุณณ มีเสียงทั้งหลายแล ที่พึงรู้ด้วยโสตวิญญาณ (หู)...............ทุกข์ดับไป”<O:p</O:p
    “ปุณณ มีกลิ่นทั้งหลายแล ที่พึงรู้ด้วยฆานวิญญาณ (จมูก)...........ทุกข์ดับไป”<O:p</O:p
    “ปุณณ มีรสทั้งหลายแล ที่พึงรู้ด้วยชิวหาวิญญาณ (ลิ้น)..............ทุกข์ดับไป”<O:p</O:p
    “ปุณณ มีสิ่งถูกทั้งหลายแล ที่พึงรู้ด้วยกายวิญญาณ (กาย)...........ทุกข์ดับไป”<O:p</O:p
    “ปุณณ มีธรรมารมณ์ทั้งหลายแล ที่พึงรู้ด้วยมโนวิญญาณ(ใจ)......ทุกข์ดับไป
    ดังนี้”

    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    “ปุณณ ก็เธออันเราโอวาทแล้วด้วยโอวาทย่อๆนี้จัก(ไป)อยู่ ณ ชนบทไหน?”<O:p</O:p
    “พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงโอวาทแล้ว ด้วยพระ
    โอวาทย่อๆนี้ ชนบทชื่อสุนาปรันตมีอยู่ ข้าพระองค์จักอยู่ในชนบทนั้น”

    <O:p</O:p
    “ปุณณ พวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตดุร้ายนักแล ปุณณ พวกมนุษย์ชาวสุนาปรันต
    หยาบช้านักแล ปุณณ ถ้าว่าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันต จักด่า จักแช่งเธอ
    ที่นั้น เธอจักความคิดว่าอย่างไร ดังนี้”
    <O:p</O:p
    “พระองค์ผู้เจริญ ก็ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันต จักด่า จักแช่ง ข้าพระองค์ไซร้
    ณ ที่นั้น ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ว่า พวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตเหล่านี้ดี
    หนอ พวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตเหล่านี้เจริญดีหนอ ซึ่งพวกมนุษย์เหล่านี้ไม่ใช้
    ฝ่ามือตบตีเรา ดังนี้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ในเพราะเรื่องนี้ข้าพระองค์จักมี
    ความคิดอย่างนี้ ข้าแต่พระสุคตเจ้าในเพราะเรื่องนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิด
    อย่างนี้ ดังนี้แล”

    <O:p</O:p</O:p
    “ปุณณ อนึ่ง ก็ถ้า พวกมนุษย์ชาวสุนาปรันต จักใช้ฝ่ามือตบตีแก่เธอไซร้
    ปุณณ ณ ที่นั้น ก็เธอจักมีความคิดว่าอย่างไร ดังนี้”<O:p</O:p
    “พระองค์ผู้เจริญ ก็ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันต จักใช้ฝ่ามือตบตีแก่ข้าพระองค์
    ไซร้ ณ ที่นั้น ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ว่า พวกมนุษย์ชาวสุนาปรันต
    เหล่านี้ดีหนอ พวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตเหล่านี้เจริญดีหนอ ซึ่งพวกมนุษย์
    เหล่านี้ไม่ใช้ก้อนหินประหารแก่เรา ดังนี้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ในเพราะ
    เรื่องนี้ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ ข้าแต่พระสุคตเจ้า ในเพราะเรื่องนี้
    ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ ดังนี้แล”

    <O:p</O:p</O:p
    “ปุณณ อนึ่ง ก็ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันต จักใช้ก้อนดินประหารแก่เธอไซร้
    ปุณณ ณ ที่นั้น ก็เธอจักมีความคิดว่าอย่างไร ดังนี้”<O:p</O:p
    “พระองค์ผู้เจริญ ก็ถ้า พวก มนุษย์ชาวสุนาปรันต จักใช้ก้อนดินประหารแก่
    ข้าพระองค์ไซร้ ณ ที่นั้น ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ว่า พวกมนุษย์ชาว
    สุนาปรันตเหล่านี้ดีหนอ พวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตเหล่านี้เจริญดีหนอ ซึ่งพวก
    มนุษย์เหล่านี้ไม่ใช้ท่อนไม้ประหารแก่เรา ดังนี้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ใน
    เพราะเรื่องนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ ข้าแต่พระสุคตเจ้า ในเพราะเรื่อง
    นี้ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ ดังนี้แล”

    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    “ปุณณ อนึ่ง ก็ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันต จักใช้ท่อนไม้ประหารแก่เธอไซร้
    ที่นั้น ก็เธอจักมีความคิดว่าอย่างไร ดังนี้”<O:p</O:p
    “พระองค์ผู้เจริญ ก็ถ้า พวกมนุษย์ชาวสุนาปรันต จักใช้ท่อนไม้ประหารแก่
    ข้าพระองค์ไซร้ ณ ที่นั้น ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ว่า พวกมนุษย์ชาว
    สุนาปรันตเหล่านี้ดีหนอ พวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตเหล่านี้เจริญดีหนอ ซึ่งพวก
    มนุษย์เหล่านี้ ไม่ใช้ศาสตราประหารแก่เรา ดังนี้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ใน
    เพราะเรื่องนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ ข้าแต่พระสุคตเจ้า ในเพราะเรื่อง
    นี้ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ ดังนี้แล”

    <O:p</O:p</O:p
    “ปุณณ อนึ่ง ก็ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันต จักใช้ศาสตราประหารแก่เธอไซร้
    ปุณณ ณ ที่นั้น ก็เธอจักมีความคิดว่าอย่างไร ดังนี้”<O:p</O:p
    “พระองค์ผู้เจริญ ก็ถ้า พวกมนุษย์ชาวสุนาปรันต จักใช้ศาสตราประหารแก่
    ข้าพระองค์ไซร้ ณ ที่นั้น ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ว่า พวกมนุษย์ชาว
    สุนาปรันตเหล่านี้ดีหนอ พวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตเหล่านี้เจริญดีหนอ ซึ่งพวก
    มนุษย์เหล่านี้ ไม่ใช้ศาสตราอันคมปลิดชีวิตเรา ดังนี้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า
    ในเพราะเรื่องนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ ข้าแต่พระสุคตเจ้า ในเพราะ
    เรื่องนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ ดังนี้แล”

    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    “ปุณณ อนึ่ง ก็ถ้า พวกมนุษย์ชาวสุนาปรันต จักใช้ศาสตราอันคมปลิดชีวิตเธอ
    ไซร้ ปุณณ ณ ที่นั้น ก็เธอจักมีความคิดว่าอย่างไร ดังนี้”<O:p</O:p
    “พระองค์ผู้เจริญ ก็ถ้า พวกมนุษย์ชาวสุนาปรันต จักใช้ศาสตราอันคมปลิดชีวิต
    ข้าพระองค์ไซร้ ณ ที่นั้น ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ว่า มีอยู่แล พระสาวก
    ทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้อึดอัดเกลียดชังร่างกายและชีวิต ย่อมแสวง
    หาศาสตราปลิดชีวิต ศาสตรานั้นเราไม่ต้องแสวงหา ได้ศาสตราปลิดชีวิตเอง
    ดังนี้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ในเพราะเรื่องนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่าง
    นี้ ข้าแต่พระสุคตเจ้า ในเพราะเรื่องนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ ดังนี้แล
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    “สาธุ สาธุ ปุณณ ปุณณ เธอแลผู้ประกอบด้วยทม(การฝึกฝน) อุปสม(การเข้าไป
    สงบ) จักสามารถเพื่ออยู่ ณ ชนบทสุนาปรันต ปุณณ บัดนี้ เธอจงสำคัญกาลที่
    ควรเถิด”

    <O:p</O:p</O:p
    ลำดับนั้นแล ท่านผู้มีอายุปุณณ ยินดียิ่งอนุโมทนาแล้ว ซึ่งพระดำรัสภาษิต
    ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ลุกขึ้นจากอาสนะ ถือบาตรจีวร สุราปรันตชนบท มีอยู่
    โดยทิศภาคใด เดินทางไปสู่ทิศภาคนั้น(เข้าใจว่าพระพุทธเจ้า ยังไม่ได้ทรง
    บัญญัติพระวินัยว่าด้วย พระภิกษุใหม่ต้องอยู่กับอุปัชฌายาจารย์ ๕ พรรษาก่อน
    จาริก จึงทรงอนุญาตให้ท่าน ปุณณ มาสุนาปรันตได้)

    <O:p</O:p</O:p
    ปุณณวรมุนี ถ้ำพุทธ ผู้พบองค์สักยะ เมื่อไปสาวัตถี บวชแล้ว (พระพุทธเจ้า
    ตรัสสั่ง) ให้หาอานันท (เถร) สั่งให้หา (พระเจ้า) พิมพิสารมคธ บอกว่า พุทธเกิด
    ๒๑ ฝน (๑๔๔/๑) ควรแจ้วราชาเมืองทอง (สุวรรณภูมิ)ทั้งให้นำสารสหายเมือง
    ติดต่อก่อน เรานำสารมาถึงแม่กุน จุนน้องขายไม่หอมทำศาลากว้างใหญ่
    (๑๔๔/๒)

    <O:p</O:p</O:p
    พระเถรเข้าไปสู่สุนาปรันตรัฏฐก่อน เข้าไป ณ ภูเขาอัมพหัฏฐบรรพต
    (ใน อัฏฐกถาปปัญจสูทนี ภาค 3 หน้า 730-732 สุนาปรันตเข้าใจว่า คงเป็นสวน
    ปราน หรือ ปรานบุรีฯ อัมพหัฏฐปัพพตนี้ อาจแปลได้ว่า ภูเขามีรูปร่างคล้ายเม็ด
    มะม่วง) เข้าไปสู่บ้าน พ่อค้าเพื่อบิณฑบาต ลำดับนั้นน้องชายจำท่านได้แล้ว
    ถวายภิกษาหารให้ท่านปฏิญญานว่า “ท่านครับ ขอท่านอย่าไปที่อื่น นิมนต์อยู่
    ณ ที่นี่เท่านั้น” นิมนต์ให้ท่านอยู่ ณ ที่นั้นนั่นเอง

    จากนั้น ท่านไปสู่สมุทรคีรีวิหาร (สมุทรคีรีวิหาร เห็นป่าช้า ท่านเรียกว่า วัด และ
    วิหาร คงแปลได้ว่าป่าช้าเชิงภูเขาใกล้ทะเล) ณ ที่นั้น มีที่ๆจงกรมได้ อันกระทำ
    กำหนดด้วยแผ่นหินประสานเหล็ก (ศัพท์ว่า อยกนฺตปาสาเณหิ ไม่รู้จะแปลว่า
    อะไรดีกว่านี้) ไม่มีใครๆ ผู้สามารถเดินไปสู่ที่นั้นได้ ในที่นั้น ลูกคลื่นทะเลทั้ง
    หลายมากระทบในหินประสานเหล็กทั้งหลายกระทำเสียงดังมากอยู่เป็นนิจ
    พระเถรคิดว่า เมื่อภิกษุทั้งหลายกระทำกัมมัฏฐานอยู่จงมีการอยู่ผาสุก ดังนี้แล้ว
    จึงอธิษฐานกระทำสมุทรให้เงียบเสียง

    จากนั้นจึงไปสู่ภูเขาชื่อมาตุลคีรี (มาตุลคีรี แปลว่า ภูเขาลุง อาจเป็นเขาหลวง
    ณ จังหวัด เพชรบุรี) ณ ที่นั้น มีฝูงนกหนาแน่น ก่อให้เกิดเสียงเป็นอันเดียวกัน
    ตลอดทั้งคืนและวัน พระเถรกำหนดว่าที่นี้ไม่ผาสุก ดังนี้แล้ว จากนั้นจึงไปสู่
    มกุฬการามวิหาร (มกุฬก มะลิ อาราม สวน วิหาร ที่อยู่ รวมความว่าที่อยู่ใน
    สวนมะลิ อาจเป็น บ้านกุน ที่กุนขุนชายไปอยู่ แต่แปลงเพื่อเข้าศัพท์และความ
    ในบาลี จึงเห็นเป็น มกุฬก) มกุฬการามวิหาร นั้น เงียบสงัด มีเสียงเล็กน้อย อยู่
    ณ ที่สมบูรณ์ทางไปมาไม่ไกลเกินไป ไม่ใกล้เกินไป แห่งบ้านพ่อค้า พระเถรคิด
    ว่าบ้านนี้ผาสุก จึงให้กระทำที่พักกลางคืน ที่พักกลางวัน และที่เดินจงกรมเป็น
    ต้น แล้วจึงเข้าอยู่จำพรรษา ท่านอยุ่ในฐานะ ๔ อย่างนี้

    <O:p</O:p
    ต่อมาวันหนึ่ง ภายในพรรษานั้นนั่นเอง พ่อค้า ๕๐๐ คิดว่า เราไปสู่ทะเลจึง
    บันทุกสินค้าในเรือ ในวันลงเรือ น้องชายพระเถระเลี้ยงพระเถระแล้ว รับ
    สิกขาบททั้งหลาย (ศีล ๕) ในสำนักพระเถระ ไหว้แล้ว เมื่อจะไปกล่าวว่า “ท่าน
    ครับ ชื่อว่ามหาสมุทร มีความสำเร็จน้อย มีอันตรายมาก ขอท่านพึงนึกถึงพวก
    เราด้วยเถิด” แล้วพากันขึ้นเรือ เรือแล่นไปด้วยกำลังเร็วที่สุด บรรลุถึงเกาะ เกาะ
    ใดเกาะหนึ่ง พวกมนุษย์คิดว่าจะกระทำอาหารเช้า ดังนี้แล้ว จึงพากันขึ้นเกาะ ที่
    เกาะนั้นไม่มีอะไรอื่น ไม้จันทน์ ล้วนมีอยู่แล้ว คราวนั้น คนหนึ่งใช้มีดเฉาะต้นไม้
    ต้นหนึ่งรู้ความเป็นไม้จันทน์แดงแล้วจึงกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลาย พวกเรา
    จะไปสู่สมุทรอื่นเพื่อต้องการลาภ ก็ลาภยิ่งกว่านี้ไม่มีปุ่มหนึ่งเท่าน้ำมธุรส ๔ ก็
    ถึงค่าแสนหนึ่ง พวกเราให้ขนสินค้าที่ควรให้นำไป บันทุกให้เต็มด้วยไม้จันทน์
    เถิด”

    <O:p</O:p
    ซึ่งพวกมนุษย์พ่อค้าทั้งหลายเหล่านั้น ได้กระทำการขนไม้จันทน์นั้นอย่างนั้น
    พวกอมนุษย์ ซึ่งอยู่ในป่าไม้จันทน์โกรธแล้วคิดว่า “ป่าไม้จันทน์ของพวกเรา
    พวกมนุษย์เหล่านี้ให้ฉิบหายแล้ว พวกเราต้องฆ่ามันให้ตาย” แล้วกล่าวกันว่า
    “เมื่อพวกเหล่านี้ พวกเราให้ตายในที่นี้ ศพแต่ละคนทั้งหมดต้องมีอยู่ ให้เรือของ
    พวกมันจมลงในกลางทะเลดีกว่า”

    <O:p</O:p
    และแล้ว ในกาลที่พวกเหล่านั้นลงเรือไปได้ครู่หนึ่ง พวกอมนุษย์เหล่านั้น ให้
    คลื่นลมและรูปน่ากลัวตั้งขึ้นแม้เองแล้ว แสดงรูปอันน่ากลัวต่างๆ พวกมนุษย์ที่
    กลัวแล้วก็นอบน้อมเทวดาของตน กฎุมพีจุลลปุณณ น้องชายพระเถระระลึกชื่อ
    พระเถระว่า “ขอพี่เป็นที่พึ่งพำนักของเราเถิด”ดังนี้ แล้วยืนอยู่

    <O:p</O:p
    ท่านผู้มีอายุปุณณได้สู่ชนบทสุนาปรันตแล้ว โดยในระหว่างพรรษานั้นนั่น
    เองให้อุบาสกประมาณ ๕๐๐ ปรากฏขึ้นแล้ว ได้กระทำให้แจ้งในวิชชา ๓ แล้ว
    <O:p</O:p
    ได้ยินว่า ในขณะนั้นนั่นเอง แม้พระเถระก็คิดถึง รู้ภัยพินาสที่จะเกิดแก่พวกนั้นจึง
    เหาะขึ้นสู่เวหาส ได้ยืนอยู่ ณ ที่เฉพาะหน้า พวกอมนุษย์เห็นพระเถระแล้วกล่าว
    กันว่า “พระผู้เป็นเจ้าเถระปุณณมาอยู่”หลีกไปแล้ว คลื่นลมและรูปหน้ากลัวที่
    เกิดขึ้น ก็สงบหายไป พระเถระปลอบขวัญพวกเหล่านั้นว่า “พวกท่านอย่ากลัว
    เลย” แล้วถามว่า “พวกท่านต้องการไปที่ไหนกัน” “ท่านครับ” พวกเขากล่าว
    “พวกเราจะไปสู่ฐานะของตนของพวกเราครับ” พระเถระอธิษฐานว่า “เรือจงไป
    ถึงบกสู่ที่ที่พวกนี้ต้องการเถิด”

    <O:p</O:p
    และพวกพ่อค้าไปสู่ที่ที่ของตนๆแล้ว เล่าประวัตินั้นแก่ลูกเมีย กล่าวว่า “พวกเจ้า
    จงมาถึงพระเถระเป็นที่พึ่งกันเถิด” ดังนี้แล้ว แม้ประมาณ ๕๐๐ คน พร้อมกับแม่
    เรือนประมาณ ๕๐๐ คนของตน ตั้วอยู่ในสรณะ ๓ แล้ว ได้ประกาศความเป็น
    อุบาสกอุบาสิกาแล้ว จากนั้นจึงขนสินค้าลงจากเรือ แบ่งส่วนหนึ่งให้แก่พระเถระ
    กล่าวว่า “ท่านครับ ส่วนนี้ของท่าน” พระเถระกล่าวว่า “กิจด้วยส่วนแผนกหนึ่ง
    ของเราไม่มี แต่ว่า พระศาสดา พวกท่านเคยเห็นแล้วหรือ” “ไม่เคยเห็นเลยครับ”
    “ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงทำโรงกลมใหญ่ด้วยส่วนนี้ พวกท่านจะได้พบพระ
    ศาสดา อย่างนี้”“ดีละครับ” พวกเหล่านั้นกล่าวแล้ว เริ่มทำโรงกลมใหญ่ด้วย
    ส่วนนั้น และส่วนทั้งหลายของตน

    <O:p</O:p
    ได้ยินว่า แม้พระศาสดา ได้ทรงกระทำผูกพระทัยตลอดตั้งแต่กาลที่พวก
    เหล่านั้นเริ่มแล้ว พวกมนุษย์ผู้รักษาเห็นโอภาส(แสงสว่าง) ตลอดคืนได้กระทำ
    ความสำคัญในใจว่า “เทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่มีเฝ้าอยู่”

    <O:p</O:p
    อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย ช่วยกันทำโรงกลมใหญ่และเสนาสนะสงฆ์สำเร็จแล้ว
    ตระเตรียมสิ่งของถวายทาน จึงเรียนแจ้งแก่พระเถระว่า “ท่านครับ พวกเรา
    กระทำกิจของตนเสร็จแล้ว พวกเราจักเห็นพระศาสดา”

    <O:p</O:p
    พระเถระไปสู่สาวัตถีด้วยฤทธิ์ในเวลาเย็น ทูลขอพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
    “พระองค์ผู้เจริญ พวกชาวบ้าน พ่อค้า ต้องการพบพระองค์ ขอพระองค์โปรด
    ทรงอนุเคราะห์แก่พวกนั้น” พระผู้มีพระภาคทรงรับแล้ว พระเถระทราบการรับ
    ของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วจึงกลับมาที่อยู่ของตนทันที

    <O:p</O:p
    แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพระอานนทเถระแล้วตรัสว่า “อานนท พรุ่งนี้
    เราจะเที่ยวบิณฑบาต ณ บ้านพ่อค้าที่สุนาปรันต เธอจงแจกสลากแก่ภิกษุ
    ๔๙๙ องค์”“ดีละพระเจ้าข้า” พระเถระรับแล้วแจ้งเรื่องนั้นแก่พระภิกษุสงฆ์
    แล้วกล่าวว่า “พวกพระภิกษุผู้จะเที่ยวไปไม่ต้องจับสลาก” ในวันนั้น
    พระกุณฑธานเถระได้จับสลากเป็นองค์แรก แม้พวกชาวบ้าน พ่อค้า (ได้ยินจาก
    พระปุณณเถระว่า) พรุ่งนี้ พระศาสดา จักเสด็จมา จึงกระทำมณฑป ณ กลาง
    บ้านตระเตรียมโรงทานแล้ว

    <O:p</O:p
    พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกระทำประคับประคองพระสรีระร่างแต่เช้าเสร็จแล้ว
    เสด็จเข้าพระคันธกุฎี ประทับนั่งนิ่งเข้าสู่ผลสมาบัติ

    <O:p</O:p
    ปัณฑุกัมพลสิลาอาสนของท้าวสักกเทวราช ได้มีอาการร้อนแล้ว ท้าวเธอทรง
    รำพึงว่า “นี่อะไร” ทรงเห็นพระศาสดาจะเสด็จสู่สุนาปรันตแล้ว ตรัสเรียก
    วิสสุกรรมมาแล้วทรงสั่งว่า “แนะพ่อ ในวันนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า จักเสด็จสุ่การ
    เที่ยวบิณฑบาตตลอดทางประมาณ ๓๐๐ โยชน์ (๔,๘๐๐ ก.ม.) ท่านจงเนรมิต
    เรือนยอด ๕๐๐ หลัง กระทำการเตรียมเพื่อเสด็จไปตั้งไว้ ณ เชิงซุ้มประตู
    เชตวัน ท่านวิสสุกรรมได้กระทำอย่างนั้น เรือนยอดของพระผู้มีพระภาคเจ้า
    มีมุข ๔ มุข ของสองอัครสาวกมีมุข๒ มุข ที่เหลือมีมุขเดียว

    <O:p</O:p
    พระศาสดาเสด็จออกจากพระคันธกุฎีเสด็จสู่เรือนยอดอันประเสริฐในจำนวน
    เรือนยอดทั้งหลายที่ตั้งเรียงกันโดยลำดับนั้น พระอัครสาวกทั้งสองเป็นต้นแล้ว
    ถึงพระภิกษุ ๔๙๙ รูป เป็นเรือนยอด ๔๙๙ หลัง หลังหนึ่งเป็นเรือนยอดว่าง
    เปล่า เรือนยอด ๕๐๐ หลังลอยขึ้นไปในอากาศ

    <O:p</O:p
    พระศาสดาเสด็จถึง ภูเขาชื่อสัจจพันธ ทรงพักเรือนยอดในอากาศ ดาบสเห็น
    ผิดชื่อสัจจพันธ ชักชวนมหาชนให้ถือความเห็นผิด เป็นผู้ถึงลาภยศอันเลิศเทียว
    อยู่ ณ ภูเขานั้น แม้อุปนิสัยพระอรหัตตส่วนข้างในของดาบสนั้นรุ่งเรืองเหมือน
    ประทีปภายในโคม ทรงเห็นอุปนิสัยนั้น ทรงดำริว่าเราจักกล่าวธรรม จึงเสด็จไป
    แสดงธรรมแล้ว ในปริโยสานเทศนาดาบสบรรลุอรหัตตแล้ว ด้วยมรรคนั้นเอง
    อภิญญามาแล้วแก่ท่าน ท่านเป็นเอหิภิกขุทรงบาตรจีวรอันสำเร็จด้วยฤทธิ์ เข้าสู่
    เรือนยอดแล้ว

    <O:p</O:p
    พระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมกับพระภิกษุ ๕๐๐ รูปผู้ไปในเรือนยอด เสด็จถึงบ้าน
    พ่อค้าทรงกระทำเรือนยอดไม่ให้ปรากฏเสด็จเข้าสู่บ้านพ่อค้า พ่อค้าทั้งหลาย
    ถวายทานใหญ่แก่พระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขแล้วนำพระศาสดา
    เสด็จสู่มกุฬการาม พระศาสดาทรงสงบความกระวนกระวายด้วยพระกระยาหาร
    เพียงใด มหาชนทำอาหารเช้าเพียงนั้น สมาทานองค์อุโบสถถือของหอมและ
    ดอกไม้เป็นอันมาก มาเฉพาะสู่มกุฬการาม พระศาสดาทรงแสดงธรรม
    (พระปุณณเถระจดพระธรรมเทศนากัณฑ์นี้ไว้ ได้พบกเบื้องจารแผ่นใหญ่ๆ ที่
    ดอนโตนด ๗ แผ่น ได้จดและแปลไว้ด้วยคือ นิธิกัณฑสูตร สยามรัฏฐเตปิฎก
    เล่ม 25 หน้า 11-12)

    <O:p</O:p
    คำ-ธัม (ม) นิธิ กัณฑ สูต (ทั้งพระคาถา และ คำแปล พระปุณณเถรจารึกไว้ไม่
    มีวรรคตอน ที่จัดเห็นเช่นนี้ ผู้เขียน(พระธรรมวงศ์เวที)จัดตามนิยมปัจจุบัน ถ้า
    เอาตามเดิม จะไม่รู้เรื่อง จึงจัดทำอย่างนี้ ที่ขาดก็เติมในวงเล็บ แต่ได้คง
    สำนวนเดิมไว้ ท่านจารึกรับรองไว้ว่า พุทธ พูดไทย เชื่อว่าเป็นพุทธภาษิต)
    องคพุทธ แสดง (แก่) คน ลวะ พริบพรี ว่า...

    <O:p</O:p
    ๑ คน ฝัง (ขุม) สิน ในใต้น้ำลึก (ในที่ลึก ใต้ลุ่มน้ำ)<O:p</O:p
    เมื่อต้อง(การ) สิ่งใด เกิดพร้อมแล้ว จักมีเพื่อดอกได้ ของเร<O:p</O:p
    ๒ (คือ) เพื่อพ้นร้าย (จาก) ขุน (เพื่อ) ละร้ายจู่ปล้น<O:p</O:p
    เพื่อเปลื้อง ซึ่ง หนี้ (เพื่อเปลื้อง) อดอยาก คับขัน<O:p</O:p
    ๓ ชื่อ ขุมสิน ฝังไว้ ในหล้า (ก็เพื่อ) ดอกได้ นั้น<O:p</O:p
    ขุมสิน (เป็นสิ่งที่) ฝังไว้ดี ในที่ลึก ใต้ลุ่มน้ำ เพียงนั้น<O:p</O:p
    ๔ ขุมสิน ทั้งหมด มิได้ อวยเสร็จ (ผล) ตลอดคราว แก่เขา<O:p</O:p
    (คือ) ขุมสิน (อาจ) เคลื่อน (จาก) ที่ฝัง (บ้างเขา) จำ เลอะเลือนไป บ้าง<O:p</O:p
    ๕ นาค (ทั้งหลาย) ลักพาไปบ้าง แม้ยักข (ผีทั้งหลาย) ลักเอาไปบ้าง<O:p</O:p
    เมื่อ ไม่ เห็น ผู้สืบสิน (ที่) ไม่ชอบ (ลอบ) ขุด ลักเอาไป บ้าง<O:p</O:p
    ๖ เมื่อใด เขา เป็นผู้ สิ้นบุญญ ขุมสิน ทั้งสิ้น หมดหายไป ได้<O:p</O:p
    ผู้ใด ญิง ชาย ก็ตาม ฝังขุมสิน ไว้ดีแล้วด้วยอันให้ทาน ด้วย สีล ระวัง
    ฝึกฝนตน<O:p</O:p
    ๗ ขุมสิน ย่อมเป็น หญิง หรือ หรือว่า ชาย ฝังไว้ดีแล้ว...<O:p</O:p
    ในผี (ในเจดีย) ในพระสงฆ์ ในคน ในแขก ทั้งหลาย บ้าง<O:p</O:p
    ๘ ใน แม่ แม้หรือว่า ใน พ่อ อีก ทั้ง ในพี่น้อง ญาติทั่วไป
    <O:p</O:p
    ขึ้นหน้า ๒ ชื่อ ปุณณภิกขุ ลง นิธิสูต พุทธ พูดไทย ว่า
    <O:p</O:p
    ขุมสิน นั่น ฝังไว้ดีแล้ว ใคร ๆ ชนะไม่ได้ ติดตามไป ได้<O:p</O:p
    ๙ อัน สินหลายเหลือ ต้องตัด ทิ้ง ไป ถือ เอา สินนั้น ติดตัว ไปได้<O:p</O:p
    ขุมสิน คือ บุญญ ไม่ทั่ว ไปแก่ คนเหล่าอื่น ขโมยปล้น เอาไป ไม่ได้<O:p</O:p
    ๑๐ ผู้รู้ ควนทำบุญ ทั้งหลายไว้ อันเป็นขุมสิน ติดตามตัวไปได้<O:p</O:p
    ขุมสิน คือ บุญนั่นให้ของทุกอย่างที่ชอบใจ แก่เทพ และมนุส ทั้งหลาย<O:p</O:p
    ๑๑ สิ่งใด ใด เทพ ทั้งมนุส คือคนอยากได้ในใจ ตัวเอาได้ด้วยบุญสินนั้น คือ<O:p</O:p
    มีผิวงาม ๑ มีเสียงดี ๑ มีส่วนสวยงาม ๑ มีร่างสะสวย ๑<O:p</O:p
    ๑๒ ความเป็นผู้ใหญ่ยิ่ง ๑ ความมีคนล้อมมาก ๑ นั้นทั้งหมด คนผีเอาได้ด้วย
    บุญสินนั้นนักขุนเมือง ๑ ความเป็นผู้ยิ่งใหญ่ ๑ ความสราญหัวขุน ที่น่ารัก ๑<O:p</O:p
    ๑๓ เป็นขุน ผีฟ้า ในสรวง สวรรค์ ๑ นั้นทั้งหมด คนผีเอาบุญได้ด้วยบุญสินนั้น<O:p</O:p
    สินคน สมบัติ อันเป็นของมนุษย์ ๑ ยินดีใดในแดนสวง ในเทวโลก ๑<O:p</O:p
    ๑๔ นิพพานสมบัติ ใด ๑ นั้นทั้งหมด คนผีเอาได้ด้วยสินบุญนั้น<O:p</O:p
    ความได้เพื่อนดี ๑ ถ้าหมั่น กอบเอา โดยแยบคาย ๑<O:p</O:p
    ๑๕ เป็นคนคล่องรู้วิชชาวิมุตติ ๑ นั้นทั้งหมด คนผีเอาได้ด้วยสินบุญนั้น<O:p</O:p
    ปฏิสัมภิทา ๑ วิโมกข ๑ สาวกบารมี ใด ๑<O:p</O:p
    ๑๖ ปัจเจกภูมิ ๑ พุทธภูมิ ๑ นั้นทั้งหมด คนผีเอาบุญได้ด้วยสินบุญนั้น<O:p</O:p
    อันนี้ มีดอกได้มาก อย่างนี้ คือ บุญสิน ปุญสัมปทา<O:p</O:p
    ๑๗ เหือง บัณฑิต ผู้รู้ทั้งหลาย จึงสรรเสริญ ความเป็นผู้กระทำบุญแล้ว ดังนี้แล

    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    มหาชนเกิดเป็นผู้พ้นจากเครื่องผูกพันแล้ว ความโกลาหลว่า “พระพุทธเจ้า”
    ได้เป็นของมากแล้ว พระศาสดาประทับอยุ่ ณ ที่นั้นตลอด ๒-๓ วัน เพื่อทรง
    อนุเคราะห์แก่มหาชน แต่ทรงยังอรุณให้ขึ้นในพระคันธกุฎีใหญ่นั่นเอง และ
    ประทับอยู่ ณ บ้าน ๒-๓ วันแล้ว เสด็จไป บิณฑบาตในบ้านพ่อค้า รับสั่งให้พระ
    ปุณณกลับด้วยพระดำรัสว่า “เธอจงอยู่ ณ ที่นี้ทีเดียว”

    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    บุณณวรมุนี อยู่ถ้ำพุทธ ผู้พาพุทธมาสุนาปรันตพริบพรี น้องจุนหาพุทธกับ
    อรหัตตเดือนอ้าย พุทธพัสสา ๒๒ (๑๕๐/๑) พุทธอยู่บ้ายมกุนเดือนอ้าย ขึ้น ๘
    ค่ำ พัก ๒ วันเสด็จ ผ่านเมืองทอง แล้วขึ้นถ้ำพุทธ นั่งนอน คืนวัน ผันทอน
    ปิณฑ (๑๕๐/๒) (บุณณวรมุนีเล่าเมื่อ) พุทธเดินไปถ้ำเขา ทางผ่านเมืองทอง
    พูดว่า เมืองทองจักเป็นเมืองสุวัณณภูมิ เมืองพุทธศาสนา (๑๕๔/๑) พุทธมาถิ่น
    แดนชานทาง ว่า ตรงนี้เป็นเมืองต่อเมืองสุวัณณภูมิ ห้าร้อยปีพุทธศาสนามั่นคง
    ดี ต่อพันปีเป็นเมืองเล็ก พุทธศาสนาบาง เหลือพุทธนิมิต (๑๕๔/๒)

    <O:p</O:p</O:p
    บุณณวรมุนี เมื่อพุทธผ่านทางเมืองทอง เล่าเมืองนี้ ขุนอินกวักทองมาเคยอยู่
    เป็นต้น(๑๘๐/๑) ขุน ชวด มี คน ช้าง ม้า มาก เที่ยวยึดบ้านเมือง สิบสองพัน
    กว่าเมือง ช้าง ม้า เมือง สิบ สอง พันกว่า พ่อแม่ตั้งเป็นขุนอินสิบสองพัน
    (๑๘๐/๒)

    <O:p</O:p</O:p
    บุณณวรมุนี ถ้ำพุทธ ฟังคำพุทธเล่าเรื่องเมืองสิบสองพันเมือง ขุนอินพานาง
    งามดอกไม้เมื่อขุน(๑๘๑/๑) อินพานางไปหนึ่งปี ถึงเมืองสิบสองพัน พานาง ไป
    ตั้งเป็นตัวห้องทองมีข้านางแสนหนึ่ง นาง คิด ผ้า ไหม แพร (๑๘๑/๒) พุทธมา
    พักถ้ำเขาเล่าว่า เมืองสุวัณณภูมินี้ พุทธศาสนาตั้งนานพันปีเมืองจะย้ายมาตั้ง
    ตรงที่นี้ ชื่อเมืองราชพลี (๑๕๗/๑) คูหาที่พุทธอาศัย มีชื่อถ้ำฤาษี คนเชื่อถือมา
    เคารพในข้างหน้า พุทธเงาในถ้ำนี้ เมื่อคน ทำเป็น พุทธนิมิตขึ้น (๑๕๑/๒)

    <O:p</O:p</O:p
    บุณณวรมุนี อยู่คูหา พุทธเข้าไปนอนคืนวันหนึ่ง มีชายหญิง เอาปิณฑบาตร
    แม้ผันหาอาหารมาหา วันนั้น ผันต้องสู้เดิน ๓๕ นา (๑๘๖/๑) พุทธโมทนาด้วย
    คาถา นิธิง นิเธติ ปุริโส คัมภีเร อุทกันติเก อัตเถ กิจเจ สมุปปันเน อัตถาย เม
    ภวิสสติ (๑๘๑/๒)

    <O:p</O:p</O:p
    พุทธว่าคำไทย บุณณฟังคำว่า คนฝังสินในใต้แผ่นพื้นน้ำลึก เมื่อต้องการใช้
    เกิดขึ้น จักมีไว้ใช้ (๑๘๗/๑) เพื่อตนพ้นร้าย จาก ขุน พ้นร้าย จาก ขโมย พ้นหนี้
    พ้นยากเข็ญ เช่นนั้น หาดีเท่ากับฝังในเจดีย์ พระ พ่อ แม่ พี่ น้อง ไม่ (๑๘๗/๒)

    <O:p</O:p</O:p
    บุณณฟังคำพุทธว่าคำไทย ไทยทุกคน แล ลว ทำเหืองดี เห็นดี ทำชั่ว ย่อม
    ได้ชั่ว คือ ฆ่าคน และเบียน คน ช้าง ม้า งัว ควาย (๑๙๑/๑) ถือเอาของคนอื่น
    ผิดผัวเมียลูกท่าน กล่าวเท็จ เมาเหล้า น้ำหมักดอง อย่างนี้ว่าชั่ว ไม่ทำอย่าง
    นั้น ชื่อว่าทำดี เช่นไม่ฆ่ากัน เป็นต้น ชื่อดีแล (๑๙๑/๒)

    <O:p</O:p</O:p
    เมื่อพุทธมานั่งถ้ำ แล้ว เมื่อพุทธเดินผ่านเมืองทอง พอทับไทยทองมาสุ่
    โรงช้างพบพุทธ กล่าวคำว่า เจ้าหัวไปเด๋า (เด๋า ไทยลว้า ลามเดิม ใด๋ ใด)
    พุทธปากว่า เว้าไทย บ เม่น (๑๕๒/๑) พุทธทักทับไทยทอง เชิญไปมคธ มีสิ่ง
    ของฝากมากหลาย บุณเคยไปเที่ยวเมื่อค้าขายทาง เมืองพุทะพาผ่านพ้นไป
    (๑๕๒/๒)

    <O:p</O:p</O:p
    โดยระหว่างนั้น แม่น้ำชื่อนิมมทานที (แม่น้ำนิมมทา ไทยว่านัมทา วันที 7
    ธันวาคม 2516 กับพระครูพร้อมชาวปราณได้พาขึ้นไป ณ เขาน้อย มีรอย
    ตะแคงลึกลงไปดูเป็นรอยเท้าขวาว่ากันว่าเป็น รอย ณ นิมานทีนี้ มีต้นจันทน์ผา
    มีเจดีย์ชำรุด ได้พบแผ่นกเบื้องมีรอยจารึกว่า ปุณณภิกขุ ยังมีศาลพระเจ้าทับ
    ไทยทอง ได้เล่าบอกไปทั่วแล้ว และจะรื้อฟื้นขึ้น จะอย่างไรก็ดีของเหล่านี้มีอยู่
    แล้วแต่โบราณ ที่จะเชื่อหรือไม่เชื่อ เป็นเรื่องของคนปัจจุบัน ไม่เชื่อ ทำไมจึง
    ทำใจได้ เชื่อ ทำไมจึงทำไม่ได้ ว่าโกหกและปลอม ทำไมจึงว่ากันได้ ของจริง
    ของ แท้ ทำไมจึงพูดไม่ได้ ของและสถานที่กับหลักฐานมีประจักษ์ชัดอยู่แล้ว)
    มีอยู่ ได้เสด็จสู่ฝั่งแม่น้ำนั้น นิมมทานาคราช กระทำการต้อนรับพระศาสดา นำ
    เสด็จสู่นาคภพ ได้กระทำสักการะพระรัตน ๓ แล้ว พระศาสดาตรัสธรรมแก่ท้าว
    เธอแล้ว เสด็จออกจากนาคภพ นาคราชนั้นทูลขอว่า “ขอพระองค์ประทานที่ๆ
    ควรบำเรอแก่ข้าพระองค์” พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงรอยพระบาท ณ ฝั่ง
    นิมมทานที แม่น้ำนิมมทา แล้วรอยพระบาทนั้น เมื่อคลื่นทั้งหลายสาดมาก็
    ถูกกลบ เมื่อคลื่นทั้งหลายไปแล้ว รอยพระบาทก็ถูกเปิดเผยออก ได้เป็นรอยถึง
    สักการมากใหญ่แล้ว

    <O:p</O:p</O:p
    บุณมุนี อยู่ถ้ำฤาษี ผู้นำพุทธ สู่ เกาะคนชาวน้ำ หมู่คนน้ำ (คนน้ำ หรือ
    คนชาวน้ำ หรือ คนชาวเล ตามอัฏฐกถานี้เรียกนาค พระบาลี พระพุทธพจน์
    ตรัสถึงนาค นาคนี้ ในอุทานวัคคตรัสว่าเป็นคนทะเล ในมหาสมัยสูตร ชื่อนาคนี้
    เป็นชื่อเทพประจำทิศตะวันตก ในอุทานและวินัยว่า มุจจลินทก็ออกชื่อว่านาค
    ในเผ่ามนุษย์ นาค เป็นชื่อคนเปลือย คนชาวเขา (นาค แปลว่า ภูเขาก็ได้) และ
    นาคเป็นชื่องูหงอน ถ้าทำให้สั้น นค นัคค แปลว่า คนเปลือย นักบวชเปลือย
    (นัคคสมณ) และคนน้ำ หรือ ชาวน้ำ ชาวเลนี้ สมัยนั้น ผ้าผ่อนคงหายากคงจะ
    เปลือยกันมาก ด้วยเหตุนี้อัฏฐกถาจึงเรียกคนน้ำว่า นาค เสียงว่า น้ำกับนาค
    ใกล้กันมาก ) เกาะแก้ว เข้ากราบไหว้ ห้อมล้อม พุทธสอนมาก (๑๕๗/๑) หมู่คน
    ขอรอยตีน ไว้ ชายทเล พุทธ เหยีบดินทำ ให้ใหญ่กว่า ๓เท่า เมื่อขึ้น ๑๓ ค่ำ
    พุทธมาถึงบ้านแก่กุน วันขึ้น ๑๔ ค่ำ(๑๕๗/๒)

    <O:p</O:p</O:p
    พระศาสดาเสด็จออกจากนั้น แล้วเสด็จสู่ภูเขาสัจจพันธ ตรัสกะพระสัจจพันธว่า
    “เธอให้มหาชนดำเนินไปทางอบายแล้ว เธอจงอยู่ที่นี่แหละ ทำให้พวกเขาเหล่า
    นั้นละลัทธิเดิม แล้วให้ตั้งอยู่ในทางนิพพานเถิด”

    <O:p</O:p</O:p
    พุทธ ปุณณ เดินทาง ไปเขา สัจจพันธ พาสัจจพันธ ไป ส่งเขา สัจจพันธ
    อันสัจจพันภิกขุ วอนขอ รอย ตีน อันเหยียบหินในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน อ้าย
    เหยียบหิน เชิงเขานั้น (๑๕๕/๑)

    <O:p</O:p</O:p
    แม้ท่านสัจจพันธ ทูลขอฐานะอันตนพึงบำเรอ พระศาสดาทรงแสดง รอย
    พระบาทเหมือนรอยตราประทับ ณ ก้อนดินเหนียวเปียก ที่หลังหินดาดเป็นก้อน
    จากนั้น จึงเสด็จสู่เชตวันแล.
    -------------******----------------
    ภาพพระพุทธรูปแกะสลัก ภายในถ้ำฤาษี เขางู ราชบุรี
    มีอักษรจารึกไว้ใต้องค์พระแปลความได้ว่า
    "บุญพระฤษี รักษาสมาธิ ณ เขางู พุทธพัสสา ๔๔ "
    พุทธพัสสา ๔๔ หมายถึง พระพุทธเจ้ามีอายุพรรษาได้ 44 ปี

    <O:p</O:p
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มีนาคม 2007
  2. อธิมุตโต

    อธิมุตโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    4,741
    ค่าพลัง:
    +13,087
    [​IMG] สาธุครับ อนุโมทนาบุญ [​IMG]
     
  3. เอก999

    เอก999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2007
    โพสต์:
    147
    ค่าพลัง:
    +143
    ได้ศึกษาเรื่องนี้มาระยะหนึ่งครับ
    แต่คนไทยปัจจุบันเขาไม่ค่อยเชื่อเรื่องในกระเบื้องจารเท่าไหร่
    เขาหาว่าเป็นของปลอม เชื่อถือไม่ได้
    ก็น่าสงสัยว่าทำไมคนทั่วไปหาว่าพระผู้ถือศีล 227 ข้อ กล่าววาจาเท็จ
     
  4. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,705
    ค่าพลัง:
    +51,933
    *** ดวงอาทิตย์ขึ้นแล้ว ****

    หลักโลกุตตระธรรม ปรากฏแล้ว
    สัจจะคำสอน ปรากฏแล้ว
    ถึงเวลาความจริง ก็จะปรากฏ

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     

แชร์หน้านี้

Loading...