พระครูพุทธิสารสุนทร (บุญกู้ อนุวฑฺฒโน) วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน กรุงเทพมหานคร วัดธัมมธโร

ในห้อง 'ทวีป อเมริกา' ตั้งกระทู้โดย Wat Pa Gothenburg, 1 ธันวาคม 2008.

  1. Wat Pa Gothenburg

    Wat Pa Gothenburg เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    920
    ค่าพลัง:
    +260
    <table border="0" cellpadding="7" cellspacing="7" width="500"><tbody><tr><td colspan="3" align="center">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td colspan="3" align="center">[SIZE=+2]พระครูพุทธิสารสุนทร [/SIZE]
    [SIZE=+1](บุญกู้ อนุวฑฺฒโน) [/SIZE]</td> </tr> <tr> <td colspan="3" align="center">[SIZE=+1]วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน กรุงเทพมหานคร [/SIZE]</td> </tr> </tbody></table>

    <center> วัดธัมมธโร </center> วัด คือสถานที่ทางศาสนา โดยปรกติมีโบสถ์ วิหาร และที่อยู่ของสงฆ์ หรือนักบวช เป็นต้น
    วัด ได้แก่การสอบขนาดหรือปริมาณของสิ่งต่างๆ เช่นส่วนยาว ส่วนกว้าง ส่วนสูง หรือความรู้ เป็นต้น
    วัด หมายถึงตวัดขึ้น หรือตวัดไปโดยแรง
    ธัมมโร แปลว่าผู้ทรงไว้ซึ่งธรรม
    มีปริศนาธรรมโบราณอยู่บทหนึ่ง ซึ่งมีความว่า
    สองคนพามานี่ สี่คนช่วยกันหาม
    สามคนร่วมแห่ คนหนึ่งนั่งแคร่
    สองคนพาไปอื่น ถ้าจะขึ้นให้สูง ต้องรู้จักเสียสละ
    ขอให้ลองคิดหาคำเฉลยของเราเองดูก่อน ถ้ามีเหตุผลที่ดีพอก็ถือว่าใช้ได้ ส่วนต่อไปนี้ จะขอให้คำตอบอ้างอิงหลักธรรมมาให้พิจารณาตามสมควร
    ตามหลักพระพุทธศาสนานั้น ผลย่อมเกิดจากเหตุ มีทั้งเหตุใกล้ที่เข้าใจง่าย และเหตุไกลที่เข้าใจยาก โดยเฉพาะคือเรื่องความเป็นมาและเป็นไปของชีวิต ด้วยคนเรานั้นมีอะไรๆ แตกต่างกันอยู่มิใช่น้อย ทั้งถิ่นฐานกำเนิด ตระกูลของบิดามารดา ลักษณะรูปร่าง สติปัญญาและนิสัยใจคอ ตั้งแต่เกิดมาทีเดียว แม้พี่น้องท้องเดียวกันแท้ๆ ก็ยังมีส่วนแตกต่างกันไปหลายประการ
    ผู้ที่เกิดมาในถิ่นที่เจริญ พ่อแม่ร่ำรวย รูปร่างแข็งแรงงดงาม สติปัญญาเฉลียวฉลาด และนิสัยใจคอดี ย่อมแสดงว่าได้สั่งสมบุญกุศลในปางก่อนไว้ มากกว่าบาปอกุศล จัดได้ว่านายบุญเป็นผู้นำมาเกิด
    ส่วนผู้ที่ถือกำเนิดในดินแดนแร้นแค้น พ่อแม่ยากจน รูปลักษณะไม่ค่อยสมประกอบ สติปัญญาทึบ และนิสัยใจคอร้าย ย่อมแสดงว่ามีบาปอกุศลเป็นเจ้าเรือนติดตามมา กล่าวได้ว่านายบาปเป็นผู้นำมาเกิด
    “สองคนพามานี่” จึงหมายถึงนายบุญนายบาป นำมาเกิดในโลกนี้
    สำหรับชีวิตของคนเราทั้งหลายที่เกิดมาแล้วนั้น จะมีรูปร่างสูงต่ำดำขาว แตกต่างกันไปอย่างไรก็ตามที ย่อมจะมีธาตุทั้งสี่ คือธาตุดิน อันมีสภาวะแข้นแข็ง ธาตุน้ำ สภาวะเหลว ธาตุลม สภาวะที่ทำให้สั่นไหวเคลื่อนที่ และเตโชธาตุ สภาวะที่ทำให้ร้อน ทรงสภาวะของตนๆ ร่วมกันเป็นรูปร่าง เป็นฐานค้ำจุนชีวิต ให้ดำรงคงอยู่ การเจ็บไข้ได้ป่วยที่บังเกิดขึ้น ก็เป็นเพราะความแปรปรวนของธาตุ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งหมด ซึ่งจะต้องอาศัยหยูกยาและนายแพทย์ช่วยรักษา
    “สี่คนช่วยหาม” ก็บ่งถึงธาตุทั้งสี่นี้เอง
    อันคนเรานั้น ไม่ว่าจะชั่วดีมีจนต่างกันออกไป แต่ย่อมจะมีสิ่งที่เป็นสมบัติ หรือเครื่องอาศัยของตนๆ ที่เหมือนกันอยู่สามประการ ซึ่งได้แก่ กาย วาจา ใจ
    บางคนใช้กาย วาจา ใจ ไปทางโลก มุ่งผลประโยชน์หาวัตถุปัจจัย และหาความสุขทางโลกีย์เป็นสำคัญ บางท่านก็เข้าใจใช้ไปทางธรรม ตั้งใจแสวงหาความสุขความเจริญด้านจิตใจเป็นสำคัญ
    “สามคนร่วมแห่” ก็ได้แก่ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ของแต่ละคนนั้นเอง
    ว่าตามหลักการ ผู้เป็นเสมียนพนักงาน ต้องทำตามคำสั่งของผู้จัดการ ผู้เป็นทหารต้องเชื่อฟังผู้บังคับบัญชา ตามหลักธรรมก็แสดงว่า การคิด การพูดจา และการกระทำประการใดนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับจิตใจของตนเป็นเกณฑ์ ถ้าจิตใจดีก็สั่งให้คิดดี พูดดี ทำดี ถ้าใจร้ายก็สั่งให้คิดชั่ว พูดชั่ว ทำชั่วลงไป
    “คนหนึ่งนั่งแคร่” จึงได้แก่จิตใจ ซึ่งเป็นผู้บงการการกระทำต่างๆ ทั้งหลายทั้งปวงของคนเรา
    เรื่องของชีวิต มีความไม่เหมือนกันตั้งแต่แรกเกิดมา ขณะมีชีวิตอยู่ก็ยังมีการกระทำที่แตกต่างกันออกไปอีก ดีบ้าง ชั่วบ้าง เมื่อเป็นเช่นนี้ บั้นปลายของชีวิตที่แตกดับลงไป จะมีผลเป็นสูญเท่ากันได้หรือ
    พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ว่า เพราะกิเลสตัณหา บุญและบาป ที่ยังคงค้างคาเหลืออยู่ในจิตใจ พามาเกิด และเมื่อถึงคราวที่สังขารร่างกายแตกดับลงไป ถ้าจิตใจยังไม่หมดกิเลสตัณหา คนเราจะต้องไปเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะสงสารต่อไปอีก
    “สองคนพาไปอื่น” ก็ได้แก่บุญและบาปเจ้าเก่านั้นเอง นายบุญพาไปสู่สุคติ นายบาปพาไปสู่ทุคติ เป็นไปตามกฎแห่งกรรมของตนๆ
    พระพุทธศาสนามีคำสั่งสอนหลายประการ ในเรื่องความเสียสละ เพื่อความสุขความเจริญ ที่สูงส่งยิ่งขึ้นไปโดยลำดับ
    การสละทรัพย์และวัตถุปัจจัยเป็นทาน สละเรี่ยวแรงช่วยเหลือเป็นเวยยาวัจจะ สละความเบียดเบียนเป็นศีล สละนิวรณ์เป็นสมาธิ สละความหลงเป็นปัญญา และสละกิเลสตัณหาทั้งปวงจึงเป็นวิมุติ ได้ถึงซึ่งพระนิพพาน อันเป็นอมตสุขตลอดไป
    “ถ้าจะขึ้นให้สูง ต้องรู้จักเสียสละ” ดังกล่าวมานี้แล
    “วัด” ที่หมายถึงศาสนสถาน และหมายถึงการประเมินผลนั้น โปรดเข้าใจพิจารณาตามความเป็นมาของ “วัดธัมมธโร” ในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้ด้วย
    “ศาสนสถาน” ตระหง่าน กว้างขวาง ใหญ่โตยิ่งขึ้น
    “ศาสนวัตถุ” อุดมสมบูรณ์มากกว่าแต่ก่อน
    “ศาสนบุคคล” ทั้งบรรพชิต อุบาสก อุบาสิกา ตลอดทายกทายิกาเพิ่มขึ้น
    “ศาสนพิธี” มีการทำวัตร สวดมนต์ และภาวนา ประจำวันมิได้ขาด ยิ่งในวันสำคัญของชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ก็มีการจัดประกอบพิธีเพิ่มขึ้นเป็นพิเศษ
    “ศาสนธรรม” จัดมีการฝึกบำเพ็ญครบถ้วน นับตั้งแต่การศึกษาธรรม ปฏิบัติธรรม และมีการแสดงธรรมอยู่เสมอ
    จึงกล่าวได้ว่า “วัดธัมมธโร” ของท่านสาธุชนทั้งหลายในปัจจุบัน มีผลเป็นกำไรที่สังเกตได้ไม่น้อยทีเดียว
    และถ้าท่านพุทธศาสนิกชนทั้งปวง ทั้งท่านที่อยู่สำนักและผู้ที่เป็นอาคันตุกะจะไม่ลืมความหมายของ “วัด” อีกประการหนึ่ง กล่าวคือการตั้งใจ “ตวัด” พวกกิเลสตัณหา มานะทิฏฐิ ออกไปให้เต็มสติกำลังอยู่เสมอแล้ว ก็ย่อมจะได้ชื่อลือนามทั้งภายนอกและคุณธรรมภายใน สมตามความหมายของคำว่า “ธัมมธโร” ความเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งธรรม อย่างแท้จริงตลอดไป
    ขออานุภาพคุณพระศรีรัตนตรัย อันเป็นอดิศัยบุญเขต และกุศลเจตนาช่วยส่งเสริมอุปถัมภ์บำรุงของท่านสาธุชนทั้งหลาย จงมีส่วนช่วยให้ “วัดธัมมธโร” แห่งนครหลวงแคนเบอร์รา ประเทศออสเตรเลียนี้ จงสถิตสถาพร ช่วยเชิดชูพระบวรพระพุทธศาสนา ให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้นตลอดกาลนาน เทอญ.

    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="500"> <tbody><tr> <td align="center">*********</td> </tr> </tbody></table>
     

แชร์หน้านี้

Loading...