พระธรรมคุณ : สมเด็จพระญาณสังวร

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 6 ธันวาคม 2008.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    [​IMG]

    พระธรรมคุณ ๑ สวากขาโต สติกำหนดดู กาย เวทนา จิต ธรรม<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>​


    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก<O:p></O:p>​


    วัดบวรนิเวศวิหาร<O:p></O:p>​


    คัดจากเทปธรรมอบรมจิต ข้อความสมบูรณ์ อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ<O:p></O:p>

    บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม<O:p></O:p>
    ได้แสดงคำว่าธรรมหรือธรรมะซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ และที่พระอาจารย์ได้อธิบาย โดยที่คำว่าธรรมหรือธรรมะนี้ได้เรียกกันในที่หลายแห่ง เช่นพระพุทธเจ้าตรัสรู้พระธรรม พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมสั่งสอน ตลอดจนถึง กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม รูปธรรม อรูปธรรม เป็นต้น แต่ในความหมายแห่งธรรมที่เป็นรัตนะที่ ๒ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ท่านได้แสดงไว้เป็น ๑๐ คือมรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ เป็น ๙ กับปริยัติธรรมอีก ๑ เป็น ๑๐<O:p></O:p>
    และที่แสดงไว้อีกอย่างหนึ่งโดยสรุปเข้ามาก็เป็น ๓ คือปริยัติธรรม ปฏิบัติธรรม และปฏิเวธธรรม

    <O:p></O:p>
    ธรรมะอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว
    <O:p></O:p>
    พระธรรมนี้ได้มีบทสวดสรรเสริญคุณ อันเรียกว่า พระธรรมคุณ ว่า สวากขาโต ภควตา ธัมโม เป็นต้น ดังที่ได้กล่าวแล้ว จะได้จับอธิบายพระธรรมคุณบทที่ ๑ นี้ ที่แปลว่า ธรรมะอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว และได้มีบทสวดสรรเสริญขยายความออกไป ว่าทรงแสดงธรรม งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ คือพระศาสนาคำสั่งสอน หรือพระธรรมวินัย พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริบูรณ์ บริสุทธิ์สิ้นเชิง ดั่งนี้
    <O:p></O:p>
    บทว่างามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด และบทที่ว่าทรงประกาศพรหมจรรย์คือพระศาสนา คำสั่งสอนคือพระธรรมวินัยนี้ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริบูรณ์บริสุทธิ์สิ้นเชิง ก็เป็นคำอธิบายของคำว่า งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด คำนี้แปลมาจากคำว่า อาทิกัลยาณัง มัชเฌกัลยาณัง ปริโยสานกัลยาณัง คำว่า กัลยาณะ ก็เป็นคำที่ใช้พูดในภาษาไทย แปลกันว่างาม และสำหรับที่ใช้ในพระธรรมคุณนี้ มีแปลเป็นอย่างอื่นก็มี เช่นแปลว่าไพเราะ ไพเราะในเบื้องต้น ไพเราะในท่ามกลาง ไพเราะในที่สุด
    <O:p></O:p>
    ธรรมะที่พระพุทธเจ้าตรัสอันมีลักษณะดังกล่าวนี้ พระอาจารย์ก็ได้แสดงความหมายไว้ เป็นต้นว่า
    <O:p></O:p>
    ที่ว่างามในเบื้องต้น ก็คือทรงแสดง ศีล<O:p></O:p>
    งามในท่ามกลาง ก็คือทรงแสดง สมาธิ<O:p></O:p>
    งามในที่สุด ก็คือทรงแสดง ปัญญา
    <O:p></O:p>
    หรือว่าถ้าเป็นธรรมะมากกว่า ๓ ข้อขึ้นไป เช่นศีลสมาธินั้นเอง เมื่อมีวิมุติเพิ่มเข้าอีกเป็น ๔ ข้อ ก็อธิบายว่างามในเบื้องต้นด้วยศีล งามในที่สุดด้วยวิมุติ งามในท่ามกลางก็ด้วยสมาธิด้วยปัญญา ดั่งนี้เป็นต้น
    <O:p></O:p>
    เมื่อพิจารณาดูแล้วก็จะเห็นได้ว่า ธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนนั้น เป็นธรรมะที่บริบูรณ์ คือว่าไม่ต้องเติมเข้ามาอีก เป็นธรรมที่บริสุทธิ์ คือไม่ผิดไม่ต้องแก้ไข และประกอบด้วยอรรถะคือเนื้อความ ประกอบด้วยพยัญชนะคือถ้อยคำ ก็บริสุทธิ์บริบูรณ์ ไม่มีผิดพลาดบกพร่อง คือว่าใจความกับถ้อยคำเหมาะกันสมกัน และเป็นถ้อยคำเป็นใจความที่ถูกต้องด้วยสมมติบัญญัติของภาษาที่พูด ไม่ใช่ว่าผิดจากสมมติบัญญัติแห่งภาษาที่พูด เรียกว่าเป็นถ้อยคำที่สละสลวย เป็นถ้อยคำที่ไม่ฟุ่มเฟือยคือพูดมากแต่ไร้สาระ และไม่เป็นถ้อยคำที่สั้นจนเสียความ เป็นถ้อยคำที่กล่าวไว้อย่างชัดเจนบริสุทธิ์บริบูรณ์ ส่องถึงเนื้อความที่จะทำให้ผู้ฟังเข้าใจได้ และใจความแห่งถ้อยคำนั้นก็ส่องแสดงถึงสัจจะธรรม ธรรมะที่เป็นความจริง<O:p></O:p>
    อันเป็นไปตามลักษณะที่ทรงสั่งสอนดังที่ได้กล่าวไว้แล้ว ว่าทรงแสดงธรรมในข้อที่ควรรู้ควรเห็น มีเหตุอันผู้ฟังอาจตรองตามให้เห็นจริงได้ และมีปาฏิหาริย์คือว่าปฏิบัติได้ผลสมจริงตามที่ทรงสั่งสอน คือปฏิบัติให้บรรลุถึงประโยชน์ปัจจุบัน ประโยชน์ภายหน้า และประโยชน์อย่างยิ่ง คือมรรคผลนิพพานได้
    <O:p></O:p>
    เพราะฉะนั้น ถ้อยคำที่ทรงแสดงนั้น จึงสมบูรณ์ด้วยเนื้อความหรือใจความ อันนำให้เกิดความเข้าใจ ให้เกิดความรู้ ทั้งเหตุทั้งผล และให้ปฏิบัติได้ บรรลุถึงผลตามที่ทรงสั่งสอนได้ เป็นการแสดงที่ทำให้เข้าใจ และให้ปฏิบัติได้ไปโดยลำดับ เพื่อผลที่ประสงค์ตามที่ทรงสั่งสอน ไม่มีขาดตกบกพร่อง เหมือนอย่างเป็นทางที่นำไปสู่เป้าหมายที่จะไปถึง ติดต่อกันไปโดยตลอด ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง หรือว่าถ้าเปรียบด้วยบันได ก็เปรียบเหมือนอย่างว่าเป็นบันไดที่เป็นขั้นๆ ขึ้นไป ตั้งแต่ต้นจนถึงปลาย ไม่มีขาดตกบกพร่อง เพราะฉะนั้น จึงเป็นธรรมะที่บริสุทธิ์บริบูรณ์ดังกล่าวโดยตลอด ตั้งแต่เบื้องต้นท่ามกลางจนถึงที่สุด ไม่มีบกพร่อง ไม่มีขาดตก
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ธรรมะอันเหมาะสมกับอินทรีย์ของบุคคล<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    และธรรมะที่ทรงแสดงนั้นเป็นธรรมะที่เข้าในลักษณะที่เรียกว่า สันทัสสนา คือทำให้เกิดความรู้แจ้งเห็นจริงได้ สมาทปนา ทำให้เกิดความคิดสมาทานคือรับมาปฏิบัติ สมุตเตชนา เตือนใจให้เกิดความอุตสาหะขมักเขม้นในอันที่จะปฏิบัติ สัมปหังสนา ทำให้บังเกิดความรื่นเริงในการฟังในการปฏิบัติ แต่ทั้งนี้ก็ต้องหมายความว่า ผู้ฟังจะต้องมีความตั้งใจฟัง และธรรมะที่ฟังนั้นก็เหมาะสมกับอัธยาศัยจิตใจ เหมาะสมแก่พื้นภูมิของจิตใจ ที่เรียกว่าเหมาะสมแก่อินทรีย์ของบุคคล
    <O:p></O:p>
    อิทธิปาฏิหาริย์<O:p></O:p>
    ทั้งนี้ก็เพราะว่าพระพุทธเจ้าได้ทรงสั่งสอนประกอบด้วยปาฏิหาริย์ ๓ ข้อ ข้อที่ ๑ ก็คือ อิทธิปาฏิหาริย์ ปาฏิหาริย์ คือการที่แสดงฤทธิ์ได้ อันเป็นเครื่องปราบเป็นเครื่องทำลายมานะทิฏฐิของผู้ที่รับเทศนา และคำว่า อิทธิ นี้ก็ไม่ได้มุ่งหมายว่าเหาะเหิรเดินฟ้าอย่างที่เข้าใจกันโดยมากอย่างเดียว แต่ว่า หมายถึงการที่จะ หรือวิธีที่จะทำลายทิฏฐิมานะของผู้ฟังได้สำเร็จ
    <O:p></O:p>
    ดังเช่นเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดภิกษุเบญจวัคคีย์เพื่อแสดงปฐมเทศนา ในครั้งแรกท่านทั้ง ๕ นั้นไม่ยอมเชื่อว่าพระองค์ได้ตรัสรู้พระธรรมแล้ว เพราะว่าพระองค์ได้ทรงเลิกทุกรกิริยาที่ท่านทั้ง ๕ นั้นนับถือ ท่านทั้ง ๕ จึงคิดว่าได้ทรงท้อถอยเสียแล้ว เวียนมาเพื่อความมักมากคือเพื่อความสุขสำราญเสียแล้ว จึงได้หลีกออกไปพักอยู่ในป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ครั้นเห็นพระองค์เสด็จมา ก็ได้เพียงต้อนรับอย่างเสียไม่ได้
    <O:p></O:p>
    พระองค์ก็ต้องใช้พระวาจาตรัสแก่ท่านทั้ง ๕ นั้น ให้ท่านทั้ง ๕ นั้นละทิฏฐิมานะ ยอมฟังคำสั่งสอนของพระองค์ และเมื่อท่านทั้ง ๕ นั้นยอมฟังคำสั่งสอนของพระองค์ พระองค์จึงได้ทรงแสดงปฐมเทศนาโปรด
    <O:p></O:p>
    การที่ได้ทรงตรัสพระวาจาให้ท่านทั้ง ๕ ละทิฏฐิมานะได้ ยอมฟังเทศนาของพระองค์ นี้แหละคืออิทธิปาฏิหาริย์ ซึ่งเป็นกิจเบื้องต้น ที่พระพุทธเจ้าจะต้องทำก่อน ถ้าผู้ฟังยังมีทิฏฐิมานะอยู่ พระองค์ก็ยังไม่ทรงแสดงธรรมเทศนา จะต้องทำให้เขาละทิฏฐิมานะ ยอมที่จะฟังเสียก่อน และคำว่ายอมที่จะฟังนี้ก็ไม่ใช่หมายความว่าให้เขาเชื่อ เป็นแต่เพียงว่าให้ยอมฟัง ให้ตั้งใจที่จะฟังเท่านั้น จะเชื่อหรือไม่เชื่อก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง พระองค์ไม่บังคับให้เชื่อ เพียงแต่ว่าให้ยอมตั้งใจที่จะฟังเท่านั้น เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญเป็นขั้นที่ ๑ เรียกว่าอิทธิปาฏิหาริย์
    <O:p></O:p>
    อาเทสนาปาฏิหาริย์<O:p></O:p>
    มาถึงข้อที่ ๒ อาเทสนาปาฏิหาริย์ ที่แปลว่าดับใจ เป็นปาฏิหาริย์ หรือว่าดับใจเป็นอัศจรรย์ อันหมายความว่าได้ทรงทราบถึงอัธยาศัยจิตใจ ทรงทราบถึงอินทรีย์ที่แก่กล้า หรือย่อหย่อนของผู้ฟัง ว่าเป็นอย่างไร ได้มีอินทรีย์คือได้มีกำลังของสติปัญญามาเพียงไหน มีอัธยาศัยอย่างไร มีความคุ้นเคยอยู่อย่างไร ก็ทรงแสดงธรรมให้เหมาะแก่พื้นภูมิแห่งจิตใจของเขา ให้เหมาะแก่พื้นภูมิแห่งสติปัญญาของเขา จึงจะทำให้เขารับได้ ดั่งนี้เป็นข้อที่ ๒
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 ธันวาคม 2008
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    อนุสาสนีปาฏิหาริย์<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    จึงมาถึงข้อที่ ๓ อนุสาสนีปาฏิหาริย์ ทรงพร่ำสอนเป็นอัศจรรย์ ก็คือทรงแสดงธรรมะสั่งสอนชี้แจงแสดงให้เกิดความเข้าใจได้ ที่เรียกว่า สันทัสสนา ให้เกิดความคิดสมาทานที่เรียกว่ารับปฏิบัติ อันเรียกว่า สมาทปนา ให้เกิดความอุตสาหะในอันที่จะปฏิบัติ อันเรียกว่า สมุตเตชนา ให้เกิดความรื่นเริงไม่เบื่อหน่ายในอันที่จะปฏิบัติ อันเรียกว่า สัมปหังสนา เพราะฉะนั้น ธรรมที่ทรงสั่งสอนนั้นจึงได้มีคำสรรเสริญว่าตรัสดีแล้ว คืองามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด เป็นคำสั่งสอนที่ประกาศพรหมจรรย์ศาสนาคำสั่งสอนคือพระธรรมวินัย อันบริบูรณ์บริสุทธิ์สิ้นเชิง ดั่งนี้
    <O:p></O:p>
    แต่ทั้งนี้ก็ต้องหมายถึงว่าผู้ฟังต้องมีความตั้งใจฟัง เป็นผู้ที่ละทิฏฐิมานะยอมรับฟัง ยอมรับพิจารณาไตร่ตรองไปตาม และเมื่อเป็นดั่งนี้จึงจะได้ความรู้ได้ความเห็นในธรรม ได้ความรับปฏิบัติ ได้อุตสาหะในอันที่ปฏิบัติ และได้ความรื่นเริงในการฟัง และในการปฏิบัติ พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมอันประกอบด้วยลักษณะอาการ และประกอบด้วยปาฏิหาริย์ทั้ง ๓ ดังที่กล่าวมานี้ เพราะฉะนั้น ธรรมะที่ตรัสจึงเป็น สวากขาโต ตรัสดีแล้ว
    <O:p></O:p>
    ธรรมรส<O:p></O:p>
    แต่ว่าธรรมะที่พระสาวกได้แสดงกันสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน ก็แสดงตามพระพุทธเจ้า โดยอาศัยหลักคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า แต่ว่าผู้แสดงขาดลักษณะอาการ ขาดปาฏิหาริย์ทั้ง ๓ ของพระพุทธเจ้า เพราะฉะนั้น จึงเหมาะบ้างไม่เหมาะบ้างแก่อัธยาศัยจิตใจของบุคคลผู้ฟัง หรือว่าอาจจะเหมาะแก่บางคน ไม่เหมาะแก่บางคน ดั่งนี้เป็นต้น เพราะฉะนั้น ผู้ฟังจึงมักจะไม่ได้ความรู้สึกไพเราะหรืองดงามในธรรมที่แสดง

    แต่พระพุทธเจ้านั้น ได้ทรงเป็นผู้ประกอบด้วยปาฏิหาริย์ในการแสดง ด้วยลักษณะอาการที่แสดงดังกล่าว แต่แม้เช่นนั้น ธรรมะที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดง ก็ย่อมเป็นสัจจะคือความจริง ที่มีอยู่ในบุคคลทุกๆ คนนี้เอง ไม่ว่าจะในสมัยไหน<O:p></O:p>
    เพราะฉะนั้น หากได้ตั้งใจฟัง ตั้งใจพินิจพิจารณา ขบเจาะด้วยทิฏฐิคือความเห็น ให้มีความเข้าใจแล้ว ก็ย่อมจะได้ธรรมรส รสของธรรม น้อยหรือมาก
    <O:p></O:p>
    ธรรมรสที่ได้นี่แหละคือ สวากขาโต ภควตา ธัมโม คือจะได้ความรู้ว่า ธรรมะอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์คือศาสนาคำสั่งสอนคือพระธรรมวินัยอันบริบูรณ์บริสุทธิ์สิ้นเชิง ดั่งนี้ เมื่อฟังธรรมะได้ความรู้สึกดั่งนี้ ก็เรียกว่าได้ธรรมรสคือรสของธรรม
    <O:p></O:p>
    หลักปฏิบัติในสติปัฏฐาน<O:p></O:p>
    สติปัฏฐานอันเป็นหลักปฏิบัตินั้นก็คือ การที่ตั้งสติในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรม กายนั้นก็ได้แก่กายนี้ที่ทุกๆ คนมีอยู่ ในบัดนี้ก็กำลังนั่งกันอยู่ เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นมา เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงไป มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เป็นร่างกายที่หายใจเข้า หายใจออกอยู่ เป็นร่างกายที่ต้องอยู่ในอิริยาบถใดอิริยาบถหนึ่ง เช่นในบัดนี้กำลังอยู่กันในอิริยาบถนั่ง และประกอบด้วยอิริยาบถเล็กน้อย เช่นนั่งในลักษณะนี้ พับเท้าอย่างนี้ วางมืออย่างนี้ ตั้งกายตั้งศีรษะอย่างนี้ หันหน้าอย่างนี้ ดั่งนี้เป็นต้น
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    กาย<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    และเป็นร่างกายที่ประกอบด้วยอาการทั้งหลาย มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น และเมื่อรวมเข้าแล้วก็เป็นร่างกายที่ประกอบด้วยธาตุทั้ง ๔ คือส่วนที่แข้นแข็งก็เรียกว่า ปฐวีธาตุ ธาตุดิน ส่วนที่เอิบอาบเหลวไหลก็เรียกว่า อาโปธาตุ ธาตุน้ำ ส่วนที่อบอุ่นก็เรียกว่า เตโชธาตุ ธาตุไฟ ส่วนที่พัดไหวก็เรียกว่า วาโยธาตุ ธาตุลม เมื่อธาตุเหล่านี้ประกอบกันอยู่ ชีวิตก็ยังดำรงอยู่
    <O:p></O:p>
    และเมื่อชีวิตยังดำรงอยู่ร่างกายอันนี้ก็ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถต่างๆ ได้ หายใจเข้าออกอยู่ได้โดยปรกติ แต่เมื่อธาตุทั้ง ๔ นี้แตกสลาย ชีวิตก็สิ้น ร่างกายนี้ก็กลายเป็นศพ ก็จะเป็นศพที่ผุเปื่อยไปโดยลำดับ จนถึงเหลือแต่กระดูก และในที่สุดกระดูกที่เหลืออยู่นี้ก็จะผุกร่อนไปหมด นี้ก็คือกาย
    <O:p></O:p>
    เวทนา จิต<O:p></O:p>
    และเมื่อร่างกายนี้ธาตุทั้งหลายยังคุมกันอยู่ ชีวิตยังดำรงอยู่ ก็ย่อมมีเวทนา คือความรู้เป็นสุขเป็นทุกข์ หรือเป็นกลางๆ ไม่ทุกข์ไม่สุข ทางกายบ้างทางใจบ้าง และก็มีจิตที่ครองกายนี้อยู่เป็นธาตุรู้ ที่รู้อะไรได้ คิดอะไรได้ มีอาการเป็นต่างๆ บางทีก็มีโลภมีโกรธมีหลง บางทีก็สงบโลภโกรธหลง บางทีก็สงบ บางทีก็ฟุ้งซ่าน และบางทีเมื่อปฏิบัติธรรมะจิตก็สงบ หลุดพ้นจากโลภโกรธหลงได้ ชั่วคราว หรือว่านาน หรือว่าตลอดไป แต่เมื่อยังไม่ได้ปฏิบัติ ก็ยังหลุดพ้นไม่ได้ ยังมีโลภมีโกรธมีหลง
    <O:p></O:p>
    ธรรม<O:p></O:p>
    และเมื่อมีจิตใจก็ต้องมีธรรมะ คือธรรมะที่เป็นส่วนกุศลบ้าง ธรรมะที่เป็นส่วนอกุศลบ้าง ธรรมะที่เป็นกลางๆ บ้าง โดยเฉพาะก็คือธรรมะที่บังเกิดขึ้นในจิตใจ ก็คือเรื่องหรือว่าภาวะที่บังเกิดขึ้นในจิตใจ เรื่องที่บังเกิดขึ้นในจิตใจนั้น ก็เช่นอารมณ์คือเรื่องที่จิตคิด เรื่องที่จิตดำริ เรื่องที่จิตหมกมุ่นถึงต่างๆ เป็นเรื่องนั้นเรื่องนี้อยู่ในจิตใจ และเมื่อมีเรื่องก็จะต้องมีภาวะของจิตใจที่เป็นความชอบบ้างความชังบ้าง หรือความยินดีบ้างความยินร้ายบ้างอยู่ในเรื่องเหล่านั้น บังเกิดขึ้นสลับซับซ้อน เหล่านี้คือธรรมะ อันได้แก่เรื่องต่างที่บังเกิดขึ้นในจิตใจ ภาวะต่างๆ ที่บังเกิดขึ้นในจิตใจ
    <O:p></O:p>
    ทำไมจึงต้องปฏิบัติในสติปัฏฐาน<O:p></O:p>
    ทุกคนก็ย่อมมีกาย ย่อมมีเวทนา ย่อมมีจิต ย่อมมีธรรมะในจิต อยู่ดั่งนี้ด้วยกัน แต่ว่าโดยปรกตินั้นทุกคนไม่ได้ตั้งจิตมากำหนดดูกาย ดูเวทนา ดูจิต ดูธรรมะในจิตของตน แต่ว่าส่งจิตไปกำหนดในเรื่องนั้นบ้างในเรื่องนี้บ้าง และก็เกิดยินดีบ้างยินร้ายบ้างกันอยู่ เพราะฉะนั้น จึงได้บังเกิดอกุศลกรรมต่างๆ บังเกิดความทุกข์เดือดร้อนต่างๆ พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสสอนให้มาตั้งจิตกำหนดดูกายเวทนาจิตธรรมของตน นี่แหละคือสติปัฏฐาน<O:p></O:p>
    ต่อจากนี้ก็ขอให้ตั้งใจฟังสวดและตั้งใจทำความสงบสืบต่อไป <O:p></O:p>

    <O:p></O:p>​



     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    [​IMG]

    พระธรรมคุณ ๒ สันทิฏฐิโก การปฏิบัติสติปัฏฐานประจำวัน<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>​


    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก<O:p></O:p>​


    วัดบวรนิเวศวิหาร<O:p></O:p>​


    คัดจากเทปธรรมอบรมจิต ข้อความสมบูรณ์ อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ<O:p></O:p>

    บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม<O:p></O:p>
    ธรรมหรือธรรมะนั้น เป็นธรรมะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว ดังพระธรรมคุณบทว่า สวากขาโต ภควตา ธัมโม ธรรมะอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว ตรัสดีแล้วอย่างไรได้แสดงแล้วโดยปริยายคือทางที่พึงแสดงได้ในครั้งเดียว แต่มีข้อสำคัญที่ส่องถึงว่าธรรมะอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว ก็เพราะว่าธรรมะที่พระองค์ตรัสสอนนั้นเป็น สันทิฏฐิโก คือ เป็นธรรมะอันผู้ฟังผู้ปฏิบัติผู้ได้บรรลุพึงเห็นได้เอง
    <O:p></O:p>
    ข้อนี้เป็นหลักสำคัญอย่างยิ่งของธรรมะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสั่งสอน ชื่อว่าได้ตรัสดีได้ทรงสั่งสอนดี ก็เพราะผู้ฟังผู้ปฏิบัติผู้ได้บรรลุพึงเห็นได้เองนี่เอง เพราะฉะนั้น ในเบื้องต้นก็พึงทำความเข้าใจไว้ดั่งนี้ก่อน
    <O:p></O:p>
    และไม่ควรจะมีความเข้าใจว่า ข้อที่ว่าเห็นได้เองนี้เพราะเป็นธรรมะที่ลึกซึ้ง ไม่เป็นวิสัยของสามัญชนจะพึงเห็นได้ ซึ่งอาจจะมีผู้เข้าใจดั่งนั้น
    <O:p></O:p>
    ธรรมะที่พึงรู้พึงเห็นได้<O:p></O:p>
    แต่อันที่จริงนั้นข้อว่าสันทิฏฐิโกนี้ เป็นลักษณะอันสำคัญของพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสอน เพราะเหตุที่ทำให้ผู้ฟังผู้ปฏิบัติผู้ได้บรรลุเห็นเองได้นี้ จึงทำให้ชื่อว่าเป็นธรรมะที่ตรัสดีแล้วดังกล่าว
    <O:p></O:p>
    อันข้อที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนนั้นก็ดังที่ได้กล่าวแล้ว ว่ามีอาการ ๓ อย่าง คือ เป็นธรรมะที่พึงรู้พึงเห็น ก็คือพึงรู้พึงเห็นได้ เป็นสันทิฏฐิโกนี่แหละ เป็นธรรมะมีเหตุที่ผู้ฟังอาจตรองตามให้เห็นจริงได้ ก็เพราะว่าจะรู้จะเห็นได้เองดังที่ข้อ ๑ ก็ต้องมีข้อ ๒ คือมีเหตุที่ผู้ฟังอาจตรองตามให้เห็นจริงได้ คือให้เป็นสันทิฏฐิโกขึ้นมาได้ และที่จะเป็นดั่งข้อสองนี่ได้ก็โดยที่มีข้อ ๓ คือเป็นธรรมะที่มีปาฏิหาริย์ กล่าวคือ กำจัดข้าศึกกิเลสได้ เป็นสัจจะคือความจริง ที่ให้ผลเป็นประโยชน์สุข ตั้งแต่ขั้นต้นขั้นต่ำขึ้นไปได้จริง จนถึงประโยชน์สูงสุดคือมรรคผลนิพพาน กำจัดกิเลสและกองทุกข์ได้หมดสิ้นจริง ตามสมควรแก่ความปฏิบัติ
    <O:p></O:p>
    การที่ปฏิบัติได้ผลสมจริงนี่แหละเป็นตัวปาฏิหาริย์ดังที่ได้กล่าวแล้ว เพราะฉะนั้นธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน จึงต้องมีลักษณะที่เป็นสันทิฏฐิโกดังกล่าว ถ้าไม่มีลักษณะเป็นสันทิฏฐิโกก็ไม่ทรงสั่งสอน แม้จะมีผู้มาถาม ก็ไม่ตรัสตอบ ไม่ตรัสพยากรณ์ ดังเช่นที่แสดงไว้ถึงปัญหาที่พระพุทธเจ้าไม่ตรัสตอบไว้ ๑๐ ข้อ ยกตัวอย่างขึ้นมาเพียงบางข้อ คือปัญหาที่ถามว่าโลกเที่ยง หรือโลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด หรือโลกไม่มีที่สุด ก็เป็นทำนองปัญหาเรื่องการสร้างโลก หรือการสิ้นสุดแห่งโลก ซึ่งหมายถึงโลกคือพื้นพิภพอันนี้ อันเรียกว่าโอกาสโลก โลกคือพื้นพิภพอันนี้ เที่ยงหรือไม่เที่ยง มีที่สุดหรือไม่มีที่สุด อย่างไร ปัญหาเหล่านี้พระพุทธองค์ไม่ตรัสตอบ เพราะว่าไม่ให้สำเร็จประโยชน์อะไร ไม่ทำให้สิ้นกิเลสและกองทุกข์ได้อย่างไร
    <O:p></O:p>
    เพราะว่าไม่มีผู้ฟังที่จะได้ความรู้ความเห็นได้ด้วยตนเอง ถ้าตรัสตอบไปก็เพียงแต่ว่าจะเชื่อหรือไม่เชื่อเท่านั้น ถ้าไม่เชื่อและเกิดความลบหลู่ขึ้น ก็เป็นการที่ไม่เชื่อในพระปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ไม่เป็นบุญไม่เป็นกุศลเพิ่มขึ้นอีก เพราะว่าไม่ทำให้ผู้ฟังได้ความรู้ความเห็นขึ้นด้วยตัวเอง เพราะฉะนั้น เรื่องดังเช่นที่กล่าวมานี้พระพุทธเจ้าไม่ตรัสสอน แม้จะมีผู้มาถามก็ไม่ตรัสตอบ เพราะไม่เป็นสันทิฏฐิโกขึ้นมาได้ ไม่ให้สำเร็จประโยชน์อะไร ส่วนธรรมะที่ตรัสสอนนั้น ต้องเป็นธรรมะที่เป็นสันทิฏฐิโก ที่ผู้ฟังพึงรู้พึงเห็น รู้เห็นได้ ก็คือเห็นได้ด้วยตนเองดังกล่าว
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    โลกในภายใน<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    เพราะฉะนั้น พระองค์จึงได้ทรงแสดงโลก คือแทนที่จะแสดงโลกในภายนอกที่เป็นพื้นพิภพโลกธาตุดังที่กล่าวมานั้น มาทรงแสดงโลกในภายในคือในกายอันยาววาหนาคืบนี้ มีสัญญามีใจครองนี้ ดังที่ได้ตรัสไว้แก่โรหิตัสสะเทพบุตร ว่าพระองค์ทรงบัญญัติโลก บัญญัติโลกสมุทัยเหตุเกิดเพราะโลก บัญญัติโลกนิโรธความดับโลก บัญญัติโลกนิโรธคามินีปฏิปทาข้อปฏิบัติให้ถึงความดับโลก ในกายอันยาววาหนึ่งมีสัญญามีใจครองนี้ ดั่งนี้
    <O:p></O:p>
    โลกที่พระองค์ทรงบัญญัตินี้ พระองค์ได้ถึงที่สุดของ ... ( จบเทป ๑๐๒/๑ ) ( ข้อความขาดนิดหน่อย ) ( เริ่ม ๑๐๒/๒ ) ทรงตรัสรู้เป็นพระพุทธะ ก็เพราะได้ตรัสรู้ถึงที่สุดของโลกในภายใน
    <O:p></O:p>
    และก็ตรัสแสดงชี้แจงเปิดเผยกระทำให้แจ้ง โลกที่ทรงบัญญัติไว้ทั้ง ๔ นี้ ก็คืออริยสัจจ์ทั้ง ๔ นั้นเอง ก็คือทุกข์ ทุกขสมุทัยเหตุเกิดทุกข์ ทุกขนิโรธความดับทุกข์ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
    <O:p></O:p>
    โลกคือขันธ์ ๕<O:p></O:p>
    เพราะว่าที่ชื่อว่าโลกนั้นก็เพราะเป็นสิ่งที่ชำรุดทรุดโทรม สิ่งใดชำรุดทรุดโทรมสิ่งนั้นชื่อว่าโลก เพราะฉะนั้นโลกจึงเป็นทุกข์ พระองค์ก็ตรัสชี้ทุกขสัจจะความจริงคือทุกข์นี้ โดยตรงก็คือขันธโลก โลกคือขันธ์ ๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันย่อเข้าเป็นนามรูปนี้เองเป็นตัวโลกที่เรียกว่าขันธโลก และเป็นตัวทุกข์โดยสรุป เพราะเมื่อกล่าวโดยสรุปแล้วก็ตรัสไว้ว่า ขันธ์เป็นที่ยึดถือทั้ง ๕ ประการเป็นตัวทุกข์
    <O:p></O:p>
    พระองค์ทรงแสดงชี้แจงให้รู้จักโลก ให้รู้จักทุกข์ โดยปริยายเป็นอันมาก และก็ทรงแสดงชี้แจงให้รู้จักทุกขสมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์ ให้เกิดโลก ที่ทรงยกเอาตัณหาความดิ้นรนทะยานอยากขึ้นมาแสดง โดยปริยายเป็นอันมาก ทรงแสดงให้รู้จักทุกขนิโรธ ความดับทุกข์ หรือโลกนิโรธความดับโลก โดยปริยายคือทางเป็นอันมาก ทรงแสดงทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ โลกนิโรธคามินีปฏิปทาข้อปฏิบัติให้ถึงความดับโลก โดยปริยายคือทางเป็นอันมาก ทั้งหมดก็รวมเข้าในกายอันยาววาหนึ่ง มีสัญญามีใจครองของทุกๆ คนนี้เอง
    <O:p></O:p>
    เพราะฉะนั้น ธรรมะที่พระองค์ทรงแสดงทุกคนจึงเห็นได้เอง เป็นสันทิฏฐิโก เป็นธรรมะอันพึงเห็นได้เอง ฟังก็เห็นรู้ได้เอง ปฏิบัติก็รู้เห็นได้เอง บรรลุถึงผลเป็นความรู้แจ้งเห็นแจ้งแทงตลอดก็รู้เห็นได้เอง
    <O:p></O:p>
    เป็นสันทิฏฐิโก ตั้งแต่ขั้นปริยัติ ขั้นปฏิบัติ และขั้นปฏิเวธคือขั้นผลที่ได้ ตั้งแต่ขั้นต้นจนถึงขั้นมรรคผลนิพพาน ที่เรียกว่าเป็นความรู้แจ้งแทงตลอดขั้นสูงสุด ล้วนเป็นสันทิฏฐิโกเห็นเองทั้งนั้น
    <O:p></O:p>
    อันสันทิฏฐิโกเห็นเองดังกล่าวนี้เป็นเรื่องธรรมดา ที่แม้ในการเล่าเรียนศึกษาวิชาต่างๆ ที่ทุกคนเล่าเรียนศึกษา เพื่อประกอบอาชีพการงานเป็นต้น ก็ต้องอาศัยเป็นสันทิฏฐิโกเช่นนี้เหมือนกัน เพราะฉะนั้น นึกถึงทุกๆ คนที่เข้าโรงเรียนตั้งแต่ขั้นอนุบาลเป็นต้นขึ้นมา ก็ต้องเรียนเอง แล้วก็รู้เอง ตั้งแต่ ก ข ค ง เป็นต้นขึ้นมา จะเรียนแทนกันไม่ได้ มารดาบิดาที่ส่งลูกเข้าโรงเรียน ก็ส่งอุปการะต่างๆ เช่นนำเด็กเข้าสู่โรงเรียน ให้เครื่องแต่งตัวเป็นนักเรียน หาเครื่องเรียนให้ และเครื่องอุปการะต่างๆ ตามที่ต้องการ แต่ว่าเด็กที่เป็นลูกหลานนั้นต้องเรียนเอง พ่อแม่จะไปเรียนแทนให้ลูกไม่ได้ ลูกต้องเรียนเอง แล้วลูกก็รู้เองเห็นเองตั้งแต่ต้นมา ดั่งนี้ก็เป็นสันทิฏฐิโกเหมือนกัน เป็นหลักธรรมดาที่มีอยู่ในการที่ทุกคนจะได้ปัญญาที่เป็นตัวความรู้ หรือได้วิชชา ซึ่งก็ต้องเล่าเรียนเองต้องศึกษาเองด้วยตนเองมาตั้งแต่ในเบื้องต้น
    <O:p></O:p>
    มาถึงธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน ก็ทรงสั่งสอนเพื่อให้รู้เองเห็นเอง จำเพาะในธรรมะที่จะรู้เองเห็นเองได้ ถ้าเป็นธรรมะที่รู้เองเห็นเองไม่ได้ ดังปัญหาที่ไม่ทรงพยากรณ์นั้น ก็ไม่ตรัสสอนไม่ตรัสพยากรณ์ เพราะฉะนั้น สันทิฏฐิโกนี้จึงเป็นหลักสำคัญของธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงสอน อันส่องถึงว่าพระองค์ได้ตรัสดีแล้วก็เพราะตรัสให้ผู้ฟังรู้เองเห็นเองได้ปฏิบัติได้ และได้รับผลได้ตามที่ตรัสสอนไว้สมจริงทุกอย่าง และก็ตรัสสอนในกายอันยาววาหนึ่ง มีสัญญามีใจครองนี้นี่แหละ ไม่ใช่ทรงสั่งสอนที่อื่น เพราะเหตุนี้แหละทุกๆ คนจึงสามารถจะฟังให้รู้เห็นเองได้ จะปฏิบัติได้ จะบรรลุถึงผลได้ นี้เป็นลักษณะพิเศษของพระพุทธศาสนาที่เป็นไปดั่งนี้
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ธรรมะที่เป็นสันทิฏฐิโกนี้คืออย่างไร<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    ได้มีพระสูตรที่แสดงถึงพระพุทธเจ้าได้ตรัสตอบปัญหาแก่พราหมณ์ผู้มาถามพระองค์ ว่าธรรมะที่เป็นสันทิฏฐิโกนี้คืออย่างไร พระองค์ก็ได้ตรัสตอบว่า<O:p></O:p>
    บุคคลที่มีราคะ คือติดใจกำหนัดยินดีถูกราคะครอบงำ มีใจที่ถูกราคะจับไว้ได้ยึดไว้ได้ ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้งสองบ้าง ย่อมเสวยทุกข์โทมนัสทางใจบ้าง ย่อมประพฤติทุจริตทางกายบ้าง ประพฤติทุจริตทางวาจาบ้าง ประพฤติทุจริตทางใจบ้าง ย่อมไม่เห็นประโยชน์ตนบ้าง ไม่เห็นประโยชน์ผู้อื่นบ้าง ไม่เห็นประโยชน์แม้ทั้งสองบ้าง<O:p></O:p>
    บุคคลที่ละราคะได้แล้วย่อมไม่คิดอย่างนั้น คือไม่คิดเพื่อเบียดเบียนตน เบียดเบียนผู้อื่น เบียดเบียนทั้งสอง ไม่ต้องเสวยทุกข์โทมนัสทางใจ ไม่ประพฤติทุจริตทางกาย ทางวาจา ทางใจ ย่อมเห็นประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ทั้งสอง
    <O:p></O:p>
    ผู้ที่มีโทสะ ความโกรธแค้นขัดเคือง ถูกโทสะครอบงำ มีใจถูกโทสะจับยึดไว้ได้ ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้งสองบ้าง ย่อมเสวยทุกข์โทมนัสทางใจบ้าง ย่อมประพฤติทุจริตทางกายบ้าง ประพฤติทุจริตทางวาจาบ้าง ประพฤติทุจริตทางใจบ้าง ย่อมไม่เห็นประโยชน์ตน ไม่เห็นประโยชน์ผู้อื่น ไม่เห็นประโยชน์ทั้งสอง
    <O:p></O:p>
    บุคคลผู้ที่ละโทสะได้แล้วย่อมไม่คิดอย่างนั้น คือไม่คิดเพื่อเบียดเบียนตน เบียดเบียนผู้อื่น เบียดเบียนทั้งสอง ไม่ต้องเสวยทุกข์โทมนัสทางใจ ไม่ประพฤติทุจริตทางกายทางวาจาทางใจ ย่อมเห็นประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ทั้งสอง
    <O:p></O:p>
    ผู้ที่มีโมหะ ความหลง ถูกความหลงครอบงำ มีใจอันความหลงจับยึดไว้ได้ ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง คิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง คิดเพื่อเบียดเบียนทั้งสองบ้าง ย่อมเสวยทุกข์โทมนัสทางใจบ้าง ย่อมประพฤติทุจริตทางกายบ้าง ประพฤติทุจริตทางวาจาบ้าง ประพฤติทุจริตทางใจบ้าง ย่อมไม่เห็นประโยชน์ตน ไม่เห็นประโยชน์อื่น ไม่เห็นประโยชน์ทั้งสอง
    <O:p></O:p>
    ผู้ที่ละโมหะคือความหลงได้ ย่อมไม่คิดอย่างนั้น คือไม่คิดเพื่อเบียดเบียนตน เบียดเบียนผู้อื่น เบียดเบียนทั้งสอง ไม่ต้องเสวยทุกข์โทมนัสทางใจ ไม่ประพฤติทุจริตทางกายทางวาจาทางใจ ย่อมเห็นประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ทั้งสอง ดั่งนี้ นี้คือธรรมะเป็นสันทิฏฐิโก อันบุคคลผู้ปฏิบัติผู้ได้บรรลุถึงพึงเห็นเอง ดั่งนี้
    <O:p></O:p>
    เพราะฉะนั้น ตามพระพุทธภาษิตที่ตรัสนี้ จึงแสดงถึงธรรมะที่เป็นสันทิฏฐิโกดังที่กล่าวมา เมื่อบุคคลเป็นผู้ที่มีจิตใจเป็นอย่างไร และมีความประพฤติอันสืบเนื่องมาจากจิตใจเป็นอย่างไร ทุกคนก็ย่อมรู้เห็นเอง ไม่ใช่แต่ในทางดีเท่านั้น แม้ในทางชั่วก็รู้เห็นได้เอง คือเมื่อได้ฟังคำสั่งสอนของพระองค์ที่ตรัสแสดงชี้แจงดังที่ยกมานี้ และน้อมเข้ามาพิจารณาดูตนเองว่าเป็นอย่างไรก็ย่อมจะเห็นได้
    <O:p></O:p>
    แม้เมื่อตนเองมีจิตใจอันประกอบด้วย โลภ โกรธ หลง หรือ ราคะ โทสะ โมหะ และมีความทุกข์โทมนัส เพราะอำนาจของกิเลส และเมื่อประพฤติทุจริตทางกาย ทางวาจา ทางใจ ตนเองก็ย่อมรู้ ว่าจิตใจของตนกำลังโลภ กำลังโกรธ กำลังหลง กำลังมีราคะ กำลังมีโทสะ กำลังมีโมหะ และกำลังกระสับกระส่ายเดือดร้อน เพราะถูกกิเลสแผดเผาใจของตัวเอง ให้กระสับกระส่ายให้วุ่นวาย และเมื่อประพฤติทุจริตทางกาย ทางวาจา ทางใจ อย่างไร ตนเองก็ย่อมรู้ว่าเรากำลังทำนั่น กำลังทำนี่ กำลังพูดนั่น กำลังพูดนี่ กำลังคิดนั่น กำลังคิดนี่ ซึ่งล้วนเป็นทุจริต คือเป็นสิ่งที่ไม่ดี ก็ย่อมรู้ได้ดั่งนี้ ในเมื่อน้อมใจเข้ามาเพื่อรู้
    <O:p></O:p>
    และเมื่อมีสติกำหนดพิจารณาดู ก็ย่อมจะรู้ได้ว่าในขณะที่กำลังมีจิตใจถูกกิเลสครอบงำ กำลังประพฤติทุจริตต่างๆ นั้น ย่อมไม่มีปัญญาที่จะรู้จักว่า นี่ดี นี่ชั่ว นี่เป็นประโยชน์ตน นี่เป็นประโยชน์ผู้อื่น นี่เป็นประโยชน์ทั้งสอง ย่อมจะไม่รู้จัก ย่อมจะสำคัญผิดว่าสิ่งที่ตนกำลังคิดกำลังทำกำลังพูดนั่นแหละ เป็นสิ่งที่ดี อาจจะเห็นอย่างนั้น จึงชวนใจให้กระทำ ทั้งนี้ก็เพราะว่ากำลังถูกกิเลสครอบงำจิตใจอยู่ และกำลังปฏิบัติกรรมที่เป็นบาปเป็นอกุศลอยู่ จิตใจก็ย่อมมืดมัว ไม่ผ่องใส ทำให้ไม่ได้ปัญญาที่จะมองเห็นสัจจะที่เป็นตัวความจริง
    <O:p></O:p>
    แต่ว่าเมื่อมาปฏิบัติตามพระธรรมที่ทรงสั่งสอน ปฏิบัติละราคะหรือโลภะ ละโทสะ ละโมหะ ละบาปอกุศลทุจริต กาย วาจา ใจ เป็นตัวศีล และเป็นสมาธิขึ้นมา จิตใจย่อมจะผ่องใสสะอาด เมื่อจิตใจผ่องใสสะอาดก็ย่อมจะได้ปัญญา มองเห็นว่าสัจจะคือความจริงเป็นอย่างไร ประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน ประโยชน์ทั้งสองเป็นอย่างไร ซึ่งเป็นตัวปัญญา ย่อมจะได้ปัญญาขึ้นในเมื่อจิตใจมีความบริสุทธิ์สะอาด อันสืบเนื่องมาจากศีล เหล่านี้ต้องเป็นสันทิฏฐิโกคือที่จะต้องเห็นด้วยตัวเองทั้งนั้น โดยที่ตั้งจิตกำหนดเข้ามาดูให้รู้จักธรรมะในตัวเอง ทั้งที่เป็นฝ่ายอกุศล ทั้งที่เป็นฝ่ายกุศล ก็เป็นสันทิฏฐิโกด้วยกันทั้งนั้น
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    การปฏิบัติในสติปัฏฐาน<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    การปฏิบัติในสติปัฏฐานตั้งสติกำหนดพิจารณากายเวทนาจิตธรรม ก็เช่นเดียวกัน เพราะทั้ง ๔ ข้อนี้ย่อมมีอยู่ในกายอันยาววา มีสัญญา มีใจครอง นี้นั่นเอง ไม่ใช่มีที่ไหน
    <O:p></O:p>
    เมื่อตั้งสติกำหนดเข้ามาดูกาย ก็ย่อมจะเห็นกายว่ามีอยู่ กำหนดเวทนาก็ย่อมจะเห็นว่าเวทนามีอยู่ กำหนดจิตก็ย่อมจะเห็นว่าจิตมีอยู่ กำหนดธรรมก็ย่อมจะเห็นว่าธรรมมีอยู่
    <O:p></O:p>
    เมื่อมีอกุศลธรรมอยู่ในจิต<O:p></O:p>
    ยกตัวอย่างตามพระสูตรที่ได้ยกมาอ้างนั้น ในบางคราวมีราคะหรือโลภะ มีโทสะ มีโมหะ บังเกิดขึ้นในจิต ปรากฏอยู่ในจิต เมื่อน้อมจิตเข้ามากำหนดดู ก็ย่อมจะรู้ได้ว่ากำลังมีราคะหรือกำลังมีโลภะอย่างนี้ๆ กำลังมีโทสะอย่างนี้ๆ กำลังมีโมหะอย่างนี้ๆ ก็เป็นอันว่าได้รู้จักอกุศลธรรมในตนเอง ว่าตนเองกำลังปรากฏมีอกุศลธรรม คือกิเลสดังกล่าว และถ้าหากว่ากิเลสเหล่านี้ก่อให้เกิดเจตนาคือความจงใจที่จะประกอบกรรม เป็นอกุศลทางกายทางวาจาทางใจต่างๆ มีสติกำหนดดูก็ย่อมจะรู้ว่า ย่อมจะเห็นว่าเรากำลังมีเจตนาคือความจงใจๆ คือมีเจตนาคือความจงใจอย่างนี้ๆ นี้เป็นอันว่าได้รู้จักอกุศลธรรมในจิตของตน
    <O:p></O:p>
    คราวนี้เมื่อมากำหนดดูจิต จิตของตนในขณะที่กำลังมีกิเลสดังกล่าวนั้น ก็ย่อมจะรู้จะเห็นจิตของตนว่า กำลังดิ้นรน กวัดแกว่ง กระสับกระส่าย เร่าร้อนอยู่ด้วยอำนาจของกิเลสที่บังเกิดขึ้นในจิต ย่อมจะรู้จักจิตของตนว่าเป็นอย่างนี้ๆ <O:p></O:p>
    คราวนี้เมื่อมาดูเวทนาว่าเป็นอย่างไร ก็ย่อมจะรู้เหมือนกันว่า เวทนาของตนในขณะที่มีกิเลสครอบงำจิตอยู่นี้นั้น เป็นทุกขเวทนา เป็นตัวทุกข์ เพราะว่ามีความเร่าร้อน มีความกระสับกระส่ายไม่ผาสุก
    <O:p></O:p>
    คราวนี้มาดูกาย ว่ากายของตนเป็นอย่างไร ก็จะเห็นว่าแม้กายของตนนั้นก็ไม่ปรกติเหมือนกัน ตั้งต้นแต่ลมหายใจ ก็จะรู้สึกว่าลมหายใจนั้นก็ไม่ปรกติ จะมีการหายใจแรง อาจจะฮืดฮาดๆ ด้วยอำนาจของกิเลส
    <O:p></O:p>
    อิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน ก็ไม่เรียบร้อย บางคราวก็ต้องเดินงุ่นง่านไปมาอยู่ นั่งก็กระสับกระส่าย ยืนก็ไม่อยู่เป็นที่ แม้จะนอนก็ไม่เป็นสุข กระสับกระส่าย เพราะฉะนั้นอาการทางกายนั้นก็เป็นอาการที่ไม่ปรกติ เพราะฉะนั้น หากกำหนดดูที่กายของตนในขณะดังกล่าวก็จะเห็นได้ว่าเป็นอย่างนี้ กายก็เป็นไปทางอกุศล เวทนาก็เป็นไปทางอกุศล จิตก็เป็นไปทางอกุศล เพราะมีอกุศลธรรมบังเกิดขึ้นในจิต
    <O:p></O:p>
    เมื่อมีกุศลธรรมอยู่ในจิต<O:p></O:p>
    คราวนี้ถ้าเป็นไปตรงกันข้าม ในขณะที่มีกุศลธรรมบังเกิดขึ้นในจิต เช่นว่ามีศีลคือตัววิรัติเจตนาบังเกิดขึ้นในจิต มีสมาธิ มีสติ บังเกิดขึ้นในจิต มีปัญญาที่เป็นตัวความรู้ความเห็นปลอดโปร่งบังเกิดขึ้นในจิต นี่เป็นกุศลธรรม เมื่อกุศลธรรมบังเกิดขึ้นในจิตดั่งนี้ กำหนดดูก็ย่อมจะรู้ ว่าบัดนี้เรากำลังมีศีล เรากำลังมีสมาธิ มีสติ มีปัญญา
    <O:p></O:p>
    มาดูจิตว่าในขณะที่กุศลธรรมบังเกิดขึ้นในจิตนี้จิตเป็นอย่างไร ก็ย่อมจะเห็นว่าจิตเป็นจิตที่ปรกติ มีความสงบ มีความสุข สงบราคะ หรือ โลภะ โทสะ โมหะ หรือว่าละ ราคะ โลภะ โทสะ โมหะ ได้ แม้ในขณะที่กุศลธรรมบังเกิดขึ้นในจิต จิตมีความสงบ มีความเป็นปรกติ
    <O:p></O:p>
    ดูเวทนาก็ย่อมจะรู้จะเห็นว่า มีสุขเวทนา มีความเป็นสุขอันเกิดจากความสงบใจ สงบอารมณ์ ดูกายก็เห็นจะเห็นว่ากายนั้นก็เป็นไปโดยปรกติ จะยืนจะเดินจะนั่งจะนอนก็เป็นปรกติเรียบร้อย ลมหายใจก็เป็นปรกติเรียบร้อย ธาตุทั้งหลายในกายนี้ก็เป็นไปโดยเรียบร้อย ไม่มีธาตุใดธาตุหนึ่งหย่อนหรือเกิน ดั่งนี้เป็นต้น เพราะฉะนั้น กายก็เป็นไปตามกุศล เวทนาก็เป็นไปตามกุศล จิตก็เป็นไปตามกุศล เพราะฉะนั้น เมื่อมีกุศลธรรมอยู่ในจิต อื่นๆ ก็ดีหมด
    <O:p></O:p>
    สติปัฏฐานในชีวิตประจำวัน<O:p></O:p>
    เพราะฉะนั้น การที่มาหัดกำหนดพิจารณาดูดั่งนี้ก็เป็นการปฏิบัติสติปัฏฐาน เป็นการปฏิบัติทั่วไป ซึ่งปฏิบัติได้เป็นการประจำวัน และแม้ว่าสามัญชนจะต้องมีฝ่ายอกุศลบังเกิดขึ้นในจิตบ้าง มีฝ่ายกุศลบังเกิดขึ้นในจิตบ้าง แต่เมื่อหัดทำสติกำหนดดูธรรมะในจิต ดูจิตเอง ดูเวทนา ดูกาย อยู่เนืองๆ แล้ว หากฝ่ายอกุศลบังเกิดขึ้น ฝ่ายอกุศลนั้นเมื่อถูกเพ่งพินิจขึ้นแล้ว ก็จะสงบลง ฝ่ายกุศลนั้นหากบังเกิดขึ้น และมีสติกำหนดดูอยู่ ฝ่ายกุศลก็จะตั้งอยู่และจะเจริญยิ่งขึ้น<O:p></O:p>
    ต่อไปนี้ก็ขอให้ตั้งใจฟังสวดและตั้งใจทำความสงบสืบต่อไป<O:p></O:p>

    <O:p></O:p>​


     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    [​IMG]

    พระธรรมคุณ ๓ อกาลิโก<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>​


    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก<O:p></O:p>​


    วัดบวรนิเวศวิหาร<O:p></O:p>​


    คัดจากเทปธรรมอบรมจิต ข้อความสมบูรณ์ อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ<O:p></O:p>


    <O:p></O:p>

    บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม<O:p></O:p>
    พระธรรมคุณบทต่อจาก สวากขาโต ภควตา ธัมโม ธรรมะอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว สันทิฏฐิโก อันผู้ปฏิบัติผู้ได้บรรลุพึงเห็นเอง อกาลิโก ไม่ประกอบด้วยกาลเวลา ในการแสดงอธิบายพระธรรมคุณบทว่า อกาลิโก นี้ พึงทำความเข้าใจในเบื้องต้นไว้ก่อนว่า พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนข้อปฏิบัติเกี่ยวกับกาลเวลาไว้เป็นอันมาก เช่น ตรัสสอนให้ฟังธรรมโดยกาล ให้สนทนาธรรมโดยกาล อันหมายความว่า ให้ฟังธรรมในกาลเวลาที่ควรฟัง ให้สนทนาในกาลเวลาที่ควรสนทนาธรรม ว่าเป็นมงคลอันอุดม และตรัสสอนให้มี กาลัญญู รู้กาลเวลาไว้ในสัปปุริสธรรม ๗ ข้อ และได้ตรัสสอนให้ไม่หน่วงคิดถึงอดีต ไม่หวังอนาคต แต่ให้กำหนดรู้ปัจจุบันธรรม ธรรมที่เป็นปัจจุบัน
    <O:p></O:p>
    ในพระวินัยเองก็มีบัญญัติเกี่ยวกับกาลเวลาไว้เป็นอันมาก เช่นให้ทำอุโบสถสังฆกรรมในวันจันทร์เพ็ญ วันจันทร์ดับ และกำหนดวันดังกล่าวให้เป็นวันธรรมสวนะ คือวันเป็นที่ฟังธรรมด้วย กำหนดวันกึ่งปักษ์ให้เป็นวันธรรมสวนะ คือเป็นวันเป็นที่ฟังธรรมด้วย ทั้งให้เป็นวันรักษาอุโบสถศีลสำหรับคฤหัสถ์ด้วย และกุลบุตรที่จะอุปสมบทเป็นภิกษุได้ต้องมีอายุครบ ๒๐ ปี การนับวันเดือนปีของโลกก็เกี่ยวแก่กาลเวลา อายุของคนที่เกิดขึ้นและล่วงไปๆ ก็เกี่ยวแก่กาลเวลา จนถึงเวลาที่จะตายก็เรียกว่าทำกาลกิริยา กระทำกาละ ก็คือกาลเวลา
    <O:p></O:p>
    ธรรมะที่ไม่ประกอบด้วยกาลเวลา<O:p></O:p>
    เพราะฉะนั้น ธรรมะที่เป็นอกาลิโกไม่ประกอบด้วยกาลเวลา จะพึงมีความเข้าใจอย่างไร เมื่อพิจารณาดูแล้วในทางแห่งธรรมะ ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ เป็นสัจจะธรรม ธรรมะที่เป็นความจริง เป็นของจริง ดั่งที่ตรัสไว้ในปฐมเทศนาของพระองค์ ว่าพระองค์ได้พบทางที่เป็นมัชฌิมาปฏิปทา ข้อปฏิบัติอันเป็นหนทางกลาง ได้ทรงปฏิบัติในมัชฌิมาปฏิปทานี้ จึงได้ตรัสรู้ คือได้มีจักษุดวงตา ญาณความหยั่งรู้ ปัญญาความรู้ทั่ว วิชชาความรู้ที่ถูกต้อง อาโลกะความสว่างผุดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่พระองค์มิได้เคยสดับมาก่อน
    <O:p></O:p>
    ว่านี้ทุกข์ ทุกข์ควรกำหนดรู้ ทุกข์ได้ทรงกำหนดรู้แล้ว นี้สมุทัยเหตุให้เกิดทุกข์ สมุทัยเหตุให้เกิดทุกข์นี้ควรละ ทุกขสมุทัยคือเหตุให้เกิดทุกข์นี้ทรงละได้แล้ว นี้ทุกขนิโรธความดับทุกข์ ทุกขนิโรธนี้ควรกระทำให้แจ้ง ทุกขนิโรธนี้ทรงกระทำให้แจ้งแล้ว นี้มรรคทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์นี้ควรอบรมปฏิบัติให้มีขึ้นให้เป็นขึ้น
    <O:p></O:p>
    มรรคคือทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ได้ทรงอบรมปฏิบัติทำให้มีขึ้นให้เป็นขึ้นแล้ว ดั่งนี้ ก็คือได้ตรัสรู้อริยสัจจ์ทั้ง ๔ ด้วยญาณ อันมีวนรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ เป็นไปในอริยสัจจ์ทั้ง ๔ คือเป็นไปในทุกข์ ในเหตุเกิดทุกข์ ในความดับทุกข์ ในทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
    <O:p></O:p>
    โดยเป็นสัจญาณ ความหยั่งรู้ว่าเป็นความจริง รอบหนึ่ง เป็นไปในอริยสัจจ์ทั้ง ๔ นี้ โดยเป็นกิจญาณ คือความหยั่งรู้ในกิจที่พึงทำ รอบหนึ่ง เป็นไปในอริยสัจจ์ทั้ง ๔ นี้ โดยความเป็นกตญาณ คือความหยั่งรู้ในกิจที่พึงทำว่าได้ทำเสร็จแล้ว คือได้ทำความกำหนดรู้ทุกข์แล้ว ได้ทำการละสมุทัยได้แล้ว ได้กระทำให้แจ้งนิโรธแล้ว ได้อบรมปฏิบัติมรรคให้สมบูรณ์บริบูรณ์แล้ว ดั่งนี้ จึ่งได้ทรงปฏิญญารู้รับรองพระองค์ว่าเป็นอภิพุทธะคือผู้ตรัสรู้ยิ่ง ซึ่งความตรัสรู้เองโดยชอบแล้ว ดั่งนี้
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ทางแห่งความตรัสรู้<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    เพราะฉะนั้น ธรรมะที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ ด้วยการที่ทรงพบทางแห่งความตรัสรู้ ได้ทรงปฏิบัติมาจนสมบูรณ์จึงได้ตรัสรู้ ก็คือตรัสรู้อริยสัจจ์ทั้ง ๔ ดังกล่าว ก็เป็นอันว่าธรรมะที่พระองค์ตรัสรู้นี้เป็นสัจจะธรรม ธรรมะที่เป็นของจริงของแท้ หากจะมีปัญหาว่าทางที่พระองค์ทรงพบคือมัชฌิมาปฏิปทา อริยสัจจ์ที่ได้ตรัสรู้ เป็นทางใหม่หรือทางเก่า เป็นอริยสัจจ์ใหม่ หรือเป็นอริยสัจจ์เก่า
    <O:p></O:p>
    ในข้อนี้พระอาจารย์ผู้พิจารณาทั้งหลาย ตลอดจนถึงได้มีพระพุทธภาษิตเองแสดงไว้ในที่อื่น ซึ่งมีใจความว่า ทางที่ทรงพบคือมัชฌิมาปฏิปทาก็เป็นทางเก่าทางดั้งเดิม อริยสัจจ์ ๔ที่ตรัสรู้ ก็เป็นอริยสัจจ์เก่าดั่งเดิม คือเป็นสัจจะธรรม ธรรมะที่เป็นของจริงของแท้ อันหมายถึงทั้งทางอันเรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทาที่ทรงพบอริยสัจจ์ที่ตรัสรู้ เป็นสัจจะธรรมที่ตั้งอยู่แล้วที่มีอยู่แล้ว หรือเป็นธรรมชาติเป็นธรรมดาที่มีอยู่แล้วที่ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีเบื้องต้นไม่มีที่สุด เป็นของที่ตั้งอยู่ เป็นของที่ดำรงอยู่ เป็นอกาลิโกไม่ประกอบด้วยกาลเวลา ก็เช่นเดียวกับธรรมชาติธรรมดาของโลกธาตุ ซึ่งเป็นสัจจะคือความจริงตามเหตุและผล ที่ตั้งอยู่แล้วที่ดำรงอยู่แล้ว
    <O:p></O:p>
    เพราะฉะนั้น เมื่อใดมีผู้มีปัญญาเกิดขึ้นได้ค้นพบสัจจะธรรม ธรรมะที่เป็นความจริง คือธรรมชาติธรรมดา หรือหลักธรรมชาติหลักธรรมดา หรือว่ากฏธรรมชาติกฏธรรมดา ที่มีอยู่ที่ดำรงอยู่แล้ว จับเหตุจับผลตามกฏเกณฑ์แห่งหลักธรรมชาติธรรมดาได้ถูกต้อง ก็สามารถที่จะรู้ได้ สามารถที่จะนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ตามที่ต้องการได้ ดังเช่นที่ผู้ค้นพบหลักกฏเกณฑ์ของธรรมชาติธรรมดาต่างๆ ของโลกธาตุ ได้นำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในปัจุบัน เป็นไฟฟ้า เป็นวิทยุ และเป็นสิ่งอื่นๆ ทุกอย่างดังที่ปรากฏ อันกฏเกณฑ์ของธรรมชาติธรรมดาทั้งปวงนี้ไม่ใช่เป็นของใหม่ เป็นของมีอยู่เก่ามีมาแต่ดั้งเดิมทั้งนั้น เป็นอกาลิโกไม่ประกอบด้วยกาลเวลาเช่นเดียวกัน
    <O:p></O:p>
    กฏเกณฑ์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติธรรมดา<O:p></O:p>
    โมกขธรรมที่พระพุทธเจ้าเมื่อเป็นพระโพธิสัตว์ต้องการ พระองค์ทรงค้นหาทางแห่งโมกขธรรม จนทรงพบมัชฌิมาปฏิปทา ทางที่เป็นทางกลาง ก็เป็นทางที่มีอยู่แล้วเช่นเดียวกัน เป็นหลักเป็นกฏเป็นเกณฑ์ตามเหตุและผล แห่งการที่จะได้ปัญญา ได้ญาณ ตรัสรู้อริยสัจจ์ทั้ง ๔ และอริยสัจจ์ทั้ง ๔ ซึ่งประกอบด้วยเหตุด้วยผล ในด้านทุกข์ ในด้านดับทุกข์ ก็เป็นกฏเกณฑ์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติธรรมดา จึงเป็นของเก่าที่มีอยู่แล้วเช่นเดียวกัน
    <O:p></O:p>
    เมื่อยังไม่มีผู้มีปัญญาเกิดขึ้น ก็ไม่พบทาง ไม่พบอริยสัจจ์ทั้ง ๔ ต่อเมื่อมีผู้มีปัญญาเกิดขึ้น คือเมื่อมีพระโพธิสัตว์ซึ่งได้ทรงสั่งสมพระบารมีมา<O:p></O:p>
    เพื่อปัญญาที่จะรู้ทางที่จะพบอริยสัจจ์ เพื่อที่จะพ้นกิเลสและกองทุกข์ทั้งสิ้นบังเกิดขึ้น พระโพธิสัตว์จึงได้ทรงพบทาง ก็เป็นทางเก่านั้นแหละ ทางที่มีอยู่แล้วนั่นแหละ
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ธรรมฐิติ ธรรมนิยาม<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    ทรงเดินทางนี้จึงได้ตรัสรู้อริยสัจจ์ ก็เป็นของเก่านั่นแหละ ที่เรียกว่าของเก่านี้ ก็เพียงแต่ยืมมาเรียก คือยืมคำมาเรียกเท่านั้น อันที่จริงไม่มีเก่า ไม่มีใหม่ เพราะเป็นสิ่งที่ตั้งอยู่ เป็นสิ่งที่ดำรงอยู่ หากว่าจะเรียกเทียบกับชีวิตร่างกาย ก็เรียกได้ว่า ไม่มีแก่ ไม่มีเจ็บ ไม่มีตาย ไม่มีเสื่อม ไม่มีดับ จึงไม่มีเก่าไม่มีใหม่ เมื่อพูดว่าใหม่ก็จะต้องมีเก่า เมื่อพูดว่าเก่าก็จะต้องมีใหม่ เป็นคำคู่กัน เพราะฉะนั้น เมื่อไม่มีใหม่ก็ต้องไม่มีเก่า ไม่มีเก่าก็ไม่มีใหม่ เป็นของที่ตั้งอยู่ดำรงอยู่ ดังที่ตรัสไว้ในธรรมนิยามสูตรว่าธาตุนั้นตั้งอยู่ เป็นธรรมฐิติความตั้งอยู่แห่งธรรม เป็นธรรมนิยามความกำหนดแห่งธรรมดั่งนี้
    <O:p></O:p>
    นี้แหละคืออกาลิโกไม่ประกอบด้วยกาลเวลา และสภาพที่เป็นอกาลิโกนี้ก็มีอยู่ทั้งในส่วนที่เป็นโลกธาตุ ทั้งในส่วนที่เป็นธรรมะ ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ เพื่อความดับกิเลสและกองทุกข์ เพื่อความไม่เกิดอีก อันจะพึงกล่าวได้ว่ากฏเกณฑ์ที่เป็นอกาลิโกทางโลกธาตุนั้นเป็นส่วนโลกธาตุ ส่วนกฏเกณฑ์ทางความสิ้นทุกข์ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงพบได้ทรงตรัสรู้ เป็นกฏเกณฑ์ที่เป็นโลกุตรอยู่เหนือโลก กฏเกณฑ์ทางโลกธาตุนั้นเป็นโลกิยะเกี่ยวกับโลก เป็นไปทางโลก แต่กฏเกณฑ์ของพระพุทธเจ้าที่ได้ตรัสรู้เป็นโลกุตรอยู่เหนือโลกพ้นโลก อันเป็นสภาพที่สูงกว่าที่เหนือกว่า
    <O:p></O:p>
    กฏเกณฑ์ที่เป็นไปทางโลกธาตุทั้งปวงนั้น ก็เป็นกฏเกณฑ์ที่เป็นสัจจะธรรมที่เป็นความจริงซึ่งต้องมีเกิดมีดับ
    <O:p></O:p>
    แต่ว่ากฏเกณฑ์ที่เป็นโลกุตรของพระพุทธเจ้านี้เป็นกฏเกณฑ์ที่อยู่เหนือขึ้นไปอีก จนถึงไม่ต้องเกิดไม่ต้องดับอีกขั้นหนึ่ง นี้เป็นอกาลิโกไม่ประกอบด้วยกาลเวลา เป็นส่วนที่เป็นหลักใหญ่
    <O:p></O:p>
    กาลัญญุตา ความเป็นผู้รู้กาลเวลา<O:p></O:p>
    มาถึงธรรมะที่ทรงสั่งสอน อันเป็นศาสนธรรม ธรรมะคือคำสั่งสอน เมื่อทรงสั่งสอนโลกหรือชาวโลก ก็ต้องทรงสั่งสอนเกี่ยวกับกาลเวลา ดังที่ได้แสดงมาแล้วในเบื้องต้น ( เริ่ม ๑๐๓/๒ )แต่ว่าคำสั่งสอนของพระองค์แม้จะเกี่ยวกับกาลเวลา ก็เป็นสัจจะวาจา คือเป็นวาจาจริงที่ไม่ตาย คือเป็นวาจาที่จริงอยู่ทุกกาลสมัย เป็นอกาลิโกไม่ประกอบด้วยกาลเวลาเช่นเดียวกัน ดังเช่นที่ตรัสสอนไว้ในสัปปุริสธรรม ข้อว่าให้มี กาลัญญู รู้จักกาลเวลาในอันที่จะทำจะพูดจะคิดอะไรต่างๆ ก็เป็นคำสั่งสอนที่ใช้ได้ทุกกาลสมัย
    <O:p></O:p>
    ก่อนแต่พุทธกาล ใครจะทำอะไรก็ต้องให้เหมาะแก่กาลเวลา ในสมัยพุทธกาล ใครจะทำอะไรก็ต้องให้เหมาะแก่กาลเวลา ต่อมาจนถึงปัจจุบัน ใครจะทำอะไรก็ต้องให้เหมาะแก่กาลเวลา ต่อไปก็เหมือนกัน ใครจะทำอะไรก็ต้องให้เหมาะแก่กาลเวลา จึงจะเป็นคนดีคนฉลาด จึงจะสำเร็จประโยชน์ เพราะฉะนั้น
    กาลัญญุตา ความเป็นผู้รู้กาลเวลา จึงเป็นธรรมะหรือเป็นคุณธรรมที่ต้องใช้อยู่ ต้องปฏิบัติอยู่ทุกกาลสมัย ไม่ว่าเมื่อไรก็ต้องปฏิบัติ ต้องมีทั้งนั้น ใช้ได้ทั้งนั้น<O:p></O:p>
    เพราะฉะนั้น แม้คำสั่งสอนของพระองค์ทั้งหมดที่เกี่ยวกับกาลเวลา ก็เป็นอมตาวาจา เป็นวาจาที่ไม่ตาย เพราะเป็นสัจจะคือความจริง ให้สำเร็จประโยชน์จริง เป็นสัปปุริสธรรมคือเป็นธรรมของคนดีมีปัญญาจริง
    <O:p></O:p>
    เพราะฉะนั้น แม้คำสั่งสอนดังที่กล่าวมาข้างต้นอันเกี่ยวกับกาลเวลานั้น ก็เป็นอกาลิโกไม่ประกอบด้วยกาลเวลาโดยปริยายที่กล่าวมานี้เช่นเดียวกัน
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ผลอันบังเกิดขึ้นทันที<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    และนอกจากนี้เมื่อมาปฏิบัติตามที่ทรงสั่งสอน ก็ได้รับผลในขณะที่ปฏิบัติทันที แต่ว่าผลที่ได้รับในขณะที่ปฏิบัตินี้เป็นผลที่ละเอียดก็มี เป็นผลที่หยาบก็มี เพราะฉะนั้น เมื่อบุคคลไม่พิจารณาจึงไม่รู้จักผลที่ตนได้รับจากการปฏิบัติทันที ทั้งที่ผลที่ปฏิบัตินั้นบังเกิดขึ้นทันที เช่นว่า เมื่อทำดีก็ได้ผลดีทันที เมื่อทำชั่วก็ได้ผลชั่วทันที อันผลดีผลชั่วที่ได้ทันทีนี้ ก็คือความเป็นคนดีความเป็นคนชั่ว เมื่อทำดีก็เป็นคนดีขึ้นทันที เมื่อทำชั่วก็เป็นคนชั่วขึ้นทันที ตนเองจะรู้ หรือไม่รู้ ผู้อื่นจะรู้หรือไม่รู้ ก็ไม่เป็นเหตุเปลี่ยนแปลงสัจจะคือความจริงดังกล่าวนี้ได้
    <O:p></O:p>
    ข้อที่ต้องปฏิบัติกระทำให้แจ้ง<O:p></O:p>
    แต่ว่าผลคือความเป็นคนดีความเป็นคนชั่ว ดังกล่าวนี้เป็นของละเอียด ถ้าไม่ใช้ปัญญาพิจารณา แม้ตนเองก็ไม่รู้ เพราะฉะนั้นในส่วนที่เป็นผลนี้พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสสอนไว้ว่า ให้ปฏิบัติกระทำให้แจ้ง อันเป็นกิจของอริยสัจจ์ข้อที่ ๓ ทุกขนิโรธความดับทุกข์ ที่ตรัสสอนไว้ให้กระทำให้แจ้ง ถ้าไม่ปฏิบัติกระทำให้แจ้ง ก็ไม่รู้ เมื่อไม่รู้ก็ทำให้เข้าใจผิด
    <O:p></O:p>
    เพราะฉะนั้น ในข้อนี้จึงต้องศึกษา ด้วยการที่มาปฏิบัติทำจิตให้สงบ จากกิเลสอย่างหยาบด้วยศีลเสียก่อน ถ้าจิตยังหยาบอยู่ ยังต้องการที่จะไปฆ่าเขาบ้าง จะไปลักของเขาบ้าง ประพฤติผิดในกามบ้าง พูดเท็จหลอกลวงเขาบ้าง ดื่มสุราเมรัยอันเป็นทางของความประมาทบ้าง ก็ยากที่จะมีปัญญารู้จักได้
    <O:p></O:p>
    เพราะฉะนั้น ต้องปฏิบัติในศีลให้จิตสงบเสียก่อน จิตเป็นปรกติเสียก่อนจากกิเลสอย่างหยาบ และปฏิบัติในสมาธิกับทางปัญญาต่อไป โดยนำจิตเข้ามากำหนดในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรม ให้รู้จักกาย รู้จักเวทนา รู้จักจิต รู้จักธรรม ที่ตนเอง และเมื่อรู้จักทั้ง ๔ ก็มาหัดกำหนดให้เป็นสมาธิ คือให้จิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว เพื่อให้จิตมีสมาธิดียิ่งขึ้น เช่นกำหนดที่ข้อกายอันเป็นข้อหยาบกำหนดได้ง่าย กำหนดลมหายใจเข้าลมหายในออก ตามที่พระพุทธเจ้าได้ทรงสั่งสอน มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก หายใจเข้าหายใจออกยาวก็ให้รู้ หายใจเข้าหายใจออกสั้นก็ให้รู้ ศึกษาสำเหนียกกำหนดว่าเราจักรู้กายทั้งหมดหายใจเข้า หายใจออก เราจักรู้จักระงับกายสังขารเครื่องปรุงกายหายใจเข้าหายใจออก ดั่งนี้ อันเป็นหลักที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนไว้เอง ให้จิตรวมเข้ามา มีอารมณ์เป็นอันเดียวอยู่ที่ลมหายใจ
    <O:p></O:p>
    ต่อไปนี้ก็ขอให้ตั้งใจฟังสวด ตั้งใจทำความสงบสืบต่อไป<O:p></O:p>

    <O:p></O:p>​


     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    [​IMG]

    พระธรรมคุณ ๔ อกาลิโก<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>​


    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก<O:p></O:p>​


    วัดบวรนิเวศวิหาร<O:p></O:p>​


    คัดจากเทปธรรมอบรมจิต ข้อความสมบูรณ์ อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ<O:p></O:p>

    บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม<O:p></O:p>
    ธรรมะอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว เป็นธรรมอันผู้ปฏิบัติผู้ได้บรรลุพึงเห็นเอง เป็นธรรมไม่ประกอบด้วยกาลเวลา เพราะเป็นสัจจะคือความจริงที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ อันเป็นความจริงที่ทรงอยู่ดำรงอยู่ตลอดไปไม่มีกาลเวลา ว่าเกิดขึ้นเมื่อใดและจะดับไปเมื่อใด ธรรมะที่พระองค์ทรงสั่งสอนจากธรรมะที่พระองค์ได้ตรัสรู้ ก็เป็นสัจจะวาจา วาจาที่เป็นของจริงของแท้ อันเป็นอมตะวาจา วาจาที่ไม่ตาย ดังได้มีพระพุทธภาษิตตรัสไว้อีกว่า สตญฺจ ธมฺโม น ชรํ อุเปติธรรมะของสัตบุรุษทั้งหลายไม่เข้าถึงชรา คือเก่าแก่พ้นสมัย แต่เป็นของที่ไม่ชราไม่เก่าแก่ไม่พ้นสมัยก็คือไม่ตายนั้นเอง เป็นสัจจะวาจาที่ดำรงอยู่ ดังที่ได้แสดงแล้วในครั้งก่อน และยังได้แสดงต่อไปอีกว่า
    <O:p></O:p>
    การปฏิบัติธรรมก็ไม่ประกอบด้วยกาลเวลา การให้ผลของธรรมที่ปฏิบัติก็ไม่ประกอบด้วยกาลเวลา
    <O:p></O:p>
    และแม้ว่าจะอธิบายคำว่าธรรมเป็น กุศลธรรม ธรรมที่เป็นกุศลคือส่วนดีเป็นกิจของคนฉลาด อกุศลธรรม ธรรมที่เป็นอกุศลคือส่วนชั่วเป็นกิจของคนไม่ฉลาด เป็น อัพยากตธรรม ธรรมะที่ไม่พยากรณ์ว่ากุศลหรืออกุศล คือเป็นกลางๆ ไม่ดีไม่ชั่ว ก็คงเป็นสัจจะธรรม ธรรมะที่เป็นความจริง เมื่อเป็นอกุศลธรรมก็เป็นอกุศลธรรม เมื่อเป็นกุศลธรรมก็เป็นกุศลธรรม เมื่อเป็นอัพยากตธรรมก็เป็นอัพยากตธรรม อยู่ทุกกาลสมัย ซึ่งยังได้มีพระพุทธภาษิตตรัสเอาไว้ถึงความเป็นใหญ่ตามที่ถือกันอยู่ แสดงกันอยู่ เป็นไปอยู่ คือโลกาธิปไตยโลกเป็นใหญ่ อัตตาธิปไตยตนเป็นใหญ่ ธรรมาธิปไตยธรรมะเป็นใหญ่
    <O:p></O:p>
    ธิปไตย ๓<O:p></O:p>
    สำหรับที่เป็นโลกาธิไตย โลกเป็นใหญ่นั้นไม่แน่นอน โลกคือหมู่ชน บางคราวก็ว่าอย่างนั้นดี อย่างนี้ไม่ดี แต่บางคราวก็ว่ากลับกัน ว่าอย่างนี้ดี อย่างนั้นไม่ดี สุดแต่นิยมของหมู่ชน ส่วนข้อที่ว่าตนเป็นใหญ่นั้นก็ไม่แน่นอนเช่นเดียวกัน บางคราวตนเองก็ว่าอย่างนั้นดีอย่างนี้ไม่ดี แต่บางคราวก็ว่ากลับกัน ว่าอย่างนี้ดีอย่างนั้นไม่ดี ตามความคิดเห็นของตนที่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา เช่นเดียวนิยมของโลกที่เปลี่ยนไปมา
    <O:p></O:p>
    แต่ว่าธรรมาธิปไตยธรรมะเป็นใหญ่นั้นเป็นสิ่งที่แน่นอน คือมุ่งเอาธรรมะที่เป็นสัจจะ คือความจริงเป็นใหญ่ เมื่อเป็นกุศลธรรมจริงก็ต้องเป็นกุศลอยู่ตลอดไป เมื่อเป็นอกุศลธรรมจริงก็เป็นอกุศลอยู่ตลอดไป เมื่อเป็นอัพยากตธรรม ธรรมะที่เป็นกลางๆ จริง ก็เป็นอัพยากตธรรมอยู่ตลอดไป ไม่มีเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น
    <O:p></O:p>
    ตัณหาธิปไตย<O:p></O:p>
    เพราะฉะนั้นจึงได้ตรัสแสดงถึงอธิปไตยไว้ในพระสูตรอื่นอีกว่า<O:p></O:p>
    ตัณหาธิปไตยตัณหาเป็นใหญ่ ธรรมาธิปไตยธรรมะเป็นใหญ่ สำหรับโลกาธิปไตยอัตตาธิปไตยนั้น ในเมื่อโลกคือหมู่ชนและอัตตา คือตัวเองยังมีตัณหาอยู่ ก็ย่อมจะต้องมีตัณหาธิไตยตัณหาเป็นใหญ่ แต่ถ้าโลกก็ดีตนเองก็ดีมีธรรมะเป็นใหญ่ ไม่ลุอำนาจแห่งตัณหา ก็เป็นธรรมาธิปไตย
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    สตาธิปไตย สติเป็นใหญ่<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    และในการที่จะไม่ลุอำนาจแห่งตัณหานั้น ก็จะต้องมีสติต้องมีปัญญา เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสแสดงสติว่าเป็นสตาธิปไตย สติเป็นใหญ่ ซึ่งเป็นข้อสอนให้ทุกๆ คนได้พากันทำสติความระลึกได้ ระลึกรู้ พร้อมกับปัญญาคือความรู้ทั่วถึง ให้เป็นสตาธิปไตย สติเป็นใหญ่ อันนำให้ได้ปัญญาเป็นใหญ่ จึงจะพบธรรมาธิปไตย ธรรมะที่เป็นใหญ่ได้ ถ้าไม่เช่นนั้นก็จะต้องมีตัณหาธิปไตยตัณหาเป็นใหญ่กันอยู่นั่นแหละ จะอ้างว่าอะไรเป็นใหญ่กันก็ตาม แต่เมื่อลุอำนาจของตัณหากันอยู่ ก็ยังคงเป็นตัณหาธิปไตย ไม่อาจจะเข้าถึงธรรมาธิปไตยได้ เมื่อเข้าถึงธรรมาธิปไตยไม่ได้ ก็ทำให้เกิดความสุขความเจริญโดยส่วนเดียวไม่ได้ ต้องเป็นเหตุให้เกิดความทุกข์เดือดร้อนกันอยู่ร่ำไป ตั้งแต่ส่วนน้อยจนถึงส่วนใหญ่ เพราะตัณหานั้นเป็นตัวทุกขสมุทัยเหตุให้เกิดทุกข์ ดั่งที่ตรัสแสดงไว้ในอริยสัจจ์ทั้ง ๔ เหล่านี้ก็เป็นสัจจะธรรม ธรรมะที่เป็นตัวความจริง ที่เป็นอกาลิโกไม่ประกอบด้วยกาลเวลา ในครั้งไหนๆ ยุคไหนๆ ในอดีต ในปัจจุบัน ตลอดไปถึงภายหน้า ก็เป็นสัจจะธรรม ธรรมะที่เป็นตัวความจริงอยู่นั่นเอง

    <O:p></O:p>
    การปฏิบัติที่เป็นอกาลิโก<O:p></O:p>
    ในการปฏิบัติธรรมที่เป็นอกาลิโกไม่ประกอบด้วยกาลเวลานั้น ก็คือการละอกุศลธรรม การทำกุศลธรรมให้ถึงพร้อม การชำระจิตของตนให้ผ่องใส<O:p></O:p>
    เป็นข้อที่พึงปฏิบัติอยู่ทุกกาลสมัย ในวันหนึ่งๆ ก็ไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นเวลาเช้า เวลากลางวัน เวลาบ่าย เวลาเย็น เวลากลางคืน คือเป็นข้อที่พึงปฏิบัติอยู่ทุกเวลา

    <O:p></O:p>
    ฤกษ์งามยามดีขึ้นอยู่กับการกระทำ<O:p></O:p>
    ดั่งได้มีพระพุทธภาษิตที่ตรัสไว้อีกว่า ทำดีเช้าก็เป็นฤกษ์ดีเวลาเช้า ทำดีกลางวันก็เป็นฤกษ์ดีเวลากลางวัน ทำดีเวลาเย็นก็เป็นฤกษ์ดีเวลาเย็น เพราะฉะนั้นฤกษ์ดียามดีนั้นจึงขึ้นอยู่แก่การทำดี ทำดีเมื่อใดก็ฤกษ์ดียามดีเมื่อนั้น แม้ในทางพระวินัยพระพุทธเจ้าก็ตรัสแสดงถึงเวลาที่พึงประกอบกระทำ สังฆกรรมทั้งหลาย ว่าเป็นเวลาที่ความพรั่งพร้อมของสงฆ์ถึงที่แล้ว ดังที่แสดงไว้ในคำสวดสังฆกรรมว่า ยทิ สงฺฆสฺส ปตฺตกลฺลํ ผิว่าความพรั่งพร้อมของสงฆ์ถึงที่แล้ว ก็พึงประกอบสังฆกรรมนั้นๆ ดั่งนี้ เพราะฉะนั้น ความพรั่งพร้อมของสงฆ์นี่แหละเป็นเวลาที่เรียกว่าฤกษ์ดียามดี ในการประกอบสังฆกรรมของสงฆ์ ( เริ่ม ๑๐๔/๑ )และเมื่อพิจารณาดูโดยสัจจะคือความจริงแล้วก็ย่อมจะเห็นว่า แม้ในการประกอบกิจกรรมทั้งหลายก็เช่นเดียวกัน เมื่อมีความพรั่งพร้อมถึงที่ ก็ประกอบกิจกรรมนั้นๆ ได้ เป็นสัจจะคือความจริงที่ใช้ได้อยู่ทุกกาลสมัย เพราะฉะนั้น การปฏิบัติธรรมจึงไม่ประกอบด้วยกาลเวลา ดั่งที่กล่าว
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ข้อพึงปฏิบัติเกี่ยวกับกาลเวลา<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    แต่ในข้อปฏิบัติอันเกี่ยวแก่บุคคลกาละเทศะต่างๆ ดังที่ได้เคยแสดงแล้วว่า ให้แสดงธรรมะโดยกาล ให้สนทนาธรรมโดยกาล ให้มี กาลัญญู รู้กาลเวลา เหล่านี้ ก็เป็นข้อที่พึงปฏิบัติจำเพาะกิจจำเพาะอย่างที่เกี่ยวกับกาลเวลา อันเกี่ยวแก่บุคคลหรือหมู่ชนเป็นต้น ซึ่งคำสั่งสอนนี้ก็เป็นคำสั่งสอนที่ใช้ได้อยู่ทุกกาลสมัย แต่ที่กล่าวว่าการทำความดีทำได้ทุกกาลเวลานั้น ก็เป็นคำกล่าวรวมๆ
    <O:p></O:p>
    เพราะความดีนั้นเมื่อจำแนกรายละเอียดไปก็มีมาก ความดีอะไรที่ควรทำก่อนทำหลัง ทำเวลาไหนที่ไหน ก็ต้องทำให้พอเหมาะพอควร แต่ทั้งหมดนี้ก็รวมอยู่ในคำว่าความดี เมื่อทำถูกทำเหมาะดังกล่าวนั้นจึงเป็นความดี ซึ่งเป็นข้อปลีกย่อยออกไป แต่เมื่อประมวลเข้ามาแล้วในคำเดียวว่าความดี ก็พึงทำให้เป็นความดีอยู่ทุกกาลสมัย ไม่เลือกว่าเวลาไหน แต่ว่าเวลาไหนจะทำความดีอย่างไหนนั้น ก็สุดแต่ความเหมาะสมดังที่กล่าว
    <O:p></O:p>
    เพราะฉะนั้นจึงต้องเข้าใจในธรรมะที่สั่งสอน รู้จักจำแนกแจกแจงให้ถูกต้อง เหมือนอย่างว่าการใช้ยาแก้โรค เมื่อป่วยก็ต้องใช้ยาแก้โรค แต่ว่าจะใช้ยาอย่างไหน แก้โรคอย่างไหน ใช้ในเวลาไหน ก็เป็นรายละเอียดของแต่ละราย ซึ่งต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง แต่รวมความเข้าแล้วก็คือว่า ใช้ยาแก้โรค ซึ่งก็จะต้องใช้กันอยู่ หรือเวลาเมื่อเกิดโรคภัยไข้เจ็บเช่นเดียวกัน

    <O:p></O:p>
    ข้อปฏิบัติที่ไม่จำกัดด้วยกาลเวลา<O:p></O:p>
    และความดีที่ควรทำอยู่เสมอ เช่นเดียวกับที่ควรละความชั่วอยู่เสมอ และควรชำระจิตใจของตนให้ผ่องใสอยู่เสมอนั้น จึงเป็นข้อที่ปฏิบัติไม่จำกัดด้วยกาลเวลาดังที่กล่าวมาแล้ว โดยส่วนรวม คือว่าจะทำอะไรเวลาไหน ก็ให้ดีก็แล้วกัน อย่าให้ชั่ว ให้ดีก็แล้วกัน แต่ว่าจะดีอย่างไรนั้นก็จะต้องศึกษาให้รู้จัก และปฏิบัติให้ถูกต้อง และเมื่อเป็นดั่งนี้แล้วก็จะได้รับผลของการปฏิบัติทันทีที่ปฏิบัติ อันไม่ประกอบด้วยกาลเวลาเช่นเดียวกัน
    <O:p></O:p>
    ในเรื่องการทำดีที่ควรทำไม่จำกัดด้วยกาลเวลาดังกล่าวมานั้น ก็ยังมีผู้ที่ไม่เข้าใจกันอยู่เป็นอันมาก เช่นบางคน เมื่อตั้งใจทำความดีที่เข้าใจว่าเป็นความดี<O:p></O:p>
    เช่น ตั้งใจทำทาน ตั้งใจรักษาศีล ตั้งใจเจริญภาวนา แต่ว่าก็มาบ่นว่าไม่เห็นจะได้ดีสักทีหนึ่ง คือหมายความว่าไม่เห็นจะบรรลุผลที่ต้องการ เช่นว่าต้องการได้ทรัพย์ก็ไม่ได้ทรัพย์ ต้องการได้ยศได้ตำแหน่ง ก็ไม่ได้ยศได้ตำแหน่ง ที่นึกว่าตนควรจะได้ ก็ทำให้ท้อใจในการที่จะทำความดี มีเข้าใจกันอยู่ดั่งนี้เป็นอันมาก ซึ่งทำให้รู้สึกว่าการประพฤติธรรมนั้นไม่ให้ผลเป็นอกาลิโกไม่ประกอบด้วยกาลเวลา ไม่ให้ผลเห็นทันตา หรืออาจจะไม่ให้ผลเลย ก็ทำให้เลิกประพฤติ
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    พุทธานุภาพ<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    และที่มีความเข้าใจในพุทธานุภาพ พร้อมทั้งธรรมานุภาพ สังฆานุภาพ ไปในทางผิดก็มีอีกเป็นอันมาก เช่น เข้าใจว่าอาศัยพุทธานุภาพ ด้วยการที่อธิษฐานขอพรจากพระพุทธรูปที่เข้าใจว่าศักดิ์สิทธิ์ ขอให้เป็นผู้ชนะ ตั้งแต่ชนะในการที่ประชันแข่งขันจำเพาะตัวๆ ตลอดจนถึงชนะที่เป็นส่วนรวม เช่นว่าชนะสงคราม ครั้นไม่ชนะกลับแพ้ก็ทำให้เห็นว่าพระพุทธเจ้าไม่มีประโยชน์ พระธรรมไม่มีประโยชน์ พระสงฆ์ไม่มีประโยชน์ ช่วยให้ชนะไม่ได้ จนถึงเสื่อมศรัทธาในพุทธศาสนา หรือว่าเลิกนับถือพุทธศาสนาไปก็มี ด้วยความเข้าใจผิด
    <O:p></O:p>
    เพราะฉะนั้น จึงต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้อง พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงสอนว่าทรงมีพุทธานุภาพ ให้ผู้นับถือไปรบใครแล้วก็ชนะ หรือว่าไปแข่งขันอะไรกับใครแล้วก็ชนะ มีพุทธานุภาพที่จะทำให้ไม่ต้องแก่ ไม่ต้องเจ็บ ไม่ต้องตาย มีพุทธานุภาพที่จะทำให้พ้นจากผลของกรรมของตนที่จะพึงได้รับได้ ปัดเป่าให้พ้นจากผลร้ายอันจะเกิดจากกรรมที่ตนเองทำไว้ได้
    <O:p></O:p>
    พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนไว้เองว่า
    <O:p></O:p>
    ทุกคนมีกรรมเป็นของของตน ทำกรรมดีจักได้ดี ทำกรรมชั่วจักได้ชั่ว เพราะฉะนั้น ถ้าพระองค์ไปทรงช่วยได้ ว่าทำกรรมชั่วแล้วไม่ต้องได้ชั่ว คำที่พระองค์สอนไว้ก็กลายเป็นไม่จริง ไม่ใช่เป็นสัจจะธรรม ธรรมะที่เป็นตัวความจริง ไม่ใช่เป็นอมตะวาจา วาจาที่ไม่ตาย กฏของกรรมก็ต้องเป็นกฏของกรรม ต้องเป็นไปตามที่ทรงสอนเอาไว้
    <O:p></O:p>
    แต่ว่าพระพุทธเจ้านั้นได้ทรงช่วยทางจิตใจ เพื่อให้จิตใจได้ที่พึ่ง จิตใจบริสุทธิ์ ให้ประกอบคุณ<?:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:smarttags" /><?XML:NAMESPACE PREFIX = ST1 /><ST1:pERSoNNAME w:st="on" ProductID="งามความดี ตั้งอยู่ในทาน">งามความดี ตั้งอยู่ในทาน</ST1:pERSoNNAME> ในศีล ในภาวนา เป็นต้น อันเป็นบุญ ซึ่งเป็นที่พึ่งของตน เพราะฉะนั้นแม้ผู้ที่กรรมมาถึง อันจะทำให้ต้องถึงแก่ความตาย เมื่อได้พบพระพุทธเจ้า ได้ถึงที่พึ่งทางใจจากพระพุทธเจ้า ได้ศรัทธาปสาทะในพระพุทธเจ้า ได้ดวงตาเห็นธรรมจากธรรมะที่ทรงสั่งสอน ก็แปลว่าได้ประสบบุญได้ที่พึ่งของจิตใจแล้ว เมื่อต้องตายไปก็มีคติดีเป็นที่ไป อันเป็นสุคติ พระองค์ได้โปรดดั่งนี้ ไม่ใช่ว่าจะไปโปรดให้เขาพ้นจากผลของกรรมที่เขาจะต้องได้รับ
    <O:p></O:p>
    ดังที่ได้ทรงโปรดธิดาของช่างทอหูก ซึ่งนางจะต้องถึงแก่ความตายในวันนั้น ตามกรรมที่นางได้กระทำเอาไว้ พระองค์ได้เสด็จไปดักพบนาง เมื่อนางธิดาของช่างทอหูกนั้นกำลังจะไปสู่โรงหูกของบิดา นางได้พบได้เฝ้าพระพุทธเจ้า ได้สนทนาตอบปุจฉาของพระพุทธเจ้า ได้ฟังธรรมะจากพระองค์ ได้ดวงตาเห็นธรรม ได้ศรัทธาได้ปสาทะ ได้ที่พึ่งทางใจเป็นอย่างดี ก็ไปสู่โรงทอหูก บิดากำลังนั่งหลับอยู่กับหูก เมื่อธิดาของตัวไปถึงก็ตกใจด้วยเสียงที่ธิดาเดินเข้าไป ก็เหวี่ยงกระสวยหูกออกไปกระทบธิดาของตนโดยแรง จนถึงแก่ความตายทันที ก็เป็นไปตามผลของกรรมที่นางได้กระทำเอาไว้
    <O:p></O:p>
    ถ้าหากว่าผู้ที่มีความเชื่อถือศักดิ์สิทธิ์ในพุทธศาสนาดังที่กล่าวมาข้างต้น ก็จะต้องกล่าวว่าพระพุทธเจ้าช่วยไม่ได้ ไปพบพระพุทธเจ้าแล้วน่าจะไม่ตาย<O:p></O:p>
    อาจจะเข้าใจผิดอย่างนั้นได้ แต่ผู้ที่เข้าใจพุทธศาสนาแล้วก็จะไม่เข้าใจอย่างนั้น จะต้องเห็นว่ากรรมที่ใครทำไว้ก็ต้องได้รับผลของตัวเอง ตามที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้ เรียกว่าเป็นคำปกาสิต ทำกรรมดีได้รับผลดี ทำกรรมชั่วได้รับผลชั่ว เป็นสัจจะวาจา เป็นอมตาวาจา เป็นคำปกาสิตที่ไม่มีเปลี่ยนแปลง เพราะฉะนั้น พระองค์ก็โปรดได้ในทางที่จะพึงโปรดได้ ด้วยการที่ให้ผู้ที่จะต้องประสบเคราะห์กรรมอย่างแรงนั้นได้พบพระองค์ และได้ที่พึ่งทางใจจากพระองค์ไปดั่งที่กล่าว ก็เป็นอันว่าเป็นผู้ที่ไปดีแน่นอน ไม่ไปสู่ทุคติคือคติที่ชั่ว พระองค์ทรงช่วยดั่งนี้<O:p></O:p>
    เพราะฉะนั้น เมื่อเข้าใจพระพุทธให้ถูกต้องดั่งนี้แล้ว ก็จะเข้าใจถูกต้อง เช่นว่า ในการที่จะได้ผลอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นลาภก็ดีเป็นยศก็ดีเป็นต้นนั้น ต้องอาศัยประกอบเหตุที่เป็นปัจจุบัน แล้วก็ต้องประกอบกับเหตุแวดล้อม บุคคลที่แวดล้อมอีกเป็นอันมาก เป็นไปตามทางโลก ตามกระบวนการของโลก ที่มีผิดบ้างมีถูกบ้าง ดีบ้างชั่วบ้าง เพราะว่าโลกนั้นเป็นตัณหาธิปไตยกันอยู่ดังที่กล่าวมาแล้ว แม้ตัวเองก็เป็นตัณหาธิปไตยกันอยู่ตามที่กล่าวมาแล้ว เพราะฉะนั้น เมื่อต้องการลาภอันใด เช่นว่าต้องการที่จะได้ข้าว ทำนาจะได้ข้าว จะไปทำทาน ทำศีล ทำภาวนา แล้วให้ข้าวงอกขึ้นในนานั้นเป็นไปไม่ได้ จะต้องทำนา จึงจะได้ข้าวขึ้นมา ดั่งนี้เป็นต้น
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ทิฏฐธรรมิกัตถะ ประโยชน์ปัจจุบัน<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    และธรรมะของพระพุทธเจ้าที่จะใช้ในเรื่องเหล่านี้ ก็ทรงสอนเอาไว้แล้ว ว่าต้องการประโยชน์ปัจจุบันเหล่านี้ก็จะต้องมีอะไรบ้าง ในหมวดทิฏฐธรรมิกัตถะประโยชน์ปัจจุบัน มี อุฏฐานสัมปทา ถึงพร้อมด้วยความหมั่นเพียร อารักขสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการรักษา กัลยาณมิตตตา คบเพื่อนมิตรที่ดีงาม สมชีวิตา เลี้ยงชีวิตตามสมควรแก่กำลังทรัพย์ที่หามาได้ เหล่านี้เป็นต้น
    <O:p></O:p>
    ต้องปฏิบัติเหตุให้ถูกแก่ผลในทางโลก ก็ย่อมจะได้ผล จะไปทำทานรักษาศีลเจริญภาวนา เพ่งดูนาให้ข้าวงอกขึ้นมานั้น ไม่ได้ เป็นการปฏิบัติผิดทาง แล้วจะหาว่าทำดีไม่ได้ดี ทำดีไม่ได้ข้าว ไม่ได้ลาภ ทำดีไม่ได้ยศ ดั่งนี้ก็ไม่ได้

    <O:p></O:p>
    การปฏิบัติตรงในพุทธศาสนา<O:p></O:p>
    พระพุทธศาสนานั้นตรัสสอนให้ละกิเลสละตัณหา ละโลภละโกรธละหลง เพราะฉะนั้นในการปฏิบัติเพื่อที่จะละกิเลสตามที่ตรัสสั่งสอนไว้นั้น ซึ่งมีเป้าหมายคือนิพพานในที่สุด อันเป็นธรรมะที่สิ้นกิเลสและกองทุกข์ ที่เป็นการปฏิบัติตรงในพุทธศาสนา ปฏิบัติเมื่อใดก็ได้รับผลเมื่อนั้น ปฏิบัติในศีลในสมาธิในปัญญาเมื่อใดก็ได้รับผลเมื่อนั้น ทำทานเมื่อใดก็ได้รับผลเมื่อนั้น เพราะเป็นเครื่องขัดเกลา ชำระจิตใจ จากตัณหา จากโลภ จากโกรธ จากหลง หรือว่าจากราคะโทสะโมหะเป็นต้น ทำเมื่อใดก็เป็นการชำระเมื่อนั้น เป็นผลเมื่อนั้น รวมความก็คือว่าทำดีเมื่อใดก็ได้เป็นผู้ดีเมื่อนั้น มีภาวะเป็นคนดีเมื่อนั้น ทำชั่วเมื่อใดก็มีภาวะเป็นคนชั่วเมื่อนั้น เป็นภาวะที่ปรากฏอยู่ที่จิตใจ ที่ตัวเองในภายใน ขึ้นทันทีที่กระทำดีหรือกระทำชั่ว
    <O:p></O:p>
    ต้องหมั่นพิจารณาดูตัวเองให้เห็นสัจจะคือความจริงอันนี้ ให้รู้จักดีจักชั่วที่เป็นส่วนเหตุ ให้รู้จักดีจักชั่วที่เป็นส่วนผล อันมีขึ้นทันทีตามลำดับของการกระทำ ดั่งนี้ ตั้งแต่เบื้องต้นเรื่อยขึ้นไป จนถึงขั้นมรรคผลนิพพานก็เช่นเดียวกัน ย่อมให้บังเกิดเป็นมรรคผล เป็นนิพานไปตามลำดับที่ปฏิบัติถึงขั้นถึงวาระ ทุกกาลทุกสมัย ไม่กำหนดด้วยกาลเวลา เมื่อครั้งพุทธกาลเป็นอย่างใด เดี๋ยวนี้ก็เป็นอย่างนั้น ไม่เปลี่ยนแปลกแตกต่างกัน เพราะฉะนั้น ธรรมะจึงเป็นอกาลิโกไม่ประกอบด้วยกาลเวลา
    <O:p></O:p>
    ต่อไปนี้ก็ขอให้ตั้งใจฟังสวดและตั้งใจทำความสงบสืบต่อไป<O:p></O:p>

    <O:p></O:p>​


     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    [​IMG]


    พระธรรมคุณ ๕ อกาลิโก<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>​


    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก<O:p></O:p>​


    วัดบวรนิเวศวิหาร<O:p></O:p>​


    คัดจากเทปธรรมอบรมจิต อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ<O:p></O:p>

    บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม<O:p></O:p>
    ธรรมะนั้นเป็นสวากขาตธรรม ธรรมะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว เป็นสันทิฏฐิโกอันผู้ปฏิบัติผู้ได้บรรลุพึงเห็นเอง อกาลิโกไม่ประกอบด้วยกาลเวลา ซึ่งได้แสดงมาแล้วโดยความว่า ธรรมะที่กล่าวโดยปริยายหนึ่ง ก็ได้แก่สัจจะธรรม ธรรมะที่เป็นตัวความจริง หรือของจริงของแท้ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ ศาสนธรรม ธรรมะคือคำสั่งสอนของพระองค์ ซึ่งสั่งสอนตามสัจจะธรรมที่ได้ตรัสรู้นั้น และศาสนธรรมนั้นก็เรียกอีกว่าปริยัติธรรมคือเป็นธรรมที่พึงเล่าเรียน อันได้แก่ตั้งใจสดับตรับฟัง ตั้งใจอ่าน ตั้งใจท่องบ่นจำทรง ตั้งใจเพ่งพินิจขบเจาะด้วยทิฏฐิลงความเห็น คือทำความเข้าใจให้ถูกต้อง จึงนำมาประพฤติปฏิบัติทางกาย ทางวาจา ทางใจ ก็เรียกว่าปฏิบัติธรรม และเมื่อปฏิบัติก็ย่อมจะได้รับผลของการปฏิบัติ ตั้งแต่เบื้องต้น จนถึงมรรคผลนิพพาน คือตัดกิเลสกองทุกข์และในสันดานให้สิ้นไป
    <O:p></O:p>
    จึงเรียกรวบยอดว่าปฏิเวธธรรม ธรรมะคือความรู้แจ้งแทงตลอด และก็มีแสดงว่ามรรค ๔ ผล ๔ นิพาน ๑ กับปริยัติธรรมรวมเป็น ๑๐ นับถือว่าเป็นธรรมะ ซึ่งเป็นสรณะที่ ๒ หรือเป็นรัตนะที่ ๒ รวมอยู่ในคำว่าพระพุทธะ พระธรรมะ พระสังฆะ

    <O:p></O:p>
    สัจจะธรรมเป็นอกาลิโก<O:p></O:p>
    อันสัจจะธรรมนั้นก็เป็นสิ่งที่เป็นอกาลิโกไม่ประกอบด้วยกาลเวลา ดำรงอยู่ไม่มีเบื้องต้น ไม่มีที่สุด เพราะไม่มีกาลเวลา เป็นสัจจะธรรมที่ตั้งอยู่ที่ทรงอยู่ที่ดำรงอยู่ และศาสนธรรม ธรรมะคือคำสั่งสอนก็เป็นอมตาวาจา เป็นวาจาที่ไม่ตาย เป็นสัจจะวาจา เพราะฉะนั้นจึงไม่ประกอบด้วยกาลเวลาเช่นเดียวกัน ดำรงอยู่ทุกกาลสมัย ( เริ่ม ๑๐๔/๒ ) ธรรมะของสัตบุรุษทั้งหลายไม่เข้าถึงความชรา คือความแก่ความชำรุดทรุดโทรม ดำรงอยู่ทุกกาลสมัย
    <O:p></O:p>
    เพราะฉะนั้น ศาสนธรรมคือพุทธศาสนาจึงได้ดำรงอยู่ ปฏิบัติได้อยู่ ตั้งแต่ครั้งพุทธกาลมาจนถึงบัดนี้โดยที่ไม่มีข้อบกพร่องที่จะต้องเพิ่มเติม ไม่มีข้อผิดพลาดที่จะต้องแก้ไข เพราะเป็นสัจจะวาจา เป็นอมตะวาจา วาจาที่เป็นสัจจะเป็นจริง จึงเป็นวาจาที่ไม่ตาย หรือไม่แก่ ไม่ตาย ดำรงอยู่ดังกล่าว
    <O:p></O:p>
    ในการปฏิบัตินั้นเล่า ซึ่งเป็นปฏิบัติธรรม ก็ปฏิบัติได้ทุกกาลสมัย ปฏิบัติได้ตั้งแต่ครั้งพุทธกาลมาจนถึงบัดนี้ และต่อไปก็ปฏิบัติได้ ผู้ปฏิบัติเองเท่านั้นประกอบด้วยกาลเวลา คือปฏิบัติเมื่อนั่นเมื่อนี่ ปฏิบัติบ้างไม่ปฏิบัติบ้าง เพราะฉะนั้นผู้ปฏิบัติเองจึงประกอบด้วยกาลเวลา
    <O:p></O:p>
    แต่ธรรมะที่ปฏิบัตินั้น ไม่ประกอบด้วยกาลเวลา
    <O:p></O:p>
    อันหมายความว่าปฏิบัติได้ทุกกาลสมัย ใช้ได้ทุกกาลสมัย และผลของการปฏิบัตินั้น อย่างหนึ่งประกอบด้วยกาลเวลา เพราะเกี่ยวแก่ผลที่เป็นสิ่งเนื่องมาจากเหตุปัจจัยภายนอก เนื่องมาจากสิ่งที่เป็นส่วนสังขารคือสิ่งประสมปรุงแต่ง เช่นเป็นสุข เป็นทุกข์ เป็นอุปกรณ์ต่างที่ให้เกิดสุขให้เกิดทุกข์ อันเกี่ยวแก่โลก เกี่ยวแก่สังขาร เกี่ยวแก่เหตุปัจจัยที่เป็นบุคคลบ้าง เป็นวัตถุบ้าง ในภายนอก กล่าวรวมเข้ามาคือเกี่ยวแก่ส่วนที่เป็นร่างกาย หรือเกี่ยวแก่ขันธ์ ๕ ซึ่งรวมเรียกว่าเป็นสังขารคือสิ่งผสมปรุงแต่ง ก็ย่อมเนื่องในกาลเวลา แต่ที่ส่วนด้วยผลทางจิตใจแล้ว ไม่เกี่ยวด้วยกาลเวลา ปฏิบัติทางจิตใจตามหลักอริยสัจจ์ อันเป็นหลักคำสั่งสอนหลักของพุทธศาสนา ย่อมให้บังเกิดผลได้ทันที
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ธรรมสมาทาน การประกอบกระทำกรรม ๔ ข้อ<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    ว่าถึงในส่วนที่เกี่ยวแก่สังขารคือสิ่งผสมปรุงแต่ง สังขารภายในเกี่ยวแก่เบ็ญจขันธ์ กายใจอันนี้ หรือนามรูปอันนี้เกี่ยวแก่โลกธาตุ เกี่ยวแก่เหตุปัจจัยที่เป็นบุคคลบ้าง เป็นวัตถุบ้างดังกล่าว ย่อมประกอบด้วยกาลเวลา เพราะฉะนั้น จึงได้ตรัสแสดงถึงเรื่องกรรม คือการที่บุคคลกระทำ ทางกายทางวาจาทางใจ เป็นกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม เป็นฝ่ายชั่วอันเรียกว่าอกุศลกรรมบ้าง เป็นฝ่ายดีอันเรียกว่ากุศลกรรมหรือบุญกรรมบ้าง บางอย่างก็ให้เสวยผลในปัจจุบัน บางอย่างก็ให้เสวยผลในภายหน้า บางอย่างก็ให้เสวยผลในเวลาที่ถัดจากภายหน้าไป
    <O:p></O:p>
    และความประกอบกระทำกรรมนี้ ท่านเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ธรรมสมาทาน แปลว่าสมาทานธรรมะ คือถือปฏิบัติธรรมะ ธรรมสมาทานบางอย่างให้ผลเป็นทุกข์ในปัจจุบันด้วย ให้ผลเป็นทุกข์ในภายหน้าด้วย
    <O:p></O:p>
    ธรรมสมาทานบางอย่างให้ผลเป็นสุขในปัจจุบัน ให้ผลเป็นทุกข์ต่อไปภายหน้า ธรรมสมาทานบางอย่างให้ผลเป็นทุกข์ในปัจจุบัน แต่ให้ผลเป็นสุขต่อไปภายหน้า ธรรมสมาทานบางอย่างให้ผลเป็นสุขในปัจจุบันด้วย ให้ผลเป็นสุขต่อไปภายหน้าด้วย

    <O:p></O:p>
    อกุศลกรรมบถ ๑๐<O:p></O:p>
    ข้อที่ ๑ ธรรมสมาทานที่ให้ผลเป็นทุกข์ในปัจจุบัน และให้ผลเป็นทุกข์ต่อไปภายหน้าด้วยนั้น ก็ตรัสยก อกุศลกรรมบถ ทางกรรมที่เป็นอกุศลขึ้นเป็นตัวอย่าง อกุศลกรรมบถทางกรรมที่เป็นอกุศล ที่เป็นกายกรรมทางกายนั้นก็ได้แก่ ปาณาติบาตทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป อทินนาทานถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขามิได้ให้ด้วยอาการเป็นขโมย กาเมสุมิจฉาจารประพฤติผิดในกามทั้งหลาย<O:p></O:p>
    อกุศลกรรมบถทางวาจาที่เรียกว่าวจีกรรม ก็ได้แก่มุสาวาทพูดเท็จ ปิสุณาวาจา วาจาส่อเสียด ผรุสะวาจา วาจาหยาบ สัมผัปปลาวาจา วาจาเพ้อเจ้อเหลวไหล<O:p></O:p>
    อกุศลกรรมบถทางใจอันเรียกว่ามโนกรรม ก็ได้แก่อภิชฌาโลภเพ่งเล็งทรัพย์สมบัติของผู้อื่นมาเป็นของตน พยาบาทมุ่งร้ายปองร้ายผู้อื่น มิจฉาทิฏฐิเห็นผิดจากคลองธรรม
    <O:p></O:p>
    ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติกระทำอกุศลกรรมบถเหล่านี้อยู่ในปัจจุบัน ด้วยใจที่เป็นทุกข์เดือดร้อน และเมื่อปฏิบัติไปแล้ว ก็ต้องได้เสวยผลของอกุศลกรรมเป็นทุกข์ต่อไปภายหน้าด้วย เรียกว่าเป็นธรรมสมาทานที่ให้ผลเป็นทุกข์ในปัจจุบัน และให้ผลเป็นทุกข์ต่อไปภายหน้าด้วย
    <O:p></O:p>
    ส่วนข้อ ๒ ธรรมสมาทานที่ให้ผลเป็นสุขในปัจจุบัน แต่ว่าให้ผลเป็นทุกข์ต่อไปภายหน้า ก็ได้แก่ปฏิบัติกระทำอกุศลกรรมบถเหล่านี้อยู่ในปัจจุบันด้วยใจที่ร่าเริงเป็นสุขสนุกสนาน ก็อาจจะเทียบยกตัวอย่างเช่นว่าเล่นกีฬาสนุกแบบไปล่าสัตว์ตัดชีวิต ไปตกปลายิงเนื้อเป็นต้น เป็นการกีฬา เป็นการสนุกสนาน แต่ว่าจะต้องเสวยผลเป็นทุกข์ต่อไปภายหน้า ก็ชื่อว่าเป็นธรรมสมาทานที่ให้เสวยผลเป็นสุขในปัจจุบัน แต่ให้ผลเป็นทุกข์ต่อไปภายหน้า
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    กุศลกรรมบถ ๑๐<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    ส่วนข้อ ๓ ธรรมสมาทานที่ให้ผลเป็นทุกข์ในปัจจุบัน แต่ให้ผลเป็นสุขต่อไปภายหน้า ก็ได้แก่ฝ่ายกุศลกรรมบถอันตรงกันข้าม ทางกายกรรมก็เช่นการไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในทางกาม ทางวาจาก็คือไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อหลวไหล ทางใจที่เป็นมโนกรรมก็คือ ไม่โลภเพ่งเล็งทรัพย์สมบัติของผู้อื่นมาเป็นของตน ไม่พยายาทปองร้ายผู้อื่น และเป็นสัมมาทิฏฐิคือมีความเห็นชอบ
    <O:p></O:p>
    เมื่อประพฤติปฏิบัติกระทำกุศลกรรมบถเหล่านี้ด้วยทุกข์โทมนัส เช่นต้องจำใจทำ หรือว่าต้องลำบากในการกระทำ ก็เป็นการเสวยผลเป็นทุกข์อยู่ในปัจจุบัน แต่ก็ให้ผลเป็นสุขต่อไปภายหน้า ก็ชื่อว่าเป็นธรรมสมาทานที่ให้ผลเป็นทุกข์ในปัจจุบัน แต่ให้สุขต่อไปภายหน้า
    <O:p></O:p>
    ข้อ ๔ ธรรมสมาทานที่ให้ผลเป็นสุขในปัจจุบันด้วย ให้ผลเป็นสุขต่อไปภายหน้าด้วย ก็ยกตัวอย่างกุศลกรรมบถทั้งหลายดังกล่าว ในขณะที่ปฏิบัติกระทำอยู่ในปัจจุบัน ก็ทำด้วยสุขโสมนัส ต่อไปภายหน้าก็ได้สุขโสมนัส ก็เป็นธรรมสมาทานที่ให้เสวยผลเป็นสุขในปัจจุบัน และให้เสวยผลเป็นสุขต่อไปภายหน้า

    <O:p></O:p>
    ผลกรรมประกอบด้วยกาลเวลา<O:p></O:p>
    ธรรมสมาทานหรือการกระทำกรรมดีกรรมชั่วดังกล่าว มีการให้ผลประกอบด้วยกาลเวลาก็เพราะว่า เกี่ยวแก่สุขโสมนัส หรือว่าเกี่ยวแก่สุขทุกข์ เกี่ยวแก่เหตุปัจจัยที่นำให้ได้สุขได้ทุกข์ ซึ่งเป็นสังขารคือสิ่งผสมปรุงแต่งเกี่ยวแก่นามรูปอันนี้ ชีวิตร่างกายอันนี้ แต่เกิดจากวัตถุทั้งหลายในโลก บุคคลทั้งหลายในโลกเป็นต้นที่เกี่ยวข้อง อันล้วนเป็นสังขารคือสิ่งผสมปรุงแต่ง เรียกว่าเกี่ยวแก่ภายนอก เหล่านี้จึงเนื่องด้วยกาลเวลา ในการปฏิบัติเกี่ยวแก่บุคคล เกี่ยวแก่เทศะ เกี่ยวแก่สิ่งทั้งหลายในโลก ต้องอาศัยกาลเวลามาประกอบ เพราะฉะนั้นจึงได้ตรัสสอนไว้ว่าให้มีกาลัญญูให้รู้จักกาลเวลา
    <O:p></O:p>
    ส่วนที่ไม่เกี่ยวแก่กาลเวลา ก็คือเกี่ยวแก่ภูมิชั้นในจิตใจโดยตรง เกี่ยวแก่ข้อปฏิบัติทางจิตใจโดยตรง ซึ่งเข้าหลักอริยสัจจ์ทั้ง ๔ ไม่เกี่ยวแก่กาลเวลา คือแม้ในการที่ประกอบกรรมต่างๆ ดีหรือชั่ว หรือสมาทานธรรมะอันเรียกว่าธรรมสมาทานฝ่ายกุศล หรือฝ่ายอกุศล เมื่อสมาทานฝ่ายอกุศล ประกอบกรรมฝ่ายอกุศล ก็เป็นคนชั่วขึ้นทันที ภูมิชั้นของตนของจิตใจก็เป็นชั่วขึ้นทันที เมื่อสมาทานฝ่ายกุศล ประกอบกรรมที่เป็นกุศล ภูมิชั้นของตนของจิตใจก็เป็นคนดีขึ้นทันที ภาวะของตน ของจิตใจ อันเป็นส่วนภายในนี้ เป็นอกาลิโกไม่ประกอบด้วยกาลเวลา ทำดีเมื่อใดก็เป็นคนดีเมื่อนั้น ทำชั่วเมื่อใดก็เป็นคนชั่วเมื่อนั้น ตนเองจะรู้หรือไม่รู้ตนเอง คนอื่นจะรู้หรือไม่รู้ ไม่เป็นประมาณ แต่ว่าเมื่อทำชั่วก็ต้องเป็นคนชั่วขึ้นทันที เมื่อทำดีก็ต้องเป็นคนดีขึ้นทันที นี้ในส่วนกรรม ไม่ประกอบด้วยกาลเวลา
    <O:p></O:p>
    แต่ว่าที่เกี่ยวแก่ส่วนภายนอกเป็นสุขเป็นทุกข์ต่างๆ เป็นผลที่เกี่ยวแก่สุขทุกข์ต่างๆ นั้นจึงประกอบด้วยกาลเวลา เป็นภายนอก เป็นส่วนสังขารคือสิ่งผสมปรุงแต่งในภายนอก เป็นส่วนโลกภายนอก
    <O:p></O:p>
    ส่วนตนที่เป็นภายใน จิตใจที่เป็นภายในของทุกคน นี่ไม่ประกอบด้วยกาลเวลาอย่างนั้น
    <O:p></O:p>
    แต่ว่าในข้อนี้ต้องอาศัยปัญญาที่พิจารณาดูตามเหตุและผล ตามที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน แล้วจึงจะเข้าใจในสัจจะคือความจริงข้อนี้ และเมื่อเข้าใจในสัจจะความจริงข้อนี้ได้ ก็จะให้ผลดีแก่ตนเองมาก ทำให้ตนเองเกิดหิริความละอายใจต่อความชั่ว รังเกียจต่อความชั่ว โอตตัปปะความเกรงกลัวต่อความชั่ว เว้นความชั่ว มีฉันทะในอันทำความดี หรือกล่าวเป็นศัพท์แสงว่า เว้นอกุศลธรรมสมาทาน เว้นอกุศลกรรม แต่มาประกอบกุศลธรรมสมาทาน ประกอบกุศลกรรมต่างๆ
     

แชร์หน้านี้

Loading...