พระธรรมเจดีย์ (จูม พนธุโล) ถาม พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถร ตอบ (1)

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย rinnn, 21 พฤศจิกายน 2006.

  1. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,026
    <table border="0" cellpadding="5" cellspacing="1" width="550"><tbody><tr><td bgcolor="#ffffff"><table align="center" border="0" width="540"><tbody><tr><td align="left">เอาธรรมะ ปุจฉา-วิสัชนา ระหว่างพระเดชพระคุณเจ้าพระธรรมเจดีย์ (จูม พนธุโล) กับ หลวงปู่มั่น มาฝาก หนังสือ ปุจฉา-วิสัชนา นี้ ตามหลักฐานที่บันทึกไว้ในหนังสือฉบับเดิมว่า พระเดชพระคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) วัดโพธิสมภรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เป็นผู้ปุจฉาท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เป็นผู้วิสัชนา มีเนื้อหาสาระที่ควรแก่การศึกษาและปฏิบัติเป็นอย่างยิ่ง
    ปฏิปัตติปุจฉาวิสัชนา

    ----------------------------------------------------
    - พระธรรมเจดีย์ (จูม พนธุโล) ถาม
    - พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถร ตอบ

    พระธรรมเจดีย์ :
    ถามว่า ผู้ปฏิบัติศาสนาโดยมากปฏิบัติอยู่แค่ไหน?

    พระอาจารย์มั่น :
    ปฏิบัติอยู่ภูมิกามาพจารกุศลโดยมาก

    พระธรรมเจดีย์ :
    ทำไมจึงปฏิบัติอยู่เพียงนั้น?

    พระอาจารย์มั่น :
    อัธยาศัยของคนโดยมากยังกำหนัดอยู่ในกาม เห็นว่ากามารมณ์ที่ดีเป็นสุข ส่วนที่ไม่ดีเห็นว่าเป็นทุกข์ จึงได้ปฏิบัติในบุญกริยาวัตถุ มีการฟังธรรม ให้ทาน รักษาศีล เป็นต้น หรือภาวนาบ้างเล็กน้อย เพราะความมุ่งเพื่อจะได้สวรรคสมบัติ มนุษยสมบัติ เป็นต้น ก็คงเป็นภูมิกามาพจรกุศลอยู่นั่นเอง เบื้องหน้าแต่กายแตกตายไปแล้ว ย่อมถึงสุคติบ้าง ไม่ถึงบ้างแล้วแต่วิบากจะซัดไป เพราะไม่ใช่นิยตบุคคล คือยังไม่ปิดอบาย เพราะยังไม่ได้บรรลุโสดาปัตติผล

    พระธรรมเจดีย์ :
    ก็ท่านผู้ปฏิบัติที่ดีกว่านี้ไม่มีหรือ?

    พระอาจารย์มั่น :
    มี แต่ว่าน้อย

    พระธรรมเจดีย์ :
    น้อยเพราะเหตุไร?

    พระอาจารย์มั่น :
    น้อยเพราะกามทั้งหลายเท่ากับเลือดในอกของสัตว์ ยากที่จะละความยินดีในกามได้ เพราะการปฏิบัติธรรมละเอียด ต้องอาศัยกายวิเวก จิตตวิเวก จึงจะเป็นไปเพื่ออุปธิวิเวก เพราะเหตุนี้แลจึงทำได้ด้วยยาก แต่ไม่เหลือวิสัย ต้องเป็นผู้เห็นทุกข์จริงๆ จึงจะปฏิบัติได้

    พระธรรมเจดีย์ :
    ถ้าปฏิบัติเพียงภูมิกามาพจรกุศล ดูไม่แปลกอะไร เพราะเกิดเป็นมนุษย์ก็เป็นภูมิกามาพจรกุศลอยู่แล้ว ส่วนการปฏิบัติจะให้ดีกว่าเก่าก็จะต้องให้เลื่อนชั้นเป็นภูมิรูปาวจรหรืออรูปาวจรแลโลกอุดร จะได้แปลกจากเก่า?

    พระอาจารย์มั่น :
    ถูกแล้ว ถ้าคิดดูคนนอกพุทธกาล ท่านก็ได้บรรลุฌาณชั้นสูงๆก็มี คนในพุทธกาล ท่านก็ได้บรรลุมรรคแลผล มีพระโสดาบัน แลพระอรหันต์ โดยมากนี่เราก็ไม่ได้บรรลุฌาณเป็นอันสู้คนนอกพุทธกาลไม่ได้ แลไม่ได้บรรลุมรรคผลเป็นอันสู้คนในพุทธกาลไม่ได้

    พระธรรมเจดีย์ :
    เมื่อเป็นเช่นนี้จักทำอย่างไรดี ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ต้องทำในใจให้เห็นตามพระพุทธภาษิตที่ว่า มตฺตาสุขปริจฺจาคา ปสฺเส เจ วิปุลํ สุขํ ถ้าว่าบุคคลเห็นซึ่งสุขอันไพบูลย์ เพราะบริจาคซึ่งสุขมีประมาณน้อยเสียไซร้ จเช มตฺตาสุขํ ธีโร สมฺปสฺสํ วิปุลํ สุขํ บุคคลผู้มีปัญญาเครื่องทรงไว้ เมื่อเล็งเห็นซึ่งสุขอันไพบูลย์ พึงละเสียซึ่งสุขมีประมาณน้อย

    พระธรรมเจดีย์ :
    สุขมีประมาณน้อยได้แก่สุขชนิดไหน?

    พระอาจาย์มั่น :
    ได้แก่สุขซึ่งเกิดแต่ความยินดีในกามที่เรียกว่า อามิสสุข นี่แหละสุขมีประมาณน้อย

    พระธรรมเจดีย์ :
    ก็สุขอันไพบูลย์ได้แก่สุขชนิดไหน?

    พระอาจารย์มั่น :
    ได้แก่ฌาณ วิปัสสนา มรรค ผล นิพพาน ที่เรียกว่านิรามิสสุขไม่เจือด้วยกาม นี่แหละสุขอันไพบูลย์

    พระธรรมเจดีย์ :
    จะปฏิบัติให้ถึงสุขอันไพบูลย์จะดำเนินทางไหนดี?

    พระอาจารย์มั่น :
    ก็ต้องดำเนินทางองค์มรรค 8

    พระธรรมเจดีย์ :
    องค์มรรค 8 ใครๆก็รู้ ทำไมถึงเดินกันไม่ใคร่จะถูก?

    พระอาจารย์มั่น :
    เพราะองค์มรรคทั้ง 8 ไม่มีใครเคยเดิน จึงเดินไม่ใคร่ถูก พอถูกก็เป็นพระอริยเจ้า

    พระธรรมเจดีย์ :
    ที่เดินไม่ถูกเพราะเหตุอะไร?

    พระอาจารย์มั่น :
    เพราะชอบเดินทางเก่าซึ่งเป็นทางชำนาญ

    พระธรรมเจดีย์ :
    ทางเก่านั้นคืออะไร?

    พระอาจารย์มั่น :
    ได้แก่กามสุขัลลิกานุโยคแลอัตตกิลมถานุโยค

    พระธรรมเจดีย์ :
    กามสุขัลลิกานุโยคนั้นคืออะไร?

    พระอาจารย์มั่น :
    ความทำตนให้เป็นผู้หมดมุ่นติดอยู่ในกามสุขนี้แล ชื่อว่ากามสุขัลลิกานุโยค

    พระธรรมเจดีย์ :
    อัตตกิลมถานุโยคได้แก่ทางไหน?

    พระอาจารย์มั่น :
    ได้แก่ผู้ปฏิบัติผิด แม้ประพฤติเคร่งครัดทำตนให้ลำบากสักเพียงไร ก็ไม่สำเร็จประโยชน์ซึ่ง มรรค, ผล, นิพพาน, นี่แหละเรียกวาอัตตกิลมถานุโยค

    พระธรรมเจดีย์ :
    ถ้าเช่นนั้นทางทั้ง 2 นี้ เห็นจะมีคนเดินมากกว่ามัชฌิมาปฏิปทาหลาร้อยเท่า ?

    พระอาจารย์มั่น :
    แน่ทีเดียว พระพุทธเจ้าแรกตรัสรู้ จึงได้แสดงก่อนธรรมอย่างอื่นๆ ที่มาแล้วในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เพื่อให้สาวกเข้าใจ จะได้ไม่ดำเนินในทางทั้ง 2 มาดำเนินในทางมัชฌิมาปฏิปทา

    พระธรรมเจดีย์ :
    องค์มรรค 8 ทำไมจึงยกสัมมาทิฎฐิ ซึ่งเป็นกองปัญญขึนแสดงก่อน ส่วนการปฏิบัติของผู้ดำเนินทางมรรค ต้องทำศีลไปก่อน แล้วจึงทำสมาธิ แลปัญญา ซึ่งเรียกว่าสิกขาทั้ง 3?

    พระอาจารย์มั่น :
    ตามความเห็นของข้าพเจ้าว่าจะเป็น 2 ตอน ตอนแรกส่วนโลกียกุศลต้องทำศีล สมาธิ ปัญญา เป็นลำดับไป ปัญญาที่เกิดขึ้นยังไม่เห็นอริยสัจทั้ง 4 สังโยชน์ 3 ยังละไม่ได้ ขีดของใจเพียงนี้เป็นโลกีย์ ตอนที่เห็นอริยสัจแล้วละสังโยชน์ 3 ได้ ตอนนี้เป็นโลกุตตร

    พระธรรมเจดีย์ :
    ศีลจะเอาศีลชนิดไหน ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ศีลมีหลายอย่าง ศีล 5 ศีล 8 ศีล 10 ศีล 227 แต่ในที่นี้ประสงค์ศีลที่เรียกว่า สมฺมาวาจา สมฺมากมฺมนฺโต สมฺมาอาชีโว แต่ต้องทำให้บริบูรณ์

    พระธรรมเจดีย์ :
    สมฺมาวาจา คืออะไร?

    พระอาจารย์มั่น :
    มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากพูดเท็จ ปิสุณาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดคำหยาบ สมฺผปฺปลาปา เวรมณี เว้นจากพูดโปรยประโยชน์

    พระธรรมเจดีย์ :
    สมฺมากมฺมนฺโต การงานชอบนั้นมีกี่อย่าง?

    พระอาจารย์มั่น :
    มี 3 อย่าง คือ ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากฆ่าสัตว์ อทินนาทานา เวรมณี เว้นจากการลักทรัพย์ อพฺรหฺมจริยา เวรมณี เว้นจากอสัทธรรมไม่ใช่พรหมจรรย์

    พระธรรมเจดีย์ :
    สมฺมากมฺมนฺโต ในที่อื่นๆโดยมาเว้น อพฺรหฺม ส่วนในมหาสติปัฏฐานทำไมจึงเว้นกาเมสุมิจฉาจาร ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ความเห็นของข้าพเจ้าว่าที่ทรงแสดงศีล อพฺรหฺม เห็นจะเป็นด้วยรับสั่งแก่ภิกษุ เพราะว่าภิกษุเป็น พรหมจารีบุคคลนั้น ส่วนในมหาสติปัฏฐาน 4 ก็รับสั่งแก่ภิกษุเหมือนกัน แต่ว่าเวลานั้นพระองค์เสด็จประทับอยู่ในหมู่ชนชาวกุรุ พวกชาวบ้านเห็นจะฟังอยู่มาก ท่านจึงสอนให้เว้น กามมิจฉาจาร เพราะชาวบ้านมักเป็นคนมีคู่

    พระธรรมเจดีย์ :
    สมฺมาอาชีโว เลี้ยงชีวิตชอบ เว้นจากมิจฉาชีพนั้นเป็นอย่างไร ?

    พระอาจารย์มั่น :
    บางแห่งท่านก็อธิบายไว้ว่า ขายสุรายาพิษ ศัสตราวุธ หรือขายสัตว์มีชีวิตต้องเอาไปฆ่าเป็นต้น เหล่านี้แหละเป็นมิจฉาชีพ

    พระธรรมเจดีย์ :
    ถ้าคนที่ไม่ได้ขายของเหล่านี้ก็เป็นสมฺมาอาชีโว อย่างนั้นหรือ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ยังเป็นไปไม่ได้ เพราะวิธีโกงของคนมีหลายอย่างนัก เช่น ค้าขายโดยไม่เชื่อ มีการโกงตาชั่งตาเต็ง หรือเอารัดเอาเปรียบอย่างใดอย่างหนึ่งในเวลาที่ผู้ชื้อเผลอหรือเขาไว้ใจ รวมความพูดว่าอัธยาศัยของคนที่ไม่ซื่อ คิดเอารัดเอาเปรียบผู้อื่น เห็นแต่จะได้สุดแต่จะมีโอกาส จะเป็นเงินหรือของก็ดี ถึงแม้ไม่ชอบธรรม สุดแต่จะได้ เป็นเอาทั้งนั้น ข้าพเจ้าเห็นว่าอาการเหล่านี้ก็เป็นมิจฉาชีพทั้งสิ้น สมฺมาอาชีโว จะต้องเว้นทุกอย่างเพราะเป็นสิ่งที่คดค้อมได้มาโดยไม่ชอบธรรม </td></tr></tbody></table>
    </td></tr> <tr><td bgcolor="#dddddd"><table align="center" border="0" width="100%"><tbody><tr><td align="right">วิษณุ [​IMG] [203.156.61.170][ วันจันทร์ ที่ 20 พฤศจิกายน 2549 เวลา 16:31 น. ]</td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>


    http://dhammathai.org/webboard/view.php?No=5452
     
  2. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,026
    <table border="0" cellpadding="5" cellspacing="1" width="550"><tbody><tr><td align="center">พระธรรมเจดีย์ (จูม พนธุโล) ถาม พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถร ตอบ (2) </td></tr> <tr><td bgcolor="#ffffff">
    <table align="center" border="0" width="540"><tbody><tr><td align="left">ปฏิปัตติปุจฉาวิสัชนา (2)
    ----------------------------------------------
    พระธรรมเจดีย์ :
    สมฺมาวายาโม ความเพียรชอบนั้นคือเพียรอย่างไร?

    พระอาจารย์มั่น :
    สังวรปธาน เพียรระวังอกุศลวิตก 3 ที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิดขึ้น ปหานปธาน เพียร ละอกุศลวิตก 3 ที่เกิดขึ้นแล้วให้หายไป ภาวนาปธาน เพียรเจริญกุศลที่ยังไม่เกิดขึ้นแล้วให้หายไป ภาวนาปธาน เพียรเจริญกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น อนุรักขนาปธาน เพียรรักษากุศลที่เกิดแล้วไว้ให้สมบูรณ์

    พระธรรมเจดีย์ :
    สมฺมาสติ ระลึกชอบนั้นระลึกอย่างไร

    พระอาจารย์มั่น :
    ระลึกอยู่ในสติปัฎฐาน 4 คือ กายานุปสฺสนา ระลึกถึงกาย เวทนานุปสฺสนา ระลึกถึงเวทนา จิตฺตานุปสฺสนา ระลึกถึงจิต ธมฺมานุปสฺสนา ระลึกถึงธรรม

    พระธรรมเจดีย์ :
    สมฺมาสมาธิ ความตั้งใจไว้ชอบ คือตั้งใจไว้อย่างไร จึงจะเป็นสมฺมาสมาธิ?

    พระอาจารย์มั่น :
    คือตั้งไว้ในองค์ฌาณทั้ง 4 ที่เรียกว่า ปฐมฌาณ ทุติยฌาณ ตติยฌาณ จตุตถฌาณ เหล่านี้แหละ เป็น สมฺมาสมาธิ

    พระธรรมเจดีย์ :
    สมฺมาสงฺกปฺโป ความดำริชอบนั้นดำริอย่างไร?

    พระอาจารย์มั่น :
    เนกฺขมฺมสงฺกปฺโป ดำริออกจากกาม อพฺยาปาทสงฺกปฺโป ดำริไม่พยาบาท อวิหึสาสงฺกปฺโป ดำริในความไม่เบียดเบียน

    พระธรรมเจดีย์ :
    สมฺมาวายาโม ก็ละอกุศลวิตก 3 แล้ว สมฺมาสงฺกปฺโป ทำไมจึงต้องดำริอีกเล่า?

    พระอาจารย์มั่น :
    ต่างกันเพราะ สมฺมาวายาโมนั้น เป็นแต่เปลี่ยนอารมณ์ เช่น จิตที่ฟุ้งซาน หรือเป็นอกุศลก็เลิกนึกเรื่องเก่าเสีย มามีสติระลึกอยู่ในอารมณ์ที่เป็นกุศลจึงสงเคราะห์เข้าในกองสมาธิ ส่วนสมฺมาสงฺกปฺโป มีปัญญาพิจารณาเห็นโทษของกาม เห็นอานิสงส์ของเนกขัมมะ จึงได้คิดออกจากกามด้วยอาการที่เห็นโทษหรือเห็นโทษของพยาบาทวิหิงสา เห็นอานิสงส์ของเมตตากรุณา จึงได้คาดละพยาบาทวิหิงสา การเห็นโทษแลเห็นอานิสงส์เช่นนี้แหละจึงผิดกับ สมฺมาวายาโม ท่านจึงสงเคราะห์เข้าไว้ในกองปัญญา

    พระธรรมเจดีย์ :
    สมฺมาทิฎฺฐิ ความเห็นชอบนั้นคือเห็นอย่างไร?

    พระอาจารย์มั่น :
    คือ เห็นทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ที่เรียกว่า อริยสัจ 4 ความเห็นชอบอย่างนี้แหละชื่อว่า สมฺมาทิฎฺฐิ

    พระธรรมเจดีย์ :
    อริยสัจ 4 นั้น มีกิจจะต้องทำอะไรบ้าง?

    พระอาจารย์มั่น :
    ตามแบบที่มีมาในธรรมจักร มีกิจ 3 อย่าง ใน 4 อริยสัจ รวมเป็น 12 คือ สัจญาณ รู้ว่าทุกข์ กิจญาณ รู้ว่าจะต้องกำหนด กตญาณ รู้ว่ากำหนดเสร็จแล้ว แลรู้ว่าทุกขสมุทัยจะต้องละ แลได้ละเสร็จแล้ว และรู้ว่าทุกขนิโรธจะต้องทำให้เจ้งแลได้ทำให้แจ้งเสร็จแล้ว แลรู้ว่าทุกขนิโรธคามีนีปฏิปทา จะต้องเจริญ แลได้เจริญแล้ว นี่แหละเรียกว่ากิจในอริยสัจทั้ง 4

    พระธรรมเจดีย์ :
    ทุกข์นั้นได้แก่สิ่งอะไร?

    พระอาจารย์มั่น :
    ขันธ์ 5 อายตนะ 6 ธาตุ 6 นามรูป เหล่านี้เป็นประเภททุกขสัจ

    พระธรรมเจดีย์ :
    ทุกข์มีหลายอย่างนักจะกำหนดอย่างไรถูก?

    พระอาจารย์มั่น :
    กำหนดอย่างเดียวก็ได้ จะเป็นขันธ์ 5 หรือ อายตนะ 6 หรือธาตุ 6 นามรูปอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ ไม่ใช่ว่าจะต้องกำหนดทีละหลายอย่าง แต่ว่าผู้ปฏิบัติควรจะรู้ไว้เพราะธรรมทั้งหลายเหล่านี้ เป็นอารมณ์ของวิปัสสนา

    พระธรรมเจีดย์ :
    การที่จะเห็นอริยสัจก็ต้องทำวิปัสสนาด้วยหรือ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ไม่เจริญวิปัสนา ปัญญาจะเกิดอย่างไรได้ เมื่อปัญญาไม่มีจะเห็นอริยสัจทั้ง 4 อย่างไรได้ แต่ที่เจริญวิปัสสนากันอยู่ ผู้ที่อินทรีย์อ่อนยังไม่เห็นอริยสัจทั้ง 4 เลย

    พระธรรมเจดีย์ :
    ขันธ์ 5 ใครๆก็รู้ทำไมจึงกำหนดทุกข์ไม่ถูก?

    พระอาจารย์มั่น :
    รู้แต่ชื่อ ไม่รู้อาการขันธ์ตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้นขันธ์ 5 เกิดขึ้นก็ไม่รู้ว่าเกิด ขันธ์ 5 ดับไปก็ไม่รู้ว่าดับ แลขันธ์มีอาการสิ้นไปเสื่อมไปตามความเป็นจริงอย่างไรก็ไม่ทราบทั้งนั้น จึงเป็นผู้หลงประกอบด้วยวิปลาส คือไม่เที่ยงก็เห็นว่าเที่ยง เป็นทุกข์ก็เห็นว่าเป็นสุข เป็นอนัตตาก็เห็นว่าเป็นอัตตาตัวตน เป็นอสุภไม่งามก็เห็นว่าเป็นสุภะงาม เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงทรงสั่งสอนสาวกที่มาแล้วในมหาสติปัฎฐานสูตร ให้รู้จักขันธ์ 5 แลอายตนะ 6 ตามความเป็นจริงจะได้กำหนดถูก

    พระธรรมเจดีย์ :
    ขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนั้นมีลักษณะอย่างไร เมื่อเวลาเกิดขึ้นแลดับไปจะได้รู้?

    พระอาจารย์มั่น :
    รูปคือ ธาตุดิน 19 น้ำ 12 ลม 6 ไฟ 4 ชื่อว่ามหาภูตรูป เป็นรูปใหญ่แลอุปาทายรูป 24 เป็นรูปที่ละเอียด ซึ่งอาศัยอยู่ในมหาภูตรูป 4 เหล่านี้ชื่อว่ารูป แต่จะแจงให้ละเอียดก็มากมาย เมื่ออยากทราบให้ละเอียด ก็จงไปดูเอาในแบบเถิด

    พระธรรมเจดีย์ :
    ก็เวทนานั้นได้แก่สิ่งอะไร?

    พระอาจารย์มั่น :
    ความเสวยอารมณ์ ซึ่งเกิดประจำอยู่ในรูปนี้แหละ คือบางคราวก็เสวยอารมณ์เป็นสุข บางคราวก็เสวยอารมณ์ก็เป็นทุกข์ บางคราวก็ไม่ทุกข์ ไม่สุข นี่แหละเรียกว่า เวทนา 3 ถ้าเติมโสมนัสโทมนัส ก็เป็นเวทนา 5

    พระธรรมเจดีย์ :
    โสมนัสโทมนัสเวทนา ดูเป็นชื่อของกิเลส ทำไมจึงเป็นขันธ์?

    พระอาจารย์มั่น :
    เวทนามี 2 อย่าง คือ กายิกะเวทนาๆ ซึ่งเกิดทางกาย 1 เจตสิกเวทนาๆ ซึ่งเกิดทางใจ 1 สุขเวทนาเสวยอารมณ์เป็นสุข ทุกขเวทนาเสวยอารมณ์เป็นทุกข์ 2 อย่างนี้เกิดทางกาย โสมนัส โทมนัส อทุกขมสุขเวทนา 3 อย่างนี้เกิดทางใจ ไช่กิเลส คือเช่นกับบางคราวอยู่ดีๆก็มีความสบายใจ โดยไม่ได้อาศัยความรักความชอบก็มี หรือบางคราวไม่อาศัยโทสะหรือปฏิฆะ ไม่สบายใจขึ้นเอง เช่นคนเป็นโรคหัวใจหรือโรคเส้นประสาทก็มี อย่างนี้เป็นขันธ์แท้ ต้องกำหนดรู้ว่าเป็นทุกข์ เมื่อเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งปรากฎขึ้น นั่นแหละเป็นความเกิดขึ้นแห่งเวทนา เมื่อเวทนาเหล่านั้นดับหายไป เป็นความดับไปแห่งเวทนา นี่แหละเป็นขันธ์แท้ เป็นประเภททุกขสัจ

    พระธรรมเจดีย์ :
    เวทนานั้นอาศัยอะไรจึงเกิดขึ้น?

    พระอาจารย์มั่น :
    อาศัยอายตนะภายใน 6 ภายนอก 6 วิญญาณ 6 กระทบกันเข้า ชื่อว่าผัสสะ เป็นที่เกิดแห่งเวทนา

    พระธรรมเจดีย์ :
    อายตนะภายใน 6 ภายนอก 6 วิญญาณ 6 ผัสสะ 6 เวทนาที่เกิดแต่ผัสสะ 6 ก็ไม่ใช่กิเลส เป็นประเภททุกข์ทั้งนั้นไม่ใช่หรือ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ถูกแล้ว

    พระธรรมเจดีย์ :
    แต่ทำไมคนเราเมื่อเวลาตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้ดมกลิ่น ลิ้นได้ลิ้มรสหรือถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย รู้รับอารมณ์ด้วยใจ ก็ย่อมได้เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ใช่หรือ ก็อายตนะแลผัสสเวทนาก็ไม่ใช่กิเลส แต่ทำไมคนเราจึงเกิดกิเลสและความอยากขึ้นได้เล่า?

    พระอาจารย์มั่น :
    เพราะไม่รู้ว่าเป็นขันธ์แลอายตนะ แลผัสสเวทนา สำคัญว่าเป็นผู้เป็นคนเป็นจริงเป็นจัง จึงได้เกิดกิเลสและความอยาก เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงไว้ในฉักกะสูตรว่า บุคคลเมื่อสุขเวทนาเกิดขึ้น ก็ปล่อยให้รานุสัยตามนอน ทุกขเวทนาเกิดขึ้น ก็ปล่อยให้ปฏิฆานุสัยตามนอน อุทกขมสุขเวทนาเกิดขึ้น ก็ปล่อยให้อวิชชานุสัยตามนอน การทำที่สุดแห่งทุกข์ในชาตินี้ ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้เป็นได้ ถ้าบุคคลเมื่อเวทนาทั้ง 3 เกิดขึ้นก็ไม่ปล่อยให้อนุสัยทั้ง 3 ตามนอน การทำที่สุดแห่งทุกข์ในชาตินี้มีฐานะที่มีได้เป็นได้ นี่ก็เท่ากับตรัสไว้เป็นคำตายตัวอยู่แล้ว

    พระธรรมเจดีย์ :
    จะปฏิบัติอย่างไรจึงจะไม่ให้อนุสัยทั้ง 3 ตามนอน

    พระอาจารย์มั่น :
    ก็ต้องมีสติทำความรู้สึกตัวไว้ แลมีสัมปชัญญะ ความรู้รอบคอบในอายตนะ แลผัสสเวทนาตามความเป็นจริงอย่างไร อนุสัยทั้ง 3 จึงจะไม่ตามนอน สมด้วยพระพุทธภาษิตในโสฬสปัญหาที่ 1 ตรัสตอบอชิตะมานพว่า สติ เตสํ นิวารณํ สติเป็นทดุจทำนบเครื่องปิดกระแสเหล่านั้น ปญฺญา เยเตปิถิยฺยเร กระแสเหล่านั้นอันผู้ปฏิบัติจะละเสียได้ด้วยปัญญา แต่ในที่นั้นท่านประสงค์ละตัณหา แต่อนุสัยกับตัณหาห้เป็นกิเลสประเภทเดียวกัน

    พระธรรมเจดีย์ :
    เวทนาเป็นขันธ์แท้เป็นทุกขสัจไม่ใช่กิเลส แต่ในปฏิจจสมุปบาท ทำไมจึงมี เวทนาปจฺจยตณฺหา เพราะเหตุอะไร?

    พระอาจารย์มั่น :
    เพราะไม่รู้จักเวทนาตามความเป็นจริง เมื่อเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น เวทนาที่เป็นสุขก็ชอบเพลิดเพลินอยากได้ หรือให้คงอยู่ไม่ให้หายไปเสีย เวทนาที่เป็นทุกข์ไม่ดีมีมา ก็ไม่ชอบประกอบด้วยปฏิฆะอยากผลักไสไล่ขับให้หายไปเสีย หรืออทุขมสุขเทนา ที่มีมาก็ไม่รู้ อวิชชานุสัยจึงตามนอน สมด้วยพระพุทธภาษิตในโสฬสปัญหาที่ 13 ที่อุทยะมานพทูลถามว่า กถํ สตสฺส จรโตวิญญาณํ อุปรุชฺฌติ เมื่อบุคคลประพฤติมีสติอย่างไร ปฏิสนธิ วิญญานจึงจะดับ ตรัสตอบว่า อชฺฌตฺตญฺจ พหิทฺธา จ เวทนํ นาพินนฺทโต เมื่อบุคคลไม่เพลิดเพลินยิ่ง ซึ่งเวทนาทั้งภายในแลภายนอก อวํ สตสฺส จรโต วิญญาณํ อุปรุชฺฌติ ประพฤติมีสติอยู่อย่างนี้ ปฏิสนธิวิญญาณจึงจะดับ

    พระธรรมเจดีย์ :
    เวทนาอย่างไรชื่อว่าเวทนาภายนอก เวทนาอย่างไรชื่อว่าเวทนาภายใน

    พระอาจารย์มั่น :
    เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส โสตะสัมผัส ฆานะสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส 5 อย่าง นี้ชื่อว่า เวทนาที่เป็นภายนอก เวทนาที่เกิดในฌาณ เช่น ปีติหรือสุขเป็นต้น ชื่อว่าเวทนาภายในเกิดแต่มโนสัมผัส

    พระธรรมเจดีย์ :
    ปีติแลสุขก็เป็นเวทนาด้วยหรือ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ปีติแลสุขนั้นเกิดขึ้นเพราะความสงบ อาศัยความเพียรของผู้ปฏิบัติ ในคิริมานนทสูตร อานาปานสติ หมวดที่ 5 กับที่ 6 ท่านสงเคราะห์เข้าในเวทนานุปัสสนาสติปัฎฐาน เพราะฉะนั้นปีติแลสุขจึงจัดเป็นเวทนาภายในได้

    พระธรรมเจดีย์ :
    ที่เรียกว่า นิรามิสเวทนา เสวยเวทนาไม่มีอามิส คือไม่เจือกามคุณ เห็นจะเป็นเวทนาที่เกิดขึ้นจากจิตที่สงบนี้เอง แต่ถ้าเช่นนั้นความยินดีใน รูป, เสียง, กลิ่น, รส, โผฎฐัพพะ ที่เรียกว่ากามคุณ 5 เวทนาที่เกิดคราวนั้น ก็เป็นอามิสเวทนา ถูกไหม?

    พระอาจารย์มั่น :
    ถูกแล้ว

    พระธรรมเจดีย์ :
    ส่วนเวทนาข้าพเจ้าเข้าใจดีแล้ว แต่ส่วนสัญญาขันธ์ ความจำรูป จำเสียง จำกลิ่น จำรส จำโผฏฐัพพะ จำธัมมารมณ์ 6 อย่างนี้ มัลักษณะอย่างไร เมื่อรูป สัญญาความจำรูปเกิดขึ้นนั้น มีอาการเช่นไร แลเวลาที่ความจำรูปดับไป มีอาการเช่นไรข้าพเจ้าอยากทราบ เพื่อจะได้กำหนดถูก?

    พระอาจารย์มั่น :
    คือเราได้เห็นรูปคน หรือรูปของอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วมานึกขึ้น รูปคนหรือรูปของเหล่านั้นก็มาปรากฎขึ้นในใจ เหมือนอย่างได้เห็นจริงๆนี่เรียกว่าความจำรูป

    พระธรรมเจดีย์ :
    ยังไม่เข้าใจดี ขอให้ชี้ตัวอย่างให้ขาวอีกสักหน่อย?

    พระอาจารย์มั่น :
    เช่นกับเมื่อเช้านี้เราได้พบกับคนที่รู้จักกันหรือได้พูดกัน ครั้นคนนั้นไปจากเราแล้ว เมื่อเรานึกถึงคนนั้น รูปร่างคนนั้นก็ปรากฎชัดเจนเหมือนเวลาที่พบกัน หรือได้เห็นของสิ่งใดสิ่งหนึ่งไว้ เมื่อเวลานึกขึ้นก็เห็นสิ่งนั้นชัดเจน เหมือนอย่างเวลาที่เห็นรวมเป็นรูป 2 อย่าง คือ อุปาทินนกรูป รูปที่มีวิญญาณ เช่น รูปคน หรือรูปสัตว์ อนุปาทินนกรูป รูปที่ไม่มีวิญญาณครอง ได้แก่สิ่งของต่างๆหรือต้นไม้ดินหินกรวด </td></tr></tbody></table>
    </td></tr> <tr><td bgcolor="#dddddd"><table align="center" border="0" width="100%"><tbody><tr><td align="right">วิษณุ [​IMG] [203.156.61.170][ วันจันทร์ ที่ 20 พฤศจิกายน 2549 เวลา 16:33 น. ]</td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
    http://dhammathai.org/webboard/view.php?No=5453
     
  3. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,026
    <table border="0" cellpadding="5" cellspacing="1" width="550"><tbody><tr><td align="center">พระธรรมเจดีย์ (จูม พนธุโล) ถาม พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถร ตอบ (3)</td></tr> <tr><td bgcolor="#ffffff">
    <table align="center" border="0" width="540"><tbody><tr><td align="left">ปฏิปัตติปุจฉาวิสัชนา (3)
    ------------------------------------------------------
    พระธรรมเจดีย์ :
    ถ้าเช่นนั้นคนเป็นก็เป็นรูปที่มีวิญญาณ คนตายก็เป็นรูปที่ไม่มีวิญญาณ อย่างนั้นหรือ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ถูกแล้ว น่าสลดใจ ชาติเดียวเป็นได้ 2 อย่าง

    พระธรรมเจดีย์ :
    ถ้าเช่นนั้นสัญญาก็เป็นเรื่องของอดีตทั้งนั้น ไม่ใช่ปัจจุบัน?

    พระอาจารย์มั่น :
    อารมณ์นั้นเป็นอดีต แต่เมื่อความจำปรากฎขึ้นในใจ เป็นสัญญาปัจจุบันนี่แหละเรียกว่าสัญญาขันธ์

    พระธรรมเจดีย์ :
    ถ้าไม่รู้จักสัญญา เวลาที่ความจำรูปคนมาปรากฎขึ้นในใจ ก็ไม่รู้ว่าสัญญาของตัวเอง สำคัญว่าเป็นคนจริงๆ หรือความจำรูปที่ไม่มีวิญญาณมาปรากฎขึ้นในใจ ก็ไม่รู้ว่าสัญญา สำคัญว่าเป็นสิ่งเป็นของจริงๆ เมื่อเป็นเช่นนี้จะมีโทษอย่างไรบ้าง ขอท่านจงอธิบายให้ข้าพเจ้าเข้าใจ?

    พระอาจารย์มั่น :
    มีโทษมาก เช่นนึกถึงคนที่รัก รูปร่างของคนที่รักก็มาปรากฎกับใจ กามวิตกที่ยังไม่เกิด ก็จะเกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็จะงอกงาม หรือนึกถึงคนที่โกรธกัน รูปร่างของคนที่โกรธกันนั้นก็มาปรากฎชัดเจนเหมือนได้เห็นจริงๆ พยาบาทวิตกที่ยังไม่เกิดก็จะเกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็จะงอกงาม หรือนึกถึงสิ่งของที่สวยๆงามๆ รูปร่างสิ่งของเหล่านั้นก็มาปรากฎในใจ เกิดความชอบใจบ้าง แหละอย่าได้บ้าง เพราะไม่รู้ว่าสัญญาขันธ์ของตัวเอง สัญญาว่าสิ่งทั้งปวงเป้นจริงเป็นจังไปหมด ที่แท้ก็เหลวทั้งนั้น

    พระธรรมเจดีย์ :
    ก็ความเกิดขึ้นแห่งสัญญามีลักษณะอย่างไร?

    พระอาจารย์มั่น :
    เมื่อความจำรูปอย่างใดอย่างหนึ่งมาปรากฎในใจ เป็นความเกิดขึ้นแห่งความจำรูป เมื่อความจำรูปเหล่านั้นดับหายไปจากใจ เป็นความดับไปแห่งความจำรูป

    พระธรรมเจดีย์ :
    ความจำเสียงนั้น มีลักษณะอย่างไร?

    พระอาจารย์มั่น :
    เช่นเวลาเราฟังเทศน์ เมื่อพระเทศน์จบแล้วเรานึกขึ้นได้ว่าท่านแสดงว่าอย่างนั้นๆ หรือมีคนมาพูดเล่าเรื่องอะไรๆให้เราฟัง เมื่อเขาพูดเสร็จแล้วเรานึกขึ้นจำถ้อยคำนั้นได้ นี่เป็นลักษณะของความจำเสียง เมื่อความจำเสียงปรากฎขึ้นในใจ เป็นความเกิดขึ้นแห่งความจำเสียง เมื่อความจำเสียงเหล่านั้นดับหายไปจากใจ เป็นความดับไปแห่งสัททสัญญา

    พระธรรมเจดีย์ :
    คันธสัญญาความจำกลิ่นมีลักษณะอย่างไร?

    พระอาจารย์มั่น :
    เช่นกับเราเคยได้กลิ่นหอมดอกไม้หรือน้ำอบ หรือกลิ่นเหม็นอย่างใดอย่างหนึ่งไว้ เมื่อนึกขึ้นก็จำกลิ่นหอมกลิ่นเหม็นเหล่านั้นได้ นี่เป็นความเกิดขึ้นของความจำกลิ่น เมื่อความจำกลิ่นเหล่านั้นหายไปจากใจ เป็นความดับไปแห่งคันธสัญญา

    พระธรรมเจดีย์ :
    รสสัญญาความจำรสนั้นมีลักษณะอย่างไร?

    พระอาจารย์มั่น :
    ความจำรสนั้น เมื่อเรารับประทานอาหารมีรสเปรี้ยว หวาน จืด เค็ม หรือขมเป็นต้น เมื่อรับประทานอาหารเสร็จแล้ว นึกขึ้นก็จำรสเหล่านั้นได้ อย่างนี้เรียกว่า ความจำรส เมื่อความจำรสปรากฎขึ้นใจใน เป็นความเกิดขึ้นแห่งรสสัญญา เมื่อความจำรสเหล่านั้นดับหายไปจากใจ เป็นความดับไปแห่งรสสัญญา

    พระธรรมเจดีย์ :
    โผฎฐัพพะสัญญามีลักษณะอย่างไร?

    พระอาจารย์มั่น :
    ความจำเครื่องกระทบทางกาย เช่นเราเดินไปเหยียบหนาม ถูกหนามยอก หรือถูกต้องเย็นร้อนอ่อนแข็งอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อนึกขึ้นจำความถูกต้องกระทบกายเหล่านั้นได้ ชื่อว่าโผฏฐัพพะสัญญา

    พระธรรมเจดีย์ :
    เช่นเมื่อกลางวันนี้เราเดินไปถูกแดดร้อนจัด ครั้นกลับมาถึงบ้าน นึกถึงที่ไปถูกแดดมานั้น ก็จำได้ว่าวันนั้นเราไปถูกแดดมานั้น ก็จัดได้ว่าวันนั้นเราไปถูกแดดร้อน อย่างนี้เป็นโผฏฐัพพะสัญญาถูกไหม?

    พระอาจารย์มั่น :
    ถูกแล้ว สิ่งใดสิ่งหนึ่งมากระทบถูกต้องทางกาย เมื่อเราคิดถึงอารมณ์เหล่านั้น จำได้เป็นโผฏฐัพพะสัญญาทั้งนั้น เมื่อความจำโผฏฐัพพะเกิดขึ้นในใจ มีความเกิดขึ้นแห่งโผฏฐัพพะสัญญา เมื่อความจำเหล่านั้นดับหายไปจากใจ เป็นความดับไปแห่งโผฏฐัพพสัญญา

    พระธรรมเจดีย์ :
    ธัมมสัญญามีลักษณะอย่างไร?

    พระอาจารย์มั่น :
    ธัมมสัญญาความจำธัมมารมณ์นั้นละเอียดยิ่งกว่าสัญญา 5 ที่ได้อธิบายมาแล้ว

    พระธรรมเจดีย์ :
    ธัมมารมณ์นั้นได้แก่สิ่งอะไร?

    พระอาจารย์มั่น :
    เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ 3 อย่างนี้ ชื่อว่าธัมมารมณ์ เช่นเราได้เสวยเวทนาที่เป็นสุขหรือที่เป็นทุกข์ไว้ แลเวทนาเหล่านั้นดับไปแล้ว นึกขึ้นจำได้อย่างนี้ ชื่อว่าความจำเวทนา หรือเคยท่องบ่นอะไรๆ จะจำได้มากก็ตามหรือจำได้น้อยตาม เมื่อความจำเหล่านั้นดับไปพอนึกขึ้นถึงความจำเก่าก็มาเป็นสัญญาปัจจุบันขึ้น อย่างนี้เรียกว่าความจำสัญญา หรือเราคิดนึกเรื่องอะไรๆขึ้นเองด้วยใจ เมื่อความคิดเหล่านั้นดับไป พอเรานึกถึงเรื่องที่เคยคิดเอาไว้นั้น ก็จำเรื่องนั้นได้ นี่เรียกว่าความจำสัขารขันธ์ ความจำเรื่องราวของเวทนา สัญญา สังขารเหล่านี้แหละชื่อธัมมสัญญา ความจำธัมมารมณ์ เมื่อความจำธัมมารมณ์มาปรากฎขึ้นในใจ เป็นความเกิดขึ้นแห่งธัมมสัญญา เมื่อความจำธัมมรมณ์เหล่านั้นดับหายไปจากใจ เป็นความดับไปแห่งธัมมสัญญา

    พระธรรมเจดีย์ :
    แหมช่างซับซ้อนกันจริงๆ จะสังเกตอย่างไรถูก?

    พระอาจารย์มั่น :
    ถ้ายังไม่รู้จักอาการขันธ์ ก็สังเกตไม่ถูก ถ้ารู้จักแล้ว ก็สังเกตได้ง่าย เหมือนคนที่รู้จักตัวแลรู้จักชื่อกัน ถึงจะพบหรือเห็นกันมากๆ คนก็รู้จักได้ทุกๆคน ถ้าคนที่ไม่คยรู้จักตัวหรือรู้จักชื่อกันมาแต่คนเดียวก็ไม่รู้จักว่า ผู้นั้นคือใคร สมด้วยพระพทุธภาษิตในคุหัฏฐกสูตรหน้า 395 ที่ว่า สญฺญํ ปริญฺยา วิตเรยฺย โอฆํ สาธุชนมากำหนดรอบรู้สัญญาแล้วจะพึงข้ามโอฆะ

    พระธรรมเจดีย์ :
    สังขารขันธ์คืออะไร?

    พระอาจารย์มั่น :
    สังขารขันธ์คือความคิดความนึก

    พระธรรมเจดีย์ :
    สังขารขันธ์เป็นทุกขสัจหรือเป็นสมุทัย?

    พระอาจารย์มั่น :
    เป็นทุกขสัจ ไม่ใช่สมุทัย

    พระธรรมเจดีย์ :
    ก็สังขารขันธ์ตามแบบอภิธัมมสังคะ ท่านแจกไว้ว่า มีบาปธรรม 14 โสภณเจตสิก 25 อัญญสมนา 13 รวมเป็นเจตสิก 52 ดวงนั้น ดูมีทั้งบุญทั้งบาป และไม่ใช่บุญไม่ใช่บาปปนกัน ทำไมจึงเป็นทุกขสัจอย่างเดียว ข้าพเจ้าฉงนนัก?

    พระอาจารย์มั่น :
    อัญญสมนา 13 ยกเวทนาสัญญาออกเสีย 2 ขันธ์ เหลืออยู่ 11 นี่แหละเป็นสังขารขันธ์แท้ จะต้องกำหนดรู้ว่าเป็นทุกข์ ส่วนบาปธรรม 14 นั้น เป็นสมุทัยอาศัยสังขารขันธ์เกิดขึ้น เป็นส่วนปหาตัพพธรรมจะต้องละ ส่วนโสภณเจตสิก 25 นั้น เป็นภาเวตัพพธรรมจะต้องเจริญ เพราะฉะนั้นบาปธรรม 14 กับโสภณเจตสิก 25 ไม่ใช่สังขารแท้ เป็นแต่อาศัยสังขารขันธ์เกิดขึ้น จึงมีหน้าที่จะต้องละแลต้องเจริญความคิดความนึกอะไรๆ ที่มาปรากฎขึ้นในใจ เป็นความเกิดแห่งสังขารขันธ์ ความคิดความนึกเหล่านั้นดับหายไปจากใจ ก็เป็นความดับไปแห่งสัขารขันธ์

    พระธรรมเจดีย์ :
    วิญญาณขันธ์ที่รู้ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ 6 อย่างนี้ มีลักษณะอย่างไรและเวลาที่เกิดขึ้นแลดับไปมีอาการอย่างไร?

    พระอาจารย์มั่น :
    คือ ตา 1 รูป 1 กระทบกันเข้า เกิดความรู้ทางตา เช่นกับเราได้เห็นคนหรือส่งของอะไรๆ ก็รู้ได้คนนั้นคนนี้ หรือสิ่งนั้นสิ่งนี้ ชื่อว่าจักขุวิญญาณ เมื่อรูปมาปรากฎกับตา เกิดความรู้ทางตาเป็นความเกิดขึ้นแห่งจักขุวิญญาณ เมื่อความรู้ทางตาดับหายไปเป็นความดับไปแห่งจักขุวิญญาณ หรือความรู้ทางหู รู้กลิ่นทางจมูก รู้รสทางลิ้น รู้โผฎฐัพพะทางกายมาปรากฎขึ้น ก็เป็นความเกิดแห่งโสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ เมื่อความรู้ทางหู จมูก ลิ้น กาย หายไป ก็เป็นความดับไปแห่งโสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ เมื่อใจกับธัมมารมณ์มากระทบกันเข้าเกิดความรู้ทางใจเรียกว่ามโนวิญญาณ

    พระธรรมเจดีย์ :
    ใจนั้นได้แก่สิ่งอะไร?

    พระอาจารย์มั่น :
    ใจนั้นเป็นเครื่องรับธัมมารมณ์ให้เกิดความรู้ทางใจ เหมือนอย่างตาเป็นเครื่องรับรูปให้เกิดความรู้ทางตา

    พระธรรมเจดีย์ :
    รู้เวทนา รู้สัญญา รู้สังขารนั้น รู้อย่างไร?

    พระอาจารย์มั่น :
    รู้เวทนานั้น เช่น สุขเวทนาเป็นปัจจุบันเกิดขึ้น ก็รู้ว่าเป็นสุข หรือทุกขเวทนาเกิดขึ้น ก็รู้ว่าเป็นทุกข์ อย่างแลรู้เวทนา หรือสัญญาใดมาปรากฎขึ้นในใจ จะเป็นความจำรูปหรือความจำเสียงก็ดี ก็รู้สัญญานั้น อย่างนี้เรียกว่ารู้สัญญาหรือความคิดเรื่องอะไรๆขึ้น ก็รู้ไปในเรื่องนั้นอย่างนี้ รู้สังขาร ความรู้เวทนา สัญญา สังขาร 3 อย่างนี้ ต้องรู้ทางใจ เรียกว่ามโนวิญญาณ

    พระธรรมเจดีย์ :
    มโนวิญญาณความรู้ทางใจก็เหมือนกันกับธรรมสัญญา ความจำธัมมารมณ์อย่างนั้นหรือ เพราะนี่ก็รู้ว่าเวทนา สัญญา สังขาร นั่นก็จำเวทนา สัญญา สังขาร?

    พระอาจารย์มั่น :
    ต่างกัน เพราะสัญญานั้นจำอารมณ์ที่ล่วงแล้ว แต่ตัวสัญญาเองเป็นสัญญาปัจจุบัน ส่วนมโนวิญญาณนั้นรู้เวทนา สัญญา สังขาร ที่เป็นอารมณ์ปัจจุบัน เมื่อความรู้เวทนา สัญญา สังขาร มาปรากฎขึ้นในใจ เป็นความเกิดขึ้นแห่งมโนวิญญาณ เมื่อความรู้ เวทนา สัญญา สังขาร ดับ หายไปจากใจ เป็นความดับไปแห่งมโนวิญญาณ

    พระธรรมเจดีย์ :
    เช่นผงเข้าตา รู้ว่าเคืองตา เป้นรู้ทางตาใช่ไหม?

    พระอาจารย์มั่น :
    ไม่ใช่ เพราะรู้ทางตานั้น หมายถึงรูปที่มากระทบกับตาเกิดความรู้ขึ้น ส่วนผงเข้าตานั้นเป็นกายสัมผัส ต้องเรียกว่ารู้โผฏฐัพพะ เพราะตานั้นเป็นกาย ผงนั้นเป็นโผฏฐัพพะ เกิดความรู้ขึ้น ชื่อว่ารู้ทางกาย ถ้าผงเข้าตาคนอื่น เขาวานเราไปดู เมื่อเราได้เห็นผงเกิดความรู้ขึ้น ชื่อว่ารู้ทางตา

    พระธรรมเจดีย์ :
    สาธุ ข้าพเจ้าเข้าใจได้ความในเรื่องนี้ชัดเจนดีแล้ว แต่ขันธ์ 5 นั้นยังไม่ได้ความว่า จะเกิดขึ้นที่ละอย่างสองอย่าง หรือว่าต้องเกิดพร้อมกันทั้ง 5 ขันธ์

    พระอาจารย์มั่น :
    ต้องเกิดขึ้นพร้อมกันทั้ง 5 ขันธ์

    พระธรรมเจดีย์ :
    ขันธ์ 5 ที่เกิดพร้อมกันนั้น มีลักษณะอย่างไร? และความดับไปมีอาการอย่างไร? ขอให้ชี้ตัวอย่างให้ขาวสักหน่อย

    พระอาจารย์มั่น :
    เช่นเวลาเรานึกถึงรูปคนหรือรูปสิ่งของอย่างใดอย่างหนึ่ง อาการที่นึกขึ้นนั้นเป็นลักษณะของสังขารขันธ์ รูปร่างหรือสิ่งของเหล่านั้นมาปรากฎขึ้นในใจนี่เป็นลักษณะของรูปสัญญา ความรู้ที่เกิดขึ้นในเวลานั้นนี่เป็นลักษณะของมโนวิญญาณ สุขหรือทุกข์หรืออุเบกขาที่เกิดขึ้นในคราวนั้น นี่เป็นลักษณะของเวทนา มหาภูตรูป หรืออุปาทายรูปที่ปรากฎอยู่นั้น เป็นลักษณะของรูป อย่างนี้เรียกว่าความเกิดขึ้นแห่งขันธ์พร้อมกันทั้ง 5 เมื่ออาการ 5 อย่างเหล่านั้นดับไป เป็นความดับไปแห่งขันธ์ทั้ง 5 </td></tr></tbody></table>
    </td></tr> <tr><td bgcolor="#dddddd"><table align="center" border="0" width="100%"><tbody><tr><td align="right">วิษณุ [​IMG] [203.156.61.170][ วันจันทร์ ที่ 20 พฤศจิกายน 2549 เวลา 21:42 น. ]</td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
    http://dhammathai.org/webboard/view.php?No=5455
     
  4. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,026
    <table border="0" cellpadding="5" cellspacing="1" width="550"><tbody><tr><td align="center">พระธรรมเจดีย์ (จูม พนธุโล) ถาม พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถร ตอบ (4)</td></tr> <tr><td bgcolor="#ffffff">
    <table align="center" border="0" width="540"><tbody><tr><td align="left">ปฏิปัตติปุจฉาวิสัชนา (4)
    ------------------------------------------------------

    พระธรรมเจดีย์ :
    ส่วนนามทั้ง 4 เกิดขึ้นและดับไปพอจะเห็นด้วย แต่ที่ว่ารูปดับไปนั้นยังไม่เข้าใจ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ส่วนรูปนั้นมีความแปรปรวนอยู่เสมอเช่นของเก่าเสื่อมไป ของใหม่เกิดแทนแต่ทว่าไม่เห็นเองเพราะรูปสันตติ รูปที่ติดต่อเนื่องกันบังเสีย จึงแลไม่เห็น แต่ก็ลองนึกดูถึงรูปตั้งแต่เกิดมาจนถึงวันนี้เปลี่ยนไปแล้วสักเท่าไร ถ้ารูปไม่ดับก็คงไม่มีเวลาแก่แลเวลาตาย

    พระธรรมเจดีย์ :
    ถ้าเราสังเกตขันธ์ 5 ว่าเวลาเกิดขึ้นแลดับไปนั้น จะสังเกตอย่างไรจึงจะเห็นได้ แลที่ว่าขันธ์สิ้นไปเสื่อมไปนั้นมีลักษณะอย่างไร เพราะว่าเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป แล้วก็เกิดขึ้นได้อีกดูเป็นของคงที่ไม่เห็นมีความเสื่อม

    พระอาจารย์มั่น :
    พูดกับคนที่ไม่เคยเห็นความจริงนั้น ช่างน่าขันเสียเหลือเกิน วิธีสังเกตขันธ์ 5 นั้น ก็ต้องศึกษาให้รู้จักอาการขันธ์ตามความเป็นจริง แล้วก็มีสติสงบความคิดอื่นเสียหมดแล้ว จนเป็นอารมณ์อันเดียวที่เรียกว่าสมาธิ ในเวลานั้นความคิดอะไรๆไม่มีแล้ว ส่วนรูปนั้นหมายลมหายใจ ส่วนเวทนาก็มีแต่ปีติหรือสุข ส่วนสัญญาก็เป็นธรรมสัญญาอย่างเดียว ส่วนสังขารเวลานั้นเป็นสติกับสมาธิ หรือวิตกวิจารณ์อยู่ ส่วนวิญญาณก็เป็นแต่ความรู้อยู่ในเรื่องที่สงบนั้น ในเวลานั้นขันธ์ 5 เข้าไปรวมอยู่เป็นอารมณ์เดียว ในเวลานั้นต้องสังเกตอารมณ์ปัจจุบัน ที่ปรากฎอยู่เป็นความเกิดขึ้นแห่งขันธ์ พออารมณ์ปัจจุบันนั้นดับไปเป็นความดับไปแห่งนามขันธ์ ส่วนรูปนั้นเช่นลมหายใจออกมาแล้ว พอหายใจกลับเข้าไป ลมหายใจออกนั้นก็ดับไปแล้ว ครั้นกลับมาหายใจออกอีก ลมหายใจเข้าก็ดับไปแล้ว นี่แหละเป็นความดับไปแห่งขันธ์ทั้ง 5 แล้วปรากฎขึ้นมาอีก ก็เป็นความเกิดขึ้นทุกๆอามรมณ์แลขันธ์ 5 ที่เกิดขึ้นดับไป ไม่ใช่ดับไปเปล่าๆ รูปชีวิตินทรีย์ความเป็นอยู่ของนามขันธ์ทั้ง 5 เมื่ออารมณ์ดับไปครั้งหนึ่ง ชีวิตแลอายุของขันธ์ทั้ง 5 สิ้นไปหมดทุกๆอารมณ์

    พระธรรมเจดีย์ :
    วิธีสังเกตอาการขันธ์ที่สิ้นไปเสื่อมไปนั้น หมายเอาหรือคิดเอา?

    พระอาจารย์มั่น :
    หมายเอาก็เป็นสัญญา คิดเอาก็เป็นเจตนา เพราะฉะนั้นไม่ใช่หมายไม่ใช่คิด ต้องเข้าไปเห็นความจริงที่ปรากฎเฉพาะหน้า จึงจะเป็นปัญญาได้

    พระธรรมเจดีย์ :
    ถ้าเช่นนั้นจะดูความสิ้นไปเสื่อมไปของขันธ์ทั้ง 5 มิต้องตั้งพิธีทำใจให้เป็นสมาธิทุกคราวไปหรือ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ถ้ายังไม่เคยเห็นความจริง ก็ต้องตั้งพิธีเช่นนี้ร่ำไป ถ้าเคยเห็นความจริงเสียแล้วก็ไม่ต้องตั้งพิธีทำใจให้เป็นสมาธิทุกคราวก็ได้ แต่พอมีสติขึ้น ความจริงก็ปรากฎเพราะเคยเห็นแลรู้จักความจริงเสียแล้ว เมื่อมีสติรู้ตัวขึ้นมาเวลาใด ก็เป็นสมถวิปัสสนากำกับกันไปทุกคราว

    พระธรรมเจดีย์ :
    ที่ว่าชีวิตแลอายุขันธ์สิ้นไปเสื่อมไปนั้นคือ สิ้นไปเสื่อมไปอย่างไร?

    พระอาจารย์มั่น :
    เช่นเราจะมีลมหายใจอยู่ได้สัก 100 หน ก็จะตาย ถ้าหายใจเสียหนหนึ่งแล้ว ก็คงเหลืออีก 99 หน หรือเราจะคิดจะนึกอะไรได้สัก 100 หน เมื่อคิดนึกเสียหนหนึ่งแล้ว คงเหลืออีก 99 หน ถ้าเป็นคนอายุยืนก็หายใจอยู่ได้มากหน หรือคิดนึกอะไรๆอยู่ได้มากหน ถ้าเป็นคนอายุสั้น ก็มีลมหายใจและคิดนึกอะไรๆอยู่ได้น้อยหน ที่สุดก็หมดลงวันหนึ่ง เพราะจะต้องตายเป็นธรรมดา

    พระธรรมเจดีย์ :
    ถ้าเราจะหมายจะคิดอยู่ในเรื่องความจริงของขันธ์อย่างนี้ จะเป็นปัญญาไหม?

    พระอาจารย์มั่น :
    ถ้าคิดเอาหมายเอา ก็เป็นสมถะ ที่เรียกว่ามรณัสสติ เพราะปัญญานั้น ไม่ใช่เรื่องหมายหรือเรื่องคิด เป็นเรื่องของความเห็นอารมณ์ปัจจุบันที่ปรากฎเฉพาะหน้าราวกับตาเห็นรูปจึงจะเป็นปัญญา

    พระธรรมเจดีย์ :
    เมื่อจิตสงบแล้ว ก็คอยสังเกตดูอาการขันธ์ที่เป็นอารมณ์ปัจจุบัน เพื่อจะให้เห็นความจริง นั่นเป็นเจตนาใช่ไหม?

    พระอาจารย์มั่น :
    เวลานั้นเป็นเจตนาจริงอยู่ แต่ความจริงก็ยังไม่ปรากฎเวลาที่ความจริงปรากฎขึ้นนั้นพ้นเจตนาทีเดียว ไม่เจตนาเลย เป็นความเห็นที่เกิดขึ้นเป็นพิเศษต่อจากจิตที่สงบแล้ว </td></tr></tbody></table>
    </td></tr> <tr><td bgcolor="#dddddd"><table align="center" border="0" width="100%"><tbody><tr><td align="right">วิษณุ [​IMG] [203.156.61.170][ วันจันทร์ ที่ 20 พฤศจิกายน 2549 เวลา 21:42 น. ]</td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
    http://dhammathai.org/webboard/view.php?No=5456
     

แชร์หน้านี้

Loading...