พระนอนหงายใหญ่ที่สุด(ในโลก)

ในห้อง 'วัดและศาสนสถาน' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 9 มิถุนายน 2007.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,494
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width=567 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>พระนอนหงายใหญ่ที่สุด(ในโลก)</TD></TR><TR><TD vAlign=top>7 มิถุนายน 2550 18:49 น.</TD></TR><TR><TD class=Text_Story vAlign=top><!-- [​IMG][/IMG] [​IMG] วัดทุ่งน้อย เริ่มก่อสร้างขึ้นในที่ดินรกร้างว่างเปล่า จำนวน ๒๓ ไร่ ณ บ้านทุ่งน้อย ต.แหลมบัว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๗ โดยย้ายมาจากวัดคอกช้าง ซึ่งอยู่ห่างกันประมาณ ๑ กิโลเมตร และเป็นวัดที่สร้างมาในสมัยใดไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจน

    พระภิกษุมา ปทุมฺรตโน เจ้าอาวาสรูปแรก ใช้ความพยายาม ความรู้ และความสามารถที่ท่านเคยเป็นช่างไม้ ก่อสร้างถาวรวัตถุเพิ่มเติม พร้อมทั้งปฏิสังขรณ์สิ่งปลูกสร้างที่ทรุดโทรมด้วยตัวท่านเอง ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสครองวัดมาตลอดจนได้รับตำแหน่งทางคณะสงฆ์ให้เป็นพระอธิการ และเป็นพระอุปัชฌาย์ อุปสมบทกุลบุตรของชาวบ้านในถิ่นนั้น และไกลๆ นับไม่ถ้วน จนถึงปี ๒๕๐๖ ท่านก็มรณภาพด้วยความสงบ รวมอายุได้ ๘๐ ปี ๖๐ พรรษา
    วัดทุ่งน้อย มีโบราณวัตถุประจำวัดที่พุทธศาสนิกชนเคารพกราบไหว้บูขากัน ดังนี้ ๑.พระพุทธรูปศิลาแลง ประทับนั่งขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย หน้าตัก ๓ ศอก สมัยอยุธยาตอนปลาย ลงรักปิดทองทั้งองค์ มีพระนามว่า "พระพุทธศิลามนต์" แต่ชาวบ้านทั่วไปนิยมเรียกว่า "หลวงพ่อดำ" ประดิษฐานอยู่ในวิหาร
    ๒.พระพุทธรูปศิลาแลง ประทับนั่งขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ หน้าตัก ๓ ศอก สมัยอยุธยาตอนปลาย ลงชาดทั้งองค์ มีพระนามว่า "หลวงพ่อทอง" ประดิษฐานอยู่ในอุโบสถ พระพุทธรูปทั้งสององค์นี้ หลวงพ่อมา ปทุมฺรตโน พบที่อุโบสถเก่า ต.วัดละมุด อ.นครชัยศรี ซึ่งเป็นวัดร้าง อยู่ห่างจากวัดทุ่งน้อยประมาณ ๔ กิโลเมตร จึงอัญเชิญมาทางเรือ มาขึ้นที่วัดทุ่งน้อยถึงทุกวันนี้
    ๓.พระพุทธรูปปูนปั้น ปางไสยาสน์ ศิลปะสมัยสุโขทัย ประทับหงายพระองค์ พระหัตถ์ทั้งสองเหยียดประสานกันบนพระนาภี (สะดือ) มีขนาดยาว ๕.๗๐ เมตร กว้าง ๑.๕๐ เมตร ซึ่งถือว่าใหญ่ที่สุดในโลก หลวงพ่อมา ปทุมฺรตโน เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๐ โดยมี หลวงพ่อช้าง วัดทอง คลองบางกอกน้อย ธนบุรี เป็นช่างปั้น และตั้งพระนามว่า "หลวงพ่อสนอง" และได้รับการบูรณะใหม่ในเมื่อปี ๒๕๔๓
    พระครูจันเขมคุณ หรือ หลวงพ่อเกษม เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน บอกว่า ขณะนี้คณะกรรมการวัดมีโครงการจัดสร้างศาลาการเปรียญ ซึ่งประกอบด้วย หอสวดมนต์ หอวิปัสสนา และโรงเรียนพระปริยัติธรรม โดยจะใช้งบประมาณกว่า ๒๐ ล้านบาท จึงจัดสร้าง จตุคามรามเทพ รุ่น "นายร้อยห้วยจระเข้" เพื่อระลึกถึง ขุนพันธรักษ์ราชเดช ซึ่งครั้งหนึ่งเคยมาศึกษาที่โรงเรียนนายร้อยห้วยจระเข้ แต่ปัจจุบันนี้โรงเรียนนายตำรวจย้ายไปอยู่ที่ อ.สามพราน โดยมีมวลสารศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญ คือ ว่าน ๑๐๘ ผงยาจินดามณี ดิน ๗ โป่ง และเพชรหน้าทั่ง
    สำหรับพุทธศาสนิกชนจะเดินทางไปกราบไหว้ขอพร หลวงพ่อดำ ชมพระนอนหงายองค์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย รวมทั้งร่วมบุญสร้างศาลาการเปรียญ สอบถามรายละเอียดได้ที่โทร.๐-๓๔๒๐-๘๒๖๐, ๐๘-๕๔๐๙-๙๒๒๓, ๐๘-๔๑๐๑-๐๑๕๘

    พระนอนหงายที่ไหนบ้าง?
    คติการสร้าง พระพุทธไสยาสน์ หรือ พระนอน ปางต่างๆ นั้น กำหนดขึ้นตามพุทธประวัติ โดยเฉพาะในช่วงที่พระพุทธเจ้ากำลังจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน แต่ในประเทศไทย พระพุทธไสยาสน์ที่นิยมสร้างกันเป็นพระพุทธรูปคือ ปางโปรดอสุรินทราหู และปางเสด็จดับขันธปรินิพพาน ซึ่งมีอยู ๓ พุทธลักษณะ คือ

    ปางที่ ๑.พระพุทธรูปปางนี้ประทับนอนตะแคงขวา หลับพระเนตร พระเศียรหนุนพระเขนย พระหัตถ์ซ้ายทอดทาบพระวรกายเบื้องซ้าย พระหัตถ์ขวาหงายอยู่ที่พื้นขนาบพระเขนย อันเป็นพระอิริยาบถตามธรรมชาติ ขณะเสด็จดับขันธปรินิพพาน ตามความเชื่อของพุทธศาสนิกชน พระพุทธรูปปางนี้พบได้ตามวัดทั่วๆ ไป ซึ่งถือว่ามีการสร้างมากที่สุดปางที่ ๒.หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน พระบรมศพถูกนำมาจัดแต่งให้เหมาะสม ซึ่งตามพุทธประวัติ กล่าวว่า ทรงบรรทมหงาย พระบาทเหยียดเสมอกัน พระหัตถ์วางทับซ้อนกันบนพระอุระ บ้างก็ว่าทับซ้อนบนพระนาภี ดังปรากฏเป็นพุทธลักษณะของพระพุทธรูปปางนี้

    พระพุทธรูปปางนี้องค์เก่าแก่ที่สุด คือ พระนอนที่เมืองกุสินารา ประเทศอินเดีย สถานที่ปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ส่วนที่พบในประเทศไทย ได้แก่ คือ พระนอน วัดพระนอน ต.พิหารแดง อ.เมือง อันเป็นวัดเก่าแก่สมัยอู่ทองสุพรรณภูมิ ที่ปรักหักพังแล้ว และบูรณะขึ้นมาใหม่ ในสมัยปัจจุบันมีรูปปั้นพระนอนในลักษณะนอนหงาย สร้างเท่าขนาดคนจริงสมัยโบราณ ปางที่ ๓.พระพุทธรูปปางนี้แสดงอิริยาบถประทับนอนหงาย พระองค์ทอดยาว พระบาทเหยียดขนาบกันทั้งสองข้าง พระหัตถ์วางทาบยาวขนาบพระวรกาย พระมหากัสสปะยืนถวายบังคมอยู่เบื้องพระบาท เพื่อรำลึกถึงพุทธประวัติเมื่อครั้งงานถวายพระเพลิงพระบรมศพ ซึ่งเพลิงไม่ลุกไหม้ ต่อเมื่อพระมหากัสสปะ พระเถระผู้ใหญ่เดินทางมาถึง เพลิงก็ลุกไหม้เป็นที่อัศจรรย์พระพุทธรูปปางนี้น่าจะมีอยู่องค์เดียวในประเทศไทย คือ พระนอนหงายปางถวายพระเพลิง สร้างในสมัยกรุงธนบุรี หนึ่งเดียวในไทย ที่วัดราชคฤห์ กทม. ซึ่งเป็นวัดที่ฝังศพทหารเอกผู้กล้าของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช นั่นคือพระยาพิชัยดาบหัก ทั้งยังเป็นผู้สร้างพระพุทธไสยาสน์ลักษณะนอนหงายนี้ขึ้น ซึ่งปกติจะหาชมพระนอนหงายได้ยากมาก และยังนับเป็นพระปางถวายพระเพลิงที่มีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทยด้วย
    ---------/////----------
    0 เรื่อง / ภาพ ไตรเทพ ไกรงู 0

    -->[​IMG]
    วัดทุ่งน้อย เริ่มก่อสร้างขึ้นในที่ดินรกร้างว่างเปล่า จำนวน ๒๓ ไร่ ณ บ้านทุ่งน้อย ต.แหลมบัว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๗ โดยย้ายมาจากวัดคอกช้าง ซึ่งอยู่ห่างกันประมาณ ๑ กิโลเมตร และเป็นวัดที่สร้างมาในสมัยใดไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจน
    พระภิกษุมา ปทุมฺรตโน เจ้าอาวาสรูปแรก ใช้ความพยายาม ความรู้ และความสามารถที่ท่านเคยเป็นช่างไม้ ก่อสร้างถาวรวัตถุเพิ่มเติม พร้อมทั้งปฏิสังขรณ์สิ่งปลูกสร้างที่ทรุดโทรมด้วยตัวท่านเอง ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสครองวัดมาตลอดจนได้รับตำแหน่งทางคณะสงฆ์ให้เป็นพระอธิการ และเป็นพระอุปัชฌาย์ อุปสมบทกุลบุตรของชาวบ้านในถิ่นนั้น และไกลๆ นับไม่ถ้วน จนถึงปี ๒๕๐๖ ท่านก็มรณภาพด้วยความสงบ รวมอายุได้ ๘๐ ปี ๖๐ พรรษา
    วัดทุ่งน้อย มีโบราณวัตถุประจำวัดที่พุทธศาสนิกชนเคารพกราบไหว้บูขากัน ดังนี้ ๑.พระพุทธรูปศิลาแลง ประทับนั่งขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย หน้าตัก ๓ ศอก สมัยอยุธยาตอนปลาย ลงรักปิดทองทั้งองค์ มีพระนามว่า "พระพุทธศิลามนต์" แต่ชาวบ้านทั่วไปนิยมเรียกว่า "หลวงพ่อดำ" ประดิษฐานอยู่ในวิหาร [​IMG]
    ๒.พระพุทธรูปศิลาแลง ประทับนั่งขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ หน้าตัก ๓ ศอก สมัยอยุธยาตอนปลาย ลงชาดทั้งองค์ มีพระนามว่า "หลวงพ่อทอง" ประดิษฐานอยู่ในอุโบสถ พระพุทธรูปทั้งสององค์นี้ หลวงพ่อมา ปทุมฺรตโน พบที่อุโบสถเก่า ต.วัดละมุด อ.นครชัยศรี ซึ่งเป็นวัดร้าง อยู่ห่างจากวัดทุ่งน้อยประมาณ ๔ กิโลเมตร จึงอัญเชิญมาทางเรือ มาขึ้นที่วัดทุ่งน้อยถึงทุกวันนี้
    ๓.พระพุทธรูปปูนปั้น ปางไสยาสน์ ศิลปะสมัยสุโขทัย ประทับหงายพระองค์ พระหัตถ์ทั้งสองเหยียดประสานกันบนพระนาภี (สะดือ) มีขนาดยาว ๕.๗๐ เมตร กว้าง ๑.๕๐ เมตร ซึ่งถือว่าใหญ่ที่สุดในโลก หลวงพ่อมา ปทุมฺรตโน เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๐ โดยมี หลวงพ่อช้าง วัดทอง คลองบางกอกน้อย ธนบุรี เป็นช่างปั้น และตั้งพระนามว่า "หลวงพ่อสนอง" และได้รับการบูรณะใหม่ในเมื่อปี ๒๕๔๓
    พระครูจันเขมคุณ หรือ หลวงพ่อเกษม เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน บอกว่า ขณะนี้คณะกรรมการวัดมีโครงการจัดสร้างศาลาการเปรียญ ซึ่งประกอบด้วย หอสวดมนต์ หอวิปัสสนา และโรงเรียนพระปริยัติธรรม โดยจะใช้งบประมาณกว่า ๒๐ ล้านบาท จึงจัดสร้าง จตุคามรามเทพ รุ่น "นายร้อยห้วยจระเข้" เพื่อระลึกถึง ขุนพันธรักษ์ราชเดช ซึ่งครั้งหนึ่งเคยมาศึกษาที่โรงเรียนนายร้อยห้วยจระเข้ แต่ปัจจุบันนี้โรงเรียนนายตำรวจย้ายไปอยู่ที่ อ.สามพราน โดยมีมวลสารศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญ คือ ว่าน ๑๐๘ ผงยาจินดามณี ดิน ๗ โป่ง และเพชรหน้าทั่ง
    [​IMG]
    สำหรับพุทธศาสนิกชนจะเดินทางไปกราบไหว้ขอพร หลวงพ่อดำ ชมพระนอนหงายองค์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย รวมทั้งร่วมบุญสร้างศาลาการเปรียญ สอบถามรายละเอียดได้ที่โทร.๐-๓๔๒๐-๘๒๖๐, ๐๘-๕๔๐๙-๙๒๒๓, ๐๘-๔๑๐๑-๐๑๕๘

    พระนอนหงายที่ไหนบ้าง?

    [​IMG]
    คติการสร้าง พระพุทธไสยาสน์ หรือ พระนอน ปางต่างๆ นั้น กำหนดขึ้นตามพุทธประวัติ โดยเฉพาะในช่วงที่พระพุทธเจ้ากำลังจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน แต่ในประเทศไทย พระพุทธไสยาสน์ที่นิยมสร้างกันเป็นพระพุทธรูปคือ ปางโปรดอสุรินทราหู และปางเสด็จดับขันธปรินิพพาน ซึ่งมีอยู ๓ พุทธลักษณะ คือ
    ปางที่ ๑.พระพุทธรูปปางนี้ประทับนอนตะแคงขวา หลับพระเนตร พระเศียรหนุนพระเขนย พระหัตถ์ซ้ายทอดทาบพระวรกายเบื้องซ้าย พระหัตถ์ขวาหงายอยู่ที่พื้นขนาบพระเขนย อันเป็นพระอิริยาบถตามธรรมชาติ ขณะเสด็จดับขันธปรินิพพาน ตามความเชื่อของพุทธศาสนิกชน พระพุทธรูปปางนี้พบได้ตามวัดทั่วๆ ไป ซึ่งถือว่ามีการสร้างมากที่สุด
    ปางที่ ๒.หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน พระบรมศพถูกนำมาจัดแต่งให้เหมาะสม ซึ่งตามพุทธประวัติ กล่าวว่า ทรงบรรทมหงาย พระบาทเหยียดเสมอกัน พระหัตถ์วางทับซ้อนกันบนพระอุระ บ้างก็ว่าทับซ้อนบนพระนาภี ดังปรากฏเป็นพุทธลักษณะของพระพุทธรูปปางนี้

    [​IMG]
    พระพุทธรูปปางนี้องค์เก่าแก่ที่สุด คือ พระนอนที่เมืองกุสินารา ประเทศอินเดีย สถานที่ปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ส่วนที่พบในประเทศไทย ได้แก่ คือ พระนอน วัดพระนอน ต.พิหารแดง อ.เมือง อันเป็นวัดเก่าแก่สมัยอู่ทองสุพรรณภูมิ ที่ปรักหักพังแล้ว และบูรณะขึ้นมาใหม่ ในสมัยปัจจุบันมีรูปปั้นพระนอนในลักษณะนอนหงาย สร้างเท่าขนาดคนจริงสมัยโบราณ
    ปางที่ ๓.พระพุทธรูปปางนี้แสดงอิริยาบถประทับนอนหงาย พระองค์ทอดยาว พระบาทเหยียดขนาบกันทั้งสองข้าง พระหัตถ์วางทาบยาวขนาบพระวรกาย พระมหากัสสปะยืนถวายบังคมอยู่เบื้องพระบาท เพื่อรำลึกถึงพุทธประวัติเมื่อครั้งงานถวายพระเพลิงพระบรมศพ ซึ่งเพลิงไม่ลุกไหม้ ต่อเมื่อพระมหากัสสปะ พระเถระผู้ใหญ่เดินทางมาถึง เพลิงก็ลุกไหม้เป็นที่อัศจรรย์
    พระพุทธรูปปางนี้น่าจะมีอยู่องค์เดียวในประเทศไทย คือ พระนอนหงายปางถวายพระเพลิง สร้างในสมัยกรุงธนบุรี หนึ่งเดียวในไทย ที่วัดราชคฤห์ กทม. ซึ่งเป็นวัดที่ฝังศพทหารเอกผู้กล้าของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช นั่นคือพระยาพิชัยดาบหัก ทั้งยังเป็นผู้สร้างพระพุทธไสยาสน์ลักษณะนอนหงายนี้ขึ้น ซึ่งปกติจะหาชมพระนอนหงายได้ยากมาก และยังนับเป็นพระปางถวายพระเพลิงที่มีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทยด้วย


    ---------/////---------- 0 เรื่อง / ภาพ ไตรเทพ ไกรงู 0





    --------------------------
    ที่มา:คมชัดลึก
    http://www.komchadluek.net/2007/06/08/j001_121826.php?news_id=121826

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. mastermind

    mastermind สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2006
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +16
    เรื่องพระนอน หรือปางไสยาสน์นั้น ที่จริงมีอยู่หลายปางมาก ที่นิยมมากที่สุดในเมืองไทยของเรา คือปางโปรดอสุรินทราหู ซึ่งดูคล้ายปางสีหไสยาสน์ แต่สังเกตุที่พระเนตรของพระพุทธรูป ปางนี้จะไม่หลับพระเนตร เนื่องจากการสร้างเพื่อแทนองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตอนโปรดอสุรินทราหู จึงเนรมิตรกายให้ใหญ่โต เพื่อลดทิฐิของอสุรินทราหู ส่วนปางสีหไสยาสน์นั้น จะหลับพระเนตรเพราะการสร้างเพื่อถ่ายทอดพระอิริยาบทนอน <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    ส่วนปางนอนหงายที่กล่าวถึงนั้น ในพระพุทธประวัติตอนนี้จะเป็นเหตุการณ์ที่ติดต่อกันในช่วงทรงปรินิพพาน ในเมืองไทยนั้น เรายังสับสนหรือไม่ได้สังเกตุกันนัก มักเรียกรวมๆกันว่าพระนอนเสมอ ที่จริงแล้ว ปางปรินิพพานนั้นคือปางที่ทรงนอนตะแคงขวา โดยมีพระกรแนบลงไปกับพระแท่นอย่างเช่นที่กุสินารานั่นเอง ส่วนตอนที่พระมหากัสสปะมาถวายบังคมพระบรมศพนั้น พระพุทธสรีระศพได้บรรจุอยู่ในโลงทองแล้ว ของไทยเราสร้างกันมีน้อยมาก หาดูได้ยากเพราะมีส่วนประกอบมากคือ มักจะสร้างเป็นพระพุทธรูปอยู่ในโลงทอง มีพระอริยสาวกนั่งคุกเข่าถวายบังคมอยู่รอบๆ 5 องค์รวมทั้งพระมหากัสสปะด้วย โดยมีพระบาทยื่นออกมานอกโลงทอง เพื่อให้พระมหากัสสปะถวายบังคม เมื่อถวายบังคมแล้วเตโชธาตุก็บันดาลขื้นติดพระจิตกาธานขื้นเอง <o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    ส่วนพระนอนหงายนั้นเมืองไทยก็ไม่ค่อยนิยมสร้างเช่นกัน ส่วนใหญ่ที่เห็น จะมีที่พม่า จะสร้างพระพุทธรูปปางนี้กันมาก แต่น่าจะเป็นปางพิธีถวายพระเพลิงมากกว่า คือหลังจากที่เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแล้ว บรรดาพระสงฆ์สาวกและเหล่ามัลลกษัตริย์ได้จัดพิธีพระบรมศพขึ้นให้ประชาชนมากระทำการสักการะก่อน ที่จะทำการถวายพระเพลิง พระพุทธรูปปางนี้ทางพม่าจะสร้างเป็นพระพุทธรูปนอนหงายอยู่บนพระแท่นที่สวยงาม บางปางจะมีพระสาวกถวายบังคมอยู่โดยรอบมีธงประกอบอยู่ด้วย<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    ผมได้ทำการค้นคว้าเรื่องของปางพระพุทธรูปมาพอสมควร ขณะนี้นับได้ 100 ปางแล้ว รวบรวมพระพุทธรูปที่สร้างทั้งหมด ไม่เฉพาะของไทยเท่านั้น แต่การค้นคว้าได้ยึดถือเอาพระพุทธประวัติเป็นหลักอ้างอิง จึงจะจัดลำดับปางพระพุทธรูปเข้าไว้ ส่วนที่ยังไม่มีพุทธประวัติอ้างอิงนั้น ก็ยังเว้นไว้ก่อน และค้นคว้าไปเรื่อยๆ ผู้ที่สนใจลองเข้าไปดูได้ครับที่<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    http://www.freewebs.com/buddhaimages/<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    รบกวนท่านผู้รู้ช่วยชี้แนะเพิ่มเติมด้วยครับ เพื่อการเผยแพร่ความรู้ที่ถูกต้องต่อไป<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
     

แชร์หน้านี้

Loading...