พระปางลีลา ศิลปะสุโขทัย วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ อ.ศรีสัชนาลัย : คติสัญลักษณ์สถาปัตยกรรม

ในห้อง 'วัดและศาสนสถาน' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 22 กันยายน 2019.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,590
    0b8a5e0b8b5e0b8a5e0b8b2-e0b8a8e0b8b4e0b8a5e0b89be0b8b0e0b8aae0b8b8e0b982e0b882e0b897e0b8b1e0b8a2.jpg

    พระปางลีลา – พระพุทธรูปปูนปั้นปางลีลา (อุเทสิกเจดีย์) ที่สวยงามองค์หนึ่งของศิลปะสุโขทัย ที่ประดิษฐานอยู่ ณ มณฑปพระสี่อิริยาบถ หลังพระธาตุมุเตา ด้านหลังสุดบริเวณวัด เป็นพระพุทธรูปปางลีลาที่งดงาม มีอิริยาบถดังการเคลื่อนไหวที่ สง่างาม การจัดวางการสะบัดแขนไปด้านหลังดูประหนึ่งพระพุทธรูปองค์นี้ยังเคลื่อนไหวอย่างสงบ เยือกเย็น

    8a5e0b8b5e0b8a5e0b8b2-e0b8a8e0b8b4e0b8a5e0b89be0b8b0e0b8aae0b8b8e0b982e0b882e0b897e0b8b1e0b8a2-1.jpg
    ภาพจากกรมศิลปากร

    พระสี่อิริยาบถของพระวิหารหลังนี้ก็คือ บทของการฝึกการศึกษา การตั้งสติ สมาธิ และวิปัสสนาญาณ ถึงอาการทั้ง 4 นั่ง ยืน เดิน นอน ในมหาสติปัฏฐาน 4 ที่เรียกว่า กายานุปัสสนา ที่เห็นว่ารูปในอาการทั้งสี่นั้นไม่เที่ยง ไม่มั่นคง มีการเปลี่ยนแปลง เรียกว่าเกิดดับจากรูปหนึ่งไปอีกรูปหนึ่งตลอดเวลา

    [​IMG] [​IMG]

    จนเข้าใจว่า “สิ่งที่ปรากฏแก่เธอนั้น เป็นเพียงความรู้สึกหรือความระลึกได้ (ว่ามิใช่รูป มิใช่ตัวตน ดังนั้น เมื่อมิใช่รูป มิใช่ตัวตน สักแต่เป็นที่ปรากฏ) ตัณหา (คือความอยากอันมีความเกิดอีกเป็นธรรมดา เจือด้วยกำหนัด ด้วยราคะ) และอุปาทาน (ขันธ์ 5 ความยึดมั่น ถือมั่น) ย่อมอาศัยเธอมิได้ (คือไม่มีความยึดติดในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และอารมณ์)

    ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์


    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.khaosod.co.th/amulets/news_2905947
     

แชร์หน้านี้

Loading...