พระขุนแผนใบพุทรา เนื้อชินตะกั่ว กรุวัดใหญ่ชัยมงคล

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 22 เมษายน 2019.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    0b981e0b89ce0b899e0b983e0b89ae0b89ee0b8b8e0b897e0b8a3e0b8b2-e0b980e0b899e0b8b7e0b989e0b8ade0b88a.jpg


    พระขุนแผนใบพุทรา เนื้อชินตะกั่ว กรุวัดใหญ่ชัยมงคล

    โดย อาจารย์ชวินทร์ chavintapoti@gmail.com

    วันนี้พามาชมพระในตำนานของกรุวัดใหญ่ชัยมงคล จ.พระนครศรีอยุธยา วัดนี้เป็นต้นกำเนิดพระเครื่องขุนแผนเคลือบที่ได้รับความนิยมและหายาก มาชมพระอีกพิมพ์หนึ่งคือ พระขุนแผนใบพุทรา ซึ่งเป็นพระเครื่องแตกกรุที่วัดใหญ่ชัยมงคลเช่นกัน พระขุนแผนใบพุทรา มีทั้งเนื้อดินและเนื้อชิน องค์ที่นำมาให้ชมเป็นพระขุนแผนใบพุทราเนื้อชินครับ

    0b981e0b89ce0b899e0b983e0b89ae0b89ee0b8b8e0b897e0b8a3e0b8b2-e0b980e0b899e0b8b7e0b989e0b8ade0b88a.jpg

    พระขุนแผนใบพุทราเนื้อชินนี้ แตกกรุครั้งแรกพร้อมขุนแผนเคลือบเมื่อปี พ.ศ.2445 เป็นพระประทับนั่งปางมารวิชัย อยู่บนฐานบัว 2 ชั้น มีรัศมีเป็นวงกลมล้อมรอบพระเศียรอยู่เบื้องหลัง ใต้ฐานบัวมีก้านยื่นยาวขึ้นมา เป็นพระลอยองค์โดยไม่มีปีกที่คล้ายใบพุทรา (อันเป็นที่มาของชื่อพิมพ์) เหมือนเนื้อดิน ส่องดูจะเห็นผิวสนิมสีดำอมเทาทั่วองค์ และไขที่จับองค์พระ ซึ่งมาจากความเก่าที่อยู่ในกรุมานาน

    พระขุนแผนใบพุทรา เป็นพระที่ได้รับความนิยมสูงมากในปัจจุบัน นับเป็นพระที่มีศิลปะสวยงาม พุทธคุณครบเครื่องทั้งด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาด และคงกระพันชาตรี นอกจากกรุวัดใหญ่ชัยมงคลแล้ว ก็มีแตกกรุที่วัดราชบูรณะ แต่เป็นพระเนื้อชินผิวปรอทขาวทั้งหมด

    วัดป่าแก้วคือ ชื่อเดิมของวัดใหญ่ชัยมงคล เป็นพระอารามหลวงในสมัยพระเจ้าอู่ทองซึ่งพระองค์ทรงสร้างไว้เมื่อปี พ.ศ.1900 และต่อมาในสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ชนะในสงครามยุทธหัตถีกับสมเด็จพระมหาอุปราชา และได้ทรงสร้างพระเจดีย์องค์ใหญ่ขึ้นที่วัดป่าแก้ว วัดนี้เป็นที่จำพรรษาของสมเด็จพระพนรัตน์ และได้พระราชทานนามใหม่ว่า วัดใหญ่ชัยมงคล เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองชัยชนะในสงครามครั้งนั้น และได้สร้างพระเครื่องขุนแผนพิมพ์ต่างๆ บรรจุไว้ในพระเจดีย์ในปีพ.ศ.2135-36

    พระขุนแผนใบพุทราและพระขุนแผนเคลือบ ได้แตกกรุออกมาโดยมีผู้ลักลอบขุดกรุหลายหน จนเมื่อถึงพ.ศ. 2478 กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนวัดใหญ่ชัยมงคลเป็นโบราณสถานของชาติ และเมื่อปีพ.ศ. 2499 จึงเริ่มมีพระสงฆ์เข้าไปจำพรรษาในวัดใหญ่ชัยมงคล โดยมี พระครูภาวนารังสี (เปลื้อง เริงเชียร) เป็นผู้บูรณะปฏิสังขรณ์กุฏิ ศาลา รวมทั้งสร้างกุฏิเพิ่มเติมแทรกอยู่ในบริเวณอุโบสถและวิหารด้วย

    มีบันทึกเรื่องราวการขุดพระเจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคลนี้ว่า พระครูเปลื้องได้ประสานงานไปทางกรมศิลปากรให้เข้ามาบูรณะเจดีย์ ซึ่งทางกรมศิลปากรได้ขุดเจาะเพื่อสำรวจโครงสร้างและความแข็งแรงของรากฐานในปี พ.ศ.2500 ท่ามกลางปัญหาและอุปสรรค เนื่องจากมีข่าวลือว่า มีการลักขุดหาสมบัติในองค์เจดีย์ประธาน ได้พระพุทธรูปทองคำจากใต้ฐานกลางองค์เจดีย์ จากการลักลอบขุดจากกลางองค์เจดีย์บนชั้นฐานทักษิณ พร้อมกับเปิดเจาะส่วนฐานล่างสุดด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกมุ่งตรงไปยังกลางเจดีย์

    ต่อมามีการขุดค้นพบกำแพงซึ่งสร้างหลอกบังไว้ สันนิษฐานเกิดจากการจงใจอำพรางของนักขุดกรุล่าสมบัติ เมื่อทุบผนังนั้นออกก็พบเป็นช่องทางสำหรับการเข้าไปยังกลางองค์พระเจดีย์ได้ ส่วนด้านบนมีการตรวจสอบจากส่วนกลางองค์พระเจดีย์ลงไป พบว่า ตรงกลางองค์พระเจดีย์นั้นโดนลักลอบขุดไปแล้ว และได้นำเอาเศษอิฐหักกากปูนที่ขุดขึ้นมาแต่เดิมกลบลงไปอำพรางให้เหมือนเดิม

    ระหว่างที่นำเอาเศษอิฐเศษปูนขึ้นมา ปรากฏว่า ได้พบร่องรอยของพระเจดีย์เก่าแก่หลงเหลืออยู่ให้เห็นตั้งแต่ส่วนยอดลงไปจนถึงส่วนฐาน ร่องรอยดังกล่าวนั้นเป็นลักษณะของการลักขุดผ่ากลางองค์พระเจดีย์องค์เล็กนั้นเลย เมื่อมีการขนย้ายเศษอิฐเศษปูนที่ทับถมจากการปกปิดร่องรอยการลักลอบขุดออกไปจนถึงพื้นดินส่วนฐานขององค์พระเจดีย์ประธาน ก็พบอุปกรณ์การลักลอบขุดหลงเหลืออยู่ อาทิ ท่อนไม้ไผ่ที่ทำไว้สำหรับปีนขึ้นลง และเศษเทียนไข เป็นต้น

    นอกจากนี้ ยังได้พบกรุหินชนวน ขนาดประมาณกว้าง 1 เมตร ยาว 1 เมตร สูง 1 เมตร ฝาแตกเป็นช่อง แต่คนไม่สามารถลงไปได้ และไม่พบสิ่งใดในกรุดังกล่าว คงพบแต่หัวกะโหลกลิง 1 หัวเท่านั้น ขณะที่ดำเนินการขุดค้นต่อไป ได้มีกลุ่มบุคคลในพื้นที่วัดใหญ่ชัยมงคล พยายามขัดขวางการทำงานของกรมศิลปากรอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น จ.พระนครศรีอยุธยาและกรมศิลปากรจึงมีมติเห็นชอบร่วมกันให้ยุติการขุดค้น พร้อมกับให้อัดฉีดน้ำปูนและเทคอนกรีตเสริมเหล็กกลบหลุม เพื่อมิให้มีการขุดค้นอีกต่อไป

    แม้บันทึกจากเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรจะระบุเช่นนั้น แต่เป็นที่รู้กันว่าการบูรณะเจดีย์วัดใหญ่เมื่อปี พ.ศ.2499-2500 ได้พบพระขุนแผนเคลือบและพระขุนแผนใบพุทราจำนวนหนึ่ง ซึ่งพระทั้งหมดล้วนเป็นพระสร้างขึ้นที่วัดใหญ่ชัยมงคล ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทั้งสิ้น

    พุทธคุณของพระขุนแผนใบพุทราก็เฉกเช่นเดียวกับพระขุนแผนเคลือบ ซึ่งเด่นทั้งทางด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาด และคงกระพันชาตรีเป็นเยี่ยม นอกจากนี้พระขุนแผนใบพุทรา ยังถือว่า เป็นพระสกุลขุนแผนแห่ง วัดใหญ่ชัยมงคล ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นพระพิมพ์ไหนที่ได้จากกรุเจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคลนี้ ถือได้ว่าเป็นพระกรุที่สร้างโดยพระมหากษัตริย์ที่ได้รับการยกย่องว่าทรงเป็นมหาราชที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย อีกทั้งอายุเกินกว่า 400 ปี จึงเป็นพระเครื่องที่นักสะสมพระต่างแย่งกันเสาะหามาไว้ในครอบครอง

    981e0b89ce0b899e0b983e0b89ae0b89ee0b8b8e0b897e0b8a3e0b8b2-e0b980e0b899e0b8b7e0b989e0b8ade0b88a-1.jpg

    981e0b89ce0b899e0b983e0b89ae0b89ee0b8b8e0b897e0b8a3e0b8b2-e0b980e0b899e0b8b7e0b989e0b8ade0b88a-2.jpg



    ข่าวที่เกี่ยวข้องในอดีต

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.posttoday.com/dhamma/587037
     
  2. ice5509876

    ice5509876 พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2015
    โพสต์:
    131
    ค่าพลัง:
    +77
    สาธูครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...