พระจะงามก็ยามบิณฑบาตร

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย สันโดษ, 23 พฤษภาคม 2009.

  1. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    <TABLE class=blog_center_data><TBODY><TR><TD>[FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ถาม : ดิฉันเป็นชาวพุทธ ไปวัดเป็นประจำ ได้เห็นบางวัดพระไม่บิณฑบาตร แต่หุงหาอาหารฉันเอง อยากทราบว่าการไม่บิณฑบาตรนั้นถูกต้องหรือไม่ พระภิกษุควรบิณฑบาตรหรือไม่ และการบิณฑบาตรมีผลอะไรบ้าง
    [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ตอบ : การบิณฑบาตรเป็นวัตรปฏิบัติสำคัญที่พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาต้องปฏิบัติ เป็นพุทธบัญญัติมาแต่ครั้งพุทธกาล การไม่บิณฑบาตรไม่ถึงกับผิดวินัยร้ายแรง แต่ไม่เป็นไปตามสมณะสารูป ยิ่งการหุงหาอาหารฉันเองอาจเป็นความผิดตามพระวินัย เพราะมีพระวินัยห้ามมิให้เก็บของขบฉัน บางชนิดก็ห้ามเก็บข้ามวันข้ามคืน บางชนิดก็เก็บได้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง ๆ การเก็บของขบฉันเป็นผลร้ายอย่างหนึ่งเพราะทำให้เกิดคว[​IMG]ามรู้สึกหวงแหน ยึดถือ ยึดมั่น ไม่ใช่วิสัยของผู้ครองพรหมจรรย์ในพระธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้า

    เพราะเหตุนี้พระภิกษุทุกรูป ไม่ว่าจะมีสมณศักดิ์ชั้นไหน ๆ หรือมีภูมิธรรมขั้นไหน ๆ จะต้องออกบิณฑบาตรตามแบบอย่างที่พระพุทธองค์ทรงประพฤติปฏิบัติตลอดพระชนม์ชีพ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงบิณฑบาตรสม่ำเสมอทุกวัน จะมีเว้นบ้างก็เฉพาะเวลาประชวร หรือออกบิณฑบาตรไม่ได้จริง ๆ เท่านั้น เช่น ติดงานรับกิจนิมนต์ไปฉันภัตตาหารตามที่มีผู้นิมนต์ไว้ เป็นต้น

    ในพระธรรมวินัยแห่งพระตถาคตเจ้านั้น พระภิกษุมีความงามมากเป็นพิเศษใน 2 อริยาบถ คือในยามออกบิณฑบาตรและในยามนั่งสมาธิภาวนา เป็นความงามเพราะมีความสำรวมพร้อมอยู่ในศีล อยู่ในพระวินัย และอยู่ในธรรม ความตั้งมั่นอยู่ในศีล อยู่ในพระวินัย และอยู่ในธรรม คือความงามของพระสงฆ์ในพระธรรมวินัยของพระอริยเจ้า ซึ่งพระอริยเจ้าทั้งหลายล้วนสรรเสริญ

    ในเวลาออกบิณฑบาตรนั้น พระสงฆ์ที่ทรงศีล ทรงวินัย ทรงธรรม จะแสดงให้ประจักษ์แก่สายตาชาวโลกถึงความงามของศีล ของพระวินัย และของพระธรรม มีความสำรวมพร้อมด้วยกาย วาจา ใจ มีความสงบร่มเย็นที่แม้แต่สัตว์เดรัจฉานก็ยังสังเกตได้ เมื่อครั้งที่ผมบวช เวลาออกบิณฑบาตรต้องเดินผ่านทุ่งนาเป็นระยะทางไกล ๆ ปรากฏว่าบรรดานกเขานาที่เคยบินหนีตอนเดินผ่านเมื่อครั้งที่ยังไม่ได้บวช กลับไม่หนีและยังคงหากินตามปกติ แสดงให้เห็นว่าสัตว์เดรัจฉานเช่นนกก็สัมผัสได้ถึงความร่มเย็น ถึงความสงบ และความปลอดภัยของผู้มีศีลในพระธรรมวินัยของพระอริยเจ้า

    การบิณฑบาตรนั้นในปัจจุบันนี้ บรรดานักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยก็ได้ยอมรับนับถือตรงกันว่ามีผลมาก มีอานิสงส์มาก ยกมาพรรณนาได้เป็นประการต่าง ๆ ดังนี้

    1. ทำให้ได้อาหารมาขบฉัน โดยไม่ต้องสั่งสมอาหารหรือหุงหาอาหารฉันเอง ทำให้ไม่ติดในธุระเหมือนกับคฤหัสถ์ผู้มีเพศอันต่ำ เป็นผู้ว่างสงบ สามารถประพฤติปฏิบัติในพรหมจรรย์ได้อย่างเต็มที่ เป็นที่พึ่งได้ของเวไนยสัตว์

    2. ทำให้เวไนยสัตว์ที่ใส่บาตรค่อย ๆ กล่อมเกลาและสั่งสมอบรมจิตตนให้รู้จักความเสียสละ ให้คุ้นเคยกับความเสียสละ ความปล่อยวาง ความไม่ยึดมั่นถือมั่น และมีใจเจือเคล้าด้วยปีติและสุขตามประสาโลกียชน ซึ่งเป็นยาวิเศษชนิดหนึ่งที่จะป้องกันรักษาโรคทางจิตได้หลายอย่าง เช่น โรคเครียด โรคซึมเศร้า หรือความเศร้าหมองต่าง ๆ เหตุนี้พระสงฆ์จึงได้ชื่อว่าเป็นเนื้อนาบุญของโลก และได้ชื่อว่าการออกบิณฑบาตรนั้นคือการออกโปรดสัตว์อันเป็นสมณวิสัยที่จะทำให้ชาวโลกบรรเทาเบาบางสร่างคลายหายจากทุกข์เป็นลำดับ ๆ ไป

    [/FONT][FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif][/FONT][FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]3. การออกบิณฑบาตรเป็นการออกกำลังกายชนิดหนึ่ง เทียบได้กับการออกกำลังกายที่เขานิยมเรียกกันว่า morning walk ซึ่งมีแต่ให้คุณประโยชน์สถานเดียว ต่างกับการออกกำลังกายอื่น ๆ ที่หากมากเกินไปหรือไม่เหมาะสมกับสภาพร่างกายก็อาจเป็นอันตรายถึงตายก็ได้ ทำให้ร่างกายแข็งแรง เป็นปกติอยู่ทุกเมื่อ การที่พระภิกษุอุ้มบาตรไว้ตรงทรวงอกบริเวณหน้าท้อง ทำให้ระบบทางเดินอาหารและระบบย่อยอาหารได้ออกกำลังกายโดยอัตโนมัติ เพราะในขณะที่อุ้มบาตร มีข้าวอุ่น ๆ อยู่ในบาตร และมีการกระเพื่อมไหวในขณะเดิน มีผลเป็นการนวดคลึงบริเวณทรวงอกและท้องน้อย ทำให้เลือดลมเดินเป็นปกติ ทำให้ระบบต่าง ๆ เป็นปกติ มีผลทำให้อายุยืนยาว

    4. มีผลเป็นการบิณฑบาตรคน ทำให้คนเลื่อมใสในพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อครั้งที่หลวงปู่ชาส่งพระลูกศิษย์รูปหนึ่งไปประกาศพระศาสนาที่อังกฤษ ก็กำชับให้ออกบิณฑบาตรทุกเช้า แต่ไม่เคยได้ข้าวเลย วันหนึ่งพระรูปนั้นกลับประเทศไทย ได้ไปถามหลวงปู่ชาว่าบิณฑบาตรมาระยะหนึ่งแล้ว ไม่เคยได้ข้าว ยังจะต้องบิณฑบาตรต่อไปหรือไม่ หลวงปู่ชาบอกว่าต้องบิณฑบาตรต่อไป เพราะการออกบิณฑบาตรนั้นไม่เพียงแต่ต้องการได้อาหารมาดำรงชีวิตอย่างเดียว แต่ต้องบิณฑบาตรคนด้วย หลังจากกลับอังกฤษคราวนั้น พระรูปนั้นก็ปฏิบัติตามคำสอนอย่างสม่ำเสมอ ปรากฏต่อมาว่าในการออกเดินบิณฑบาตรทุกเช้ามีตาแก่ฝรั่งคนหนึ่งสงสัยว่าคนหัวโล้นห่มเหลืองเดินทุกเช้าอยู่ทำไม แต่ไม่กล้าเข้าไปถาม ครั้นนานวันเข้าก็เข้าไปเดินใกล้ ๆ แล้วเลียบเคียงถาม จากนั้นก็ค่อย ๆ สนทนากันไปวันแล้ววันเล่า จนมีความซาบซึ้งในพระธรรมวินัยแล้วเปิดเผยว่าตนเองเป็นเจ้าของที่ดินในบริเวณนั้น เพื่ออำนวยประโยชน์ให้แก่เพื่อนมนุษย์ได้สัมผัสกับรสพระธรรม จึงถวายที่ดินให้เป็นที่ตั้งวัดและกลายเป็นวัดไทยที่มีชื่อเสียงในอังกฤษ พระรูปนั้นคือพระสุเมโธในปัจจุบันนี้

    หรือเมื่อครั้งที่หลวงปู่มั่นเดินทางไปโปรดชาวเขาเผ่าหนึ่งในพื้นที่ภาคเหนืออันเป็นถิ่นทุรกันดาร มีความขาดแคลน ล้าหลัง และไม่รู้จักพระพุทธศาสนาเลย ท่านก็ไปปักกลดอยู่ใกล้ ๆ หมู่บ้านอันเป็นที่สัมปายะคือเป็นที่สงบแต่ไม่ไกลจากชุมชนตามที่พระวินัยบัญญัติไว้ ทุกเช้าก็ออกบิณฑบาตร ชาวเขาเผ่านั้นไม่รู้จัก และไม่รู้ว่าเป็นอะไร ก็ได้แต่แอบซ่อนดูอยู่ในบ้าน และระแวงว่าอาจจะเป็นเสือสมิงแปลงกายมา จึงตั้งกองเวรยามคอยเฝ้าติดตามความเคลื่อนไหว พวกชาวเขาที่เป็นกองเวรยามเฝ้าตามอยู่ทุกวันก็เห็นหลวงปู่มั่นหลังจากกลับบิณฑบาตรแล้วไม่ได้ข้าวปลาอาหารก็เก็บหาผลไม้มาขบฉัน แล้วก็นั่งหลับตา จากนั้นก็เดินไปเดินมา อดรนทนความสงสัยไม่ไหวจึงเข้าไปไต่ถามว่าที่เดินเข้าไปในหมู่บ้านทุกวันนั้นไปทำอะไร

    หลวงปู่มั่นก็บอกว่าไปขอข้าวกิน ชาวเขาก็สงสารจึงเอาข้าวสารหรือข้าวเหนียวใส่บาตร เพราะเข้าใจว่าหลวงปู่มั่นจะต้องหุงหาอาหารกินเอง แต่ทำไม่ได้ตามพระวินัย หลวงปู่มั่นก็ยังเก็บผลไม้มาฉันอยู่เหมือนเดิม ชาวเขาก็สงสัยอีก เข้าไปถามว่าในเมื่อไปขอข้าวและชาวบ้านให้ข้าวแล้ว ทำไมไม่เอามาหุงกิน หลวงปู่มั่นก็อธิบายว่าหุงกินเองไม่ได้ ต้องเป็นข้าวหุงแล้ว จากนั้นชาวเขาก็ใส่บาตรข้าวสุก จึงทำให้พระอาจารย์มั่นมีข้าวสุกฉันเป็นครั้งแรก แต่ชาวเขาก็ยังคงหวาดระแวง เฝ้าติดตามดูอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน แต่รู้สึกว่าเมื่อเข้าไปใกล้หลวงปู่มั่นรู้สึกร่มเย็นกว่าปกติ จึงเปลี่ยนจากการเรียกหลวงปู่ว่าเสือเป็นเสือเย็น และเรียกหลวงปู่มั่นว่าเสือเย็น และในที่สุดก็สงสัยต่อไปว่าเมื่อได้ข้าวมากินแล้ว ทำไมจึงไม่ไปเสียทีหนึ่ง ทำไมจึงต้องนั่ง ๆ เดิน ๆ จึงเข้าไปถามหลวงปู่มั่นว่าตุ๊เจ้า มานั่ง ๆ เดิน ๆ อยู่ที่นี่ทำไม หลวงปู่มั่นตอบว่าเราทำของสำคัญหายไป จึงมาพยายามค้นหา ชาวเขาถามว่าตุ๊เจ้าทำอะไรหาย

    หลวงปู่มั่นบอกว่าทำพุทโธหายไป เราได้รับพุทโธมาจากอาจารย์ของเรา เมื่อหายไปก็ต้องหาให้พบ ชาวเขาถามว่าพุทโธเป็นอะไร หลวงปู่มั่นตอบว่าเป็นอะไรก็วัดได้หลายอย่าง เป็นของศักดิ์สิทธิ์ ชาวเขาถามว่าถ้าศักดิ์สิทธิ์จริงจะป้องกันผีได้หรือไม่ หลวงปู่มั่นตอบว่าแค่ได้ยินคำว่าพุทโธผีก็หนีหมดแล้ว ชาวเขาก็ตกตะลึงแล้วถามว่าตัวพุทโธนี้ป้องกันเสือได้หรือไม่ หลวงปู่มั่นตอบว่าเมื่อเสือเข้าใกล้พุทโธก็จะเชื่องเหมือนกับแมว ชาวเขาจึงถามว่าแล้วจะหาพุทโธได้ที่ไหน อยู่ในดิน หรืออยู่ที่ต้นไม้ หลวงปู่มั่นตอบว่าอยู่ที่ไหนก็ได้ทั้งนั้น ชาวเขาจึงถามอีกว่าถ้าอย่างนั้นพวกเราช่วยตุ๊เจ้าหาพุทโธได้หรือไม่ หลวงปู่มั่นก็ว่าได้ พวกชาวเขาก็ถามอีกว่าพวกผู้หญิงและเด็กจะช่วยหาได้หรือไม่จะได้เร็วขึ้น หลวงปู่มั่นก็ตอบว่าได้ จะเป็นผู้หญิง ผู้ชาย เด็กหรือคนแก่ก็ได้ทั้งนั้น

    ชาวเขาจึงถามว่าแล้ววิธีจะหาพุทโธนั้นจะต้องทำอย่างไร หลวงปู่มั่นจึงบอกวิธีหาพุทโธว่าให้นั่งนิ่ง ๆ เวลาหายใจเข้าก็ให้ออกเสียงหรือนึกในใจว่าพุท เวลาหายใจออกก็ให้ออกเสียงหรือนึกในใจว่าโธ ชาวเขาบอกว่าอย่างนี้ก็ง่าย หลายๆ คนช่วยกันประเดี๊ยวก็พบ แต่บางคนก็สงสัยว่านั่งนิ่งๆ แล้วทำอย่างนั้นก็เมื่อย แล้วถ้ายังไม่พบจะต้องทำอย่างไร หลวงปู่มั่นก็บอกว่าถ้าเมื่อยก็ลุกขึ้นเดินหาบ้าง เดินจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง ในระยะราว ๆ ช่วงต้นไม้ที่ชี้ให้ดู ชาวเขาเหล่านั้นจึงพร้อมใจกันค้นหาพุทโธวันแล้ววันเล่า แล้วไปเล่ารายงานผลให้หลวงปู่มั่นฟังว่าเป็นอย่างไรบ้าง หลวงปู่มั่นก็แนะนำวิธีการหาพุทโธให้มีความแน่วแน่มากขึ้น ให้มีความสงบนิ่งมากขึ้น ไม่ให้วอกแวกคิดเรื่องโน้นเรื่องนี้ จะทำให้หาพุทโธไม่พบ ถ้าเห็นอะไร รู้สึกอย่างไรก็ให้รู้ตัวว่าเห็นอย่างนั้น รู้สึกอย่างนั้น แต่นั่นไม่ใช่พุทโธ ต้องหาต่อไป เมื่อเมื่อยก็ลุกขึ้นเดินหาตามวิธีการอย่างเดียวกัน ชาวเขาเหล่านั้นช่วยกันค้นหาพุทโธ ระยะหนึ่งก็รู้สึกว่ามีความสุข มีความสบาย มีความร่มเย็นมากขึ้น ก็ไปบอกหลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นก็บอกว่าใกล้จะพบพุทโธแล้วจึงเป็นอย่างนั้น ชาวเขาเหล่านั้นก็ช่วยกันค้นหาพุทโธต่อไป

    ไม่นานเท่าใดนัก หนึ่งในกลุ่มชาวเขานั้นก็ได้บรรลุธรรม สำเร็จในอธิจิต แล้วไปกราบรายงานหลวงปู่มั่นทราบ หลวงปู่มั่นท่านทราบอยู่ก่อนแล้ว จึงบอกให้ชาวเขารูปนั้นช่วยสอนเพื่อนชาวเขาให้รู้จักพุทโธที่ค้นพบแล้ว จากนั้นชาวเขาทั้งหมู่บ้านก็ประกาศตนเป็นพุทธมามกะและหลายคนก็อุปสมบท หลวงปู่มั่นก็จากไป

    เหล่านี้คืออานิสงส์ของการบิณฑบาตรที่มีผลมาก มีอานิสงส์มาก ทั้งแก่ตนและแก่ท่าน เป็นกิริยาอาการที่งามสง่าของพระสงฆ์ และเป็นฐานะที่ทำให้พระสงฆ์เป็นเนื้อนาบุญของโลก.
    [/FONT] </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ที่มา paisalvision
     
  2. toangsg

    toangsg สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    18
    ค่าพลัง:
    +2
    ภิกขุ(ผู้ขอ)
     

แชร์หน้านี้

Loading...