พระคาถาอาการะวัตตาสูตร(แปลไทย)

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย มินมิน~*, 11 พฤศจิกายน 2008.

  1. มินมิน~*

    มินมิน~* เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2005
    โพสต์:
    280
    ค่าพลัง:
    +989
    ประวัติพระอาการะวัตตาสูตร

    เมื่อครั้งพุทธกาล พระสารีบุตรได้ปริวิตกในจิตว่าจะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่ไม่รู้จักบารีแห่งพระพุทธเจ้าได้อย่างไรจึงได้กราบทูลถามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า มีธรรมอันใดเล่าที่จะลึกสุมขุม จะห้ามเสียหมู่อันธพาลพึงกระทำบาปกรรมทั้งปวงไม่ให้ตกไปในนรกอเวจี องค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้ตรัสถึงบทพระอาการวัตตาสูตรว่า อานิสงส์ดังนี้<O:p</O:p
    ผู้ใดท่องได้ใช้สวดมนต์ปฏิบัติได้เสมอ มีอานิสงส์มากยิ่งหนักหนาแม้จะปรารถนาพระพุทธภูมิ พระปักเจกภูมิ พระอัครสาวกภูมิ พระสาวิกาภูมิ จะปรารถนามนุษย์สมบัติ นิพพานสมบัติ ก็ส่งผลให้ได้สำเร็จสมความปรารถนาทั้งนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ได้เป็นพระพุทธเจ้าปัญญามาก เพราะเจริญพระพุทธมนต์บทนี้ ถ้าผู้ใดปฏิบัติได้เจริญทุกวันจะเห็นผลความสุขขึ้นเอง ไม่ต้องมีผู้อื่นบอกอานิสงส์ แสดงว่าผู้ที่เจริญพระสูตรนี้ ครั้งหนึ่ง จะคุ้มครองภัยอันตราย 30 ประการได้ 4 เดือน ผู้ใดเจริญพระสูตรนี้อยู่เป็นนิจ บาปกรรมทั้งปวงก็จะไม่ได้ช่องหยั่งลงสู่อบายภูมิเว้นแต่กรรมเก่าตามทันเท่านั้น ผู้ใดอุสาหะตั้งจิตตั้งใจเล่าเรียนได้สวดมนต์ก็ดี บอกเล่าผู้อื่นให้เลื่อมใสก็ดี เขียนเองก็ดี กระทำสักการบูชาเคารพนับถือ พร้อมทั้งไตรวาทก็ดี ผู้นั้นจะปรารถนาสิ่งใดก็จะสำเร็จทุกประการ ท่านผู้มีปรีชาศรัทธาความเลื่อมใสจะกระทำซึ่งอาการวัตตาสูตรอันจะเป็นที่พักผ่อน พึ่งพาอาศัยในวัฎฎสงสาร ดุจะเกาะและฝั่งเป็นที่อาศัยแห่งชนทั้งหลายผู้สัญจรไปมาในชลสาครสมุทรทะเลใหญ่<O:p</O:p
    ฉะนั้น อาการวัตตาสูตรนี้ พระพุทธเจ้า 28 พระองค์ ที่ปรินิพพานไปแล้วก็ดี พระตถาคตพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันก็ดี มิได้สละละวางทิ้งร้างให้ห่างเลยสักพระองค์เดียว ได้ทรงพระเจริญตามพระสูตรนี้มาทุกๆพระองค์ มีคุณานุภาพยิ่งใหญ่กว่าสูตรอื่นปิดบังห้ามก้นไว้ไม่ให้ไปสู่ทุคติกำเนิดก่อนโดยกาลนาน 90 แสนกัลป์ จะสำเร็จไตรวิชชาและอภิญญา 6 ประการ ยังทิพจักษุญาณให้บริสุทธิ์ ภัยอันตราย ศัตรู หมู่ปัจจามิตร ไม่อาจจะมาครอบงำย่ำยีได้ มีกำลังมากแรงขยันต่อยุทธนาข้าศึกศัตรูหมู่ไพรีไม่ย่อท้อในภพเบื้องหน้า จะบริบูรณ์ด้วยโภคสมบัติ ทั้งจะมีฉวีวรรณผ่องใส มีจักษุประสาทรุ่งเรืองงามไม่วิปริตแลเห็นทั่วทิศที่สรรพรูปทั้งปวง มีปัญญาฉลาดเฉียบแหลมว่องไวสุขุมละเอียดลึกซึ้ง อาจรู้ทั่วถึงอรรถธรรมด้วยกำลังปรีชาญาณอวสานที่ชาติสุดท้ายก็จะได้บรรลุพระนิพพาน อนึ่งถ้ายังไม่ถึงพระนิพพานก็จะไม่บังเกิดในอบายภูมิทั้ง 4 จะไม่ได้ไปเกิดในตระกูลหญิงจัณฑาลเข็ญใจ จะไม่ไปเกิดในตระกูลมิจฉาทิฐิ จะไม่ไปเกิดเป็นหญิง จะไม่ไปเกิดเป็นอุตโตพยัญชนก อันมีเพศเป็น 2 ฝ่าย จะไม่ไปเกิดเป็นบัณเฑาะก์ เป็นกะเทยที่เป็นอาภัพบุคคล บุคคลผู้นั้นเกิดในภพใดๆก็จะบริบูรณ์ในการบริจาคทานไม่เบื่อหน่าย ไม่มีโรค-พยาธิเบียดเบียนสรรพอันตรายความจัญไร ภัยพิบัติก็จะสงบระงับดับคลายลงด้วยคุณานิสงค์ผลที่ได้สวดมนต์ ได้สดับฟังพระสูตรนี้ มีประสาทจิตผ่องใส ใกล้จะตายไม่หลงสติจะดำรงสติไว้ทางสุคติ เสวยสุขสมบัติตามใจประสงค์ นรชนผู้ใดเห็นตามโดยชอบซึ่งพระสูตรเจือปนด้วยพระวินัยพระปรมัตถ์มีนามบัญญัติชื่อว่า อาการะวัตตาสูตร มีข้อความดังประการนี้


    พระคาถาอาการะวัตตาสูตร ( ฉบับแปลไทย )<O:p</O:p

    ณ บัดนี้จะแสดงธรรม ที่มีมาในพระอาการะวัตตาสูตร ที่องค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าโคดม ทรงเสด็จประดับ ณ คิชฌกูฏบรรพตคีรีวันฯได้ทรงแสดงธรรมในพระบารมี คือบารมีที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงตรัสรู้ อันเป็นพระบารมีอันยิ่งใหญ่ คือ คุณธรรมที่ได้ทรงบำเพ็ญเพียรตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงที่สุด ในการตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณของพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ ทรงได้ปฏิบัติตามกันมาเป็นลำดับดังนี้ แก่พระสารีบุตรและพระพุทธสาวกของพระองค์ให้รู้ตาม ในคุณอันยิ่งใหญ่ที่มีมานั้น ที่วงศ์สกุลแห่งพระตถาคตเจ้าทั้งหลายทรงได้ตรัสรู้แล้ว<O:p</O:p

    1. พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นพระอรหันต์ คือ เป็นผู้บริสุทธิ์ไกลจากกิเลส ทำลายกำแพงสังสารจักรได้แล้ว เป็นผู้ควรแนะนำสั่งสอนผู้อื่น ควรได้รับความเคารพบูชา เป็นต้น<O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงผู้ตรัสรู้ชอบเอง<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าเป็นผู้ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชา คือความรู้ และจรณะ คือความประพฤติ<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้เสด็จไปดีแล้ว คือ ทรงดำเนินพระพุทธจริยาให้เป็นไปโดยสำเร็จผลด้วยดี พระองค์เองก็ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ทรงบำเพ็ญพุทธกิจก็สำเร็จประโยชน์ยิ่งใหญ่แก่ชนทั้งหลายในที่ที่เสด็จไป และได้ประดิษฐานพระศาสนาไว้ แม้ปรินิพพานแล้วก็เป็นประโยชน์แก่มหาชนสืบมา<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าเป็นผู้รู้จักโลก คือรู้แจ้งสภาวะอันเป็นคติธรรมดาแห่งโลก คือ สังขารทั้งหลาย ทรงหยั่งทราบอัธยาศัยสันดานแห่งสัตว์โลกทั้งปวง ผู้เป็นไปตามอำนาจแห่งคติธรรมดาโดยท่องแท้ เป็นเหตุให้ทรงดำเนินพระองค์เป็นอิสระ พ้นจากอำนาจครอบงำแห่งคติธรรมดานั้น และทรงเป็นที่พึ่งแห่งสัตว์ทั้งหลายผู้ยังจมอยู่ในกระแสโลกได้<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าเป็นสารถีฝึกบุรุษที่ฝึกได้ ไม่มีใครยิ่งกว่า คือทรงเป็นผู้ฝึกคนได้ดีเยี่ยม ไม่มีผู้ใดเทียมเท่า<O:p
    พระพุทธเจ้าเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าเป็นผู้ตื่นและเบิกบานแล้ว คือ ทรงตื่นเองจากความเชื่อถือและข้อปฏิบัติทั้งหลายที่ถือกันมาผิดๆ ด้วย ทรงปลุกผู้อื่นให้พ้นจากความหลงงมงาย อนึ่ง เพราะไม่ติด ไม่หลง ไม่ห่วงกังวลในสิ่งใดๆมีการคำนึงประโยชน์ส่วนตนเป็นต้น จึงมีพระทัยเบิกบาน การที่ทรงพระคุณสมบรูณ์เช่นนี้ และทรงบำเพ็ญพุทธกิจได้เรียบร้อยบริบูรณ์เช่นนี้ ย่อมอาศัยเหตุคือความเป็นผู้ตื่น และย่อมให้เกิดผลคือทรงทำให้เบิกบานด้วย<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าจะทรงทำการใด ก็ลุล่วงปลอดภัยทุกประการ หรือเป็นผู้จำแนกแจกธรรม<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าทรงเพียบพร้อมแล้วในคุณเพราะเหตุอย่างนี้ๆ ( วรรคที่ 1 )<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    2.พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ อำนาจแห่งบุญที่สร้างสมไว้และทรงบำเพ็ญเพียรมาด้วยพระองค์เอง<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงเป็นผู้มีอารมณ์สดใสแห่งธรรมมีจิตใจที่เบิกบาน<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงสติปัญญาและทรงมีไหวพริบอันเยี่ยมยอด ยิ่งใหญ่หาที่สุดประมาณ<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความปรารถนาอันยิ่งใหญ่ที่จะช่วยสรรพสัตว์ทั้งหลายให้พ้นจากทุกข์<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ญาณเป็นเครื่องรู้แห่งจิตในธรรมที่ได้ทรงตรัสรู้แล้ว<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ธรรมที่จะนำสรพสัตว์ให้ข้ามพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ธรรมเป็นเครื่องสรุปด้วยเหตุและปัจจัยในการเกิดและดับแห่งอารมณ์<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ธรรมแห่งพระพุทธองค์ที่มีอนุภาพอันสว่างโชติช่วงดังดวงอาทิตย์<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ เสด็จลงสู่พระครรภ์มารดาในท่านั่งสมาธิ<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงดำรงอยู่ในพระครรภ์มารดาโดยนั่งขัดสมาธิ 10 เดือน<O:p
    ทรงเพียบพร้อมแล้วในอำนาจแห่งบารมีที่สร้างสมไว้ด้วยเหตุและผลปัจจัยดังนี้ ( วรรคที่ 2 )<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    3.พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความเพียบพร้อมในฐานะที่ทรงดำรงอยู่รอดในพระครรภ์มารดา<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความเพียบพร้อมปราศจากมลทินในการประสูติ<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความเพียบพร้อมในพระชาติอันอุดมยิ่ง<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ แนวทางแห่งการดำเนินไปเพื่อการหลุดพ้น<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ มีพระรูปโฉมที่สง่างามยิ่ง<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงมีผิวพรรณอันงดงามยิ่ง<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงเป็นที่รวบรวมมงคลอันประเสริฐ และเป็นมิ่งขวัญอันยิ่งใหญ่<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความเพียบพร้อมในการเจริญวัย<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความเพียบพร้อมแห่งการเป็นผู้นำ ผู้เป็นใหญ่<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความเพียบพร้อมในการประสูติ ( คลอด ) สำเร็จ<O:p</O:p
    ทรงเพียบพร้อมแล้วในฐานะแห่งบารมี ด้วยเหตุและปัจจัยดังนี้ ( วรรคที่ 3 )<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    4.พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ธรรมแห่งการตรัสรู้<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความบริสุทธิ์สมบูรณ์ด้วยศีล<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความตั้งมั่นความสงบแห่งจิต<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความพอใจพยายาม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณธรรมนั้น<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ เป็นมหาบุรุษที่มีลักษณะอันงดงามครบทั้ง 32 ประการ<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงเพียบพร้อมในธรรมแห่งการตรัสรู้ยิ่ง ด้วยเหตุและปัจจัยดังนี้ ( วรรคที่ 4 )<O:p</O:p
    <O:p</O:p


    5.พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ บุรุษผู้มีพระมหาปัญญาอันรอบรู้ชัด หยั่งรู้ในเหตุผล ทุกสรรพสิ่งฯลฯ อันยิ่งใหญ่<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ บุรุษผู้มีพระปัญญาอันหนาแน่น<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ บุรุษผู้มีพระปัญญาอันร่าเริง<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ บุรุษผู้มีพระปัญญาอันโลดแล่น ( เร็วเหมือนฝีเท้า )<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ บุรุษผู้มีพระปัญญาอันกล้าแข็ง<O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ บุรุษผู้มีตาปัญญาทั้ง 5 ทรงประกอบด้วยคุณยิ่งใหญ่เป็นเหตุให้สามารถให้ตรัสรู้ฯ<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ บุรุษผู้ทำความรู้แห่งรสธรรมอันยอดเยี่ยม<O:p</O:p
    ทรงเพียบพร้อมแล้วในธรรมแห่งปัญญาอันยิ่งใหญ่ 5 ประการ ด้วยเหตุและปัจจัยดังนี้ ( วรรคที่ 5 ) <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    6.พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ การให้ การเสียสละ<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ การรักษากาย วาจา ให้อยู่ในหลักความประพฤติที่เรียบร้อย ประพฤติดีงามถูกต้อง<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ การออกบวช ความปลีกตัวปลีกใจจากกาม<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความรอบรู้ ความหยั่งรู้เหตุและผล เข้าใจสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความจริง และรู้จักแก้ไขปฏิบัติจัดการต่างๆ<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความเพียร ความแกล้วกล้า พยายามบากบั่นไม่ทอดทิ้งธุระหน้าที่<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความอดทน ความทนทานของจิตใจ สามารถใช้สติปัญญาควบคุมตนให้อยู่ในอำนาจเหตุผลที่ตั้งไว้เพื่อจุดหมายอันชอบ ไม่ลุอำนาจกิเลส<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความจริง พูดจริง ทำจริง และจริงใจ<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความตัดใจมั่น การตัดสินใจเด็ดเดี่ยว วางจุดหมายของตนไว้แน่นอนและดำเนินตามนั้นแน่วแน่<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความรักใคร่ ความปรารถนาดี คิดเกื้อกูลให้ผู้อื่นและเพื่อนร่วมโลกทั้งปวงมีความสุข<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความวางใจเป็นกลาง ความวางใจสงบราบเรียบสม่ำเสมอ เที่ยงธรรมและดำรงอยู่ในธรรม<O:p
    ทรงเพียบพร้อมแล้วในคุณธรรมระดับต้น ด้วยเหตุและปัจจัยดังนี้ ( วรรคที่ 6 )<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    7.พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ บารมีระดับต้น 10 อย่าง ได้แก่ ทานบารมีเป็นต้น เช่น สละทรัพย์สินเงินทองฯ<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ บารมีอุปบารมี ระดับรองหรือจวนจะสูงสุด เช่น ทานอุปบารมี ได้แก่ การเสียสละอวัยวะเป็นทาน<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทานปรมัตถบารมี ระดับสูงสุดได้แก่ การสละชีวิตเป็นทานเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ การบำเพ็ญทั้ง 10 บารมี ครบ 3 ขั้น หมายถึงบารมี 30 ถ้วน<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความหยั่งรู้ในณานและองค์ณานตามลำดับ<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความรู้ยิ่งความรู้ชัด<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความระลึกได้<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความมีใจตั้งมั่นที่มั่นคงมีจิตใจแน่วแน่ในอารมณ์<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความหลุดพ้นจากกิเลส<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นจากกิเลส<O:p</O:p
    ทรงเพียบพร้อมแล้วในการบำเพ็ญบารมีครบถ้วน ด้วยเหตุและปัจจัยดังนี้ ( วรรคที่ 7 )<O:p</O:p
    <O:p

    8.พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ วิชชาคือความรู้ จรณะคือความประพฤติ ปัญญาที่พิจารณาถึงสังขาร คือนามรูปโดยไตรลักษณ์ มีต่างกันออกไปเป็นชั้นๆต่อเนื่องกัน<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ฤทธิ์สำเร็จด้วยใจ ฤทธิ์ทางใจ คือ นิรมิตกายอื่นออกจากกายนี้<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ การแสดงฤทธิ์ต่างๆได้ คือ เดินบนน้ำ เป็นต้น<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ การมีหูทิพย์ คือ ได้ยินเสียงที่เกินความสามารถของมนุษย์<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความรู้ที่กำหนดใจผู้อื่นได้<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ การระลึกชาติได้<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ มีตาทิพย์ เห็นความตายความเกิดของสัตว์ทั้งหลาย<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความประพฤติและความรู้อย่างยอดเยี่ยม<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความประพฤติแห่งธรรมและความรู้แจ้งด้วยปัญญาตามความเป็นจริง<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ การมีธรรมเป็นเครื่องอยู่โดยลำดับแล้ว<O:p</O:p
    ทรงเพียบพร้อมในวิชชา ด้วยเหตุและปัจจัยดังนี้ ( วรรคที่ 8 )<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    9.พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ การกำหนดรู้ทุกข์ที่เป็นไปในโลก คือ รู้จัก เข้าใจชัดตามสภาพที่เป็นจริง<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ การละกิเลส อันรัดรึงจิต กำจัด ทำให้หมดสิ้นไป ด้วยการละต้นตอแห่งกิเลส<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ การกระทำให้แจ้งในความดับทุกข์ คือเข้าถึง หรือบรรลุจุดหมายที่ต้องการดับทุกข์<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ การเจริญคือ ฝึกอบรมจิต ลงมือปฏิบัติ กระทำตามวิธีการที่จะนำไปสู่ความดับทุกข์<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ การกำหนดรู้ทุกข์ที่เกิด การละกิเลสทำให้หมดสิ้นไปของต้นตอแห่งทุกข์ กระทำให้แจ้งในความดับทุกข์ ด้วยการเจริญฝึกอบรมจิต ให้ถึงความดับทุกข์<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความจริงทั้ง 4 อย่างนี้ได้แก่ 1.ทุกข์ 2.เหตุให้เกิดทุกข์ 3.ความดับทุกข์ 4.ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ( ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค )<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความแตกฉาน มีปรีชาญาณเป็นเครื่องรู้ในธรรม<O:p</O:p
    ทรงเพียบพร้อมแล้วด้วยการกำหนดรู้ในธรรม ด้วยเหตุและปัจจัยดังนี้ ( วรรคที่ 9 )<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    10.พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ธรรมอันเป็นไปในฝ่ายแห่งการตรัสรู้ ธรรมที่เกื้อหนุนแก่อริยมรรคมี 37 ประการ <O:p</O:p
    สติปัฏฐาน 4 คือ ความรู้แจ้งแห่งธรรมในการพิจารณาตั้งสติได้แก่ 1.กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน การตั้งสติพิจารณากาย 2.เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน การตั้งสติพิจารณาเวทนา 3.จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน การตั้งสติพิจารณาจิต 4.ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน การตั้งสติพิจารณาธรรม<O:p</O:p
    สัมมัปปธาน 4 คือ ความรู้แจ้งแห่งธรรมในการพิจารณาความเพียร ได้แก่ 1.สังวรปธาน เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้น 2.ปหานปธาน เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว 3.ภาวนาปธาน เพียรทำกุศลให้เกิดขึ้น 4.อนุรักษ์ขนาปธาน เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญยิ่งขึ้น<O:p</O:p
    อิทธิบาท 4 คือ ความรู้แจ้งแห่งธรรมในการพิจารณาที่ให้ประสบความสำเร็จ ได้แก่ 1.ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น 2.วิริยะ ความเพียร 3.จิตตะ เอาใจฝักใฝ่ 4.วิมังสา ใช้ปัญญาพิจารณาสอบสวน<O:p</O:p
    อินทรีย์ 5 คือ ความรู้แจ้งแห่งธรรมอันเป็นใหญ่ในหน้าที่ของตนได้แก่ 1.ศรัทธา ความเชื่อ 2.วิริยะ ความเพียร 3.สติ ความระลึกได้ 4.สมาธิ ความตั้งจิตมั่น 5.ปัญญา ความรู้ทั่วชัด<O:p</O:p
    พละ 5 คือ ความรู้แจ้งแห่งธรรมในการพิจารณาธรรมอันเป็นกำลัง ได้แก่ 1.ศรัทธา 2.วิริยะ 3.สติ 4.สมาธิ 5.ปัญญา โพชฌงค์ 7 คือ ความรู้แจ้งแห่งธรรมองค์แห่งการตรัสรู้ ได้แก่ 1.สติ ความระลึกได้ 2.ธัมมวิจยะ ความเลือกเฟ้นธรรม 3.วิริยะ ความเพียร 4.ปิติ ความอิ่มใจ 5.ปัสสัทธิ ความผ่อนคลายสงบเย็นกายใจ 6.สมาธิ ความมีใจตั้งมั่น 7.อุเบกขา ความมีใจเป็นกลางเพราะความเห็นเป็นจริง <O:p</O:p
    มรรค 8 คือ ความรู้แจ้งแห่งธรรมในทางมีองค์แปดประการอันประเสริฐ ได้แก่ 1.สัมมาทิฏฐิ ปัญญาเห็นชอบ 2.สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ 3.สัมมาวาจา เจราชอบ 4.สัมมากัมมันตะ การงานชอบ 5.สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ 6.สัมมาวายามะ ความเพียรชอบ 7.สัมมาสติ ระลึกชอบ 8.สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระมหาบุรุษผู้ทรงธรรมอันทำให้เกิดความสว่างในพระงอค์<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ บุรุษที่มีปรีชาธรรมอันไม่มีความขัดข้อง ไม่มีเครื่องกั้น รู้ตลอด รู้ทะลุปรุโปร่ง <O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ธรรมอันทำให้สิ้นอาสวะ เป็นกำลังแห่งความหลุดพ้น จนสำเร็จเป็นอรหันต์<O:p</O:p
    ธรรมฝ่ายแห่งการตรัสรู้ 37 ประการ ด้วนเหตุและปัจจัยดังนี้ ( วรรคที่ 10 )

    11.พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระญาณอันเป็นกำลังของพระตถาคต 10 ประการ<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระปรีชาหยั่งรู้ฐานะและอฐานะ คือ รู้กฎธรรมชาติเกี่ยวกับขอบเขตและขีดขั้นของสิ่งทั้งหลายว่า อะไรเป็นได้ อะไรเป็นไม่ได้ ของบุคคลซึ่งจะได้รับผลกรรมที่ดีและชั่ว ต่างๆกัน<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระปรีชาหยั่งรู้ผลของกรรม คือ สามารถกำหนดแยกการให้ผลอย่างสลับซับซ้อน ระหว่างกรรมดีกับกรรมชั่ว ทั้งในอดีต ในอนาคต และปัจจุบัน<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระปรีชาหยั่งรู้ข้อปฏิบัติที่จะนำไปสู่คติทั้งปวง คือ สุคติ ทุคติ หรือพ้นจากคติ รู้ว่าเมื่อปรารถนาจะเข้าถึงคติหรือประโยชน์ใด จะต้องทำอะไรบ้าง<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระปรีชาหยั่งรู้สภาวะของโลกอันประกอบด้วยธาตุต่างๆ เป็นอเนก คือ รู้สภาวะของธรรมชาติ เช่น รู้จักส่วนประกอบต่างๆของชีวิต และหน้าที่ของมันแต่ละอย่าง อาทิ หน้าของขันธ์ อายตนะ และธาตุต่างๆ เป็นต้น<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระปรีชาหยั่งรู้อธิมุติ คือ รู้อัธยาศัย ความโน้มเอียง ความเชื่อถือ เป็นต้น ของสัตว์ทั้งหลายที่เป็นไปต่างๆกัน<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระปรีชาหยั่งรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย คือ รู้ว่าสัตว์นั้นๆมีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา แค่ไหน เพียงใด<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระปรีชาหยั่งรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว การออกแห่งฌาน วิโมกข์สมาธิ และสมาบัติทั้งหลาย<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระปรีชาหยั่งรู้ อันทำให้ระลึกภพชาติที่เคยอยู่ในหนหลังได้<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระปรีชาหยั่งรู้ จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลายอันเป็นไปตามกรรม<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระปรีชาหยั่งรู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย<O:p</O:p
    นี่คือพระญาณอันเป็นกำลังของพระตถาคต 10 ประการ ด้วยเหตุและปัจจัยดังนี้ ( วรรคที่ 11 )<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    12.พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระกำลังที่ทรงมีมากกว่ากำลังช้าง ตั้งโกฏิ ( โกฏิ หมายถึง จำนวนนับเท่ากับสิบล้าน ) และปโกฏิ ( นับจำนวนไม่ได้ )<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระกำลังที่ทรงมีมากกว่าบุรุษทั้งหลายเป็นพันโกฏิ<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงปรีชาหยั่งรู้พระจักษุอันเป็นสมบัติของพระพุทธเจ้ามี 5 คือ 1.มังสจักขุ ตาเนื้อ 2.ทิพพจักขุ ตาทิพย์ 3.ตาปัญญา ตาปัญญา 4.พุทธจักขุ ตาพระพุทธเจ้า 5.สมันตจักขุ ตาเห็นรอบ<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระปรีชาทรงหยั่งรู้ในคู่แห่งธรรม คือ ธาตุน้ำ และธาตุไฟ เป็นต้น<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ คุณแห่งความประพฤติดีทางกายและวาจา ให้ตั้งมั่นอยู่ในความดีงาม ปราศจากโทษ<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ คุณวิเศษหรือธรรมวิเศษที่เข้าถึงการบรรลุขั้นสูง<O:p</O:p
    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมีพละกำลัง ด้วยเหตุและปัจจัยดังนี้ ( วรรคที่ 12 )<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    13.พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ มีพระปรีชาสามารถในเรี่ยวแรงแห่งจิตในธรรมอันเป็นกำลังยิ่ง<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ มีพระปรีชาสามารถหยั่งรู้กำลังในเรี่ยวแรงแห่งจิตในธรรมอันเป็นกำลังทั้งหลาย<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ มีพระปรีชาในธรรมอันเป็นกำลังอันเข็มแข็งที่ทำให้ข่มขจัดได้แม้แต่กำลังมาร<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ มีพระปรีชาหยั่งรู้กำลังจิตไม่มีกิเลสหรือความทุกข์ใดๆ จะสามารถบีบคั้นครอบงำได้<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ บุรุษผู้มีพระปรีชาสามารถยิ่ง<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ มีพระปรีชาสามารถหาที่สุดประมาณ โดยไม่มีเครื่องชั่ง<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ มีพระปรีชาเป็นเครื่องหยั่งรู้<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ มีพระปรีชาในความพยายามที่มั่นคง<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ มีพระปรีชาสามารถแสวงหาหนทางแห่งธรรมในการตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง<O:p</O:p
    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ เรี่ยวแรงอันเป็นกำลัง ด้วยเหตุและปัจจัยดังนี้ ( วรรคที่ 13 )<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    14.พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความประพฤติปกติของจิต คือ การทรงบำเพ็ญประโยชน์ให้เกิดแก่สรรพสัตว์<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความหยั่งรู้ปกติของจิตในสรรพสัตว์ ที่ทรงบำเพ็ญประโยชน์สูงสุด<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความประพฤติปกติของจิต คือ เอื้ออำนวยประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลายในโลก<O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงหยั่งรู้ปกติของจิตในสรรพสัตว์ ทรงเอื้ออำนวยประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลาย<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงบำเพ็ญประโยชน์แก่พระญาติตามฐานะ<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงหยั่งรู้ในพระญาณทรงบำเพ็ญประโยชน์แก่พระญาติตามฐานะ<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงบำเพ็ญประโยชน์ตามหน้าที่ของพระพุทธเจ้า<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงหยั่งรู้ด้วยสิ่งที่ควรประพฤติตามหน้าที่ของพระพุทธเจ้า<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงบำเพ็ญบารมีจนครบทั้งสามประการ<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงบำเพ็ญบารมี ระดับต้น ระดับกลาง ระดับสูงสุด รวมเรียกว่า บารมี 30 ทัศ<O:p</O:p
    รวมเรียกว่าการทรงบำเพ็ญประโยชน์ ของพระพุทธเจ้าด้วยเหตุและปัจจัยดังนี้ ( วรรคที่ 14 )<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    15.พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงรู้ความจริงทั้งหลายที่ไม่เที่ยง ที่เป็นทุกข์ ที่ไม่ใช่ตัวตน ที่มีเกิดขึ้นและดับลง เป็นกฎแห่งไตรลักษณ์ คือ ความไม่เที่ยงแห่งขันธ์ 5 ที่ไม่ควรยึดติด<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงรู้ความจริงทั้งหลายที่ไม่เที่ยง ที่เป็นทุกข์ ที่ไม่ใช่ตัวตน ที่มีเกิดขึ้นและดับลง เป็นกฎแห่งไตรลักษณ์ คือ ความเป็นทุกข์แห่งขันธ์ 5 ที่ไม่ควรยึดติด<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงรู้ความจริงทั้งหลายที่ไม่เที่ยง ที่เป็นทุกข์ ที่ไม่ใช่ตัวตน ที่มีเกิดขึ้นและดับลง เป็นกฎแห่งไตรลักษณ์ คือ สิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนแห่งขันธ์ 5 ที่ไม่ควรยึดติด<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ มหาบุรุษผู้ทำความรู้แห่งธรรมอันยอดเยี่ยมทรงหยั่งรู้ความจริงทั้งหลายที่ไม่เที่ยง ที่เป็นทุกข์ ที่ไม่ใช่ตัวตน ที่มีเกิดขึ้นแห่งลักษณ์ธาตุ<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ มหาบุรุษผู้เป็นนำผู้เป็นใหญ่ ทรงหยั่งรู้ความจริงทั้งหลายว่า ไม่เที่ยง ที่เป็นทุกข์ ที่ไม่ใช่ตัวตน ที่มีเกิดขึ้นแล้วของลักษณ์ทั้งปวงในโลก<O:p</O:p
    รวมเรียกว่าลักษณ์บารมีแห่งพระพุทธเจ้า ด้วยเหตุและปัจจัยดังนี้ ( วรรคที่ 15 )<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    16.พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ เป็นผู้รู้ในทุกหนทางที่ปฏิบัติดำเนินไป และทุกสถานที่ๆทรงเสด็จไป<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ เป็นผู้หยั่งรู้ในทุกหนทางที่ปฏิบัติดำเนินแล้ว และทุกสถานที่ๆทรงเสด็จไป<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ เป็นผู้มีความชำนาญในเรื่องฌาน คือ ตรวจองค์ฌาน.เข้า-ออกได้รวดเร็ว เป็นต้น<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ เป็นผู้หยั่งรู้ ทรงเชี่ยวชาญชำนาญในเรื่องฌาน พิจารณาทบทวนองค์ฌานรวดเร็ว<O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ เป็นผู้ฝึกหัดอบรบ กาย วาจา จิตใจ และปัญญา จนบรรลุจุดหมายสูงสุด<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ เป็นผู้หยั่งรู้ด้วยการศึกษาที่เชี่ยวชาญจนบรรลุจุดหมายสูงสุด คือ พระนิพพาน<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ เป็นผู้มีความสำรวมความระวังปิดกั้นบาปอกุศล เช่น สำรวมศีล เป็นต้น<O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ เป็นผู้หยั่งรู้ ในความสำรวม ปิดกั้นบาปอกุศลทั้งหลาย<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงปฏิบัติเจริญวิปัสสนาตามลำดับ ตั้งแต่ต้นจนถึงที่สุดด้วยเหตุและปัจจัยดังนี้ ( วรรคที่ 16 )<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    17.พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงเป็นผู้รู้ในทุกหนทางปฏิบัติดำเนินไปตามเชื้อสายพุทธเจ้า<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงเป็นผู้มีความหยั่งรู้ทั่งถึงชัดเจน แห่งหนทางปฏิบัติตามเชื้อสายพุทธเจ้า<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงเป็นผู้มีความรู้เป็นอัศจรรย์ในคู่แห่งธรรม<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงเป็นผู้มีความหยั่งรู้แสดงผลให้บังเกิดอัศจรรย์ในคู่แห่งธรรม เนื่องด้วยธาตุน้ำและธาตุไฟ แสดงออกพร้อมกัน<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงเป็นผู้มีการเป็นอยู่หรือดำเนินชีวิตอย่างผู้ประเสริฐ 4 ประการ<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงเป็นผู้มีพรหมจรรย์ในการดำเนินชีวิตอย่างผู้รู้ อย่างผู้ประเสริฐ 4 ประการ<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงเป็นผู้มีปรีชาหยั่งรู้อันไม่มีความขัดข้อง รู้ตลอด รู้ทะลุปรุโปร่ง ไม่มีเครื่องกั้นเป็นพระปรีชาเฉพาะพระพุทธเจ้า ซึ่งไม่มีทั่วไปแก่พระสาวก<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงเป็นผู้มีความหยั่งรู้ไม่มีที่สิ้นสุดในธรรม ในอินทรีย์อันหยิ่งหย่อนของสัตว์<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงเป็นผู้มีพระปรีชาญาณหยั่งรู้สิ่งทั้งปวง ทั้งที่เป็นอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เป็นพระปรีชาเฉพาะพุทธเจ้า ซึ่งไม่มีทั่วไปแก่พระสาวก<O:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงเป็นผู้มีพระปรีชาวชิรญาณตรัสรู้สิ่งทั้งปวงรู้เห็นไปข้างหน้า คือ อนาคตรู้ เห็นอดีตข้างหลัง ได้มากโดยมากเขตแดนหามิได้<O:p</O:p
    พระมหาบุรุษผู้เป็นเชื้อสายแห่งพระพุทธเจ้า ด้วยเหตุและปัจจัยดังนี้ ( วรรคที่ 17 )<O:p</O:p

    <O:p</O:p
     
  2. 9Chai

    9Chai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    26
    ค่าพลัง:
    +107
    (^o^) ขออนุโมทนา ด้วยครับ
    ( /|\ ) ที่เคยอ่านมาส่วนมากมักจะแปลทับศัพท์เลย..ทำให้เข้าใจยาก
    แต่อันนี้ อ่านง่าย เข้าใจง่าย ชอบมากครับ....ขอบคุณครับ
     
  3. จรัล

    จรัล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +406
    กราบประทานโทษครับ มีแต่คำแปล แล้วบทสวดมีมั๊ยครับ กระผมสวดทุกค่ำเช้าครับ ( ก่อนนอนหากเวลาน้อยอาจเว้น แต่เช้าต้องสวด ) คือเท่าที่ผมได้พบมาบทอาการวัตตาสูตรนั้น ไม่ค่อยตรงกันเลย มีขาดมีเกินอยู่ตลอด เลยไม่รู้ว่าของใครเป็นต้นฉบับที่แท้จริงแน่นอน แต่อ่านคำแปลของคุณแล้วหากว่าถูกต้อง เราก็จะไปนับเทียบเคียงเอาตามวรรคเลยคงจะรู้ได้ ว่าของใครถูกต้องขาดเกินอย่างไร หากมีบทสวดขอความกรุณาด้วยครับจะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง ขอบคุณครับ
     
  4. มินมิน~*

    มินมิน~* เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2005
    โพสต์:
    280
    ค่าพลัง:
    +989
    ขอโทษคุณจรัลทีนะครับ ที่มาตอบช้า บทสวดอันนี้ copy มาจากเวปอื่นนะครับ

    พระคาถาอาการะวัตตาสูตร

    1. อิติปิโสภะคะวา อะระหัง
    อิติปิโสภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ
    อิติปิโสภะคะวา วิชชาจะระณะสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา สุคะโต
    อิติปิโสภะคะวา โลกะวิทู
    อิติปิโสภะคะวา อะนุตตะโรปุริสะธัมมะสาระถิ
    อิติปิโสภะคะวา สัตถาเทวะมะนุสสานัง
    อิติปิโสภะคะวา พุทโธ
    อิติปิโสภะคะวา ภะคะวาติ
    (พุทธะคุณะวัคโค ปะฐะโม)

    2. อิติปิโสภะคะวา อะภินิหาระ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา อุฬารัชฌาสะยะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ปะนิธานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา มะหากะรุณา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ปะโยคะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ยุติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ชุติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา คัพภะโอกกันติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา คัพภะฐิติ ปาระมิสัมปันโน
    (อะภินิหาระวัคโค ทุติโย)

    3.อิติปิโสภะคะวา คัพภะวุฏฐานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา คัพภะมะละวิระหิตะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา อุตตะมะชาติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา คะติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา อะภิรูปะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา สุวัณณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา มะหาสิริ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา อาโรหะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ปะรินาหะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา สุนิฏฐะ ปาระมิสัมปันโน
    (คัพภะวุฏฐานะวัคโค ตะติโย)

    4. อิติปิโสภะคะวา อะภิสัมโพธิ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา สีละขันธะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา สะมาธิขันธะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ปัญญาขันธะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ทะวัตติงสะมะหาปุริสะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
    (อะภิสัมโพธิวัคโค จะตุฏโฐ)

    5. อิติปิโสภะคะวา มะหาปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ปุถุปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา หาสะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ชะวะนะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ติกขะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ปัญจะจักขุ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา อัฏฐาระสะพุทธะกะระ ปาระมิสัมปันโน
    (มะหาปัญญาวัคโค ปัญจะโม)

    6. อิติปิโสภะคะวา ทานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา สีละ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา เนกขัมมะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา วิริยะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ขันตี ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา สัจจะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา อะธิษฐานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา เมตตา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา อุเปกขา ปาระมิสัมปันโน
    (ปาระมิวัคโค ฉัฏโฐ)

    7. อิติปิโสภะคะวา ทะสะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ทะสะอุปะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ทะสะปะระมัตถะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา สะมะติงสะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ตังตังฌานะฌานังคะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา อะภิญญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา สะติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา สะมาธิ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา วิมุตติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา วิมุตติญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    (ทะสะปาระมิวัคโค สัตตะโม)

    8. อิติปิโสภะคะวา วิชชาจะระณะวิปัสสะนาวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา มะโนมะยิทธิวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา อิทธิวิทธิวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ทิพพะโสตะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ปะระจิตตะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ปุพเพนิวาสานุสสะติวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ทิพพะจักขุวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา จะระณะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา จะระณะธัมมะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา อะนุปุพพะวิหาระ ปาระมิสัมปันโน
    (วิชชาวัคโค อัฏฐะโม)

    9. อิติปิโสภะคะวา ปะริญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ปะหานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา สัจฉิกิริยา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ภาวะนา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ปะริญญาปะหานะสัจฉิกิริยาภาวะนา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา จะตุธัมมะสัจจะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ปะฏิสัมภิทาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    (ปะริญญานะวัคโค นะวะโม)

    10. อิติปิโสภะคะวา โพธิปักขิยะธัมมะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา สะติปัฏฐานะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา สัมมัปปะทานะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา อิทธิปาทะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา อินทรียะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา พะละปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา โพชฌังคะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา อัฏฐังคิกะมัคคะธัมมะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา มะหาปุริสะสัจฉิกิริยา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา อะนาวะระณะวิโมกขะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา อะระหัตตะพะละวิมุตติ ปาระมิสัมปันโน
    (โพธิปักขิยะวัคโค ทะสะโม)

    11. อิติปิโสภะคะวา ทะสะพะละญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ฐานาฐานะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา วิปากะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา สัพพัตถะคามินีปะฏิปะทา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา นานาธาตุญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา นานาธิมุตติกะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา อินทริยะปะโรปะริยัตตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา นิโรธะวุฏฐานะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ปุพเพนิวาสานุสสะติญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา จุตูปะปาตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา อาสะวักขะยะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    (ทะสะพะละญาณะวัคโค ทะสะโม)

    12 . อิติปิโสภะคะวา โกฏิสะหัสสานังปะกะติสะหัสสานังหัตถีนังพะละธะระ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ปุริสะโกฏิทะสะสะหัสสานังพะละธะระ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ปัญจะจักขุญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ยะมักกะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา สีละคุณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา คุณะปาระมิสะมาปัตติ ปาระมิสัมปันโน
    (กายะพะละวัคโค ทะวาทะสะโม)

    13. อิติปิโสภะคะวา ถามะพะละ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ถามะพะละญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา พะละ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา พะละญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ปุริสะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา อะตุละยะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา อุสาหะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา คะเวสิญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    (ถามะพะละวัคโค เตระสะโม)

    14. อิติปิโสภะคะวา จะริยา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา จะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา โลกัตถะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา โลกัตถะจะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ญาณัตถะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ญาณัตถะจะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา พุทธะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา พุทธะจะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ติวิธะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ปาระมิอุปะปาระมิปะระมัตถะ ปาระมิสัมปันโน
    (จะริยาวัคโค จะตุระสะโม)

    15. อิติปิโสภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุอะนิจจะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุทุกขะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุอะนัตตะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา อายัตตะเนสุติลักขะณะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา อัฏฐาระสะธาตุสุติลักขะณะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา วิปะรินามะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
    (ลักขะณะวัคโค ปัณณะระสะโม)

    16. อิติปิโสภะคะวา คะตัตถานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา คะตัตถานะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา วะสิตะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา วะสิตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา สิกขา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา สิกขาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา สังวะระ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา สังวะระญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    (คะตัตถานะวัคโค โสฬะสะโม)

    17. อิติปิโสภะคะวา พุทธะปะเวณี ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา พุทธะปะเวณีญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ยะมะกะปาฏิหาริยะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ยะมะกะปาฏิหาริยะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา จะตุพรหมวิหาระ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา อะนาวะระณะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา อะปะริยันตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา สัพพัญญุตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา จะตุวีสะติโกฏิสะตะวัชชิระ ปาระมิสัมปันโน
    (ปะเวณีวัคโค สัตตะระสะโม)


    ส่วนบทสวดที่แปลเป็นภาษาไทยแล้วด้านบน อันนั้นจะแปลเกินมาหน่อย เพราะมีอธิบายความหมายของคำต่างๆด้วยนะครับ
     
  5. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    [​IMG]


    น้อมมาลัยบูชาพระ กันนะคะ
    อนุโมทนา ทุก ๆ ท่าน ทุกๆ ประการ ค่ะ
    กราบอนุโมทนาธรรม ท่านเจ้าของกระทู้ สาธุ :)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. อิทธิปาฏิหาริย์

    อิทธิปาฏิหาริย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    1,834
    ค่าพลัง:
    +1,472

แชร์หน้านี้

Loading...