พระนิพพาน จากคำครูอาจารย์

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 4 มกราคม 2007.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,175
    <TABLE bgColor=#ffcc66><TBODY><TR vAlign=top><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    สมเด็จพระญาณสังวร
    สมเด็จพระสังฆราช
    "พระพุทธเจ้าท่านเพียงไม่มีร่างเหลืออยู่เท่านั้น พระบารมีและคุณธรรมยังอยู่ ทรงเสด็จไปสอนด้วยพระพุทธบารมีได้"</CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    สมเด็จพระสังฆราช
    อริยวงศาคตญาณ (แพ ติสูรเทโว)
    "สัตว์โลกยังมีอวิชชาจะเข้าใจว่าขันธ์ ๕ เป็นอัตตา เว้นเมื่อเข้าถึงอสังขตธาตุได้ความบริสุทธ์เป็นนิพพาน จะเข้าใจว่าขันธ์ ๕ เป็นอนัตตาทันที แล้วจะเห็นว่าพระนิพพานเป็นอัตตา"</CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    หลวงปู่ทวด(เหยียบน้ำทะเลจืด)
    "วิปัสสนาคือให้พิจารณาในทุกสิ่งทุกอย่างว่าเป็นอนัตตา อนัตตาคือการเดินทางไปสู่โลกแห่งนิพพาน โลกเรานี้เป็นโลกแห่งอัตตา"</CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี
    "นิพพาน คือว่างจากกิเลส จิตวิญญาณของพระอรหันต์ไม่สูญ ที่วิญญาณสูญนั่นคือวิญญาณในขันธ์ ๕ เท่านั้น "</CENTER>
    </TD></TR><TR vAlign=top><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    พระเดชพระคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย ์ สิริจนฺโท จันทร์
    "พระนิพพานเป็นพระมหานครอันใหญ่เป็นที่บรมสุขหาที่เปรียบมิได้ อย่าเข้าใจว่าจะไปนิพพานด้วยกำลังกาย"</CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมหาเถระ
    "สรณะทั้ง ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มิได้เสื่อมสูญอันตรธานไปไหน ยังปรากฏอยู่แก่ผู้ปฏิบัติเข้าถึงอยู่เสมอ ผู้ใดยึดถือเป็นที่พึ่งของตนแล้ว ผู้นั้นจะอยู่ในกลางป่า หรือเรือนว่างก็ตาม สรณะทั้งสามก็ปรากฏแก่เราอยู่ทุกเมื่อ"</CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    ท่านเจ้าคุณธมฺมวิตกฺโก

    "ตายแล้วจิตยังติดต่อกันได้"
    </CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    หลวงพ่อเกษม เขมโก

    "พระพุทธเจ้าไม่ได้อยู่ในโลกนี้ ท่านอยู่นอกโลก"
    </CENTER>
    </TD></TR><TR vAlign=top><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    หลวงพ่อสด วัดปากน้ำภาษีเจริญ
    "ส่วนกายพระอรหัต ถ้าถึงพระอรหัตละก็ นิจจัง สุขัง อัตตาแท้ๆ กายธรรมมีขันธ์เหมือนกัน แต่เป็นธรรมขันธ์ ท่านไม่เรียกเบญจขันธ์ เป็นธรรมขันธ์เสีย มีธาตุเหมือนกัน เป็นวิราคธาตุ เป็นวิราคธรรมม"</CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    หลวงพ่อฤาษีลิงดำ
    "องค์สมเด็จพระบรมครูตรัสว่า ...โมกขราช เรากล่าวว่า นิพพานนั้นหมายถึงกิเลสดับ และขันธ์ ๕ ดับ... พระพุทธเจ้าไม่ได้บอกว่า จิตดับ"</CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    อดีตพระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสโส)
    " พระธรรมกาย ได้เแก่พระกายอันบริสุทธิ์ ไม่สาธารณะแก่เทวา และมนุษย์ หมายถึงจิตที่พ้นจากกิเลสแล้ว เป็นพระกายที่เที่ยงแท้ไม่สูญสลาย อินทรีย์ของพระอรหันต์ประณีตสุขุม แม้ตาทิพย์ของเทวดาก็มองไม่เห็น"</CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม
    "พระนิพพานมีอยู่ไม่เสื่อมสูญ พระพุทธเจ้าเข้าพระนิพพานก็มีอยู่ในพระนิพพานนั้นแล ถ้าเราเป็นพระอรหันต์ พระโสดาบันเมื่อไร เมื่อนั้นแหละจึงจะเห็นจะรู้ที่อยู่พระพุทธเจ้า ที่อยู่ของพระอรหันต์เจ้าทั้งหลาย"</CENTER>
    </TD></TR><TR vAlign=top><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    หลวงปู่บุดดา ถาวโร
    "นิพพานไม่สูญ เป็นแต่อาสวะกิเลสสูญ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรม วิบาก มันสูญ แต่ สังคตะธรรม อสังคะธรรม วิราคะธรรม มันไม่ได้หมดไปด้วย"</CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    หลวงปู่ดูลย์ อตโล

    "นิพพานเป็นของว่าง ไม่มีตัวมีตน หาที่ตั้งไม่มี หาที่เปรียบไม่ได้ ปฏิบัติไปจึงจะรู้เอง"</CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    หลวงปู่ขาว อนาลโย
    " อย่าไปยึดถือมัน ก็จิตนั่นแหละมันถือว่าตัวกู อยู่เดี๋ยวนี้ก็ดี เราถือว่าเราเป็นผู้ชาย เราเป็นผู้หญิง ก็แม่นจิตนั้นแหละ เป็นผู้ว่า มันไม่มีตนมีตัวดอก แล้วพระพุทธเจ้าว่าให้วางเสียให้ดับวิญญาณเสีย ครั้นดับวิญญาณแล้ว ไม่ไปก่อภพก่อชาติอีก ก็นั่นแหละพระนิพพาน"</CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
    "พระนิพพานอุปมาขนาดเท่าเส้นผม ผู้ที่จะผ่านพ้นในขั้นสุดท้ายไปได้หรอืไม่ได้อยู่เพียงนิดเดียวในการทำจิตตัดจุดนี้ได้หรือไม่เท่านั้น พระพุทธเจ้าตอนที่ท่านจะปรินิพพาน ท่านได้ปรินิพพานไประหว่างรูปฌานและอรูปฌาน เป็นการดับขันธ์ด้วยความบริสุทธิ์เหนือสมมติโดยสิ้นเชิง"</CENTER>
    </TD></TR><TR vAlign=top><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
    "ดวงจิตนี้ไม่เคยสูญ แดนพระนิพพานมีจริง หลวงปู่มั่นเล่าว่า พระพุทธเจ้าหลายพระองค์
    เสด็จมาเยี่ยมท่าน
    "
    </CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    หลวงปู่ชอบ ฐานสโม
    "นิพพานไม่ได้สูญ ไม่ได้อยู่ตามที่โลกคาดคะเนหรือเดากัน ทำจริงจะได้เห็นของจริง รู้จริง และจะเห็นนิพพานเอง เห็นพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เห็นครูบาอาจารย์ที่ท่านบริสุทธิ์เอง และหายสงสัยโดยประการทั้งปวง"</CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    พระเทพสิทธิมุนี
    (พระอาจารย์โชฎก ญาณสิทธิ)
    " พระอรหันต์มี ความว่างจากตัวตน-ของตน โดยสิ้นเชิง มีอิสระเหนือทุกอย่าง ที่เรียกว่า "ว่าง" นี้ คือไม่ใช่ว่างชนิดที่เขาพูดกันว่า เช่นว่า จิตนึกคิดอะไรไม่ได้ กายก็แข็งทื่อเป็นท่อนไม้ แต่ที่ถูกนั้น เป็นความว่างจากกิเลส ว่างที่เฉลียวฉลาดที่สุด"</CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    หลวงปู่อ่ำ พระราชกวี (อ่ำ ธมฺมทตฺโต)
    "พระพุทธกัสสป เมื่อดับขันธ์ปรินิพพาน เข้าเมืองแสงใส ซึ่งก็คือเมืองแก้วแสงใส ชื่อไทยนี้ คนไทยคงเรียก นิพพาน มานานแล้ว ปราชญ์บัณฑิตโบราณาจารย์จึงกล่าวเสมอๆ เช่น ถึงเมืองแก้ว อันกล่าวแล้ว คือ อมตมหานครนฤพาน ดังใน มหาเวสสันดรเทศนา กุมารกัณฑ์"</CENTER>
    </TD></TR><TR vAlign=top><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    พระครูพัฒนกิจจานุรักษ์
    (หลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา)
    " นิพพานเป็นแดนแห่งความมั่นเที่ยง นิพพานแล้วเป็นสุข นิพพานมีสาระเป็นแก่นสาร นิพพานมีความเป็นสุขอย่างยิ่ง พระนิพพานไม่ใช่อัตตา พระนิพพานเป็นปัจจัตตัง"</CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
    "จิตวิญญาณมันไม่ใช่ของแตกของทำลาย แลไม่ใช่ของสูญหาย พระพุทธเจ้าสอนให้จิตมันเที่ยง เหมือนพระนิพพานเป็นของเที่ยง ไม่แปรผัน ยักย้าย สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็ฯทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ "</CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต
    " สูญในพระนิพพานมีขอบเขต สูญจากกิเลสเท่านั้น รสของพระนิพพานมีอยู่ พระนิพพาน ไม่เกิดไม่ดับไปไหน เป็นอนัตตาธรรม เราจะเอาพระนิพพานมาเป็นอนัตตา เหมือนขันธ์ ๕ และกิเลสทั้งหลายมันก็ไม่ถูก เรียกว่าแยกอนัตตาธรรมไม่ถูก"</CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    หลวงปู่ลี ธมมฺโร วัดอโศการาม
    " โลกนิพพาน ไม่มีทั้งเกิด ไม่มีทั้งตาย กายเป็นของสูญ จิตเป็นของไม่สูญ ไม่ตาย จิตที่ดับจากกาย ย่อมหายไป เหมือนกับไฟที่ดับจากเทียน"</CENTER>
    </TD></TR><TR vAlign=top><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    พระนาคเสน มหาเถระ
    ผู้ตอบปัญหาพระเจ้ามิลินทราชา
    " ผู้ที่ยังไม่ได้นิพพานก็รู้ว่านิพพานเป็นสุข เพราะได้ยินเสียงพวกได้นิพพาน.....พระพุทธเจ้ามีจริง แต่พระพุทธเจ้าปรินิพพานดับขันธ์แล้ว ไม่อาจชี้ได้ว่าอยู่ที่ไหน เหมือนเปลวไฟที่ดับแล้วก็ไม่อาจชี้ได้ว่าอยู่ที่ไหน อาจชี้ได้เพียงพระธรรมกาย ของพระพุทธเจ้าเท่านั้น.........นิพพานเป็นของต้องรู้ด้วยใจ พระอริยสาวกผู้ปฏิบัติชอบแล้วย่อมได้เห็นนิพพาน ด้วยใจอันบริสุทธิ์ อันสงบประณีต อันเที่ยงตรง ไม่มีเครื่องกั้นกาง อันไม่มีอามิส"</CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    ไตรภูมิพระร่วง ของพญาลิไท
    "พระพุทธเจ้าแลพระองค์ ๆ โปรดเทพยดามนุษย์ทั้งหลายเข้าสู่นิพพาน ผิวคณนาได้ ๒๔ อสงไขยแล ๑๑๖๐ โกฏิก็มี มิก ๑๐๖,๖๖๖ คนเป็นกำไรโสดเถิงนครนิพพานอันประเสริฐยิ่งภูมิทั้งหลาย ๓ นี้แล ฯ ทั้งอนันตจักรวาฬอันเป็นเอกาทสกจบโดยสังเขปแล ฯ ผู้ใดจะเถิงแก่มหานคยนิพพานบมิรู้ฉิบหาย บมิรู้แปรปรวนไปม "</CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc></TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc></TD></TR></TBODY></TABLE>
    พ่อท่านสมณะโพธิรักษ์ สันติอโสก.... จิตของพระพุทธเจ้า ของพระอรหันต์ นั้นจะสูญสลายเมื่อนิพพานแล้ว ใครเข้าใจว่าจิตแม้จะถึงนิพพานแล้วก็ยังคงมีจิต ยังไม่สูญ ถือว่าเข้าใจเพี้ยน ใครเข้าพระพุทธเจ้าหลังปรินิพพานมีจิตมีวิญญาณมีอำนาจบันดลบันดาล ถือว่าไม่เป็นสัมมาทิฏฐิ.......

    พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตโต) ......ในพระไตรปิฎกมีแต่ระบุลงไปว่านิพพานเป็นอนัตตา นิพพานไม่ใช่อัตตา......

    หลวงปู่พุทธะอิสระ แห่งวัดอ้อน้อย นครปฐม .......นิพพานไม่ใช่เป็นบ้านเป็นเมือง นิพพานไม่มีอัตตา ไม่มีตัวตน นิพพานของพระพุทธเจ้าไม่มีตัวตน เพราะฉะนั้นคำว่ามีแก้วใสผลึกมันก็ยังเป็นอัตตามีตัวตน เป็นเพียงแค่สภาวะชั้นพรหมเท่านั้นไม่ใช่นิพพาน ........

    ท่านพุทธทาสภิกขุ ..... การเชื่อว่า วิญญาญหรือจิตของพระพุทธองค์เป็นอมตะ คอยเฝ้าดูพวกเราหรือโลกอยู่มาจนบัดนี้นั้นเป็นของขบขันเหลือเกิน ความเชื่อว่าจิตหรือวิญญาณของพระพุทธองค์ยังเหลืออยู่เป็นความเชื่อที่ขวางกับหลักธรรมะและเหตุผลทั่วไปอย่างรุนแรง.....



    <TABLE bgColor=#ffffcc><TBODY><TR><TD vAlign=top>[​IMG]

    พระพุทธเจ้าท่านเพียงไม่มีร่างเหลืออยู่เท่านั้น พระบารมีและคุณธรรมยังอยู่
    </TD><TD vAlign=top>สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

    (ยมกสูตร) มีผู้หลงว่า พระอรหันต์ตายแล้วสูญ พระพุทธเจ้าจึงตอบว่า ขันธิ์ 5 ไม่ใช่เป็นพระอรหันต์ ดังนั้น พระอรหันต์ตายแล้วไม่สูญ แต่ไม่ควรถามว่าตายแล้วไปไหน เหมือนกับไฟดับแล้ว ก็ไม่ควรบอกว่าไฟสูญหรือถามว่าไฟดับแล้วไปไหน.....
    อ่านเพิ่มเติมที่ หนังสือ ๔๕ พรรษา ของพระพุทธเจ้า หน้า 125-126 พิมพ์ครั้งที่ 1 ปี 2532 ครั้งที่ 1 ปี 2510

    <TABLE><TBODY><TR><TD vAlign=top> พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้วไม่ได้หายไปไหน พระพุทธบารมียังปกปักรักษาโลกอยู่ คนในโลกยังรับพระพุทธบารมีได้ มิได้แตกต่างไปจากเมื่อยังทรงดำรงพระชนม์อยู่ เพียงแต่ว่าจำเป็นต้องเปิดใจออกรับ มิฉะนั้นก็จะรับไม่ได้ พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ไม่ทรงเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏสงสารอีกต่อไป แต่พระพุทธบารมียังพรั่งพร้อม พระอาจารย์สำคัญองค์หนึ่งท่านเล่าไว้ว่าเมื่อท่านปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นอยู่ในป่าดงพงพีนั้น พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปทรงสอนท่านด้วยพระพุทธบารมีเสมอ แล้วท่านพระอาจารย์องค์นั้น ต่อมาก็เป็นที่ศรัทธาเคารพของพุทธศาสนิกชนจำนวนมาก ที่เชื่อมั่นว่าท่านปฏิบัติถึงจุดหมายปลายทางแล้ว พระพุทธเจ้าเมื่อเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ด้วยพระพุทธบารมีได้ เสด็จไปทรงแสดงธรรมโปรดพระอาจารย์องค์สำคัญให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้ ไม่มีอะไรให้สงสัยว่าเป็นสิ่งสุดวิสัย เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เรื่องของท่านพระโมคคัลลาน์เป็นเครื่องให้ความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ่มชัดว่าพระพุทธเจ้าก็ดี พระอรหันตเจ้าก็ดี แม้ดับขันธปรินิพพานแล้ว ท่านก็เพียงไม่มีร่างเหลืออยู่เท่านั้น บารมีและคุณธรรมทั้งปวงของท่านยังพรั่งพร้อมเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง......

    อ่านเพิ่มเติมที่ หนังสือ ชีวิตนี้สำคัญนัก
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE bgColor=#ccffcc><TBODY><TR><TD vAlign=top><IMGSRC=PUTUAD.JPG></TD><TD vAlign=top>ไตรภูมิพระร่วง ของพญาลิไท
    ทรงนิพนธ์เมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ระกาศก ศักราชได้ ๒๓


    พระพุทธเจ้าแลพระองค์ ๆ โปรดเทพยดามนุษย์ทั้งหลายเข้าสู่นิพพาน ผิวคณนาได้ ๒๔ อสงไขยแล ๑๑๖๐ โกฏิก็มี มิก ๑๐๖,๖๖๖ คนเป็นกำไรโสดเถิงนครนิพพานอันประเสริฐยิ่งภูมิทั้งหลาย ๓ นี้แล ฯ ทั้งอนันตจักรวาฬอันเป็นเอกาทสกจบโดยสังเขปแล ฯ ผู้ใดจะเถิงแก่มหานคยนิพพานบมิรู้ฉิบหาย บมิรู้แปรปรวนไปมา แลฝูงสัตว์ทงหลายอยู่ในไตรภูมินี้แล ฯ กล่าวเถิงไตรภูมิกถามมหานิพพานแล ฯ

    เพิ่มเติมที่ พระนิพนธ์เรื่องไตรภูมิพระร่วง ฉบับพญาลิไท กล่าวถึงกามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ
    และส่วนท้ายของหนังสือกล่าวถึงแดนพระนิพพาน (ข้อมูลจาก pantip.com)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE bgColor=#ccffff><TBODY><TR><TD vAlign=top>[​IMG]</TD><TD vAlign=top>สมเด็จพระสังฆราชคูรูปาจารย์ หลวงปู่ทวด(เหยียบน้ำทะเลจืด)
    พระเถระสมัยกรุงศรีอยุธยา


    พุทธะ อยู่ในกายมนุษย์

    อีกจุดหนึ่งที่มนุษย์ไม่ยอมสนใจ คือไม่สนใจค้นในกายของตนเอง สิ่งหนึ่งที่เรียกว่า พุทธะ นั้นอยู่ในกาย ถ้าจิตของผู้นั้นสามารถค้นเข้าไปถึงกายในกายอันบริสุทธิ์ สิ่งนี้ภาษาทางโลกเรียกว่า พลัง ชนิดหนึ่งที่ยอดเยี่ยมอยู่ในตัวเรา แต่เราไม่รู้จักค้นออกมาใช้ เพราะอะไรเล่า ทำไมเราจึงถามว่าเหตุใดองค์สมณะโคดมจึงสามารถระลึกชาติได้ เพราะมีบุพเพนิาสานุสติกญาณ มีอนาคตญาณ หรือมีญาณอะไร สิ่งเหล่านี้เราไม่ต้องไปรับรู้ เราไม่ต้องยุ่ง เราไม่ต้องไปคิดถึงว่าเราจะได้ฌานโน้นฌานนี้ หลักของการปฏิบัติอันหนึ่งมีอยู่ว่า เราจะยึดอะไรเป็นสรณะของการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน

    คำว่า กรรมฐาน นั้นหมายถึงการกำหนดจิตของเราให้จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพื่อรวมพลังจิตไม่ให้ฟุ้ง เมื่อรวมพลังจิตอันนั้นไม่ให้ฟุ้งแล้ว รวมอยู่ในจุดใดจุดหนึ่ง รวมจนได้อารมณ์แห่งปีติ คือนิ่งเฉยแห่งจุดนั้น เมื่อนั้นให้ขึ้นวิปัสสนา วิปัสสนาคือให้พิจารณาในทุกสิ่งทุกอย่างว่าเป็นอนัตตา อนัตตาคือการเดินทางไปสู่โลกแห่งนิพพาน โลกแห่งอรหันต์ โลกแห่งโพธิสัตว์ โลกแห่งอนาคา อนาคามี โลกเรานี้เป็นโลกแห่งอัตตา ทำอย่างไรเราถึงจะไปสู่จุดแห่งการเป็นอนัตตาได้

    เพิ่มเติม หนังสือ ประวัติสังเขป พระโพธิสัตว์ หลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด พิมพ์ครั้งที่ ๑ ปี 2536 บ.เคล็ดไทย จำกัด จำหน่าย (ที่คัดมาหน้า 135-136)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE><TBODY><TR><TD vAlign=top width=258>[​IMG]

    นิพพาน คือว่างจากกิเลส จิตวิญญาณของพระอรหันต์ไม่สูญ ที่วิญญาณสูญนั่นคือวิญญาณในขันธ์ ๕ เท่านั้น

    [​IMG]
    สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) กับ เสด็จพ่อ ร.๕
    </TD><TD vAlign=top>สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี

    (คัดจากหน้า 41-43)
    ขุนราชฤทธิ์บริรักษ์ (ถาม) : อันว่านิพพาน ปรมัง สุญญัง เป็นอันว่านิพพานเป็นสูญอย่างยิ่ง คือหมายความว่าสูญเลย คำว่าสูญเลยเป็นที่สงสัยอย่างเกล้ากระผมซึ่งมีกิเลสหนา คำว่าสูญเลยตามตำราบอกว่าขันธ์นั่นสูญ รูปขันธ์ก็หายไป วิญญาณขันธ์ก็หายไป แล้วสังขารขันธ์ก็หายหมด ทีนี้เกล้ากระผมไม่ทราบว่าอะไรเหลือ เมื่ออะไรมันหายหมด เพราะนิพพาน ปรมัง สุญญัง นี่ เพราะฉะนั้นในฐานะพระเดชพระคุณสมเดจเป็นนักปราชญ์ผู้มีความเปรื่องในธรรม โปรดได้อธิบายให้เกล้ากระผมเพื่อเป็นแนวทางซักหน่อย ก็จะเป็นพระคุณและได้บุญกับสาธุชนผู้ที่นั่งฟังอีกด้วยเป็นอย่างมาก

    สมเด็จ (ตอบ) : คำว่า นิพพาน นี้ต้องเข้าใจว่ามีหลักแห่งความจริงของคำว่า นิพพานัง ปรมัง สุขัง นิพพานัง ปรมัง สุญญัง ถ้าในหลักแห่งความจริงของพระสัมมาสัมพุทธโคดมแล้ว คำว่า นิพพาน ในโลกมนุษย์นี้ ก็คือว่า มนุษย์ผู้ใดปฏิบัติตนให้อยู่ในจิตแห่งความว่าง ให้อยู่ในจิตแห่งความนิ่ง ให้อยู่ในจิตแห่งความสิ้นจากสรรพกิเลสที่รอบล้อมอยู่ในตัว เขาเรียกว่า ....
    <CENTER>ใจกลางแห่งนิพพานตั้งอยู่เมือง
    รอบล้อมต่อเนื่องกำแพงอันแสนหนา
    ผู้ใดหาทางทะลุอยู่ในเมือง
    มนุษย์ผู้นั้นย่อมถึงนิพพาน
    </CENTER>นิพพานในโลกมนุษย์นี้เขาเรียกว่าปฏิบัติจิตให้ว่างที่สุด นานเท่านาน ผู้นั้นถึงนิพพานแห่งการเป็นมนุษย์ คือ สุญญัง นี้แหละเขาเรียกว่าสูญจากอาสวกิเลส สูญจากการป็นทาสอารมณ์แห่งการเป็นมนุษยจิตวิญญาณนี้พุ่งสู่แดนอรหันต์ ไม่ใช่สูญทั้งจิตและวิญญาณ ถ้าสูญทั้งจิตและวิญญาณ จะเอาอะไรไปเสวยกรรม สภาพการณ์วิญญาณที่สูญนั้นเขาเรียกว่า วิญญาณธาตุในเบญจขันธ์ วิญญาธาตุนี้เป็นอุปาทาน รูปนี้ประกอบขึ้นด้วย ดิน น้ำ ลม ไฟ วิญญาณธาตุจึงอยู่เป็นกาย แต่วิญญาณอีกอันหนึ่งเขาเรียกว่าวิญญาณซึ่งวนเวียนอยู่ในกฏแห่งวิฏสงสารนั้นแหล่

    (คัดจากหน้า 61-62)
    เรื่องวิญญาณนี้เป็นเรื่องละเอียด ในหลักการแห่งวิญญาณของเทพพรหมชั้นสูงนั้น เปรียบเสมือนหนึ่งในหลักทั่วไปของมนุษย์ ก็คือว่าเป็นอากาศ สภาวการณ์ท่านรู้ว่ามีอากาศ แต่ท่านไม่สามารถจับอากาศขึ้นมาเป็นตัวตนได้ นั่นคือสภาวะของวิญญาณเทพพรหมชั้นสูง

    ทีนี้วิญญาณเหล่าวิสุทธิเทพ วิญญาณเหล่าพรหมสุทธาวาส วิญญาณเหล่าอรหันต์ จะเปรียบให้เข้าใจในโลกมนุษย์นี้จะเปรียบเป็นอะไรเล่า อันนี้อาตมาภาพขอแถลงไขเปรียบเสมือนหนึ่งว่าวิญญาณเหล่านี้เป็นวิญญาณละเอียด สภาวการ์แห่งการเป็นวิญญาณละเอียดเหล่านี้ไซร้ ท่านจะต้องฝึกสมาธิใช้จิตสัมผัสเหสมือนหนี่งเปรียบคือ ลม ท่านลองโบกมือดูสิ ว่ามีลมไหม เมื่อท่านโบกมือย่อมเกิดลม นักวิทยาศาสตร์ที่เรียกว่าเป็นชั้นด็อกเตอร์ก็ยังไม่สามารถเอาหน้าลมออกมาตีแผ่ให้มนุษย์ดูได้ ทั้งๆ ที่มนุษย์ทุกคนยอมรับว่ามีลม เพราะฉะนั้นวิญญาณแห่งวิสุทธิเทพ วิญญาณแห่งเทพพรหมชั้นสูง วิญญาณแห่งอรหันต์ จึงเปรียบง่ายๆ เป็นภาษามนุษย์ว่า ลม

    ทีนี้วิญญาณเหล่าอมรมนุษย์ วิญญาณเหล่าผีเปรต อสรุกาย วิญญาณเหล่าเจ้าที่เจ้าทงเหล่านี้ วิญญาณจำพวกนี้ยังมีกายหยาบ ฉะนั้นต้องเข้าใว่า เมื่อท่านสิ้นจากโลกมนุษย์นี้แล้วไซร้ ท่านจะต้องไปเกิดในปรภพแห่งการเสวยกรรมวิบากที่ไม่เหมือนกัน เพราะต่างกรรมต่างวาระ ต่างคนต่างสร้างมาไม่เหมือนกัน ทีนี้สภาวการณ์แห่งการสร้างกรรมไม่เหมือนกันก็คือว่าท่านที่สิ้นจากโลกมนุษย์ก็ยังเป็นวิญญาณปุตุนั้นก็จะเป็นกายหยาบหลุดออกจากกายเนื้อ ทีนี้ถ้าท่านบำเพ็ญในหลักแห่งวิสุทธิมรรค แห่งการเป็นพระอรหันต์ แห่งการเป็นพระพรหมสุทธาวาสแล้วไซร็ ท่านต้องละลายกายทิพย์เหลือแต่วิญญาณ ทีนี้วิญญาณแห่งกายที่มีกายหยาบเหล่านี้แหล่ ที่บางครั้งสามารถปรับในการรวมกระแสแห่งอำนาจที่ตนมีเป็นกายเป็นรูปร่างให้มนุษย์เห็นได้เป็นบางครั้งบางคราว

    ทีนี้ปัญหาเหล่านี้ ท่านจะถึงหลักแห่งการถึงโลกอีกโลกหึ่ง แห่งโลกทิพยอำนาจนี้ ท่านจะไปได้อย่างไรเล่า ภาวการณ์แห่งการที่จะท่านจะไปโลกเหล่านี้ได้แล้วไซร้ ท่านจะต้องบำเพ็ญในด้านจิตวิญญาณ ตามที่องค์สัมมาสัมพุทธโคดมวางในหลักการให้เราเหล่านุษย์ทั้งหลายเจริญรอยตามท่าน ก็คือว่ามี ศีล สมาธิ ปัญญา

    หนังสือ ธรรมะ จากดวงวิญญาณบริสุทธ์ สมเด็จโต ชุด ของดีที่คนมองข้าม พระปัญญาวรคุณ วัดพนาสนฑ์ จ.นราธิวาส รวบรวม พิมพ์ครั้งที่ ๗ ปี 2536 บ.เคล็ดไทย จำกัด จัดจำหน่าย
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TABLE>
    <TABLE bgColor=#ffccff><TBODY><TR><TD vAlign=top width=214>[​IMG]
    บุคคลผู้ไม่รู้แจ้งในพระนิพพานไม่ควรสั่งสอนพระนิพพานแก่ผู้อื่น ถ้าขึ้นสั่งสอนก็จะพาหลงทาง เป็นบาปกรรมแก่ตน
    </TD><TD vAlign=top>พระเดชพระคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย ์( สิริจนฺโท จันทร์ )

    .... อันตัวที่ไม่ตายนั้นท่านให้ชื่อว่าโพธิสัตว์ พึงสันนิษฐานได้ว่าสัตว์นั้นแลคือตัวเรา เป็นผู้ไม่ตายเหมือนอย่างพระอริยเจ้ามีพระพุทธเจ้าเป็นต้น เมื่อได้สำเร็จพระอรหัตตผลแล้ว ก็เป็นอันได้สำเร็จพระนิพพาน เมื่อท่านสำเร็จพระนิพพานแล้ว สัตว์ที่ตรัสรู้ที่ไม่เคยตายนั้น ก็ยังอยู่ไม่สูญไปข้างไหน สูญแต่กิเลสเครื่องก่อภพก่อชาติเท่านั้นเอง จึงพอสันนิษฐานเห็นได้ว่า พระนิพพานไม่สูญอย่างเอก แต่การที่จักทำให้สำเร็จ ต้องฝ่าฝืนอำนาจของพระยามาร ....

    เพิ่มเติมที่ แสดงพระธรรมเทศนากัณฑ์ที่ 8 เรื่องมงคลกถา เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2470 ในหนังสือพระธรรมเทศนา มงคลกถา 38 ธรรมวิจยานุศาสน์ คิริมานนทสูตร พร้อมด้วยอธาตุ ชุดพิเศษ เล่มที่ 5 หน้า 96-97

    ......บุคคลผู้มิได้พ้นจากิเลส ราคะ ตัณหา นั้นจะทำบุญให้ทานสร้างกุศลอย่างแข็งแรงเท่าใดก็ดี ก็จักได้เสวยความสุขในมนุษย์โลกแลเทวดาโลกเพียงเท่านั้น ที่จะได้เสวยความสุขในพระนิพพานนั้นเป็นอันไม่ได้ เลย ถ้าจะประสงค์ต่อพระนิพพานแท้ให้โกนเกล้เข้าบวชในพระศาสนา ในว่าบุรุษหญิงชายถ้าทำได้อย่างนี้ชื่อว่าปฏิบัติใกล้ต่อพระนิพพาน เพราะว่าเมืองพระนิพพานนั้นปราศจากกิเลสตัณหา เมืองมนุษย์แลเมืองสวรรค์เป็นที่ซึ่งทรงไว้กิเลสตัณหา ไม่เหมือนเมืองพระนิพพาน
    <TABLE><TBODY><TR><TD>........นิพฺพานํ นครํ นาม อันชื่อว่าเมืองพระนิพพาน ย่อมตั้งอยู่ในที่สุดแห่งโลก โลกมีทีสุดเพียงใด พระนิพพานก็ตั้งอยู่ที่สุดนั้น พระนิพพานเป็นพระมหานครอันใหญ่เป็นที่บรมสุขหาที่เปรียบมิได้ อย่าเข้าใจว่าจะไปนิพพานด้วยกำลังกาย หรือกำลังพาหนะมียานช้างม้าได้ อย่าเข้าใจว่านิพพานตั้งอยู่ในทีสุดโลกเหล่านั้น อย่าเข้าใจว่าตั้งอยู่ที่ใดเลย แต้ว่าพระนิพพานนั้นหากมีอยู่ในที่สุดของโลกเป็ของจริง ไม่ต้องสงสัย ให้ท่านทั้งหลายศึกษาให้เห็นโลกรู้โลกเสียให้ชัดเจน ก็จักเห็นพระนิพพาน พระนิพพานก็หากตั้งอยู่ในที่สุดแห่งโลกนั่นเอง

    ดูเพิ่มเติมที่ หนังสือ คิริมานนทสูตร และ อัตตปวัตติ หน้า ๑๐-๑๒ ISBN974-8239-69-1 สนพ.ดวงแก้ว
    </TD><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE bgColor=#ccff66><TBODY><TR><TD vAlign=top width=170>[​IMG]

    สรณะทั้ง ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มิได้เสื่อมสูญอันตรธานไปไหน ยังปรากฏอยู่แก่ผู้ปฏิบัติเข้าถึงอยู่เสมอ ผู้ใดยึดถือเป็นที่พึ่งของตนแล้ว ผู้นั้นจะอยู่ในกลางป่า หรือเรือนว่างก็ตาม สรณะทั้งสามก็ปรากฏแก่เราอยู่ทุกเมื่อ

    [​IMG]
    พระอัฐิธาตุหลวงปู่มั่น
    <TD width=10></TD><TD vAlign=top>พระเดชพระคุณพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมหาเถระ

    ๑๓. วิสุทธิเทวาเท่านั้นเป็นสันตบุคคลแท้
    อกุปฺปํ สพฺพธมฺเมสุ เญยฺยธมฺมา ปเวสฺสนฺโต บุคคลผู้มีจิตไม่กำเริบในกิเลสทั้งปวง รู้ธรรมทั้งหลายทั้งที่เป็นพหิทธาธรรม ทั้งที่เป็น อัชฌัตติกาธรรม สนฺโต จึงเป็นผู้สงบระงับ สันตบุคคลเช่นนี้แลที่จะบริบูรณ์ด้วยหิริโอตตัปปะ มีธรรมบริสุทธิ์สะอาด มีใจมั่นคงเป็นสัตบุรุษผู้ทรงเทวธรรมตามความในพระคาถาว่า หิริโอตฺตปฺปสมฺปนฺนา สุกฺกธมฺมสมาหิตา สนฺโต สปฺปุริสา โลเก เทวธมฺมาติ วุจฺจเร อุปัตติเทวา ผู้พรั่งพร้อมด้วยกามคุณ วุ่นวายอยู่ด้วยกิเลส เหตุไฉนจึงจะเป็นสันตบุคคลได้ ความในพระคาถานี้ย่อมต้องหมายถึง วิสุทธิเทวา คือพระอรหันต์แน่นอน ท่านผู้เช่นนั้นเป็นสันตบุคคลแท้ สมควรจะเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยหิริโอตตัปปะ และ สุกฺกธรรม คือ ความบริสุทธิ์แท้

    ๑๔. อกิริยาเป็นที่สุดในโลก - สุดสมมติบัญญัติ
    สจฺจานํ จตุโร ปทา ขีณาสวา ชุติมนฺโต เต โลเก ปรินิพฺพุตา สัจธรรมทั้ง ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ยังเป็นกิริยา เพราะแต่ละสัจจะๆ ย่อมมีอาการต้องทำคือ ทุกข์-ต้องกำหนดรู้ สมุทัย-ต้องละ นิโรธ-ต้องทำให้แจ้ง มรรค-ต้องเจริญให้มาก ดังนี้ล้วนเป็นอาการที่จะต้องทำทั้งหมด ถ้าเป็นอาการที่จะต้องทำ ก็ต้องเป็นกิริยาเพราะเหตุนั้นจึงรวมความได้ว่าสัจจะทั้ง ๔ เป็นกิริยา จึงสมกับบาทคาถาข้างต้นนั้น ความว่าสัจจะทั้ง ๔ เป็นเท้าหรือเป็นเครื่องเหยียบก้าวขึ้นไป หรือก้าวขึ้นไป ๔ พักจึงจะเสร็จกิจ ต่อจากนั้นไปจึงเรียกว่า อกิริยา อุปมา ดังเขียนเลข ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๐ แล้วลบ ๑ ถึง ๙ ทิ้งเสีย เหลือแต่ ๐ (ศูนย์) ไม่เขียนอีกต่อไป คงอ่านว่า ศูนย์ แต่ไม่มีค่าอะไรเลย จะนำไปบวกลบคูณหารกับเลขจำนวนใดๆ ไม่ได้ทั้งสิ้น แต่จะปฏิเสธว่าไม่มีหาได้ไม่ เพราะปรากฏอยู่ว่า ๐ (ศูนย์) นี่แหละ คือปัญญารอบรู้ เพราะลายกิริยา คือ ความสมมติ หรือว่าลบสมมติลงเสียจนหมดสิ้น ไม่เข้าไปยึดถือสมมติทั้งหลาย คำว่าลบ คือทำลายกิริยา กล่าวคือ ความสมมติ มีปัญหาสอดขึ้นมาว่า เมื่อทำลายสมมติหมดแล้วจะไปอยู่ที่ไหน? แก้ว่า ไปอยู่ในที่ไม่สมมติ คือ อกิริยา นั่นเอง เนื้อความตอนนี้เป็นการอธิบายตามอาการของความจริง ซึ่งประจักษ์แก่ผู้ปฏิบัติโดยเฉพาะ อันผู้ไม่ปฏิบัติหาอาจรู้ได้ไม่ ต่อเมื่อไรฟังแล้วทำตามจนรู้เองเห็นเองนั่นแลจึงจะเข้าใจได้ ความแห่ง ๒ บาทคาถาต่อไปว่า พระขีณาสวเจ้าทั้งหลายดับโลกสามรุ่งโรจน์อยู่ คือทำการพิจารณาบำเพ็ยเพียรเป็น ภาวิโต พหุลีกโต คือทำให้มาก เจริญให้มาก จนจิตมีกำลังสามารถพิจารณาสมมติทั้งหลายทำลายสมมติทั้งหลายลงไปได้จนเป็นอกิริยาก็ย่อมดับโลกสามได้ การดับโลกสามนั้น ท่านขีณาสวเจ้าทั้งหลายมิได้เหาะขึ้นไปนกามโลก รูปโลก อรูปโลกเลยทีเดียว คงอยู่กับที่นั่นเอง แม้พระบรมศาสดาของเราก็เช่นเดียวกัน พระองค์ประทับนั่งอยู่ ณ ควงไม้โพธิพฤกษ์แห่งเดียวกัน เมื่อจะดับโลกสาม ก็มิได้เหาะขึ้นไปในโลกสาม คงดับอยู่ที่จิต ทิ่จิตนั้นเองเป็นโลกสาม ฉะนั้น ท่านผู้ต้องการดับโลกสาม พึงดับที่จิตของตนๆ จึงทำลายกิริยา คือตัวสมมติหมดสิ้นจากจิต
    ยังเหลือแต่อกิริยา เป็นฐีติจิต ฐีติธรรมอันไม่รู้จักตาย ฉะนี้แล

    ๑๕. สัตตาวาส ๙
    เทวาพิภพ มนุสสโลก อบายโลก จัดเป็นกามโลก ที่อยู่อาศัยของสัตว์เสพกามรวมเป็น ๑ รูปโลก ที่อยู่อาศัยของสัตว์ผู้สำเร็จรูปฌานมี ๔ อรูปโลก ที่อยู่อาศัยของสัตว์ผู้สำเร็จอรูปฌานมี ๔ รวมทั้งสิ้น ๙ เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ ผู้มารู้เท่าสัตตาวาส ๙ กล่าวคือ พระขีณาสวเจ้าทั้งหลาย ย่อมจากที่อยู่ของสัตว์ ไม่ต้องอยู่ในที่ ๙ แห่งนี้ และปรากฏในสามเณรปัญหาข้อสุดท้ายว่า ทส นาม กึ อะไรชื่อว่า ๑๐ แก้ว่า ทสหงฺ เคหิ สมนฺนาคโต พระขีณาสวเจ้าผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๐ ย่อมพ้นจากสัตตาวาส ๙ ความข้อนี้คงเปรียบได้กับการเขียนเลข ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๐ นั่นเอง ๑ ถึง ๙ เป็นจำนวนที่นับได้ อ่านได้ บวกลบคูณหารกันได้ ส่วน ๑๐ ก็คือ เลข ๑ กับ ๐ (ศูนย์) เราจะเอา ๐ (ศูนย์) ไปบวกลบคูณหารกับเลขจำนวนใดๆ ก็ไม่ทำให้เลขจำนวนนั้นมีค่าสูงขึ้น และ ๐ (ศูนย์) นี้เมื่ออยู่โดยลำพังก็ไม่มีค่าอะไร แต่จะว่าไม่มีก็ไม่ได้ เพราะเป็นสิ่งปรากฏอยู่ ความเปรียบนี้ฉันใด จิตใจก็ฉันนั้นเป็นธรรมชาติ มีลักษณะเหมือน ๐ (ศูนย์) เมื่อนำไปต่อเข้ากับเลขตัวใด ย่อมทำให้เลขตัวนั้นเพิ่มค่าขึ้นอีกมาก เช่น เลข ๑ เมื่อเอาศูนย์ต่อเข้า ก็กลายเป็น ๑๐ (สิบ) จิตใจเรานี้ก็เหมือนกัน เมื่อต่อเข้ากับสิ่งทั้งหลายก็เป็นของวิจิตรพิสดารมากมายขึ้นทันที แต่เมื่อได้รับการฝึกฝนอบรมจนฉลาดรอบรู้สรรพเญยฺยธรรมแล้วย่อมกลับคืนสู่สภาพ ๐ (ศูนย์) คือ ว่างโปร่งพ้นจากการนับการอ่านแล้ว มิได้อยู่ในที่ ๙ แห่งอันเป็นที่อยู่ของสัตว์ แต่อยู่ในที่หมดสมมติบัญญัติคือ สภาพ ๐ (ศูนย์) หรืออกิริยาดังกล่าวในข้อ ๑๔ นั่นเอง

    ดูเพิ่มเติมที่หนังสือมุตโตทัย
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE bgColor=#ccff99><TBODY><TR><TR><TD vAlign=top>[​IMG]</TD><TD vAlign=top>หลวงพ่อ วัดปากน้ำภาษีเจริญ (พระมงคลเทพมุณี สด)

    ...... รูปทั้งหลายนั้นไม่ว่าประณีตสวยงามหรือไม่ ก็มาลงเอยที่อนิจจาด้วยกันทั้งสิ้น คือตายหมดไม่เหลือ ย่อมเวียนว่ายตายเกิดอยู่อย่างนี้ มีแต่ความไม่เที่ยง เมื่อไม่เที่ยงก็ต้องทุกข์ทั้งนั้น การที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าอะไรๆ ไม่เที่ยงนั้น จุดประสงค์คือจะให้เข้าถึง กายธรรม นอกจากกายธรรมแล้ว จะเป็นกายมนุษย์ กายทิพย์ กายพรหม กายอรูปพรหม เหล่านี้ต่างเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาทั้งนั้น คือต้องเวียนว่ายอยู่ในภพทั้ง ๓ ต่อเมื่อเข้าถึงกายธรรม จึงเป็นของเที่ยงเป็นสุขเป็นตัวตนทันที .....

    ดูเพิ่มเติมที่ หนังสือรู้ตรึกรู้นึกรู้คิด หน้า98 (หาซื้อได้ที่ร้านแพร่พิทยา)

    ......"นิพพานอยู่ข้างบน สูงจากภพ 3 โตเท่าภพ 3 นี่ สว่างเป็นแก้วไปหมดทั้งนั้น งดงามมาก โตเท่าภพ 3 นี่" .....

    จากพระธรรมเทศนาเรื่อง "โอวาทปาฏิโมกข์" 20 ตุลาคม 2497 ดูเพิ่มเติม
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE bgColor=#ffff99><TBODY><TR><TD vAlign=top><CENTER>[​IMG]

    [​IMG]
    หลวงพ่อ กับ หลวงปู่บุดดา

    [​IMG]
    หลวงพ่อ กับ ในหลวงฯ

    [​IMG]
    พระศพของหลวงพ่อไม่เน่าสลาย
    ประดิษฐานอยู่ที่วัดท่าซุง ในมณฑปแก้ว </CENTER>
    </TD><TD vAlign=top>หลวงพ่อฤาษีลิงดำ (พระราชพรหมยาน วีระ ถาวโร ปธ.๔) วัดท่าซุง อุทัยธานี

    .....ความหมายตามบาลี(ยมกสูตร) คนที่เห็นว่าพระอรหันต์ตายแล้วสูญ พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่าเป็นความเห็นผิด แล้วท่านบรรดานักเขียนนักแต่งทั้งหลายท่านเอามาจากไหนว่า นิพพานสูญ อันนี้น่าจะเกิดจากความเข้าใจผิดอะไรกันสักอย่าง เพราะมีพระบาลีบทหนึ่งว่า นิพพานนัง ปรมังสูญญัง แปลว่านิพพานเป็นธรรมว่างอย่างยิ่ง ท่านอาจจะไปคว้าเอา ปรมังสูญญัง โดยเข้าใจว่า สูญโญเข้าให้ ......

    ดูเพิ่มเติมที่ [ หนังสือคู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน อุปสมานุสสติกรรมฐาน]

    ผู้ถาม : เกิดมาแล้วทำไมจึงต้องตายครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...