พรหมวิหาร 4

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย มาจากดิน, 7 มิถุนายน 2015.

  1. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    บทความจากหนังสือ "ผู้พิพากษาตั้งตุลาให้สังคมสมในดุล" โดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) บรรยายให้ผู้พิพากษาพร้อมทั้งญาติมิตรของคุณหญิง....ฟัง ที่บริเวณกุฏิเจ้าอาวาส วัดญาณเวศกวัน เมื่อ ๒ ตุลาคม 2550

    [​IMG]
    ท่านยกข้อธรรมสำคัญๆ เช่น เจตนา ปัญญา ธรรม - วินัย สภาวธรรม จริยธรรม บัญญัติธรรม พรหมวิหาร 4 เป็นต้น มาขยายความ (ใช้งาน) มีหลายตอน แต่ที่นี่ตัดเอาตอนว่าด้วยเรื่องพรหมวิหาร 4 อย่างมา

    [​IMG]
    ข้อความปกหลัง


    "ธรรมะสำหรับผู้พิพากษาก็คือธรรมะอันเดียวกับที่รักษาชีวิต และสังคมมนุษย์ที่ต้องใช้สำหรับทุกคนนั่นเอง แต่ผู้พิพากษาเป็นแบบอย่างในเรื่องนี้ เพราะถือว่า ผู้พิพากษาเป็นตุลา คือเป็นตราชูของสังคม

    "ในการที่จะรักษาสังคมไว้นั้น ท่านผู้พิพากษาเป็นแบบอย่างในขั้นปฏิบัติการเลยทีเดียวว่า เราจะต้องรักษาสังคมให้อยู่ดี มีความสุขความเจริญ โดยเฉพาะมีความมั่นคงอยู่ได้ ด้วยความเป็นธรรมะ ที่ตั้งอยู่บนฐานของจิตใจ ที่มีพรหมวิหาร ๔ ประการ อันมีอุเบกขาลงไปอยู่ในธรรม ที่ปัญญาบอกให้ แล้วก็ออกสู่ปฏิบัติการด้วยสมานัตตตา ซึ่งเป็นที่แสดงออกของอุเบกขา แล้วก็มั่นใจแน่ว่าแนบสนิทอยู่กับธรรม"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มิถุนายน 2015
  2. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    พรหมวิหาร คือ จริยะพื้นฐานที่จะกำกับเจตนาของ…(ตุลาการ)

    พรหมวิหาร แปลกันว่า ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของท่านผู้ใหญ่ (หรือ ท่านผู้เป็นใหญ่) ท่านผู้ใหญ่ หรือท่านผู้เป็นใหญ่นี้คือพรหม

    ปรากฏว่า ได้เกิดความเข้าใจเพี้ยนขึ้นในภาษาไทย เรามักเข้าใจว่า พรหมวิหาร เช่น เมตตานี้ เป็นธรรมของผู้ใหญ่โดยวัย หรือโดยสถานะในสังคม ถ้าอย่างนั้น เด็กก็ไม่ต้องมีเมตตา เป็นต้น ใช่ไหม เป็นหน้าที่ของผู้ใหญ่จะต้องเมตตาต่อเด็ก หรือต่อผู้น้อย อะไรทำนองนี้

    แต่ถ้าไปดูในหลักธรรมต่างๆ ที่พระพุทธเจ้าทรงสอนทั่วไป แม้แต่ในหลักธรรมที่คฤหัสถ์พึงปฏิบัติ ก็มีวิธีปฏิบัติของคฤหัสถ์ต่อพระภิกษุ เริ่มต้นเลยว่า ๑-๒-๓ คฤหัสถ์พึงปฏิบัติต่อพระภิกษุด้วยกายกรรมมีเมตตา ด้วยวจีกรรมมีเมตตา ด้วยมโนกรรมมีเมตตา คือ ให้ญาติโยมมีเมตตาต่อพระ อ้าว ถ้าเมตตาเป็นธรรมของผู้ใหญ่ ก็น่าจะให้พระเมตตาโยม นี่ทำไมให้โยมเมตตาพระล่ะ

    ตามคำอธิบายในคัมภีร์บาลี พระผู้น้อยก็ตาม ญาติโยมก็ตาม ตักน้ำล้างเท้า และพัดวีถวายแก่พระเถระ เรียกว่าเป็นการกระทำด้วยเมตตาจิต หรือ อย่างหมอชีวกผ่าฝีถวายการบำบัดแด่พระพุทธเจ้า ก็เป็นการกระทำด้วยเมตตาจิต นี่ก็เป็นตัวอย่างที่ว่าเราเข้าใจ และเอาธรรมะมาใช้คลาดเคลื่อน ไม่ตรงตามความหมายที่ท่านว่าไว้ เพราะปัญหาทางภาษา

    ผู้ใหญ่ หรือ ท่านผู้เป็นใหญ่นี้ คือ พรหม ในพระพุทธศาสนา หมายถึงผู้มีจิตใจยิ่งใหญ่ คือยิ่งใหญ่ด้วยความดีงาม หรือมีคุณธรรมยิ่งใหญ่ หรือไม่ก็แปลว่าประเสริฐ ท่านสอนทุกคนให้ทำตัวเป็นพรหม

    ควรรู้ภูมิหลังว่า ในศาสนาพราหมณ์เดิมถือว่า พระพรหมเป็นผู้สร้างโลก และสร้างสังคมมนุษย์ แล้วก็ทำให้โลกสังคมมนุษย์นี้ดำรงอยู่ได้

    แต่พระพุทธศาสนาปฏิเสธลัทธินั้น ท่านไม่สอนให้นับถือเรื่องพระพรหมสร้างโลก แต่บอกว่ามนุษย์ทุกคนนี่แหละ มีหน้าที่สร้างโลก ช่วยกันผดุงโลก อภิบาลโลก

    ถ้ามนุษย์ประพฤติปฏิบัติดี คือมีธรรมชุดนี้ ได้แก่มี เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา แล้ว เราก็เป็นพรหมกันทุกคน แล้วเราก็เป็นผู้สร้างสรรค์โลก บำรุงรักษาอภิบาลโลกให้อยู่ดีได้ โดยไม่ต้องไปรอพระพรหม

    แต่ในทางตรงข้าม ถ้าเรามัวรอพระพรหมอยู่ และทำอะไรๆโดยไม่รับผิดชอบ เราก็ทำลายโลก และทำลายสังคมนี้ แล้วก็ได้แต่รอพระพรหมมาสร้างโลกให้ใหม่ ถ้าอย่างนั้นก็ไม่ไหว โลกแย่แน่

    พระพุทธเจ้าไม่ให้เรามัวรอพระพรหม แต่ในมนุษย์ทุกคนเป็นพรหมเอง ด้วยการมีพรหมวิหาร เพราะฉะนั้น จึงเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องมีพรหมวิหาร คือ มีธรรมที่จะทำให้มีจิตใจของพระพรหม หรือมีใจกว้างขวาง มีคุณความดียิ่งใหญ่ดุจพระพรหมนั่นเอง ไม่ใช่ผู้ใหญ่ในความหมายที่เข้าใจกันทั่วไป

    เอาละ ตกลงว่า เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ก็ต้องมีในทุกคนนั่นแหละ โดยเฉพาะแน่นอนว่า ผู้ที่เป็นใหญ่หรือเป็นผู้ใหญ่ ก็เป็นธรรมดาว่าจะต้องต้องรับผิดชอบในการปฏิบัติธรรมทุกข้อเป็นตัวอย่างอยู่แล้ว ก็ต้องมี เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เป็นตัวอย่างด้วย เท่ากับเป็นผู้นำหรือมีหน้าที่เป็นพิเศษในการที่จะสร้างสรรค์บำรุงรักษาอภิบาลสังคมนี้ไว้ เพราะฉะนั้น จึงควรเอาใจใส่มากในการมีธรรมชุดนี้

    แต่โดยหลักการแล้วที่แท้แล้ว ทุกคนนั่นแหละต้องมีเมตตาต่อกัน เด็กก็ต้องมีมีเมตตาต่อผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ก็ต้องมีเมตตาต่อเด็ก

    ที่จริงเมตตา ก็หมายถึงความเป็นมิตร หรือน้ำใจมิตรเท่านั้นเอง เมตตา กับ มิตตะ นี่มีรากศัพท์เดียวกัน อย่างที่ว่าแล้ว เมตตาก็คือ ธรรมของมิตร หรือน้ำใจของมิตร คือใจรัก หรือน้ำใจปรารถนาดี อยากให้เขามีความสุข และแน่นอนว่า ความเป็นมิตรนี้ทุกคนควรมีต่อกัน ทั้งคุณพ่อคุณแม่ต่อลูกๆ ทั้งลูกต่อคุณพ่อคุณแม่และพี่น้อง แล้วก็ต่อเพื่อนักเรียน ต่อเพื่อนบ้าน ต่อเพื่อนร่วมชาติ ต่อเพื่อนร่วมโลก มีเมตตาต่อกันไปจนทั่ว

    เมตตาของคุณพ่อคุณแม่นั้นมีเป็นตัวอย่างให้แก่ลูก และลูกก็มีเมตตาตอบแทนด้วยความรักต่อพ่อแม่ แล้วก็เมตตาต่อผู้อื่น แผ่ขยายออกไป และไม่เฉพาะเมตตาเท่านั้น ก็ต้องมีให้ครบหมดทั้ง 4 อย่าง ต่อด้วย กรุณา และเมตตา ลงท้ายด้วยอุเบกขา

    (ทีนี้ มาถึงท่านผู้พิพากษา ก็ชัดเจนเลยว่า มีหน้าที่โดยตรงในการที่จะผดุงไว้ซึ่งสังคม หรือธำรงรักษาสังคม ให้อยู่ดีมีความมั่นคงปลอดภัย ถึงกับเรียกว่าเป็นตุลาการ เป็นตราชู ผู้ดำรงธรรมไว้ให้แก่สังคม จึงต้องเอาพรหมวิหารนี้มาปฏิบัติให้มีอยู่ประจำตัว เป็นธรรมพื้นฐานในใจ ไว้กำกับเจตนาเป็นประจำ ทั้งในการปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ได้ผลสมจริง และเป็นแบบอย่างของสังคม พร้อมไปด้วยกัน)
     
  3. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    มองพรหมวิหาร คือ คำนึงทุกสถานการณ์มุ่งประสานทั้งสังคม ทั่วทั้งโลก เข้าสู่ดุล

    แน่ใจและ แน่นอนเลยว่า ถ้าทุกคน โดยเฉพาะผู้ทำหน้าที่ในการผดุงสังคม มีความชัดเจนในหลักพรหมวิหาร แล้วปฏิบัติให้ตรงตามความหมาย จะธำรงรักษาสังคมไว้ได้อย่างแน่นอน พระพุทธเจ้าทรงสอนนักหนา ให้เจริญพรหมวิหาร มีเมตตา เป็นต้น กันทุกคน

    การที่จะปฏิบัตินั้น (ปฏิบัติ มีความหมายตามศัพท์เดิมว่า เดิน ในที่นี้ ปฏิบัติก็เริ่มที่เดินจิตให้ถูก)

    ย้ำอีกว่า ต้องชัดในความหมาย และความชัดนั้นจะเห็นได้จากความสามารถที่จะแยกให้เห็นความแตกต่างของธรรมแต่ละข้อนั้นๆด้วย แต่เวลานี้สังคมไทย มีความไม่ชัดเจน และสับสนปนเปมากในเรื่องพรหมวิหาร ตั้งแต่เมตตา กรุณาไปเลย

    นอกจากเข้าใจความหมายคลาดเคลื่อนเพี้ยนไปแล้ว ความผิดพลาดสำคัญอีกอย่างหนึ่ง ที่คนไทยได้กระทำต่อหลักพรหมวิหาร คือ เอาสี่ข้อที่ท่านจัดเป็นชุดไว้ให้ ไปแยกใช้กระจัดกระจายกันหมด จนกระทั่งไปๆมาๆ บางข้อก็อ้างบ่อยนักหนาเหมือนพูดเล่นๆ แต่บางข้อไม่เอามาบอกมาเตือนกัน เหมือนไม่เห็นความสำคัญเสียเลย

    ที่ถูกนั้น ต้องจับให้อยู่รวมกันเป็นชุด เหมือนที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ครบทั้งชุดเป็นธรรมดา ครบทั้ง เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ถ้าพูดตามภาษานิยมของคนยุคนี้ ก็คือ เป็นองค์รวม หรือเป็นระบบองค์รวม แต่ที่จริงก็คือเป็นเรื่องของความสมดุลและพอดี

    ชุดองค์รวมสี่นี้ คนไทยไม่ใช้แต่ละข้ออย่างเป็นองค์ร่วม แต่เอาไปแยกส่วนกระจายกันไปเสีย เน้นกันนักที่ข้อเมตตา และกรุณา แต่มุทิตาไปไม่ค่อยถึงสักที ยิ่งอุเบกขาแล้วแทบไม่รู้เรื่องเลย

    ที่ว่านี้ ไม่ใช่แยกไม่ได้เลย ก็แยกได้ คือว่าไปตามสถานการณ์ที่ต้องใช้ข้อนั้นๆ อย่างเมตตานั้นเป็นพื้นยามปกติ ก็ย่อมใช้เสมอ พูดบ่อยได้ แต่ข้อสำคัญต้องมีความตระหนักรู้อยู่ มองไปให้ตลอดทั้งชุดให้ถึงอุเบกขา

    โดยเฉพาะอุเบกขานั้น เป็นข้อที่โยงกับปัญญา จึงเป็นข้อที่ต้องเอาใจใส่ศึกษาให้จะแจ้ง แต่คนไทยไม่ใส่ใจ และไม่พยายามศึกษาให้เข้าใจ เลยกลายเป็นเรื่องที่เข้าใจยาก แล้วก็เข้าใจผิด จึงต้องมาซักซ้อมทบทวนกันให้ชัด

    ว่ากันให้ถึงหลักแท้ๆ คนที่มีพรหมวิหาร 4 นั้น ผดุงรักษาอภิบาลโลก โดยเฉพาะสังคมมนุษย์ไว้ได้ เพราะปฏิบัติต่อเพื่อนร่วมโลกได้ทั่วถึง ครบถ้วน ทัน และถูกต้องตรงตามสถานการณ์ คือ


    1. (ในสถานการณ์ที่เขาอยู่เป็นปกติ) เมตตา มีความเป็นมิตร คือ มีใจรัก ปรารถนาดี อยากให้เขาเป็นสุข เห็นใครเจอใคร ก็มองอย่างเป็นมิตร เมื่อเขาอยู่เป็นปกติ ก็มีน้ำใจปรารถนาดี อยากให้เขาเป็นสุข เป็นน้ำใจพื้นฐานที่มนุษย์พึงมีต่อกัน มนุษย์ต้องมีความเป็นมิตรกัน นี่คือเมตตา ซึ่งเป็นธรรมข้อพื้นฐานที่สุด



    จากนั้น พระพุทธเจ้าก็ตรัสต่อไป ตามเรื่องของความเป็นจริงในสังคมของมนุษย์ คือ เมื่อเราเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับมนุษย์ผู้อื่นนั้น เขาก็อยู่ในสถานการณ์ต่างๆกัน และแม้สำหรับแต่ละคน สถานการณ์ก็เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ เพราะเป็นธรรมดาที่ว่า ชีวิตและสังคมตลอดจนทั้งโลกที่แวดล้อม ย่อมเปลี่ยนแปลงไป เป็นอนิจจัง เป็นไปตามกฎธรรมชาติ มีสุข แล้วก็มีทุกข์ มีขึ้น แล้วก็มีลง มีขึ้นสูง แล้วก็มีตกต่ำ แล้วแต่เหตุปัจจัย ทำให้ชีวิตอยู่ในสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป เมื่อกี้นี้บอกว่าสถานการณ์ปกติ เรามีเมตตา ทีนี้ต่อไป

    2. (ในสถานการณ์ที่เขาทรุดลงเดือดร้อน) กรุณา ใฝ่ใจจะแก้ไข ขจัดทุกข์ของเขา คือ เมื่อผู้อื่นประสบเหตุร้าย เกิดปัญหา เกิดความเดือดร้อนขึ้นมา ก็เข้าสู่สถานการณ์ที่สอง เรียกว่า ตกต่ำลงไป เขาก็เดือดร้อนเป็นทุกข์ ก็มาถึงวาระของพรหมวิหารข้อที่ 2 คือ กรุณา ได้แก่ความปรารถนาที่จะช่วยให้คนพ้นจากความทุกข์

    ถ้าแปลตามศัพท์ก็ว่า กรุณา คือความพลอยดีใจหวั่นไหว เมื่อเห็นผู้อื่นประสบความทุกข์ หรือแผ่ขยายใจตามไปคำนึงถึงความทุกข์ของเขา เพื่อหาทางไปช่วยเหลือ เป็นเหตุให้ขวนขวาย เอาใจใส่ จนกระทั่งลงมือปฏิบัติเพื่อช่วยให้เขาพ้นจากความทุกข์นั้นขึ้นมา

    เมตตา กับ กรุณา ต่างกันอย่างชัดเจนที่สุด แต่คนไทยมักแยกไม่ออกเลย จึงบอกว่าเป็นปัญหามาก เพราะไม่รู้ไม่ชัดในหลักแม้แต่ที่ง่ายๆแค่นี้ เป็นอันว่า ถ้าเกิดสถานการณ์ที่คนอื่นเดือดร้อนเป็นทุกข์ขึ้นมา เราก็ต้องย้ายจากเมตตาไปกรุณา กรุณา ก็คือการที่ใจเรานี้ไวต่อการที่จะรับรู้ความทุกข์ของเพื่อนมนุษย์ พอเห็นเขาเดือดร้อนมีทุกข์ ก็พลอยมีใจหวั่นไหวไปตามความทุกข์ของเขา


    ถ้าเป็นคนธรรมดา ก็คือ พอเห็นคนอื่นทุกข์ ก็พลอยไม่สบายใจด้วย แต่ท่านว่ายังไม่ถูกแท้ ที่ถูกคือ ใจหวั่นไหวไปตามความทุกข์ของเขา หรือไวต่อการรับรู้ความทุกข์ของผู้อื่น ด้วยความปรารถนาจะช่วยให้เขาพ้นจากความทุกข์ แต่ตัวเองไม่ต้องเป็นทุกข์ ไม่มัวไปเศร้า ไม่ปล่อยใจให้ระทมทุกข์ด้วย


    เป็นอันว่า ต้องแยกกัน ให้ได้หลักการก่อนว่า สอง เมื่อเขาตกต่ำเดือดร้อน ก็มีกรุณา ปรารถนาจะช่วยให้เขาพ้นจากความทุกข์

    3. (ในสถานการณ์ที่เขาดีขึ้น) มุทิตา พลอยยินดีที่เขางอกงามมีความสุขความสำเร็จ คือ เขาทำความดีงาม มีความสุข มีความเจริญ ก้าวหน้า หรือทำการสำเร็จ เช่น เด็กสอบไล่ได้ คนเข้างานได้ ได้เลื่อนขั้น หรือละเลิกการร้าย หันย้ายเข้าสู่ทางแห่งความดี เช่น เลิกยาเสพติด หันมาตั้งใจเรียน ก็เรียกว่าขึ้นสูง หรือดีขึ้น เราก็ใช้พรหมวิหารข้อ ที่ 3 คือ มุทิตา มีใจพลอยินดีด้วย อยากจะช่วยส่งเสริมสนับสนุน เพื่อให้เขามีความสุข ทำความดีงามสำเร็จ หรือทำประโยชน์ให้ยิ่งขึ้นไป

    ครบแล้วนะหมดแล้ว สถานการณ์ในชีวิตมนุษย์ก็มี 3 นี่แหละ หนึ่ง เขาอยู่เป็นปกติ เรามีเมตตา สอง เขาตกต่ำเดือดร้อน เรามีความกรุณา สาม เขาขึ้นสูง งอกงามสำเร็จดีขึ้นไป เรามีมุทิตา

    ทีนี้ ยังมีอีกข้อ คือข้อ 4 ที่รอจะเอาเข้ามาคุม ข้อนี้แหละสำคัญยิ่งนัก เป็นหลักใหญ่ในการรักษาสังคมมนุษย์ ถ้าตัวนี้ไม่มา ถึงจะมี 3 ตัวแรก ก็รักษาไม่ไหว ไม่พอ
     
  4. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    สังคมดำรงอยู่ได้ด้วยธรรม (ผู้พิพากษา) เอาอุเบกขามาดำรงรักษาธรรม

    ก็ครบทุกสถานการณ์แล้ว ยามปกติก็มีเมตตา ยามเดือดร้อนก็กรุณาช่วยเขาไป ยามดีมีสุขก็มุทิตาส่งเสริมสนับสนุน มันก็น่าจะครบแล้ว เรานึกว่าพอ แต่ท่านบอกว่าไม่ครบ ต้องมีตัวที่ 4 คุมท้าย เป็นตัวสำคัญที่สุด

    อธิบายว่า พรหมวิหาร 3 ข้อแรกนั้น ยังหนักทางด้านความรู้สึก แม้จะเป็นความรู้สึกทีดีอย่างยิ่ง แต่ยังไม่เป็นหลักประกันว่ามีปัญญาหรือไม่ และในที่สุด ความรู้สึกนั้นๆ ถูกต้องดีจริงหรือไม่ จะต้องรู้โดยมีปัญญาที่จะบอกให้ตัดสินได้

    เขาอยู่เป็นปกติ เราก็รู้สึกเป็นมิตรมีเมตตาปรารถนาดี นี่ก็เป็นความรู้สึกทีดี เขาตกต่ำเดือดร้อน เราก็รู้สึกสงสารอยากช่วยเหลือ นี่ก็เป็นความรู้สึกทีดี แล้วเขาได้ดีมีสุข เราก็มุทิตาพลอยรู้สึกยินดีด้วย ก็เป็นความรู้สึกทีดีทั้งนั้น

    แต่ไม่ใช่แค่นั้น จะต้องมีปัญญารู้ความจริงด้วยว่า มันเป็นความถูกต้องชอบธรรมหรือไม่ในกรณีนั้นๆ ที่จะไปช่วยคนที่ว่าเดือดร้อน หรือจะไปยินดีส่งเสริมคนที่ว่ามีสุขสำเร็จ บางครั้งจะต้องรู้สึกซึ้งลงไปอีกว่าความจริงมันเป็นอย่างไรในเรื่องนั้นๆ

    เจ้าหมอนั่น ไปทำอะไรมา อ๋อ....นี่ไปลักขโมยเงินของเขามา จึงถูกจับและกำลังเดือดร้อนมีทุกข์ เราจะกรุณาสงสารช่วยปล่อยไป หรือว่าเขาทำการสำเร็จขโมยเงินได้มาก้อนใหญ่ เราจะมุทิตาพลอยยินดี สนับสนุนได้ไหม นี่ถ้าว่าตามหลักสามข้อแรก ก็ถูกใช่ไหม ตอนนี้แหละคือ ถ้าไม่มีปัญญา ก็ได้แค่สงสารไปช่วยออกมา หรือดีใจตามไปสนับสนุน อย่างนี้ยังไม่พอที่จะให้สังคมอยู่ได้

    จึงต้องมีปัญญารู้ลึกลงไปอีกว่า ที่เขาทำมาได้มาอย่างนี้ ความจริงของเรื่องเป็นอย่างไร เป็นความถูกต้องหรือไม่ จะเกิดผลเสียอย่าไรหรือไม่แก่สังคม หรือ แม้แต่ชีวิตของเขาเอง การได้เงินมาในทางไม่ดีนี้ ก็อาจจะก่อผลเสีย เป็นเครื่องบั่นทอนชีวิตของเขาเอง กลายเป็นนิสัยเสีย ไม่ตั้งใจทำมาหากิน ตกอยู่ในความประมาท สังคมก็เสีย ชีวิตก็เสีย เพราะฉะนั้น เราจะอยู่แค่กับความรู้สึกไม่ได้ จะต้องมีความรู้เข้าใจความจริง คือ มีปัญญากำกับด้วย

    ตอนนี้แหละที่ว่า ต้องมีปัญญารู้ว่าการที่จะทำจะปฏิบัติการอะไรด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา ในกรณีนั้นๆ มีความจริงเป็นอย่างไร เป็นการถูกต้องชอบธรรมหรือไม่ เมื่อรู้ความจริงแล้ว ก็จะได้ปฏิบัติจัดดำเนินการไปโดยให้เป็นไปตามความถูกต้อง เพื่อรักษาธรรม เพื่อประโยชน์แก่สังคม และเพื่อประโยชน์ที่แท้จริงแก่ชีวิตของเขาเองในระยะยาว

    เขาไปก่ออาชญากรรมมา ไม่ถูกต้อง เป็นผลเสียแก่ชีวิตของตัวเขาเองด้วย สังคมก็เดือดร้อนด้วย ต้องแก้ไข เขาถูกจับก็เดือดร้อนเป็นทุกข์ แต่ถ้าเราไปกรุณาสงสารแล้วปล่อยออกมาจากคุก ก็ไม่ถูกต้อง เขาถูกจับก็ต้องถูกจับ อันนี้เป็นไปตามหลักความจริงความถูกต้อง ปฏิบัติการด้วยกรุณาไม่ได้ ตอนนี้ท่านใช้คำว่า ต้องหยุดขวนขวาย ในการที่จะทำตามสามข้อต้น เพราะจะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามปัญญาที่รู้ความจริง ความถูกต้องนั้น

    การที่หยุดระงับความขวนขวาย ไม่ทำตามสามข้อต้น เพื่อจะปฏิบัติให้ถูกต้องตามปัญญาที่รู้ความจริงความถูกต้องนั้น ก็คือข้อ 4 ที่เรียกว่า อุเบกขา ซึ่งสำคัญมาก ตั้งอยู่บนฐานของปัญญา เป็นจุดประสานเข้าสู่ดุลยภาพ ระหว่างความรู้ กับ ความรู้สึก หรือ เอาความรู้ มาปรับดุลความรู้สึกให้ลงตัว พอดี

    สามตัวแรก (เมตตา กรุณา มุทิตา) เป็นความรู้สึกที่ดี แต่ถึงจะเป็นความรู้สึกที่ดี ก็เลยเถิดได้

    ส่วนอุเบกขา แม้จะเป็นความรู้สึก แต่เป็นความรู้สึกที่ตั้งอยู่บนฐานของปัญญา คือมีปัญญามาให้ความรู้ แล้วความรู้ก็มาปรับความรู้สึกให้เข้าดุล ก็เป็นอุเบกขาขึ้นมา ซึ่งมีลักษณะลงตัว พอดี เข้าที่ เรียบ สงบ เป็นกลาง

    อาการที่วางตัวเป็นกลาง หรือมีความเป็นกลางนี้ ในแง่หนึ่งก็เป็นการหยุด ไม่ขวนขวายตามกรุณา หรือมุทิตา ไม่ไปช่วยขัดขวางตำรวจที่จับมา ไม่แสดงความยินดีชื่นชมที่เขาลักขโมยมาได้สำเร็จ

    การไม่ขวนขวายนี้ บางทีก็เรียกให้สั้นว่า เฉย หรือ วางเฉย แต่ไม่ใช่เฉยเฉยๆ หรือเฉยเมย แต่เฉยเพราะจะรักษาธรรม คือ เปิดโอกาสแก่ธรรม ที่จะว่ากันไปหรือจัดการกันไปตามธรรม ตามระเบียบแบบแผน กติกา กฎหมาย ฯลฯ นี่แหละคือข้ออุเบกขา

    ต้องระวัง ที่คนไทยเราแปล อุเบกขา ว่า เฉย บอกแล้วว่า เฉยในที่นี้ คือ ไม่ขวนขวายตาม 3 อย่างแรก ในกรณีที่จะเสียธรรม หรือจะทำให้เกิดความไม่ถูกต้อง คือ ไม่ขวนขวาย เพราะถ้าขวนขวายไปแล้ว จะไม่ถูกต้อง ก็จึงหยุดขวนขวาย

    แต่คนไทย แปลว่า เฉย นั้น มักว่ากันไปโดยไม่ค่อยรู้เข้าใจ หรือไม่ค่อยอธิบายกันให้ชัด ทำให้เข้าใจผิดเพี้ยน กลายเป็นเฉยเมย เฉยเมิน เฉยมึนงง เฉยเฉื่อยแฉะ จนถึงเฉยโง่ ก็เลยเสียหาย

    ตัวคำว่า อุเบกขาเอง ในภาษาพระท่านก็ให้ระวังอยู่แล้ว ท่านจำแนกแยกอุเบกขาไว้ถึง 10 อย่าง ว่าอย่างรวบรัด ก็แบ่งเป็นฝ่ายดี กับ ฝ่ายร้าย

    พูดกันง่ายๆ ก็ถามว่า อุเบกขาที่ว่าเฉยนั้น เฉยเพราะอะไร ง่ายที่สุด คือ เพราะรู้ กับ เพราะไม่รู้

    คนไม่รู้ก็เฉย เพราะแกไม่รู้เรื่องไม่รู้ราว อะไรเกิดขึ้นก็ไม่รู้ ก็เลยเฉย เรียกว่าเฉยไม่รู้เรื่อง แล้วก็ไม่เอาเรื่อง แล้วก็ไม่ได้เรื่อง เฉยอย่างนี้ พระท่านเรียกว่า อัญญาณุเบกขา แปลว่า เฉยโง่ เป็นอกุศล เป็นบาป

    ส่วนอีกเฉยหนึ่ง เป็นความเฉยด้วยปัญญา คือรู้เข้าใจ พอรู้แล้วก็วางตัวได้พอดี หรือลงตัวเข้าที่ เพราะมองเห็นแล้วว่า เราจะปฏิบัติการอะไร อย่างไร เมื่อไร จึงจะไปสู่จุดหมายแห่งความลุรอดปลอดภัย ให้เกิดความถูกต้อง ความดีงาม ฯลฯ ตอนนี้ก็เลยอยู่ในลักษณะเฉย หรือวางตัวเรียบสงบไว้ หรือเป็นกลางไว้

    บางทีการเฉยก็เป็นการเตรียมพร้อมอย่างหนึ่ง เหมือนอย่างเกิดสถานการณ์ร้ายขึ้นมา คนไม่รู้เรื่องรู้ราว ก็เฉย คนที่รู้ครึ่งไม่รู้ครึ่งก็โวยวายโว๊กว้ากไป

    แต่คนที่รู้เข้าใจสถานการณ์ชัดเจน และมองออกว่า เมื่ออะไรเกิดขึ้น เราจะดำเนินการอย่างไร ขั้นตอนเป็นอย่างไร เขาอาจจะเตรียมการพร้อมอยู่ในใจ ว่าถึงขั้นตอนนั้นๆ จะทำอย่างนั้นๆ คนนี้ก็ดูเฉยเหมือนกัน


    ความเฉยด้วยปัญญานี้ เป็นอุเบกขา ในความหมาย ของพรหมวิหารข้อที่ 4 คือ เฉยด้วยปัญญาที่รู้เข้าใจความจริง และจะรักษาธรรม ความถูกต้อง ในเมื่อการทำตามสามข้อแรกในกรณีนั้นๆ ปัญญาบอกว่าผิด เป็นความไม่ถูกต้อง เสียความเป็นธรรม เมื่อปัญญาบอกอย่างนั้น เราก็หยุด ก็เลยทำให้เราเฉยด้วยอุเบกขานี้ ก็จึงบอกว่าอุเบกขา ตั้งอยู่บนฐานของปัญญา


    (จะเห็นว่า ผู้พิพากษาต้องมีอุเบกขานี้เป็นหลักดำรงตังที่สำคัญมาก เพราะเป็นตัวคุมทั้งหมด ไม่ให้ความรู้สึกเข้ามาครอบงำจิตใจ ไม่ต้องพูดถึงความรู้สึกฝ่ายร้าย เช่น ความรู้นึกเกลียดชัง โทสะ เท่านั้น ที่จะทำให้เสียความเป็นธรรม แม้แต่ความรู้สึกที่ดี มีเมตตา กรุณา มุทิตา ก็ต้องไม่ยอมให้มาเป็นตัวครอบงำ ไม่ให้มีอำนาจบังคับจิตใจจะต้องให้ปัญญาบอกไปตามที่เป็นจริง อันนี้ เป็นหลักการที่สำคัญ

    ในพระไตรปิฎก ตอนที่บรรยายอุเบกขาบารมีของพระโพธิสัตว์ ท่านก็อธิบายด้วยคำว่า “ตุลา” คือบอกว่า พระโพธิสัตว์นั้น ไม่ว่าจะประสบอิฏฐารมณ์ (อารมณ์ที่น่าปรารถนา) หรืออนิฏฐารมณ์ (อารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา) เขาจะทำร้าย หรือจะเอาใจ ก็ไม่หวั่นไหว ไม่เอนเอียง อยู่ในธรรม เที่ยงตรง คงที่ สม่ำเสมอ (ดูความหมายตุลาการ)

    เพราะฉะนั้น ผู้พิพากษาจะต้องมีพรหมวิหารครองตนครบทั้งชุดในขณะนั้น มิใช่มีเมตตา กรุณา มุทิตา แต่มีทั้งหมด คือ มีความเป็นมิตร มีความปรารถนาดี ทั้งต่อคนร้าย ต่อจำเลย และต่อโจทก์ มีทั้งนั้น แต่ความปรารถนาดีนั้น ถูกจำกัดควบคุมหรือถูกพักงานด้วยปัญญาที่รู้ความจริง ความถูกต้อง และตั้งท่าทีเป็นอุเบกขา ที่จะรักษาความเป็นธรรม

    เรามิได้คิดร้ายต่อใครทั้งนั้น แม้จะตัดสินลงโทษจำเลย ก็ไม่ได้ตัดสินลงโทษเพราะความเกลียดชัง เรายังมีความเป็นมิตร มีเมตตาต่อเขาในความเป็นมนุษย์ อาจจะปรารถนาในระยะยาวด้วยซ้ำว่า ถ้าเธอไม่ถูกลงโทษ จะไม่มีโอกาสแก้ไขความประพฤติ แล้วชีวิตของเธอก็จะตกต่ำ จะเป็นชีวิตที่ไม่ดี ไม่มีการพัฒนา ทั้งเสียต่อตนเอง และเสียต่อผู้อื่น

    เพราะฉะนั้น ก็มีเมตตาต่อสังคม ต่อมนุษย์อื่นๆ และเมตตาแม้ต่อจำเลย มีกรุณา มีมุทิตาพร้อมหมด แต่มีอุเบกขาเป็นตัวคุมให้อยู่ในธรรม ที่จะรักษาธรรม อย่างน้อยรักษาบัญญัติธรรม แต่ก็ด้วยจริยธรรม โดยเข้าใจไปถึงสภาวธรรม

    เป็นอันว่า ผู้พิพากษาต้องมีพรหมวิหาร 4 โดยมีอุเบกขาเป็นคุณสมบัติสำคัญที่สุด ในฐานะเป็นผู้ที่จะดำรงรักษาสังคมให้อยู่ได้ด้วยดีเพื่อให้อุเบกขานั้น เป็นตัวตรึง เป็นตัวรักษาดุล ที่จะให้ทุกอย่างดำรงอยู่และดำเนินไปในความถูกต้อง ประสานบรรจบเป็นอันเดียวกับธรรม)
     
  5. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    หลักประกันสันติสุข อยู่ที่พรหมวิหาร ตั้งแต่เลี้ยงดูลูกในบ้าน จนถึงอภิบาลคนทั้งโลก

    พรหมวิหาร ๓ ข้อแรก เป็นความดีที่ว่า ถ้าไม่คุมให้ดี อาจจะพาคลาดเคลื่อนจากความจริงและความถูกต้องไปได้ แม้แต่พ่อแม่ก็พลาดกันบ่อย เริ่มตั้งแต่ข้อแรก พ่อแม่มีเมตตามากจนเสียดุล ไม่รู้จักอุเบกขา เลยเลี้ยงลูกเสียคนไปก็มี

    ท่านให้มีเมตตาไว้ เพื่อสร้างความรู้สึกที่ดีงาม เมตตาอันเป็นความรู้สึกที่ดีนี้แผ่กระจายออกไปยังลูกๆ เมื่อลูกได้รับความรู้สึกที่ดี ก็มีความประทับใจ และมีความรู้สึกที่ดีมีเมตตาเกิดขึ้นด้วย ใจก็โน้มไปในทางดีที่จะมีเมตตาต่อคนอื่นขยายออกไป ตั้งแต่รักพี่น้องและญาติทั้งหลาย เมตตาแผ่ขยายออกไปเรื่อยๆ ความเป็นมิตรมีความปรารถนาดีต่อกันในสังคมมนุษย์ก็แผ่ขยายออกไปด้วยการเริ่มต้นที่พ่อแม่

    แต่ทีนี้ พ่อแม่ปฏิบัติผิด มีแต่เมตตากรุณา จนกลายเป็นเอาใจลูกตามใจลูก เมตตากรุณามากไป เสร็จแล้ว แทนที่ลูกจะมีเมตตาต่อผู้อื่นขยายออกไป เรื่องตีกลับกลายเป็นว่า เขาเคยตัวกับการที่จะได้รับการเอาใจตามใจ คราวนี้เอาใจตามใจเท่าไรก็ไม่พอ เขาเดินหน้าไปสู่การเรียกร้อง แทนที่ว่าเราใส่ใจเขา แล้วเขาจะใส่ใจเราและใส่ใจคนอื่นต่อๆไป กลับกลายเป็นว่า เราเอาใจเขา แล้วเขาก็เอาแต่ใจเขา

    พอเริ่มผิดทาง เขาเอาแต่ใจตัวเขาเองแล้ว เขาก็ก้าวต่อไปกลายเป็นนักเรียกร้อง ทีนี้ เขาก็ไม่เมตตาคนอื่นแล้ว แต่ตรงข้าม คราวนี้ เขามีโทสะง่าย ไม่ได้อะไร ใครไม่ตามใจนิดหน่อย ก็หงุดหงิด โกรธเคือง เป็นคนโทสะแรงไปเลย การปฏิบัติธรรมเสียหลัก ผิดวัตถุประสงค์ไปหมด

    เพราะเหตุที่ว่านั้น ท่านจึงให้มีอุเบกขาไว้ดูและและคุมความพอดี พ่อแม่เลี้ยงลูก พอมีอุเบกขาคุม เมตตาก็จะไม่พาไปไถลเลยเถิด แต่อุเบกขาจะดูไปด้วยว่า เออที่เราทำนี่ถูกต้องแน่หรือ

    ความถูกต้องจะอยู่ได้ด้วยมีอุเบกขาคุมไว้ โดยปัญญาจะบอกให้ว่า เออ ลูกนี่ ต้องมีความถูกต้อง ต้องอยู่ในความเป็นธรรมด้วย นอกจากนั้น เราไม่ได้อยู่กับเขาตลอดไปนะ เราจะอยู่ทำให้เขาตลอดเวลาข้างหน้าไม่ได้ ต่อไป เขาจะต้องรับผิดชอบตัวเอง ต้องทำด้วยตัวเขาเอง เรื่องนี้ๆ ถ้าเขายังทำไม่ถูกต้องทำไม่เป็น แล้วต่อไป เมื่อถึงเวลาเขาจะต้องรับผิดชอบตัวเองแล้วทำไม่ถูกทำไม่เป็น เขาจะอยู่ได้อย่างไร ตอนนั้น เขาจะไม่มีเราอยู่ด้วยแล้ว เขาจะอยู่ได้อย่างไร

    เมตตาพาคนดีมีน้ำใจให้มาเอื้อเฟื้อเกื้อหนุน ส่วนอุเบกขาก็พาเอาปัญญามานำไปหาธรรมที่จะรักษาความถูกต้องและพอดี

    ถึงตอนนี้ อุเบกขาซึ่งประกอบด้วยปัญญา ก็จะบอกพ่อแม่ว่า เออ ถ้าอย่างนั้น เราต้องเตรียมเขาให้พร้อมไว้นะ จะทำอย่างไรล่ะ อ๋อ ตอนนี้ ก็คือโอกาสีที่เขาจะได้ฝึกตัวโดยมีพ่อแม่คอยช่วยเป็นที่ปรึกษาให้ นี่คือ โอกาสทอง อย่าให้พลาดไปเสีย เอาละ เริ่มฝึกกันเลย

    นี่คือ ท่านให้อุเบกขาไว้เพื่อจะมารักษาดุลว่า ชะลอๆ หยุดบ้างนะ อย่าทำให้ลูกอย่างเดียว แต่ดูให้ลูกทำด้วย พอมีอุเบกขา ก็คือดูว่า เออ ต่อไปลูกเราจะต้องทำอะไรเป็นบ้าง ควรจะเก่งในเรื่องอะไร แล้วก็เตรียมเลย ให้เขาฝึกหัดทำ โดยเราเป็นที่ปรึกษา

    อุเบกขา” แปลว่า ดูอยู่ใกล้ๆ (อุป+อิกข = อุเบกขา) หรือคอยมองดูอยู่ ตอนนี้ เราอยู่ด้วย ก็เป็นโอกาสดี เพราะต่อไป ถ้าเขาไปทำเองฝึกเอง ไม่มีผู้ที่จะเป็นที่ปรึกษา ไม่มีใครช่วยแนะนำ เขาก็ทำยากลำบาก และไม่สมบูรณ์ เราก็ให้เขาฝึกโดยเราคอยดูอยู่ เป็นที่ปรึกษาและช่วยแก้ช่วยเติม เขายังทำไม่เป็น ถ้าเขาทำไม่ถูก ทำไม่ได้ผลดี ทำติดขัด เราก็จะได้ช่วยแนะนำบอกให้ เมื่อลูกได้ฝึกได้หัดทำเอง ก็จะทำให้ลูกเก่งจริงๆ แล้วก็ฝึกกันในบรรยากาศแห่งความรักด้วย

    ตอนนี้มีครบหมด ทั้งเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ใช้ครบในตอนที่ลูกฝึกตัวนี่แหละ เป็นการศึกษาอย่างแท้เลยทีเดียว แล้วลูกก็จะเก่ง จะดี มีความสุขความสามารถจนเป็นที่น่าพอใจ

    จึงต้องบอกว่า ความเป็นพ่อแม่จะสมบูรณ์ต่อเมื่อมีอุเบกขา ถ้ามีแต่เมตตา กรุณา มุทิตา ก็ได้ด้านความรู้สึกอย่างเดียว เสี่ยงต่อการที่ลูกจะอ่อนแอ ยิ่งสุดโต่งไปเอาใจกันนัก ก็ไม่ไปไหน ดีไม่ดีแม้แต่ด้านจิตใจก็จะพลอยเสียไปด้วย แทนที่ลูกจะมีเมตตา กรุณา มุทิตา ก็กลับกลายเป็นคนเอาแต่ใจ เอาใจยาก หรือเจ้าโทสะไปเลย

    แต่ถ้ามีอุเบกขาด้วย ลูกก็ได้ทั้งจิตใจดีงาม ทั้งมีปัญญา ได้ฝึกตัวดีมีความสามารถ ครบเลย ทั้งเก่ง ทั้งดี แล้วก็มีความสุข

    รวมแล้ว ตั้งแต่ในครอบครัวออกไปจนถึงสังคมใหญ่ ในหมู่คน ชุมชน องค์กร วงงาน กิจการทั้งหลาย จะร่วมอยู่ร่วมงานกันดี ก็ต้องมีพรหมวิหารครบทั้งสี่ประการ

    ก็บรรดาสมาชิก คือผู้เป็นส่วนร่วม หรือเป็นองค์ประกอบของสังคม ทุกคนปฏิบัติต่อกันถูกต้องตามสถานการณ์ สังคมก็คงอยู่ได้ในดุล และสงบสุขมั่นคง


    (โดยเฉพาะผู้พิพากษานี้ เป็นผู้มีหน้าที่ผดุงสังคมในวงกว้างระดับประเทศชาติ เป็นผู้ทำให้กฎหมายมีผลชัดเจนเด็ดขาดขึ้นมา ก็จึงต้องใช้อุเบกขาเป็นตัวคุมสำคัญที่สุด เพื่อรักษาธรรมไว้ให้แก่สังคม ไม่ว่าจะเรียกว่า ความเป็นธรรม ความยุติธรรม ความชอบธรรม หรืออะไรธรรม ก็คือธรรมนั่นแหละ ต้องมีอุเบกขาเป็นตัวยืนที่จะรักษา แต่ก็ไม่ปราศจากเมตตา กรุณา มุทิตา อย่างที่ว่าแล้ว

    นี่แหละคือหลักธรรมสำคัญ สำหรับประจำจิตใจของผู้พิพากษาเป็นอันว่ามีพรหมวิหารครบ ๔ โดยมีอุเบกขาเป็นตัวคุม หรือตั้งไว้เป็นหลักเป็นแกนที่จะคุม)

    ตามที่ว่านี้ กลายเป็นว่า อุเบกขานี้ เหมือนจะสำคัญยิ่งกว่าเมตตา กรุณา มุทิตา แต่จะต้องเข้าใจความหมายให้ถูกต้อง

    ในสังคมไทยเรานี้ นับว่าเป็นอันตรายอย่างยิ่ง ที่คนทั่วไป หรือส่วนใหญ่ทีเดียว ไม่มีความเข้าใจ หรือมักเข้าใจผิดในเรื่องอุเบกขาแล้วก็ไม่เฉพาะอุเบกขาเท่านั้น แต่เข้าใจผิดพลาดคลาดเคลื่อนมากบ้างน้อยบ้างทั้ง ๔ ข้อเลย จึงน่าจะย้ำเตือนกันให้หนักว่า เมื่อเราพูดถึงอะไร จะต้องมีความรู้ความเข้าใจชัดเจนในเรื่องนั้น


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มิถุนายน 2015
  6. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ืั้4 ความหมายของ ตุลา # 4 (ในพระไตรปิฎก ตอนที่บรรยายอุเบกขาบารมีของพระโพธิสัตว์ ท่านก็อธิบายด้วยคำว่า “ตุลา”....)



    ในแง่ความหมายของถ้อยคำ ที่่โยงไปถึงธรรม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในเชิงปฏิบัติ ในที่นี้ ขอกล่าวไว้ ๔ ความหมาาย

    ๑. "ตุลา" แปลว่า เที่ยงตรง คงที่ เท่ากัน สม่ำเสมอ ความหมายนี้มีในพระไตรปิฎก ท่านใช้อธิบายการบำเพ็ญอุเบกขาบารมีของพระพุทธเจ้าว่า พระโพธิสัตว์ถืออุเบกขา ดำรงอยู่ในธรรม โดยมีความสม่ำเสมอ คงที่ เป็นอย่างเดียวกัน ไม่เอนเอียงไหวโอนขึ้นๆลงๆ ไปกับความชอบใจหรือขัดใจ ใครจะนอบนบเคารพไหว้หรือใคราจะด่าจะหยามเหยียด ใครจะบำเรอสุข หรือใครจะก่อทุกข์ให้ เหมือนดังผืนแผ่นดิน ซึ่งไม่ว่าใครจะใส่ฝังของดีมีค่าของสะอาดหรือใครจะเทราดสาดของสกปรกลงไป ก็คงที่สม่ำเสมอทั้งหมด (เช่น ขุ.ทุทฺธ.๓๓/๑๘๒/๔๓๒...) ทั้งเป็นกลาง และเป็นเกณฑ์ คือ ไม่เอนเอียง ไม่ตกเป็นฝักฝ่าย ไม่เข้าใคร ออกใคร และถือธรรมดำรงธรรมมีธรรมเป็นมาตรฐานที่จะยึดเป็นแบบหรือใช้ตัดสิน ความหมายนี้ จะเห็นว่าตรงกับเรื่องอุเบกขา

    ๒. "ตุลา" แปลว่า ตาชั่ง ตราชู คันชั่ง ในแง่นี้ งานของผู้พิพากษา คือ การเป็นเครื่องวัด เป็นเกณฑ์วัด หรือเป็นมาตรฐานที่ตัดสินความถูกต้อง หรือเป็นเหมือนผู้ถือ ผู้ยก ผู้ชูคันชั่ง (ภาษาบาลีใช้คำว่า "ตุลาธาร" คือผู้ทรงไว้ซึ่งตุลา) ซึ่งทำหน้าที่ชั่งวัด เบื้องแรกย่อมรู้ความยิ่งหรือหย่อน ขาดหรือเกิน ถูกหรือผิด แล้วก็จะต้องประคองธำรงรักษาให้ตราชั่งเสมอกัน เท่ากัน ให้คันชั่งเที่ยง ตรงแน่ว เสมอกันเป็นนิตย์

    ๓. "ตุลา" แปลว่า ตราชู นี้ ในพระไตรปิฎกบางแห่ง หมายถึง บุคคลที่เ็ป็นตัวแบบ เป็นเกณฑ์วัด หรือเป็นมาตรฐาน (ในข้อก่อน หมายถึงงาน ข้อนี้หมายถึงบุคคล) เช่น พระพุทธเจ้าตรัสถึงพระสาวกในพุทธบริษัททั้ง ๔ (เช่น องฺ.จตุกฺก.๒๑/๑๗๖/๒๒๒) เริ่มด้วยบรรดาภิกษุสาวก ว่ามีพระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะ เป็นตุลา ส่วนในหมู่ภิกษุณีสาวิกา ก็มี พระเขมา และพระอุบลวรรณา เป็นตุลา แล้วในหมู่อุบาสกสาวก ก็มีตุลา ๒ คน (จิตตะคฤหบดี และหัตถกาฬวกะ) เช่นเดียวกับในหมู่อุบาสิกาสาวิกา ก็มีอุบาสิกา ๒ คน เป็นตุลา (นางขุขชุตตรา และเวฬุกัณฎกีนันทมารดา)

    ผู้พิพากษา ในฐานะตุลาการ เป็นตุลา คือ เป็นตราชู เป็นตัวแบบ เป็นมาตรฐานซึ่งตั้งไว้เป็นหลักเป็นเกณฑ์ที่คนทั้งหลายจะพึงพัฒนาตนหรือประพฤติปฏิบัติตัวให้เสมอเสมือน คือมีธรรมเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่น จะเรียกว่าเป็นยอดสุดของสังคมก็ได้

    ๔. "ตุลา" นั่นแล ได้มาเป็น "ตุลาการ" ซึ่งแยกศัพท์ได้ ๒ อย่าง คือ เป็น ตุลา+อาการ หรือ ตุลา+การ

    อย่างแรก ตุลา+อาการ แปลว่า ผู้มีอาการดังตุลา หมายความว่า มีความประพฤติ มีการปฏิบัติตัว หรือดำเนินงานทำกิจการเหมือนเป็นตุลา ในความหมายอย่า่งที่กล่าวแล้ว คือ เหมือนเป็นตราชู ตาชั่ง ที่รักษา ตัดสิน และบอกแจ้งความถูกต้องเที่ยงตรง

    อย่างที่สอง ตุลา+ การ แปลว่า ผู้ทำตุลา (ผู้ทำดุล) หรือผู้สร้างตุลา (ผู้สร้างดุล) หมายความว่า เป็นผู้ทำให้เกิดความเท่ากัน เสมอกัน ความลงตัว ความพอดี ความสมดุล หรือดุลยภาพ ซึ่งในที่นี้มุ่งไปที่ความยุติธรรม


    อย่างไรก็ดี ตุลา หรือ ดุล นี้ มีความหมายกว้างออกไปอีก คือ ธรรมนั้น ไม่ว่าจะเป็นความยุติธรรม ความเป็นธรรม ความถูกต้องชอบธรรม หรืออะไรในทำนองนี้ก็ตาม เมือยังดำรงอยู่ ยังเป็นไปอยู่ในชีวิต และสังคม ก็จะทำให้มีดุล คือทำให้ชีวิตและสังมอยู่ในภาวะที่มีความประสานสอดคล้อง ลงตัว พอดี มีดุลยภาพ ซึ่งหมายถึงความมั่นคงมีสันติสุข ผู้พิพากษาเป็นตุลาการ คือเป็นผู้สร้างดุลนี้ให้แก่สังคม

    ตุลา ดุล หรือ ดุลยภาพ นี้ สำคัญอย่างไร เห็นได้ไม่ยากว่า ดุลยภาพนีี่แหละ ทำให้มีความมั่นคง และทำให้ดำรงอยู่ได้ยั่งยืน เช่น เราสร้างอาคาร หรือสิ่งก่อสร้างหนึ่งขึ้นมา ถ้าส่วนประกอบทั้งหลายประสานสอดคล้อง เข้ากัน ลงตัว พอดี ที่เรียกว่าได้ดุล ก็จะเป็นหลักประกันในขั้นพื้นฐานว่าอาคารหรือสิ่งก่อสร้างนั้น จะมั่นคงดำรงอยู่ได้ดี แต่ถ้าเสียดุล เช่น แม้จะมีเสาที่แข็งแรงมาก แต่เสานั้นเอนเอียง แค่นี้ อาคารเป็นต้นนั้น ก็อาจจะพังลงได้ง่ายๆ

    ธรรม ทำให้ทุกอย่างเข้าที่ ลงตัว ได้ดุล หรือมีดุลยภาพ ในเมื่อธรรมนั้นกว้างขวางซับซ้อนนัก แต่ธรรมนั้นก็อยู่ในระบบสัมพันธ์ถึงกันทั้งหมด หลักธรรมต่างๆ ที่ท่านจัดไว้ ก็เป็นระบบย่อยที่โยงต่อไปทั่วถึงกันในระบบรวมใหญ่ เมื่อพูดถึงหลักธรรมสักชุดหนึ่ง ก้จึงโยงถึงกันกับธรรมอื่นได้ทั่วทั้งหมด และในที่นี้ ก็ได้ยกหลักธรรมสำคัญชุดหนึ่งมาเน้นย้ำไว้แล้ว คือ หลักพรหมวิหาร ๔

    หลักพรหมวิหาร ๔ นั้น เป็นระบบแห่งดุลยภาพครบบริบูรณ์อยู่ในตัว เราจะต้องปฏิบัติต่อเพื่อนร่วมสังคมให้ถูกต้องอย่างได้ดุลตามระบบนั้น ดังที่ได้อธิบายแล้วว่า ยามเขาอยู่ดีเป็นปกติ เราเมตตา ยามเขาทุกข์ เรากรุณา ยามเขาสุขสำเร็จ เรามุทิตา ยามเขาจะต้องรับผิดชอบตามธรรม เราอุเบกขา

    การปฏิบ้ติทางสังคมอย่างถูกต้องครบตามสถานการณ์ษเหล่านี้ เป็นการรักษาดุลยภาพอยู่ในตัวแล้ว แต่หลักพรหมวิหาร ๔ นี้ ยังเป็นระบบพิเศษที่สร้างดุลยภาพกว้างออกไปอีกชั้นหนึ่งด้วย คือข้อที่ ๔ นอกจากเป็นตัวดุลให้อีกสามข้ออยู่ในภาวะพอดี เป็นระบบดุลยภาพในชุดของมันเองแล้ว มันยังเป็นภาวะได้ดุลหรือภาวะมีดุลยภาพของจิตใจ อันเป็นฐานที่จะสร้างดุลยภาพชีวิต และดุลยภาพของสังคมทั่วทั้งหมดด้วย

    เมื่อพูดให้จำเพาะ จับที่หลักพรหมวิหาร ซึ่งเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษาโดยตรง ก็อาจจะให้ความหมายของ "ตุลาการ" ได้อย่างสั้นๆว่า คือ ผู้สร้างดุลให้แก่สังคมด้วยพรหมวิหาร ๔ ประการ

    เมื่อผู้พิพากษาปฏิบัติหน้าที่ของตุลาการเต็มตามความหมายทั้ง ๔ ดังที่กล่าวมา ก็ย่อมรักษาธรรม และดำรงสังคมไว้ได้ แต่่มิใช่เฉพาะผู้พิพากษาเท่านั้น มนุษย์ทุกคนมีหน้าที่ในการรักษาความดีงามให้แก่สังคม รักษาธรรมไว้ให้แก่สังคม และรักษาสังคมให้ดำรงอยู่ในธรรม เพราะฉะนั้น ทุกคนจะต้องปฏิบัติตามธรรมนี้ โดยมีผู้พิพากษา คือตุลาการ เป็นตราชู เป็นแบบอย่างให้

    สถานะที่ว่านั้น เท่ากับอกไว้ในที่นี้ ถึงความสำคัญองผู้พิพากษาคือตุลาการ ว่าเป็นมาตรฐานของสังคม และในเมื่อธรรมเป็นสิ่งสูงสุด เมื่อพิพากษาเป็นผู้ทำหน้าที่รักษาธรรม จะเรียกผู้พิพากษาว่าเป็นบุคคลในระดับยอดสุดของสังคม ก็ย่อมได้

    สังคมนี้จะอยู่ได้ ถ้าตุลาการยังเป็นหลักให้ ถึงแม้สังคมจะเสื่อมลงไปแค่ไหนๆ ถ้าตุลาการยังมั่นอยู่ ถึงอย่างไร ก็ยังมีความหวัง แต่ถ้าที่มั่นนี้หมดไป สังคมก็ล่มสลายแน่ เพราะฉะนั้น จึงต้องช่วยกันรักษาไว้

    ในที่สุดก็เ็ป็นการย้ำถึงสถานะของผู้พิพากษาตุลาการ ที่ท่านเป็นบุคคลที่เรียกว่าสำคัญสุดยอดในสังคมที่จะต้องเป็นแบบอย่างดังที่บอกแล้วว่า เราเรียกว่าตราชู

    ในสังคมทุกยุคทุกสมัย จะต้องมีตุลา และเราก็ได้นำเอาคำนี้มาใช้อยู่แล้ว เพราะฉะนั้น ก็จะต้องทำให้สมจริง ดังที่เรามีตุลาการอยู่ และก็ขอให้เรามีต่อไป

    ขอให้ตุลาการ อยู่ยั่งยืนนาน ยั่งยืนทั้งในสถานะแห่งระบบการและยั่งยืนด้วยหลักการ คือ ธรรมที่ทำให้เิกิดความเป็นตุลาการทีแท้จริง

    [​IMG]
     
  7. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    พรหมวิหาร4 ในพระพุทธศาสนา หมายเอา เป็นเพียงสภาวะธรรมเสมอขี้ครอก เกิด แล้วก็ดับ

    มีเมตตา เมตตาเป็น สังขารา เกิดจาก อวิชชาเป็นปัจจัยการ ดังนั้น จึงเกิดแล้วก็ดับ

    มีกรุณา กรุณาเป็น สังขารา เกิดจาก อวิชชาเป็นปัจจัยการ ดังนั้น จึงเกิดแล้วก็ดับ

    มีมุทิตา มุทิตาเป็น สังขารา เกิดจาก อวิชชาเป็นปัจจัยการ ดังนั้น จึงเกิดแล้วก็ดับ

    มีอุเบกขา อุเบกขาเป็น สังขารา เกิดจาก อวิชชาเป็นปัจจัยการ ดังนั้น จึงเกิดแล้วก็ดับ


    ดุลยภาพ จึงเป็น สิ่งที่ลวงหลอกสรรพสัตว์มาช้านาน สำคัญว่า ทำอย่างนั้นแล้ว โลกมันเที่ยง

    ที่สำคัญว่าเที่ยง คือ มันเอาตัวมันเองเป็นศูนย์กลาง เห็นโลกแปรปรวน แต่ ตัวเอง เที่ยง ก็เลย
    อุปโลคคำขึ้นมาเป็น ทิฏฐิหลอกตัวเองว่า ตนเป็นผู้สร้างสรร พลวัตรของโลก เป็นผู้บรรดาลให้
    โลกเกิดสมดุลย ทั้งๆที่ สิ่งเหล่านั้นก็แปรปรวนไปตาม กฏแห่งกรรม กฏแห่งอิทัปจัยยตา ไม่ใช่
    เพราะ มันนั้งบันดาลให้โลกเป็นไป

    พระพรหม ร้อยละร้อย จึงแล่นสูานรก ไอ้ที่เกิดเป็น พรหมต่อได้มีน้อย ที่ลงมาเกิดต่อเป็นเทวดา
    มีน้อย ที่เกิดต่อเป็นมนุษย์ ยังยากเรือหาย ร้อยละร้อย สำคัญผิดในธรรม กล่าวตู่ธรรม แล้วตก
    นรกหมด !!!


    พรหมวิหาร4 ของ พระอริยะ ก็ กำหนดรู้ พรหมวิหาร เป็นสภาพธรรม เกิดแล้วก็ดับ หากกำหนดรู้กุศล
    ชั้นสูงว่าเป็นสิ่งเกิดแล้วก็ดับได้ อะไรที่หยาบกว่า ก็ไม่ต้องพูดถึง ย่อมสำรอกออกไปได้ไม่เหลือ

    พรหมวิหาร4 จึงเป็นสิ่งที่ยกขึ้น เพื่อตามเห็นความเกิด ความดับ เพื่อสาวไปหาเหตุของ สัพสังขารา

    ปัจจัย ของสรรพสังขารา ก็คือ อวิชชา ...................!!! คนโง่เท่านั้น ที่ไปนั่งอมพรหมวิหาร
    บอกว่า กูทรงได้ กูไม่เสื่อม จาติง้าว โดนอวิชชาแหกตาเอา !!!
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มิถุนายน 2015
  8. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    เรื่องแทรกพรหมวิหาร (deejai)

    เลิกหมักหมมคลุมเครือพร่ามัวไว้ในสังคมไทย (แทรกพรหมวิหาร) - ธรรมะสำหรับใช้ - นิพพานคืออะไร
     
  9. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    หลังจากอ่านเรื่องแทรกแล้ว (ถึงเป็นเรื่องแทรกแต่ก็เนื่องกับพรหมวิหาร) ศึกษาพรหมวิหารต่อ :cool:


    ข้างใน ใจก็กว้างใหญ่อย่างพรหม ข้างนอก ก็สมานทั้งสังคมไว้ในเอกภาพ


    แทรกเสียยืดยาว หันกลับมาที่หลักพรหมวิหาร เมื่อกี้ได้บอกแล้วว่า พรหมวิหารเป็นหลักธรรมชุดประจำใจ ถ้าจะให้สมบูรณ์และได้ผลจริง ต้องออกสู่ปฏิบัติการ ก็จึงต้องพูดกันหน่อยในเรื่องชุดปฏิบัติการนั้น

    หลักพรหมวิหารนั้นบอกแล้ว่า เป็นจริยะด้านภายในจิตใจ คราวนี้ ก็มีหลักชุดปฏิบัติการที่จะประกอบและกำกับเจตนาในการแสดงออกข้างนอก เป็นจริยะทางสังคม เหมือนมาประสานรับช่วงการทำงานต่ออกไปจากจริยะฝ่ายภายในนั้น

    (ระวังว่า จริยะที่นี้ มิได้หมายถึง จริยธรรม แบบฝรั่งที่เราพูดกันเวลานี้ ซึ่งเป็นเรื่องความประพฤติภายนอก และเป็นการปฏิบัติตามกฎกติกาที่เป็นบัญญัติเป็นข้อๆไม่อยู่ในระบบความสัมพันธ์)

    ชุดปฏิบัติการก็มี ๔ ข้อรับกัน เป็นชุดออกสู่สังคม ไม่ใช่ไปนอนแผ่เมตตาอยู่ในมุ้งอย่างเดียว แต่เป็นเมตตาที่ออกสู่ปฏิบัติการ จะออกมาอย่างไร นี่แหละ ที่จริงเราก็ได้ยินอยู่ แต่เราโยงไม่เป็น ก็จึงมองไม่เห็น

    ดูกันแบบตื้นๆ พระพุทธศาสนานี้ สอนหลักธรรมอะไรเป็นพื้นเบื้องต้น ชาวพุทธนั้น พอเริ่มทำบุญ ก็ทำทานก่อนเลยใช่ไหม ตักบาตรพระแต่เช้า ไปวัดก็ไปถวายภัตตาหาร แล้วก็เอาไทยธรรมไปถวาย และที่เดี๋ยวนี้นิยมกันนัก ก็คือ ถวายสังฆทาน ถวายกันจริงจังมาก

    นี่ก็แสดงว่า ชาวพุทธทำดี ไม่ใช่แค่นอนแผ่เมตตาแล้วนะ มีการปฏิบัติออกมาด้วย คือ ทาน การให้ จะเป็นปัญหาก็ในแง่อื่น เช่นว่าเฉไปทางทำทานด้วยหวังผลตอบแทนแก่ตน หรือทำทานเชิงไสยศาสตร์มากขึ้นๆ แทนที่จะทำทานเกื้อหนุนกันในสังคม (ตรงนี้ฝรั่งนั้นก็ไม่เห็นเสียอีก)

    พุทธศาสนาสอนธรรมข้อเริ่มแรกในภาคปฏิบัติ ก็คือทาน ที่จริงสอนแทบจะก่อนเมตตาด้วยซ้ำไป คือเอาที่ด้านปฏิบัติการก่อน สอนทานให้ให้แก่กัน ตั้งแต่ให้กันในครอบครัว ซึ่งที่จริงก็เป็นการประสานกันระหว่างด้านพฤติกรรม กับ ด้านจิตใจ ให้ทานมาเป็นช่องทางของเมตตา กรุณา พร้อมทั้งเป็นเครื่องเพิ่มแรงช่วยพัฒนาเมตตา กรุณา ในจิตใจนั้น แล้วก็ไม่ใช่ให้วัตถุเท่านั้น แต่มีธรรมทาน คือการให้ความรู้คำแนะนำสั่งสอนด้วย

    ทีนี้ ทานที่เป็นธรรมข้อแรกของภาคปฏิบัติการนี้ ก็อยู่ในชุดที่มาประสานเชื่อมต่อ กับ พรหมวิหารนี่แหละ คือมันเป็นฝ่ายปฏิบัติสนองรับช่วงงานให้แก่ชุดพรหมวิหาร ในการช่วยผดุงรักษาสังคมไว้ ให้เกิดความสามัคคี และความมั่นคง คือมาเป็นช่องทางที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขาจะออกมาสู่ปฏิบัติการในสังคม

    ทีนี้ ก็มาดูว่ามันจะประสานกันออกสู่ปฏิบัติการได้อย่างไร ก็

    ๑. ทาน การให้ นั่นแหละ เป็นข้อเริ่มต้น

    หนึ่ง ทานด้วยเมตตา คือ ตามปกตินี่เอง เรามีเมตตาปรารถนาดีต่อผู้อื่น เขาก็ไม่ได้เดือดร้อนมีทุกข์อะไร ลูกก็ไม่ได้เป็นทุกข์อะไร หรือเพื่อนก็ไม่ได้เป็นทุกข์อะไร แต่บางครั้ง เราก็ให้ด้วยความรัก ด้วยปรารถนาดี ด้วยไมตรีจิต ให้ของเล็กๆน้อยๆ แสดงน้ำใจ อย่างนี้ก็เรียกว่า ให้ทานด้วยเมตตา นี่คือเมตตามาออกที่ทานแล้ว

    สอง ทานด้วยกรุณา คือ ยามที่คนประสบภัยอันตราย เช่น ไฟไหม้ น้ำท่วม อัคคีภัย หรือเกิดอุบัติภัยอะไรขึ้นมาก็แล้วแต่ แล้วคนเดือดร้อน ตอนนี้ ทานที่ให้การช่วยเหลือทั้งหลาย จะเป็นเงินทอง ของใช้อะไรต่างๆ ก็เป็นการให้ด้วยกรุณา แสดงว่ากรุณามาออกที่ทานด้วย

    สาม ทานด้วยมุทิตา คือ บางทีบางคนได้ทำสิ่งที่ดีงาม ทำการสร้างสรรค์ที่เป็นประโยชน์แก่สังคม ประสบความสำเร็จในการกระทำนั้น เราก็ดีใจด้วย แล้วก็ส่งเสริมสนับสนุนด้วยทาน ถ้าเขาขาดเงิน เราก็เอาเงินไปช่วย ส่งเสริมอุดหนุนให้เขามีกำลังทำการสร้างสรรค์ที่ดีนั้นต่อไปได้ หรือยิ่งขึ้นไป นี่ก็ ให้ทานด้วยมุทิตา

    นี่ก็รับกันแล้ว พรหมวิหารในใจ ออกสู่ปฏิบัติการข้อที่หนึ่ง เรียกว่าทาน

    ๒. ปิยวาจา วาจาเป็นที่รัก ในข้อหนึ่งที่ผ่านมาแล้ว เมตตา กรุณา มุทิตา แสดงออกที่พฤติกรรมในการให้ ในข้อที่สองนี้ เมตตา กรุณา มุทิตา นั่นแหละ ก็มาแสดงออกที่พฤติกรรมในการพูดจา เรียกว่า ปิยวาจา คือ พูดดี พูดน่ารัก พูดคำสุภาพอ่อนโยน พูดด้วยน้ำใจรัก หรือพูดจามีน้ำใจ นั่นเอง แยกเป็น

    หนึ่ง ปิยวาจาด้วยเมตตา คือ ในยามปกติ ก็พูดจาอย่างเป็นมิตร มีน้ำใจไมตรี พูดคำสุภาพไพเราะ มีวาจาน่ารัก ตั้งแต่พูดกับลูก กับ พ่อแม่ พี่น้องในครอบครัว เป็นต้นไป แล้วก็เพื่อน ญาติมิตร และทุกคนในสังคม

    สอง ปิยวาจาด้วยกรุณา คือ ยามเขาทุกข์มีความเดือดร้อน ก็พูดจาปลอบโยน ให้กำลังใจ ให้คำแนะนำ ช่วยให้คำปรึกษาในการแก้ปัญหา ก็เป็นวาจามีน้ำใจด้วยกรุณา

    สาม ปิยวาจาด้วยมุทิตา คือ ยามเขาทำดีงามประสบความสำเร็จ ก็มุทิตาด้วยคำพูด ไปแสดงความยินดีด้วย พูดสนับสนุน อาจจะบอกกล่าวแก่ผู้คนทั้งหลาย เพื่อช่วยส่งเสริมยิ่งๆขึ้นไป เป็นวาจาส่งเสริม ปิยวาจาก็ทำได้ทั้งด้วย เมตตา กรุณา และมุทิตา

    ๓. อัตถจริยา บำเพ็ญประโยชน์ การแสดงออกของ เมตตา กรุณา มุทิตา ทางที่สาม ก็มาออกที่เรี่ยวแรงกำลังความสามารถต่างๆ ที่จะเอามาใช้ในการเกื้อกูลกัน และช่วยเหลือสังคมด้วย คือ

    หนึ่ง อัตถจริยาด้วยเมตตา คือใน ยามปกติ เราก็มีเรี่ยวแรงกำลังมีกิจหน้าที่ที่ต้องทำกันทุกคน ก็แค่แสดงน้ำใจต่อกัน เช่น เขามาหา เราก็ต้อนรับด้วยไมตรี เอาเก้าอี้มาให้นั่ง เอาน้ำมาให้ เป็นต้น

    สอง อัตถจริยาด้วยกรุณา คือ ในยามเขาทุกข์ยากเดือดร้อน เช่น เขาตกน้ำ เรามีกำลังดีว่ายน้ำแข็ง เราก็กระโดดลงไปช่วย หรือไปช่วยพาคนที่ติดในไฟไหม้ออกมา เป็นต้น

    สาม อัตถจริยาด้วยมุทิตา คือ ในยามที่เขาทำความดีกัน เราก็ไปช่วยไปร่วมทำประโยชน์ด้วยเรี่ยวแรงกำลังความถนัดความสามารถอย่างใดอย่างหนึ่ง อย่างสมัยก่อน เวลาวัดมีงาน ญาติโยมก็มาช่วยกันจัดเตรียมงาน มาสร้างโรง สร้างเต็นท์ จัดบริเวณพิธี ถึงสงกรานต์ก็ขนทรายเข้าวัด ฯลฯ รวมความว่า คนเขาทำความดีงามทำประโยชน์ มีกิจกรรมส่งเสริมอะไร เราก็เอาเรียวแรงกำลังของเราไปช่วย จะเป็นกำลังกาย เรี่ยวแรงปัญญา เรี่ยวแรงความสามารถอะไรมี ก็เอามาช่วยกัน

    รวมทั้งหมดที่ว่ามา ทานด้วยเมตตา ทานด้วยกรุณา ทานด้วยมุทิตา ปิยวาจาด้วยเมตตา ด้วยกรุณา ด้วยมุทิตา อัตถจริยาด้วยด้วยเมตตา ด้วยกรุณา ด้วยมุทิตา คือ ๓ * ๓ รวมเป็น ๙ สถานการณ์

    เสร็จแล้ว ก็คุมท้ายอีกที เมื่อกี้นี้ ในชุดพรหมวิหารนั้นคุมท้ายด้วยอุเบกขา คราวนี้ ในชุดสี่ของภาคปฏิบัติการ ที่คู่ กับ พรหมวิหาร ก็มีตัวคุมท้ายเป็นข้อที่ ๔ คือ

    ๔. สมานัตตตา มีตนเสมอสมาน ข้อสมานตัตตานี้ แปลตรงๆว่า ความมีตนเสมอ สมัยนี้ เรียกว่า ความเสมอภาค คือ มีตนเสมอเท่าเทียมกัน ข้อนี้ เป็นที่รวม แต่เน้นการแสดงออกของอุเบกขา มุ่งความเป็นธรรม

    สมานตัตตา คือ ความเสมอภาคเท่าเทียมกัน และเสมอภาคต่อทุกคนนี้ มีความต่างจากสามข้อแรกที่น่าสังเกตอย่างหนึ่ง คือ จะเห็นว่าในสามข้อแรกนั้น ยังเป็นการกระทำต่อกันก็ได้ เช่น เราอาจจะไปจากที่หนึ่ง เขาอยู่ที่อื่น เราก็ไปให้ ก็เป็นการทำต่อกัน ปิยาวาจา ก็ไปพูดต่อกัน อัตถจริยา ก็ไปช่วยเหลือ ไปให้กำลังแก่เขา แต่พอถึง สมานัตตตานี้ ก็เข้าร่วมด้วย เข้าถึงกัน เข้าคลุกเลย เป็นตัวที่ช่วยให้มั่นใจยิ่งขึ้นว่าจะทำให้สังคมเกิดความสามัคคี มีเอกภาพ

    ที่ว่ามีตนเสมอนี้ เสมออย่างไรบ้าง เอาง่ายๆ ก็ไม่ดูถูกดูหมิ่นกัน ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง หรือไม่เลือกที่รักไม่ผลักที่ชัง ก็มีความเป็นธรรม นี่คือ หลักความยุติธรรม มีตนเสมอเหมือนกัน เสมอต่อทุกคน เป็นตัวรักษาความเป็นธรรม

    อุเบกขาก็มาบรรจบกันตรงนี้ กับ สมานัตตตา ตัวสุดท้ายในชุดแรก กับ ตัวสุดท้ายในชุดที่สอง เป็นตัวดุลที่จะรักษาธรรม คุมหมดเลย
     
  10. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    การไปกล่าวธรรมะ ให้กลายเป็น ปรัชญาการปกครอง ปรัชญาการบริหารราชการ

    มันเหมือนเอา ถาดทองไปรองหมาเยี่ยว !!!

    ฟังเผินๆ ดูดี รังสรรให้โลกเกิด สันติสุข แต่ การกระทำแบบนั้น ลงนรกสถาณเดียว !!


    สันติธรรม หรืออีกชื่อคือ นิพพาน เป็นเรื่อง พ้นโลก พ้นวัฏสงสาร ไม่ใช่เข้าไปเป็น
    พระเจ้าจักรพรรดิ์ปกครองโลก ปกครองอะไร !!

    พระพุทธองค์ สำเร็จธรรมแล้ว ไม่เคยกลับเข้าไป บริหารราชการแผ่นดิน !!

    คนที่เอา ธรรมะไปกล่าวให้เป็นเรื่อง บริหารราชการแผ่นดิน ก็เท่ากับ กล่าวตู่
    คำสอนตถาคต เอาถาดทองไปรองหมาเยี่ยว
     
  11. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ยกตัวอย่าง


    สมานตัตตา ที่ไปแปลผิดๆ ไปแปลเรื่อง " เสมอภาค "

    นี่ เอาธรรมะไป รับรองการมี ตัวตน เยี่ยวหมา ดอกที่หนึ่ง

    เอา ตนกับตน ไปเทียบกัน กล่าวว่า เสมอภาค นี่เป็น กิเลส "มานะ" มานะการสำคัญ
    ตัวว่าตนเสมอกัน นี่กิเลส เป็นกิเลสที่ เสมอกันกับ การเทียบว่าต่ำกว่าเขา สูงกว่าเขา

    แต่ คำว่าเสมอภาค จะพูดแบบกีดกัน ทำให้เห็นผิดว่า ดีกว่า เสมอภาคดีกว่า
    การเทียบตนสูงกว่าเขา ต่ำกว่าเขา นี่ ผลิกให้เห็นผิดในกองกิเลสเป็นชอบ หมาเยี่ยวดอกที่สอง

    สมานตัตตา ที่ไปแปลว่า เสมอภาคระหว่างบุคคล อัตตา ตัวตน จึงเป็นการ กล่าวตู่ธรรม

    มีนรกเป็นที่ไปสถาณเดียว


    สมานตัตตา คนที่เป็นนักภาวนา จะเห็นได้ ก็ต่อเมื่อ แยกธาตุ แยกขันธ์ได้ แล้ว
    ปฏิโลมไปตามกำลังของอินทรีย์ที่ยังพร่อง รู้ว่าพร่อง ไม่เร่งร้อนรีบ บรรลุ ไม่คว้า
    เอาผล ไม่เอาตูดมาเป็นหัว เพราะ ธรรมลามกมันบีบคั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 มิถุนายน 2015
  12. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    เอกวีร์หมกมุ่นเกินไป จนกลายเป็นฟุ้งซ่าน ไปเดินตลาดซื้อข้าวซื้อน้ำกินเองบ้าง คิกๆ ที่บอกเนี่ี่ย ต้องการให้อยู่กับความจริงบ้าง

    ถามหน่อย ตอบนะ คุณเข้าใจนิพพานยังไง
     
  13. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    เอาแบบนี้สิ

    ถ้า สมมติว่า ณ วันนี้ พระพุทธองค์ยังทรงอยู่ และ อยู่ตรงหน้า

    คุุง "มาจากเด_" เข้าอภิวาทพระพุทธองค์แล้ว จะ อราธนามาเป็น ตุลาการ มาเป็น ศาล
    ว่าความคดีต่างๆ ในโลก หรือเปล่า


    ถ้าไม่ทำ เพราะอะไร เพราะทราบชัดว่า ตกนรกแน่ๆ หากไป อราธนาพระองค์ท่านมารองหมา
    เยี่ยวแบบนั้น ถูกไหม

    ก็ ในเมื่อ สัทธรรม คือ ศาสดาแทนพระองค์ คน จานลายใช่ไหม ที่ไป กล่าวสัทธรรมให้กลาย
    เป็นเรื่อง ตุลาการ บริหารราชการ ปรัชญาการปกครอง
     
  14. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493

    เอาอีกแล้ว ถามอย่างตอบอย่าง ถาม งัว ตอบ ควาย คิกๆๆ:d
     
  15. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493

    ถ้าเป็นพุทธศาสนิกชนที่แท้ๆ ต้องรู้จักนำธรรมะมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับตนเองและสังคม มิใช่เอาไว้พูด แถมพูดก็ไม่รู้เรื่องอีก พูดเหมือนคนเมากัญชา นอนดูก้อนเมฆที่ล่องลอยอยู่ในอากาศแล้ววาดภาพจินตนาการเป็นรูปสิงห์สาราสัตว์สวรรค์วิมาน เหมือนเอกวีร์สีทันดรมหิสสรนครา (deejai)
     
  16. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493

    ถ้ายังงั้นแปลว่าอะไรล่ะ สมานัตตตา

    ที่ขีดเส้นใต้ยังไม่ใช่ความหมายศัพท์เค้า เป็นการมโนสาเร่ แยกนั่นแยกนี่ แยกเป็นขยะเปียกขยะแห้ง ไม่ใช่นะขอรับผม คิกๆๆ
     
  17. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493

    มิใช่เท่านั้นนะ ยังมีอีกนะขอรับผม ทีนี้แหละได้ดิ้นกันทั้งกรม :d


    <!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:TrackMoves/> <w:TrackFormatting/> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:DoNotPromoteQF/> <w:LidThemeOther>EN-US</w:LidThemeOther> <w:LidThemeAsian>X-NONE</w:LidThemeAsian> <w:LidThemeComplexScript>TH</w:LidThemeComplexScript> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> <w:SplitPgBreakAndParaMark/> <w:DontVertAlignCellWithSp/> <w:DontBreakConstrainedForcedTables/> <w:DontVertAlignInTxbx/> <w:Word11KerningPairs/> <w:CachedColBalance/> </w:Compatibility> <m:mathPr> <m:mathFont m:val="Cambria Math"/> <m:brkBin m:val="before"/> <m:brkBinSub m:val="--"/> <m:smallFrac m:val="off"/> <m:dispDef/> <m:lMargin m:val="0"/> <m:rMargin m:val="0"/> <m:defJc m:val="centerGroup"/> <m:wrapIndent m:val="1440"/> <m:intLim m:val="subSup"/> <m:naryLim m:val="undOvr"/> </m:mathPr></w:WordDocument> </xml><![endif]--> [FONT=&quot]ความเสมอภาคที่แท้ มากับความเป็นธรรม ที่สร้างสามัคคี มิใช่มีไว้เพื่อให้แก่งแย่งความเป็นธรรม[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] [/FONT]
    [FONT=&quot]ยังมีความหมายของสมานัตตตา อีกแง่หนึ่ง ซึ่งเป็นความหมายหลักเลย ท่านเน้นไว้โดยใช้คำบาลีว่า “สมานสุขทุกขตา” แปลว่า มีสุขทุกข์เสมอกัน หมายความว่า เธอสุข ฉันก็สุขด้วย เธอทุกข์ ฉันก็ไม่ทิ้ง ทั้งร่วมความสุขความเจริญ และร่วมเผชิญร่วมแก้ปัญหา หรือว่า ทุกข์ก็ทุกข์ด้วย สุข ก็สุขด้วย ภาษาไทยเรียกว่า “ร่วมสุขร่วมทุกข์” แง่นี้เป็นลักษณะสำคัญของสมานัตตา ที่จะทำให้มนุษย์อยู่ร่วมกันด้วยดี เมื่อเราอยู่ร่วมสังคมเดียวกับเขา ก็ร่วมสุขร่วมทุกข์กัน โดยมีความหมายครบมาทุกแง่ตั้งแต่ตามข้อแรก ความเสมอภาคจึงจะสมบูรณ์[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] [/FONT]
    [FONT=&quot]แล้วก็ไม่ใช่เสมอภาคกันเฉยๆ ยังช่วยเหลือดูแลกันด้วย ทาน ปิยวาจา และอัตถจริยา ครบทุกด้าน ทุกสถานการณ์[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] [/FONT]
    [FONT=&quot]แล้วก็ไม่ใช่มีเพียงแค่การแสดงออกภายนอก แต่การแสดงออกนั้นมาจากใจจริง โดยมีคุณธรรมในใจเป็นฐานที่มาอีกด้วย ทั้งเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] [/FONT]
    [FONT=&quot]เวลานี้ แม้แต่ความเสมอภาค ก็ตรงข้ามกับความเสมอภาคที่พระสอน คือไม่เป็นความเสมอภาคเชิงสมาน แต่เป็นความเสมอภาคที่เน้นในด้านเศรษฐกิจ ที่ทำให้ใจโน้มไปในทางแก่งแย่ง แบ่งแยก ที่คอยเพ่งคอยจ้องกันว่า เอ๊ะ....ฉันได้เท่าเธอหรือเปล่า พวกนั้น ตาคนโน้นได้ ๕๐๐ แล้วเราละ ได้ ๕๐๐ หรือเปล่า จะเห็นชัดว่า ความเสมอภาคของคนปัจจุบัน มักมองกันที่เรื่องลาภผลเงินทองและประโยชน์ส่วนตัว แล้วก็โน้มไปทางแบ่งแยก และแก่งแย่ง ขอให้สังเกตดูเถิด สังคมปัจจุบันเป็นอย่างนั้นจริงไหม ถ้าจริง ก็แน่นอนว่าจะขาดสามัคคี และยุ่งไม่หยุด[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] [/FONT]
    [FONT=&quot]ส่วนความเสมอภาคของพระนี่ เน้นในแง่ สมาน ขอให้แยกศัพท์ดูเถิด “สมานัตตตา” ก็คือ สมานอัตตา มาจาก สมาน+อัตตา+ตา (ตา [/FONT][FONT=&quot]= ภาวะ, อัตต = อัตตา คือ ตน) แปลว่า ความมีตนที่สมาน คือ เสมอ[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]ในภาษาบาลี “สมาน” แปลว่า เสมอ น่าแปลกที่คำว่า สมาน ที่หมายความว่าเสมอนี้ เมื่อเข้ามาสู่ภาษาไทยแล้ว ได้มีความหมายค่อนข้างจะเปลี่ยนไป กลายเป็นเชื่อม ประสาน เข้ากันสนิท (พจนานุกรมไทยถึงกับถือว่า สมาน ของไทย กับ สมาน ของบาลี เป็นต่างคำกัน) ซึ่งก็มองเห็นความสืบเนื่อง เพราะว่า “สมาน” คือ เสมอ ในภาษาบาลีนั้น ชัดอยู่แล้วว่า เน้นแง่ประสาน ดังในคำว่า “สมานสุขทุกขตา” ที่ว่ามีสุขและทุกข์เสมอกัน หรือเสมอกันในสุขและทุกข์ ก็คือร่วมสุขร่วมทุกข์ ไปๆ มาๆ “สมาน” ของบาลี เลยแปลว่า “เท่า เท่ากัน” ก็ได้ “ร่วม ร่วมกัน” ก็ได้[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] [/FONT]
    [FONT=&quot]ของพระ มีสุขทุกข์ “เท่ากัน” คือ ร่วมกัน แต่ของไทยปัจจุบัน จะเอาเงิน “เท่ากัน” คือ แย่งกัน[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] [/FONT]
    [FONT=&quot]นี่แหละ ความเสมอภาคที่แท้ ต้องเป็นอย่างที่พระสอน คือ เป็นสมานัตตตา ที่มีตนเสมอสมาน เท่ากัน คือร่วมกัน สังคมจึงจะอยู่ได้ เวลานี้ สังคมของเราจะเอาแต่เสมอแบบแย่งกัน คอยเพ่งจ้องกัน จะแก่งแย่ง จะแบ่งแยก ก็เลยกลายเป็นว่า ความเสมอภาคที่เป็นหลักการใหญ่อย่างหนึ่งของประชาธิปไตย กลายมาเป็นเหตุให้คนแบ่งแยกแตกกัน แทนที่จะทำให้เกิดความสามัคคี เพราะฉะนั้น จึงต้องบอกว่าผิดหมดแล้ว สังคมเดินทางผิดพลาด ความเสมอภาคหรือสมภาพถูกนำมาใช้ในทางที่ผิด[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] [/FONT]
    [FONT=&quot]ที่จริงนั้น หลักการของประชาธิปไตยเองแต่เดิมของเขา คือของพวกต้นคิดในเมืองฝรั่ง ตั้งแต่ปฏิวัติฝรั่งเศล (ค.ศ.1789) ก็เป็นชุดที่ต้องบูรณาการ และหลักของเขาก็ถูกต้อง ดูสอดคล้องกันดี[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] [/FONT]
    [FONT=&quot]หลักการประชาธิปไตยที่ฝรั่งวางไว้ ซึ่งต้องให้ครบชุดของเขา มีอะไรบ้าง ว่าไปตามที่เขาใช้ในภาษาอังกฤษ ก็มี [/FONT][FONT=&quot]Equality [/FONT][FONT=&quot] (ความเสมอภาค หรือสมภาพ) Liberty (เสรีภาพ) แล้วอีกตัวหนึ่ง คือ Fraternity (ภราดรภาพ)

    Fraternity ที่แปลว่า ภราดรภาพ คือความเป็นพี่เป็นน้องกันนี้ เป็นข้อที่ ๓ อยู่ในชุดหลักการของประชาธิปไตย ๓ ประการ มาแต่เดิม แต่เวลานี้ สังคมประชาธิปไตยบ้านเราเหมือนกับว่าจะเหลือหลักการแค่ ๒ ข้อ คือ หนึ่ง เสรีภาพ สอง ความเสมอภาค

    ข้อ Liberty นี้เน้นกันเหลือเกิน บอกว่าต้องมีเสรีภาพ แต่ความหมายที่แท้ว่าอย่างไร ไม่ค่อยสนใจที่จะรู้ ได้แต่นึกเอาตามที่ชอบใจ จนกลายเป็นทำนองว่า เสรีภาพคืออะไร? อ๋อ...ทำได้ตามใจคือไทยแท้ เสรีภาพก็คือเอาได้ตามชอบใจ แล้วก็อ้างกันนัก ชักเย่อกันอยู่ทีสิทธิกับเสรีภาพ

    Equalityความเสมอภาค ก็มุ่งเพื่อจะมาแก่งแย่งกันในทางเศรษฐกิจ ว่าเราได้เท่าเขาไหม

    ส่วน Fraternity ภราดรภาพ คือความเป็นพี่เป็นน้อง หายไปเลย แทบไม่พูดถึงกันแล้ว นี่แหละประชาธิปไตยบ้านเรา แค่หลักการใหญ่ ๓ ข้อ ก็ยังรักษาเอาไว้ไม่ได้ บูรณาการไม่ได้ ก็แยกส่วนกันไป

    ที่จริงนั้น หลักการใหญ่ ๓ ข้อ ของเขา ก็เข้ากันดีกับหลักพุทธศาสนา แต่ของพระพุทธศาสนา ท่านเน้นตัวสมานัตตตา เอาความเสมอภาคเป็นจุดรวม และเป็นตัวดุลที่คุมได้ทั้งหมด แต่อย่างที่ว่าแล้ว มันเป็นความเสมอภาคแบบสมานอย่างที่ได้พูดมา แล้วยังลงลึกเข้าไปในจิตใจ โดยมีอุเบกขามาเป็นฐานของสมานัตตตา ทำให้มีความเท่าเทียมกัน และมีความเป็นธรรม ในภาวะแห่งสามัคคี แล้วสังคมก็จะเข้มแข็งมั่นคงมีเอกภาพแท้จริง[/FONT]
    [FONT=&quot] [/FONT]
    [FONT=&quot]หลัก ๔ [/FONT][FONT=&quot] ประการ ที่เป็นภาคปฏิบัติของพรหมวิหาร ๔[/FONT][FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot] นั้น มีชื่อรวมว่า สังคหวัตถุ คือหลักการสังเคราะห์ หรือสงเคราะห์ ซึ่งแปลว่า จับมารวมกัน คือ มาจากคำว่า “สังคหะ” (สัง [/FONT][FONT=&quot]= รวมเข้าด้วยกัน + คะหะ = ถือ จับ) แปลว่า จับมารวมเข้าด้วยกัน จับอะไร?[/FONT]
    [FONT=&quot] [/FONT]
    [FONT=&quot]ก็จับใจคนมารวมกัน หรือจับตัวคนมารวมกัน เพื่อทำให้สังคมอยู่ได้ คือ ทำให้สังคมรวมกันได้ มั่นคง เป็นปึกแผ่น มีความสามัคคี เกิดมีเอกภาพ จึงเรียกว่า สังคหวัตถุ ก็คือหลักยึดเหนี่ยวสังคมนั่นเอง[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] [/FONT]
    [FONT=&quot]ก็เป็นอันว่า ชุด พรหมวิหาร ๔ กับ สังคหวัตถุ ๔ นี้ ต่อเนื่องกัน ออกจากใจ สู่ปฏิบัติการในสังคม[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    <!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" DefUnhideWhenUsed="true" DefSemiHidden="true" DefQFormat="false" DefPriority="99" LatentStyleCount="267"> <w:LsdException Locked="false" Priority="0" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Normal"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="heading 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 7"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 8"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 9"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 7"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 8"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 9"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="35" QFormat="true" Name="caption"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="10" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Title"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="1" Name="Default Paragraph Font"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="11" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Subtitle"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="22" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Strong"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="20" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Emphasis"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="59" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Table Grid"/> <w:LsdException Locked="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Placeholder Text"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="1" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="No Spacing"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Revision"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="34" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="List Paragraph"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="29" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Quote"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="30" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Intense Quote"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="19" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Subtle Emphasis"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="21" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Intense Emphasis"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="31" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Subtle Reference"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="32" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Intense Reference"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="33" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Book Title"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="37" Name="Bibliography"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" QFormat="true" Name="TOC Heading"/> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-priority:99; mso-style-qformat:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin-top:0cm; mso-para-margin-right:0cm; mso-para-margin-bottom:10.0pt; mso-para-margin-left:0cm; line-height:115%; mso-pagination:widow-orphan; font-size:11.0pt; mso-bidi-font-size:14.0pt; font-family:"Calibri","serif"; mso-ascii-font-family:Calibri; mso-ascii-theme-font:minor-latin; mso-fareast-font-family:"Times New Roman"; mso-fareast-theme-font:minor-fareast; mso-hansi-font-family:Calibri; mso-hansi-theme-font:minor-latin;} </style> <![endif]-->
     
  18. gratrypa

    gratrypa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2011
    โพสต์:
    1,283
    ค่าพลัง:
    +1,505
    เขียน ๒๑.๔๙

    แหม..ไอ้บ้านี่เก่งจริงแฮะ หึหึหึ

    เบื่อมากช่วงนี้ ว่าจะไม่โพสท์อะไร ไปอีกหลายๆ วันซะหน่อย เฮ้อ..
    เจอไอ้คนแก่เพราะกินข้าว เฒ่าเพราะเกิดนาน พล่ามโพสท์นี้ออกมา ของขึ้นเลย ๕๕๕

    ไม่รู้ว่าเอ็งจะเป็นพระ เป็นคน หรือเป็นหมา ต้องขอด่าซะหน่อยแล้วเฮ้ย ว่า
    สมองหมาปัญญาควายจริงเล้ย เอ็งเนี่ยล่ะน๊า หึหึหึ

    อ้าว..หลุดคำพยากรณ์ออกมาจนได้ ตะกี้ก็นึกอยู่แล้วเชียว ปากหยั่งงี้แหละน๊า
    ได้เกิดเป็นหมาหลายชาติแน่เลยเอ็ง ขอบอก ๕๕๕

    ครั้งก่อน ลุงหมานหลุดปากด่าอาจารย์พุธมาทีนึงแล้ว
    ได้เกิดเป็นตัวอะไรไม่ทราบ ทราบแต่ว่าพลาดตกบ่อ แน่ๆ หึหึหึ สมน้ำหน้า กะลาหัวเจาะ

    เฮ้อ...ไม่รู้จะด่าเป็นภาษาอะไรดีวะ สันดานมันถึงจะดีขึ้นได้ ยากจริงวุ้ย ๕๕๕

    พุทธะเค้าไม่ได้บ้านิพพานอย่างเอ็งหรอกนะ จะบอกให้ ควายเอ้ย
    นี่ จะด่าเค้าต้องด่ากันอย่างนี้ ไม่ต้องอ้ำอึ้ง อ้อมค้อม ใส่กันตรงๆ เลยดีกว่า
    ไม่พอใจ ก็ด่ากลับมาดิ จะได้ซวยซ้ำซวยซ้อน โดนดาบสองดาบสามเข้าไปอีก หึหึหึ

    แก่จะตายชักอยู่แล้ว เรื่องแบบนี้ก็ยังไม่เข้าใจอีก เฮ้อ..อายแทนอาจารย์เอ็งจังเลยว่ะ

    พระพุทธเจ้า เค้าแจ๋วขนาดไหน ลงมาเกิดเอง ตัวเป็นเป็น
    ยังพาคนไปได้ไม่กี่หมื่นเลยล่ะมั้ง นะ เดาเอาน่ะ
    แล้วที่ตามไปทีหลัง ก็อีกแค่ไม่กี่แสนคนเองนะ สองพันกว่าปีแน่ะ รู้ป่าว

    พวกเค้ารู้ดี ว่าไม่มีทางเป็นไปได้หรอก ที่จะทำให้ทั้งหมดนิพพานกันไปได้
    อย่างน้อยก็อีกนานนนนนมากกกกก ที่ยังไม่มีใครหาหนทางเช่นนั้นเจอได้

    วิธีที่ดีที่สุด ก็คือการใช้ธรรมะ ทำให้คนดีขึ้นมาได้เรื่อยๆ
    คนชั่วคนเลวน้อยลง คนก็เป็นทุกข์น้อยลง ก็เข้าเป้าหมายได้โดยอ้อม
    อย่าลืมสิว่า พุทธะเที่ยวล่าสุด เค้ามีเป้าหมายเพื่อดับทุกข์

    แล้วนิพพาน ก็ไม่ใช่วิธีเดียว ในการดับทุกข์
    ถึงจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดก็เหอะน่า แต่มันดีเกินไป เข้าใจบ่
    ในคนหนึ่งร้อยคน ถ้ามีคนที่สามารถจะเข้าถึงนิพพานได้น่ะนะ
    ถ้าเกินห้าเปอร์เซ็นต์ ก็นับว่าเป็นเรื่องมหัศจรรย์แล้ว ขอบอก (ไม่รู้ใครบอกอ่ะ)

    แล้วการใช้ธรรมะ ให้ได้ผลดีที่สุด ก็คือทำให้คนปกครองดีๆ นี่สิแจ๋ว หึหึหึ
    ผู้ปกครองชั้นดีเพียงหนึ่ง จะทำให้ประชาชนพ้นทุกข์พื้นบ้านไปได้แยะเชียว
    ยกตัวอย่างในหลวงของเราเป็นต้น หรือเอ็งจะเถียง ๕๕๕ กล้าป่าว ไอ้บ้า

    "เราจะครองแผ่นดินโดนธรรม เพื่อประโยชน์สุขของมหาชนชาวสยาม"
    สุดยอดอมตะวาจาแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ที่จริงก็ของโลกนี้ซะด้วยซ้ำไป
    กล้าเถียงป่าววะ ฮ่ะฮ่ะฮ่ะ

    ที่เอ็งพล่ามมานั่นน่ะนะ โดนของสูงเข้าเต็มๆ เลย รู้ตัวไว้ซะด้วย ควายเอ้ย...
    เจี่ยป้าบ่อสื่อ แปลว่า แดกอิ่มแล้วไม่มีอะไรทำ เลยหาเรื่องลงนรก น่าสมเพชเวทนาซะจริง หึหึหึ

    เฮ้อ...เอาท่านเอกวีร์ มาทำโถส้วม ระบายของเน่าเสียออกไปซะบ้าง สบายใจดีจัง ๕๕๕
    ก็เล่นไปตามบทอ่ะนะ ใครเค้าเขียนสคริปต์มาให้อย่างนี้ ก็ต้องออกไปอย่างนี้แหละว่ะ


    เล็บครุฑ นารายณ์ทรง / พลทหารรักษาพระองค์
    .

    ปล.ถ้าโดนแบนก็ดีนะ จะได้เลิกเข้าเวบนี้ซะที
    เนี่ย ว่าจะออกจากวัด กลับไปเป็นชาวโลกแล้ว
    เลิกเล่นเกมส์นี้ซะที ท้อแท้หมดหวังซะแล้วสิ

    ...หมดสิ้นแรงขับ ดับเครื่อง
    หมดเปลืองเชื้อไฟ ไยหนา
    หมดใจใช้ขับ กายา
    หมดนาฬิกา ลาที หึหึหึ
     
  19. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493

    คุณ gratrypa พูดยังกะรู้จักเอกวีร์ดี รู้ถึงว่า "แก่" แล้ว และยังรู้จัก อ. เขาอีก

    เอกวีร์อายุเข้าวัยทองแล้วหรือครับ :d
     
  20. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ต่อ (ควรศึกษาความหมายเจตนาให้ถูกต้อง)

    ข้างใน มีใจเที่ยงตรงต่อธรรม ข้างนอก มีความเป็นธรรมเสมอกันต่อทุกคน

    ทีนี้ กลับมาสู่ตัวสรุปคุมท้ายอีกทีที่ว่า ถ้าไม่มีความเป็นธรรมเสียอย่างเดียว แม้แต่มีเมตตามากมาย มันก็กลายเป็นความลำเอียง ก็เสียเลย รักษาสังคมไว้ไม่ได้ เมตตา เป็นต้น จึงไม่ใช่เป็นหลักประกันเพียงพอที่จะธำรงสังคมไว้ได้ อุเบกขา จึงเป็นหลักสำคัญที่สุด แต่อุเบกขาที่ว่านั้น หมายถึง อุเบกขาที่มากับปัญญา อย่างที่ว่าต้องครบชุด

    เป็นอันว่า ต้องมีทั้ง ๔ ข้อ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา แล้วก็มาออกสู่ปฏิบัติ หรือปฏิบัติการ ด้วย ทาน การให้วัตถุสิ่งของ เงินทอง เป็นต้น แล้วก็ ปิยวาจา ช่วยด้วยถ้อยคำที่มีน้ำใจ ให้คำแนะนำ ให้กำลังใจ พูดส่งเสริม อัตถจริยา ช่วยเหลือบำเพ็ญประโยชน์ด้วยเรี่ยวแรงกำลังร่างกาย กำลังสติปัญญา กำลังความรู้ กำลังความสามารถปฏิบัติจัดการให้สำเร็จ แล้วก็ สมานัตตตา ความมีตนเสมอสมาน โดยมีความเสมอภาคที่ตั้งธรรมเป็นมาตรฐาน ให้โยงยันอยู่กับธรรม คือ ความจริง ความถูกต้อง ความดีงาม ประสานสอดคล้องกับด้านจิตใจ ซึ่งลงตัวกับธรรม ที่อุเบกขา อันเกิดขึ้นมาจากปัญญาที่เข้าถึงธรรม แล้วอุเบกขานั้นก็ออกมาสู่ปฏิบัติการในสังคม เป็นสมานัตตตา

    ด้วยสมานัตตตานี้ ผู้พิพากษาก็มีความเสมอภาค มีตนเสมอเท่าเทียมกัน ทั้งต่อโจทก์ ทั้งต่อจำเลย ไม่ลำเอียง แล้วก็เอาธรรม เอาความจริง เอาความถูกต้อง ที่ปัญญารู้ชัดเจนแจ่มแจ้ง เป็นตัวตัดสิน

    แต่ทั้งนี้ ธรรมที่จะออกมาสู่ปฏิบัติการในการชี้ขาดตัดสินนั้น จะจริงแท้เท่าไร ก็ได้เท่าที่ปัญญารู้ เพราะฉะนั้น ปัญญาก็ต้องแน่ชัดจริงๆ เป็นระบบสัมพันธ์ที่โยงกันไปหมด ซึ่งในที่สุดก็ขึ้นต่อปัญญาที่จะมานำทางชี้ช่องให้แก่เจตนา

    เพราะฉะนั้น จึงต้องพัฒนาปัญญาอยู่ตลอดเวลา ท่านจึงให้ ไม่ประมาทในการศึกษา ก็เพื่อจะได้มั่นใจที่สุดว่าปัญญาจะนำเข้าถึงความจริง ความถูกต้อง คือ ถึงธรรมแน่แท้ และในที่สุดก็มาถึงจุดที่ว่าเจตนา จะมาประสานกับปัญญา เพื่อเลือกที่จะชี้ขาดตัดสินอย่างใสสะอาด ตามที่ปัญญาอันใสสะอาดบอกให้นั้นอีกที

    เมื่ออุเบกขามากำกับเจตนา ก็ตั้งใจเป็นกลาง ไม่เอียงข้าง ไม่ตกเป็นฝ่าย แต่อยู่กับธรรม และมุ่งสู่ความเป็นธรรม หรือมุ่งที่จะรักษาธรรม ได้แค่นี้ ก็พอที่จะมั่นใจได้แล้วว่า

    ตัวกำกับเจตนาที่เข้ามาเสริม เป็นตัวกันให้มั่นอีกชั้นหนึ่งนี้ ได้แก่ การรักษาเจตนาไม่ให้ตกไปในอคติ (ฐานะอันไม่พึงถึง ทางความประพฤติที่ผิด ความไม่เที่ยงธรรม ความลำเอียง) ๔ ประการ คือ

    ๑. ฉันทาคติ ลำเอียงเพราะรัก
    ๒. โทสาคติ ลำเอียงเพราะชัง
    ๓. โมหาคติ ลำเอียงเพราะเขลา
    ๔. ภยาคติ ลำเอียงเพราะกลัว
     

แชร์หน้านี้

Loading...