พระนิพพาน จากคำครูอาจารย์

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย ๙๙๙๙๙๙๙๙๙, 29 มิถุนายน 2006.

  1. ๙๙๙๙๙๙๙๙๙

    ๙๙๙๙๙๙๙๙๙ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,750
    ค่าพลัง:
    +2,808
    <CENTER>พระนิพพาน จากคำครูอาจารย์

    พระนิพพานบรมสุข องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    พระอรหันตเจ้าทั้งหลาย ณ เวลานี้ ทรงสถิตอยู่ ณ ที่ใด
    บางท่านว่า พระองค์ดับสูญ หมดความนึกคิด ไม่เหลืออะไรเลย
    ความสงสัยนี้ ยากที่ปุถุชน ผู้ศึกษา จะทำให้กระจ่างได้
    เว้นแต่พระสงฆ์ผู้มีญาณ ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ตามพระธรรมคำสั่งสอน จึงพออธิบาย พระนิพพาน ให้กระจ่างได้
    ขอท่านจงเว้นการถกเถียง จนเกิดความหมอง เร่าร้อน ในดวงใจ โปรดจงสงบจิต ตั้งสติ อ่านคำสอนของพระครูอาจารย์ทั้งหลาย
    ที่มีจารึกลงในตำราหรือหนังสือ เป็นหลักฐาน ไว้ชัดเจนแล้ว ใช้ปัญญา พินิจพิจารณา ไม่มีอคติ ใน คำสอนของครูอาจารย์

    เรียนเชิญทุกท่านร่วมส่งบทความหรือข้อความที่คัดมาจากคำสอนของครูบาอาจารย์ที่กล่าวถึงพระนิพพาน พร้อมระบุ ชื่อครูบาอาจารย์ ชื่อหนังสือ
    แหล่งที่มา หน้า วันที่ ให้ชัดเจน เพื่อเป็นประโยชน์ในการรวบรวมต่อไปครับ ติดต่อผู้ดูแลเว็บ pranipan@yahoo.com
    ดู Guest Book | ติชมแนะนำเว็บ (Sign Guestbook)| ดูสถิติการเยี่ยมชมเว็บ <!--BEGIN WEB STAT CODE----><SCRIPT language=javascript1.1> page="information";</SCRIPT><SCRIPT language=javascript1.1 src="http://truehits.gits.net.th/data/k0019615.js"></SCRIPT><!-- END WEBSTAT CODE -->

    </CENTER><CENTER>พระนิพพาน จากคำครูอาจารย์ (สรุปย่อ)

    </CENTER><CENTER><TABLE bgColor=#ffcc66><TBODY><TR vAlign=top><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    สมเด็จพระญาณสังวร
    สมเด็จพระสังฆราช
    "พระพุทธเจ้าท่านเพียงไม่มีร่างเหลืออยู่เท่านั้น พระบารมีและคุณธรรมยังอยู่ ทรงเสด็จไปสอนด้วยพระพุทธบารมีได้"</CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    สมเด็จพระสังฆราช
    อริยวงศาคตญาณ (แพ ติสูรเทโว)
    "สัตว์โลกยังมีอวิชชาจะเข้าใจว่าขันธ์ ๕ เป็นอัตตา เว้นเมื่อเข้าถึงอสังขตธาตุได้ความบริสุทธ์เป็นนิพพาน จะเข้าใจว่าขันธ์ ๕ เป็นอนัตตาทันที แล้วจะเห็นว่าพระนิพพานเป็นอัตตา"</CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    หลวงปู่ทวด(เหยียบน้ำทะเลจืด)
    "วิปัสสนาคือให้พิจารณาในทุกสิ่งทุกอย่างว่าเป็นอนัตตา อนัตตาคือการเดินทางไปสู่โลกแห่งนิพพาน โลกเรานี้เป็นโลกแห่งอัตตา"</CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี
    "นิพพาน คือว่างจากกิเลส จิตวิญญาณของพระอรหันต์ไม่สูญ ที่วิญญาณสูญนั่นคือวิญญาณในขันธ์ ๕ เท่านั้น "</CENTER>
    </TD></TR><TR vAlign=top><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    พระเดชพระคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย ์ สิริจนฺโท จันทร์
    "พระนิพพานเป็นพระมหานครอันใหญ่เป็นที่บรมสุขหาที่เปรียบมิได้ อย่าเข้าใจว่าจะไปนิพพานด้วยกำลังกาย"</CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมหาเถระ
    "สรณะทั้ง ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มิได้เสื่อมสูญอันตรธานไปไหน ยังปรากฏอยู่แก่ผู้ปฏิบัติเข้าถึงอยู่เสมอ ผู้ใดยึดถือเป็นที่พึ่งของตนแล้ว ผู้นั้นจะอยู่ในกลางป่า หรือเรือนว่างก็ตาม สรณะทั้งสามก็ปรากฏแก่เราอยู่ทุกเมื่อ"</CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    ท่านเจ้าคุณธมฺมวิตกฺโก

    "ตายแล้วจิตยังติดต่อกันได้"
    </CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    หลวงพ่อเกษม เขมโก

    "พระพุทธเจ้าไม่ได้อยู่ในโลกนี้ ท่านอยู่นอกโลก"
    </CENTER>
    </TD></TR><TR vAlign=top><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    หลวงพ่อสด วัดปากน้ำภาษีเจริญ
    "ส่วนกายพระอรหัต ถ้าถึงพระอรหัตละก็ นิจจัง สุขัง อัตตาแท้ๆ กายธรรมมีขันธ์เหมือนกัน แต่เป็นธรรมขันธ์ ท่านไม่เรียกเบญจขันธ์ เป็นธรรมขันธ์เสีย มีธาตุเหมือนกัน เป็นวิราคธาตุ เป็นวิราคธรรมม"</CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    หลวงพ่อฤาษีลิงดำ
    "องค์สมเด็จพระบรมครูตรัสว่า ...โมกขราช เรากล่าวว่า นิพพานนั้นหมายถึงกิเลสดับ และขันธ์ ๕ ดับ... พระพุทธเจ้าไม่ได้บอกว่า จิตดับ"</CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    อดีตพระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสโส)
    " พระธรรมกาย ได้เแก่พระกายอันบริสุทธิ์ ไม่สาธารณะแก่เทวา และมนุษย์ หมายถึงจิตที่พ้นจากกิเลสแล้ว เป็นพระกายที่เที่ยงแท้ไม่สูญสลาย อินทรีย์ของพระอรหันต์ประณีตสุขุม แม้ตาทิพย์ของเทวดาก็มองไม่เห็น"</CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม
    "พระนิพพานมีอยู่ไม่เสื่อมสูญ พระพุทธเจ้าเข้าพระนิพพานก็มีอยู่ในพระนิพพานนั้นแล ถ้าเราเป็นพระอรหันต์ พระโสดาบันเมื่อไร เมื่อนั้นแหละจึงจะเห็นจะรู้ที่อยู่พระพุทธเจ้า ที่อยู่ของพระอรหันต์เจ้าทั้งหลาย"</CENTER>
    </TD></TR><TR vAlign=top><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    หลวงปู่บุดดา ถาวโร
    "นิพพานไม่สูญ เป็นแต่อาสวะกิเลสสูญ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรม วิบาก มันสูญ แต่ สังคตะธรรม อสังคะธรรม วิราคะธรรม มันไม่ได้หมดไปด้วย"</CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    หลวงปู่ดูลย์ อตโล

    "นิพพานเป็นของว่าง ไม่มีตัวมีตน หาที่ตั้งไม่มี หาที่เปรียบไม่ได้ ปฏิบัติไปจึงจะรู้เอง"</CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    หลวงปู่ขาว อนาลโย
    " อย่าไปยึดถือมัน ก็จิตนั่นแหละมันถือว่าตัวกู อยู่เดี๋ยวนี้ก็ดี เราถือว่าเราเป็นผู้ชาย เราเป็นผู้หญิง ก็แม่นจิตนั้นแหละ เป็นผู้ว่า มันไม่มีตนมีตัวดอก แล้วพระพุทธเจ้าว่าให้วางเสียให้ดับวิญญาณเสีย ครั้นดับวิญญาณแล้ว ไม่ไปก่อภพก่อชาติอีก ก็นั่นแหละพระนิพพาน"</CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
    "พระนิพพานอุปมาขนาดเท่าเส้นผม ผู้ที่จะผ่านพ้นในขั้นสุดท้ายไปได้หรอืไม่ได้อยู่เพียงนิดเดียวในการทำจิตตัดจุดนี้ได้หรือไม่เท่านั้น พระพุทธเจ้าตอนที่ท่านจะปรินิพพาน ท่านได้ปรินิพพานไประหว่างรูปฌานและอรูปฌาน เป็นการดับขันธ์ด้วยความบริสุทธิ์เหนือสมมติโดยสิ้นเชิง"</CENTER>
    </TD></TR><TR vAlign=top><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
    "ดวงจิตนี้ไม่เคยสูญ แดนพระนิพพานมีจริง หลวงปู่มั่นเล่าว่า พระพุทธเจ้าหลายพระองค์
    เสด็จมาเยี่ยมท่าน
    "
    </CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    หลวงปู่ชอบ ฐานสโม
    "นิพพานไม่ได้สูญ ไม่ได้อยู่ตามที่โลกคาดคะเนหรือเดากัน ทำจริงจะได้เห็นของจริง รู้จริง และจะเห็นนิพพานเอง เห็นพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เห็นครูบาอาจารย์ที่ท่านบริสุทธิ์เอง และหายสงสัยโดยประการทั้งปวง"</CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    พระเทพสิทธิมุนี
    (พระอาจารย์โชฎก ญาณสิทธิ)
    " พระอรหันต์มี ความว่างจากตัวตน-ของตน โดยสิ้นเชิง มีอิสระเหนือทุกอย่าง ที่เรียกว่า "ว่าง" นี้ คือไม่ใช่ว่างชนิดที่เขาพูดกันว่า เช่นว่า จิตนึกคิดอะไรไม่ได้ กายก็แข็งทื่อเป็นท่อนไม้ แต่ที่ถูกนั้น เป็นความว่างจากกิเลส ว่างที่เฉลียวฉลาดที่สุด"</CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    หลวงปู่อ่ำ พระราชกวี (อ่ำ ธมฺมทตฺโต)
    "พระพุทธกัสสป เมื่อดับขันธ์ปรินิพพาน เข้าเมืองแสงใส ซึ่งก็คือเมืองแก้วแสงใส ชื่อไทยนี้ คนไทยคงเรียก นิพพาน มานานแล้ว ปราชญ์บัณฑิตโบราณาจารย์จึงกล่าวเสมอๆ เช่น ถึงเมืองแก้ว อันกล่าวแล้ว คือ อมตมหานครนฤพาน ดังใน มหาเวสสันดรเทศนา กุมารกัณฑ์"</CENTER>
    </TD></TR><TR vAlign=top><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    พระครูพัฒนกิจจานุรักษ์
    (หลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา)
    " นิพพานเป็นแดนแห่งความมั่นเที่ยง นิพพานแล้วเป็นสุข นิพพานมีสาระเป็นแก่นสาร นิพพานมีความเป็นสุขอย่างยิ่ง พระนิพพานไม่ใช่อัตตา พระนิพพานเป็นปัจจัตตัง"</CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
    "จิตวิญญาณมันไม่ใช่ของแตกของทำลาย แลไม่ใช่ของสูญหาย พระพุทธเจ้าสอนให้จิตมันเที่ยง เหมือนพระนิพพานเป็นของเที่ยง ไม่แปรผัน ยักย้าย สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็ฯทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ "</CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต
    " สูญในพระนิพพานมีขอบเขต สูญจากกิเลสเท่านั้น รสของพระนิพพานมีอยู่ พระนิพพาน ไม่เกิดไม่ดับไปไหน เป็นอนัตตาธรรม เราจะเอาพระนิพพานมาเป็นอนัตตา เหมือนขันธ์ ๕ และกิเลสทั้งหลายมันก็ไม่ถูก เรียกว่าแยกอนัตตาธรรมไม่ถูก"</CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    หลวงปู่ลี ธมมฺโร วัดอโศการาม
    " โลกนิพพาน ไม่มีทั้งเกิด ไม่มีทั้งตาย กายเป็นของสูญ จิตเป็นของไม่สูญ ไม่ตาย จิตที่ดับจากกาย ย่อมหายไป เหมือนกับไฟที่ดับจากเทียน"</CENTER>
    </TD></TR><TR vAlign=top><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    พระนาคเสน มหาเถระ
    ผู้ตอบปัญหาพระเจ้ามิลินทราชา
    " ผู้ที่ยังไม่ได้นิพพานก็รู้ว่านิพพานเป็นสุข เพราะได้ยินเสียงพวกได้นิพพาน.....พระพุทธเจ้ามีจริง แต่พระพุทธเจ้าปรินิพพานดับขันธ์แล้ว ไม่อาจชี้ได้ว่าอยู่ที่ไหน เหมือนเปลวไฟที่ดับแล้วก็ไม่อาจชี้ได้ว่าอยู่ที่ไหน อาจชี้ได้เพียงพระธรรมกาย ของพระพุทธเจ้าเท่านั้น.........นิพพานเป็นของต้องรู้ด้วยใจ พระอริยสาวกผู้ปฏิบัติชอบแล้วย่อมได้เห็นนิพพาน ด้วยใจอันบริสุทธิ์ อันสงบประณีต อันเที่ยงตรง ไม่มีเครื่องกั้นกาง อันไม่มีอามิส"</CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    ไตรภูมิพระร่วง ของพญาลิไท
    "พระพุทธเจ้าแลพระองค์ ๆ โปรดเทพยดามนุษย์ทั้งหลายเข้าสู่นิพพาน ผิวคณนาได้ ๒๔ อสงไขยแล ๑๑๖๐ โกฏิก็มี มิก ๑๐๖,๖๖๖ คนเป็นกำไรโสดเถิงนครนิพพานอันประเสริฐยิ่งภูมิทั้งหลาย ๓ นี้แล ฯ ทั้งอนันตจักรวาฬอันเป็นเอกาทสกจบโดยสังเขปแล ฯ ผู้ใดจะเถิงแก่มหานคยนิพพานบมิรู้ฉิบหาย บมิรู้แปรปรวนไปม "</CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc></TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>
    พ่อท่านสมณะโพธิรักษ์ สันติอโสก.... จิตของพระพุทธเจ้า ของพระอรหันต์ นั้นจะสูญสลายเมื่อนิพพานแล้ว ใครเข้าใจว่าจิตแม้จะถึงนิพพานแล้วก็ยังคงมีจิต ยังไม่สูญ ถือว่าเข้าใจเพี้ยน ใครเข้าพระพุทธเจ้าหลังปรินิพพานมีจิตมีวิญญาณมีอำนาจบันดลบันดาล ถือว่าไม่เป็นสัมมาทิฏฐิ.......

    พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตโต) ......ในพระไตรปิฎกมีแต่ระบุลงไปว่านิพพานเป็นอนัตตา นิพพานไม่ใช่อัตตา......

    หลวงปู่พุทธะอิสระ แห่งวัดอ้อน้อย นครปฐม .......นิพพานไม่ใช่เป็นบ้านเป็นเมือง นิพพานไม่มีอัตตา ไม่มีตัวตน นิพพานของพระพุทธเจ้าไม่มีตัวตน เพราะฉะนั้นคำว่ามีแก้วใสผลึกมันก็ยังเป็นอัตตามีตัวตน เป็นเพียงแค่สภาวะชั้นพรหมเท่านั้นไม่ใช่นิพพาน ........

    ท่านพุทธทาสภิกขุ ..... การเชื่อว่า วิญญาญหรือจิตของพระพุทธองค์เป็นอมตะ คอยเฝ้าดูพวกเราหรือโลกอยู่มาจนบัดนี้นั้นเป็นของขบขันเหลือเกิน ความเชื่อว่าจิตหรือวิญญาณของพระพุทธองค์ยังเหลืออยู่เป็นความเชื่อที่ขวางกับหลักธรรมะและเหตุผลทั่วไปอย่างรุนแรง.....



    <TABLE bgColor=#ffffcc><TBODY><TR><TD vAlign=top>[​IMG]

    พระพุทธเจ้าท่านเพียงไม่มีร่างเหลืออยู่เท่านั้น พระบารมีและคุณธรรมยังอยู่
    </TD><TD vAlign=top>สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

    (ยมกสูตร) มีผู้หลงว่า พระอรหันต์ตายแล้วสูญ พระพุทธเจ้าจึงตอบว่า ขันธิ์ 5 ไม่ใช่เป็นพระอรหันต์ ดังนั้น พระอรหันต์ตายแล้วไม่สูญ แต่ไม่ควรถามว่าตายแล้วไปไหน เหมือนกับไฟดับแล้ว ก็ไม่ควรบอกว่าไฟสูญหรือถามว่าไฟดับแล้วไปไหน.....
    อ่านเพิ่มเติมที่ หนังสือ ๔๕ พรรษา ของพระพุทธเจ้า หน้า 125-126 พิมพ์ครั้งที่ 1 ปี 2532 ครั้งที่ 1 ปี 2510

    <TABLE><TBODY><TR><TD vAlign=top> พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้วไม่ได้หายไปไหน พระพุทธบารมียังปกปักรักษาโลกอยู่ คนในโลกยังรับพระพุทธบารมีได้ มิได้แตกต่างไปจากเมื่อยังทรงดำรงพระชนม์อยู่ เพียงแต่ว่าจำเป็นต้องเปิดใจออกรับ มิฉะนั้นก็จะรับไม่ได้ พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ไม่ทรงเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏสงสารอีกต่อไป แต่พระพุทธบารมียังพรั่งพร้อม พระอาจารย์สำคัญองค์หนึ่งท่านเล่าไว้ว่าเมื่อท่านปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นอยู่ในป่าดงพงพีนั้น พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปทรงสอนท่านด้วยพระพุทธบารมีเสมอ แล้วท่านพระอาจารย์องค์นั้น ต่อมาก็เป็นที่ศรัทธาเคารพของพุทธศาสนิกชนจำนวนมาก ที่เชื่อมั่นว่าท่านปฏิบัติถึงจุดหมายปลายทางแล้ว พระพุทธเจ้าเมื่อเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ด้วยพระพุทธบารมีได้ เสด็จไปทรงแสดงธรรมโปรดพระอาจารย์องค์สำคัญให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้ ไม่มีอะไรให้สงสัยว่าเป็นสิ่งสุดวิสัย เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เรื่องของท่านพระโมคคัลลาน์เป็นเครื่องให้ความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ่มชัดว่าพระพุทธเจ้าก็ดี พระอรหันตเจ้าก็ดี แม้ดับขันธปรินิพพานแล้ว ท่านก็เพียงไม่มีร่างเหลืออยู่เท่านั้น บารมีและคุณธรรมทั้งปวงของท่านยังพรั่งพร้อมเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง......

    อ่านเพิ่มเติมที่ หนังสือ ชีวิตนี้สำคัญนัก
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE bgColor=#ccffcc><TBODY><TR><TD vAlign=top><IMGSRC=PUTUAD.JPG></TD><TD vAlign=top>ไตรภูมิพระร่วง ของพญาลิไท
    ทรงนิพนธ์เมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ระกาศก ศักราชได้ ๒๓


    พระพุทธเจ้าแลพระองค์ ๆ โปรดเทพยดามนุษย์ทั้งหลายเข้าสู่นิพพาน ผิวคณนาได้ ๒๔ อสงไขยแล ๑๑๖๐ โกฏิก็มี มิก ๑๐๖,๖๖๖ คนเป็นกำไรโสดเถิงนครนิพพานอันประเสริฐยิ่งภูมิทั้งหลาย ๓ นี้แล ฯ ทั้งอนันตจักรวาฬอันเป็นเอกาทสกจบโดยสังเขปแล ฯ ผู้ใดจะเถิงแก่มหานคยนิพพานบมิรู้ฉิบหาย บมิรู้แปรปรวนไปมา แลฝูงสัตว์ทงหลายอยู่ในไตรภูมินี้แล ฯ กล่าวเถิงไตรภูมิกถามมหานิพพานแล ฯ

    เพิ่มเติมที่ พระนิพนธ์เรื่องไตรภูมิพระร่วง ฉบับพญาลิไท กล่าวถึงกามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ
    และส่วนท้ายของหนังสือกล่าวถึงแดนพระนิพพาน (ข้อมูลจาก pantip.com)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE bgColor=#ccffff><TBODY><TR><TD vAlign=top>[​IMG]</TD><TD vAlign=top>สมเด็จพระสังฆราชคูรูปาจารย์ หลวงปู่ทวด(เหยียบน้ำทะเลจืด)
    พระเถระสมัยกรุงศรีอยุธยา


    พุทธะ อยู่ในกายมนุษย์

    อีกจุดหนึ่งที่มนุษย์ไม่ยอมสนใจ คือไม่สนใจค้นในกายของตนเอง สิ่งหนึ่งที่เรียกว่า พุทธะ นั้นอยู่ในกาย ถ้าจิตของผู้นั้นสามารถค้นเข้าไปถึงกายในกายอันบริสุทธิ์ สิ่งนี้ภาษาทางโลกเรียกว่า พลัง ชนิดหนึ่งที่ยอดเยี่ยมอยู่ในตัวเรา แต่เราไม่รู้จักค้นออกมาใช้ เพราะอะไรเล่า ทำไมเราจึงถามว่าเหตุใดองค์สมณะโคดมจึงสามารถระลึกชาติได้ เพราะมีบุพเพนิาสานุสติกญาณ มีอนาคตญาณ หรือมีญาณอะไร สิ่งเหล่านี้เราไม่ต้องไปรับรู้ เราไม่ต้องยุ่ง เราไม่ต้องไปคิดถึงว่าเราจะได้ฌานโน้นฌานนี้ หลักของการปฏิบัติอันหนึ่งมีอยู่ว่า เราจะยึดอะไรเป็นสรณะของการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน

    คำว่า กรรมฐาน นั้นหมายถึงการกำหนดจิตของเราให้จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพื่อรวมพลังจิตไม่ให้ฟุ้ง เมื่อรวมพลังจิตอันนั้นไม่ให้ฟุ้งแล้ว รวมอยู่ในจุดใดจุดหนึ่ง รวมจนได้อารมณ์แห่งปีติ คือนิ่งเฉยแห่งจุดนั้น เมื่อนั้นให้ขึ้นวิปัสสนา วิปัสสนาคือให้พิจารณาในทุกสิ่งทุกอย่างว่าเป็นอนัตตา อนัตตาคือการเดินทางไปสู่โลกแห่งนิพพาน โลกแห่งอรหันต์ โลกแห่งโพธิสัตว์ โลกแห่งอนาคา อนาคามี โลกเรานี้เป็นโลกแห่งอัตตา ทำอย่างไรเราถึงจะไปสู่จุดแห่งการเป็นอนัตตาได้

    เพิ่มเติม หนังสือ ประวัติสังเขป พระโพธิสัตว์ หลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด พิมพ์ครั้งที่ ๑ ปี 2536 บ.เคล็ดไทย จำกัด จำหน่าย (ที่คัดมาหน้า 135-136)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE><TBODY><TR><TD vAlign=top width=258>[​IMG]

    นิพพาน คือว่างจากกิเลส จิตวิญญาณของพระอรหันต์ไม่สูญ ที่วิญญาณสูญนั่นคือวิญญาณในขันธ์ ๕ เท่านั้น

    [​IMG]
    สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) กับ เสด็จพ่อ ร.๕
    </TD><TD vAlign=top>สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี

    (คัดจากหน้า 41-43)
    ขุนราชฤทธิ์บริรักษ์ (ถาม) : อันว่านิพพาน ปรมัง สุญญัง เป็นอันว่านิพพานเป็นสูญอย่างยิ่ง คือหมายความว่าสูญเลย คำว่าสูญเลยเป็นที่สงสัยอย่างเกล้ากระผมซึ่งมีกิเลสหนา คำว่าสูญเลยตามตำราบอกว่าขันธ์นั่นสูญ รูปขันธ์ก็หายไป วิญญาณขันธ์ก็หายไป แล้วสังขารขันธ์ก็หายหมด ทีนี้เกล้ากระผมไม่ทราบว่าอะไรเหลือ เมื่ออะไรมันหายหมด เพราะนิพพาน ปรมัง สุญญัง นี่ เพราะฉะนั้นในฐานะพระเดชพระคุณสมเดจเป็นนักปราชญ์ผู้มีความเปรื่องในธรรม โปรดได้อธิบายให้เกล้ากระผมเพื่อเป็นแนวทางซักหน่อย ก็จะเป็นพระคุณและได้บุญกับสาธุชนผู้ที่นั่งฟังอีกด้วยเป็นอย่างมาก

    สมเด็จ (ตอบ) : คำว่า นิพพาน นี้ต้องเข้าใจว่ามีหลักแห่งความจริงของคำว่า นิพพานัง ปรมัง สุขัง นิพพานัง ปรมัง สุญญัง ถ้าในหลักแห่งความจริงของพระสัมมาสัมพุทธโคดมแล้ว คำว่า นิพพาน ในโลกมนุษย์นี้ ก็คือว่า มนุษย์ผู้ใดปฏิบัติตนให้อยู่ในจิตแห่งความว่าง ให้อยู่ในจิตแห่งความนิ่ง ให้อยู่ในจิตแห่งความสิ้นจากสรรพกิเลสที่รอบล้อมอยู่ในตัว เขาเรียกว่า ....
    <CENTER>ใจกลางแห่งนิพพานตั้งอยู่เมือง
    รอบล้อมต่อเนื่องกำแพงอันแสนหนา
    ผู้ใดหาทางทะลุอยู่ในเมือง
    มนุษย์ผู้นั้นย่อมถึงนิพพาน
    </CENTER>นิพพานในโลกมนุษย์นี้เขาเรียกว่าปฏิบัติจิตให้ว่างที่สุด นานเท่านาน ผู้นั้นถึงนิพพานแห่งการเป็นมนุษย์ คือ สุญญัง นี้แหละเขาเรียกว่าสูญจากอาสวกิเลส สูญจากการป็นทาสอารมณ์แห่งการเป็นมนุษยจิตวิญญาณนี้พุ่งสู่แดนอรหันต์ ไม่ใช่สูญทั้งจิตและวิญญาณ ถ้าสูญทั้งจิตและวิญญาณ จะเอาอะไรไปเสวยกรรม สภาพการณ์วิญญาณที่สูญนั้นเขาเรียกว่า วิญญาณธาตุในเบญจขันธ์ วิญญาธาตุนี้เป็นอุปาทาน รูปนี้ประกอบขึ้นด้วย ดิน น้ำ ลม ไฟ วิญญาณธาตุจึงอยู่เป็นกาย แต่วิญญาณอีกอันหนึ่งเขาเรียกว่าวิญญาณซึ่งวนเวียนอยู่ในกฏแห่งวิฏสงสารนั้นแหล่

    (คัดจากหน้า 61-62)
    เรื่องวิญญาณนี้เป็นเรื่องละเอียด ในหลักการแห่งวิญญาณของเทพพรหมชั้นสูงนั้น เปรียบเสมือนหนึ่งในหลักทั่วไปของมนุษย์ ก็คือว่าเป็นอากาศ สภาวการณ์ท่านรู้ว่ามีอากาศ แต่ท่านไม่สามารถจับอากาศขึ้นมาเป็นตัวตนได้ นั่นคือสภาวะของวิญญาณเทพพรหมชั้นสูง

    ทีนี้วิญญาณเหล่าวิสุทธิเทพ วิญญาณเหล่าพรหมสุทธาวาส วิญญาณเหล่าอรหันต์ จะเปรียบให้เข้าใจในโลกมนุษย์นี้จะเปรียบเป็นอะไรเล่า อันนี้อาตมาภาพขอแถลงไขเปรียบเสมือนหนึ่งว่าวิญญาณเหล่านี้เป็นวิญญาณละเอียด สภาวการ์แห่งการเป็นวิญญาณละเอียดเหล่านี้ไซร้ ท่านจะต้องฝึกสมาธิใช้จิตสัมผัสเหสมือนหนี่งเปรียบคือ ลม ท่านลองโบกมือดูสิ ว่ามีลมไหม เมื่อท่านโบกมือย่อมเกิดลม นักวิทยาศาสตร์ที่เรียกว่าเป็นชั้นด็อกเตอร์ก็ยังไม่สามารถเอาหน้าลมออกมาตีแผ่ให้มนุษย์ดูได้ ทั้งๆ ที่มนุษย์ทุกคนยอมรับว่ามีลม เพราะฉะนั้นวิญญาณแห่งวิสุทธิเทพ วิญญาณแห่งเทพพรหมชั้นสูง วิญญาณแห่งอรหันต์ จึงเปรียบง่ายๆ เป็นภาษามนุษย์ว่า ลม

    ทีนี้วิญญาณเหล่าอมรมนุษย์ วิญญาณเหล่าผีเปรต อสรุกาย วิญญาณเหล่าเจ้าที่เจ้าทงเหล่านี้ วิญญาณจำพวกนี้ยังมีกายหยาบ ฉะนั้นต้องเข้าใว่า เมื่อท่านสิ้นจากโลกมนุษย์นี้แล้วไซร้ ท่านจะต้องไปเกิดในปรภพแห่งการเสวยกรรมวิบากที่ไม่เหมือนกัน เพราะต่างกรรมต่างวาระ ต่างคนต่างสร้างมาไม่เหมือนกัน ทีนี้สภาวการณ์แห่งการสร้างกรรมไม่เหมือนกันก็คือว่าท่านที่สิ้นจากโลกมนุษย์ก็ยังเป็นวิญญาณปุตุนั้นก็จะเป็นกายหยาบหลุดออกจากกายเนื้อ ทีนี้ถ้าท่านบำเพ็ญในหลักแห่งวิสุทธิมรรค แห่งการเป็นพระอรหันต์ แห่งการเป็นพระพรหมสุทธาวาสแล้วไซร็ ท่านต้องละลายกายทิพย์เหลือแต่วิญญาณ ทีนี้วิญญาณแห่งกายที่มีกายหยาบเหล่านี้แหล่ ที่บางครั้งสามารถปรับในการรวมกระแสแห่งอำนาจที่ตนมีเป็นกายเป็นรูปร่างให้มนุษย์เห็นได้เป็นบางครั้งบางคราว

    ทีนี้ปัญหาเหล่านี้ ท่านจะถึงหลักแห่งการถึงโลกอีกโลกหึ่ง แห่งโลกทิพยอำนาจนี้ ท่านจะไปได้อย่างไรเล่า ภาวการณ์แห่งการที่จะท่านจะไปโลกเหล่านี้ได้แล้วไซร้ ท่านจะต้องบำเพ็ญในด้านจิตวิญญาณ ตามที่องค์สัมมาสัมพุทธโคดมวางในหลักการให้เราเหล่านุษย์ทั้งหลายเจริญรอยตามท่าน ก็คือว่ามี ศีล สมาธิ ปัญญา

    หนังสือ ธรรมะ จากดวงวิญญาณบริสุทธ์ สมเด็จโต ชุด ของดีที่คนมองข้าม พระปัญญาวรคุณ วัดพนาสนฑ์ จ.นราธิวาส รวบรวม พิมพ์ครั้งที่ ๗ ปี 2536 บ.เคล็ดไทย จำกัด จัดจำหน่าย
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TABLE>
    <TABLE bgColor=#ffccff><TBODY><TR><TD vAlign=top width=214>[​IMG]
    บุคคลผู้ไม่รู้แจ้งในพระนิพพานไม่ควรสั่งสอนพระนิพพานแก่ผู้อื่น ถ้าขึ้นสั่งสอนก็จะพาหลงทาง เป็นบาปกรรมแก่ตน
    </TD><TD vAlign=top>พระเดชพระคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย ์( สิริจนฺโท จันทร์ )

    .... อันตัวที่ไม่ตายนั้นท่านให้ชื่อว่าโพธิสัตว์ พึงสันนิษฐานได้ว่าสัตว์นั้นแลคือตัวเรา เป็นผู้ไม่ตายเหมือนอย่างพระอริยเจ้ามีพระพุทธเจ้าเป็นต้น เมื่อได้สำเร็จพระอรหัตตผลแล้ว ก็เป็นอันได้สำเร็จพระนิพพาน เมื่อท่านสำเร็จพระนิพพานแล้ว สัตว์ที่ตรัสรู้ที่ไม่เคยตายนั้น ก็ยังอยู่ไม่สูญไปข้างไหน สูญแต่กิเลสเครื่องก่อภพก่อชาติเท่านั้นเอง จึงพอสันนิษฐานเห็นได้ว่า พระนิพพานไม่สูญอย่างเอก แต่การที่จักทำให้สำเร็จ ต้องฝ่าฝืนอำนาจของพระยามาร ....

    เพิ่มเติมที่ แสดงพระธรรมเทศนากัณฑ์ที่ 8 เรื่องมงคลกถา เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2470 ในหนังสือพระธรรมเทศนา มงคลกถา 38 ธรรมวิจยานุศาสน์ คิริมานนทสูตร พร้อมด้วยอธาตุ ชุดพิเศษ เล่มที่ 5 หน้า 96-97

    ......บุคคลผู้มิได้พ้นจากิเลส ราคะ ตัณหา นั้นจะทำบุญให้ทานสร้างกุศลอย่างแข็งแรงเท่าใดก็ดี ก็จักได้เสวยความสุขในมนุษย์โลกแลเทวดาโลกเพียงเท่านั้น ที่จะได้เสวยความสุขในพระนิพพานนั้นเป็นอันไม่ได้ เลย ถ้าจะประสงค์ต่อพระนิพพานแท้ให้โกนเกล้เข้าบวชในพระศาสนา ในว่าบุรุษหญิงชายถ้าทำได้อย่างนี้ชื่อว่าปฏิบัติใกล้ต่อพระนิพพาน เพราะว่าเมืองพระนิพพานนั้นปราศจากกิเลสตัณหา เมืองมนุษย์แลเมืองสวรรค์เป็นที่ซึ่งทรงไว้กิเลสตัณหา ไม่เหมือนเมืองพระนิพพาน
    <TABLE><TBODY><TR><TD>........นิพฺพานํ นครํ นาม อันชื่อว่าเมืองพระนิพพาน ย่อมตั้งอยู่ในที่สุดแห่งโลก โลกมีทีสุดเพียงใด พระนิพพานก็ตั้งอยู่ที่สุดนั้น พระนิพพานเป็นพระมหานครอันใหญ่เป็นที่บรมสุขหาที่เปรียบมิได้ อย่าเข้าใจว่าจะไปนิพพานด้วยกำลังกาย หรือกำลังพาหนะมียานช้างม้าได้ อย่าเข้าใจว่านิพพานตั้งอยู่ในทีสุดโลกเหล่านั้น อย่าเข้าใจว่าตั้งอยู่ที่ใดเลย แต้ว่าพระนิพพานนั้นหากมีอยู่ในที่สุดของโลกเป็ของจริง ไม่ต้องสงสัย ให้ท่านทั้งหลายศึกษาให้เห็นโลกรู้โลกเสียให้ชัดเจน ก็จักเห็นพระนิพพาน พระนิพพานก็หากตั้งอยู่ในที่สุดแห่งโลกนั่นเอง

    ดูเพิ่มเติมที่ หนังสือ คิริมานนทสูตร และ อัตตปวัตติ หน้า ๑๐-๑๒ ISBN974-8239-69-1 สนพ.ดวงแก้ว
    </TD><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE bgColor=#ccff66><TBODY><TR><TD vAlign=top width=170>[​IMG]

    สรณะทั้ง ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มิได้เสื่อมสูญอันตรธานไปไหน ยังปรากฏอยู่แก่ผู้ปฏิบัติเข้าถึงอยู่เสมอ ผู้ใดยึดถือเป็นที่พึ่งของตนแล้ว ผู้นั้นจะอยู่ในกลางป่า หรือเรือนว่างก็ตาม สรณะทั้งสามก็ปรากฏแก่เราอยู่ทุกเมื่อ

    [​IMG]
    พระอัฐิธาตุหลวงปู่มั่น
    <TD width=10></TD><TD vAlign=top>พระเดชพระคุณพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมหาเถระ

    ๑๓. วิสุทธิเทวาเท่านั้นเป็นสันตบุคคลแท้
    อกุปฺปํ สพฺพธมฺเมสุ เญยฺยธมฺมา ปเวสฺสนฺโต บุคคลผู้มีจิตไม่กำเริบในกิเลสทั้งปวง รู้ธรรมทั้งหลายทั้งที่เป็นพหิทธาธรรม ทั้งที่เป็น อัชฌัตติกาธรรม สนฺโต จึงเป็นผู้สงบระงับ สันตบุคคลเช่นนี้แลที่จะบริบูรณ์ด้วยหิริโอตตัปปะ มีธรรมบริสุทธิ์สะอาด มีใจมั่นคงเป็นสัตบุรุษผู้ทรงเทวธรรมตามความในพระคาถาว่า หิริโอตฺตปฺปสมฺปนฺนา สุกฺกธมฺมสมาหิตา สนฺโต สปฺปุริสา โลเก เทวธมฺมาติ วุจฺจเร อุปัตติเทวา ผู้พรั่งพร้อมด้วยกามคุณ วุ่นวายอยู่ด้วยกิเลส เหตุไฉนจึงจะเป็นสันตบุคคลได้ ความในพระคาถานี้ย่อมต้องหมายถึง วิสุทธิเทวา คือพระอรหันต์แน่นอน ท่านผู้เช่นนั้นเป็นสันตบุคคลแท้ สมควรจะเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยหิริโอตตัปปะ และ สุกฺกธรรม คือ ความบริสุทธิ์แท้

    ๑๔. อกิริยาเป็นที่สุดในโลก - สุดสมมติบัญญัติ
    สจฺจานํ จตุโร ปทา ขีณาสวา ชุติมนฺโต เต โลเก ปรินิพฺพุตา สัจธรรมทั้ง ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ยังเป็นกิริยา เพราะแต่ละสัจจะๆ ย่อมมีอาการต้องทำคือ ทุกข์-ต้องกำหนดรู้ สมุทัย-ต้องละ นิโรธ-ต้องทำให้แจ้ง มรรค-ต้องเจริญให้มาก ดังนี้ล้วนเป็นอาการที่จะต้องทำทั้งหมด ถ้าเป็นอาการที่จะต้องทำ ก็ต้องเป็นกิริยาเพราะเหตุนั้นจึงรวมความได้ว่าสัจจะทั้ง ๔ เป็นกิริยา จึงสมกับบาทคาถาข้างต้นนั้น ความว่าสัจจะทั้ง ๔ เป็นเท้าหรือเป็นเครื่องเหยียบก้าวขึ้นไป หรือก้าวขึ้นไป ๔ พักจึงจะเสร็จกิจ ต่อจากนั้นไปจึงเรียกว่า อกิริยา อุปมา ดังเขียนเลข ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๐ แล้วลบ ๑ ถึง ๙ ทิ้งเสีย เหลือแต่ ๐ (ศูนย์) ไม่เขียนอีกต่อไป คงอ่านว่า ศูนย์ แต่ไม่มีค่าอะไรเลย จะนำไปบวกลบคูณหารกับเลขจำนวนใดๆ ไม่ได้ทั้งสิ้น แต่จะปฏิเสธว่าไม่มีหาได้ไม่ เพราะปรากฏอยู่ว่า ๐ (ศูนย์) นี่แหละ คือปัญญารอบรู้ เพราะลายกิริยา คือ ความสมมติ หรือว่าลบสมมติลงเสียจนหมดสิ้น ไม่เข้าไปยึดถือสมมติทั้งหลาย คำว่าลบ คือทำลายกิริยา กล่าวคือ ความสมมติ มีปัญหาสอดขึ้นมาว่า เมื่อทำลายสมมติหมดแล้วจะไปอยู่ที่ไหน? แก้ว่า ไปอยู่ในที่ไม่สมมติ คือ อกิริยา นั่นเอง เนื้อความตอนนี้เป็นการอธิบายตามอาการของความจริง ซึ่งประจักษ์แก่ผู้ปฏิบัติโดยเฉพาะ อันผู้ไม่ปฏิบัติหาอาจรู้ได้ไม่ ต่อเมื่อไรฟังแล้วทำตามจนรู้เองเห็นเองนั่นแลจึงจะเข้าใจได้ ความแห่ง ๒ บาทคาถาต่อไปว่า พระขีณาสวเจ้าทั้งหลายดับโลกสามรุ่งโรจน์อยู่ คือทำการพิจารณาบำเพ็ยเพียรเป็น ภาวิโต พหุลีกโต คือทำให้มาก เจริญให้มาก จนจิตมีกำลังสามารถพิจารณาสมมติทั้งหลายทำลายสมมติทั้งหลายลงไปได้จนเป็นอกิริยาก็ย่อมดับโลกสามได้ การดับโลกสามนั้น ท่านขีณาสวเจ้าทั้งหลายมิได้เหาะขึ้นไปนกามโลก รูปโลก อรูปโลกเลยทีเดียว คงอยู่กับที่นั่นเอง แม้พระบรมศาสดาของเราก็เช่นเดียวกัน พระองค์ประทับนั่งอยู่ ณ ควงไม้โพธิพฤกษ์แห่งเดียวกัน เมื่อจะดับโลกสาม ก็มิได้เหาะขึ้นไปในโลกสาม คงดับอยู่ที่จิต ทิ่จิตนั้นเองเป็นโลกสาม ฉะนั้น ท่านผู้ต้องการดับโลกสาม พึงดับที่จิตของตนๆ จึงทำลายกิริยา คือตัวสมมติหมดสิ้นจากจิต
    ยังเหลือแต่อกิริยา เป็นฐีติจิต ฐีติธรรมอันไม่รู้จักตาย ฉะนี้แล

    ๑๕. สัตตาวาส ๙
    เทวาพิภพ มนุสสโลก อบายโลก จัดเป็นกามโลก ที่อยู่อาศัยของสัตว์เสพกามรวมเป็น ๑ รูปโลก ที่อยู่อาศัยของสัตว์ผู้สำเร็จรูปฌานมี ๔ อรูปโลก ที่อยู่อาศัยของสัตว์ผู้สำเร็จอรูปฌานมี ๔ รวมทั้งสิ้น ๙ เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ ผู้มารู้เท่าสัตตาวาส ๙ กล่าวคือ พระขีณาสวเจ้าทั้งหลาย ย่อมจากที่อยู่ของสัตว์ ไม่ต้องอยู่ในที่ ๙ แห่งนี้ และปรากฏในสามเณรปัญหาข้อสุดท้ายว่า ทส นาม กึ อะไรชื่อว่า ๑๐ แก้ว่า ทสหงฺ เคหิ สมนฺนาคโต พระขีณาสวเจ้าผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๐ ย่อมพ้นจากสัตตาวาส ๙ ความข้อนี้คงเปรียบได้กับการเขียนเลข ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๐ นั่นเอง ๑ ถึง ๙ เป็นจำนวนที่นับได้ อ่านได้ บวกลบคูณหารกันได้ ส่วน ๑๐ ก็คือ เลข ๑ กับ ๐ (ศูนย์) เราจะเอา ๐ (ศูนย์) ไปบวกลบคูณหารกับเลขจำนวนใดๆ ก็ไม่ทำให้เลขจำนวนนั้นมีค่าสูงขึ้น และ ๐ (ศูนย์) นี้เมื่ออยู่โดยลำพังก็ไม่มีค่าอะไร แต่จะว่าไม่มีก็ไม่ได้ เพราะเป็นสิ่งปรากฏอยู่ ความเปรียบนี้ฉันใด จิตใจก็ฉันนั้นเป็นธรรมชาติ มีลักษณะเหมือน ๐ (ศูนย์) เมื่อนำไปต่อเข้ากับเลขตัวใด ย่อมทำให้เลขตัวนั้นเพิ่มค่าขึ้นอีกมาก เช่น เลข ๑ เมื่อเอาศูนย์ต่อเข้า ก็กลายเป็น ๑๐ (สิบ) จิตใจเรานี้ก็เหมือนกัน เมื่อต่อเข้ากับสิ่งทั้งหลายก็เป็นของวิจิตรพิสดารมากมายขึ้นทันที แต่เมื่อได้รับการฝึกฝนอบรมจนฉลาดรอบรู้สรรพเญยฺยธรรมแล้วย่อมกลับคืนสู่สภาพ ๐ (ศูนย์) คือ ว่างโปร่งพ้นจากการนับการอ่านแล้ว มิได้อยู่ในที่ ๙ แห่งอันเป็นที่อยู่ของสัตว์ แต่อยู่ในที่หมดสมมติบัญญัติคือ สภาพ ๐ (ศูนย์) หรืออกิริยาดังกล่าวในข้อ ๑๔ นั่นเอง

    ดูเพิ่มเติมที่หนังสือมุตโตทัย
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE bgColor=#ccff99><TBODY><TR><TR><TD vAlign=top>[​IMG]</TD><TD vAlign=top>หลวงพ่อ วัดปากน้ำภาษีเจริญ (พระมงคลเทพมุณี สด)

    ...... รูปทั้งหลายนั้นไม่ว่าประณีตสวยงามหรือไม่ ก็มาลงเอยที่อนิจจาด้วยกันทั้งสิ้น คือตายหมดไม่เหลือ ย่อมเวียนว่ายตายเกิดอยู่อย่างนี้ มีแต่ความไม่เที่ยง เมื่อไม่เที่ยงก็ต้องทุกข์ทั้งนั้น การที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าอะไรๆ ไม่เที่ยงนั้น จุดประสงค์คือจะให้เข้าถึง กายธรรม นอกจากกายธรรมแล้ว จะเป็นกายมนุษย์ กายทิพย์ กายพรหม กายอรูปพรหม เหล่านี้ต่างเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาทั้งนั้น คือต้องเวียนว่ายอยู่ในภพทั้ง ๓ ต่อเมื่อเข้าถึงกายธรรม จึงเป็นของเที่ยงเป็นสุขเป็นตัวตนทันที .....

    ดูเพิ่มเติมที่ หนังสือรู้ตรึกรู้นึกรู้คิด หน้า98 (หาซื้อได้ที่ร้านแพร่พิทยา)

    ......"นิพพานอยู่ข้างบน สูงจากภพ 3 โตเท่าภพ 3 นี่ สว่างเป็นแก้วไปหมดทั้งนั้น งดงามมาก โตเท่าภพ 3 นี่" .....

    จากพระธรรมเทศนาเรื่อง "โอวาทปาฏิโมกข์" 20 ตุลาคม 2497 ดูเพิ่มเติม
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE bgColor=#ffff99><TBODY><TR><TD vAlign=top><CENTER>[​IMG]

    [​IMG]
    หลวงพ่อ กับ หลวงปู่บุดดา

    [​IMG]
    หลวงพ่อ กับ ในหลวงฯ

    [​IMG]
    พระศพของหลวงพ่อไม่เน่าสลาย
    ประดิษฐานอยู่ที่วัดท่าซุง ในมณฑปแก้ว </CENTER>
    </TD><TD vAlign=top>หลวงพ่อฤาษีลิงดำ (พระราชพรหมยาน วีระ ถาวโร ปธ.๔) วัดท่าซุง อุทัยธานี

    .....ความหมายตามบาลี(ยมกสูตร) คนที่เห็นว่าพระอรหันต์ตายแล้วสูญ พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่าเป็นความเห็นผิด แล้วท่านบรรดานักเขียนนักแต่งทั้งหลายท่านเอามาจากไหนว่า นิพพานสูญ อันนี้น่าจะเกิดจากความเข้าใจผิดอะไรกันสักอย่าง เพราะมีพระบาลีบทหนึ่งว่า นิพพานนัง ปรมังสูญญัง แปลว่านิพพานเป็นธรรมว่างอย่างยิ่ง ท่านอาจจะไปคว้าเอา ปรมังสูญญัง โดยเข้าใจว่า สูญโญเข้าให้ ......

    ดูเพิ่มเติมที่ [ หนังสือคู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน อุปสมานุสสติกรรมฐาน]

    ผู้ถาม : เกิดมาแล้วทำไมจึงต้องตายครับ
     
  2. NiNe

    NiNe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,780
    ค่าพลัง:
    +7,482
    ขอบคุณครับ ผมชอบบทความตรงนี้มากที่สุดครับ

    <TABLE bgColor=#ccffcc><TBODY><TR><TD vAlign=top></TD><TD vAlign=top>ไตรภูมิพระร่วง ของพญาลิไท
    ทรงนิพนธ์เมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ระกาศก ศักราชได้ ๒๓


    พระพุทธเจ้าแลพระองค์ ๆ โปรดเทพยดามนุษย์ทั้งหลายเข้าสู่นิพพาน ผิวคณนาได้ ๒๔ อสงไขยแล ๑๑๖๐ โกฏิก็มี มิก ๑๐๖,๖๖๖ คนเป็นกำไรโสดเถิงนครนิพพานอันประเสริฐยิ่งภูมิทั้งหลาย ๓ นี้แล ฯ ทั้งอนันตจักรวาฬอันเป็นเอกาทสกจบโดยสังเขปแล ฯ ผู้ใดจะเถิงแก่มหานคยนิพพานบมิรู้ฉิบหาย บมิรู้แปรปรวนไปมา แลฝูงสัตว์ทงหลายอยู่ในไตรภูมินี้แล ฯ กล่าวเถิงไตรภูมิกถามมหานิพพานแล ฯ

    เพิ่มเติมที่ พระนิพนธ์เรื่องไตรภูมิพระร่วง ฉบับพญาลิไท กล่าวถึงกามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ
    และส่วนท้ายของหนังสือกล่าวถึงแดนพระนิพพาน (ข้อมูลจาก pantip.com)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. mead

    mead เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2005
    โพสต์:
    8,134
    ค่าพลัง:
    +62,441
    .... นิพพานเป็นแดนแห่งความมั่นเที่ยง นิพพานแล้วเป็นสุข นิพพานมีสาระเป็นแก่นสาร นิพพานมีความเป็นสุขอย่างยิ่ง พระนิพพานไม่ใช่อัตตา พระนิพพานเป็นปัจจัตตัง......
    .... เราจะเดินทางไปนิพพานจะทำอย่างไร จะขี่เครื่องบินก็ไม่ถึง ขี่จรวดก็ไม่ถึง ถ้าทำได้บันไดแก้ว บันไดทอง จะปรากฏมาเองไม่ต้องเดินเหนื่อย
    .... เราเป็นมนุษย์ ปัจจุบันนี้พวกเทพอยู่ข้างบนมองเราคล้ายกับหนอนอยู่ในอาจม เทพจะมาใกล้ก็ไม่ได้เพราะเหม็นเน่า สุดแล้วแต่ตัวเราเองจะดึงตัวเองขึ้นมา เราจะดึงตัวเองขึ้นได้คือ่ารู้จักโทษ อันนี้เป็นโทษอันนั้นเป็นโทษ โดยการรรักษาศีล ๕ ศีล ๘ ให้ได้เรียกว่า ช่วยตัวเองแล้ว รับศีลแล้วก็ภาวนารำพึงหากุศลผลบุญที่ได้สร้างก็ดี รำพึงหาคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ก็ดี ให้จิตสว่างกระจ่างแจ้งตั้งใจจะติดตามพระอริยเจ้าให้ทัน
    "พระพุทธเจ้า"ก็รออยู่ชั้นบนนั่นแหละ กวักมือเรียก มา มา คนก็ไม่อยากขึ้นไป จะขึ้นไปก็สงสัย ไม่รู้จะขึ้นไปทางใด


    ชอบครับท่อนนี้...สาธุ..ขอบคุณครับ ไปอ่านต่อละครับ...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มิถุนายน 2006
  4. phudit999

    phudit999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +2,396
    แบ่งกันชม
     
  5. kongyai3

    kongyai3 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    58
    ค่าพลัง:
    +162
    โมทนาสาธุ ที่ได้นำเสนอสิ่งที่เป็นสาระดีๆ

    พระอรหันต์ ท่านพูดไว้ อ่านแล้วได้ใจความเหมือนกันหมด มีแต่ลีลาการพูดเท่านั้นที่แตกต่างกัน
    สุดแล้วแต่ว่าใครจะชอบแบบไหน สุดท้ายก็ไปพระนิพพาน ที่เดียวกัน
     
  6. phudit999

    phudit999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +2,396
    ใคร มอง เห็น นิพพาน เป็น ขอ ดี เลิศ วิเศษ เลิศ หรู อลังการ ก่ แสดง ว่า ยัง ไม่ มี ยัง ไม่ ถึง อารมณ์ นั้น

    อัน นี้ อุปมา จาก ใคร มอง เห็น รถ เบนซ์ แล้ว ปรารถนา จะ ครอบ ครอง อยาก จะ นั่ง ชื่น ชม อยู่ นั่น ล่ะ คือ ผู้ ที่ ไม่ เคย ...ไม่ มี ประสบ การณ์ นั่ง รถ เบนซ์

    แต่ ผู้ ที่ เคย นั่ง แล้ว เป็น เจ้า ของ แล้ว จะ รู้ สึก ธรรม ดา ไร้ ซึ่ง ความ ปรารถนา จะ ครอบ ครอง อยาก มี อีก

    อารมณ์ น่า จะ คล้าย ๆ กัน ....น่า จะ เป็น จะ อี่ เน้อ
     

แชร์หน้านี้

Loading...