พระจูฬปันถกเถระ วิบากกรรมของคนที่ชอบดูถูกผู้อื่น

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 16 ตุลาคม 2019.

  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,996
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,550
    c_oc=AQl2SUEdITAfUjSWWwTvu_zHlsCSRxUMKiPzc6LKEQH-hjZ9j8h_lyXqprII9r_8YVo&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg

    พระจูฬปันถกเถระ วิบากกรรมของคนที่ชอบดูถูกผู้อื่น

    ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กรุงราชคฤห์ มีเศรษฐีผู้มั่งคั่งคนหนึ่งชื่อว่า “ธนเศรษฐี” เป็นผู้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก และมีบุตรีผู้เลอโฉมอยู่คนหนึ่ง แต่บุตรีกลับชอบพอกับหนุ่มรับใช้ จึงพากันหนีไปใช้ชีวิตคู่อยู่ด้วยกัน ณ ชนบทอันห่างไกล เมื่อบุตรีตั้งท้องก็อยากกลับไปคลอดลูกในวงศ์ตระกูลของตน

    สองสามี-ภรรยาพากันเดินทางกลับกรุงราชคฤห์ ปรากฏว่าภรรยาทนเจ็บท้องไม่ไหว จึงคลอดลูกชายคนโตระหว่างทาง และตั้งชื่อว่า “ปันถก” แปลว่า “เกิดในหนทาง” เมื่อคลอดลูกอย่างปลอดภัยแล้วจึงล้มเลิกความตั้งใจที่จะกลับไปสู่วงศ์ตระกูล

    ภรรยาเริ่มตั้งท้องลูกคนที่สอง ก็พยายามพากันเดินทางกลับไปกรุงราชคฤห์อีกครั้ง แต่แล้วก็คลอดลูกที่ระหว่างทางอีกครั้ง จึงตั้งชื่อลูกคนนี้ว่า “จูฬปันถก” แล้วเรียกว่า ลูกชายคนโตว่า “มหาจูฬปันถก”

    มหาจูฬปันถกเติบโตขึ้น ได้ยินเพื่อน ๆ รุ่นราวคราวเดียวกันเรียกคนโน้น คนนี้ ว่า ตา ปู่ ย่า ยาย จึงถามพ่อและแม่ของตนว่า คนที่จะเรียกแบบนี้อยู่ที่ไหนกันหมด แม่จึงตอบว่า “เจ้ามีญาติ แต่ญาติเหล่านั้นไม่ได้อยู่ที่นี่กับเรา พวกเขาอยู่ที่กรุงราชคฤห์” เด็กน้อยจึงขอร้องให้พ่อแม่พาไปพบญาติบ้าง

    พ่อแม่รู้อยู่เต็มอกว่าถ้ากลับไปมีหวังถูกธนเศรษฐีฉีกร่างเป็นชิ้น ๆ แน่ ๆ แต่ก็พยายามพาลูกทั้งสองไปหาธนเศรษฐีให้จนได้ เมื่อท่านเศรษฐีได้พบบุตรีที่จากกันไปนาน ก็ทำใจยอมรับไม่ได้ ทั้งขอไม่ให้บุตรีกลับสู่ครอบครัวอีก แต่จะมอบทรัพย์สินให้จำนวนหนึ่งเพื่อไปสร้างเนื้อสร้างตัวยังชนบท แต่ขอหลานทั้งสองไว้แทน

    มหาจูฬปันถกเป็นหลานคนโปรด มักติดตามธนเศรษฐีผู้เป็นตาไปฟังธรรมที่อัมพวัน วัดที่หมอชีวกโกมารภัจจ์ถวายอยู่บ่อยครั้ง จนกระทั่งเกิดอยากบวชเป็นพระภิกษุจึงขออนุญาตตาบวช

    ต่อมาพระมหาจูฬปันถกศึกษาและปฏิบัติอย่างมุ่งมั่นจนกระทั่งสามารถแยกแยะ (โยนิโส) สรรพสิ่งต่าง ๆ ได้ว่าสิ่งไหนคือรูป-นาม และสุดท้ายก็บรรลุอรหัตตผล เมื่อเป็นพระอรหันต์ได้นึกถึงน้องชาย อยากให้มาบวชด้วยกัน

    พระมหาจูฬปันถกได้กลับมาที่เรือนของธนเศรษฐี และขออนุญาตท่านตาให้จูฬปันถกบวช ธนเศรษฐีเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอยู่เป็นทุนเดิมจึงไม่ขัดขวางแต่อย่างใด จูฬปันถกจึงได้บวชในสำนักของพระพี่ชาย

    พระพี่ชายพยายามสอนให้พระจูฬปันถกเข้าใจธรรมะเป็นเวลาถึง 4 เดือนด้วยกัน กลับไม่สำเร็จ จึงกล่าวหาว่าพระน้องชายโง่เขลา ไม่สมควรเป็นภิกษุ พระจูฬปันถกน้อยใจคิดจะสึก พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่านี้เป็นวิบากกรรมของพระจูฬปันถกที่เคยดูถูกคนอื่นไว้ในอดีตชาติ

    ครั้งสมัยพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งมีพระนามว่า “พระกัสสปพุทธเจ้า” พระจูฬปันถกได้บวชเป็นภิกษุในศาสนาของพระองค์ และมีความสามารถมาก สามารถเข้าใจธรรมะได้หมด เมื่อพระภิกษุรูปใดไม่เข้าใจก็จะต่อว่าและดูถูกต่าง ๆ นานา ด้วยเหตุนี้เองจึงส่งผลให้พระจูฬปันถกนานเพียงใดก็ไม่เป็นผล

    พระพุทธเจ้าทรงเห็นด้วยทิพยญาณว่า ในชาติหนึ่งพระจูฬปันถกเคยเป็นพระราชา ได้นำผ้ามาซับพระเสโท (เหงื่อ) จากผ้าที่ขาวสะอาดกลายเป็นผ้าที่มัวหมอง พระราชาทอดพระเนตรแล้ว ทรงเข้าพระทัยถึงความเป็นอนิจจัง ไม่มีสิ่งใดเที่ยงแท้ ซึ่งจิตในตอนนั้นเต็มอิ่มไปด้วยกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงสามารถคิดอุบายช่วยให้พระจูฬปันถกบรรลุธรรมได้

    พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปยังหน้าวิหาร ซึ่งเป็นทางที่พระจูฬปันถกจะเดินออกมาพอดี เมื่อพระจูฬปันถกเห็นพระพุทธองค์ก็รีบถวายบังคมกราบ ทั้งกล่าวทูลลาสิกขาบท เพื่อกลับไปเป็นฆราวาสอีกครั้ง เพราะพระพี่ชายต่อว่าโง่เขลาเบาปัญญาอยู่เป็นภิกษุต่อไปก็ไม่มีประโยชน์

    พระบรมศาสดาจึงตรัสว่า “เมื่อพระพี่ชายของเธอขับเธอออกจากสำนักของเขา เธอก็มาอยู่ที่สำนักของตถาคต” พระจูฬปันถกก้มกราบที่พระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ประทานผ้าเช็ดฝุ่นผืนหนึ่งแก่พระจูฬปันถก “เธอจงบริกรรมคำว่า ผ้าเช็ดฝุ่น” เมื่อพระจูฬปันถกรับผ้าผืนนั้นมาก็ทูลลาพระพุทธเจ้า เพื่อไปหาสถานที่นั่งภาวนา ในมือถือผ้าเช็ดฝุ่น แล้วบริกรรม “ผ้าเช็ดฝุ่น” จนกระทั่งเกิดความเข้าใจว่า เดิมทีผ้าผืนนี้สะอาด แต่สังขาร (การปรุงแต่ง) ทำให้หมองมัว จากนั้นจิตก็ยกขึ้นสู่วิปัสสนา จากนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

    “ โลภะ โทสะ และโมหะ ไม่ต่างจากฝุ่น ถ้าเธอละฝุ่นเหล่านี้ได้จากขาด เธอก็จะดำรงอยู่ในพระศาสนานี้ได้ ”

    ไม่เท่าไหร่พระจูฬปันถกก็บรรลุอรหัตตผล

    ⊰⊱⊰⊱⊰⊱⊰⊱⊰⊱⊰⊱⊰⊱⊰⊱⊰⊱⊰⊱⊰⊱⊰⊱

    ที่มาข้อมูลเนื้อหา : อรรถกถา คาถาธรรมบท พระจูฬปันถก / goodlifeupdate.com
    ภาพประกอบ : https://pixabay.com

    ❖❖❖❖❖❖❖❖❖❖❖❖❖❖❖❖❖❖

    ~ ความดี แม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ยิ่งบอกเล่า ยิ่งมีพลัง ~

    ❖ การให้ธรรมะเป็นทาน เหนือการให้ทานทั้งปวง ร่วมกันแชร์ธรรมเป็นธรรมทาน เพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวม ❖

    ❖ เพจ เช่นนั้นเอง ❖ "ธรรมะย่อยง่าย ปฎิบัติได้แม้อยู่บ้าน" คลิกติดตามและเป็นกำลังใจให้เราได้ที่
    https://www.facebook.com/pages/เช่นนั้นเอง/1465790820370399?ref=hl
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,996
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,550
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘
    ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา


    [​IMG]
    ๔. จูฬปันถกเถรคาถา
    คาถาสุภาษิตของพระจูฬปันถกเถระ


    [๓๗๓] เมื่อก่อน ญาณคติเกิดแก่เราช้า เราจึงถูกดูหมิ่น และพี่
    ชายจึงขับไล่เราว่า จงกลับไปเรือนเดี๋ยวนี้เถิด เราถูกพี่ชายขับไล่แล้ว
    ไปยืนร้องไห้อยู่ที่ใกล้ซุ้มประตูสังฆาราม เพราะยังมีความอาลัยในศาสนา
    พระผู้มีพระภาคได้เสด็จมา ณ ที่นั้น ทรงลูบศีรษะเรา ทรงจับแขนเรา
    พาเข้าไปสู่สังฆาราม พระศาสดาทรงอนุเคราะห์ ประทานผ้าเช็ดพระบาท
    ให้แก่เรา ตรัสว่า จงอธิษฐานผ้าสะอาดผืนนี้ให้ตั้งมั่นดีโดยมนสิการว่า
    รโชหรณํๆ ผ้าสำหรับเช็ดธุลีๆ จงตั้งจิตให้มั่น นั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง
    เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว เกิดความยินดีในศาสนา ได้
    บำเพ็ญสมาธิให้เกิดขึ้นเพื่อบรรลุประโยชน์อันสูงสุด เราระลึกถึงชาติ
    ก่อนๆ ได้ ชำระทิพยจักษุให้หมดจดแล้ว ได้บรรลุวิชชา ๓
    คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำสำเร็จแล้ว พระจูฬปันถก-
    เถระได้เนรมิตตนขึ้นพันหนึ่ง นั่งอยู่ที่ชีวกัมพวันอันรื่นรมย์ จนถึง
    เวลาเขามาบอกนิมนต์ ครั้งนั้น พระศาสดาทรงส่งทูตไปบอกเวลา
    ภัตตาหารแก่เรา เมื่อทูตบอกเวลาภัตตาหารแล้ว เราได้เข้าไป
    เฝ้าโดยอากาศ ถวายบังคมพระยุคลบาทของพระศาสดาแล้ว นั่ง
    ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ลำดับนั้น พระศาสดาทรงรับรองเราผู้
    ถวายบังคมแล้วนั่งอยู่ เราเป็นผู้ควรบูชาของโลกทั้งปวง เป็นผู้
    ควรรับของอันเขานำมาบูชา เป็นนาบุญแห่งหมู่มนุษย์ ได้รับ
    ทักษิณาทานแล้ว.
     

แชร์หน้านี้

Loading...