พระบรมสารีริกธาตุ และ พระอรหันตธาตุ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย Wisdom, 9 พฤศจิกายน 2006.

  1. Wisdom

    Wisdom ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,669
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +26,542
    [​IMG]

    <TABLE cellPadding=10 width=600 border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#0099ff>พระบรมสารีริกธาตุ และ พระอรหันตธาตุ</TD></TR><TR><TD>พระบรมสารีริกธาตุ และ พระอรหันตธาตุ


    กับสถานที่ประดิษฐานอันสำคัญในประเทศไทย

    ลังกา อินเดีย แหล่งกำเนิดอารยธรรม อันเจริญรุ่งเรืองแต่เก่าก่อน ทั้งด้านการปกครอง ศาสนา พิธีกรรม มีการเผยแพร่สู่ถิ่นอื่น ๆ โดยเฉพาะเมืองที่ผู้ปกครองหรือผู้นำที่เข้มแข็ง จะมีการสืบ ความรู้แขนงต่าง ๆ ที่รับมาจากลังกา และอินเดีย

    นำมาประยุกต์ใช้การสร้างเมืองให้เป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนา มีพระมหาธาตุเจดีย์ตั้งอยู่กลางเมือง ตามคติธรรมราชา ราชาปกครองด้วยธรรมค้ำจุนพระศาสนา เป็นหลักชัยของบ้านเมือง นำศาสนาเป็นสื่อกลางความเป็นอันหนึ่งอันเดียวของกลุ่มชนเป็นอยู่กระจัดกระจาย เป็นก๊ก เป็นเหล่า

    พระบรมธาตุเจดีย์ พระมหาธาตุเจดีย์ ดำรงความเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาอย่างไม่เปลี่ยนแปลง ตามคตินิยมของชาวพุทธ การได้สักการะปูชนียวัตถุ ปูชนียสถาน ที่สร้างขึ้นมาเพื่อแทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธบาทจำลอง พระพุทธรูปเจดีย์ รวมเรียกว่า อุทเทสิกเจดีย์ ย่อมเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง และยิ่งมีเรื่องราวสนับสนุนเป็นตำนาน พุทธประวัติ เกี่ยวเนื่องกับสถานที่นั้น ก็ยิ่งเป็นแรงเพิ่มศรัทธาเป็นเท่าทวีคูณ

    พระธาตุเจดีย์ สร้างขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิธาตุ ทั้งพระบรมสารีริกธาตุ อรหันตธาตุ แม้แต่พระมหากษัตริย์ที่สิ้นพระชนม์แล้ว ก็นำอัฐิธาตุไปบรรจุไว้ โบราณได้แบ่งเจดีย์ออกเป็น ๔ อย่าง

    ๑. ธาตุเจดีย์ หมายถึง เจดีย์ที่บรรจุ พระบรมสารีริกธาตุต่าง ๆ

    ๒. บริโภคเจดีย์ หมายถึง เจดีย์อันมีความเกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้า เช่น สังเวชนียสถานทั้ง ๔ คือ สถานที่ประสูติ ตรัสรู้ ประทานปฐมเทศนา และสถานที่ดับขันธ์ ปรินิพพาน

    ๓. พระธรรมเจดีย์ หมายถึง พระคัมภีร์ ซึ่งแสดงถึงหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เป็นหนังสือหรือแผ่นจารึก แม้แต่คำจารึกพระธรรมทั้งหลาย บรรจุไว้ ณ สถานที่ใด ที่นั้นก็ถือเป็นพระธรรมเจดีย์ด้วย

    ๔. อุทเทสิกเจดีย์ หมายถึงเจดีย์ที่สร้างขึ้นอุทิศเฉพาะพระพุทธเจ้า เป็นต้นว่า พระพุทธรูป พระพุทธบาท และอาสนะ คือ สิ่งที่สร้างขึ้น แล้วอุทิศถวายพระพุทธเจ้า

    เจดีย์มีมาก่อนพระพุทธกาล ต้นไม้ ภูเขา และป่า ตลอดจนสัตว์บางชนิด ก็ได้รับนับถือยกย่องให้เป็นเจดีย์ได้ อย่างนี้มีอยู่ก่อนแล้ว ครั้นเมื่อพระพุทธองค์ทรงประกาศศาสนาในประเทศอินเดีย พระพุทธองค์ก็ยอมรับเจดีย์อันเป็นที่เคารพนับถือของหมู่ชนมาแต่เดิม

    ดังที่เห็นได้ในพระวินัยปิฎก ว่าด้วยเรื่องพระฉันทะโค่นต้นไม้ใหญ่ อันเป็นเจดีย์ของหมู่บ้านเพื่อสร้างวิหาร จึงเป็นเหตุให้ชาวบ้านติเตียน เมื่อพระพุทธองค์ทราบบัญญัติพระวินัยว่า พระภิกษุสงฆ์ห้ามโค่นต้นไม้ใหญ่ อันเป็นที่นับถือของหมู่บ้าน

    แต่คำว่าเจดีย์ที่เราเข้าใจในปัจจุบันนั่น ไม่ปรากฏว่า พระพุทธองค์ทรงกล่าวไว้ ณ ที่แห่งใดเลย มีแต่ทรงตรัสถึง ธูปารหะบุคคล คือ บุคคลอันควรแก่สถูปเท่านั้น หน้าที่เจดีย์ ๔ อย่างที่กล่าวมาแล้วนั้น น่าจะเป็นของที่เกิดขึ้นในครั้งหลัง

    แต่ต้องไม่นับถ้อยคำ กล่าวสรรเสริญพระพุทธองค์ของพระเจ้าปเสนทิโกศล ซึ่งพระพุทธองค์ทรงตรัสว่า ถ้อยคำว่าพระเจ้าปเสนทิโกศล นั้น เป็นธรรมเจดีย์ ดังมีมาในธรรมเจติยสูตร

    เจดีย์ ทุกท่านจะนึกรู้ทันทีว่า หมายถึงสถาปัตยกรรม อันมิใช่ตัวอาคารที่จะเข้าไปอยู่อาศัยได้ เหมือนดังโบสถ์หรือวิหาร บางทีก็เรียกว่า สถูปเจดีย์ หรือพระปรางค์ก็ได้

    บรรดาเมืองหลวง หรือเมืองที่จัดอยู่ในระดับราชธานี ตามคติโบราณของไทยนับถือพระพุทธศาสนาเป็นสำคัญ เมืองจะต้องมีวัดที่สำคัญ เช่น วัดมหาธาตุ อยู่เป็นหลัก หรือเป็นประธานของเมืองนั้น ๆ

    จึงปรากฏชื่อวัดมหาธาตุอยู่เป็นหลักสำคัญของเมือง ตั้งแต่สมัยสุโขทัย มาจนถึงรัตนโกสินทร์ทั้งยังเป็นที่สถิตประทับอยู่ของพระมหาเถระที่ได้ราชทินนามว่า "สมเด็จพระสังฆราช" ทรงประทับอยู่ที่วัดมหาธาตุ

    วัดมหาธาตุจึงเป็นวัดที่แตกต่างจากวัดทั่ว ๆ ไป โดยจะมีพระเจดีย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างถวายตามความเชื่อ เพื่อเป็นประธานของเมือง นอกจากวัดมหาธาตุแล้วยังมีสถานที่อื่น ๆ สร้างพระมหาเจดีย์ใหญ่กันขึ้นทุกยุคทุกสมัย ตามศูนย์กลางความเจริญในแต่ละสถานที่นั้น ๆ

    อาทิ พระบรมธาตุเจดีย์เมืองนครศรีธรรมราช พระธาตุไชยา พระธาตุพนม พระธาตุหริภุญชัย ฯลฯ แต่ละสถานที่ก็มีเรื่องเล่า ตำนานความศักดิ์สิทธิ์ แต่ละจุดศูนย์กลาง เน้นไปที่พระบรมสารีริกธาตุ

    พระธาตุที่บรรจุอยุ่ในองค์พระเจดีย์ตามตำนานต่าง ๆ พื้นฐานจะมาจากที่แห่งเดียวกัน คือ มาจากชมพูทวีป ในประเทศอินเดีย แต่การให้ได้มาประดิษฐานยัง ณ สถานที่แห่งนั้น ๆ มักมีเรื่องของอิทธิปาฏิหาริย์แตกต่างกันออกไปอย่างสลับซับซ้อน เพื่อสนับสนุนเพิ่มความศรัทธาเป็นเท่าทวีคูณ

    พระบรมธาตุตามตำนาน

    พระบรมธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และธาตุของพระอรหันต์ ซึ่งเป็นพระสงฆ์สาวกของพระพุทธองค์ มีลักษณะแตกต่างกับอัฐิหรือกระดูกของปุถุชนคนธรรมดา โดยพระองค์ท่านเป็นผู้ที่สำเร็จและปรินิพพานไปแล้ว

    จึงเป็นสิ่งควร เคารพบูชาอย่างสูงยิ่ง ทั้งยังเป็นอานิสงส์แก่ผู้กราบไหว้ เคารพบูชาให้สำเร็จประโยชน์และสุขสมบูรณ์ ผลานิสงส์ นี้จะปรากฏแต่เฉพาะ ผู้มีความเลื่อมใส กระทำการสักการะ โดยสุจริต เท่านั้น

    พระบรมสารีริกธาตุ
    ประดิษฐานในประเทศไทย

    พระบรมสารีริกธาตุที่ปรากฏในประเทศ ในเมืองไทย มีเรื่องเล่า การได้มาซึ่งพระธาตุมีปาฏิหาริย์แตกต่างกันออกไป แต่พื้นฐานก็มาจากประเทศอินเดีย จะยกตำนานเรื่องเล่าของการได้มาซึ่งพระบรมสารีริกธาตุ อันเป็นตำนานที่เล่าสืบทอดคู่กับพระเจดีย์นั้นสักแห่งหนึ่ง ที่มีประวัติเกี่ยวกับอิทธิปาฏิหาริย์

    เพื่อสนับสนุนให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์และศรัทธา มีมาแต่ครั้งโบราณก็จะได้ยกถึงประวัติพระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช อันเป็นศูนย์กลางศาสนาวัฒนธรรมมาแต่โบราณ

    กล่าวตำนานพระบรมธาตุเจดีย์
    นครศรีธรรมราช

    เริ่มต้นจากประเทศอินเดียก่อน หลังจากที่พระพุทธองค์ได้ดับขันธ์ ปรินิพพานแล้วมีการแบ่งพระบรมสารีริกธาตุไปประดิษฐาน ณ ที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ทั้งบนสวรรค์ โลกมนุษย์ และบาดาล

    มาในสมัยพระเจ้าอชาตศัตรู ทรงได้นิมนต์พระมหากัสสปะ ให้ไปอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุที่ประดิษฐานในที่ต่าง ๆ รวบรวมมาไว้ที่กรุงราชคฤห์ ชมพูทวีป โดยให้ขุดหลุมฝังแล้วทำพิธีกรรมผูกพหุ่นยนต์ หรือหุ่นฝางหญ้า ปลุกเสกด้วยเวทมนต์ให้หุ่นพยนต์นี้อารักษ์รักษาพระบรมสารีริกธาตุนี้ไว้

    ครั้นถึง พ.ศ. ๒๒๔ สมัยพญาอโศกราชแห่งนครอินทรปัตต์ ได้โปรดให้ขุดพระบรมสารีริกธาตุที่สมัยพระเจ้าอชาตศัตรูฝังไว้ ขึ้นมาแจกจ่ายยังนครต่าง ๆ ๘๔,๐๐๐ แห่ง

    กษัตริย์สิงหราช เจ้าเมืองทนธบุรี (ท้าวโกสีหราช หรือ อังกุศราช) ได้รับพระทันตธาตุไปบูชา จึงเป็นเหตุให้กษัตริย์แห่งอื่น ๆ ยกทัพมาหวังจะแย่งชิง พระทันตธาตุ มิได้ขาด จนสุดท้ายเมืองนี้ถูกโจมตีจากกองทัพ ๕ เมือง

    กษัตริย์สิงหราชทรงเห็นว่า ไม่สามารถรักษาพระทันตธาตุองค์นี้ไว้ได้จึงรับสั่งให้พระราชธิดา คือ พระนางเหมชาลา และพระราชโอรสนามว่า เจ้าชายทนธกุมาร ให้อัญเชิญพระทันตธาตุลงเรือไปถวาย พระเจ้ากรุงลังกา

    ระหว่างที่เดินทางเกิดพายุใหญ่ เรืออับปาง ขบวนเสด็จของพระนางและเจ้าชายถูกพัดมาขึ้นฝั่ง จึงได้ฝังพระทันตธาตุไว้ ณ ที่แห่งนั้นระหว่างอยู่ที่หาดทรายแก้ว ได้ถูกท้าวนาคา ลอบมาลักพระทันตธาตุไว้ในนาคพิภพ หรือเมืองพญานาค

    พระมหาเถรพรหมเทพได้ช่วยพระนางชิงคืนกลับมาแล้วได้นำไปถวายถึงมือเจ้ากรุงลังกา แต่พระเจ้าทศคามิมี พระจ้ากรุงลังกาได้ประทานพระทันตธาตุคืนให้พระนางทะนานหนึ่ง ส่วนหนึ่งนำกลับไปฝังไว้ ณ หาดทรายแก้ว แล้วเหลือกลับไปประดิษฐานคืนเมืองธนบุรีดังเดิม

    ถึงยุคพระเจ้าศรีธรรมมาโศกราช อพยพพลเมืองหนีโรคห่าไปถึงหาดทรายแก้ว เทพยดาแสดงปาฏิหาริย์ดลใจให้พระองค์พบสถานที่ซ่อนพระทันตธาตุ โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญขึ้นมา แต่ไม่สำเร็จ ด้วยอิทธิฤทธิ์หุ่นยนต์ที่ถูกผูกขึ้นไว้มารักษาพระธาตุ เป็นฝูงนกกาออกมาทำร้าย

    ต่อมาได้เจ้ากากภาษา โอรสเจ้าเมืองโรมพิสัย อาสามาแก้อาถรรพณ์ให้ได้สำเร็จ แล้วสร้างพระเจดีย์ขึ้นบรรจุพระบรมธาตุ ตามตำนานกล่าวว่าพระบรมธาตุเจดีย์องค์นี้สร้างเมื่อ พ.ศ. ๘๕๔ นี่คือเรื่องราวตำนานหนึ่งในหลาย ๆ ตำนานพระธาตุเจดีย์สำคัญของไทย เน้นปาฎิหาริย์ดึงศรัทธาของกลุ่มคน

    พระธาตุในยุคปัจจุบัน

    โลกที่ไม่ว่างจากพระอรหันต์ พุทธศาสนิกชนทั้งหลายได้ทำการสักการะพระพุทธรูปในสถานที่ใด สถานที่หนึ่ง นอกจากจะมีพระพุทธรูปให้ได้ทำการสักการะแล้วจะมีกระดูกของครูบาอาจารย์ที่ได้ล่วงลับไปแล้ว เรียกว่า พระธาตุ ให้ได้สักการะกัน

    โดยเฉพาะวัดหรือสถานที่ปฏิบัติธรรมในสายพระป่า เช่น วัดป่าสาละวัน จังหวัดนครราชสีมา จะนำอัฐิของครูบาอาจารย์พระป่าสายวิปัสสนาที่สำคัญๆ หลาย ๆ องค์นำมาประดิษฐานให้พุทธศาสนิกชนได้กราบไหว้บูชา เช่น หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลวงปู่สิงห์ หลวงปู่ฝั้น หลวงปู่พุธ

    อัฐิ หรือ กระดูก ท่านทั้งหลาย ปรากฏเกิดเป็นแก้วผลึกใส ที่เรียกว่า พระธาตุ น่าอัศจรรย์พระธาตุท่านทั้งหลายเหล่านี้ ครูบาอาจารย์ในชั้นลูกศิษย์ถือได้ว่าเป็นพระธาตุที่มีค่ามาก เพราะเป็นพระธาตุที่เกิดขึ้นกับครูบาอาจารย์ของท่านเอง

    เมื่อท่านได้ละสังขารไปแล้ว หลังจากกระทำพิธีสามหาบ(การเก็บกระดูก หลังจากเผาเรียบร้อยแล้ว) ลูกศิษย์ลูกหาที่เคารพนับถือจะแบ่งไปเพื่อประดิษฐานยังสำนักปฏิบัติธรรมของตน จึงถือว่าเป็นพระธาตุที่เกิดขึ้นจริง มิใช่พระธาตุที่กล่าวขึ้นในตำนาน

    พระธาตุเกิดขึ้นได้อย่างไร


    ครูบาอาจารย์ ท่านกล่าวไว้ว่า เหตุการเกิดพระธาตุเท่าที่พบเกิดขึ้นได้ ๓ เหตุ

    ๑. เกิดจากอานิสงส์ ผลจากการปฏิบัติธรรมอันยิ่งยวด
    ๒. เกิดจากพระผู้มีคุณธรรมอันวิเศษ ทำให้เกิด
    ๓. เกิดจากการอัญเชิญมาจากอากาศ

    ๑. เกิดจากอานิสงส์การปฏิบัติธรรมอันยิ่งยวด เรื่องนี้เป็นเรื่องที่นักปฏิบัติเท่านั้นถึงจะเข้าใจ ผลการเกิดพระธาตุในลักษณะนี้ จะเกิดจากผลการปฏิบัติตามภูมิธรรมยังภูมิของท่านนั้น ๆ มีภูมิธรรมที่บรรลุถึงจุดสูงสุด

    พระธาตุของท่านสัณฐานใสเป็นเพชร เป็นแก้ว อัญมณี ครูบาอาจารย์ที่ท่านเริ่มจากการพิจารณาว่า คนเราเกิดจากการประชุมกันหรือการร่วมกันของธาตุ มีพื้นฐานจากธาตุ ๔ และธาตุ ๖ ธาตุ ๔ หมายถึง ดิน น้ำ ลม ไฟ รวมกันเกิดเป็นร่างกาย ร่วมกับธาตุ ๖ เพียงแต่เพิ่มอีก ๒ ธาตุคือ อากาศธาตุ และวิญญาณธาตุ ทำให้เกิดชีวิต

    อากาศธาตุ เหมือนกันกับเครื่องยนต์กลไก เลือดลม ที่สูบฉีดเลี้ยงร่างกาย ร่วมกับวิญญาณธาตุ หรือธาตุรู้ นี่คือการประชุมกันเพื่อให้เกิดร่างกายขึ้นมา ครูบาอาจารย์ทั้งหลายท่านได้เห็นในส่วนนี้นำมาพิจารณาโดยแยกกันเป็น ๒ ส่วน จิตกับกาย

    จิตมีธาตุรู้วิญญาณธาตุ อาศัยกายที่ประกอบจากธาตุ ๔ เป็นเครื่องพิจารณา จิตได้ความรู้จากกาย โดยท่านอาศัยข้อพิจารณาธรรมจากสติปัฏฐาน ๔ คือ กาย เวทนา จิต ธรรม

    กาย ท่านพิจารณาเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปของร่างกาย ยึดไว้ก็เป็นทุกข์ เป็นอนิจจัง เมื่อพิจารณาท่านก็ปล่อยวางไม่ยึดมั่นถือมั่น

    เวทนา ท่านพิจารณาความสุข ความทุกข์ ความไม่สุข ไม่ทุกข์ (ที่ไม่ใช่อุเบกขา)

    จิต จิตของเราความรู้สึกดีชั่ว

    ธรรม กิเลส กิเลสไม่เกิดขึ้นได้ ส่วนดี ส่วนที่เสีย ก็ดับไป

    เมื่อจิตใจท่านขัดเกลา โลภะ โมหะ โทสะ หรือเรียกว่า ฟัดกับกิเลส จิตใจ สะอาดขึ้น ละเอียดขึ้นจากผิวหนังไปถึงใต้ผิวหนัง ถึงเนื้อจนถึงกระดูก ธาตุขันธ์จะสะอาดเป็นอานิสงส์ ร่างกายได้รับอานิสงส์ เริ่มสู่ความเป็นอริยบุคคล เข้าสู่ชั้นโสดาบัน

    เมื่อภูมิธรรมการปฏิบัติของท่านนั้น ๆ สูงขั้นตามธาตุขันธ์ ร่างกายยิ่งสะอาด ปฏิบัติขัดเกลาลดน้อยลงเหลือแต่สิ่งที่ดี จนถึงขั้นไกลจากกิเลสวรรณะ ความสดใสของกายเหมือนดั่งทองคำ

    เคยมีครั้งหนึ่งเป็นเรื่องที่เล่าว่า หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค จ.อยุธยา ท่านกล่าวว่า หลวงพ่อเนียม วัดน้อย จ.สุพรรณบุรี ท่านจะมีวรรณะ ผิวพรรณที่ผ่องใส ในตามีความสุกสกาวเหมือนท้องฟ้า มีใบหน้ายิ้มแย้ม แสดงถึงความร่มเย็น ที่มาจากผลานิสงส์แห่งการปฏิบัติธรรมอันยิ่งยวด

    เมื่อท่านเหล่านั้นได้ละสังขารไป อัฐิของท่านอัศจรรย์เป็นพระธาตุเหมือนกับอัญมณีสดใส บางองค์อัฐิธาตุของท่านเกิดเป็นพระธาตุขึ้นเลยทันที บางองค์หลังจากนั้นไม่นาน อัฐิธาตุของท่านก็ค่อย ๆ แปรสภาพเป็นพระธาตุไปตามกาลเวลา ส่วนใหญ่ พบเห็นมากในพระวิปัสสนาจารย์สายพระป่า

    บางองค์สังขารของท่านเป็นพระธาตุ ทั้ง ๆ ที่ท่านยังไม่ได้มรณภาพไป อย่างเช่น หลวงปู่เขียว วัดหรงบน จ.นครศรีธรรมราช ท่านถอนฟันและให้ลูกศิษย์เก็บไว้ ต่อมาฟันนี้ได้เกิดเป็นพระธาตุแก้วผลึกใส

    หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่ ท่านเข้ารับการผ่าตัดที่โรงพยาบาล พยาบาลท่านหนึ่งเก็บชิ้นส่วนกระดูกอ่อนที่หลังจากผ่าตัดเอาไว้ ปรากฏว่าชิ้นกระดูกนั้นกลายเป็นผลึกแก้วใส หรือพระธาตุนั่นเอง ยังความศรัทธาอย่างสูงของชาวเชียงใหม่

    หลวงปู่เจี๊ยะ เคยได้รับฟันของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ต่อมาฟันนั้นก็กลายเป็นผลึกแก้วใสเหมือนกัน

    ฉะนั้นแล้ว เหตุที่เกิดจากอานิสงส์ ผลการปฏิบัติธรรมอันยิ่งยวดจนร่างกายเป็นพระธาตุ ส่วนใหญ่จะปรากฏขึ้นในนักปฏิบัติ แต่มิใช่หมายถึงแต่พระสงฆ์เท่านั้น ยังเกิดขึ้นกับปุถุชนคนทั่วไปได้ แต่ต้องเป็นนักปฏิบัติธรรม

    ถึงแม้เกิดเป็นผู้หญิงเองก็อาจได้รับอานิสงส์แบบนี้ เหมือนกับท่านอุบาสิกาบุญเรือน วัดอาวุธฯ บางพลัด ท่านก็สำเร็จภูมิธรรมชั้นสูง มีอัฐิกลายเป็นพระธาตุ ฉะนั้นแล้วการปฏิบัติธรรมตามหลักพระพุทธศาสนาให้เกิดผลสูงสุดจึงไม่มีความเกี่ยวข้องในการแบ่งชนชั้นวรรณะ หรือเพศชายหญิงเลย

    ๒. เกิดจากพระผู้มีคุณธรรมอันวิเศษ ทำให้เกิดพื้นฐานก็มาจากอย่างแรกต้องบรรลุภูมิธรรมชั้นสูง นอกจากสังขารของท่าน บังเกิดเป็นพระธาตุแล้ว ยังให้สิ่งอื่น ๆ เกิดเป็นพระธาตุได้จิตตานุภาพ อย่างเช่น หลวงปู่เขียน วัดหรงบน ท่านฉันภัตตาหารเกิดก้างปลาติดฟัน และท่านได้นำก้างปลาที่ติดฟันออก แล้วให้ลูกศิษย์เก็บก้างปลาไว้

    ซึ่งต่อมาก้างปลาชิ้นนี้กลายเป็นพระธาตุผลึกแก้วใส หลวงปู่ดู่ วัดสะแก จ.อยุธยา ท่านชอบสร้างพระเนื้อผงสีขาว แต่ทำไมพระเครื่องท่านจึงขึ้นพระธาตุได้ พระธาตุที่ขึ้นกับพระเครื่องหลวงปู่ดู่ จะขึ้นเป็นเกล็ดใส ๆ แวววาว คล้าย ๆ ผลึกน้ำแข็ง

    ซึ่งพระของท่านก็เป็นเนื้อผงสีขาว ๆ คล้ายชอล์ก ไม่มีส่วนผสมอื่น ๆ ที่แปลกไปกว่านั้น ที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมีได้ แต่พระท่านก็เกิดอัศจรรย์ขึ้นพระธาตุได้

    แต่มีข้อแม้ว่า ผู้ที่เป็นเจ้าของพระของท่านที่ขึ้นพระธาตุส่วนใหญ่จะเป็นนักปฏิบัติธรรม อย่างนี้ก็เป็นเรื่องของจิตตานุภาพเหมือนกัน

    เป็นเรื่องแปลกอีกอย่างหนึ่ง ที่ครูบาอาจารย์ท่านอธิบายไว้ว่า พระผู้มีกายสะอาดขึ้นถึงเป็นพระธาตุ ขี้หรืออุจจาระ ท่านจะหอม หรืออุจจาระท่านจะไม่มีกลิ่นเหม็น น่ารังเกียจเหมือนคนทั่ว ๆ ไป เพราะการบริโภคอาหารของท่าน

    เมื่อสังขารของท่านสะอาด การบริโภคอาหารผ่านร่างกายของท่านที่สะอาด ผ่องใส กากอาหารที่ผ่านร่างกายนั่นจะเป็นกากอาหารที่ไม่มีกลิ่นสกปรก น่ารังเกียจเหมือนปุถุชนคนทั่วไป อย่างเช่น หลวงปู่สี วัดถ้ำเขาบุญนาค จ.นครสวรรค์ ขี้ท่านหอม อาจจะด้วยสังขาร อายุเกิน ๑๐๐ ปี การขบฉันจึงไม่เต็มที่เหมือนคนทั่วไป

    ๓. เกิดจากการอัญเชิญมาจากอากาศ โบราณมีความเชื่อว่าพระธาตุท่านจะเสด็จมาได้ตามอากาศ โดยท่านมาจากพระธาตุในส่วนที่ตกเรี่ยราด ผู้รักษาเกศาไว้ไม่ดี รักษาไม่สะอาด จนเขากล่าวไว้ว่าพระธาตุเมื่อรักษาดี ท่านจะเสด็จมาและเพิ่มได้ ถ้ารักษาไว้ไม่ดี ท่านก็จะค่อย ๆ หายไป

    เรื่องนี้มีข้อพิสูจน์ได้จากหลาย ๆ ท่านได้พิสูจน์มาแล้วว่า พระธาตุเสด็จมาเองโดยผู้ที่ศรัทธา ผู้นั้นเตรียมอัญเชิญพระธาตุ โดยวิธีการเตรียมผอบ ปูด้วยผ้าขาว ดอกไม้หอม ตั้งไว้ในที่สะอาด สวดมนต์ ภาวนาอัญเชิญพระธาตุด้วยบท อิติปิโสเรือนเตี้ย(คาถามงกุฏพระพุทธเจ้า)

    ถือศีลภาวนาแล้วพระธาตุจะเสด็จมาเอง แต่ทั้งนี้ผู้นั้นต้องศรัทธาอย่างแน่วแน่และแท้จริง เรื่องนี้ได้มีการพิสูจน์มาแล้ว สมัยหลวงปู่ลี วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ ท่านได้อัญเชิญโดยวิธีนี้

    ปรากฏว่าอัญเชิญอาราธนาสำเร็จ พระธาตุเสด็จมาได้จริง ๆ ท่านจึงได้สร้างพระธาตุเจดีย์ขนาดใหญ่ เพื่อประดิษฐานพระธาตุองค์นี้ ให้ได้สักการะดังที่เห็นในปัจจุบัน


    ชาวพุทธนับถือพระธาตุสูงสุด สร้างเจดีย์ก็จะบรรจุพระธาตุไว้บนยอด นิยมนำของที่มีค่าและวิจิตรอลังการ ถวายเป็นเครื่องบูชา ดั่งที่ดู ได้จากพิพิธภัณฑ์วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช จัดแสดงสิ่งของที่นำมาบูชาพระบรมธาตุ ตั้งแต่ครั้งในอดีต

    อาทิ ต้นไม้เงินต้นไม้ทอง มงคลวัตถุ และเครื่องรางของขลัง เครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เครื่องประดับอันมีค่า ศิลปวัตถุและโบราณวัตถุ เครื่องเงิน เครื่องทองรูปพรรณ เครื่องถม ตลอดจนสิ่งของที่แปลกผิดธรรมชาติ ล้วนแต่สะท้อนให้เห็นถึงศรัทธาอันยิ่งใหญ่ของบรรพชนได้อย่างดี

    ถึงแม้ในปัจจุบันการบูชาเปลี่ยนแปลงไปตามกาลสมัย แทนที่จะสรรหาหรือจัดทำสิ่งของนำมาถวายมักใช้ถวายด้วยเงินบำรุงแทนดูไม่ยิ่งใหญ่เหมือนในอดีต

    ตามความเชื่อที่ว่า พระธาตุ หมายถึงสิ่งแทนความศักดิ์สิทธิ์อันสูงสุด แม้บรรจุไว้ในเจดีย์ยังต้องไว้ที่บนยอดสุด จึงไม่มีใครนิยมนำติดตัวไว้เหมือนพระเครื่อง เพราะคนเราอาจจะเข้าไปในสถานที่ที่สกปรก ที่ไม่สมควร หรือที่อโคจร จะเกิดกรรมแก่ทั้งตัวเองและผู้อื่น

    เช่น ใส่พระธาตุไปลอดราวผ้า หรือไปลอดในสถานที่ ที่มีผู้อื่นอยู่สูงกว่า เท่ากับว่าเรานำพระธาตุไปลอดใต้สถานที่นั้น ๆ นอกจากเกิดกรรมแก่เราแล้ว บุคคลอื่น ๆ ที่อยู่สูงกว่า พาต้องรับกรรมไปด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้คือเรื่องของความเชื่อใน "พระธาตุ" มาแต่โบราณ

    อนาคตของพระบรมธาตุ

    เมื่อกาลเวลาล่วงเลยไปจนถึง พ.ศ. ๕๐๐๐ พระบรมธาตุทั้งหลายขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะเสด็จไปสู่ที่พระเจดียฐาน ณ เกาะลังกา และดำรงคงอยู่ตลอด เพื่อจะทรงสงเคราะห์ชาวสิงหฬ ให้เกิดสวัสดิมงคล ด้วยการกระทำพิธีสักการบูชาพระคุณพระองค์ท่านก่อนพระพุทธศาสนาใกล้จะสูญสิ้นไป

    ครั้นถึง พ.ศ.๔๙๙๙ และล่วงได้ ๑๑ เดือน กับ ๒๒ วัน ซึ่งตรงกับวันพฤหัสบดี เดือน ๖ ขึ้น ๙ ค่ำ เป็นเวลาคิมหันต์ฤดู ปีชวด นักษัตรอัฐศก เวลารุ่งอรุณ พระบรมธาตุทุกพระองค์จะเสด็จไปยังสถานที่ประชุมทันที แล้วทรงกระทำยมกปาฏิหาริย์

    ด้วยพุทธฤทธิ์อันวิเศษ บังเกิดเป็นพระพุทธนิเวศน์ และพระวรกายสูง ๑๘ ศอก เปล่งรัศมีอก ๖ ประการ มีพระบวรสันฐานงดงามยิ่งนัก ดวงพระพักตร์ผุดผ่อง ดังสีสุวรรณ พระรูปองค์เสด็จขึ้นประทับบนบัลลังก์ในควงต้นพระศรีมหาโพธิ์

    ทรงพระสมาธิและกระทำยมกปาฏิหาริย์ โปรด สัตว์ คนธรรพ์ เทวดา ฤาษี กินนร นาคราช ทั้งอสูรพร้อมหน้านั่งแน่นเหนือแผ่นดิน พระองค์ตรัสพระธรรมเทศนา โปรดสัตว์อยู่ ๗ วัน มีผู้ฟังในครั้งนั้นถึงสี่อสงไขยสองล้านสามแสนหกสิบเจ็ดพันโกฏิ แล้วพระเพลิงก็พวยพุ่งขึ้นเผาพลาญพระรูปองค์ให้หมดสิ้นไป ในวันพุทธ เดือน ๖ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีชวด นักษัตร อัฐศก พระพุทธศาสนาก็สิ้นสุดลงเพียง ๕๐๐๐ ปีเต็ม...


    พระบรมสารีริกธาตุ

    เมื่อพระพุทธองค์ทรงเสด็จสู่พระปรินิพพานแล้ว มีพระพุทธสรีธาตุเหลืออยู่ ๗ องค์ คือ

    ๑. พระรากขวัญ (ไหปลาร้า) ๒ องค์ คือ

    - พระรากขวัญเบื้องซ้าย ๑ องค์
    - พระรากขวัญเบื้องขวา ๑ องค์

    ๒. พระเขี้ยวแก้ว หรือ พระทันตธาตุ ๔ องค์ คือ

    - พระเขี้ยวแก้วซ้ายบน ๑ องค์ ล่าง ๑ องค์
    - พระเขี้ยวแก้วขวาบน ๑ องค์ ล่าง ๑ องค์

    ๓. พระอุณหิส หรือ พระนลาฏอุณหิส ๑ องค์

    พระพุทธสรีรธาตุ ทั้ง ๗ องค์นี้ คงสภาพเดิมเมื่อพระเพลิงเผาก็ไม่เปลี่ยนแปลง และได้ถูกอัญเชิญเสด็จไปประดิษฐาน เพื่อเป็นที่สักการบูชาของเทพยดา และมนุษย์ในที่ต่าง ๆ กัน คือ

    ๑. พระรากขวัญเบื้องซ้าย ประดิษฐานอยู่ ณ เทวโลก
    ๒. พระรากขวัญเบื้องขวา และ
    ๓. พระอุณหิส ประดิษฐานอยู่ ณ เมืองอนุราชสิงหฬ
    ๔. พระเขี้ยวแก้วซ้ายบน ประดิษฐานอยู่ ณ เมืองคันธารราช
    ๕. พระเขี้ยวแก้วซ้ายล่าง ประดิษฐานอยู่ ณ เมืองนาคพิภพ
    ๖. พระเขี้ยวแก้วขวาบน ประดิษฐานอยู่ ณ ดาวดึงส์เทวโลก
    ๗. พระเขี้ยวแก้วขวาล่าง ประดิษฐานอยู่ ณ เกาะลังกาสิงหฬ

    พระบรมสารีริกธาตุ

    เมื่ออัฐิน้อยใหญ่ ทั้งหลายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เว้นพระสรีรธาตุทั้ง ๗ องค์ ถูกพระเพลิงเผาไหม้ได้แหลกละเอียดลงเหลือเป็น พระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งตักตวงได้ ๑๖ ทะนาน มี ๓ ขนาด คือ

    ๑. ขนาดเล็ก เท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด มีจำนวน ๖ ทะนาน มีวรรณะดังสีดอกพิกุล

    ๒. ขนาดกลาง เท่าเมล็ดข้าวสารหัก มีจำนวน ๕ ทะนาน มีวรรณะดังสีแก้วผลึก

    ๓. ขนาดใหญ่ เท่าเมล็ดถั่วหัก มีจำนวน ๕ ทะนาน มีวรรณะดังสีทองอุไร

    พระบรมสารีริกธาตุทั้ง ๑๖ ทะนานนี้ ประดิษฐานอยู่บนพื้นพิภพที่มีอยู่มาก ๘ แห่งคือ

    ๑. เมืองราชคฤห์
    ๒. เมืองเวสาลี
    ๓. เมืองกบิลพัสดุ์
    ๔. เมืองอัลปัปปะบุรี
    ๕. บ้านพรหมณนิคม
    ๖. เมืองเทวทหะราฐ
    ๗. เมืองปาวาขะบุรี
    ๘. เมืองนครกุสินารา

    นอกจากพระพุทธสรีรธาตุ และพระบรมสารีริกธาตุที่กล่าวแล้ว ยังมีพระเกศา โลมา นขา ทันตา ทั้งหลายของพระองค์ท่านเรี่ยรายประดิษฐานอยู่ทุกทิศทั่วทั้งจักรวาล

    กำเนิดพระธาตุ

    เมื่อได้ทราบถึงประวัติตั้งแต่ต้นของพระบรมสารีริกธาตุขององค์พระสมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้ากันแล้ว ต่อไปน่าจะกล่าวถึงพระอรหันตธาตุ หรือพระธาตุพระสาวกของพระพุทธองค์ เมื่อถึงซึ่งพระปรินิพพานไปแล้วมีอยู่ ๘๐ องค์

    เรียกว่า พระอสีติมหาสาวก ตามตำนาน พระอัฐิธาตุหรือพระธาตุอรหันต์มีเหลืออยู่ และประดิษฐานในที่ต่างกัน เพื่อให้เป็นที่เคารพสักการบูชาแก่เทพยดาและมนุษย์ ตามความเชื่อพระธาตุของพระอรหันต์แต่ละองค์จะมีสัณฐานและวรรณแตกต่างกัน

    พระธาตุพระสารีบุตร สัณฐาน กลม รี เป็นไข่จิ้งจก เป็นดังรูปบาตรคว่ำ

    วรรณะ ขาวดังสีสังข์ เหลืองดังหวายตะค้า สีดอกพิกุลแห้ง

    พระธาตุพระโมคคัลลานะ สัณฐาน กลม รี เป็นผลมะตูม รีเป็นเมล็ดทองหลาง รีเป็นเมล็ดข้าวสาร

    วรรณะ ดำ ขาว เหลือง ดังหวายตะค้า

    พระธาตุพระสีวลี สัณฐาน เป็นดังเมล็ดในพุทรา เป็นดังผลยอป่า เป็นดังเมล็ดมะละกอ

    วรรณะ เขียวดังดอกผักตบ แดงดังสีหม้อใหม่ เหลืองดังหวายตะค้า ขาวดังสีสังข์ สีดอกพิกุลแห้ง


    พระธาตุพระองคุลิมาละ สัณฐาน คอดดังคอสากที่มีรูปโปร่ง ตลอดเส้นผลลอดได้ก็มี

    วรรณะ ขาวดังสีสังข์ เหลืองดังดอกจำปา สีฟ้าหมอก

    พระธาตุพระอัญญาโกณฑัญญะ สัณฐาน งอนช้อยดังงาช้าง

    วรรณะ ขาวดังดอกมะลิตูม เหลือง ดำ

    ที่กล่าวมาทั้ง ๕ องค์ใน ๘๐ องค์ ตำนานได้กล่าวแยกแยะจากสัณฐานและวรรณะขององค์พระธาตุโดยแตกต่างจากพระบรมสารีริกธาตุพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งมีสัณฐานคล้ายเมล็ดข้าวสารหัก วรรณะดังสีแก้วผลึก แตกต่างจากพระอรหันตธาตุ ทั้งนี้เป็นเรื่องที่ตำนานได้กล่าวไว้

    ท่านทั้งหลายที่เคยไปสักการะสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ตามวัดวาอารามต่าง ๆ หลายแห่ง จะกล่าวถึงสถานที่นี้ ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุให้ท่านได้สักการบูชา ถ้าถามว่ารู้ได้อย่างไรว่า พระบรมสารีริกธาตุนั้น เป็นพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    อาศัยโบราณจารย์ท่านอุปมาตามสัณฐานและวรรณะที่ตำนานได้กล่าวไว้ ถ้าต้องตามลักษณะสัณฐานและวรรณะ จึงยึดถือพระบรมสารีริกธาตุตามความเชื่อนั้น

    --------------------------------------------------------------------------

    หนังสืออ้างอิง

    คงเดช ประพัฒน์ทอง,โบราณคดีประวัติศาสตร์ กรุงเทพฯ
    : กรมศิลปากร ๒๕๒๙ สำนักพิมพ์สารคดี, นครศรีธรรมราช กรุงเทพฯ :๒๕๓๗
    พล.อ.จ.สดับ ธีระบุตร, พระบรมธาตุพระธาตุอรหันตสาวก. กรุงเทพฯ:๒๕๐๑
    --------------------------------------
    คัดลอกจาก: ภควา ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๖
    ประจำเดือนพฤษภาคม ๒๕๔๗


    หมายเหตุ : เรื่องครบห้าพันปี แล้วจะเกิด
     
  2. Wisdom

    Wisdom ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,669
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +26,542
    โบราณจารณ์ได้รจนาเรื่องราวตอนที่องค์สมเด็จพระบรม
    ศาสดาสัมมาสัมพุทธะเสด็จเข้าสู่กาลดับขันธ์ปรินิพพานใน
    วันเพ็ญเดือนวิสาขะ ณ เมืองกุสินาราตลอดจนการแบ่งแยก
    พระบรมธาตุไว้ดังนี้

    "ขณะนั้นท้าวสหัมบดีได้กล่าวพระคาถาว่า "สพฺเพว นิกฺขิ
    ปิสฺสนฺติ" อธิบายความว่า สรรพสัตว์อันบังเกิดในโลกย่อม
    ปลงซึ่งชีวิตทรีย์ทั้งสิ้น สำมะหาแต่พระสมเด็จพระบรมไตร
    โลกนาถศาสดา สัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงทศพลญาณหาบุคคล
    จะเปรียบมิได้ เห็นบาปดังนี้

    ท้าวมัฆวานก็กล่าวว่า "อนิจฺจา วตสงฺขารา" สังขารธรรม
    ทั้งหลายมิได้เที่ยง มีสภาวะบังเกิด และประลัยเป็นอาจิณ
    ซึ่งเป็นธรรมดาเนื่องว่าบังเกิดแล้วก็จะดับทำลาย มิได้จิ
    รังกาลอันว่าพระนิพพานอันระงับเสียซึ่งชาติคณะนั้นเป็น
    เอกันตบรมสุข

    ส่วนพระอนุรุทธะเถระเจ้าก็กล่าวพระคาถาว่า "นาหุ อสฺ
    สาสปรสาโส" แปลเนื้อความว่า อันว่าสาสะและจิตอันสถิตใน
    พระสรีราพยะแห่งพระบรมนราสะ ผู้แสวงหาซึ่งพระเมตตาคุณ
    นั้นก็ดับสูญสิ้น บ่มิได้มี และพระชินสีห์ทรงพระปรารภ
    เสวยซึ่งอเนณชาสมาบัติหารในกาลใด มีพระหทัยอันมิได้หด
    หู่เศร้าหมองผ่องใสระงับทุกข์จากเวทนา นิราศสรรพอาสวะ
    กิเลส บ่มิได้ระคนพ้นจากพระพุทธสันดาน ก็เข้าสู่พระปริ
    นิพพานในกาลนั้น

    พระอานนท์เภระเจ้า กล่าวพระคาถาว่า "ตถาสิ ยัง ภิสนกัง
    แปลเนื้อความว่า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธสัพพัญญู เข้า
    สู่พระปรินิพพานในกาลใด อันว่าโลมะหังสนะ และปฐวีกัม
    นาการอันพิลึกและอาการแห่งมหัศจรรย์ทั้งปวงต่างๆ ก็บัง
    เกิดในกาลนั้น

    ครั้งนั้น พระภิกษุทั้งหลายจำพวกใดที่เป็นปุถุชน ยังไม่
    พ้นจากราคะพิกิเลส ก็ยกพาหาทั้งสองขึ้นประคองเนตร เช็ด
    มพุธาราโศกาพิลาป ประหนึ่งว่ามีหัตถบาทอันขาดแล้ว ค่อน
    ทรวงปริเวทนา

    โอ้องค์พระผู้มีพระภาค มาปรินิพพานในกาลอันพลันยิ่ง
    นักอันว่าพระสมันตจักษุ ผู้เป็นประทีปส่องโลกนี้ดับสูญ
    ลง แล้วเหล่าบรรดาอากาศ เทพยดา และภุมเทวาทั้งหลายที่
    เป็นปุถุชน ก็สยายเกศาสองกรค่อนทรวงพิไรรักเห็นปานฉะนี้

    ส่วนพระอานนท์ ผู้เป็นปิยการกขององค์พระศาสดา ก็มี
    พระทัยดุจจะทำลายออกเป็น ๗ ภาคชลนัยไหลลงพรากๆ บ่มิ
    ขาดสายน้อมกายซบพระเศียรลงแทบพระบวรบาท พระกรกอดพระ
    ยุคลของพระทศพลพิลาปไปโดยประการต่างๆ

    ฝ่ายพระยามัลลราชาและหมู่มหาชนบรรษัททั้งหลาย ก็ร้อง
    ร่ำกำสรดด้วยอาการต่างๆเสมอกัน

    ลำดับนั้น พระอนุรุทธเถระเจ้าก็กล่าวคำเล้าโลมให้ระงับ
    ซึ่งความโศกแห่งสรรพเทพดา และมนุษย์ด้วยพระธรรมกถาว่า
    "อนิจฺจตา ปฎิสงฺฆยุตฺต" แสงสว่างแห่งดวงจิตได้รู้สิ้นสุด
    ด้วยสังขาร เป็นพื้นฐานประดุจรากที่ฝังลึกนั้น เป็นพุทธ
    ฏีกาอันได้วิสัชนามาแล้วของพระผู้มีพระภาคด้วยธรรมกถา
    สู่ชนทั้งหลายทั้งหมดทั้งสิ้น
     
  3. Wisdom

    Wisdom ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,669
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +26,542
    พระไตรปิฏก เล่มที่ 10

    [๑๖๑]
    ครั้งนั้น พระเจ้าแผ่นดินมคธ พระนามว่า อชาตศัตรู เวเทหีบุตร
    ได้กระทำพระสถูปและการฉลองพระสรีระพระผู้มีพระภาค ในพระนครราชคฤห์
    พวกกษัตริย์ลิจฉวีเมืองเวสาลี ก็ได้กระทำพระสถูปและการฉลองพระสรีระพระผู้มี
    พระภาคในเมืองเวสาลี พวกกษัตริย์ศากยะเมืองกบิลพัสดุ์ ก็ได้กระทำพระสถูป
    และการฉลองพระสรีระพระผู้มีพระภาคในเมืองกบิลพัสดุ์ พวกกษัตริย์ถูลีเมือง
    อัลกัปปะ ก็ได้กระทำพระสถูปและการฉลองพระสรีระพระผู้มีพระภาคในเมือง
    อัลกัปปะ พวกกษัตริย์โกลิยะเมืองรามคาม ก็ได้กระทำพระสถูปและการฉลอง
    พระสรีระพระผู้มีพระภาคในเมืองรามคาม พราหมณ์ผู้ครองเมืองเวฏฐทีปกะ ก็ได้
    กระทำพระสถูป และการฉลองพระสรีระพระผู้มีพระภาคในเมืองเวฏฐทีปกะ พวก
    เจ้ามัลละเมืองปาวา ก็ได้กระทำพระสถูปและการฉลองพระสรีระพระผู้มีพระภาค
    ในเมืองปาวา พวกเจ้ามัลละเมืองกุสินารา ก็ได้กระทำพระสถูปและการฉลอง
    พระสรีระพระผู้มีพระภาคในเมืองกุสินารา โทณพราหมณ์ ก็ได้กระทำสถูปและ
    การฉลองตุมพะ พวกกษัตริย์โมริยะเมืองปิปผลิวัน ก็ได้กระทำพระสถูปและการ
    ฉลองพระอังคารในเมืองปิปผลิวัน ฯ
    พระสถูปบรรจุพระสรีระมีแปดแห่ง เป็นเก้าแห่งทั้งสถูปบรรจุตุมพะ
    เป็นสิบแห่งทั้งพระสถูปบรรจุพระอังคาร ด้วยประการฉะนี้ การแจกพระธาตุ และ
    การก่อพระสถูปเช่นนี้ เป็นแบบอย่างมาแล้ว ฯ

    --------------------------------------------------------------------------
    เล่มที่ 26
    ( เล่มนี้ จะเป็นเรื่องราวที่ พระโมคคัลลานะ ออกไป “ สัมภาษณ์ “ เทวบุตร และ เทพธิดา
    ที่อยู่ตามวิมานต่างๆ แล้วถามว่าเหตุอันใด ท่านเหล่านั้นจึงได้มาเสวยสุขอยู่ตามวิมาน
    เหล่านั้น ทุกท่านก็ตอบคำถามว่าได้ทำความดีมาต่างๆ สุดท้ายได้ทำการบูชาพระบรมธาตุ
    ด้วยศรัทธาอันยิ่ง และได้มาจุติในสวรรค์ )

    ๕. คุตติลวิมาน
    ......... ไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะ บุญกรรมนั้น.พระมหาโมคคัลลานเถระ
    ถามว่า ดูกรแม่เทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มีรัศมีสว่างไสว
    ไปทั่วทุกทิศสถิตอยู่เหมือนดาวประกายพฤกษ์ เพราะบุญกรรม
    อะไร ท่านจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่ว
    ทุกทิศ เพราะบุญกรรมอะไร? นางเทพธิดานั้น อันพระ
    โมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลื้มใจ ได้ พยากรณ์ปัญหาแห่ง
    ผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่าดิฉันได้นำของหอม ๕ อย่าง ไปประพรมที่
    องค์พระสถูปทองคำ สำหรับบรรจุพระบรมธาตุ ของพระกัสสป
    สัมมาสัมพุทธเจ้า นิมนต์พระคุณเจ้า ดูวิมานของดิฉันนี้เถิด ยิ่ง
    กว่านั้น ดิฉันยังเป็นนางฟ้าที่มีรูปร่างและ ผิวพรรณน่ารัก ทั้งยัง
    เป็นผู้เลิศกว่านางอัปสรตั้งพันนางอีกด้วย นิมนต์พระคุณเจ้าดูผล
    แห่งบุญคือการถวายของหอม ๕ อย่างนั้นเถิด เพราะบุญกรรม
    นั้น ดิฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่ว
    ทุกทิศ เพราะบุญกรรมนั้น.

    ๗. เสสวดีวิมาน
    .......... พระคุณเจ้าขา ดิฉันได้วิมาน เหตุนี้ด้วยเหตุผลอันใด ดิฉัน
    จะเล่าเหตุผลอันนั้นถวายพระคุณเจ้า นิมนต์ฟังเถิด คือ มีหมู่บ้าน
    หมู่หนึ่งชื่อนาฬกคาม ตั้งอยู่ทางทิศ ตะวันออกของพระนคร
    ราชคฤห์ ดิฉันเป็นบุตรสะใภ้ประจำตระกูลของบ้านนั้นอันตั้งอยู่
    ภายในบุรี ชุมนุมในหมู่บ้านนั้นเรียกดิฉันว่า เสสวดี ดิฉันมีใจชื่น
    บาน ได้ก่อสร้างกุศลกรรมไว้ในชาตินั้น คือได้บูชาพระธาตุ พระ
    ธรรมเสนาบดี นามว่า อุปติสสะ ซึ่งเป็นที่บูชาของทวยเทพและ
    มนุษย์ทั้งหลายผู้มากไปด้วยคุณความดีมีศีลเป็นต้น หาประมาณ
    มิได้ ซึ่งนิพพานไปแล้ว ด้วยเครื่องสักการะหลาย อย่าง ล้วนแต่
    รัตนะและดอกคำ ก็แหละครั้นบูชาพระธาตุของพระผู้แสวงหา
    ซึ่งคุณอย่างยอดยิ่ง ผู้ถึงอนุปทิเสสนิพพานธาตุแล้ว ซึ่งในที่สุดยัง
    เหลืออยู่แต่พระธาตุเท่านั้น ครั้นดิฉันละกายมนุษย์นั้นแล้วจึงได้
    มาเกิดในดาวดึงส์สวรรค์ชั้นไตรทศ อยู่ประจำวิมานในเทวโลก.

    ๙. วิสาลักขิวิมาน
    ............ เป็นอุบาสิกาของพระสมณโคดมผู้มีพระจักษุ ผู้เรืองยศ บิดา
    ของหม่อมฉันใช้ให้หม่อมฉันนำดอกไม้มาทุกๆ วัน หม่อมฉันได้
    บูชาที่สถูปอันเป็นที่บรรจุพระบรมธาตุ ของพระผู้มีพระภาคทุกๆ
    วัน ในวันอุโบสถหม่อมฉันมีใจผ่องใส ได้ถือเอาพวงมาลัย ของ
    หอมและเครื่องลูบไล้ ไปบูชาพระสถูปของพระผู้มีพระภาคนั้น
    ด้วยมือของตน ข้าแต่พระองค์ผู้จอมเทพ รูปอันสวยงาม คติ ฤทธิ์
    และอนุภาพเช่นนี้ เกิดมีแก่ หม่อมฉันเพราะกรรมนั้น มิใช่ว่าผล
    ที่หม่อมฉันได้บูชาพระสถูปด้วย พวงมาลัย และที่หม่อมฉันได้
    รักษาศีล จะให้ผลเท่านั้นก็หามิได้ ยังกลับ ให้หม่อมฉันพึงได้
    สกทาคามี ตามความปรารถนาของหม่อมฉันอีกด้วย.

    อเนกวัณณวิมาน
    ...... ถูกถามนั้นว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เมื่อก่อนข้าพเจ้าเป็นสาวกของ
    พระชินเจ้าทรงพระนามว่าสุเมธ เป็นปุถุชนยังไม่ได้ตรัสรู้มรรค
    ผล บวชอยู่ ๗ พรรษา เมื่อพระศาสดาทรงพระนามว่าสุเมธผู้ชนะ
    มาร มีโอฆะอันข้ามได้แล้ว ผู้คงที่ ปรินิพพานแล้ว ข้าพเจ้านั้นได้
    ไหว้รัตนเจดีย์อันหุ้มด้วยข่ายทองคำ ยังใจให้เลื่อมใสในพระ
    สถูปนั้นข้าพเจ้าไม่มีการให้ทาน เพราะข้าพเจ้าไม่มีไทยวัตถุให้
    แต่ได้ชักชวนชน เหล่าอื่นในการให้ทานนั้นว่า ท่านทั้งหลายจง
    บูชาพระธาตุของพระพุทธเจ้าผู้ควรบูชาเถิด ได้ยินว่าพวกท่านจัก
    ไปสู่สวรรค์ เพราะการบูชาพระบรมธาตุอย่างนี้ กุศลกรรมเท่า
    นั้นอันข้าพเจ้าได้กระทำแล้ว ข้าพเจ้า จึงได้เสวยสุขอันเป็นทิพย์
    ด้วยตนเอง บันเทิงใจอยู่ในท่ามกลางหมู่เทพเจ้าชาวไตรทศ
    ข้าพเจ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งบุญนั้น.

    [๔๗]
    ดูกรนางเทพธิดาผู้เจริญ ผู้นุ่งห่มผ้าล้วนแล้วด้วยสี
    เหลือง มีธงก็เหลือง ตกแต่งด้วยเครื่องอลังการเหลือง มีกายอัน
    ลูบไล้ด้วยจุณจันทน์เหลืองทัดทรงดอกบัวหลวง มีปราสาทอัน
    แล้วด้วยทองคำ มีที่นอนและที่นั่งสีเหลือง ทั้งภาชนะที่รองรับ
    ขาทนียะและโภชนียะสีเหลือง มีฉัตรสีเหลือง รถสีเหลือง มีม้า
    และพัดล้วนแล้วสีเหลือง เมื่อชาติก่อนท่านเป็นมนุษย์ได้กระทำ
    บุญอะไรไว้ ฉันถามท่านแล้วขอท่านจงบอก นี้เป็นผลแห่งกรรม
    อะไรนางเทพธิดาตอบว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้น้อม
    นำเอาดอกบวบขมซึ่งมีรสขมไม่มีใครชอบ จำนวน ๔ ดอก ไป
    บูชาพระสถูปตั้งจิตอุทิศต่อพระบรมธาตุของพระบรมศาสดา
    ด้วยจิตอันเลื่อมใสกำลังส่งใจไปในพระบรมธาตุ ของพระศาสดา
    นั้น ไม่ทันได้พิจารณาถึงหนทางที่มาแห่งแม่โค ทันใดนั้น แม่โค
    ได้ขวิดหม่อมฉันผู้มีความปรารถนาแห่งใจยังไม่ถึงพระสถูป ถ้า
    หม่อมฉันได้สั่งสมบุญนั้นไซร้ หม่อมฉันพึงได้ทิพยสมบัติยิ่งกว่า
    นี้เป็นแน่ ข้าแต่ท้าวมัฆวานจอมเทพผู้เทพกุญชร เพราะบุญกรรม
    นั้น หม่อมฉันละอัตภาพมนุษย์แล้ว จึงได้มาอภิรมย์อยู่กับพระ
    องค์ท้าวมัฆวานผู้เป็นอธิบดีแห่งทศเทพผู้ทรงเทพกุญชร ได้ทรง
    สดับเนื้อความนี้แล้ว เมื่อจะทรงยังทวยเทพเจ้าชาวดาวดึงส์
    สวรรค์ให้เลื่อมใส ได้ ตรัสกะมาตลีเทพบุตรว่า ดูกรมาตลี จงดู
    ผลแห่งกรรมอันวิจิตรน่าอัศจรรย์นี้ ทานวัตถุแม้มีประมาณน้อย
    อันนางเทพธิดานี้ทำแล้ว ย่อมเป็นบุญมีผล มาก เมื่อจิตเลื่อมใส
    ในพระตถาคตสัมพุทธเจ้า ในพระปัจเจกพุทธเจ้า หรือในสาวก
    ของพระตถาคต ทักษิณา ย่อมไม่เชื่อว่ามีผลน้อยเลย มา เถิดมาต
    ลี แม้เราทั้งหลายพึงรีบเร่งบูชาพระบรมสารีริกธาตุของพระตถา
    คตให้ยิ่งๆ ขึ้นเถิด เพราะการสั่งสมบุญย่อมนำสุขมาให้ เมื่อพระ
    ตถาคต จะยังทรงพระชนม์อยู่ หรือเสด็จปรินิพพานไปแล้วก็ตาม
    เมื่อจิตสม่ำเสมอผลก็ย่อมสม่ำเสมอ เพราะเหตุที่ตั้งจิตไว้ชอบ
    ธรรม สัตว์ทั้งหลายย่อมไปสู่สุคติ ทายกทั้งหลายได้กระทำ
    สักการะบูชาในพระตถาคตเหล่าใด ไว้แล้ว ย่อมไปสู่สวรรค์
    พระตถาคตเหล่านั้นย่อมเสด็จอุบัติขึ้น เพื่อประโยชน์แก่ชนเป็น
    อันมากหนอ.
    จบ ปีตวิมานที่ ๙.

    จูฬรถวิมาน
    ............ อาตมภาพขอ
    ถามท่านผู้มียศ ผู้ฉลาด รถอันยิ่งใหญ่นี้ ท่านได้ มาอย่างไร?สุชาต
    เทพบุตรตอบว่าข้าแต่ท่านผู้เจริญ ชาติก่อน ข้าพเจ้าเป็นราชบุตร
    นามว่า สุชาตกุมารพระคุณเจ้าอนุเคราะห์สั่งสอนข้าพเจ้าให้ตั้ง
    อยู่ในความสำรวม และ พระคุณเจ้ารู้ว่าข้าพเจ้าจะสิ้นอายุได้ให้
    พระบรมสารีริกธาตุแก่ข้าพเจ้า โดยกล่าวว่า ดูกรสุชาตราชกุมาร
    ท่านจงบูชาพระบรมสารีริกธาตุนี้เถิด พระบรมสารีริกธาตุนี้ จัก
    เป็นประโยชน์แก่ท่าน ข้าพเจ้าได้บูชาพระบรม สารีริกธาตุนั้น
    ด้วยของหอมและพวงมาลัย ขวนขวายในการทำบุญให้ทาน ละ
    ร่างมนุษย์นั้นแล้ว ได้ไปบังเกิดในสวนนันทวัน เดี๋ยวนี้ ข้าพเจ้ามี
    หมู่นางเทพอัปสรฟ้อนรำ ขับร้องห้อมล้อม รื่นเริงอยู่ในสวน นั
    นทวันอันประเสริฐ น่ารื่นรมย์ เกลื่อนกล่นไปด้วยหมู่สกุณชาติ
    นานาชนิด.

    --------------------------------------------------------------------------
    เล่มที่ 33 ตอนที่ 1
    มหาปชาบดีโคตมีเถริยาปทานที่ ๗

    หาได้เป็นเช่นนี้ไม่ การปรินิพพานของพระโคตมีเถรีเจ้า อัศจรรย์
    ยิ่งนัก ในเวลาพระพุทธเจ้าเสด็จนิพพานไม่มีพระพุทธเจ้าและภิกษุ
    ทั้งหลายมีพระสารีบุตรเป็นต้น เหมือนในเวลาพระโคตมีเถรีเจ้า
    นิพพาน ซึ่งมีพระพุทธเจ้าและภิกษุทั้งหลายมีพระสารีบุตรเป็นต้น
    ชนทั้งหลายช่วยกันทำจิตกาธารซึ่งสำเร็จด้วยของหอมล้วน และ
    เกลื่อนไปด้วยจุรณแห่งเครื่องหอม แล้วเผาพระภิกษุณีเหล่านั้นบน
    จิตกาธารนั้น ส่วนที่เหลือนอกจากอัฐิถูกไฟไหม้สิ้น ก็ในเวลานั้น
    ท่านพระอานนท์ได้กล่าววาจาอันให้เกิดความสังเวชว่า พระโคตมี
    เถรีเจ้าเข้านิพพานแล้ว พระสรีระของพระนางก็ถูกเผาแล้ว การ
    นิพพานของพระพุทธเจ้าน่าสังเกต อีกไม่นานก็คงจักมี ต่อจากนั้น
    ท่านพระอานนท์อันพระพุทธเจ้าทรงตักเตือน ท่านได้น้อมพระธาตุ
    ของพระโคตมีเถรีเจ้า ซึ่งอยู่ในบาตรของพระนาง เข้ามาถวายแด่
    พระโลกนาถ พระผู้มีพระภาคผู้สูงสุดกว่าฤาษี ได้ทรงประคองพระ
    ธาตุเหล่านั้นด้วยฝ่าพระหัตถ์แล้วตรัสว่า เพราะสังขารเป็นสภาพไม่
    เที่ยง พระโคตมีผู้เป็นใหญ่กว่าหมู่พระภิกษุณีจึงต้องนิพพาน เช่น
    เดียวกับลำตัวของต้นไม้ใหญ่ที่มีแก่นตั้งอยู่ถึงจะใหญ่โตก็ต้องพินาศ
    ฉะนั้น ดูเถอะอานนท์ เมื่อพระพุทธมารดาแม้นิพพานแล้วเพียงแต่
    สรีระก็ยังไม่เหลือ ไม่น่าเศร้าโศกปริเทวนาการไปเลย คนอื่นๆ ไม่
    ไม่ควรเศร้าโศกถึงพระนางผู้ข้ามสาครคือสงสารไปแล้ว ละเว้นเหตุ
    อันทำให้เดือดร้อนเสียได้ เป็นผู้เยือกเย็นดับสนิทดีแล้ว พระนาง
    เป็นบัณฑิต มีปัญญามาก และมีปัญญากว้างขวาง ทั้งเป็นผู้รู้ราตรี
    นานกว่าภิกษุณีทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย จงรู้ไว้อย่างนี้เถิด พระ
    โคตมีเถรีเจ้า เป็นผู้ชำนาญในฤทธิ์ทิพโสตธาตุ และมีความชำนาญ
    ในเจโตปริยญาณรู้ทั่วถึง ปุพเพนิวาสญาณ ชำระทิพจักษุให้หมด
    จด อาสวะทั้งสิ้นของพระนางหมดสิ้นไปแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก
    พระนางมีญาณอันบริสุทธิ์ ในอรรถะ ธรรมะ นิรุติและปฏิภาณ
    เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรจะเศร้าโศกถึงพระนาง คติของไฟที่ลุกโพลง
    ถูกแผ่นเหล็กทับแล้วดับไปโดยลำดับ ใครๆ ก็รู้ไม่ได้ ฉันใด
    บุคคลผู้ที่หลุดพ้นจากกิเลสด้วยดีแล้ว ข้ามพ้นโอฆะคือกามพันธุ์
    บรรลุอจลบทแล้ว ก็ฉันนั้น ย่อมไม่มีคติใครๆ จะรู้ได้ เพราะฉะนั้น
    ท่านทั้งหลายจงมีตนเป็นที่พึ่ง มีสติปัฏฐานเป็นโคจรเถิดท่าน
    ทั้งหลายอบรมโพชฌงค์ ๗ ประการแล้ว จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
    ทราบว่า ท่านพระมหาปชาบดีโคตมีภิกษุณีได้ตรัสคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.

    --------------------------------------------------------------------------
    เล่มที่ 33 ตอนที่ 2

    ธาตุภาชนียกถา
    ว่าด้วยการแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ
    [๒๘] พระมหาโคดมชินเจ้าผู้ประเสริฐ เสด็จนิพพานที่นครกุสินารา
    พระธาตุของพระองค์ เรี่ยรายแผ่ไปในประเทศนั้นๆ พระธาตุ
    ทะนานหนึ่ง พระเจ้าอชาตศัตรูทรงนำไปไว้ในพระนครราชคฤห์
    ทะนานหนึ่งอยู่ในเมืองเวสาสี ทะนานหนึ่งอยู่ในนครกบิลพัสดุ์
    ทะนานหนึ่งอยู่ในอัลลากัปปนคร ทะนานหนึ่งอยู่ในรามคาบ
    ทะนานหนึ่งอยู่ในเวฏฐาทีปกนคร ทะนานหนึ่งอยู่ในเมืองปาวาของ
    มัลลกษัตริย์ ทะนานหนึ่งอยู่ในเมืองกุสินารา โทณพราหมณ์ให้ช่าง
    สร้างสถูป บรรลุทะนานทอง กษัตริย์โมริยะผู้มีหทัยยินดี รับสั่งให้
    สร้างสถูปบรรจุพระอังคาร พระสถูปบรรจุพระสารีริกธาตุ ๘ แห่ง
    เป็น ๙ แห่ง ทั้งตุมพเจดีย์ รวมพระอังคารสถูปด้วยเป็น ๑๐ แห่ง
    ประดิษฐานอยู่แล้วในกาลนั้น พระทาฐธาตุข้างหนึ่งอยู่ในดาวดึงส
    พิภพ ข้างหนึ่งอยู่ในนาคบุรี ข้างหนึ่งอยู่ในเมืองคันธารวิสัย ข้าง
    หนึ่งอยู่ในเมืองกาลิงคราช พระทันตธาตุ ๔๐ พระเกศธาตุและพระ
    โลมาทั้งหมด เทวดานำไปไว้ในจักรวาลหนึ่งๆ จักรวาลละอย่าง
    บาตรไม้เท้าและจีวรของพระผู้มีพระภาค อยู่ในวชิรานครสงบอยู่ใน
    กุลฆรนคร ผ้าปัจจัตถรณะอยู่ในสีหฬ ธมกรกและประคตเอว อยู่
    ในนครปาฏลิบุตร ผ้าอาบน้ำอยู่ในจำปานคร อุณณาโลมอยู่ใน
    แคว้นโกศล ผ้ากาสาวพัสตร์อยู่ในพรหมโลก ผ้าโพกอยู่ในดาวดึงส์
    (รอยพระบาทอันประเสริฐที่หิน เหมือนมีอยู่ที่กัจฉตบุรี) ผ้านิสีทนะ
    อยู่ในอวันตีชนบท ผ้าลาดอยู่ในดาวดึงส์ ไม้สีไฟอยู่ในมิถิลานคร
    ผ้ากรองน้ำอยู่ในวิเทหรัฐ มีดและกล่องเข็มอยู่ในอินทปัตถนคร ใน
    กาลนั้น บริขารที่เหลือ อยู่ในชนบท ๓ แห่งในกาลนั้น หมู่
    มนุษย์ในกาลนั้นจักบูชาบริขารที่พระมุนีทรงบริโภคพระธาตุของ
    พระโคดมผู้แสวงหาคุณอันใหญ่หลวง กระจายแผ่กว้างไป เพื่อ
    อนุเคราะห์แก่สัตว์ทั้งหลายเป็นของเก่าในกาลนั้น ฉะนี้แล.

    ==========================================
    นอกจากนี้ยังมีอยู่อีกที่

    เล่มที่ 32
    อุปวาณเถราปทานที่ ๒ (๒๒)
    ปัจจุปัฏฐานสัญญกเถราปทานที่ ๙ (๑๑๙)
    ธาตุปูชกเถราปทานที่ ๗ (๒๔๗)

    เล่มที่ 33 ตอนที่ 1
    ธาตุปูชกเถราปทานที่ ๖
    อภิรูปนันทาเถริยาปทานที่ ๖

    เล่มที่ 33 ตอนที่ 2
    เรวตพุทธวงศ์ที่ ๕
     
  4. Wisdom

    Wisdom ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,669
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +26,542
    มัลลกษัตริย์ทั้งหลายจึงถามว่า บัดนี้พระมหา
    พระมหากัสสปเถระไปอยู่ ณ ที่แห่งใดเล่า ?


    ดูกรบพิตร พระมหากัสสปจะมาในวันนี้

    ในสมัยนั้นพระมหากัสสปเถรเจ้า สถิตอยู่ในพนสณฑ์
    ประเทศใกล้เมืองปาวานคร กับด้วยพระภิกษุสงฆ์บริวาร
    ๕๐๐ รูป ครั้นเวลารุ่งเช้าจึงเข้าไปบิณฑบาตภายในเมือง
    แล้วกลับออกมากระทำภัตตกิจมีดำริว่าจะไปสู่เมืองกุสินา
    รา จึงพาพระสงฆ์บริวารทั้งหลายบทจรมาโดยมรรคาอันไกล
    พอมัชณันติกสมัยแสงอาทิตย์ร้อนกล้า จึงจินตนาการว่าหน
    ทางที่จะไปก็ไม่ไกลนัก จะหยุดพักเสียสักหน่อย ให้ระงับ
    ซึ่งความกระวนกระวาย ต่อสายัณห์จึงไปให้ถึงเมืองกุสินา
    รา เพื่อเข้าเฝ้าพระสัพพัญญู จึงพาหมู่สงฆืบริษัทหลีก
    ออกจากมรรคา เข้าหยุดนั่งยังรุกขมูลแห่งหนึ่ง

    ในขณะนั้นยังมีอาชีวกผู้หนึ่งถือดอกมณฑาบุปผาชาติมา
    แต่เมืองกุสินารา เอาไม้เสียบเข้าเป็นต้นกั้นมาต่างร่มเดิน
    สวนทางมาพระมหากัสสปะเห็นดังนั้นจึงดำริว่า ดอกมณฑา
    ปรากฎอยู่ในมือของอาชีวกผู้นี้แท้จริงอันว่ามณฑาบุปผา
    ชาติ จะมีอยู่ในมนุษย์โลกเป็นนิจกาลนั้นหามิได้ต่อเมื่อ
    ใดพระสัพพัญญูโพธิสัตว์เสด็จมาสู่พระครรภ์พระมารดา และ
    กาลประสูติและกาลออกมหาภิเนษกรณ์ (การเสด็จออกบรรพชา
    ของพระพุทธเจ้า) และอภิสัมโพธิกาล (การตรัสรู้เป็นพระพุทธ
    เจ้า) และกาลเทศนาพระธรรมจักร และกาลกระทำยมกปาฎิหารย์
    และกาลเสด็จลงจากเทวโลก และกาลกำหนดปลงสังขารพระชนมา
    ยุ จึงบันดาลตกลงมาแต่สุราลัยเทวโลก และกาลบัดนี้ไฉนจึง
    มีดอกมณฑาปรากฎ ดังอาตมาปริวิตกด้วยพระสุคตะก็ทรงพระ
    ชราหรือองค์พระศาสดาเข้าสู่ปรินิพพานประการใด ควรที่อาต
    มาจะไต่ถามอาชีวกให้ทราบเหตุ

    ครั้นจะทักถามไปก็จะไม่เป็นคารวะพระบรมครูผู้เป็นเจ้า
    ดำริฉะนี้แล้วจึงอุฎฐาการ (ลุกขึ้น) จากอาสน์ คลุมซึ่งผ้า
    บังสุกุลจีวรมีสีคล้ำดังสีเมฆ ดำเนินออกไปใกล้มรรคาบ่าย
    หน้าเฉพาะอาชีวกยอกรอัญชุลีเหนือพระเศียรเกล้าด้วยความ
    เคารพในพระศาสดา จึงถามดูราอาวุโสท่านยังรู้ข่าวพระบรม
    แห่งครูเรา ประการใดบ้าง

    อาชีวกจึงบอกว่า พระมหาสมนโคดมปรินิพพานเสียแล้วล่วง
    ได้ ๗ วันกับทั้งวันนี้ เราได้ดอกมณฑานี้ถือมาแต่เมือง
    กุสินาราเป็นสำคัญ

    ( อาชีวก : คือนักบวชนิกายหนึ่งนอกพระพุทธศาสนาในครั้ง
    พุทธกาล )

    ในกาลนั้น พระภิกษุทั้งหลายที่เป็นปุถุชน ได้ฟังคำอา
    ชีวกก็ตกใจ มีหฤทัยกัมปนาทล้มลงกลิ้งเกลือก พิลาปร่ำ
    ปริเวทนาการ

    โอ้ว่าพระศาสดามาปรินิพพานอันว่าประทีปแก้วส่องโลก
    บัดนี้ดับสูญสิ้นแล้ว ต่างยกหัตถ์ขึ้นเหนือเศียรเกล้า
    แล้วร้องขึ้นด้วยสำเนียงอันดัง พระภิกษุทั้งหลายที่เป็นขี
    ณาสพก็ยังธรรมสังเวชให้บังเกิดในสันดาน

    ฝ่ายพระมหากัสสปเถรเจ้าก็กล่าวเล้าโลมด้วยพระธรรมกถา
    อนิจจาตาปฎิสังยุตต์ ระงับเสียซึ่งความเศร้าโศกแห่งพระ
    สงฆ์ทั้งปวง แล้วก็พาบริวารให้รีบไปสู่มกุฎพันธนเจดีย์
    ใกล้เมืองกุสินาราก็เข้าไปสู่ที่ใกล้พระเชิงตะกอนกระทำจี
    วรบังเฉียงพระอังสาเบื้องซ้ายถวายอัญชุลีเหนือเศียรเกล้า
    ประทักษิณเวียนพระเชิงตะกอนสิ้นวาระ ๓ รอบแล้วเข้าไปสู่
    ทิศเบื้องพระบาท ถวายอภิวาทแล้วกราบทูลว่า

    ข้าแต่พระบรมครู ข้าพระพุทธเจ้าผู้ชื่อว่ามหากัสสปะ
    เป็นสาวกแห่งพระพุทธองค์ ทรงตั้งไว้ในที่อันเลิศฝ่ายธุดงค
    ปฎิบัติในกาลก่อนพระพุทธองค์ทรงพระกรุณาอุตส่าห์เสด็จ
    พระพุทธดำเนินล่วงมรรคถึง ๓ คาพยุต (มาตราวัดทางในสมัย
    โบราณของอินเดีย) ไปกระทำปัจจุคมนาการแก่ข้าพระบาท
    โปรดประทานพระสัทธรรมเทศนา และให้บรรพชาอุปสมบทบวชข้า
    พระพุทธเจ้า ณ พหุปุตตานิโครธรุกขมูลแล้วโปรดเปลี่ยนประ
    ทานซึ่งมหาบังสุกุลจีวร ซึ่งทรงชักมาแต่อสุภนางปุณณทา
    สีอันอาจสามารถยังพื้นพระธรณีให้หวั้นไหวถึงเนาวาร เป็น
    อสุภอสาธารณะบริโภคทั่วไปแก่สาวกทั้งปวง ได้ร่วมพระ
    พุทธบริโภคเฉพาะแต่ข้ากัสสปะผู้เดียวนี้

    ประการหนึ่ง ผิว่าข้ากัสสปะมีความเสน่หาในพระ
    ศาสดาเป็นสัตย์ขอให้พระบาทยุคลอันประดับด้วย
    จักรรัตนลักษณะ จงออกจากพระหีบทองรับซึ่งหัตถ์
    ทั้งสองแห่งข้ากัสสปะ อันประนมนอบนบอภิวันทนา
    การ ในกาลบัดนี้

    ขณะนั้น อันว่าพระสรีระแห่งพระชินสีห์อัน
    เสด็จเข้าสู่พระปรินิพพานปานประหนึ่งว่าจะแสดงอา
    การดุจยังทรมานพระชนม์ด้วยสาสารถกรุณาแก่พระ
    มหากัสสปเถราจารย์ ก็ยังพระบาททั้งคู่ให้ภินทนา
    การซึ่งผ้าทุกูลพัสต์อันห่อหุ้มพระสรีระกายทั้ง
    ห้าร้อยชั้น กับทั้งสุวรรรมัญชุสะภาชนะพระหีบ
    ทองคำออกเป็นสองภาคออกปรากฎ ณ ภายนอก
    ครุวนาดั่งดวงนิสากรบุรณมณฑล เห็นเป็นอัศจรรย์
    พร้อมกันในลำดับแห่งอธิษฐานสัตยกถาแห่งพระมหา
    กัสสปเถระ ก็เหยียดออกซึ่งพระหัตถ์ยุคล ครุวนา
    ดุจรัตนปทุมาวิกสิตชาติ เข้ารองรับพระพุทธบาท
    ทั้งสองอันมีพรรรดั่งทองธรรมชาติชมภูนุทประดุจ
    บุรณจันทรยมกยกข้อพระบาททั้งคู่เชิดชูขึ้นเช็ด
    เศียรเกล้าแห่งตนแล้วกราบทูลว่า

    ข้าแต่พระบรมครู ตั้งแต่ข้าพระพุทธเจ้าตั้งอยู่
    ในอริยภูมิตราบใด ก็มิได้รู้กระทำซึ่งความผิดแต่
    มากฤาน้อยในพระศาสดาจารย์ในกาลตราบนั้นประการ
    หนึ่งซึ่งข้าพระบาทจักล่วงเสียจากพุทโธวาทก็มิได้
    มีย่อมปฎิบัติตามธรรมานุศาสตร์ พระชินสีห์ทุก
    สิ่งทุกประการ อนึ่งมีพระพุทธบรรหารแก่ข้าพระ
    องค์ว่า กัสสปะชราแล้ว ท่านทรงซึ่งบังสุกุลจีวร
    เนื้อหนาพานจะหนัก จะทรงซึ่งคหบดีจีวรอันทายะกะ
    นิมนต์ไปถวายบ้างก็ตามแต่อัธยาศัยจงอยู่ในสำนัก
    ตถาคต ทรงพระกรุณาถึงเพียงนี้ ข้าพระองค์
    กัสสปะนี้ไม่ได้อยู่ปฎิบัติพระชินสีห์ไปสถิตยัง
    อรัญญิกเสนาสนะสถานสิ้นกาลโดยมาก และข้อนี้
    ซึ่งประมาทพลาดพลั้งเห้นปานฉะนี้ ขอพระภควันต
    มุนีจงทรงพระมหากรุณาโปรด อดโทษานุโทษแก่
    กัสสปะในกาลบัดนี้

    พระมหากัสสปเถระ กับพระสงฆืบริวารทั้ง ๕๐๐
    รูป และมหาชนทั้งหลายถวายนมัสการพระบาทยุคล
    พระชินสีห์โดยควรแก่ยถาสุขอัธยาศัยแต่จะได้กระ
    ทำอธิษฐานกิจไม่ให้พระบาทกลับคืนเข้าไปในพระหีบ
    ทองนั้นก็มิได้ มีพระบาททั้งสองแห่งพระชินสีห์ก็
    นิวัตต์จากพระหัตถ์พระมหากัสสปคืนเข้าพระหีบ
    ทองดังเก่า อันว่าคู่ผ้าทั้ง ๕๐๐ ชั้นซึ่งผูกพัน
    หุ้มห่อพระสรีระกายกับทั้งด้ายที่รัดรึงทุกๆชั้น
    และท่อนจันทน์ทั้งหลายอันเรียงรายลำดับภายนอก
    หีบนั้น ก็มิได้หวั่นไหวเคลื่อนคลาดที่ประดิษฐาน
    เป็นปกติดีดุจเดิมทั้งสิ้นเป็นอัศจรรย์

    ขณะนั้น อันว่าเสียงโศกสลดปริเวทนาการแห่ง
    เทพยดาและมนุษย์บรรษัท กัปวัตตนาโกลาหลนฤนาท
    ก็สนั่นดังยิ่งกว่าวันเมื่อเข้าสู่ปรินิพพานเตโช
    ธาตุก็บันดาลติดพระเชิงตะกอนขึ้นเอง ด้วยอา
    นุภาพแห่งเทพยดาณาปนการพระพุทธอสุภสรีรกาย
    กับทั้งคู่ผ้าที่หุ้มภายนอกผ้าทั้งนั้นอีกผืน
    หนึ่งบ่มิได้ไหม่เพลิง เพื่ออำนาจพระพุทธาธิษ
    ฐานกับทั้งพระเขี้ยวแก้วทั้ง ๔ และรากขวัญทั้ง ๒
    กับพระอุณหิสคือพระอัฐิเบื้องบนพระอุตตมังคศิ
    โรจน์พระธาตุทั้ง ๗ พระองค์นี้คงปรกติอยู่มิได้
    ภินทนาเรี่ยรายทั้งสิ้น มีสัณฐานสามอย่างต่างๆ
    กัน พระธาตุขนาดใหญ่นั้นมีประมาณขนาดเท่า
    เมล็ดถั่วแตก ที่ขนาดกลางนั้นมีประมาณเท่าเมล็ด
    ข้าวสารหัก ที่ขนาดน้อยนั้นมีประมาณเท่าเมล็ด
    พันธุ์ผักกาด

    แท้จริง อันว่าสรีรธาตุแห่งพระสัพพัญญูที่มี
    พระชนมายุยืนยาวนั้นมักบ่มิได้ภินทนาการเรี่ย
    ราย ปรากฎอยู่ทั้งแท่งประดุจแท่งทองธรรมชาติ
    แต่พระบรมโลกนาถแห่งเราทั้งหลายนี้ ทรงพระจินต
    นาการว่า ตถาคตจะทรมานชนมายุอยู่บ่มิได้ช้าก็
    จักปรินิพพาน และศาสนาของตถาคตก้จะแผ่ไพศาล
    ไปในนานาประเทศทั้งปวง

    เหตุดังนี้ จึงทรงอธิษฐานว่าเมื่อตถาคตปรินิพ
    พานแล้ว พระธาตุจงทำลายเรี่ยรายออกเป็น ๓
    สัณฐานมหาชนจะได้เชิญไปนมัสการ ก่อพระสถูปไว้
    ในนานาประเทศที่อยู่แห่งตน จะได้มีผลไปสู่สุคติ
    ภพ

    และเมื่อถวายพระเพลิงพระพุทธบรมศพสละไปแล้ว
    ได้เจ็ดวันท่ออุทกก็ตกลงมาแต่อากาศ ดับเพลิงให้
    อันตรธาน

    กษัตริย์มัลลราชทั้งหลายได้นำซึ่งหม้อเงิน
    หม้อทอง อันเต็มไปด้วยวารีสุคนธารมาโสรจสรง ณ
    ที่พระเชิงตะกอน แล้วก็เก็บพระบรมสารีริกธาตุ
    ทั้งหลายใส่ในสุวรรณโทนะคือพระหีบทองน้อยขนาด
    ทะนานตวงข้าว แล้วให้ตกแต่งซึ่งโรงสัณฐาคารใน
    ท่ามกลางพระนคร ประพรมพื้นด้วยจตุชาติสุคนธรส
    แล้วดาดเพดานในเบื้องบนห้อยย้อยด้วยพู่พวงบุป
    ผาชาติของหอม พวงเงินพวงทองมีประการต่างๆแล้ว
    ให้โปรยปรายในภาคพื้นด้วยจตุกุสุมชาติมีข้าวตอก
    เป็นคำรบ

    แล้วให้ตั้งไว้ซึ่งภาชนะเงินและทองรองด้วยดอกกุ
    มุทปทุมและนิลุบลบุณฑริก บุปผาชาติเรี่ยรายโดย
    รอบ ตามไว้ซึ่งเทียนและประทีบชวาลานานาเอกประ
    การ และลาดซึ่งเสื่อลำแพนตั้งแต่โรงราชสัณฐานคาร
    มาตราบเท่าถึงมกุฏพันธนเจดีย์ สองข้างทางวิถี
    นั้นก็ให้ตั้งราชวัติฉัตรธงชัยและจามรต่างๆ ปัก
    ต้นกล้วยต้นอ้อยและเรี่ยรายด้วยเสาวคนธบุปผา
    ชาติ เดียรดาษไปโดยลำดับมรรคา ให้อัญเชิญสุ
    วรรณโทณะอันใส่พระบรมธาตุขึ้นตั้งบนหลังอลงกต
    ไอยราคชาธาร กระทำบูชาสัมมานะสักการะด้วยประ
    ทีปธูปเทียน แล้วแห่เข้ามาสู่ภายในพระนครอัญ
    เชิญเข้าประดิษฐานเบื้องบนสัตตรัตนบัลลังก์ ภาย
    ใต้เศวตฉัตรในราชสัณฐาคารศาลานั้น

    แล้วกษัตริย์มัลลราชทั้งหลายจึงตรัสปรึกษากัน
    ว่า เราจะให้มีการมหรสพสมโภชบูชาพระบรมธาติถ้วน
    ๗ วัน บัดนี้เกรงเกลือกจะมีบุรุษผู้ใดผู้หนึ่งรู้
    ว่าเรามีความประมาทจะลอบเข้ามาลักพระบรมธาตุเรา
    จะไม่ให้โอกาสเล่นสาธุนักขัตฤกษ์ ควรจะจัดแจง
    ตั้งไว้ซึ่งขบวนจตุรงค์พยุหโยธาหาญให้ล้อมอภิ
    บาลพระสารีริกธาตุ เราจึงจะมีโอกาสเล่นาสาธุนัก
    ขัตฤกษ์บูชาโดยยถาสุขสำราญ จึงให้ตั้งไว้ซึ่งคชา
    พยุหโยธาหาญ ยืนเรี่ยรายกันล้อมอยู่ชั้นใน เป็น
    ขนัดเอนกนิการกุญชรพยุหยาตร และตระพองแห่งคชา
    ชาติทั้งหลายกระชั้นชิด ต่อเนื่องกันไปไม่มีระ
    หว่างภายนอกขนัดพลช้างก็วางไว้ซึ่งขนัดอัศวนิกร
    ออกไปถึงขนัดพลรถรอบรายจนท้ายและงอนจรดถึงกัน
    ทุกเล่ม เต็มเนื่องไปในชั้นอันเป็นคำรบ ถัดนั้น
    ขนัดพลบทจรโยธาหาญชำนาญสงครามกรกุมสรรพ
    ศัสตรานานาวิชาวุธยืนเนื่องกันไปจนพาหาและไหล่
    กระทบปะทะปราศจากระยะเว้นว่างห่างกัน ถัดจาก
    นั้นจึงจัดนายธนูทั้งหลาย ถือธนูยืนแวดล้อมต่าง
    ประการโดยรอบ

    และชั้นที่สุดท้ายนั้น ให้ปักไว้ซึ่งหอกราย
    เรียงเป็นรั้วกั้น มีระเบียบอันชิดเนื่องติดกันไป
    ให้พลทหารยืนประจำหอกอยู่ทุกๆ เล่มเป็นขนัดไป

    เมื่อจัดตุรงค์โยธาให้ล้อมวงพิทักษ์รักษาพระ
    บรมธาตุเสร็จแล้วก็กระทำการสักการบูชาด้วยประ
    ทีปธูปเทียนสุคนธบุปผาต่างๆ แล้วกระทำอุปหาร
    กรรม คือการสมโภชด้วยดุริยดนตรีและฟ้อนรำขับ
    ร้องเล่นสาธุกิฬาขัฤกษ์ถ้วน ๗ วัน

    เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลายกระทำการสักการบูชา
    พระบรมศพ ๗ วันจึงได้ถวายพระเพลิง พระเพลิงไหม้
    เชิงตะกอนอยู่ ๗ วันจึงดับแล้วเก็บพระบรมธาตุ
    เชิญเข้าสู่สัณฐาคารศาลา กระทำสักการบูชาสมโภช
    อยู่อีก ๗ วัน สิริรวมเป็น ๒๑ วันด้วยกันล่วงไป
     

แชร์หน้านี้

Loading...