ฝึกสติ สมาธิ ภาวนา ตามคำสอนของพระอรหันต์แห่งเมืองสยาม

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย kengkenny, 17 พฤศจิกายน 2009.

  1. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

    วันนี้ จะเทศนาเรื่อง การฝึกหัดจิต จิตของคนเราต้องฝึกหัด เช่นเดียวกับสัตว์ที่อยู่ในป่าที่เขาจับมาใช้ จะใช้งานได้ต้องฝึกต้องหัดเสียก่อน จิตของเรายังไม่ได้ฝึกหัดก็เหมือนกับสัตว์ที่อยู่ในป่านั่นแหละ เราจับจิตมาฝึกหัด คือ เราตั้งใจฝึกหัดจริงๆ จึงจะเรียกว่าเราฝึกหัดจิต

    การ ฝึกหัดสัตว์ป่า เช่น ช้าง เป็นต้น พอจับได้มาเขาก็ผูกมันไว้กับต้นเสา ตอนแรกมันก็แข็งแรงอยู่จะต่อสู้ดิ้นรนมาก เขาจึงไม่ให้กินหญ้ากินนํ้า หรือให้แต่เพียงเล็กน้อยพอไม่ให้ตาย จนซูบซีดผอมลงไป ทีนี้ก็เริ่มหัดมัน หัดจนกระทั่งมันยอมคนขึ้นขี่คอได้ หัดให้อยู่ในอำนาจของเราทุกอย่างได้ เมื่อมันอยู่ในอำนาจของเราเรียบร้อยดีแล้ว เราจึงให้อาหารมันกินอย่างอุดมสมบูรณ์

    การฝึกหัดจิตก็คล้ายๆกันนั่นแหละ แต่ไม่ต้องถึงอย่างนั้น เพราะสัตว์เป็นของภายนอกมีตัวตน ต้องฝึกหัดด้วยการทรมาน การฝึกหัดจิตต้องหัดด้วยอุบายวิธี จิตเป็นของไม่มีตัว จะขับขี่ก็ไม่ได้ จะตีก็ไม่ได้ แต่ทำให้มันอยู่ในอำนาจของตนนั้นได้ แต่ก็ยากแสนยากที่มันจะอยู่ในบังคับของเรา ต้องฝึกฝนอบรม

    ที่ว่าคล้ายกัน คือ ให้อดอาหารหรือฉันอาหารเพียงเล็กน้อย เพื่อให้มันมักน้อยที่สุด เป็นการฝึกหัดอบรมกาย แต่มันเนื่องถึงจิต เหมือนอย่างพระพุทธเจ้า พระองค์ไม่เสวยพระกระยาหาร แต่ไม่สำเร็จมรรคผลนิพพาน พระองค์จึงค่อยผ่อนเสวยพระกระยาหารทีละน้อยๆ จนกระทั่งพอดีพองาม ฉันพอสมควรไม่ฉันฟุ่มเฟือย พอให้กายอยู่ได้ไปวันๆหนึ่ง อาหารนั้นถ้าฉันมากจิตใจมันทื่อ มันกำเริบเฟิบฟาย มันไม่อยู่ในอำนาจของตน ผู้ที่ไม่ได้ฝึกฝนอบรม รับประทานอย่างอิ่มหนำสำราญก็ให้มันรับประทานเรื่อยไป แต่ สำหรับคนที่ฝึกหัดอบรมใจนั้นจะฉันน้อยพอประมาณพอบำรุงร่างกาย เพื่อยังชีวิตให้เป็นไปในวันหนึ่งๆเท่านั้น แล้วก็ไม่สะสม การสะสมเป็นเรื่องของกิเลส ลองคิดดู ถ้าสะสมแล้วมันเป็นการพะวักพะวน ท่านจึงไม่ให้สะสม นี่พูดเฉพาะเรื่องของพระภิกษุ คือ ฉันแล้วก็ทิ้งไป ให้มันหมดเรื่องหมดราว วันหลังหาใหม่ ได้เท่าไรก็ฉันเท่านั้น ฉันเท่าที่มีอยู่ ถึงฆราวาสก็ดี ผู้ฝึกหัดจิตต้องฝึกฝนอบรมอย่างนั้น คือรับประทานมื้อเดียว ไม่ให้เกี่ยวข้องพัวพันในเรื่องอื่นๆ เอาปัจจุบัน แม้ว่าจะต้องเกี่ยวข้องพัวพันบ้างก็ตาม หากลงปัจจุบันในขณะนั้นก็ไม่มีอะไร เอาปัจจุบันเท่านั้น ไม่คิดอดีต อนาคต มันถึงจะเป็นไปได้ การฝึกฝนอบรมใจมันต้องไปจากกายนี้เหมือนกัน

    (webmaster - กล่าวคือ กายที่สมบูรณ์จากการกินเกินพอดี นอกจากทำให้มิทธะง่วงเหงาซึมเซาแล้ว ย่อมยังทำให้เกิดความกำหนัดคือราคะอีกด้วย หรือโผฏฐัพพะแต่ภายในเอง เป็นเหตุปัจจัยหนึ่งที่เนื่องหรือกระตุ้นจิตให้เกิดตัณหาขึ้น พึงเข้าใจว่า อดอาหารก็ด้วยสิ่งนี้เป็นเหตุ มิได้ด้วยเจตนาจะทรมานตนแต่ประการใด แต่เป็นไปเพื่อการลดละความซึมเซา ตัณหาและราคะโดยตรง)

    นอก จากอบรมทางกายแล้ว ยังต้องอบรมวาจาด้วย พูดให้น้อย พูดด้วยความสำรวมระวัง การที่ว่าสำรวมในที่นี้ไม่ได้หมายถึงไม่ให้พูด พูดได้แต่หากว่าให้มีสติควบคุมอยู่ พูดก็รู้เรื่องว่าพูดอยู่ พูดดีชั่ว หยาบละเอียด จะพูดสักเท่าไรก็ตามแต่รู้เท่ารู้ทันอยู่ทุกขณะ เรียกว่าสำรวมวาจา จะพูดอะไรก็พูดเถอะ การทำอะไรก็ทำเถอะ แต่รู้เรื่องอยู่ทุกขณะ สติควบคุมอยู่อย่างนี้ เรียกว่า มีสติระวังกายวาจา

    (webmaster - กล่าวคือ เหมือนกันทั้งกาย วาจา ใจ จึงไม่ใช่การไปหยุดการกระทำทางกาย วาจา ใจ แต่เป็นเมื่อกระทำทางกาย วาจา ใจ แล้วให้มีสติควบคุมอยู่ จึงไม่ใช่การปฏิบัติในลักษณะหยุดกระทำ หยุดพูด หยุดคิดเสียดื้อๆ)

    ส่วนการสำรวมระวังใจ ถ้าอยู่เฉยๆ ใจไม่มีเครื่องอยู่ ให้เอาคำบริกรรมอันใดอันหนึ่งมาเป็นเครื่องอยู่มาเป็นหลักผูกใจ เช่น พุทโธ อานาปานสติ ตามลมหายใจเข้าออก ยุบหนอพองหนอ หรือสัมมาอรหังก็ได้ เอาอันนั้นมาเป็นเครื่องอยู่เสียก่อน นึกคิดอยู่เสมอๆจนเป็นอารมณ์ มีสติควบคุมจิตอยู่ตรงนั้นแหละ จิตอยู่ที่ใดให้เอาสติไปตั้งตรงไว้ในที่นั่น จึงจะเรียกว่าควบคุมจิต รักษาจิต ที่จะห้ามไม่ให้คิดไม่ให้นึกนั้น ห้ามไม่ได้เด็ดขาด ธรรมดาของจิตมันต้องมีคิดมีนึก แต่หากมีสติควบคุมจิตอยู่เสมอ คิดนึกอะไรก็รู้ตัวอยู่ทุกขณะ เรียกว่า บริกรรมภาวนา

    การบริกรรมภาวนานี้ มิใช่ของเลว คนบางคนเข้าใจว่าเป็นของเลว เป็นเบื้องต้น ที่จริงไม่ใช่เบื้องต้น ธรรมไม่มีเบื้องตน ท่ามกลาง ที่สุดหรอก ธรรมะอันเดียวกันนั่นแหละ ถ้าหากสติอ่อนเมื่อไรก็เป็นเบื้องต้นเมื่อนั้น สติแก่กล้าเมื่อไรก็เป็นท่ามกลางและที่สุดเมื่อนั้น คือหมายความว่าสติคุมจิตอยู่ทุกขณะ จนกระทั่งเป็นมหาสติปัฏฐาน จะยืน เดิน นั่ง นอน ในอิริยาบถใดๆทั้งหมด มีสติรอบตัวอยู่เสมอโดยที่ไม่ได้ตั้งใจให้มีสติ แต่มันเป็นของมันเอง สติ ควบคุมจิตไปในตัว เมื่อมีสติเช่นนั้นมันก็ไม่เกี่ยวข้องพัวพันกันกับสิ่งต่างๆ เมื่อตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง ลิ้นลิ้มรสต่างๆ กายได้สัมผัส มันก็เป็นสักแต่ว่า สัมผัสแล้วก็หายไปๆ ไม่ได้เอามาเป็นอารมณ์ ไม่เอามาคำนึงถึงใจ อันนั้นเป็น มหาสติ แท้ทีเดียว

    (webmaster - ถ้าบริกรรมอย่างมีสติ หมายถึงไม่ปล่อยให้เลื่อนไหลไปลงภวังค์ กล่าวคือไม่ลงลึกไปในฌานหรือสมาธิอันละเอียดจนเคลิบเคลิ้มท่องเที่ยวไปใน ภวังค์หรือเพลิดเพลินไปในนิมิต ก็จักเกิดประโยชน์อย่างมาก จะทำให้เห็นจิตคือคำบริกรรมนั้นๆ อันย่อมเป็นจิตสังขารอย่างหนึ่ง จึงเป็นการฝึกให้เห็นจิตหรือจิตสังขารอย่างหนึ่งหรือจิตตานุปัสสนาอย่าง หนึ่งอย่างดียิ่ง ที่เมื่อสั่งสมอย่างถูกต้องดีงามแล้วก็จะเกิดอาการเห็น จิตมีโทสะ จิตมีราคะ จิตฟุ้งซ่าน จิตหดหู่ ฯ. ตลอดจนยังเป็นวิหารธรรมหรือเครื่องอยู่ของจิต จิตจึงไม่ส่งออกไปปรุงแต่งฟุ้งซ่าน)

    ถ้าจิตอ่อนเมื่อไร จิตจะส่งไปตามอายตนะทั้ง ๖ เมื่อนั้น เช่น ตาได้เห็นรูปอะไร หูได้ยินเสียงอะไร มันก็จะพุ่งไปตามรูปที่ เห็น เสียงที่ได้ยินนั้นแหละ เมื่อเป็นเช่นนั้นก็ต้องเอาบริกรรมมา ใช้อีก ให้จิตมันอยู่กับบริกรรมนั้นอีก บริกรรม คือ สัมมาอรหัง พุ ทโธ อานาปานสติ อะไรต่างๆก็ตาม ที่ท่านสอนแต่ละสำนักนั้น มันเป็นไปตาม ความชำนาญของแต่ละท่าน มันเป็นนโยบายของท่านต่างหาก แท้ที่จริงก็อันเดียวกันนั่นแหละ ใครจะเลือกภาวนาบริกรรม อันใดก็ได้ ความต้องการคือ มุ่งหมายเอาสติอย่างเดียว เพื่อตั้งสติให้มั่นคง จึงว่าคำบริกรรมเป็นคู่กับการฝึกหัดจิต คำบริกรรมเปรียบเหมือนกับเครื่องล่อจิต เหมือนกับเด็กเล็กๆที่มันร้องไห้ เราเอาขนมมาล่อให้มันกิน มันก็หยุดร้อง จิตของเราก็ยังเป็นเด็กอยู่เหมือนกัน คือว่ายังไม่เป็นผู้ใหญ่ ยังรักษาตัวเองไม่ได้ ยังต้องอาศัยคำบริกรรมอยู่ จึงเรียกว่าเป็นเด็ก คน เฒ่าคนแก่กระทั่งผมหงอกผมขาวก็ตาม ถ้ายังควบคุมจิตของตนไม่ได้ก็ยังเป็นเด็กอยู่นั่นแหละ ถ้าหากควบคุมจิตได้แล้ว แม้จะเป็นเด็กก็ตามนับเป็นผู้ใหญ่ได้ ในพุทธศาสนา ผู้บวชตั้งร้อยพรรษา โดยธรรมแล้ว ถ้าควบคุมจิตไม่ได้ก็เรียกว่ายังเป็นเด็กอยู่ องค์ใดบวชในพรรษานั้นแต่ว่าควบคุมจิตได้ ก็เรียกว่าเป็นเถระ การรักษาจิตควบคุมจิตจึงต้องมีเครื่องอยู่ ได้แก่ การบริกรรม

    จิต เป็นของสูงๆตํ่าๆ คือ ฝึกหัดไม่สมํ่าเสมอ สูงหมายถึงว่าเจริญขึ้นไป คือ มีสติควบคุมอยู่ ขณะที่มีสติควบคุมอยู่ก็กล้าหาญเด็ดเดี่ยว ต่อสู้กับอารมณ์ได้ อะไรมาก็ไม่กลัว พอสัมผัสมากระทบเข้าจริงๆจังๆ อ่อนปวกลงไปเลย นั่นมันตํ่าลงไปแล้ว มันไม่เป็นผู้ใหญ่ ดังนั้นจึงต้องหัดสติตัวนี้ให้แก่กล้า ให้แข็งแรงที่สุด

    ใน พุทธศาสนานี้มีการฝึกหัดสติอันเดียว การฝึกหัดเรื่องอะไรก็ตาม ฝึกหัดสติอันเดียวเท่านั้น พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนสาวกทั้งหลายแต่ก่อนนี้ ก็ทรงสอนให้ฝึกสติอันเดียวเท่านั้น ทรงสอนฆราวาสก็เหมือนกัน ทรงสอนเรื่องสติ ให้มนุษย์คนเราพากันมีสติ พวกเราก็พากันถือคำสอนของพระองค์นั่นแหละมาพูด เช่น พอพลั้งๆเผลอๆ ก็ว่า ไม่มีสตินี่ ก็พูดกันไปอย่างนั้นแหละ ตัวผู้พูดเองก็ไม่รู้เรื่องว่าตัวสติมันเป็นอย่างไร พูดไปเฉยๆ อย่างนั้นแหละ มิหนำซํ้าบางคนไม่มีสติอยู่แล้ว ยิ่งไปดื่มสุรายาเมาเข้า ยิ่งไปใหญ่จนเสียสติเป็นบ้าไปก็มี เหตุนี้จึงว่า คำสอนของพุทธศาสนาทั้งหมดมาลงที่สติอันเดียว ตั้งแต่เบื้องต้นก็สอนสติ ท่ามกลาง ที่สุดก็สอนสติ เป็นศาสนาที่สอนถึงที่สุด แต่คนทำนั่น ทำสติไม่ถึงที่สุดสักที ทำมากี่ปีกี่ชาติก็ไม่สมบูรณ์สักที พระพุทธเจ้าพระองค์ใดก็ทรงสอนสติตัวเดียวนี้

    เรา เกิดมากี่ภพกี่ชาติก็มาหัดสติตัวเดียวนี้ แต่ก็หัดสติไม่สมบูรณ์สักที เหตุนั้นจึงควรที่พวกเราจะพากันรีบเร่งหัดสติทุกคนแต่บัดนี้ อายุอานามมาถึงป่านนี้แล้ว เรียกว่าจวนเต็มที จวนจะหมดสิ้น จวนจะตายอยู่แล้ว ไม่ทราบว่าจะตายวันไหน ควรที่จะหัดสติให้อยู่ในเงื้อมมือของตนให้ได้ อย่าให้จิตไปอยู่ในเงื้อมมือของความหลงมัวเมา ผู้ใดจิตไม่อยู่ในอำนาจของตนก็ชื่อว่าเราเกิดมาแล้วเสียเปล่า ได้ฟังคำสอนของพระพุทธเจ้าเสียเปล่า เปล่าจากประโยชน์

    อย่า ให้จิตอยู่แต่ในอำนาจของกิเลส ให้จิตอยู่แต่ในอำนาจของสติ สติเป็นตัวระมัดระวัง อันนั้นแหละเป็นประโยชน์ส่วนตัวโดยแท้ ถ้าจิตอยู่ใต้อำนาจของกิเลสแล้วหมดท่า ตัวของเราจึงเป็นทาสของกิเลส เหตุนั้นจึงควรที่จะพากันรู้สึกตัว ตื่นตัวเสียตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป แล้วฝึกอบรมกัมมัฏฐาน

    การอบรมกัมมัฏฐานนั้น ทุกคนต้องอบรมเหมือนกันหมด มิใช่อบรมเฉพาะพระภิกษุ สามเณร แม่ชี อุบาสกอุบาสิกาเท่านั้น การฝึกหัดธรรมะก็ต้องหัดสติตัวนี้แหละ ถือพุทธศาสนาก็ต้องหัดสติตัวนี้แหละ มีสติสมบูรณ์บริบูรณ์ก็เรียกว่าถึงศาสนา ถ้ายังไม่มีสติเสียเลยก็เรียกว่ายังไม่ถึงศาสนา เอาละ วันนี้เทศน์ให้ฟังเพียงเท่านี้ เอวํฯ

    หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

    แสดง ณ วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย

    วันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๔

    จากหนังสือ เทสกานุสรณ์ หน้า ๑๗๑
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 พฤศจิกายน 2009
  2. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต สั่งสอนอบรม หลวงปู่ชอบ ฐานสโม

    ท่านกล่าวว่า แม้ท่านอาจารย์มั่นที่นิพพานแล้วยังเมตตามาเยี่ยมและแสดงธรรมธรรมโปรดท่านเสมอส่วนมากโอวาทท่านอาจารย์มั่นที่แสดงแก่ท่านหนักไปในความไม่ประมาทโดยยก สติ ขึ้นเป็นเครื่องประกันความเพียร ว่าผู้มี สติ ในอริยาบถนั้นๆ ไม่เฉพาะเวลาเข้าที่ทำสมาธิภาวนา หรือ เข้าทางจงกรมโดยความมี สติ จึงเรียกว่าทำความเพียร สติ นั่นแลคือ ธรรมรับรู้ ธรรมต้านทาน ธรรมต่อสู้ ธรรมหลบฉาก ในวิธีการรบ ธรรมคืบหน้ากล้าตายในสงครามระหว่างกิเลสกับจิต ถ้าขาด สติ เพียงอย่างเดียวก็เจ๊ง ท่านอาจารย์มั่นสอนนักปฏิบัติจึงควรบำรุง สติ สติควรมีอยู่กับธรรมทุกขั้นทุกภูมิของจิตไม่ว่าขั้นเริ่มฝึกหัด ไม่ว่าขั้นจิตเป็นสมาธิ ไม่ว่าขั้นเริ่มฝึกหัดทางปัญญาไม่ว่าขั้นปัญญาและขั้นปัญญาอันแหลมคม สติ มีความจำเป็นกับธรรมทุกขั้นไปตลอดสาย สติ ไม่ควรให้มีอยู่ในวงจำกัดว่าควรมีน้อยเพียงนั้น หรือควรมีมากเพียงนั้น แต่ควรให้มีจนแก่กล้าเป็นขั้น มหาสติ ได้ยิ่งดีเพราะ สติ เป็นธรรมสำคัญในวงความเพียรที่ผู้ปฏิบัติควรสนใจอย่างยิ่ง ไม่ว่ากิจใดทั้งในและนอก ทั้งหยาบและละเอียด สติ เป็นธรรมที่ควรแทรกอยู่ด้วยทุกกรณี สมาธิทุกขั้นปัญญาทุกภูมิ สติต้องเป็นพี่เลี้ยงให้เป็นไป ถ้าขาดสติ เป็นเรื่องขาดมากกว่างานทุกชิ้นที่ขาดไปไม่ได้ทำ จะทำงานใดหรือไม่ แต่สติไม่ควรให้ขาดไปจากตัวจากใจ ผู้พยายามบำรุงสตไม่ลดละ ไม่ว่ากิเลสจะหนาแน่นเพียงไร หัวใจจะต้องเบิกทางให้เดินจนได้ คือ สมาธิทุกขั้นปัญญาทุกภูมิจะเกิดและมีกำลังได้ด้วยอำนาจสติเป็นเครื่องบำรุง หนีไม่พ้น ทางเชื่อมโยงแต่ขั้นเริ่มแรกจนถึงวิมุตติพระนิพพานได้แก่สตินี้แลเป็นผู้สนับสนุน
    ใครจะเจริญสมถะหรือวิปัสสนาขั้นใดก็ตาม ถ้าขาด สติ แล้วสมถะและวิปัสสนานั้นไม่มีทางเจริญได้เลย นับแต่เริ่มแรกปฏิบัติมาจนสุดทางเดินผมไม่มองเห็นธรรมใดที่เด่นและฝังลึกในใจเท่า สติ นี่เลย สติ เป็นทั้งพี่เลี้ยงเป็นทั้งอาหาร เป็นทั้งยารักษาของสมาธิและปัญญาทุกขั้น ธรรมดังกล่าวนี้จะเจริญได้จนสุดขั้นของตน ล้วนขึ้นอยู่กับ สติ เป็นผู้บำรุงรักษาโดยจะขาดไม่ได้
    ท่านจงฟังให้ถึงใจ ยึดไว้อย่าหลงลืม สติ นี่แลคือขุมกำลังใหญ่แห่งความเพียรทุกด้าน ต้องผ่าน สติ นี้ก่อนจะเคลื่อนไหวโยกย้ายความคิดเห็นไปในทางใด หยาบหรือ ละเอียดในธรรมขั้นใด ต้องมี สติ เป็นตัวการสำคัญในวงความเพียร
     
  3. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

    ธรรมชาติของจิต จะไปหยุดนิ่งอยู่นานๆ ไม่ได้เดี๋ยวมันก็คิด ในช่วงนั้นถ้าเกิดความคิดขึ้นมาปล่อยให้คิดไป แต่ให้มี สติ ตามรู้ สิ่งที่มันคิดนั้นจะเป็นอะไรก็ได้เรื่องครอบครัว เรื่องการเรื่องงาน เรื่องผู้เรื่องคน จิปาถะสารพัดที่จะคิดขึ้นมา เมื่อมันคิดขึ้นมาอย่างนั้น ปล่อยให้คิดไป แต่ให้มี สติ กำหนดตามรู้ รู้ รู้ เป็นการส่งเสริมให้จิตของเรามีพลังเข้มแข้ง เพราะความคิดเป็นอาหารของจิต ความคิดเป็นการบริหารจิตให้เกิด สติปัญญา จินตามยปัญญา ปัญญาเกิดขึ้นได้จากความคิด เมื่อจิตมีความคิด สติสัมปชัญญะรู้พร้อมอยู่ทุกขณะจิต ความคิดสะเปะสะปะเหลวไหลนั่นแหละจะกลายเป็นปัญญาในสมาธิ เพราะจิตของ เราคิดแล้วจะรู้สึกแต่เพียงสักแต่ว่าคิด คิดแล้วก็ปล่อยวางไปๆ เมื่อสติสัมปชัญญะมีพลังแก่กล้าขึ้นกลายเป็นปัญญา เมื่อมีปัญญาก็สามารถกำหนดหมายรู้ความคิดว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา แล้วก็รู้พระไตรลักษณ์ขึ้นมา ก็กลายเป็นปัญญาในขั้นวิปัสสนาเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้น จะไปข้องใจสงสัยอยู่ทำไมหนอรีบเร่งบำเพ็ญภาวนาให้มากๆ ให้ได้สมาธิเป็นเบื้องต้น

    ทีนี้ถ้าหากว่าท่านผู้ใดขี้เกียจ หรือไม่มีอะไรจะคิดก็ให้กำหนดจิตรู้ที่จิตเฉยๆ ถ้าจิตว่างรู้ที่ความว่าง ถ้าจิตคิด รู้ที่ความคิด ว่างรู้ที่ความว่าง คิดรู้ที่ความคิด ไล่ตามกันไปอย่างนี้ เมื่อเราฝึกหัดจนคล่องตัว จนชำนิชำนาญ ทีหลังเราอาจจะไม่ได้ตั้งใจกำหนดรู้อารมณ์จิตหรือความคิด สติ ก็ทำหน้าที่ตามรู้คอยควบคุม เมื่อมีสติสัมปชัญญะ จิตของเราก็รู้ว่าอะไรดีอะไรชั่ว อะไรผิด อะไรถูก มันจะรู้ของมันขึ้นมาเอง

    เมื่อพิจารณาไปพอสมควรแล้ว บางครั้งจิตอาจจะสงบลงในท่ามกลางแห่งภาวนา แล้วก็หยุดพิจารณา เมื่อมันหยุดพิจารณา ไปนิ่ง รู้เฉยอยู่ ให้กำหนดตัวผู้รู้ ในขณะกำหนดตัวผู้รู้ จิตจะ หยุด นิ่งอยู่ ก็กำหนดรู้อยู่อย่างนั้นแหละ อย่าไปรบกวน น้ำใจกำลังจะนิ่ง ในเมื่อน้ำใจนิ่ง ไม่มีคลื่นไม่มีฟอง ไม่มีอารมณ์มารบกวน เราก็จะสามารถเห็นจิตเห็น ใจ ของเราได้ทะลุปรุโปร่ง เหมือนๆ กับน้ำทะเลที่มันนิ่ง เราสามารถมองเห็น เต่า ปลา กรวด ทราย สาหร่าย อยู่ใต้น้ำได้ถนัด ฉันใด ในเมื่อจิตของเรานิ่ง รู้ ตื่น เบิกบาน เราก็สามารถมองเห็นสิ่งต่างๆ ในจิตของเราได้อย่างชัดเจน อะไรผุดขึ้นมา จิตจะกำหนดรู้เองโดยอัตโนมัติ
     
  4. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    หลวงปู่ดูลย์ อตุโล

    ในทางปฏิบัติที่ว่า ปฏิบัติจิต ปฏิบัติใจ โดยให้ใจอยู่กับใจนี้ ก็คือให้มีสติกํากับใจให้เป็นสติถาวร ไม่ใช่เป็นสติคล้ายๆ หลอดไฟที่จวนจะขาด เดี๋ยวก็สว่างวาบ เดี๋ยวก็ดับ เดี๋ยวก็สว่าง แต่ให้มันสว่างติดต่อกันไปตลอดเวลา เมื่อสติมันติดต่อกันไปอย่างนี้แล้ว ใจมันก็มีสติควบคุมอยู่ตลอดเวลา เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "อยู่กับตัวรู้ตลอดเวลา" ตัวรู้ก็คือ "สติ" นั่นเอง หรือจะเรียกว่า "พุทโธ" ก็ได้ พุทโธที่ว่า รู้ ตื่น เบิกบาน ก็คือตัวสตนั่นแหละ

    อีกเรื่องหนึ่งคือ


    ให้เอาสติกำกับ ให้เป็นอยู่ด้วยสติ ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถ
    ไหน ให้รู้ตัวอยู่เสมอ รู้อยู่เฉยๆไม่ต้องไปจำแนกแยกแยะ
    ว่าอะไรเป็นอะไร นั่นเป็นนั่น นี่เป็นนี่ การฝึกครั้งแรก
    ค่อนข้างยากหน่อย ท่านบอกว่าเมื่อรักษาได้สักครู่ จิตจะ
    คิดแส่ไปในอารมณ์ต่างๆโดยไม่มีทางรู้ทันก่อน ซึ่งเป็น
    ธรรมดาของผู้ฝึกใหม่ ต่อเมื่อจิตแล่นไปคิดในอารมณ์นั้นๆ
    จนอิ่มแล้ว ก็จะรู้สึกตัวขึ้นมาเอง

    เพราะฉะนั้น ไม่ต้องไปเคร่งเครียดอะไรมาก ขอให้
    รู้ตัวเอาไว้

    ภายหลังจิตท่องเที่ยวไปในอารมณ์ต่างๆแล้ว เมื่อ
    รู้สึกตัวทั่วพร้อม ให้พิจารณาเปรียบเทียบสภาวะของตน
    ในระหว่างที่จิตเที่ยวไปกับในระหว่างที่จิตมีความรู้ตัว
    ว่ามันแตกต่างกันอย่างไร

    รู้ไว้ทำไม?

    ก็เพื่อเป็นอุบายสอนใจตนให้รู้จักจดจำ
    ขณะที่จิตเที่ยวไปจุ้นจ้านอยู่ที่นั่นที่นี่ จิตจะไร้พลัง
    ประสบกับความกระวนกระวาย เหน็ดเหนื่อย เป็นทุกข์
    พอสมควร ขณะนั้นเราไม่รู้ตัว แต่ขณะที่จิตหยุดอยู่
    เพราะมีสติวิ่งมานั้น จิตจะสงบ รู้ตัว เยือกเย็น สุขสบาย

    ลองเปรียบเทียบขณะจิตทั้งสองเวลานั้น ก็จะรู้โทษ
    ของการแส่ไปตามอารมณ์กับคุณของการรู้ตัว แล้วจะเกิด
    ความรู้สึกว่าอยากจะอยู่กับจิตชนิดไหน

    แน่นอนที่สุด ใครๆก็อยากจะอยู่กับจิตที่มีสติ

    ทุกครั้งที่จิตวิ่งไปข้างนอก ให้พยายามรู้ตัว แล้ว
    ค่อยๆดึงกลับมา ค่อยๆรักษาจิตให้อยู่ในสภาวะรู้อยู่กับที่
    ต่อไป เผลอออกไป ดึงกลับมา อย่างนี้เรื่อยไป เมื่อถึง
    จุดอิ่มตัว ก็จะกลับรู้ตัวทั่วพร้อมอย่างเดิมอีก

    หลวงปู่ดูลย์กล่าวว่า

    เมื่อรู้ตัวแล้ว ก็พิจารณาและรักษาจิตต่อไป ด้วยอุบาย
    อย่างนี้ ไม่นานนักก็จะสามารถคุมจิตได้ และบรรลุธรรม
    ในที่สุด โดยไม่ต้องไปปรึกษาหารือใคร

    ข้อห้าม ในเวลาจิตฟุ้งเต็มที่อย่าทำ เพราะไม่มีประโยชน์
    และยังทำให้บั่นทอนพลังความเพียร ไม่มีกำลังใจ
    ในการเจริญจิตครั้งต่อๆไป

    ในกรณีที่ไม่สามารถทำเช่นนี้ได้ ให้ลองนึกคำว่า
    "พุทโธ" หรือคำอะไรก็ได้ที่ไม่เป็นเหตุเย้ายวนหรือเป็นเหตุ
    ขัดเคืองใจ นึกไปเรื่อยๆ แล้วสังเกตว่า คำที่นึกนั้นชัดที่สุด
    ที่ตรงไหน ที่ตรงนั้นแหละคือฐานของจิิต

    หลวงปู่ดูลย์ได้ให้ทางแก้ไว้ด้วย โดยใช้ "พุทโธ" จะเป็น
    คำอื่นก็ได้ แต่คำ "พุทโธ" ดีที่สุด

    ฐานแห่งจิตจะอยู่ไม่คงที่ เปลี่ยนที่อยู่ไปเรื่อย แต่ว่า
    อยู่ในกายแน่นอน ไม่ต้องไปหานอกกาย

    ท่านบอกว่า ฐานแห่งจิตที่นึก "พุทโธ" ปรากฏชัดที่สุด
    ย่อมไม่มีอยู่ภายนอกกายแน่นอน ต้องอยู่ภายในกายแน่

    แต่เมื่อพิจารณาดูให้ดีแล้ว จะเห็นว่าฐานนี้จะว่าอยู่ที่ส่วนไหน
    ของร่างกายก็ไม่ถูก ดังนั้นจะว่าอยู่ภายนอกก็ไม่ใช่
    จะว่าอยู่ภายในก็ไม่เชิง เมื่อเป็นเช่นนี้ แสดงว่าได้กำหนด
    ถูกฐานแห่งจิตแล้ว

    เมื่อกำหนดถูก และ "พุทโธ" ปรากฏในมโนนึกชัดเจนดี
    ก็ให้กำหนดนึกไปเรื่อยๆ อย่าให้ขาดสายได้ ถ้าขาดสาย
    เมื่อใด จิิตก็จะแล่นไปสู่อารมณ์ทันที

    เมื่อเสวยอารมณ์อิ่มแล้ว จึงจะรู้สึกตัวเอง ก็ค่อยๆนึก
    พุทโธต่อไป ด้วยอุบายวิธีในทำนองเดียวกับที่กล่าวไว้
    เบื้องต้น ในที่สุดก็จะค่อยๆควบคุมจิตให้อยู่ในอำนาจได้เอง

    เมื่อคุมจิิตให้มีอารมณ์เป็นหนึ่งได้ ให้ใช้สติจดจ่ออยู่ที่่
    ฐานเดิมนั่นแหละ

    ต่อไปก็ดูว่า มีอารมณ์อะไรเกิดขึ้นบ้าง อะไรเกิิดขึ้น
    ก็ช่าง ให้ละทิ้งให้หมด โดยละทิ้งทีละอย่าง อะไรเกิดก่อน
    ให้ละก่อน อะไรเกิดหลัง ให้ละทีหลัง แล้วเอาสติมาดูจิตต่อไป

    กำหนดรู้อารมณ์ที่เกิดขึ้น และละอารมณ์นั้นๆให้หมด
    กำหนดรู้และละไปเท่านั้น
    นี่เป็นวิถีแห่งสมาธิของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล

    <!-- google_ad_section_end -->
     
  5. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    หลวงปู่ขาว อนาลโย

    การฟังธรรมก็เหมือนกับการประกอบทัพสัมภาระคือเตรียมเครื่องสัมภาระทั้งหลายเพื่อจะลงมือทำการทำงาน ครั้นเตรียมมาแล้วเครื่องกลเครื่องไกอะไรก็ดีถ้าไม่ทำก็ขึ้นขี้สนิมเปล่า ๆ ฉันใดก็ดี การสดับตรับฟังโอวาทคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เช่นกันพระพุทธเจ้าเป็นแต่ผู้บอกทางให้เท่านั้นแหละ พวกเราครั้นเชื่อต่อคำสอนของพระองค์แล้ว เป็นผู้ลงมือดำเนินการ เราเองจะทำด้วยตนเอง เพราะเหตุนั้นจะว่าโดยย่อ ๆ เท่านั้น อาตมาไม่มีคำพูดหลาย เพราะอยู่ป่าอยู่ดง จะว่าให้ฟังย่อ ๆ พอเป็นหลักดำเนินปฏิบัติของพวกเราทั้งหลาย
    ศาสนาคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่อยู่ในตู้ตั้งอยู่ในที่ต่าง ๆ หรือบนใบลานนั้นน่ะก็ดี อันนั้นเป็นเครื่องบอกทางที่จะดำเนินตาม ต้นธรรมแท้ ๆของพระศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่จำเพาะใคร จำเพาะเรา แก่นของธรรมแท้ ๆ อยู่ที่สติ ให้พากันหัดทำสติให้ดี ให้สำเหนียก ให้แก่กล้า สติทำเท่าไรไม่ผิด สตินี่ ทำให้มันมีกำลังดีแล้ว จิตมันจึงจะล่วง เพราะสติคุ้มครองจิต
    ตัวสติก็คือจิตนั่นแหละ แต่ว่าลุ่มลึกกว่า ครั้นใจนึกขึ้นจึงเป็นตัวสติ ก็ใจนั่นแหละเป็นผู้นึกขึ้น เรียกว่าตัวสติ ถ้ารู้นึกขึ้นนั้นแหละสติตัวสติก็เป็นใจ อันเดียวกันนั่นแหละ
    เพราะเหตุนั้นพวกเราควรอบรมสติ ครั้นทำสติให้มีแก่กล้า ทำให้มันดีแล้ว ไม่มีพลาด ทำก็ไม่พลาด พูดก็ไม่พลาดคิดก็ไม่พลาด ย่อมถูกไม่ผิด เพราะการทำเอาเอง
    ธรรมแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์อยู่กับสติอันเดียว พระพุทธเจ้าว่าแล้วในพระโอวาทปาฏิโมกข์ไม่ใช่หรือ บรรดาสัตว์ทั้งหลายที่ท่องเที่ยวอยู่บนพื้นปถพี รอยเท้าสัตว์ทั้งหลายไปลงอยู่ในรอยเท้าช้างอันเดียว มีรอยเท้าช้างเป็นใหญ่กว่าเขาเสียหมด ฉันใดก็ดี ธรรมะคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นอยู่ที่สติ
    กุศลและธรรมทั้งหลาย คุณงามความดีทั้งหลาย จะเกิดขึ้นเพราะบุคคลอยู่กับสติอย่างเดียว บุญกุศลเค้ามูลกุศลทั้งหลายมาสโมสรมารวมอยู่ในสติ สติเป็นใหญ่ เพราะเหตุนั้นพึงรู้อย่างนี้ว่าสติเป็นแก่นธรรม แก่นธรรมมีอยู่สำหรับทุกคน พุทโธมีอยู่ทุกคนทีเดียว พุทธะผู้ตรัสรู้ของจริงนั้น ผู้จะรู้เท่าความจริงทั้งหลายมีอยู่ทุกรูปทุกนามแต่ว่าเรามันหลง จิตของเราเปรียบอุปมาเด็กอ่อนแอทีเดียว เพราะเหตุนั้นแหละ สติเปรียบเหมือนพี่เลี้ยงก็เจ้าของของจิตนั่นแหละ เมื่อมันนึกขึ้นก็แม่น ( = คือ) สตินี่แหละ
    สตินั่นอบรมจิต ครั้นอบรมจนจิตรู้เท่าตามความเป็นจริงแล้ว มันจึงหายความหลงพบความสว่าง ความหลงนั้นก็คือไม่มีสติ ครั้นมีสติคุ้มครอง หัดไปจนมันแน่วแน่แล้ว ให้มันแม่นยำให้มันสำเหนียกแล้ว มันก็จะรู้แจ้งทุกสิ่งทุกอย่าง
    สติเป็นเครื่องตี คือตีสนิมของจิต ดวงจิตมีความหลงเรียกว่าอวิชชา จิตนั่นแหละมันหลง ความหลงคืออวิชชา ขี้สนิมมันก็อยู่กับอวิชชา คือที่มันหลงนั้นขี้สนิมโอบมัน แต่ก่อนจิตผ่องใส พระพุทธเจ้าจึงว่า จิตเดิมธรรมชาติเลื่อมประภัสสร แต่อาศัยอาคันตุกะกิเลส คือ รูป เสียงกลิ่น รส เครื่องสัมผัสทั้งหลายเข้ามาสัมผัสแล้ว มันจึงหลงไปตาม จึงเป็นเหตุให้จิตนั้นเศร้าหมองขุ่นมัวจึงไม่รู้เท่าตามความเป็นจริงไป
    ปัจจัยของอวิชชาความโง่เหมือนกันกับเหล็ก เหล็กนั้นมันก็ดี ๆ อยู่นั่นแหละแต่สนิมก็เกิดขึ้นในเหล็กนั่นเอง เมื่อเขาตีสนิมออกแล้วจึงเป็นดาบคม ขัดเกลาแล้วจึงเป็นดาบคมใช้การได้ เมื่อไม่ตีมันก็อยู่อย่างนั้น จนขี้สนิมกินมากก็ใช้การไม่ได้ จิตของเราก็ดี อาศัยสติเป็นผู้ขัดผู้เกลา อาศัยสติเป็นผู้คุ้มครอง เชื่อสติเชื่อมั่น
    อันที่จริงอาคันตุกะกิเลสก็ไม่เป็นปัญหาที่รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสภายนอกไม่เป็นปัญหา ข้อมูลรากเง่าของมันก็คือ กามาสวะ ภวาสวะ วิภวาสวะ อันนี้เป็นอนุสัยเป็นสนิมของมันเป็นสนิมหุ้มห่อจิตให้มืดมนอนธการ เช่นนี้แหละ เมื่อเราหัดสติทำสติให้ดีแล้ว สู้มีกำลังแล้ว จิตมันก็จะรู้เท่าต่อความเป็นจริง ครั้นมีสติแล้ว สัมปชัญญะ ความรู้ตัวพร้อมก็เจริญ สัมปชัญญะก็ดวงปัญญานั่นแหละญาณก็ว่า ปัญญาก็ว่า ความรู้ตัวพร้อมกับสติทั้งสองอย่างนี้เป็นคู่กัน พอสติระลึกขึ้นแล้ว สัมปชัญญะก็รู้ว่าผิดหรือถูก รู้พร้อม ถูกก็รู้พร้อม ผิดก็รู้พร้อม
    เมื่อเราอบรมสติดีแล้ว มันจะมีกำลังความสามารถ สามารถทุกสิ่งทุกอย่าง สามารถจะแทงตลอดได้ทุกสิ่งทุกอย่างแม้ว่าจะทำอันใดก็ดี คิดดูเถอะน่ะ เวลาไฟไหม้บ้านเขายังเกิดกำลัง สามารถหอบเอาของหนัก ๆ ออกจากไฟได้ หมดไฟไหม้แล้ว ไฟดับแล้ว สามสี่คนไปหามของนั้นก็ไม่ไหว จิตก็ปานนั้นแหละมีกำลังมาก เพราะเหตุนั้น เมื่อเราหัดดีแล้วเหาะได้เหมือนพระโมคคัลลาน์มุนีก็มี แล้วพวกเราสงสัยว่า เหาะก็คือท่านนั่งอยู่นี่แหละแล้วจิตท่านไปสวรรค์ไปนรกไปนั่น ๆ ตัวท่านนั่งอยู่ที่นี่ อันนั้นก็แม่น แต่ว่าไปได้จริง ๆ เหาะเอากายไปด้วย คิดดูเถอะ จะมัวกลัวอะไรกับตาย ให้พากันอบรมจิต
    พวกเรานี้อะไร ๆ ก็ดีแล้ว สมบูรณ์บริบูรณ์ทุกสิ่งทุกอย่างแล้ว พวกศรัทธาทั้งหลายก็นับว่าเป็นผู้สูงอยู่แล้ว ศรัทธาก็มีอยู่แล้ว ได้สดับตรับฟังแล้วก็มีอยู่แต่จะทำเอาเท่านั้น ให้พากันทำเอา มันจะไปไหนเสีย ธรรมทั้งหลายมันก็อยู่นี่แหละ แปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์นั้น เหล่านั้นเป็นเปลือกเป็นนอก แก่นมันก็คือสติ ให้ทำเอา สตินั่นแหละ ทำให้มีกำลัง เมื่อสติมีแล้วมันก็รักษาจิตของมัน มันไม่ให้ไปออกซ้ายออกขวา สติคอยขนาบเข้ามา ๆ สติแก่กล้า จิตย่อมทนไม่ได้ เมื่อทนไม่ได้มันก็สงบลง ครั้นสงบลงแล้วมันก็รู้ เดี๋ยวนี้มันไม่มีปัญญา มันก็ส่ายไปมา เพราะมันไปหลายทาง จึงไปหลายทางเพราะเป็นอาการของมัน มันไปตามแง่ของมัน คือเวทนามันเป็นแสงของจิต สัญญาก็เป็นแสงของจิต ความปรุง (= สังขาร) นั้นก็เป็นแสงของจิต วิญญาณ เครื่องรู้ทวารทั้งหกก็เป็นแสงของจิตออกไปทั้งนั้น ผู้รู้แท้ ๆ ถ้าจะสมมุติว่าตนก็แม่น เจ้าจิตนั้นแหละแม่นเจ้าสตินั้นเหละที่สมมุติว่าตนนอกจากนั้นเป็นอาการทั้งนั้น
    รูป (กาย) อันนี้ก็เป็นแต่เพียงธาตุประชุมกัน ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟประชุมกันเท่านั้น เพราะฉะนั้นเมื่อจิตสงบลงไป เวทนาก็ดับแล้ว พอมันสงบลงไปแล้ว คนก็ไม่มี อะไรเล่ามันจะมาเจ็บมาทุกข์ อะไรเล่ามันจะมาจำ คนไม่มี มันก็สว่าง ๆ ขึ้น เมื่อจิตสงบลงมันก็สว่างโร่ขึ้นมา ว่าง ๆว่างๆ จิตสงบลงก็ว่าง ความจำหมายก็ไม่มี ความปรุงแต่งขึ้นอีกก็ไม่มี ที่จะรู้วิญญาณ รู้ไปตามทวารทั้งหกก็ไม่มี มันดับไปสิ้น เท่ากับว่าของไม่มีอยู่นี้ แล้วของที่มีอยู่นี้เป็นของหนัก ครั้นใครยึดใครถือไว้ก็หนัก ไปถือขันธ์ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ใครยึดไว้ผู้นั้นก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้ถือหาบอันหนัก พระพุทธเจ้าจึงว่า ขันธ์ห้าเป็นภาระอันหนักเน้อ
    ขันธ์ห้าก็รวมทั้งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณใครถืออันนี้ ใครถือไปเป็นทุกข์ เมื่อผู้ว่างภาระคือวางไม่ยืดถือว่าขันธ์ห้านี้เป็นตัวเป็นตนแล้ว ไม่ยึดถือแล้วได้ชื่อว่าเป็นผู้วางภาระ ก็มีความสุข จะนั่ง ยืน เดิน ก็มีความสุข ไม่ถือเอาภาระคือถือเอาขันธ์ห้านี้ เพราะรู้ตามความเป็นจริงของมันแล้ว ไม่ถือเอา ไม่ยึดเอา ได้ชื่อว่าเป็นผู้ขุดตัณหาขึ้นได้ทั้งราก เป็นผู้เที่ยงแล้ว เที่ยงว่าจะเข้าสู่ความสุขตามสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้เที่ยงแล้ว เมื่อจิตมันรวมแล้ว มันก็จะรู้ตามความเป็นจริง มันจะวางขันธ์นี้ เมื่อมันรวมนั่นแหละ ถ้าจิตรวมแล้วมันก็วาง วางแล้วก็มีแต่ว่าง ๆ แล้วค้นหาตัวก็ไม่มี เมื่อค้นหาตัวไม่มีแล้วก็อันนั้นแหละ
    พอจิตสงบลงแล้ว ปัญญาก็เกิดขึ้นของมันเอง ครั้นจิตสงบถึงฐานถึงที่ ถึงอัปปนาแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นเองนะแหละ ถึงตอนนั้น แม้จิตมันฟุ้งขึ้น ฟุ้งแล้วมันก็ไป มันไม่ยึดอันใด แม้แสงสว่างอันสว่างหมดทั้งโลกก็ตาม มันไม่ไปยึด มันสาวเข้าหาคนไหน คนอยู่ที่ไหนมันจึงมาอวดว่าถือตนถือตัว อยู่ไหนเล่า สาวเข้าไป ๆ อันนั้นหรือคน อันนี้หรือคน หาไม่มี ถ้าจิตรวมลงอยางนั้น ก็ได้อาศัยสติควบคุมให้มันอยู่ ไม่ให้มันไป จิตรวมลงอย่างนั้น แจ่มใสทีเดียว ไม่ใช่นั่งง่วงนอน ง่วงนอนไม่ใช่นิสัยของสติ สตินั้นแจ่มใส แจ่มใสอย่างนี้แหละเรียกว่า สัมมาสติ เป็นสมาธิอันถูกต้อง อันนั้นแล้ว สติก็แม่น (= คือ) จิตนั่นแหละเป็นตัวแจ่ม จิตนั่นแหละเป็นตัวสมาธิ จิตนั่นแหละเป็นตัวปัญญา อันเดียวนั่นแหละ มันจะถึงอธิศีล อธิจิต อธิปัญญาได้ ต้องอาศัยสติควบคุมนั่นแหละ
    ผู้ศรัทธาได้ยินได้ฟังแล้ว ให้พากันตั้งใจทำ มันไม่อยู่ที่อื่นหนา ไม่ต้องไปหาเอามาจากที่อื่นหนา อยู่จำเพาะใคร จำเพาะเรานี้นะ ไม่ต้องไปคว้าเอาที่ไหนดอก ทำเอานั่นแหละ นึกขึ้นก็พอ ปะกันโลด ( = โดยเร็ว) เห็นกันโลด นึกขึ้นก็เห็นกันโลด แล้วก็คุมสติเข้าเอง มันจะรู้เอง ปัจจัตตัง หรือ สันทิฏฐิโก จะเห็นเอง อกาลิโก ไม่อ้างกาลเวลา จิตเราหายจากราคะแล้ว จะรู้จำเพาะตนน่ะแหละ จิตเรายังมีราคะ ก็จะรู้ จิตมีโทสะก็จะรู้ จิตหายโทสะก็จะรู้ จิตมีโมหะ ความหลงงมงาย ก็จะรู้ จิตหายโมหะก็จะรู้ จิตซบเซาก็จะรู้ จิตฟุ้งซ่านก็จะรู้ รู้ได้แล้วก็จะได้ปลดเปลื้องแก้ไข ผู้ว่างจิตเบาบางแล้วก็จะเพิ่มความยินดีเพิ่มความศรัทธาขึ้น รีบเร่งความเพียรเข้าอีก เอาเท่านั้นแหละ พากันทำเอา ไม่อ้างที่อ้างฐานดอก อยู่ที่ไหนก็ทำได้ เวลาจิตมันสงบสติมันก็มีอยู่นั่นแหละ.<!-- google_ad_section_end -->
     
  6. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    พระธรรมเทศนาที่คัดมาทั้งหมดนี้กุศลผลบุญจงมีแก่ผู้มีจิตพิมพ์เป็นธรรมทานทุกๆท่าน พร้อมทั้งผู้นำมาเผยแพร่ทั้งหลายทั้งปวง สาธุ
     
  7. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    หลวงปู่สิม พุทฺธาจาร

    เบื้องหน้าแต่นี้เป็นต้นไปเป็นเวลานั่งสมาธิภาวนา ให้พากันนั่งขัดสมาธิเอาขาขวาทับขาซ้าย เอามือข้างขวาวางทับมือข้างซ้าย ตั้งกายให้เที่ยงตรง หลับตานึกภาวนาพุทโธพร้อมกับลมหายใจเข้าหายใจออก ในขณะที่เรานั่งสมาธิภาวนานี้จงรวมจิตใจเข้ามาในบริกรรมภาวนานี้หรือในการได้ยินได้ฟังอุบายธรรมต่าง ๆ เมื่อเสียงเข้าไปถึงที่ไหนรู้สึกในใจที่ไหน ก็ให้รวมจิตใจลงไปที่นั้น ที่นี้แหละที่เป็นปัจจุบัน ปัจจุบันธรรม เป็นธรรมที่ปฏิบัติ ผู้ใดรวมใจของตนเข้าไปภายในปัจจุบันย่อมถึงซึ่งความไม่ง่อนแง่นคลอนแคลน จิตใจที่อ่อนแอท้อแท้จะได้แข็งแรงขึ้นด้วยสติความระลึกได้ในการบริกรรมในการฟังธรรมสตินี้ก็เกิดขึ้นจากใจเหมือนกัน เกิดขึ้นจากดวงจิตดวงใจดวงที่รู้อยู่ฟังอยู่เจริญอยู่บริกรรมอยู่ เกิดขึ้นจากที่นี้เองเรียกว่าสติความระลึกได้ เมื่อสติความระลึกได้มีความรู้สึกอยู่ในใจในตัว ดวงสตินี้ก็ยังให้จิตในที่รู้อยู่นี้แหละตั่งมั่นสงบระงับไม่แส่ส่ายไปกับสังขารวิญญาณกริยาอาการของจิต
    ดวงจิตดวงใจจะได้รวมได้สงบเข้ามาอยู่ในจิตใจของตนจริง มีสติทุกเวลา สตินี้สำคัญมาก ในมหาสติปัฏฐานท่านให้เอาสตินี้แหละระลึกอยู่ในกาย กายมี ขน ผม เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก อาอาร ๓๒ เรียกว่า กาย เนื้อตัว ตัวตนคนเราให้ระลึกอยู่ในร่างกาย คือ ร่างกายนี้กำหนดพิจารณาให้เห็นตามภาวะความเป็นจริงอยู่ ร่างกายนี้กำหนดลงไปในหลักอสุภะคือ ว่าไม่งามในร่างกายของคนเรานี้เราดูผิวเผินก็เป็นของสวยสดงดงาม แต่ว่าให้ดูถี่ถ้วนเข้าไปทางนอกทางในแล้ว ดูทวารทั้ง ๙ ที่มันไหลเข้าเทออกอยู่แล้ว ย่อมแสดงให้เห็นว่า ร่างกายของคนเรานี้เต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่าง ๆ เต็มไปด้วยบุพโพโลหิต เมื่อผู้ใดมากำหนดภาวนาเพียรเพ่งดูให้รู้ว่าเป็นของปฏิกูลโสโครกจริง ๆ จิตของผู้นั้นย่อมมีความสงบระงับ ย่อมเห็นได้ว่ากายนี้ก็สักแต่ว่ากาย จะว่าเป็นสัตว์ก็ไม่ได้ เป็นบุคคลก็ไม่ได้ จะว่าเป็นตัวเราของเราอะไรก็ไม่ได้ทั้งนั้น เรียกว่าไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนไม่ใช่เราไม่ใช่เขา
    จงกำหนดให้เห็นว่ากายนี้ก็สักแต่ว่ากาย โดยสมมุติบัญญัติก็ว่ากาย ที่จริงมันก็ตั้งชั่วระยะเวลาภายใน ๑๐๐ ปีนี้ก็จะเข้าถึงความแตกความดับความทำลายตามสภาพของกาย เรียกว่ากายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ท่านให้กำหนดให้เห็นว่าร่างกายก็สักแต่ว่ากายเท่านั้น เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานเอาสติมาระลึกเวทนา สุขเวทนาได้แก่ความสบาย ทุกขเวทนาได้แก่ความไม่สบาย เฉย ๆ เวทนา เวทนานี้สักแต่ว่าเวทนา ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขาเหมือนกัน การที่จิตมายึดเอาถือเอา สบายก็มายึดว่าเราสบาย แท้จริงแล้วกายเขาสบายเขาไม่สบาย เวทนาก็เกิดขึ้นตั้งอยู่ชั่วระยะเวลา สุขก็ดีทุกข์ก็ดี มันไม่เที่ยงแท้แน่นอน อาศัยสติเป็นผู้ระลึกดู ระลึกอยู่ไม่ให้จิตใจหลงใหลไปที่อื่นเรียกว่า สติปัฏฐาน
    จิตความคิดความนึกที่เกิดขึ้นจากดวงจิตดวงใจ แล้วก็แส่ส่ายไปตามอารมณ์ดีอารมณ์ร้ายอารมณ์สบายไม่สบาย จิตนี้ก็สักแต่ว่าจิตเหมือนกัน ไม่ใช่ตัวบุคคลตัวตนเราเขา ให้สตินี้แหละเป็นผู้ระลึกอยู่ทุกความคิดที่เกิดขึ้น เมื่อมีสติอยู่ก็จะเห็นว่าความคิดนึกเหล่านั้นมันเกิดขึ้นมันก็ดับไป เกิดขึ้นก็ดับไปเท่านั้นเอง ไม่ให้จิตใจหลงใหลไปกับความคิดความนึกของดวงจิตอันนั้นเรียกว่า ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตนของเราเหมือนกัน เมื่อรู้เข้าใจจิตใจจะได้ปล่อยวาง จะได้สงบระงับตั้งมั่นอยู่ภายในจิตใจดวงที่รู้อยู่นี้ พร้อมด้วยสติปัฏฐาน ธรรมารณ์อันเกิดกับในจิตใจนี้เหมือนกัน อารมณ์ของจิตที่มันปรุงไปปแต่งไปตามอารมณ์ดีอารมณ์ร้าย อารมณ์ทุกอย่างที่มากระทบตากระเทือนหู ก็เป็นธรรมารมณ์อยู่ในจิตอันนี้ ก็ไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่บุคคลไม่ใช่ตัวตนของบุคคลผู้ใดเหมือนกัน จงเป็นผู้มีสติระลึกอยู่ในกาย เวทนา จิต ธรรม ท่านให้ชื่อว่า สติปัฏฐาน
    เมื่อระลึกได้ธรรมดาเรียกว่าสติปัฏฐาน เมื่อระลึกได้จนเป็นมหาสติปัฏฐานเรียกว่า สติใหญ่ ใหญ่จนไม่หลง อะไรต่อมิอะไรเกิดขึ้นในกายเวทนาจิตธรรม ย่อมรู้ได้เข้าใจว่า จิตยึดถือหรือไม่ยึดถือ จิตใจเลิกได้ละได้หรือเลิกไม่ได้ละไม่ได้ เห็นแจ้งตามความเป็นจริงหรือไม่ สติอันนี้ต้องระลึกให้มากที่สุด ในทางมหาสติปัฎฐาน ท่านให้นึกอยู่จนกระทั่งว่าไม่พลั้งไม่เผลอ ไม่หลงไม่ลืม แม้ร่างกายจะยืนจะเดินจะนั่งจะนอน ท่านก็ให้มีสติอยู่ทุกเวลา หลับตาลืมตา มือ เท้า เดินไปก็มีสติ มือจะแตะต้องที่ไหนก็มีสติระลึกอยู่ทุกเวลาเรียกว่าเป็นมหาสติปัฏฐาน เมื่อการระลึกได้อยู่ทั้งกายวาจาจิตทุกขณะ กายเวทนาจิตธรรมจะเคลื่อนไหวไปมาสงบระงับ ก็ระลึกได้อยู่ทุกเวลา ไม่หลงใหลไปอยู่ใต้อำนาจกิเลส มีสติอยู่ทุกขณะทุกเวลา ไม่ใช่เวลาพูดออกมาจึงมีสติ ไม่ว่าพร้อมทุกอย่างจะพูดจาปราศรัยก็มีสติ ก่อนจะพูดก็มีสติ พูดอยู่ก็มีสติ พูดจบไปแล้วก็มีสติ ก่อนที่เราจะทำอะไรร่างกายจะทำการงานใด ๆ ก็เรียกว่ามีสติความระลึกได้ เวลาทำอยู่ก็มีสติ เวลาทำแล้วไปก็มีสติระลึกอยู่ในตัวในกายจิตนี้ ในกายเวทนาจิตธรรมได้อยู่เสมอ
    อะไรผิดอะไรถูกก็ให้มีสติระลึกดูพิจารณาดู จนให้จิตใจนี้เข้าใจในสติปัฏฐาน ในมหาสติปัฏฐาน แล้วทำให้ปฏิบัติได้ไม่ต้องให้เผลอทีเดียว มันคิดอะไรอยู่ในจิตนั้น คิดภาวนาหรือคิดนอกภาวนา คิดภายในกายในจิตหรือว่าคิดนอกกายนอกจิต มันคิดอิจฉาพยาบาทคนโน้นคนนี้ เกลียดคนโน้นชังคนนี้ไหม ในจิตนี้ก็ให้ระลึกดูให้ได้ ผู้มีสติแล้วจิตจะวางเฉยได้ อย่างว่าความเกลียดความกลัว ความหวาดสะดุ้งขนพองสยองเกล้าอันใดอันหนึ่งเกิดขึ้น ถ้ามีสติความระลึกอยู่ไม่หลงใหลออกไปก็ไม่โกรธ ไม่ไปพยาบาทอาฆาตจองเวรใครในจิตใจที่มีสติปัฏฐานอยู่นั้นไม่ไปรักใคร ไม่ไปชังใคร ไม่ไปดุด่าว่าร้ายให้แก่ใคร ไม่ไปทำร้ายให้แก่บุคคลผู้ใด ไม่อิจฉาตาร้อนใคร เรียกว่ามีสติภาวนาเรื่องของตัวเองอยู่ คนอื่นผู้อื่นนั้นให้ยกไว้เป็นเรื่องของเขา เขาเกิดมาเองไม่ใช่เราทำให้เกิด เขาแก่ไปเองไม่ใช่เราทำให้แก่ เขาเจ็บไข้ได้ป่วยไปเองไม่ใช่เราทำให้เจ็บไข้ได้ป่วย เขาตายไปเอง เราก็เหมือนกัน เราเกิดมาเองแก่ไปเอง เจ็บไปเอง ตายไปเอง ทำไมจึงมาอิจฉาพยาบาทแก่มนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย อิจฉาพยาบาทแล้วดีอย่างไรเกิดประโยชน์อะไร
    คิดดูให้ดีในจิตใจของคนเรานี้เมื่อคิดดูให้ดี มีสติดี มีสมาธิดี มีปัญญาดี เมื่อภายในดี ภายนอกไม่ต้องว่า มันต้องดีไปเพราะมันดีภายใน แต่ว่าถ้าภายในนี้แหละขาดสติปัฏฐาน ไม่ระลึกอยู่ในกายเวทนาจิตธรรมอันเป็นภายในของตัวเอง มัวแต่ไปคิดไปปรุงไปข้องใจอิจฉาพยาบาทเบียดเบียนซึ่งกันและกันอยู่ ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ ไม่ชื่อว่าเป็นนักภาวนา ไม่ชื่อว่าเป็นผู้มีมหาสติปัฎฐาน เมื่อสติภายในไม่มี ฉะนั้นต้องเจริญระลึกอยู่ในดวงจิตดวงใจของตัวเอง การภาวนาละกิเลสนั้นต้องเป็นผู้มีสติตั้งจิตตั้งใจอยู่ทุกเวลา จะยืนก็มีสติ ก่อนยืน ยีนอยู่จะเคลื่อนไปจากเวลายืนก็มีสติ ก่อนจะเดินก็มีสติ คำว่ามีสติ ความระลึกในใจนั้นพร้อมทุกอย่าง ตาดูหูฟังอะไรมันจะเกิดขึ้น คนที่เอาเท้าไปตำตอ เอาศีรษะไปตำไม้หรือทำอะไรผิด ๆ หัก ๆ จับอะไร พลัดตกหกล้มเพราะอะไร ก็เพราะขาดสตินั้นเอง แล้วถ้าขาดสติ สติไม่มี ความขี้เซาเหงานอน มักง่าย ท้อถอยเกียจคร้านก็ย่อมเกิดมีขึ้น เพราะว่าไม่มีสติหรือมีสติแต่น้อยไม่พร้อมมูลบริบูรณ์
    ถ้าสติความระลึกได้ใจที่ตั้งมั่นขึ้นมาระลึกอยู่เสมอในทางร่างกาย เรียกว่าก่อนจะทำอะไรหรือไม่ทำอะไรก็มีสติ ทำอะไรอยู่จะทำอะไรก็มีสติความระลึกได้ ถึงเวลาทำทำอยู่ก็มีสติให้พร้อมมูลอยู่เสมอ คำว่าสติปัฏฐาน สติเป็นฐานที่ตั้ง ฐานที่ตั้งของสติความระลึกได้อยู่ทุกเวลา เมื่อทำอะไรจบลงไปก็มีสติทำงานทางนอก คนที่ทำงานแล้วไม่รู้จักเก็บไม่รู้จักรักษา ทิ้งเกลื่อนกลาดไปก็คือว่าไม่มีสติ เวลาทำก็ไม่มีสติ ทำแล้วไม่รู้จักเก็บรู้จักรักษา ก็คือว่าขาดสตินั้นเอง การงานสิ่งนั้นมันก็ขาดตกบกพร่องเกิดความเสียหายขึ้นมาไม่ว่าอย่างหยาบอย่างกลางอย่างละเอียด ไม่ว่าทางโลกและทางธรรมต้องอาศัยสติอันนี้แหละ คนดีก็เรียกว่าคนมีสติ คนไม่ดีก็คนไม่มีสตินั้นเอง
    ส่วนสตินี้เรียกว่าระลึกได้อยู่ทุกเวลา ทุกอริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน ศีลรักษากายให้เป็นปกติ ระวังวาจาให้เป็นปกติ กายวาจาใจให้เป็นปกติท่านให้ชื่อว่า ศีล ข้อห้ามก็คือว่าให้เว้นจากฆ่าสัตว์และให้เว้นจากความอิจฉาพยาบาทแก่สัตว์ทั้งหลาย ไม่ให้มีโกรธจนฆ่าสัตว์ ไม่ให้มีอิจฉาพยาบาทเกลียดชังทั้งสัตว์และคนทั่ว ๆ ไปด้วย เรียกว่าเว้นจากฆ่าสัตว์ เว้นจากลักทรัพย์สิ่งของผู้อื่น เว้นจากประพฤติผิดในกาม เว้นจากกล่าวมุสาวาจา เว้นจากดื่มกินสุราเมรัย เรียกว่าศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ ก็ข้อห้ามเพื่อให้บุคคลเรามีสติระมัดระวังกายวาจาจิตของตนเพื่อจะได้มีสติอันสมบูรณ์บริบูรณ์ เมื่อมีสติอันสมบูรณ์บริบูรณ์แล้ว ชื่อว่าศีลสมาธิปัญญา ศีลก็ปกติ มีสติก็มีปกติ เมื่อมีปกติจิตก็ตั้งมั่นไม่มีวิตกวิจารไปไหน เรียกว่าสมาธิจิตมั่นคง คำว่าจิตมั่นคงก็คือว่ามีสติจิตจึงจะมั่นคง คำว่ามั่นคง เราทำอะไร ก็ตั้งอกตั้งใจประกอบกระทำในสิ่งนั้น ๆ
    เราบรรพชาอุปสมบทในทางพุทธศาสนาต้องมีสติให้มีความยินดีพอใจในสมณะเพศวิสัยของตัวเองและให้รู้ว่าสมณะเพศ สมณะวิสัยนี้มีข้อวัตรปฏิบัติเป็นอย่างไร เลิกละทำชั่วด้วยกายวาจาจิต อย่างไรก็ต้องอาศัยสติความระลึกได้ ความรวมจิตใจของตนเรียกว่าให้มั่นคง คำว่าสมาธิโดยจิตตั้งมั่น ทำอะไรให้มีความตั้งมั่นให้มีความจริงใจทั้งกายทั้งวาจาทั้งจิตทั้งใจพร้อมด้วยหมดทุกอย่างเรียกว่ามีสติ ทำอันใดก็เป็นหลักเป็นฐานไม่ใช่ทำเล่น ๆ ทำเลอะเทอะ ไม่ใช่ทำทิ้งขว้างไปไม่เอาจริงเอาจัง อย่างนั้นใช้ไม่ได้เรียกว่าต้องทำจริง ๆ ประกอบอยู่ทุกเวลา หลับก็มีสติลืมตาก็มีสติ ฟังเสียงก็มีสติ ก่อนฟังก็มีสติ ฟังอยู่ก็มีสติ ฟังจบไปแล้วก็มีสติอยู่ ระมัดระวังอยู่ในอายตนะทั้งหลายมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อายตนะภายในมันติดอยู่ภายในติดอยู่ในตัวของคนเรา อายตนะภายนอก รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ มันอยู่ข้างนอก บางคราวก็เกิดขึ้นมากบางคราวก็เกิดขึ้นน้อย ตามแต่อารมณ์ที่ผ่านเข้ามา ตาดูหูฟังมีสติอยู่ทุกเวลา เราฟังธรรมอยู่ก็มีสติ สตินั้นแหละระลึกจนความง่วงเหงาหาวนอนเข้ามาแทรกซึมไม่ได้ เมื่อเข้ามาแทรกซึมต้องมีสติว่าจะแก้ไขอย่างไร เมื่อเราระลึกก็แล้วภาวนาก็แล้วยังง่วงเหงาหาวนอน ท่านก็ให้ยืนขึ้น เมื่อยืนขึ้นยังไม่หายท่านก็ให้เดินเรียกว่าเดินจงกรม เดินจงกรมกลับไปกลับมา ทำให้รูปขันธ์ร่างกายมันเคลื่อนไหวไปมาจิตจะได้มีสติสม่ำเสมอ จิตใจจะได้ตั้งมั่นในธรรมปฏิบัติทุกเวลา ทุกลมหายใจเข้าออก
    ผู้ที่จะระลึกบริกรรมภาวนาพุทโธได้ติดต่ออยู่ทุกลมหายใจเข้าหายใจออกก็ต้องมีสติ สติต้องมีพร้อมอยู่เสมอ เดินจงกรมก็มีสติ ก่อนจะเดินก็มีสติ เดินอยู่ก็มีสติ เดินจบเดินหยุดไปแล้วก็มีสติอยู่ นั่งก็มีสติ ก่อนนั่งก็มีสติ นั่งแล้วก็มีสติ ก่อนนอนก็มีสติ นอนอยู่ก็มีสติ ตื่นมาก็มีสติระลึกอยู่เสมอ ในดวงจิตดวงใจอันนี้ไม่ให้ความง่วงเหงาหาวนอนเข้ามาทับถม หรือว่ากามฉันท์ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา ไม่ให้มีในกายวาจาจิตของเรา มีในกายวาจาจิตของบุคคลอื่นช่างเขา ไม่ต้องไปกังวล ในกายวาจาจิตตัวของเราปริมณฑลหนังหุ้มอยู่เป็นที่สุดรอบนี้ ต้องมีสติทุกเวลา เรียกว่ามีสติ ลมหายใจเข้ามีสติ ลมหายใจออกมีสติ ในเวลากายวาจาจิตสบายมีสติ ในเวลากายวาจาจิตไม่สบาย ควรทำอย่างไร ควรพูดอย่างไร ควรวางตัวอย่างไร จึงจะเหมาะสมกาลเทศะ
    ปุคคลัญญรู้จักบุคคล ปริสัญญรู้จักบริษัท ควรอย่างไร ไม่ควรอย่างไร แสดงออกอย่างไร ไม่แสดงออกอย่างไร สติทั้งนั้นต้องระลึกอยู่ทุกเวลาจนเป็นมหาสติปัฏฐาน มหาสติปัฏฐานก็คือว่ามหาใหญ่ปัฏฐานที่ตั้งของสติมีอยู่ในนักภาวนาจิตใจของผู้ปฏิบัติ ไม่ใช่คำพูดที่พูดที่ว่าเป็นสติดวงจิตดวงใจที่ตั้งขึ้นมาระลึกขึ้นมาเป็นองค์สติ สติสัมโพชฌงค์ระลึกอยู่ เป็นผู้มีเพียรเพ่งอยู่ กายวาจาจิตนี้ท่านเปรียบอุปมาเหมือนพายเรือข้ามฝั่ง สมัยโบราณนั่นเรือยนต์กลไกไม่ค่อยมี เขาก็เอาไม้มาต่อมาแกะลงไปให้เป็นเรือแล้วก็มีไม้พายมีคนพาย ทีนี้เรือนั้นจะข้ามฝั่งได้หรือไปถูกช่องทางไปตามต้องการล่องน้ำขึ้นน้ำได้นั้นต้องอาศัยผู้พายผู้ถ่อให้เรือนั้นไป หรือเอาไม้พายจุ่มน้ำลงไปก็พายไปนั้นแหละสตินั้นคือว่าคนพายเรือดัดแปลงเรือของตนไม่ให้ล่มไม่ให้จม ตัวคนพายเรือไม่เป็นก็ไปตามกระแสน้ำข้ามน้ำไม่ได้ สตินี้ท่านเปรียบเหมือนคนพายเรือผู้พายเรือนายท้ายผู้นำเรือไปให้ถึงจุดหมายปลายทาง ผู้นั่งสมาธิภาวนา ปฏิบัติบูชาในทางพุทธศาสนาขาดสติไม่ได้ แม้แต่วินาทีก็ไม่ได้ คำว่าไม่ได้นั้นก็คือเมื่อขาดสติมันก็ขาดสมาธิ จิตตั้งมั่นไม่เต็มที เมื่อจิตตั้งมั่นไม่เต็มที่มันก็ขาดปัญญา ความรอบรู้ในกองสังขาร ในอะไรต่อมิอะไรที่มันเกิดมันดับมันเป็นมันมีอยู่ในเรื่องกานวาจาจิตของเรานั้นแหละ เมื่อมันขาดปัญญามันก็ไม่เต็มที่ เมื่อขาดสติขาดสมาธิขาดศีล ขาดศีลสมาธิปัญญาก็พาให้จิตใจนี้แหละย่อหย่อนท้อถอยมักง่ายไม่สงบระงับ
    เมื่อพร้อมด้วยสติสมาธิปัญญา ทานศีลภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา วิชา วิมุติก็ย่อมเกิดขึ้น จิตย่อมหลุดจากกิเลส หลุดพ้นออกจากกิเลส ราคะ โทสะ หรือว่าละกิเลสราคะโทสะในจิตใจของตนเองให้หมดไปให้สิ้นไปได้ด้วยสติปัฏฐาน มีสติทุกเวลาไม่ว่า นั่ง ยืน เดิน นอน ทุกอิริยาบถ
    เมื่อมีสติมีสมาธิมีปัญญามีความรอบรู้ทุกอย่างทุกประการ สิ่งใดควรละก็ละ สิ่งใดควรเจริญก็เจริญ สิ่งใดควรทิ้งแล้วควรปล่อยแล้วก็ปล่อยวางไป ไม่ต้องเอามายึดมาถือในหน้าในตา ในตัวในตน ในชาติในตระกูล ในตัวเราของเรา ตัวทิฏฐิ มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิดเลิกละออกไป พระพุทธเจ้า พระองค์ให้เจริญอยู่ในสัมมาทิฏฐิความเห็นชอบ ดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ ระลึกชอบ ตั้งจิตมั่นชอบก็ในสตินั้นเอง ในใจนี้แหละไม่ใช่ในที่อื่นไม่ใช่เรื่องภายนอกอย่างเดียว ส่วนมากเป็นเรื่องภายใน เมื่อภายในมีสติ จิตก็ตั้งมั่นเป็นสมาธิ เมื่อจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ จิตก็มีปัญญา
    เมื่อจิตมีปัญญาก็ย่อมเห็นได้ว่ารูปนามกายใจของเราของเขา ภายนอกภายใน ทั้งหยาบทั้งละเอียดอะไรต่อมิอะไรเหล่านี้ ก็ย่อมเห็นแจ้งด้วยปัญญาด้วยญาณ หยั่งรู้หยั่งเห็นแจ่มแจ้งชัดเจนขึ้นมาในจิตใจนั้นว่าไม่เป็นอย่างอื่น มันต้องเป็นไปอย่างนี้อย่างว่า ฟองน้ำเจริญขึ้นเดี๋ยว ๆ มันก็แตกไป เวลามันเจริญขึ้น มันเกิดขึ้นจิตใจก็ยินดี พอใจว่าตัวเราของเรา ครั้นเวลามันจะแตกดับจะตาย เอาละวุ่นวายทีนี้ ไม่ให้มันตาย จะแก้ไว้รักษาไว้ ถ้ามันถึงเวลามันเจ็บแก้อย่างไรก็แก้ไม่ได้
     
  8. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]หลวงพ่อชา สุภัทโท [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif][/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]สติคือความระลึกได้ สัมปชัญญะคือความรู้ตัว อันนี้ช่วยประคับประคองดวงใจของเราให้อยู่กับธรรมะ สติระลึกได้ว่า บัดนี้เราจะจับไม้เท้า เมื่อเราจับไม้เท้าอยู่เราก็รู้ว่าเราจับไม้เท้า นี่เป็นสัมปชัญญะ ถ้าเรารู้อยู่ในขณะนี้ ขณะเมื่อเราจะทำหรือเมื่อเราทำอยู่ก็รู้ตามความจริงของมันอยู่อย่างนั้น อันนี้แหละที่จะช่วยประคับประคองใจของเราให้รู้ธรรมะที่แท้จริง[/FONT]ทีนี้ถ้าหากว่า เราเผลอไปนาทีหนึ่ง ก็เป็นบ้านาทีหนึ่ง เราไม่มีสติสองนาที เราก็เป็นบ้าสองนาที ถ้าไม่มีสติครึ่งวันเราก็เป็นบ้าอยู่ครึ่งวัน เป็นอย่างนี้
    สตินี้คือความระลึกได้ เมื่อเราจะพูดอะไรทำอะไร ต้องรู้ตัว เราทำอยู่ เราก็รู้ตัวอยู่ ระลึกได้อยู่อย่างนี้ คล้ายๆ กับเราขายของอยู่ในบ้านเรา เราก็ดูของของเราอยู่ คนจะเข้ามาซื้อของหรือจะมาขโมยของของเรา ถ้าเราสะกดรอยมันอยู่เสมอ เราก็รู้เรื่องว่า คนคนนี้มันมาทำไม เราจับอาวุธของเราไว้อยู่อย่างนี้ คือเรามองเห็น พอขโมยมันเห็นเรา มันก็ไม่กล้าจะทำเรา
    อารมณ์ก็เหมือนกัน ถ้ามีสติรู้อยู่ มันจะทำอะไรเราไม่ได้ อารมณ์มันจะทำให้เราดีใจอยู่อย่างนี้ตลอดไปไม่ได้ มันไม่แน่นอนหรอก เดี๋ยวมันก็หายไป จะไปยึดมั่นถือมั่นทำไม อันนี้ฉันไม่ชอบ อันนี้ก็ไม่แน่นอนหรอก ถ้าอย่างนี้ อารมณ์นั้นมันก็เป็นโมฆะเท่านั้น เราสอนตัวของเราอยู่ เรามีสติอย่างนี้ เราก็รักษาอย่างนี้เรื่อยๆ ไป ทำเรื่อยๆ ไป ตอนกลางวัน ตอนกลางคืน ตอนไหนๆ ก็ตาม

    เมื่อเรายังมีสติอยู่ เมื่อนั้นแหละเราได้ภาวนาอยู่ การภาวนาไม่ใช่ว่า เราจะนั่งสมาธิอย่างเดียว ยืนเดินนั่งอยู่เราก็รู้จัก นอนอยู่เราก็รู้จัก เรารู้จักตัวของเราอยู่เสมอ จิตเรามีความประมาทเราก็รู้จัก ไม่มีความประมาทเรารู้จักของเราอยู่ ความรู้อันนี้แหละที่เรียกว่า "พุทโธ" เรารู้เห็นนานๆ พิจารณาดีๆ มันก็รู้จักเหตุผลของมัน มันรู้เรื่อง

    ยกตัวอย่างเช่น ชาวตะวันตกมาอยู่ในประเทศไทย อยู่ไปเฉยๆ อย่างนั้น ความที่อยู่ติดต่อใกล้ชิดกันไป ถึงแม้พูดภาษาไม่รู้เรื่องก็ตาม แต่มันรู้เรื่องเข้าใจได้ เห็นไหม มองดูหน้ากันรู้เรื่องกัน ถึงพูดภาษาไม่รู้เรื่อง แต่ก็อยู่กันไปได้ มันรู้กันด้วยวิธีนี้ไม่ต้องพูดกัน ทำงานก็ต่างคนต่างทำ ทำอยู่ใกล้ๆ กันนั่นแหละไม่รู้จักพูดกัน มันก็ยังรู้เรื่องกัน อยู่ด้วยกันได้ รู้ได้โดยอากัปกิริยาที่ว่ารักกันหรือชอบกัน อะไรมันก็รู้ของมันอยู่อย่างนี้ เป็นอย่างนั้น เหมือนกันกับแมวกับสุนัข มันไม่รู้ภาษา แต่ว่ามันก็รู้จักรักเจ้าของเหมือนกัน แมวหรือสุนัขมันอยู่บ้านเรา ถ้าเรามาถึงบ้านสุนัขมันก็วิ่งไปทำความขอบคุณด้วย เห็นไหม ถ้าเรามาจากตลาดหรือมาจากที่อื่นมาถึงบ้าน แมวอยู่ที่บ้านเรา มันก็มาทำความขอบคุณ มันจะร้องว่า เหมียวๆ มันมาเสียดมาสีเรา แต่ภาษามันไม่รู้ แต่จิตมันรู้อย่างนั้น



    อันนี้เราก็อยู่ไปได้อย่างนั้น เราต้องให้เข้าใจกันอย่างนั้น เราปฏิบัติธรรมะบ่อยๆ จิตมันก็คุ้นเคยกับธรรมะ เช่นว่า ความโกรธเกิดขึ้นมา มันเป็นทุกข์ พระท่านว่ามันเป็นทุกข์มาแล้ว ชอบทุกข์ไหม ไม่ชอบ แล้วเอาไว้ทำไมถ้าไม่ชอบ จะยึดเอาไว้ทำไม ทิ้งมันไปซิ ถ้าทุกข์มันเกิดล่ะ คุณชอบทุกข์หรือเปล่า ไม่ชอบ เมื่อไม่ชอบทุกข์แล้วยึดไว้ทำไม ก็ทิ้งมันเสียซิ ท่านก็สอนทุกวันๆ ก็รู้เข้าไปๆ ทุกข์มันเกิดขึ้นมาครั้งหนึ่ง เราก็รู้จักคำสอนครั้งหนึ่ง ทุกข์มันเกิดมาครั้งหนึ่ง เราก็รู้จักคำสอนครั้งหนึ่ง ทุกข์เราก็ไม่ชอบ ไม่ชอบทุกข์แต่เราไปยึดไว้ทำไม สอนอยู่เรื่อยๆ บางทีก็เห็นชัด เห็นชัดก็ค่อยๆ วาง วางไปเป็นเรื่องธรรมดาอย่างเก่า ทีหนึ่งก็ดี สองทีก็ดี สามทีก็ดี มันก็เกิดประโยชน์แล้ว เกิดรู้เรื่องขึ้นแล้ว


    เมื่อมันเกิดความรู้เฉพาะตัวของเรา เราจะนั่งอยู่ก็ดี เดินอยู่ก็ดี นอนอยู่ก็ดี พูดภาษาไม่เป็น แต่จิตเรารู้ภาษาธรรมะ เราปิดปากตรงนี้ไว้ ปิดปากกายแต่เปิดปากใจนี้ไว้ ใจมันพูด นั่งอยู่เงียบๆ ยิ่งพูดดี พูดกับอารมณ์ รู้อารมณ์เสมอ นี่เรียกว่า "ปากใน" นั่งอยู่เฉยๆ เราก็รู้จัก พูดอยู่ข้างใน รู้อยู่ข้างใน ไม่ใช่คนโง่ คนรู้อยู่ข้างในรู้จักอารมณ์ สั่งสอนตัวเองก็เพราะอันนี้...

     
  9. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ

    นั่งสมาธิพึงพากันตั้งสติให้แน่วแน่อยู่ภายใน พยายามควบคุมจิตอย่าให้มันหลงคิดนึกไปในอารมณ์ที่มันเคยคิด เคยนึก เคยเกาะ เคยข้องมาแต่ก่อน ให้กำหนดลงเอาปัจจุบันนี้เป็นที่ตั้งเลยทีเดียว ชีวิตนี้จะอยู่เฉพาะลมหายใจเข้า หายใจออก อยู่ที่ปัจจุบัน ๆ นี้เท่านั้น ให้กำหนดจำกัดลงเลย เพราะว่าที่ล่วงมาแล้ว มันก็ล่วงมาแล้วนะชีวิต แล้วอนาคตก็ยังไม่ได้ไปถึง มันก็ยังไปไม่ถึง ไม่ต้องไปคำนึงหามัน การงานอะไรที่ทำล่วงมามาแล้วผิดหรือถูกมันก็ได้ล่วงมาแล้ว ไม่ต้องไปคำนึงหามัน
    เวลานี้เป็นเวลาพักผ่อนของจิตใจ ขอให้เตือนตนอย่างนี้ เวลานี้เป็นเวลาพักผ่อนของจิตใจในขณะนี้ เบื้องต้นนี้ ก็อยากคิด อยากรู้นั้น รู้นี้ เห็นนั่น เห็นนี้ ก่อนคือพยายามตั้งสติ กำหนดลมหายใจเข้า หายใจออก อธิษฐานจิตถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึกของตนแล้ว ก็พยายามประกอบจิตนี้ให้หยุดคิด หยุดนึก ให้กำหนดรู้เฉพาะแต่ลมหายใจเข้า หายใจออกเท่านี้ก่อน เพราะเวลานี้ให้เข้าใจว่าเราพักผ่อนจิตใจ คำว่าพักผ่อนคือหยุดคิด หยุดนึกในการงานต่าง ๆ เลย วางจิตลงให้สบาย สบาย ไม่ต้องกังวลข้างหน้า ข้างหลังอะไรเลย กำหนดรู้อยู่แต่ปัจจุบันนี้เท่านั้น เอาปัจจุบันนี้เป็นหลักเลย ชีวิตนี้ก็ให้กำหนดว่ามีอยู่แค่ปัจจุบัน ๆ นี้ เท่านั้นแหละ
    ในเบื้องต้นเราก็รู้ไม่ได้ว่าจะไปถึงไหน เบื้องหลังมันก็ล่วงมาแล้ว ดังนั้น เราต้องกำหนดรู้เฉพาะปัจจุบันเท่านั้นเอง คือการทำสมาธินี่ สำคัญอยู่ที่สตินั้นแหละ ขอให้ได้พากันจำเอาไว้ให้ดี สติแปลว่าความระลึกได้ คือระลึกเข้าไปในจิตเลยทีเดียว ระลึกให้หยั่งเข้าไปให้มันถึงจิต อย่าให้มันระลึกเฉไปทางอื่น จิตนี้ที่มันตั้งมั่นอยู่ไม่ได้ก็เพราะมันขาดสติ สติไม่ได้เข้าไปควบคุมอยู่ใกล้ชิด สตินั้น จะระลึกออกไปทางอื่นห่างออกไปจากจิต เมื่อจิตนี้ปราศจากสติแล้วมันก็ว้าเหว่ เร่ร่อนหาอารมณ์อย่างอื่นคิดส่ายไปตามความชอบใจ มันเป็นอย่างนั้น แต่จิตนี้น่ะ ถ้าสติเป็นเครื่องสอนอยู่แล้ว ไม่ไปไหนเลย ไม่ไปไหนแล้ว ที่มันอยากคิดอะไรมาแต่ก่อนนั้น สติห้ามไว้แล้วทันก็หยุด
    ขอให้สติมันเข้มแข็งเสียอย่างเดียว หายใจเข้าก็กำหนดรู้ หายใจออกก็กำหนดรู้อยู่ในปัจจุบันนั้นเลย อย่างนั้น ไม่ได้รู้สิ่งอื่น ๆ ใดทั้งหมด ถ้าหากใครสามารถที่จะเพ่งเข้าไปภายในให้เกิดแสงสว่างเหมือนอย่างเราฉายไฟเข้าไปในถ้ำมืด ๆ อย่างนี้ แสงไฟฉายนั้นมันจะเป็นลำ สว่างเข้าไปภายในจะมีอะไรอยู่ในนั้นก็มองเห็นได้เลย อันนี้ก็เหมือนกันแหละ ถ้าเราสามารถที่จะกำหนดตั้งสติแล้วเพ่งตามลมหายใจเข้าออก เข้าไปภายในให้มันสว่างเข้าไปถึงจิตใจ และก็มองเห็นอัตภาพร่างกาย อวัยวะ น้อยใหญ่ภายในร่างกายได้ยิ่งดีเลย ถ้าทำได้อย่างนี้ ตามลมหายใจเข้าออกไปภายในให้มันสว่างเข้าไปถึงจิตใจและก็มองเห็น
    ถ้าหากว่าไม่สามารถจะทำได้อย่างนี้ ก็ตั้งสติเพ่งเข้าไปหาความรู้อย่างเดียวเท่านั้นรู้อยู่ตรงไหน สติก็ให้หยั่งเข้าไปถึงนั่น ก็ใช้ได้เหมือนกัน เมื่อจิตมันสงบ มันคลายจากอารมณ์ต่าง ๆ ออกไปแล้ว มันปลอดโปร่ง ถึงแม้ว่าจะไม่สว่างไสวเต็มที่ แต่มันก็มีเงาแห่งความสว่างปรากฏอยู่ในจิตนั้นเองแหละ จิตไม่เศร้าหมอง หมายความว่า อย่างนั้นแหละเบิกบาน ถ้าหากมันคลายอารมณ์ต่าง ๆ ออกไปแล้วนะ ลักษณะอาการของจิตนี้จะเบิกบานผ่องแผ้วไม่มีกังวลใด ๆ อิ่มอยู่ภายใน ไม่ปรารถนาอยากจะคิดไปไหนมาไหนแล้วทีนี้ถ้าจิตมันคลายอารมณ์เก่าออกไปได้ ก็ต้องอาศัยสตินั่นแหละเข้าไปควบคุมจิตไม่ให้คิดไปในอารมณ์ต่าง ๆ
    อันเมื่อจิตนี้ไม่มีโอกาสจะได้คิดไปในอารมณ์ต่าง ๆ แล้วมันก็คลายทิ้งไปหมด อารมณ์ที่เราเก็บเอาไว้มันเป็นอย่างนั้นเพราะว่ามันไม่มีที่ต่อ มันก็คลายออกไปเท่านั้นเอง ดังนั้นอย่าไปเข้าใจวิธีอื่นเลย พระพุทธเจ้าสอนให้กำหนดลมหายใจเข้าออกนี่ เพ่งกำหนดรู้แต่ลมหายใจเข้าออกนี่แหละ ความคิดฟุ้งซ่านต่าง ๆ มันจะค่อยเบาไป ๆ หมดไปโดยลำดับ เพราะว่าจิตเราไม่ส่งเสริมมันแล้วนี่ จิตเรามาจ้องอยู่เฉพาะแต่ลมนี้ จิตนี้ไม่ส่งเสริมความคิดเสียแล้ว ทีนี้จะคิดดีคิดชั่วอย่างไรไม่เอา ในขณะนี้ปล่อยทิ้งไม่ใช่เวลาคิด เวลานี้ เวลาสงบ เวลาเพ่ง เวลากำหนดรู้ ไม่ใช่เวลาคิด ให้มีสติเตือนจิตอย่างนี้เสมอไป จิตนี้เมื่อถูกสติเตือนเข้าบ่อย ๆ มันก็รู้ตัว รู้ตัวแล้วมันก็คลาย มันก็ปล่อยวางอารมณ์ไม่ส่งเสริม ไม่คิดไม่ปรุงไปอีก มันสำคัญ เรื่องสมาธินี่สำคัญมากทีเดียว เรื่องปัญหานั้นมันเกิดจากสมาธิ ดังนั้นเมื่อเราไม่สามารถจะทำ สมาธิให้บังเกิดได้ ปัญญามันก็เกิดไม่ได้ ปัญญาในที่นี้หมายถึงปัญญาที่เกิดจากสมาธิ ปัญญาที่เกิดจากสมาธินี้เป็นปัญญาที่รู้แจ้งในธาตุสี่ ขันธ์ห้า ในนามในรูปไม่ปรารถนารู้อย่างอื่น
    ในการปฏิบัติสมาธิแรก ๆ อย่าไปสงสัยคลางแคลงใจว่า เอ๊ะ ทำไมเราจึงปฏิบัติไปไม่ได้ ทำไมใจจึงไม่สงบ ? กำหนดลมหายใจก็กำหนดแล้ว มันก็ยังไม่สงบอย่างนี้ อย่าไปสงสัยให้นึกว่า เราทำยังไม่พอก็แล้วกันแหละ เราทำยังไม่มากพอ คือว่าเรายังกำหนดลมหายใจเข้าหายใจออกนี้ ยังไม่พอ เราจะต้องทำอีก
     
  10. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    หลวงปู่แหวน สุจิณโณ

    เอามรรคที่เกิดขึ้นจากกาย จากใจ น้อมเข้าหาตน น้อมเข้ามาในกาย น้อมเข้ามาในใจ ให้รู้แจ้งเห็นจริงในใจนี่แหละ อย่าไปยึดไปถือที่อื่น ให้แจ้งอยู่ในกายนี้ ให้แจ้งอยู่ในใจนี้ จะหลงจะเขวไปอย่างไรก็ตามพยายามดึงเข้ามาจุดนี้น้อมเข้ามาหากายนี้ น้อมเข้ามาหาใจนี้ เอาใจนี่แหละนำออก หลักมีเท่านี้แหละ...


    ถ้าออกจากกายใจแล้ว เขวไปแล้ว หลงไปแล้ว น้อมเข้ามาสู่กายสู่ใจแล้วก็ได้หลักใจดี ธรรมะก็คือการรักษากาย รักษาใจ น้อมเข้ามาหากาย น้อมเข้ามาหาใจนี่แหละ...
    ศีล ตั้งอยู่ในกายนี้แหละ ตั้งอยู่ในวาจานี้แหละ และตั้งอยู่ในใจนี่แหละ ให้น้อมเข้ามา จึงรู้และตั้งหลักได้ ถ้าออกไปจากนี้มักหลงไป...


    เอาอยู่ในกายในใจนี้ น้อมเข้ามาสู่อันนี้ นำหลงนำลืมออกไปเสีย เอาให้เป็นปัจจุบัน เอาจิตเอาใจนี้ละ วางถอดถอนออก ทางกายก็น้อมเข้ามาให้รู้แจ้งทางกาย น้อมเข้ามาหาใจของตนนี้ให้แจ่มแจ้ง ถ้าไปยึดถือเอาอย่างอื่น ก็เป็นเพียงสัญญา ความจำ น้อมเข้ามารู้แจ้งในใจของตนนี้ รู้แจ้งในกายของตนนี้ นอกจากนี้เป็นแต่เพียงอาการของธรรม...


    ยกขึ้นสู่จิต น้อมเข้ามาหาจิตหาใจนี้ ความโลภ ความหลง ความโกรธ กิเลส ตัณหา ก็เกิดขึ้นที่นี่แหละ ต้องน้อมเข้ามาสู่จุดนี้ ถ้าน้อมเข้าหาจุดอื่นเป็นแผนที่ปริยัติธรรม รู้กายรู้ใจแจ่มแจ้งแล้ว นอกนั้นเป็นแต่อาการ บางทีไปจับไปยึดสิ่งนั้นสิ่งนี้ก็ทำให้ลืมไป...


    ทำให้แจ้งอยู่ในกาย แจ้งอยู่ในใจ มีสติสัมปชัญญะ สติสัมโพชฌงค์ สัมมาสติ ก็อันเดียวกันนี่แหละให้พิจารณาอยู่อย่างนี้ อาศัยความเพียร ความมั่น...


    คำว่า สติ รู้ในปัจจุบัน สัมปชัญญะ ก็รู้ในปัจจุบัน รู้ในตน รู้ในใจเรานี้แหละ รู้ในปัจจุบัน รู้ละความโลภ ความโกรธ ความหลง ราคะ กิเลส ตัณหา เหล่านี้ละออกให้หมด ละออกจากใจ ละอยู่ตรงนี้แหละ สติ ถ้าได้กำลังใจแล้วก็สว่าง...


    ตั้งจิตตั้งใจกำหนดเบื้องต้น คือ การกำหนดจิตหรือกำหนดศีล ทำให้กายก็บริสุทธิ์ วาจาก็บริสุทธิ์ กำหนดนำความผิดออกจากกายจากใจของตน...


    เมื่อกายวาจาใจบริสุทธิ์ สมาธิก็บังเกิดขึ้น รู้แจ่มแจ้งไปหาจิตหาใจ กายนี้ก็รู้แจ้ง รู้แจ้งในกายในใจของตนนี้...


    สติปัฎฐานสี่ สติมีเพียงตัวเดียว นอกนั้นท่านจัดไปตามอาการ แต่ทั้งสี่มารวมอยู่จุดเดียว คือ เมื่อสติกำหนดรู้กายแล้ว นอกนั้น คือ เวทนา จิต ธรรม ก็รู้ไปด้วยกันเพราะมีอาการเป็นอย่างเดียวกัน...


    อาการทั้ง ๕ คือ อนิจจัง ทั้ง ๕ ทุกขัง ทั้ง ๕ อนัตตา ทั้ง ๕ เป็นสิ่งไม่ยั่งยืน เราเกิดมาอาศัยเขาชั่วอายุหนึ่ง อนิจจังทั้ง ๕ ทุกขังทั้ง ๕ อนัตตาทั้ง ๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มันก็สิ้นไปเสื่อมไป เราอาศัยเขาอยู่เพียงอายุหนึ่งเท่านั้น เมื่อรูปขันธ์แตกสลายมันก็หมดเรื่องกัน...


    การประพฤติปฏิบัติในปัจจุบันสมมติกันให้ได้ชั้นนั้นบ้างชั้นนี้บ้าง อันนั้นมันเป็นสมมติ แต่ธรรม เช่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นสิ่งไม่เที่ยง ก็เป็นอยู่อย่างนั้น อนิจจังทั้ง ๕ ก็เป็นอยู่อย่างนั้น รูปัง อนิจจัง, เวทนา อนิจจา, สัญญา อนิจจา, สังขารา อนิจจา, วิญญาณัง อนิจจัง ก็เป็นอยู่อย่างนั้น เรามาอาศัยเขา สัญญาเราก็ไหลไปตามเวลา ดิน น้ำ ลม ไฟ สลายจากกันแล้วก็ยุติลง...


    ส่วนจิตเป็นผู้รู้ เมื่อละสมมติวางสมมติได้แล้ว ก็เย็นต่อไป กลายเป็นวิมุติความหลุดพ้นไป เพราะสมมติทั้งหลายวางได้แล้วก็เป็นวิมุตติ แต่ถ้าเอาเข้าจริง ๆ แล้วมักจะหลง ถ้าเราตั้งใจเอาจริง ๆ พวกกิเลสก็เอาจริง ๆ กับเราเหมือนกัน เพราะฉะนั้น ต้องอาศัยความหมั่น ความเพียร ไม่ท้อถอย ถ้าละพวกกิเลสตัณหาได้แล้วก็เย็นสงบสบาย...
    ถ้าจิตปรุงแต่งเป็นอดีต-อนาคตไป เราก็ต้องเพ่งพิจารณา เพราะอดีตก็เป็นธรรมเมา อนาคตก็เป็นธรรมเมา จิตที่รู้ปัจจุบัน เป็นธรรมโม...


    อาการทั้ง ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอนิจจังให้ยืนอยู่ในปัจจุบันธรรม อดีต-อนาคตเป็นธรรมเมา ธรรมโม คือ เห็นอยู่ รู้อยู่ในปัจจุบัน ตั้งอยู่ในปัจจุบัน ไม่ได้เป็นอดีต-อนาคต ดับทั้งอดีต-อนาคต แล้วเป็นปัจจุบัน คือ ธรรมโม...


    ให้จิตรู้อยู่ส่วนกลาง คือ สิ่งที่ล่วงไปแล้วเป็นอดีต ยังมาไม่ถึงเป็นอนาคต ไม่เข้าไปเกี่ยวข้อง ส่วนทั้งสองอย่างนั้นให้เพ่งพินิจ คือเราอยู่ปัจจุบันธรรมจึงจะถูก เพราะปัจจุบันเป็นธรรมโม นอกจากนั้น อดีต-อนาคตเป็นธรรมเมา


    รู้ปัจจุบันละปัจจุบันเป็นธรรมโม ถ้าไปยึดถืออดีต-อนาคตเท่ากับไปเก็บไปถือของปลอม ธรรมเหล่านี้เป็นปัจจัตตัง รู้เฉพาะตนละเฉพาะตน วางเฉพาะตน หมุนเข้าหากายหาใจนี่แหละ ถ้ามัวเอาอดีต-อนาคตจะกลายเป็นแผนที่ไป...
    แผนที่ปริยัติธรรมจำมาได้มากจึงไปยึดไปถืออย่างนั้นบ้าง สิ่งนี้บ้างทั้งอดีต-อนาคต ทำให้ยิ่งห่างจากการรู้กายรู้ใจของเรา ความโลภ ความโกรธ ความหลง ก็กลายเป็นเชื้อของกิเลสที่อยู่ในแผนที่ใบลานแต่ไม่เดือดร้อน ถ้าหากมาอยู่ในใจจะทำให้เดือดร้อน เพราะฉนั้นถ้าเกิดขึ้นในใจ ให้เอาใจละ เอาใจวาง เอาใจออก เอาใจถอน ปัจจุบันเป็นอย่างนี้ ไม่ใช่จำปริยัติได้มาก พูดได้คล่อง เวลาเอาจริง ๆ ก็ไม่รู้จะจับอันไหนเป็นหลัก ปัจจุบันธรรมต้องรู้แจ้งเห็นแจ้งในกายใจของตน ต้องละวางถอดถอนในปัจจุบัน จึงจะใช้ได้...


    ความโลภ ความโกรธ เกิดขึ้นในใจ น้อมเข้ามาแล้วละให้หมด ราคะ, กิเลส, ตัณหา, หากเกิดขึ้นมาต้องละเสีย เรื่องของสังขารก็ปรุงแต่งแล้วเกิดขึ้นดับลง เกิดขึ้นดับลง เอารู้เฉพาะปัจจุบัน อดีต-อนาคตวางไปเสีย อดีต-อนาคตเป็นธรรมเมา ปัจจุบันเป็นธรรมโม อันนี้ถือให้มั่น ๆ...
    ความปฏิบัติเพ่งความเพียร เร่งเข้า ๆ ก็ทำให้ค่อยแจ่มแจ้งไปเอง ถ้าจิตเป็นอดีต-อนาคต ต้องวางเสีย เอาเฉพาะปัจจุบัน...


    ความโลภ ความโกรธ ความหลง มักจะเกิดขึ้นบ่อยครั้ง เราต้องพิจารณาค้นเข้าหาใจว่าเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ทั้งนี้ก็เพราะจิตมักจะเก็บอดีต-อนาคตมาไว้ ทำให้แส่ส่ายไปตามอาการ ให้เอาเฉพาะปัจจุบันเป็นธรรมโม แล้วน้อมเข้ามาให้ได้ กำลังทางด้านจิตใจ ละวางอดีต-อนาคต อันเป็นส่วนธรรมเมา แล้วเพ่งพินิจเฉพาะธรรมโม...
    รักษากายให้บริสุทธิ์ รักษาวาจาให้บริสุทธิ์ รักษาใจให้บริสุทธิ์ น้อมเข้าหาใจ ให้รู้แจ้งใจนี้ กายก็ให้รู้แจ้ง ให้รู้แจ้งกายใจ จนละได้ วางได้ เพ่งจนเป็นร่างกระดูก ทำได้อย่างนี้ก็พอสมควร เอาให้มันรู้แจ้งเฉพาะกายใจนี้ ไม่ต้องเอามาก ถ้าเอามากก็มักไปยึดเป็นอดีต-อนาคตไปเสีย ข้อนี้สำคัญเกิดขึ้นแล้วก็ดับ เกิดขึ้นแล้วก็ดับตัวสัญญา...
    ตั้งหลักไว้ อดีต-อนาคตเป็นธรรมเมา ปัจจุบันเป็นธรรมโม ระลึกไว้เสมอว่า ดับ ละ วาง ในปัจจุบัน จึงเป็นธรรมโม เมื่อจิตอยู่ในปัจจุบันธรรม แต่ถ้าหากอดีต-อนาคตเกิดขึ้นแล้วก็ต้องดับลงไป...


    ต้องหมั่นต้องพยายามเข้าหาจุดของจริง อดีต-อนาคต-ปัจจุบัน สามอย่างนี้แหละเป็นทางเดินของจิต ความโลภ ความโกรธ ความหลง ราคะ กิเลส ตัณหา ก็เกิดขึ้นในใจนี้แหละ แสดงออกจากใจนี้ ให้น้อมเข้ามา ๆ ถึงอย่างนั้นกิเลสทั้งหลายก็ยังทำลายคุณความดีได้เหมือนกัน แต่ถ้ามีสติความชั่วเหล่านั้นก็ดับไป...
     
  11. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    หลวงปู่หลุย จนฺทสโร<!-- google_ad_section_end -->

    ถ้ามีแต่สมาธิอย่างเดียว
    ต้องมีนิมิตต่างๆ หลอกอยู่เรื่อยๆ ..ทำให้เป็นบ้าได้
    ถ้าภาวนาเอาวิปัสสนาผสมสมาธิแล้ว ..
    ย่อมไม่เกิดนิมิตเพราะไตรลักษณ์ล้างอยู่เสมอ
    และไม่สำคัญตน ไม่เป็นบ้า
    เกิดนิมิตทั้งหลายก็รู้เท่าทัน
    เมื่อนิมิตเกิดขึ้น .. เราไม่ต้อนรับหนึ่ง นิมิตก็หายไปอีก
    เพ่งไตรลักษณ์ล้างอีกที นิมิตก็หายไป เพราะมันไม่เที่ยง
    วางเจตนา ก็หายวิตกวิจารถือของนั้นเป็นของดี
    ทวนกลับเข้าจิตเดิมก็หาย
    อย่าอธิษฐานนิมิตนั้นว่าเป็นของดี
    * ปัญญาอบรมสมาธิ .. เพราะว่าจิตฟุ้งซ่าน
    ต้องใช้ปัญญาเป็นกรณีแวดล้อมปลอบโยนจิตให้เป็นสมาธิ
    เป็นอุบายให้จิตสงบเท่านั้นเพื่อจะได้เดินปัญญาให้สะดวก
    จิตของพระอรหันต์ก็นิพพาน ธาตุตายไปแล้วตัวอมตะยังอยู่
    สิ่งที่รู้ด้วยปัญญานั้นเองเป็นอมตธรรม
    เรียกสติก็ได้ เรียกนิพพานก็ได้

    เรื่องฉันข้าวหนเดียวนั้น ขอให้ชีปฏิบัติ แม่ชีทั้งหลายคณะกรรมฐานยินดี ฉันข้าวหนเดียวเป็นข้อวัตรธุดงค์ ฉันข้าวหนเดียวเป็นข้อวัตรที่สำคัญ พระอรหันต์ย่อมยินดีฉันข้าวหนเดียวการนอนไม่นอนนั้นมีหลวงพ่อเปลื้ององค์เดียวเท่านั้น นอกนั้นเปลี่ยนอริยาบถ มี นั่ง นอน ยืน เดิน เป็นธรรมดา ความเปลี่ยนอริยาบถนั้น พยาบาลของร่างกายเพราะมีการพักผ่อนในตัวถือเคร่งนักไม่ได้ ธรรมดาแม่ชีต้องรับเงินและทอง เพราะไม่ได้บวชเป็นเณรีถือศีล 10 ศีล 8 เนกขัมมะสำเร็จอนาคามีในพระไตรปิฏกพูดแล้ว ยินดียินร้ายเกิดจากจิต เพราะความรู้เท่าธาตุ 4 ปลง ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ไม่ตกจึงเกิดขึ้นบ่อยๆ อ่อนทางวิปัสสนาเท่านั้น รู้ทางวิปัสสนาไตรลักษณะแล้วไม่ไปเกิดอีก แก้วัฏฏะสงสารได้แก่พระอรหันต์ เราไปยึดสังขารจึงรับทุกข์รับสุข ดลความรักและดลความชังอยู่ร่ำไป ธาตุขันธุ์ยืมเขามาใช้ชั่วคราว คล้ายกะทำทุนการค้าขายเมื่อภาวนาได้มรรคได้ผลแล้ว ส่งธาตุ 4 เขาคืน จิตบริสุทธิ์ จิตปกติไม่กำเริบ นี้อำนาจวิปัสสนาจึงพ้นทุกข์ไปได้จึงได้นามว่า อรหันต์

    ทางปฏิบัติจะให้สิ้นทุกข์นั้นต้องเจริญ ภาวนา มรรค 8 ให้บริสุทธิ์ ลบล้างราคะ โทสะ โมหะ ให้สิ้นไป จึงจะถูกต้องของการภาวนาให้สิ้นทุกข์ได้ ปลงขันธุ์ 5 ได้ไม่กังวลด้วยกิเลสทั้งปวง ให้รับทุกข์และสุขอีก จิตอยู่ด้วยสติ คือความว่าง พระอรหันต์ทั้งหลายท่านมีสติเต็มที่ ท่านไม่ถือสังขารขันธุ์ 5 เกิด แก่ เจ็บ ตายต่อไปเสร็จกิจใจศาสนาโดยสิ้นเชิง ให้ภาวนาตามหนังสือมุตโตทัยของท่านอาจารย์มั่น คณาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐานภาคอีสานนั้นแหละดีมาก

    ความเห็นธรรมะตามบรรยายของชีนั้นถูกต้องดี แต่เป็นสัญญาล้วนๆ ยังไม่ถึงมรรคผล จะถึงมรรคผลนั้น ทำจิตประหนึ่งคือ-ภาวนาพุทโธ ให้มากให้ชำนิชำนาญจนจิตเข้าสู่ภวังค์ให้เป็นสมถะวิธี ชำนาญความสงบให้มากๆ พึงอยู่ด้วยความสงบอย่างเดียว ต่อนั้นความรู้ความฉลาดจะรู้ซ้อนขึ้นมา นั้นและเป็นธรรมะที่เกิดเอง อ่านธรรมะที่ส่อขึ้นมาเรื่อยๆ นั้นแหละรู้เองเห็นเอง อย่าเอาปริยัติเข้าไปแทรกให้เป็นสัญญา ต่อนั้นก็เกิดปีติ เข่นเบากาย และเบาใจ และจะเกิดปีติอีกหลายอย่าง ผลของสมาธิให้เรียนปีติว่าเป็นของไม่เที่ยงในพระไตรลักษณะ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา เพราะอย่าให้จิตติดในปีติอย่างเดียว ต่อนั้นจะเกิดนิมิต เห็นเป็นนิมิตต่างๆ เหมือนแม่ชีเห็นคนตายน้อมมาพิจารณาตน เปรียบเทียบไปต่างๆ เข้าในไตรลักษณะ เพื่อไม่ให้จิตติดนิมิต ต่อนั้นหัดม้างกายอย่างเดียว ขยายส่วนของร่างกายให้เห็นอสุภะ แต่ว่าเจริญอสุภะให้มาก เพื่อเห็นความเบื่อหน่ายเมื่อเห็นความเบื่อหน่ายแล้ว ชำนิ ชำนาญ ในตอนนี้เรียกว่าวิปัสสนา รู้เอง เห็นเอง ไปเอง วางเจตนา แม้ทำให้มากทางวิปัสสนา ไตรลักษณะ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ปลงกิเลสให้หมดไม่มีสังขาร สัญญาใดๆ จิตอยู่ด้วยสติเป็นมหาสติ คุณสมบัติของพระอรหันต์ สิ้นภพ สิ้นชาติบังเกิดอีกไม่มี

    การภาวนาให้ทิ้งปริยัติ ให้มันรู้เองเห็นเองตามลำดับจึงจะเป็นนักปราชญ์นักรู้ รู้ ชั้นรู้เชิงของกิเลสทั้งปวงและจิตไม่กลับกลอกเป็นอย่างอื่นๆไป ความรู้แน่นหนา ทั้งมีสำนวนโวหารดีไพเราะ

    จะสอนคนอื่นนั้นเราต้องมีธรรมะฉลาดการโต้ตอบพร้อมความเปรียบเทียบจึงจะลบล้างมติของคนอื่นได้ เราต้องปฏิบัติดี ปฏิบัติตามมรรคภาวนาเสียก่อนสอนคนอื่นได้ดี มีปัญญาเฉลียวฉลาดก่อนดังนี้ มัชฌิมา แปลว่าสายกลางอย่างพระองค์เทศน์ธรรมจักรแก่ปัญจวัคคีย์ กล่าว อย่าให้จิตติดความรักความชัง นี้เรียกมัชฌิมาปฏิปทา คืออีกนัยหนึ่งว่าเดินสายกลาง คือวิปัสสนาเป็นทางสายกลาง อพยากฤตบริบูรณ์ในมัชฌิมาแล้ว ถึงพระอรหันต์นั้นทีเดียว จิตเดินมรรคอยู่เรียกว่ามัชฌิมานั้นไม่ได้เพราะจิตยังมีตัณหาอยู่ ธรรมดาต้องเดินผิดเสียก่อน จิตจึงสู่อมตธรรม แปลอีก ปฏิบัติต้องให้เห็นทุกข์ก่อนจึงปฏิบัติให้รู้ความเบื่อหน่ายจึงเห็นผล คือสิ้นกิเลส

    ต้องเข้าที่ภาวนาเสียก่อน รู้ ลัทธิ บริกรรม 1 รู้ปีติ1 รู้นิมิต 1 รู้ปฏิภาคนิมิตก่อน จึงจะรู้ตามที่อาตมาบรรยายในชั้นต้น ถ้าไม่ปฏิบัติแล้วรู้ไม่ได้ แยกกันไม่ได้ ไม่รู้ธรรมะอย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียดเลย

    นักรู้ นักปฏิบัติจึงรู้ได้ด้วย ปัจจัตตัง รู้ด้วย ตนเอง
     
  12. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    หลวงปู่ฝั่น อาจาโร

    ให้พากันเข้าวัดนะ วัดดูจิตใจของเรา ต้องวัดเสมอ นั่งก็วัด นอนก็วัด เดินยืนก็วัด วัดเพราะเหตุใด ให้มันรู้ไว้ว่า จิตของเรามันดีหรือไม่ดี ไม่ดีจะได้แก้ไข ต้องวัดทุกวัน ตัดเสื้อตัดผ้าก็ยังต้องวัดไม่ใช่เรอะ ไม่วัดจะใช้ได้อะไรล่ะ ​

    [FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]*
    [/FONT][/FONT]
    สติวันโย สติเป็นวินัย สติ คือความรู้ความระลึกได้ความรู้อยู่ สติเป็นวินัย นำตนออกจากความชั่ว นำความชั่วออกจากตน เมื่อมีสติแล้วไม่หลง ไม่หลงก็ไม่ทำความชั่ว เราจงมากำจัดความหลงนี้ คือทำตัวให้มีสติ นั่งสมาธิก็หัดสติ พิจารณาก็หัดสติ เมื่อมีสติอยู่แล้ว เป็นผู้รู้อยู่แล้ว มีวินัย
    [FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]* ​
    [/FONT][/FONT]
    ตัวบุญ คือใจสบาย เย็นอกเย็นใจ ตัวบาปคือใจไม่สบาย ใจเดือดใจร้อน
    [FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]* ​
    [/FONT][/FONT]
    ศาสนาอยู่ตรงนี้ ไม่ได้อยู่ที่อื่น มันอยู่ที่กายที่ใจของเรา เมื่อเราปฏิบัติอยู่ ศาสนามันก็เจริญอยู่ ถ้าเราทั้งหลายไม่ได้ปฏิบัติ ไม่ได้ประพฤติ ไม่ได้กระทำ ก็หมดศาสนา

    ทุกคนจะต้องเข้ามหายุทธสงครามสักวันหนึ่ง คือการ ต่อสู้กับมัจจุราช เมื่อถึงเวลานั้นแต่ละคนจะต้องสู้เพื่อ ตนเอง และต้องสู้โดยลำพัง ผู้ที่สู้ได้ดีก็จะไปดี คือไปสู่ สุคติ ผู้ที่เพลี่ยงพล้ำก็จะไปร้าย คือไปสู่ทุคติ อาวุธที่ใช้ ต่อสู้มีเพียงสิ่งเดียว คือ "สติ" ซึ่งจะสร้างสมได้ด้วยการ เจริญภาวนาเท่านั้น

     
  13. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    อนุโมทนา สาธุฯ กับจขกท.
    ที่นำเอาธรรมของพ่อแม่ครูบาอาจารย์มาให้อ่าน.....

    ;aa24
     
  14. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    หลวงพ่อพุธ ฐานิโย

    ต่อไปนี้ขอเชิญทุกท่านกำหนดจิตทำสมาธิในท่านั่ง ในกายของเรานี้มีจิตเป็นใหญ่ มีจิตเป็นหัวหน้า มีจิตเป็นประธาน ทุกสิ่งทุกอย่างสำเร็จแล้วแต่จิต ในขณะนี้กายกับจิตของท่านยังมีความสัมพันธ์ คือรับรู้กันอยู่ เมื่อท่านกำหนดรู้ที่จิต ท่านก็ยังรู้ว่ากายยังมี เมื่อกายยังมีอยู่ จิตของท่านก็รู้เรื่องของกายโดยไม่ได้ตั้งใจ เวลานี้ท่านนั่งอยู่ กายสบายมั๊ย ท่านก็รู้ มีอะไรมา สัมผัสกายท่านมั๊ย ท่านก็รู้ ความเจ็บปวดเกิดขึ้นที่กาย ท่านก็รู้ เพราะกายกับจิตของท่านยังอยู่ด้วยกัน ยังไม่แยกจากกัน ถ้าหากว่าจิตของท่านกำหนดรู้ความสุข และความทุกข์ หรือ ความเฉยๆ ที่เกิดที่กาย สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี เกิดขึ้นเมื่อกายยังปรากฏอยู่กับความรู้สึก

    เมื่อท่านกำหนดรู้กายอยู่สติก็ตั้งอยู่ที่กาย ระลึกรู้อยู่ที่กาย โดยเพียงแค่นึกรู้สึกว่ากายมีอยู่ แล้วเมื่อท่านไม่ได้นึกเช่นนั้น ท่านก็ยังรู้ว่ากายมีอยู่ เมื่อจิตของท่านรู้สึกว่ากายมีอยู่ เวทนาสุขทุกข์ ย่อมเกิดขึ้นที่กาย เมื่อท่านมีสติรู้อยู่ ท่านก็รู้ว่าเวทนามี สุข ทุกข์เรียกว่าเวทนา สุขเรียกว่าสุขเวทนา

    เมื่อสติของท่านกำหนดรู้เวทนา สติไปตั้งอยู่ที่นั่นก็เรียกว่าเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ความรู้ ความคิด คิดว่านี่กาย นี่เวทนา นี่สุขเวทนา นี่ทุกขเวทนา นี่อุเบกขาเวทนา ความคิดหรือรู้เป็นอาการของจิต เมื่อสติมากำหนดรู้พร้อมอยู่กับความคิดเช่นนั้น ถ้าสติตั้งมั่น หรือสติตามรู้ รู้ความคิดอันนั้นเรียกว่าจิตตานุปัสสนา ถ้าสติตั้งมั่นอยู่กับความคิดนั้น เรียกว่า จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

    เมื่อหากว่าสุขเวทนาเกิดขึ้น ทุกขเวทนาเกิดขึ้น จิตปรุงแต่ง ธรรมชาติของคนเรามีความรู้สึกชอบ ความสบาย ถ้าหากจิตของท่านใฝ่หาความสบายโดยไม่อยากทำอะไร ไม่ปฏิบัติ บางทีอาจไปคิดว่าเลิกปฏิบัติซะดีกว่า อยู่เฉยๆ สบายดี แสดงว่าจิตของท่านใคร่ต่อความสบาย ติดความสบาย เมื่อจิตติดความสุข ความสบาย จิตก็มีความใคร่ในกาม กามก็คือความสบายใคร่ในความสุข คือไม่อยากทำอะไร เรียกว่ากามฉันทะ ความใคร่พอใจในความสบาย เมื่อเป็นเช่นนั้นจิตปรุงแต่งว่าจะปฏิบัติต่อไปดีหรือจะหยุดเพียงแค่นี้

    ความคิดเช่นนี้เป็นลักษณะของพยาบาท คือเป็นความคิดที่จะตัดรอนคุณความดี เกิดความคิดกังวลสงสัยว่า จะเอาดีหรือไม่เอาดี ความหงุดหงิดงุ่นง่านรำคาญบังเกิดขึ้นเรียกว่า อุทธัจจกุกกุจจะ เมื่อมีความฟุ้งซ่านรำคาญบังเกิดขึ้น ถีนมิทธะ ความง่วงเหงาหาวนอนเกิดขึ้นมาแทรก จิตก็ปรุงแต่งขึ้นมาว่าจะเอาดีหรือไม่เอาดี หรือจะหยุดกันเพียงแค่นี้ เป็นวิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย ลังเลใจ ไม่แน่ใจ เมื่อตัดสินใจเด็ดขาดลงไปไม่เอาล่ะ เลิกดีกว่า พยาปาทะวิ่งเข้ามาตัดรอน

    เมื่อจิตมากำหนดรู้อยู่ที่นิวรณ์ 5 คือ กามฉันทะ ความใคร่ในความสุขสบาย พยาปาทะ ความคิดริดรอนหรือตัดรอน อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านและรำคาญ ถีนมิทธะความง่วงเหงาหาวนอน วิจิกิจฉา ความสงสัยไม่เอาจริง ถ้าจิตมากำหนดดูอยู่ที่ตรงนี้ อันนี้เป็นธรรมฝ่ายอกุศล เป็นนิวารณะธรรม เป็นธรรมที่คอยกางกั้นคุณงามความดีไม่ให้บังเกิดขึ้นจึงเรียกว่า นิวรณ์ หรือ นิวารณะ แปลว่าจิตปิดกั้น กั้นสมาธิไม่ให้เกิด กั้นปัญญาไม่ให้เกิด กั้นกุศลไม่ให้เกิด เพราะอันนี้เป็นธรรมฝ่ายอกุศล เมื่อจิตมากำหนดรู้ธรรมที่เป็นกุศล อกุศล เรียกว่า ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

    ถ้าสติมากำหนดตั้งมั่นพิจารณาอยู่ที่ธรรม ก็เรียกว่าธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ธรรมะเป็นฐานที่ตั้งของสติ จิตรู้ว่ากายมีอยู่ และมีสติตั้งมั่นอยู่ที่กาย อย่างน้อยก็ตั้งมั่นอยู่ที่ลมหายใจเข้าออก ลมหายใจเข้าออกก็เป็นส่วนหนึ่งของกาย เพราะปอดเป็นผู้มีหน้าที่ ทำหน้าที่ หายใจเข้า หายใจออก เมื่อสติไปตั้งอยู่ที่ลมหายใจ ก็ได้ชื่อว่าสติไปตั้งอยู่ที่กาย จัดเป็นอานาปาณุสติด้วย กายานุปัสสนาสติปัฏฐานด้วย ในมหาสติปัฏฐานบรรพัท ท่านจำแนกแจกวิธีการพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรมไว้อย่างกว้างขวางพิศดาร แต่อันนั้นเป็นภาคปฏิบัติ

    ท่านเริ่มต้นแต่ให้พิจารณาผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก โดยความเป็นของปฏิกูลน่าเกลียดบ้าง โดยความเป็นธาตุ 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ บ้าง เพื่อจะให้จิตหรือสติไปตั้งอยู่ที่กาย จะได้เกิดความรู้ว่ากายสักแต่ว่ากาย ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตนเราเขา ท่านให้เริ่มพิจารณาตั้งแต่กายภายนอก คือกายของคนอื่น หรือพิจารณาซากอสุ หมายถึง ซากอสุภะ แล้วก็น้อมเข้ามาเปรียบเทียบกับตนเอง เช่นอย่างไปเห็นซากศพที่นอนตายอยู่ ท่านให้พิจารณาซากศพว่าเมื่อก่อนนี้ซากศพก็มีชีวิตจิตใจเดินเหินไปมาได้เหมือนเรา บัดนี้เขาปราศจากวิญญาณแล้ว เขามีแต่จะเน่าเปื่อยผุพัง แล้วก็น้อมเข้ามาเปรียบเทียบกับตนเองว่า แม้เราก็เช่นกัน เวลานี้ เรามีกาย มีจิต มีวิญญาณ เราก็ยังเดินเหินไปไหนมาไหนได้ ทำอะไรได้จิปาถะ เมื่อวิญญาณออกจากร่างแล้ว ร่างกายก็มีแต่จะเน่าเปื่อยผุพังทับถมแผ่นดินเป็นของปฏิกูลน่าเกลียดโสโครก เมื่อสลายตัวไปก็จะเป็นธาตุ 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ

    หาสัตว์บุคคลตัวตนเราเขาไม่มี ร่างกายภายนอกกับกายภายในเป็นเช่นไร กายภายนอกเป็นเช่นไร กายภายใน ก็ย่อมเป็นเช่นนั้น ทีนี้การพิจารณากายภายนอก สักแต่ว่ากาย แต่ว่ามันเป็นกายของคนอื่น อันนั้นเรียกว่าเห็นกายภายนอก แต่เมื่อมาพิจารณากายของตนเอง ให้เห็นว่ากายของเราก็จักเป็นเช่นนั้น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก แม้ปัจจุบันนี้จะยังสดสวยงดงามพอดูกันได้ แต่เมื่อกายสลายตัวลงไปแล้วก็จะเน่าเปื่อยผุพัง เป็นของปฏิกูลน่าเกลียดโสโครก แล้วเราจะได้รู้ได้เห็นว่ากายของเรานี้สักแต่ว่ากายไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา กายเป็นแต่เพียงกาย กายเป็นแต่เพียงสมมติบัญญัติ กายนี้ไม่ใช่สัตว์บุคคล ตัว ตน เรา เขา แต่ที่สมมติว่าบุคคล ตัวตนเราเขาและสัตว์นั้นเป็นแต่เพียงสมมติบัญญัติ ตามภาษารูป แต่เมื่อความเป็นจริงแล้ว สมมติบัญญัติอันนี้เป็นกาย ก็สักแต่ว่ากายเท่านั้น ในเมื่อเรามาพิจารณาเห็นกายภายในคือกายของเราเป็นเช่นนั้น เรียกว่า พิจารณากายในกาย ถ้าสติไปตั้งมั่นอยู่ในการพิจารณากาย โดยยึดเอากายเป็นอารมณ์ตั้งมั่นอยู่ที่ตรงนั้น จนกระทั่งว่าในขณะที่พิจารณาในสมาธิก็เป็นเช่นนั้น

    ออกจากสมาธิไปแล้ว สติก็กำหนดตามรู้การยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด ซึ่งเป็นเรื่องของกาย ก็เรียกว่า สติไปตั้งอยู่ที่กาย เรียกว่า กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถ้าสติเพียงแค่ว่าควบคุมบังคับให้ระลึกไปในกาย คือระลึกถึง ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เป็นต้น อันนี้เรียกว่าเป็นภาคปฏิบัติ เป็นสติปัญญาธรรมดา แต่ถ้าหากว่าจิตมีสติกำหนดรู้เรื่องของกายอยู่ตลอดเวลาโดยอัติโนมัติ จะตั้งใจก็กำหนดรู้ ไม่ตั้งใจก็กำหนดรู้ กำหนดรู้อยู่ตลอดเวลาทุกขณะจิตทุกลมหายใจ สติไม่พรากจากกาย ไม่ว่าเราจะยืน เดิน นั่ง นอน รับประทาน ดื่ม ทำ พูด คิด สติก็รู้พร้อมอยู่ที่กายตลอดเวลา อันนี้เรียกว่ากายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เอาสติตั้งมั่นไม่หวั่นไหวก็เป็นมหาสติปัฏฐาน

    ในเมื่อสติมาตั้งมั่นอยู่ที่กาย ระลึกรู้ รู้อยู่ที่กายตลอดเวลา เรื่องเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน เราไม่ได้ตั้งใจจะกำหนดรู้ ไม่ได้ตั้งใจจะพิจารณา จิตของเราก็รู้เอง เพราะจิตมีกาย กายเป็นที่เกิดแห่งเวทนา เมื่อจิตมาจดจ่อเอาใจใส่ต่อกาย อะไรเกิดขึ้นที่กาย จิตของเรารู้หมดไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจิตมาตั้งมั่นอยู่ที่กาย เอากายเป็นอารมณ์สติตั้งมั่นอยู่ที่กาย แม้แต่ความคิดที่เกิดขึ้นก็เพราะอาศัยกายนั่นแหละเป็นเครื่องมือ เมื่อมีกายอยู่จิตย่อมมีความคิด ความคิดที่เกิดขึ้นนั้น แม้เราไม่ได้ตั้งใจจะกำหนดรู้ จิตของเราก็จะรู้เพราะการคิดเป็นเรื่องของจิต

    ในเมื่อสติของเราไปตั้งมั่นอยู่กับความคิดที่คิดอยู่ในปัจจุบัน คิดอะไรขึ้นมาก็รู้ คิดอะไรขึ้นมาก็รู้แต่ความคิดนั้น คิดแล้วก็ปล่อยวางไป ไม่ยึดมั่นอะไรไว้สร้างปัญหาให้ตัวเองเดือดร้อน สติกำหนดตั้งมั่นอยู่ที่ความคิดนั้น เรียกว่า จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ทีนี้ความคิดที่ปรุงแต่งนั้นอาศัยเวทนาเป็นสิ่งหนุน สุขเวทนา เป็นเหตุให้จิตมีความเพลิดเพลินยินดี ทุกขเวทนาเป็นเหตุให้จิตเกิดความไม่พอใจ หรือบางทีอาจจะเกิดคับแคบใจ ในเมื่อกิเลสที่เป็นตัวการ คือการเสพความสุขความสบายซึ่งอาจจะเกิดขึ้นในขณะนั้น

    ทีนี้พอนั่งๆ ไป ปฏิบัติไป บางทีก็เกิดทุกขเวทนาบางอย่างเกิดขึ้น มีความรู้สึกว่ามีอาการง่วงๆ แล้วก็เกิดปวดต้นคอ หรือบางทีหายใจอึดอัดซึ่งนักปฏิบัติทั้งหลายจะต้องผ่านสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น และเป็นชนวนให้เกิดความหงุดหงิดงุ่นง่านรำคาญ ในเมื่อจิตมากำหนดรู้อยู่ที่ความหงุดหงิดงุ่นง่านรำคาญ จิตก็เริ่มกำหนดรู้เรื่องของธรรมแล้วก็จะมองเห็นนิวรณ์ทั้ง 5 ได้ชัดเจน คือมองเห็นความใคร่ในความสุขสบาย ทำให้เกิดขี้เกียจขี้คร้านมองเห็นได้ชัด แล้วก็มองเห็นความหงุดหงิดรำคาญ อุทธัจจกุกกุจจะได้ชัดเจน และยิ่งเกิดความง่วงเหงาหาวนอนขึ้นมาแทรกด้วย เราก็มองเห็นได้ชัดเจน

    เราเกิดสงสัยว่าจะปฏิบัติต่อไปดีหรือจะหยุดเพียงแค่นี้ เราก็มองเห็นได้ชัดเจน ในเมื่อเราเกิดความสงสัยว่าจะปฏิบัติต่อไปหรือจะหยุดแค่นี้ พยาปาทะคือตัวคอยตัดรอนได้โอกาสก็วิ่งเข้าไปตัด พอตัดลงไปแล้ว เราก็จะนึกว่าเอาแค่นี้พอแล้ว เอาไว้วันหลังปฏิบัติต่อใหม่ ทีนี้ถ้าหากว่าจิตของเราเป็นอย่างนี้เรื่อยไป พอเกิดหงุดหงิดขึ้นมาแล้วก็บอกว่า เอาล่ะ แค่นี้ ฝากไว้วันหลังจึงปฏิบัติต่อใหม่ เราก็จะไม่ได้ประสบกับความสำเร็จเพราะอันนี้มันเป็นนิวรณ์ที่คอยตัดรอนคุณงามความดี ถ้าจิตของเรามาตั้งสติพิจารณาคุณโทษแห่งนิวรณ์ 5 ดังที่กล่าวแล้วก็พยายามหาอุบายปลดเปลื้อง

    อุบายปลดเปลื้องนิวรณ์ 5 ก็คือเอาตัวนิวรณ์ 5 นั้นแหละเป็นเครื่องแก้ คือพิจารณาให้เห็นโทษของนิวรณ์เลย พิจารณาว่ากามฉันทะ ถ้าเราทำจิตให้ไปติดในความสุขความสบายจนเกินไปอย่างไม่มีเหตุผล ก็จะทำให้เราเสียกาลเสียเวลาเสียการปฏิบัติเพราะการปฏิบัตินี่ก็ย่อมลงทุนลงแรงบ้างพอสมควร ต้องอาศัยความอดทน

    ถ้าเราใช้ขันติ ความอดทนปฏิบัติไปสักพักหนึ่งนิวรณ์ 5 ทั้งหลายนั้นย่อมสงบระงับไปได้เพราะพลังของสมาธิ ถ้าหากกามฉันทะความใคร่ในความสุขเกิดขึ้น ให้กำหนดสติรู้ ถ้าพยาปาทะมันเกิดขึ้น ก็กำหนดสติรู้ ถ้าอุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านรำคาญเกิดขึ้นก็กำหนดสติรู้ ถ้าถีนมิทธะความง่วงเหงาหาวนอนเกิดขึ้น กำหนดสติรู้ ความลังเลสงสัยเกิดขึ้น กำหนดสติรู้ โดยเอาสิ่งเหล่านี้เป็นอารมณ์ของจิตเป็นที่ระลึกของสติ กำหนดจดจ้องพิจารณาอยู่อย่างนั้น ในเมื่อสติสัมปชัญญะมีพลังแก่กล้าขึ้น แล้วก็จะเกิดสมาธิความมั่นใจซึ่งอาศัยขันติความอดทนพิจารณาให้จิตของเรารู้แจ้งเห็นชัดในคุณในโทษของธรรมคือนิวรณ์

    เมื่อรู้แจ้งเห็นจริงรู้ชัดแล้ว จิตของเราก็จะปล่อยวางเข้าไปสู่ความสงบ แล้วเราก็จะได้สมาธิเพราะอาศัยธรรมะคือนิวรณ์เป็นที่ตั้งของสติ เป็นสิ่งรู้ของจิต เป็นที่ตั้งของสติเป็นเครื่องรู้ของจิต ธรรมชาติของจิตถ้ามีสิ่งรู้ สติมีสิ่งระลึก ถ้าเราตั้งใจจดจ่อพิจารณาเพ่งดูอยู่ จิตจะสงบเป็นสมาธิ เพราะฉะนั้นแผนการปฏิบัติมหาสติปัฏฐาน 4 กำหนดพิจารณากาย เวทนา จิตและธรรม เรากำหนดหมายเอาง่ายๆ คือพอนั่งสมาธิปั๊ปลงไปกำหนดรู้จิต กิริยาที่ตั้งใจกำหนดรู้จิตนั้น เราอาศัยประสาททางกายเป็นเครื่องช่วย

    ถ้าจิตไม่มีกายแล้ว ไม่มีความตั้งใจจะทำอะไร จะคิดอะไร เพราะจิตเป็นธาตุรู้อยู่เฉยๆ ถ้าลำพังแต่จิตดวงเดียวที่ถอดออกไปจากร่างอันนี้ เขาจะไปลอยเด่นใสสว่างไม่มีตัว ไม่มีตน คิดไม่เป็น อยู่เฉยๆ แต่ถ้ายังมีความสัมพันธ์กับกายนี้อยู่ คิดเป็นเพราะมีเครื่องมือ จิตเป็นแต่เพียงพลังงาน ร่างกายเป็นเครื่องมือ จิตเหมือนกระแสไฟฟ้า ในเมื่อกระแสไฟฟ้าวิ่งเข้าไปสู่แม่เหล็กและทองแดงเกิดความหมุน พอหมุนแล้วทุกสิ่งทุกอย่างมันก็เกิดความเคลื่อนไหว ทำให้เกิดพลังต่างๆ ขึ้นมาได้

    ดังนั้นในเมื่อกายมีอยู่ จิตย่อมมีความคิดเพราะกระแสของจิตไปกระทบกับร่างกายเครื่องมือของกาย เราคิดได้เพราะอาศัยประสาททางสมอง เพราะฉะนั้นในเมื่อเรากำหนดรู้ที่จิตของเรา เราย่อมรู้ว่าในกายของเรานี่ มีอะไรบ้าง อย่างน้อยก็รู้ว่ากายของเรามีศรีษะ 1 มีแขน 2 ขา 2 มีลำตัว มีตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ

    เมื่อเราตั้งใจกำหนดรู้อย่างนี้เรียกว่ากำหนดรู้กาย ทีนี้ในเมื่อเรากำหนดรู้กายอยู่ เพราะกายเป็นที่เกิดของสิ่งต่างๆ สุขเกิดที่กาย ทุกข์เกิดที่กาย แต่ว่าใจเป็นผู้ยึดมั่นถือมั่นอยู่ในกายนี้ กายเป็นที่เกิดของความเจ็บ แต่ความเจ็บอันนี้ จิตเป็นผู้รับรู้ ทีนี้ถ้าจิตไม่มีกายก็ไม่รู้จักเจ็บเพราะฉะนั้นเวทนาเกิดที่กาย สุขเวทนาก็เกิดที่กาย ทุกขเวทนาก็เกิดที่กาย หรือไม่สุขไม่ทุกข์ก็เกิดที่กาย เมื่อเรากำหนดรู้ว่ากายมีอยู่ เราจะรู้พร้อมทั้งเวทนา จิตและธรรม จิตก็คือตัวผู้รู้ ธรรมก็คือสิ่งที่กำหนดรู้อยู่ เรากำหนดรู้จิต กำหนดรู้อารมณ์ คือจิตกำหนดรู้อยู่ในอารมณ์ปัจจุบัน

    ในเมื่อจิตเสวยสุขซึ่งเกิดจากปีติ นิวรณ์ 5 กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะก็หายไป ทีนี้เมื่อสมาธิจิตสงบละเอียดลงไปจนกระทั่งตัวหายไปหมดแล้ว วิตก วิจาร ปีติสุขก็หายไปหมดเพราะสิ่งเหล่านี้อาศัยกายเกิด ถ้าไม่มีกาย วิตกวิจารปีติสุขก็ไม่มีได้ เพราะฉะนั้นเมื่อกายหายไปแล้วยังเหลือแต่จิตดวงเดียว จึงได้ชื่อว่ามีแต่จิตดวงเดียวซึ่งเรียกว่าเอกัคคตากับอุเบกขา ความเป็นกลางของจิต ร่างกายตนตัวหายไปหมด

    เพราะฉะนั้นการบำเพ็ญสมาธิซึ่งเดินตามหลักของมหาสติปัฏฐาน 4 จึงเป็นอุบายทำจิตให้สงบตั้งมั่นลงเป็นสมาธิ เพื่อขจัดนิวรณ์ธรรม 5 ประการ ให้หมดไปจากจิตในขณะที่มีสมาธิ จิตของเราจะได้ดำเนินไปสู่ภูมิจิตภูมิธรรมตามลำดับขั้นตอน ซึ่งสุดแล้วแต่พลังจิตพลังสมาธิของท่านผู้ใด จะปฏิวัติจิตของตนเองให้เป็นไปได้

    เพราะฉะนั้นการฝึกฝนอบรมสมาธินี้ เราอาศัยหลัก ภาวิตา อบรมให้มากๆ พหุลีกะตา ทำให้มากๆ ทำให้คล่องตัว ทำจนชำนิชำนาญ ทำจนกระทั่งถึงขั้นเป็นเอง ในเมื่อจิตได้ดำเนินตามหลักของมหาสติปัฏฐานทั้ง 4 ประการ จึงเป็นฐานที่ให้เกิดธรรมะอันเป็นองคคุณแห่งการตรัสรู้คือสติสัมโพชฌงค์

    ในเมื่อเรามาทำสมาธิจิตรวมเป็นหนึ่งเป็นเอกมรรค เอกธรรม สติเป็นเองโดยอัตโนมัติสามารถที่จะกำหนดรู้กายจิต สถานการณ์และสิ่งแวดล้อมได้เองโดยตลอดเวลา ก็เรียกว่ามีสติสัมปชัญญะรู้พร้อมอยู่ที่การยืน เดิน นั่ง นอน รับประทาน ดื่ม ทำ พูด คิด ได้ชื่อว่าจิตได้สติสัมโพชฌงค์เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ เวลาแห่งการบรรยายธรรมะตามหลักแห่งมหาสติปัฏฐาน 4 ก็จบลงด้วยเวลาเพียงเท่านี้
     
  15. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    สำหรับวันนี้ เรามาสรุปเรื่องมหาสติปัฏฐานสูตร คำว่าสรุปนี่แสดงว่าที่สอนมาแล้วจบแล้ว แต่ความจริงมหาสติปัฏฐานสูตร ถ้าเราศึกษาจบท่านบอกว่ายังไม่เป็นพระอริยเจ้าต้องปฏิบัติเป็นอนุโลมและปฏิโลมไปอีก จึงจะเข้าถึงความเป็นพระอริยเจ้า ตามพระบาลีท่านบอกว่า ถ้าใครศึกษามหาสติปัฏฐานจบ แล้วก็ถ้ามีบารมีแก่กล้า คำว่าบารมีนี่แปลว่ากำลังใจตามที่บอกมาแล้ว ถ้าบารมีแก่กล้า ก็จะสำเร็จอรหัตผลภายใน ๗ วัน ถ้ามีบารมีอย่างกลางจะสำเร็จอรหัตผลภายใน ๗ เดือน แล้วก็ถ้ามีบารมีอย่างอ่อน ก็จะสำเร็จอรหัตผลภายใน ๗ ปี คำว่าบารมี หมายความว่ากำลังใจ บารมีแก่กล้าก็หมายความว่า มีกำลังใจเข้มแข็งต่อสู้กับอุปสรรคทั้งหมด แล้วก็ต่อสู้กับความเป็นจริงทุกอย่าง ยอมรับนับถือกฎของความเป็นจริง ละทิ้งอารมณ์ของกิเลส ยอมตัวตายดีกว่าที่เราจะไม่รู้ความจริงอย่างนี้เขาเรียกว่าอารมณ์แก่กล้า
    รวมความว่าคนที่จะถึงมรรคผลนี่ ท่าจะต้องติดบ้านิด ๆ คนเขารักชีวิตกันทั้งนั้นนี่นะ พวกนี้ยอมตายดีกว่าไม่ได้มรรคผลมันก็บ้าหน่อย ๆ แต่บ้าวิ่งเข้าไปหาความดี หากว่าถ้าเรามีกำลังใจอ่อนไปนิดหนึ่งก็ไม่เกิน ๗ เดือน มีกำลังใจเลวที่สุดก็ไม่เกิน ๗ ปี คำว่าเลวที่สุดนี่ ทำเพื่อหวังมรรคผลเหมือนกัน แต่ว่าย่อหย่อนไปหน่อย
    เรามาสรุปเรื่องมหาสติปัฏฐานสูตร ที่ศึกษามาแล้ว ว่าการปฏิบัติแบบไหนมันถึงจะได้มรรคผลโดยเร็ว เร็วหรือไม่เร็วก็ชื่อว่าเข้าถึงมรรคผล เมื่อก่อนนี้เราก็ว่ากันมาตั้งแต่อานาปานุสสติกรรมฐาน นั่นเป็นการศึกษา แต่ว่าจะปฏิบัติกันจริง ๆ ละก้อ ท่านจะต้องขึ้นโพชฌงค์ ๗ ก่อน ฉันไม่เหมือนชาวบ้านเขาแล้ว ถ้าเราจะเอามรรคผลกันจริง ๆ ก็ต้องใช้โพชฌงค์ ๗ ก่อน อันดับแรก เพราะกำลังใจของเราต้องเข้าถึงโพชฌงค์ เราต้องมีโพชฌงค์ ๗ มาเป็นกำลังใจ อันดับแรกก่อนคือ
    ๑. ต้องเป็นคนมีสติ
    ๒. ธัมมวิจยะ ธัมมวิจยะนี่ใคร่ครวญธรรมะที่เราพึงปฏิบัติ และข้อวัตรปฏิบัติ
    ๓. วิริยะ มีความเพียรต่อสู้กับอุปสรรค
    ๔. มีปีติ สร้างปีติ ความเอิบอิ่มใจให้ปรากฏกับใจ นี่หมายความว่า การปฏิบัติแบบนี้องค์สมเด็จพระชินสีห์บอกว่าถึงพระนิพพานแน่ อย่างเลวที่สุดเราก็ไปพักแค่สวรรค์ดีขึ้นไปหน่อยไปพักแค่พรหม ดีที่สุดเราถึงพระนิพพาน เรารู้ความจริงแบบนี้ ปีติ คือความอิ่มใจมันก็เกิด ก็คิดว่า เรานี่ยังไง ๆ ก็ไม่ตกนรกแน่ ความภาคภูมิใจที่เกิดอย่างนี้เราเรียกว่าปีติ
    ๕. ทีนี้ปัสสัทธิ แปลว่าความสงบ สงบของปัสสัทธิ มีอยู่ ๒ จุด คือ สงบจากนิวรณ์และสงบจากกิเลส ให้มีอารมณ์นิ่ง มีอารมณ์สงบไม่ยอมให้นิวรณ์เข้ามารบกวนใจหรือไม่ยอมให้กิเลสเข้ามารบกวนใจแล้วก็
    ๖. สมาธิ มีอารมณ์ตั้งมั่น
    ๗. อุเบกขา วางเฉย หมายความว่า ทรงอารมณ์เดียวเข้าไว้ ไม่ยอมรับทราบอารมณ์อื่นที่เข้ามารบกวนใจ
    นี่สิ่งทั้ง ๗ ประการนี้เรียกว่า โพชฌงค์ คือว่า องค์เป็นเครื่องตรัสรู้จะต้องมีประจำใจอยู่ก่อน สอนแปลกเสียแล้ว ก็ต้องสรุปซีนะ ไม่ขึ้นตอนต้น เพราะว่าการขึ้นตอนต้นท่านถือตามหลัก ตามเกณฑ์ว่าควรปฏิบัติ นี่เมื่อเรามีโพชฌงค์ ๗ ประจำใจ โพชฌงค์ ๗ นี่เป็นอารมณ์ประจำใจ คือเราคิดไว้เสมอว่า
    ๑. เราจะมีสติรู้อยู่ ในที่นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน
    ๒. เราต้องใช้ปัญญา ธรรมะที่พึงจะปฏิบัติ ว่าที่เขาสอนเรานี่ หรือว่าตำราที่กล่าวมานี่ มันตรงตามความเป็นจริงหรือยัง
    ๓. มีความเพียร คือวิริยะ ถ้าขาดความเพียรเสียอย่างเดียว ขี้เกียจมันก็ไม่ได้อะไร
    ๔. ปีติ ความอิ่มใจ เต็มใจในการที่จะปฏิบัติ หวังในผลที่จะพึงได้
    ๕. ปัสสัทธิ รักษาอารมณ์ให้สงบอยู่เสมอ
    ๖. สมาธิ มีอารมณ์ตั้งมั่นอยู่ตลอดเวลา
    ๗. อุเบกขา กันอารมณ์อื่นไม่ให้เข้ามายุ่ง อุเบกขานี่แปลว่า ความวางเฉย อารมณ์อื่นนอกจากที่เราจะต้องการมันเข้ามายุ่ง เราขับมันไปเลย
    ทีนี้เรามีโพชฌงค์ ๗ ประจำใจ ความจริงโพชฌงค์ ๗ นี่เราไม่ต้องไปหาที่ไหนขึ้นอยู่กับใจ ในเมื่อขึ้นอยู่กับใจแล้ว เราก็ต้องมีสติคุมอยู่ ว่าจิตใจของเราน่ะมันยุ่งหรือไม่ยุ่ง จิตใจของเราทรงอยู่ในอารมณ์ฌานในอารมณ์สมาธิหรือเปล่า จิตใจของเรายอมรับนับถือ กฎของธรรมดาหรือเปล่า ที่เรียกว่าวิปัสสนาญาณ นี่ก็ใช้ปัญญาตัวนี้เข้าพิจารณา นี่เป็นตัวปัญญานะ นั่งนึกดูซิ เวลาที่เรานึกรักใครเขามั่งหรือเปล่า อยากรวยไหม อยากรักสิ่งที่สวย ๆ คนสวย สัตว์สวย วัตถุสวยมีรึเปล่า เราพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส รึเปล่าเรามีอารมณ์โกรธมุ่งร้ายกับใครอื่น นี่เรามีหรือเปล่า แล้วก็มีอารมณ์ฟุ้งซ่านไหม สงสัยในคำสอนของพระพุทธเจ้าหรือเปล่า เรื่องการง่วงทิ้งไว้ก่อน ไอ้ตัวง่วงมันแก้ง่าย อยากง่วงก็วิ่งสัก ๕ กิโลก็หายง่วง
    ตานี้เรามาดูใจของเราว่าใช้ธัมมวิจยะกับสติ สตินึกไว้ว่าเราจะทำความดี ธัมมวิจยะนี่เราจะควบคุมอารมณ์ของเราให้อยู่ในด้านของสมาธิและวิปัสสนาญาณ อันดับแรกมามองดูหน้านิวรณ์ ๕ เสียก่อน ว่าเจ้านิวรณ์ ๕ นี่มันเข้ามายุ่งใจหรือเปล่า นี่เราก็เห็นนี่ที่เราทรงฌานไม่ได้ตลอดเวลา และเราต้องการให้จิตเป็นฌานเวลาไหน มันเข้าไปไม่ได้ก็เพราะมีนิวรณ์ตัวใดตัวหนึ่งเข้ามาอยู่ อันดับแรกเราต้องจับจุด ทำลายนิวรณ์เสียก่อนนี่แทนที่ผมจะขึ้น ๒ ตัวต้น ย่องมาล่อธัมมานุปัสสนาเสียก่อนแล้ว นี่ขั้นแรกเราต้องดูนิวรณ์ก่อนธัมมวิจยะเอาสติเข้าคุมไว้ ดูกำลังใจของเราเวลานี้มันไปมั่วสุมกับนิวรณ์ ๕ ประการไหม แล้วก็ใช้สติเข้าคุมสติตัวเดียว มันแค่นึกก็ยังไม่เข้าถึงกฎของความเป็นจริงต้องใช้ธัมมวิจยะ คือปัญญา เข้าพิจารณาอารมณ์ อารมณ์ความรัก รูปสวย กลิ่น รส และสัมผัส อารมณ์อยากรวย อารมณ์อยากโกรธ อยากฆ่าเขา มีอารมณ์ฟุ้งซ่าน สงสัยในคำสอนของพระพุทธเจ้า นี่มี ๕ เขาว่า ๔ เพราะว่าตัวโง่ไม่สำคัญ ถ้ามันมีขึ้น หาทางแก้แก้ทางไหน ย่องไปหาตอนต้น กายานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน นี่วิธีปฏิบัติจริง ๆ เขาทำกันแบบนี้นะ ไม่ใช่ไปนั่งไล่เบี้ย เฉพาะจุดใดจุดหนึ่ง ตั้งแต่ต้นไปหาปลาย แรกสุดต้องขึ้นต้นปัญญาก่อน ต้องมีโพชฌงค์ ๗ ประจำใจ จำได้แล้วใช่ไหม จำได้ก็ได้ ไม่ได้ก็แล้วไป สอนมาแล้วนะ ไม่ต้องสอนมาก
    ถ้าเรามีอารมณ์ฟุ้งซ่าน ไอ้ตัวฟุ้งซ่านนี่มีแน่ ตัวฟุ้งซ่านมันเกิดขึ้น นึกเสียว่ามหาสติปัฏฐานสูตร เราต้องใช้ทั้งหมดไม่ใช่ว่าอย่างใดอย่างหนึ่ง ต้องใช้ทั้งหมด ในเมื่ออารมณ์ใดมันเกิดขึ้น ถ้ามีอารมณ์ฟุ้งซ่านเกิดขึ้น ตัวสติมันก็น้อยลง เมื่ออาการฟุ้งซ่านเกิดขึ้น เราหันมาจับ อานาปานุสสติกรรมฐาน ไม่ต้องไปภาวนา นั่งนับลมหายใจเข้าออก กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกให้จิตสบาย ถ้าจิตไม่ทรงตัวเพียงใดเราไม่ยอกเลิก ตายให้มันตายไป มันอยากเกิดมาไม่ดีนี่ มันจะตายไปเป็นเปรตให้มันตายไป ใช่ไหม ถ้าเราตายในขณะทำความดี นี่เป็นตัววิริยะ ถ้านั่งเมื่อยก็นอนเสีย อย่าไปทนมันนะ ถ้านอนเมื่อยก็ยืน ยืนเมื่อยก็เดิน เดินไป นอนอยู่ นั่งอยู่ หรือเดินอยู่ อะไรก็ตาม เราควบคุมอารมณ์อานาปานุสสติกรรมฐานตลอดเวลา ให้จิตมันทรงตัว คือ ระงับนิวรณ์ทั้ง ๕ ประการให้ได้ ถ้านิวรณ์มันไม่ไปเพียงใด เราไม่ยอมเลิก เราจะรู้นิวรณ์ไปเมื่อไหร่น่ะ หมายความว่ารักษาอารมณ์ไว้ได้ตามเดิม รู้ลมหายใจเข้าออกตามปกติ ไม่มีอารมณ์อื่นเข้ามาแฝง นี่รู้ว่านิวรณ์ไปแล้ว เรื่องนิวรณ์ไปนี่มันมาได้นะ ถ้าฌานโลกีย์นะ ฌานโลกีย์ตามปกติเราก็ใช้ฌานนี่ระงับนิวรณ์ได้ทันที มีกำลังกล้า พอออกจากฌานแล้วจิตใจก็เหมือนคนธรรมดา มีความรัก ความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นเครื่องปกติ ตานี้เรียกว่าเป็ฯฌานโลกีย์ต้องใช้ให้ชิน มันเป็นบทบาทที่เราจะเข้าถึงวิปัสสนาญาณ บางคนบอกว่าคนเขายังเจ้าชู้อยู่จะทำอะไรต่ออะไรทำไมเขาถึงจะเข้าฌานได้ รู้อะไรได้ เพราะเขามีกำลังใจสามารถบังคับใจให้ระงับนิวรณ์ ตัดนิวรณ์ออกไปเมื่อไหร่ก็ได้ แต่ว่ามันชั่วคราว เมื่อนิวรณ์ระงับแล้วก็ชื่อว่าอารมณ์จิตของเราทรงฌานมีอานาปานุสสติ ตัวนี้ทิ้งไม่ได้นะ ถ้าทิ้งตัวนี้เมื่อไหร่คุณพังเมื่อนั้น ไม่มีผล ไม่ใช่ว่าอานาปานุสสติผ่านไปมาถึงอิริยาบทก็ทิ้งอานาปานุสสติถึงสัมปชัญญะก็ทิ้งอานาปานุสสติ ถึงปฏิกูลก็ทั้งอานาปานุสสติ อย่างนี้ไม่มีทางได้อะไรเลยอานาปานุสสติเป็นพื้นใหญ่มาก จิตต้องทรงเป็นกำลังฌานอยู่ตลอดเวลา จะทำอะไรก็ตามก็ต้องพึ่งอานาปานุสสติก่อน ให้จิตสบายระงับนิวรณ์เสียก่อน ต่อไปมันเป็นการใคร่ครวญมหาสติปัฏฐานมีตัวฌานอยู่ตัวเดียว คืออานาปานุสสติ ตัดหลักเลย ต่อมาทรงสติสมบูรณ์แล้ว ก็จะมีความรู้ตัว คือสัมปชัญญะให้สมบูรณ์ ทีนี้เรามาดูอิริยาบถค่อยค่อยจะเดินไป ก้าวไปข้างหน้า ถอยมาข้างหลัง จะแกว่งแขนซ้ายแกว่งแขนขวา โค้งเข้าโค้งออก เหลียวซ้าย เหลียวขวา ให้พยายามรู้ตัวอยู่เสมอ นี่เราต้องคิดว่าเราเป็น เวลาฝึกหรือเวลาได้นี่นะ เวลาที่เราฝึกหัดเดินไป เดินไปข้างหน้า ถอยมาข้างหลัง ไม่ต้องไปยก ๆ ย่อง ๆ ทำแบบไอ้โรคสันนิบาต ไม่ใช่นะ แบบเดินธรรมดา อิริยาบทพระพุทธเจ้าต้องการอย่างเดียว อย่างเราเดินไปบิณฑบาต เดินไปธุระทำกิจการงานทุกอย่าง ให้รู้อยู่ว่าเวลานี้เราทำอะไร อย่าไปฝึกอย่างค่อย ๆ ยกนิด ย่างหน่อย อันนี้ใช้ไม่ได้ เดี๋ยวไปบิณฑบาตเดินแบบนั้น ๓ ปี ไม่ได้กินข้าว ให้ถืออารมณ์ปกติ เราเดินธรรมดา นี่เราก้าวเท้าซ้ายเราก้าวเท้าขวา ก้าวไปข้างหน้า หรือถอยมาข้างหลัง เหลียวซ้าย หรือเหลียวขวา ใช้สติเข้าควบคุม
    ทีนี้สัมปชัญญะความรู้ตัว ผมเคยพูดควบไปเลย อิริยาบถเดินแกว่างแขนไป แกว่างแขนมา สติเข้าควบคุม มีสัมปชัญญะ ความรู้ตัวนี่พูดควบเข้าไปเลย ความจริงเขาแยกกันไว้ ผมพูดควบไปส่งเดชมันง่ายดี นี่เราเรียกว่าเรามาสรุปกันนะ ทีนี้ก็อย่าลืมนะเราต้องมีโพชฌงค์ประจำใจ แล้วก็มีอานาปานุสสติประจำอยู่ตลอดเวลา อย่าทิ้งนะแม้แต่พระพุทธเจ้ายังไม่ทิ้ง ถ้าพวกคุณทิ้งอานาปานุสสติ แสดงว่าพวกคุณดีกว่าพระพุทธเจ้า ไปอยู่กับเทวทัตนะ ใครจะไปก็ไป ไปไหมล่ะ อันนี้เราก็มาดูในเมื่อเราทรงฌานไอ้จิตเป็นฌานนี่ คำว่าฌานแปลว่าการเพ่ง มันเป็นของไม่ยาก ขณะใดที่เรารู้ลมหายใจเข้าออก ขณะใดที่เรารู้อิริยาบถ ที่เราก้าวข้างหน้า ถอยมาข้างหลัง เป็นต้น เรียกว่าเราเหลียวซ้ายแลขวาเป็นสัมปชัญญะ ถ้ามีอารมณ์อื่นไม่เข้ามารบกวน อันนี้เรียกว่า ฌาน หรือเราเรียกว่าสมาธินั่นเอง สมาธิแปลว่าตั้งใจมั่น อารมณ์ทรงตัวอยู่ในขณะนั้นอันอารมณ์ทรงตัวแบบนี้ ถ้าหากว่ามันจะได้สักวันละ ๒ - ๓ นาทีด้วยความเต็มใจ อันนี้ก็น่าสรรเสริญ ไม่ต้องไปนั่งตั้งหน้าตั้งตาล่อที ๗, ๘ ชม. มันจะกลายเป็นอัตตกิลมถานุโยค พวกคุณต้องระวังให้มาก คำว่า อัตตกิลมถานุโยค นั่งทรมานตัวใช้เวลามากเกินไปปวดเมื่อยก็ไม่เลิก อย่างนี้ไม่ดีนะ พระพุทธเจ้าไม่ทรงสรรเสริญ อะไรก็ตามที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงสนับสนุน สิ่งนั้นอย่าไปทำ ถ้าไปทำแล้วคุณแย่ไม่มีผล นี่เรามาว่าถึงอะไตัวนิวรณ์ตัวต้น ไม่ใช่ตัวต้นน่ะซี มันเป็นตัวกลาง ๆ ตัวที่ปลายอยู่แล้ว อารมณ์ฟุ้งซ่าน อุทธัจจะ กุกกุจจะ นี่ปราบด้วยอานาปานุสสติ แล้วก็ควบคุมอิริยาบถกับสัมปชัญญะ
    ทีนี้มานิวรณ์อีกตัวหนึ่งกามฉันทะ ตัวต้น ไอ้ตัวอยากมีผัว อยากมีเมีย อยากมีลูก อยากสวย อยากงาม ตัวนี้ดีมาก พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า ภารา ปญฺจกฺขนฺธา ขันธ์ ทั้งหลาย ๕ เป็นภาระอันหนัก เราคนเดียวมีขันธ์ ๕ คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อย่างนี้เลี้ยงมันเอาดีไม่ได้ เราไปหาคนอื่นมาอีกคน อีก ๕ กลายเป็น ๑๐ถ้ามันโผล่มาอีกคน มาอีกก็ ๕ เป็น ๑๕ เมื่อมีอีกคนอีก ๕ เป็น ๒๐ ก็ไอ้ ๕ มันยังแบกไม่ไหว มันปาไปเป็น ๒๐, ๓๐ มันยังไม่อยู่ใช่ไหม แต่ว่านี่มันแล้วไปแล้ว ก็ถือว่าเป็นครู ดูซิว่ามีคู่ครองมันมีสุขหรือมีทุกข์ ถ้าหากว่ามันมีทุกข์ก็ถือว่ามันแล้วไปแล้ว ถือว่าเป็นครู ชาตินี้ชาติเดียว เป็นชาติสุดท้ายสำหรับเราที่จะมีคู่ครอง ชาติต่อไปภายหน้าเราจะไม่มีมันแล้ว เราจะไปไหน เปิดนิพพาน ย่องเงียบ
    ตานี้มาตัวรักสวยรักงามปรากฏขึ้นในใจ เรามีอะไรมีโพชฌงค์นี่ โพชฌงค์มีสติคุมอยู่ มีธัมมวิจยะคุมอยู่ ไอ้ใจของเราเวลานี้ มันรักอะไร มันมีอารมณ์ต้องการอะไร ถ้าเกิดต้องการความสวยสดงดงามของรูปกายของใครคนใดคนหนึ่งเข้า หรือว่าวัตถุเป็นที่รักหรือว่าเห็นว่าเราเป็นผู้วิเศษ ร่างกายของเราดี อันนี้เราต้องเข้าไปจับกรรมฐาน ๓ อย่างในมหาสติปัฏฐานสูตร คือ ในกายาคตานุสสติ คือ
    (๑) ปฏิกูลบรรพ พิจารณาอาการ ๓๒ ของคน และสัตว์ สัตว์มันก็มีอาการ ๓๒ เหมือนกัน ว่ามันสะอาดหรือว่ามันสกปรก นี่วันนี้เรามาสรุปกันนะ ไม่ใช่มานั่งอธิบายละเอียด หันไปดูความรู้เดิม ที่เราศึกษามาว่า ปฏิกูลบรรพในอาการ ๓๒ ของร่างกายของคน สัตว์ และวัตถุ มันสะอาดหรือมันสกปรก ถ้ามันสกปรกเราจะไปรักมันทำไม ตัดตัวรักสวยรักงามตัวนี้ ๑ ละ ทีนี้มาอีกตัวหนึ่ง
    (๒) ธาตุ ๔ เพราะร่างกายของคนและสัตว์ ประกอบด้วยธาตุ ๔ มีธาตุน้ำ ธาตุดิน ธาตุลม ธาตุไฟ เรามานั่งคิดว่า ธาตุทั้ง ๔ อย่างนี้มันสะอาดหรือสกปรก และมันทรงตัวอยู่ตลอดกาล หรือมีการสลายตัวเป็นปกติ นี่นักเจริญมหาสติปัฏฐานเขาต้องดูอารมณ์ อารมณ์ตัวใดมันเกิด ตัดตัวนั้นทันที ไม่ใช่ไปนั่งไล่เบี้ย ๑, ๒, ๓, ๔, ๕, ๖, ๗, ถึง ๑๓ จบ เป็นอรหันต์ ถ้าคิดแบบนี้ลงนรกมานับไม่ถ้วนแล้ว เขาต้องรวบรวมกำลังมหาสติปัฏฐานทั้งหมดทุกบรรพเข้ามาใช้ในขณะที่อารมณ์นั้นเกิดทันที ไม่ใช่ทำอย่างนี้ได้แล้วก็ทิ้งอย่างนั้น ไปจับขั้นต่อไป ต่อไปพอใจสบายก็ทิ้งอย่างนี้ ไปจับอย่างโน้นอย่างนี้ลงนรกมานับไม่ถ้วน เพราะว่าไม่เข้าถึงความเป็นจริง ตกอยู่ในเขตของความประมาท หรือเราก็มานั่งดูธาตุ ๔ เพราะไอ้ธาตุ ๔ ธาตุดินนี่เห็นง่าย เนื้อ หนัง กระดูก ผม มันสะอาดหรือสกปรก มันก็สกปรก มาดูธาตุน้ำ สบายใจเลย ธาตุดินก็อุจจาระ สะอาดหรือสกปรก ทีนี้ธาตุน้ำมาดูปัสสาวะ น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง ในร่างกายสะอาดหรือสกปรก นี่ก็มาจากปฏิกูลบรรพ ทีนี้ย่องมาดูอีกทีนะ
    (๓) นวสี ๙ คนตายแล้ว ๑ วัน ๒ วัน ๓ วัน จนขึ้นอืดพอง ขาดเป็นท่อนเป็นตอน กระดูกเรี่ยราย ดูสภาวะของคนตายตรงไหนมันสะอาดบ้าง มีไหม นี่ไม่มีเวลาที่จิตรักสวยรักงามเกิดขึ้นนี่นะ เขาต้องเอาปฏิกูลบรรพ ธาตุ ๔ นวสี ๙ เข้ามาสังหารทันที เข้ามาพิจารณาทันที นี่เราใช้ธัมมวิจยะสติเข้ามาควบคุม เวลาที่เราใคร่ครวญธรรม ๒ หมวดนี้อยู่ ก็ใช้สติคุม เรานึกอยู่ในเหตุนี้จริง ๆ รึเปล่า รึว่าอะไรเข้าไปยุ่งนี่เวลาใคร่ครวญไปเขาเรียกว่าธัมมวิจยะ ว่าอะไรมันสะอาดบ้าง อะไรดีตรงไหนบ้างที่เขานิยมชมชอบ มันวิเศษ มันจริงไหม ร่างกายของคนสะอาดตรงไหน หรือว่ามันสกปรกหาความจริงให้พบ อย่าฝืน พระพุทธเจ้าสอนไม่ต้องการให้ฝืน สอนให้หาความจริงพระองค์จึงกล่าวว่า ปจฺจตฺตํ ในเมื่อบุคคลเข้าถึงแล้วจะพึงรู้เอง โอปนยิโก ถ้าไม่เชื่อ เชิญเข้ามาพิสูจน์ นี่เราต้องการพิสูจน์ด้วยจิตเป็นธรรม ใช้ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา ไม่ใช่ไปเอาอารมณ์เดิมเข้ามาใช้ ตานี้ไอ้การที่เราจะคิดว่าของที่เราว่าสวย แล้วจะคิดว่าไม่สวยมันก็ฝืนอารมณ์เดิม มันก็ต้องใช้วิริยะ ความเพียรต่อสู้กับอุปสรรค คืออารมณ์ที่เข้ามาคัดค้าน ว่านี้ต้องการเอาความจริง ต้องการของจริง ไม่ใช่มานั่งคิดว่า ของที่มันไม่ดี ว่าเป็นของดี ย่อมแพ้แก่กิเลส อันนี้มันใช้ไม่ได้
    ทีนี้เมื่อพิจารณาไปจนกระทั่งเห็นของเหล่านั้นปฏิกูล น่าเกลียด โสโครก เกิดเป็นนิพพิทาญาณปีติความอิ่มใจมันก็เกิดว่า เออนี่เราชนะแล้ว ชิตํเม ชิตํเม เราชนะแล้ว ชนะแล้ว แต่ระวังนะชนะนิวรณ์ ๕ เราชนะไม่จริง ในเมื่อปีติความอิ่มใจเกิดขึ้น มันก็บังนิวรณ์ ๕ เหล่านั้นเสีย ปัสสัทธิความสงบมันเกิด อารมณ์สงบจากนิวรณ์มันก็เกิดตัวสมาธิก็เกิดตัวสมาธิก็เกิด ความตั้งมั่นของจิตมันก็เกิด เมื่อความตั้งมั่นของจิตเกิด ตัวอุเบกขานี้ไม่ยอมรับอารมณ์อื่นมันก็มานี่โพชฌงค์ ๗ นี้ต้องมีโพชฌงค์ ๗ ประจำใจ นี่เราไล่เบี้ยกันถึงนิวรณ์ตัวสำคัญ คือกามฉันทะได้แล้ว ในเมื่อไล่เบี้ยตัวนี้แล้ว มันก็เกือบไล่หมดทุกตัวแล้วมั้งนะไล่ไปได้เกือบหมดทุกตัว ทีนี้กายานุปัสสนาผ่านไป ท่านบอกว่าให้ใช้สติแน่ะมาโพชฌงค์อีกแล้ว หนีไม่ได้ โพชฌงค์นี่นะ สติเข้ามาคุมอารมณ์ ว่าอารมณ์ของเรานี่มันเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ หรือว่าไม่สุข ไม่ทุกข์ นี่เรียกว่าเวทนานุปัสสนา ตัวสติมันนึกเข้ามาแล้ว ยังไม่ใช่ตัวปัญญา ก็ใช้ธัมมวิจยะ ก็มานั่งนึก นี่เรากินข้าวอยู่นี่ เวลากินข้าวมันสุขหรือมันทุกข์ ถ้าไปโดนก้างเข้าทุกข์ถนัดเลย เรานั่งอยู่มันสุขหรือมันทุกข์มันเมื่อยไหม เราเดินอยู่มันสุขหรือมันทุกข์ เหนื่อยไหม ร้อนไหม มันปวดไหม เมื่อยไหมดูอารมณ์ อารมณ์ของเราเวลานี้มันสุขหรือมันทุกข์ หรือไม่สุขไม่ทุกข์ หรือมันสบายตานี้ความสุขเกิดขึ้นเรานึกว่าไอ้ตัวสุขระยะนี่ มันแค่นี้เอง เดี๋ยวมันก็ทุกข์ ทีนี้เมื่อความทุกข์เกิดขึ้น ก็ถือว่ามันเป็นเรื่องธรรมดาของขันธ์ ๕ เดี๋ยวมันก็สุข เดี๋ยวมันก็ทุกข์ ทุกข์ก็เป็นเรื่องธรรมดา มันพังอยู่เป็นปกติ พออารมณ์สบายเกิดขึ้น บอกเอ้อ อารมณ์นี่ดีแฮะสุขก็ไม่สุข ทุกข์ก็ไม่ทุกข์ ไม่เนื่องด้วยกามารมณ์ ไม่เนื่องด้วยกิเลส ไม่เนื่องด้วยอะไรทั้งหมด มีความสบาย ก็คิดว่าอารมณ์ที่ไม่ข้องแวะกับความสุขก็ดี ความทุกข์ก็ดี นี่เป็นอารมณ์ของพระนิพพาน อารมณ์อย่างนี้เป็นอารมณ์ที่เราต้องการ เมื่อเวลาความสุขความทุกข์มันเกิดมาเมื่อไร ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาของมันเพราะเราโง่ เราจึงเกิด เกิดมาเพื่อหาความสุข หาความทุกข์ มันจะทุกข์นานสักเท่าไรเราไม่ต้องการ เวลาความทุกข์มันเกิดเราก็ปล่อยมัน ที่ว่าปล่อยนี่มันทุกข์ไม่นาน ไม่ช้ามันก็ไป ถ้ามันพังเมื่อไรเราหมดทุกข์เมื่อนั้น เพราะอะไร เพราะว่าถ้าพังเมื่อไรเราไปนิพพานเมื่อนั้น ขึ้นชื่อว่าขันธ์ ๕ จะไม่มีสำหรับเราต่อไปอีก ความสุขเกิดขึ้นเพราะอาศัยวัตถุก็ดี ปัจจัยเป็นสุขของโลกก็ดี เราต้องไว้เสมอว่านี่มันหลอกเรา นี่มีสติเข้าไว้ และมีธัมมวิจยะควบคุมใคร่ครวญ ถ้าอารมณ์มันหลงความสุข ก็ต้องใช้วิริยะเข้าโต้ เอาความเพียรเข้าโต้ เอาธัมมวิจยะเป็นเพื่อน ธัมมวิจยะนี่บอกไอ้ตัวสุขตัวนี้มันเป็นปัจจัยของความทุกข์ นี่เราจะทำลายความสุขที่เป็นกามารมณ์ เราอาศัยอะไร เราย่องเข้าไปดูมันซิ นวสี ๙ ใช่ไหม จะเป็นวตถุก็ดีบุคคลก็ดี ดูนวสี ๙ ถ้าตายแล้วพัง แล้วเมื่อไหร่มีอะไรจะเป็นประโยชน์กับเราบ้างในเมื่อเราตายแล้ว และเมื่อวัตถุทั้งหลายพังแล้วจะมีอะไรเป็นประโยชน์ หาประโยชน์ไม่ได้ทีนี้ไอ้ตัวสุขจริง ๆ มันไม่มี มันเป็นตัวหลอกลวง เป็นทุกข์
    ทีนี้เมื่อเวทนาเกิดขึ้น เราต้องไปดูเวทนา เรียกว่าไม่หลงในสุข แล้วก็ไม่รำคาญในทุกข์ ความจริงไอ้ทุกข์นี่รำคาญ ถ้ารำคาญก็ต้องรำคาญด้วยกันทั้ง ๒ อย่าง รำคาญทั้งสุข รำคาญทั้งทุกข์ ว่าไม่มีความพอใจทั้งสุขเวทนา และก็ไม่พอใจทั้งทุกขเวทนาแต่ว่าไม่กลุ้มนะ ยอมรับนับถือธรรมดา ไอ้เวทนานี่มันเกิดขึ้นมาสักแต่ว่าเป็นเวทนาเพราะไม่ช้าร่างกายสลายตัวเมื่อไหร่มันก็พังหมด มันไม่มีอะไรดี ความจริงมหาสติปัฏฐานทุกจุด พระพุทธเจ้าสอนเป็นวิปัสสนาญาณหมดเราเรียนกันมาแล้ว
    วันนี้เป็นเพียงสรุป เรียกว่าให้กำลังใจ ใช้กรรมฐานทุกอย่างในมหาสติปัฏฐานทุกอย่างได้ทุกขณะจิต อย่าไปนั่งไล่เบี้ย เฉพาะอย่างนั้นอย่างนี้นะ อีกหลายแสนชาติหลายแสนกัปป์ มันก็ไม่ไปถึงไหนใช่ไหม นี่มันต้องใช้ให้มันถูก นี่มาอีก เมื่อเราใช้สติก็ดี ใช้ธัมมวิจยะก็ดี หรือว่าวิริยะก็ดี เข้าไปต่อสู้กับความสุข หรือต่อสู้กับความทุกข์ ตามความเป็นจริงโดยคิดว่าสุขก็ไม่ใช่ของจริง ทุกข์ก็ไม่ใช่ของจริง สุขมาจากไหน ทุกข์มาจากไหน ทุกข์มาจากขันธ์ ๕ สุขก็มาจากขันธ์ ๕ ถ้าขันธ์ ๕ คือร่างกายของเราไม่มี ไอ้ตัวสุขตัวทุกข์ประเภทนี้ มันก็ไม่ปรากฏกับใจ ทีนี้ขันธ์ ๕ ไม่มี เราจะเอาใจไปไว้ตรงไหนไปวางไว้ที่นิพพานใช่ไหม วางไว้ที่อื่นเดี๋ยวมันก็มาชนไอ้ตัวนี้อีก วางเอาไว้ตรงโน้นแหละใครจะว่างอย่างไรก็ช่าง บอกว่าเวลานี้ท่านเข้าถึงนิพพานไม่มีจริง ถ้ายังนั่งคุยกันอยู่นี่มันถึงพระนิพพานไม่ได้ ถึงวัดท่าซุง ถ้าตายแล้วไม่ได้ จะรู้รึว่าใครเขาจะเป็นพระอริยเจ้าพูดส่งเดชไป เราอย่าเอาอารมณ์ของเราไปเทียบกับอารมณ์ของบุคคลอื่น นี่อย่าเชียวนะดีไม่ดีไปเจอะพระทำบ้า ๆ บอ ๆ ระวังให้ดีนะ ผมโดนมาแล้วไปธุดงค์ โพกจีวรคาดหัวมาสังฆาฏิคาดเอว อังสะคาดพุง มาแทงปลาไหล แหมลากปลาไหลมาพวงเบ้อเร่อเลย แทงปลาไหลใหญ่ ๒, ๓ องค์ ก็ดูว่านี่พระอะไรมาแทงปลาไหลพวงเบ้อเร่อมองไปมองมา ไอ้นี่โกหกแล้วนี่ นี่เรานั่งอยู่เชิงเขา ไอ้ดินแถวนั้นมันเป็นหิน แต่แทงปลาไหลมาได้ มีซ่อมที่ไหน เหล็กที่ไหนแทงได้ แทงไปแทงมาย่องเข้ามาใกล้ เห็นเราไม่ว่าอะไรย่องเข้ามาใกล้พอเข้ามาใกล้เราก็เลยบอกว่า ไอ้คนเราถ้ามันบ้าจริงมันไม่น่าว่าอะไรให้อภัย ไอ้คนแกล้งบ้าน่านวดเสียด้วยขอนไม้ ก็มองตาเป๋ง ถามว่าใคร บอกว่าแกแหละ ไอ้พวกแกมันแกล้งบ้า ไอ้คนแกล้งบ้ามันระยำกว่าคนบ้ามาก คนบ้าวินัยเขายกให้ แต่ว่ากฎหมายก็ยกให้ ไอ้คนแกล้งผิดวินัยผิดทั้งกฎหมาย เขาเลยโมโหโยนปลาไหลทิ้งโครม ไม่บ้าก็ได้วะ กลายเป็นรากไม้ไปหมด เห็นไหมนั่นเขาทำยังไงรู้ไหม เขามาดูใจเรานี่จะมายุ่งกับใจเราหรือไปยุ่งกับเขา ถ้าไปยุ่งกับเขาก็จะหาว่าเราเลวมากให้ชำระของเราให้บริสุทธิ์ นั่นพระอรหันต์ที่มาน่ะ พระอรหันต์อภิญญา ๖ ใช่ไหม เขาทำอะไรให้ดูก็ได้ เขามาลองดูไอ้เถร ๓ ตัวที่ไปธุดงค์นี่มันจะจริงหรือไม่จริง มันดูหน้ามันรึมันดูหน้าคนอื่น นี่ถ้าเราไปเพ่งเล็งคนอื่น ว่าคนนั้นชั่ว คนนี้ดี แสดงว่าเราเลวมาก เราควรจะดูใจของเราต่างหากว่า เรามันดีหรือเรามันเลว ถ้าเราดีเสียอย่างเดียวใครเขาจะเลวร้อยแปดพันเก้าก็เรื่องของเขา ถ้าเราดีแล้ว ก็หาคนเลวไม่ได้ เพราะว่าเรารู้เรื่องของคน คนมาจากอบายภูมิก็มี คนมาจากสัตว์เดรัจฉานก็มี คนมาจากมนุษย์ก็มี มาจากเทวดาก็มี มาจากพรหมก็มี มันจะเสมอกันไม่ได้ ถ้าเรามาจากอบายภูมิสอนยาก ป่วยการสอน เหนื่อย มาจ้างให้ผมสอนชั่วโมงละล้านผมไม่สอน
    นี่มาว่าถึงเวทนา เราอย่าเมาเวทนา ไอ้เวทนาก็สักแต่ว่าเวทนา มันจะทรงอยู่ขณะหนึ่ง ไม่ช้าก็สลายตัว ร่างกายพังแล้วก็สลายตัว นี่ถือว่าอารมณ์วิปัสสนาญาณนะทุกอย่างลมหายใจเข้าออกก็เหมือนกัน หายใจเข้าหายใจออกก็รู้อยู่ ก็สักแต่ว่ารู้ เพราะนี่ไม่ช้ามันก็เลิกหายใจ
    อิริยาบถ เดินไปเดินมา เราก็นึกว่าไอ้ที่เขาเดินแบบอย่างเรา เขาก็ตายไปหมดแล้วไม่มีประโยชน์ เราเดินประเดี๋ยวเดียว แล้วเราก็จะไม่กลับมาเดินอีก เราจะไปนิพพานสัมปชัญญะเหลียวซ้ายเหลียวขวา คู้หน้า คู้หลัง เหยียดแขนซ้าย เหยียดแขนขวา งอเข้า งอออก นี่เรียกสัมปชัญญะ ตัวรู้ตัว เมื่อคิดอย่างนี้แล้วไอ้การทำแบบนี้ มันก็สักแต่ว่าทำทั้งนั้น ไม่ช้าตายแล้วก็เลิก มาถึงปฏิกูลบรรพ ธาตุ ๔ นวสี ๙ นี่มันสกปรกด้วยประการทั้งปวง นี่จำให้ดีนะ ถ้าไปเห็นอะไรสวยสดงดงามชอบใจก็จับไอ้ ๓ ตัวนี่ตัวใดตัวหนึ่งปฏิกูลก็ได้ ธาตุ ๔ ก็ได้ นวสีก็ได้ พิจารณาหาความจริง เห็นหน้าคนปั้บผ่าท้องเลยมองเข้าไปข้างในท้องดูซิมันสวยตรงไหน มันดีตรงไหน มันสะอาดหรือสกปรก
    ทีนี้มาอีกตัวหนึ่งจิตตานุปัสสนา ต้องใช้สติเข้าคุมอีกแล้ว โพชฌงค์น่ะทิ้งไม่ได้คุณเอ๋ย ชาวบ้านชาวเมืองเขาขึ้นไหนก่อน ผมขึ้นโพชฌงค์ก่อน ตานี้มาตอนนี้ เราก็ใช้สติกับธัมมวิจยะ สตินึกดู เอนี่เราปฏิบัติมหาสติปัฏฐานสูตรแบบนี้ เมื่อไหร่จะได้มรรคผลมันทำอย่างไร มันถึงจะดี ไอ้ตัวที่เราจะบรรลุ มันบรรลุตรงไหน บรรลุที่กาย บรรลุที่หัวบรรลุที่หน้า บรรลุที่ขา บรรลุที่แขน บรรลุที่ตัว บรรลุตรงไหน เราบรรลุที่จิตที่ใจ ทีนี้เราก็ใช้สติ ธัมมวิจยะนี่มันตัวปัญญา ว่าที่เขาจะบรรลุมรรคผลที่เขาจะปฏิบัติได้จริง ๆ เขาทำกันอย่างไร เราก็ไปดูพระบาลีที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสเป็นพุทธภาษิต ว่า มโนปุพฺพํ คมาธมฺมา มโนเสฏฺฐา มโนมยา ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจประเสริฐ สำเร็จด้วยใจ ใช่ไหม อันนี้มาที่ใจ ธัมมวิจยะเข้ามาพิจารณาว่า เออ เขาบรรลุกันที่ใจนะ พระพุทธเจ้าท่านว่างั้น ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจประเสริฐสุด สำเร็จด้วยใจ ทำยังไงก็หันไปหาสติ อย่าลืมนะ อย่าทิ้งอานาปานะ ทุกวันก่อนหลับ ตื่นขึ้นแล้วก็ทรงอยู่อย่างทิ้งอานาปานุสสติ ถ้าคุณทิ้งเมื่อไหร่แสดงว่าบ้านคุณไม่มีเสาเมื่อนั้น ตัวอานาปานี่ทิ้งไม่ได้ คุมกันยันตายเลย เวลาที่เราจะสิ้นลมปราณก็ต้องคุมลมหายใจเข้าออกเวลาป่วยปั้บเริ่มจับลมหายใจเข้าออก เจริญอานาปานุสสติ เพราะว่าอานาปานุสสติเป็นกรรมฐานระงับกายสังขาร คือระงับทุกขเวทนา อาการเคลียดจากโรคมันจะมีน้อย ทุกขเวทนามีน้อย ถ้าเข้าถึงฌานก็ไม่รู้สึกเจ็บรู้สึกปวดเลย ตัวนี้ทิ้งไม่ได้ พระพุทธเจ้าเคยบอกกับพระสารีบุตร กับพระอานนท์ว่า เราเองก็เป็นผู้มากไปด้วยอานาปาเหมือนกัน หมายความว่าแม้แต่พระองค์กำลังเป็นพระพุทธเจ้าอยู่นั้น ก็ยังทรงอานาปาเป็นปกติ นี่ทิ้งไม่ได้นะคุณอย่าไปทิ้งนะ อย่าไปเชื่อเทวดาที่ไหน เอางี้ก็แล้วกัน อย่าไปเชื่อเทวทัตเข้าว่าทำได้แล้วถึงฌานทิ้งไปเลยไม่ต้องห่วง พิจารณาอื่นไปเลย แล้วมันเป็นมรรคเป็นผล นั่นเป็นความรู้ของเทวทัต แต่ความจริงไม่ใช่เทวทัต ท่านดีกว่านั้น เทวทัตท่านทรงอภิญญาสมาบัติ นั่นไม่ใช่เทวทัต นั่นมันเลยเทวทัตไปหน่อย เอ๊ะ ก็เทวทัตอยู่อเวจี เลยไปไหนล่ะนี่เราก็ใช้สติเข้าควบคุมใจ
    ธัมมวิจยะปัญญามันต้องเกิดก่อน ปัญญาเกิดก็พระพุทธเจ้าบอกว่า การบรรลุอยู่ที่ใจที่จิต มีจิตแล้วก็ต้องเอาสติเข้าคุม เออ เราพิจารณาจิต ตอนนี้เรามานั่งพิจารณาจิต เอาสติเข้าคุมว่านี่เราจะว่าเรื่องจิต จะคุมอารมณ์ของใจ เจ้าตัวสติก็คุมเลย ตัวสตินี่เป็นตัวสมถะเข้าคุมอารมณ์ไว้ เราจะนึกเฉพาะอารมณ์ของใจอย่างเดียว ไม่ใช่ไปนึกอารมณ์ของถ้วยของชามที่ไหนอีก ธัมมวิจยะก็มาใคร่ครวญ ธัมมวิจยะนี่เป็นตัวปัญญา ว่าเวลานี้จิตของเรามีราคะไหม ไปรักใครเขามั่งหรือเปล่า รักสวยรักงามรึเปล่า คนรึสัตว์ หรือวัตถุก็ช่าง หมดสภาพเหมือนกัน จิตของเรามีโทสะไหม โกรธใครเขาบ้างไหม อยากจะฆ่าเขา อยากจะกลั่นแกล้งใครเขามีบ้างรึเปล่า นี่จิตของเรามีโมหะไหม ความหลง หลงไอ้นั่นก็ของกู นี่ของกู นึกว่าตัวเราจะไม่แก่จะไม่ป่วย ไม่ตาย ทรัพย์ทั้งหลายเหล่านี้มันเป็นเราเป็นของเรา จะอยู่กับเราตลอดกาลตลอดสมัย อารมณ์อย่างนี้เป็นอารมณ์ของความโง่ คือโมหะ ไอ้คนไม่โง่ก็ไม่หลง ไอ้คนหลงนี่ก็มาจากตัวโง่
    เราก็มานั่งนึกดูตัว นี่นะคุณผมบอกจุดสำคัญไว้ให้ก็ได้ ว่าทุกคนที่บรรลุมรรคผลแม้แต่ทรงฌานโลกีย์เขาใช้จิตตานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน เป็นประจำทุกวัน พวกคุณอย่าทิ้งเชียวนะตัวนี้ ตัวที่บรรลุจริง ๆ อยู่ตรงนี้ แล้วก็นักปฏิบัติทุกองค์ ที่บรรลุก็จับนี่เป็น เตติ เนตติแปลว่าแบบแผน ถือว่าเป็นตัวอย่างถือว่าเป็นครูใหญ่ใช้ดูอารมณ์ใจไม่ต้องไปดูอะไร เพราะว่ากิเลสมันเกิดที่ใจ ดูเช้าก็มาดู พอตื่นขึ้นมาแล้วปั้บนึกรักใครเขามั่งรึเปล่า อยากรวยบ้างรึเปล่า อยากจะฆ่าใครบ้างไหม อยากจะแกล้งใครบ้างไหม นี่เรานึกว่าเราไม่ แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย บ้างรึเปล่า นึกว่าของทั้งหลายเหล่านี้เป็นเราเป็นของเรา บ้างรึเปล่าดูอารมณ์ของใจ เอาอะไรเข้ามาดู สติคุม ธัมมวิจยะพิจารณา ไอ้นี่พอตื่นเช้านึกขึ้นมา โอนี่จะไปบิณฑบาต ที่ไหนเล่าหว่าจะได้ต้มยำสักหม้อ เอาแล้วไอ้ตัวโลภมาแล้ว ติดในรสนี่ เวทนา สุขเวทนาเกิด ตัณหาเกิดแล้ว ไอ้วัตถุเครื่องกินกินไปเพื่อยังอัตตภาพร่างกายเท่านั้น เรื่องรสไม่สำคัญ รสดี รสเลิศ รสประเสริฐ แบบไหนก็ตาม มันก็แก่ มันก็ป่วย มันก็ตาย ทั้งนั้น ติดรสมันทำไม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เวลาจะกินอาหาร พระพุทธเจ้าให้พิจารณาเป็นอาหาเรปฏิกูลสัญญา อาหารเป็นพื้นฐานของการสกปรก นี่มันเกิดขึ้นมาทำไม อารมณ์แบบนี้ไม่เอาจะตายแล้ว เลี้ยงเท่าไหร่ก็ตาย เลี้ยงเท่าไหนก็แก่ ตามใจใครจะให้ต้มยำ ให้กะปิ น้ำพริก กินทั้งนั้นไม่ตามใจ ว่าอย่างนี้นะ ถ้าขี้เกียจว่าก็ไม่ต้องว่านึกในใจเท่านั้น ว่าออกปาก ดีไม่ดีพวกนำไปปากคลองสานละก้อเสร็จละ นึกในใจ เอาใจว่าไป
    ทีนี้มันเกิดไปรักใครเขา ลูกสาวบ้านนั้นก็สวย ไอ้หนุ่มบ้านนี้ก็งาม นึกซิว่า คนที่เราชอบสกปรกหรือสะอาด โน่นวิ่งเข้าไปหาปฏิกูลบรรพ มันต้องวิ่งกันไปวิ่งกันมาอย่างนี้ไปหานวสี ๙ ใช้อาการของความตายไปหาธาตุ ๔ ไม่เป็นเรื่อง คนสกปรกเลอะเทอะ ไอ้คนหรือว่าสัตว์นี่มันไม่ต่างอะไรกับส้วมเคลื่อนที่ ผมว่าส้วมดีกว่ามั้งมีอย่างเดียว อ้อ ๒ อย่าง มีอุจจาระกับปัสสาวะ แต่ในท้องคนสิ่งสกปรกมากกว่านั้น แล้วเราจะแบกส้วมไปส้วมนี่มันไม่กวนใจเรานะ เราวางที่ไหนมันก็อยู่ที่นั่น ไอ้คนนี่แบกไปมันยังพูดกวนใจมันยุ่งกว่าส้วมตั้งเยอะใช้ไม่ได้
    ถ้าจิตมันมีโทสะ ก็นึกไอ้เจ้านีมาอีกแล้ว ไปโกรธเขาเรื่องอะไร จะไปฆ่าไปตีเขาทำไม เขาจะต้องตาย เขามีทุกข์อยู่แล้ว อำนาจของราคะความผูกพันก็ดี โทสะความโกรธคิดประทุษร้ายก็ดี มันเป็นไฟ หรือว่าโมหะความหลงคิดว่าเป็นนั่นเป็นนี่ ไอ้สามจุดนี่มันเป็นไฟ ไฟที่เผาใจให้เร่าร้อน ถ้าความรักเกิดขึ้นร้อนบรรลัยเลย ราคคฺคิ ไฟคือราคะ ทีนี้พอได้คู่ครองร้อนอีกแล้วซี กลัวไม่มีอะไรจะกิน พอทะเลาะกันขึ้นมาร้อนอีกแล้ว แหมทำไม่ถูกใจเลย พอมีลูกมาอีกคนเพิ่มความร้อนต้องหามากขึ้น ร้อนไม่มีนะ ร้อนไม่เป็นเรื่อง
    ทีนี้ โทสคฺคิ นี่ก็ร้อนคือโทสะ คนโกรธมีอารมณ์เร่าร้อนหาความสุขไม่ได้ กินไม่ได้ นอนไม่หลับ อยากจะฆ่าเขา อยากจะตีเขา อยากจะประทุษร้ายด้วยประการทั้งปวง อารมณ์อย่างนี้มันไม่สงบ
    แล้วโมหะ ไอ้ตัวหลงคิดว่าเราไม่แก่ คิดว่าเราไม่ตาย คิดว่าคนและสัตว์ทั้งหลายที่เป็นของเราเราจะไม่จากเราไป ทรัพย์สินทั้งหลายมันจะอยู่กับเราตลอดกาลตลอดสมัย นี่ก็เป็นอาการของความโง่ มันก็ร้อน ร้อนตรงไหน พอเราแก่เข้าจริง ๆ เราก็เดือดร้อน คิดว่าเราจะไม่แก่ คนของเรา สัตว์ของเราแก่เข้าเราก็เดือดร้อน วัตถุธาตุทั้งหลายเก่า เราเดือดร้อน เกรงมันจะพัง ตานี้ไอ้ของพัง รึว่าคนตายเดือดร้อนใหญ่ เพราะคิดไม่ถึงว่าจะเป็นอย่างนั้น อารมณ์เร่าร้อนมันก็เกิด นี่แย่แล้วใช่ไหม เป็นอันว่าถ้าจิตของเรามีราคะก็ดีมีโทสะก็ดี มีโมหะก็ดี เราจะใช้สติเข้าไปควบคุมให้รู้อยู่ว่า นี่มาแล้วรึ ถ้ามันมีราคะก็วิ่งเข้าไปหาโน่นปฏิกูลบรรพ ธาตุ ๔ และนวสี ถ้าจิตมีโทสะก็ไปหาพรหมวิหาร ๔ นะในนี้ท่านไม่มี แต่ความจริงถ้าจิตเข้าถึงฌาน โทสะก็หาย เราก็วิ่งเข้าไปหาพรหมวิหาร ๔ เอาเก็บไว้ทำไม เอามาใช้ ถ้าจิตมีโมหะก็นั่งดูคนแก่ซิ นั่งดูกระดูกของคนตาย นั่งดูบ้านเก่า ๆ ที่มันพังไปแล้ว ดูถ้วยชามในบ้านของเราที่มันแตกไปแล้ว เสียหายไปแล้วว่านี่จะมาสอนให้มาเกาะอยู่ได้อย่างไรของเหล่านี้มันพังเป็น นี่วัตถุนะ เราดูกระดูกของคนตาย คนตายจริง ๆ คนที่มันอยู่ในโกศมันไม่มี แค่นี้มันมีอาการ ๓๒ เหมือนเรา แล้วในที่สุดเขาเก็บไว้แค่นิดเดียว ๒, ๓ ชิ้น ไอ้ส่วนที่เก็บความจริงมันก็เก็บไม่นาน ไม่ช้ามันก็สลายไป ไม่มีใครเขารักษา นี่เราจะมานั่งเมาในวัตถุและร่างกายเพื่อประโยชน์อะไร สิ่งทั้งหลายเหล่านี้มันก็คล้าย ๆ กับความฝัน ชีวิตเหมือนความฝัน รูปโฉมโนมพรรณเหมือนดอกไม้ ใช่ไหม ชีวิตเหมือนความฝัน เราเกิดมาแล้วไม่ช้ามันก็ตาย นี่คนในโกศนี่ คนในโลงนี่ เขามีชีวิตเหมือนเรา เขาอยู่ไม่นานเท่าไหร่ ไม่ช้าเขาตาย เหมือนกับว่าเราฝันไป รูปโฉมโนมพรรณเหมือนดอกไม้ คือว่าดอกไม้เกิดขึ้นมาทีแรกก็ตูม ในที่สุดค่อย ๆ แย้มแล้วก็บาน เรียกว่าสวยที่สุด แล้วก็ค่อย ๆ ร่วงโรยไปทีละน้อย ทีละน้อยในที่สุดก็สลายตัวใช่ไหม มันไม่มีอะไรคงสภาพ นี่เราจะมาเมามัน เพื่อประโยชน์อะไร
    เป็นอันว่าคิดว่าราคะก็ดี โทสะก็ดี โมหะก็ดี ไม่ควรมีในจิตของเรา เพราะเป็นอารมณ์ที่เป็นโทษ เราไม่ต้องการเรื่องรัก เลิกเป็นโทษ โกรธจะไปโกรธเขาทำไม ไม่ต้องไปฆ่าเขา โกรธคิดฆ่า คิดทำลายเขา ไม่ฆ่าเขา ไม่ทำลายเขา เขาก็ทุกข์ เขาก็ตาย ไม่ต้องโกรธ หลงคิดว่านี่เป็นเรา นั่นเป็นของเราเลิก เพราะร่างกายเป็นทุกข์ เราเกิดมานี่เราเป็นทุกข์เพราะเราคิดว่าความเกิดเป็นของดี นี่ความจริงเราโง่ ถ้าเราไม่เกิดเราสบายกว่านี้ คำว่า ไม่เกิด เกิดเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน เป็นมนุษย์ เป็นเทวดา เป็นพรหม ก็ถือว่าเกิดทั้งนั้น เพราะตัวเกิดมีแล้วก็มีตัวตาย ตานี้เราไม่ต้องการความเกิดแล้วจะไปไหนล่ะ แล้วไม่เกิดจะไปอยู่ที่ไหน นิพพาน พระนิพพานไม่มีตาย อันนี้พระนิพพานไม่มีตาย ถามพระพุทธเจ้าว่าพระนิพพานมีเกิดไหม พระพุทธเจ้าบอก จะรับว่าเกิดก็ไม่ใช่ จะไม่เกิดก็ไม่ใช่ ถ้าว่าเกิด ภาวะมันมี ถ้าจะว่าเกิดก็มีตาย ต้องเรียกว่าเกิดรึไม่เกิดก็ไม่รู้ เรียกว่าไปพระนิพพานก็แล้วกัน เรียกว่าไปก็แล้วกันนะ นี้คำว่าพระนิพพานมีภาวะนี่ น่ากลัวผมจะเป็นคนเดียวเสียละมัง ดีไม่ดีไปอยู่กับเทวทัตนี่ สอนผิดชาวบ้านเขา เขาว่านิพพานสูญกันทั้งบ้านทั้งเมือง นี่ผมว่าไม่สูญ ผมว่าตามพระพุทธเจ้านี่ในพระไตรปิฎกไม่มีที่ไหนเลย ที่พระพุทธเจ้าบอกว่านิพพานสูญใช่ไหม
    ทีนี้เราก็มานั่งไล่เบี้ยจิตตัวเดียวนะคุณเอ๋ย เราก็ไปไหน ไปไหรสบาย ๆ ไม่ต้องห่วงจิตตานุปัสสนา มหาสติปัฏฐาน คุณจับไว้เป็นอารมณ์ตลอดวันเลย ไม่ต้องไปยุ่งตัวอื่น ๆ จับตัวเดียวอะไรจะเกิดมันก็เกิดที่ใจ แล้วก็ตัดมันไปเลย ตัดตามแบบ ตานี้ถ้าจิตมันไปติดเอาโมหะเข้า ไอ้ตัวหลงก็มาดูขันธ์ ๕ ใช่ไหม ว่านั่นเป็นกู เป็นของกู มาดูขันธ์ ๕ ไอ้ขันธ์ ๕ มันร่างกาย มันพังไปทุกที ๆ จะมีอะไรนี่มาดูขันธ์ ๕ แล้วมาดูอายตนะ อายตนะไอ้ตานี่มองเห็นรูปปั้บ ยายคนนี้พึ่งคลอดด้อกแด้ก ๆ อีก ๑๐ ปีกว่าไปดู เริ่มเป็นสาวเป็นหนุ่มขึ้นมาแล้ว อีก ๒๐ ปีเศษ ๆ ไปดูฟันเริ่มหายไปแล้ว หัวเริ่มหงอกไปแล้ว ดีไม่ดีหัวล้าน อีก ๓๐ ปี แล้วจะคลานขี้เสียแล้วหมดเรื่องกัน นี่ไม่เป็นเรื่องไปนั่งรักกันทำไม เมื่อขันธ์ ๕ไม่เป็นเรื่อง อายตนะเป็นสื่อดูเห็นรูป หูฟังเสียง หูฟังเสียงแล้วก็ดับไป ก็ไม่มีอะไรนี่ วันนี้มาแนะนำกันเท่านั้น นี่วิธีปฏิบัติอย่าทิ้งโพชฌงค์ ความจริงขันธ์ ๕ กับอริยสัจ และอายตนะตัวเดียวกันนะ ขันธ์ ๕ ก็ดี อายตนะก็ดี อริยสัจก็ดี ตัวเดียวกัน เป็นวิปัสสนาญาณในมหาสติปัฏฐานสูตร แต่ว่าพระพุทธเจ้าทรงสอนทุกจุดควบวิปัสสนามาหมด แต่ละจุดเราทำอะไรก็ตามต้องควบเป็นแบบวิปัสสนาญาณ
    ตอนนี้มาถึงอริยสัจ ความจริงไอ้ความจริงตัวนี้ก็ต้องไปมองดูขันธ์ ๕ เหมือนกันท่านบอกว่าทุกข์มันทุกข์ที่ไหนมันทุกข์ที่ขันธ์ ๕ ใช่ไหม ฟันไม่ดีเจอะไก่มีกระดูกเข้า เคี้ยวไม่ถนัดทุกข์เสียแล้วไอ้ฟันไม่ดีมันขันธ์ ๕ กายเรานี่ไปเจอหนังสือตัวเล็ก ๆ เข้า ตาไม่ดีอ่านไม่ออกเสียแล้ว ตัวทุกข์มันอยู่ตัวนี้ ดีไม่ดีนั่ง กำลังฟังเขาสอน ปวดท้องขี้เสียแล้วอีคราวนี้ทุกข์ใหญ่เลย ไม่ตามใจมันเดี๋ยวปล่อยพรืดพราด ไม่ได้เจ้านายใหญ่มันไม่เกรงใจใคร นี่ก็เป็นตัวทุกข์ใช่ไหม นี่ทุกข์ก็อยู่ที่กายเรา ไม่ได้ไปอยู่ที่ไหน นี่สาวหาต้นเหตุของความทุกข์มาจากไหน มาจากอยาก เขาว่าตัณหาแปลว่าอยาก เราไม่อยากเสียอย่างเดียวมันจะมีอะไรทุกข์
    อันดับแรกที่สุด เราไม่อยากเกิดเสียอย่างเดียว ใช่ไหม นี่ที่เรามีทุกข์กันมากเพราะอะไร ไปหาเมียมาอีกคน ตัวอยากเพิ่มทุกข์เข้าไปอีก นี่เขาเรียกว่าความอยาก นี่เรามีตัวเปล่า ๆ มันก็สะอาดดีแล้ว มันไม่สวย ไปหาเพชรมาประดับ ทองมาประดับ ดีไม่ดีไอ้พวกมันจี้ มันปล้นตายไปหลายรายแล้ว ตัวทุกข์มันได้เพชร ได้ทองไปไหนก็ไม่สะดวก ต้องระวัง เพราะเกรงอันตรายจะเกิดแก่ทรัพย์สิน ถ้าไล่ความอยากไปมันก็ไม่จบ มันก็ต้องไปไล่อยาก คือไอ้ตัวสรุป เรียกว่าอยากเกิด ตัวอยากเกิดมาจากไหนล่ะ เห็นว่านิวรณ์เป็นของดี ผมไม่อธิบายล่ะ นิวรณ์มีอะไรบ้าง เห็นว่าขันธ์ ๕ เป็นของดี ขันธ์ ๕ มองยากหน่อยนะ อายตนะภายในมันก็ดีเหมือนกัน อายตนะภายนอกมันชวนเหลือเกิน แหมยายคนนั้น ตาคนนั้นตาแจ๋วสวยจัง แหมคนนั้นเสียงเพราะ โอ้ โฮ คนนี้กลิ่นตัวหอมจัง แหมกับข้าวนี่รสอร่อย เอ๊ะรายการนี่สัมผัสนิ่มนวลดีจริง ตัวอยากเกิดเป็นอย่างนี้ ไอ้ตัวที่ติดในอายตนะภายนอกนี่ หรือว่ามัวเมาในอายตนะภายในคือเรา ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ คือ อายตนะภายในเรา เมาในเรา เมาในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส นี่เป็นอายตนะภายนอกเป็นคนอื่น ไอ้ตัวเมาตัวนี้อยากมีตัว และก็อยากได้ตัวนี่แหละเป็นตัวอยากเกิด ไอ้ตัวนี้เป็นตัวเป็นปัจจัยของความทุกข์ ที่เราเกิดขึ้นมาได้เพราะเรามัวเมาในอายตนะภายในและอายตนะภายนอก พระพุทธเจ้าจึงทรงสอนอริยสัจหาความจริงว่าตัวเราจะมีทุกข์ได้ก็เพราะตัวอยากเป็นสำคัญ ถ้าเราไม่อยากในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และไม่อยากมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มันก็หมดเรื่องกัน ไปนิพพานได้ ตอนนี้ก็ไม่มีอะไร นี่เราก็แนะนำกันนะ นี่ก็สอนกันจนจบแล้ว อันดับต้นต้องเริ่มต้นโพชฌงค์ให้เต็มอัตราศึก มีสติ มีปัญญา ใคร่ครวญ มีความเพียร มีปีติความอิ่มใจในผลแห่งการปฏิบัติ พยายามสร้างปัสสัทธิคือความสงบให้เกิดขึ้นในการระงับนิวรณ์ ๕ เมื่อระงับนิวรณ์ ๕ ได้แล้ว สมาธิมันก็เกิด ไอ้สมาธิเกิด อุเบกขามันก็เกิด ตอนนี้ก็ใช้ สติสัมปชัญญะไปควบคุม จิตตานุปัสสนามหาสติปัฏฐานตัวเดียว นี่ผมมันนอกครู ผมได้มาแบบนี้ เพื่อนผมก็ได้มาแบบนี้ ลูกศิษย์ผมหลายคนเขาดีกว่าผมเขาก็ได้มาแบบนี้ แล้วก็พระอรหันต์ทุกองค์ก็ได้มาแบบนี้ เพราะการควบคุมจิตตัวเดียว นี่ผมจึงสอนคุณตามแบบนี้ แม้แต่พระพุทธเจ้าเองก็สอนให้ควบคุมจิตเหมือนกัน หากว่าเราไม่เผลอเรื่องอารมณ์ของจิตเสียอย่างเดียว แล้วก็รู้ว่าอะไรเป็นคุณอะไรมันเป็นโทษ ราคะ โทสะ โมหะ เป็นโทษสำหรับจิต ปลิดทิ้งไปด้วยการเจริญสมถวิปัสสนาในมหาสติปัฏฐานสูตรตามที่แนะนำมาแล้วว่าอะไรมันเกิดขึ้น วางตัวแบบไหน ท่านบอกมาแล้วนี่เป็นวิธีปฏิบัติเพื่อเข้าถึงมรรคผลจริง ๆ .
     
  16. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    จะเห็นได้ว่า ธรรมที่ละเอียดประณีตทั้งหลาย มาจากจิตที่ละเอียดประณีตทั้งสิ้น สมบูรณ์ด้วย ทาน ศีล ภาวนา จนถึงขั้น ศีล สมาธิ ปัญญา ธรรมทั้งหลายที่พระอรหันต์เจ้าทั้งอดีตและปัจจุบันจึงรวมลงที่ทำอย่างไร ฝึกอย่างไร จึงจะสร้างสติให้เกิดได้ จนเป็นสิ่งที่อยู่กับจิตตลอดเวลา เพราะการมีสติที่สมบูรณ์นั้นอาศัยเหตุปัจจัยหลายอย่างรวมลงและสนับสนุนกัน เพื่อใช้เป็นเครื่องต่อสู้กับกิเลสมาร อวิชชา ทั้งหลาย เพื่อสู่ความหลุดพ้น สู่ความเข้าถึงพระอริยะจิต อันมี พระโสดาบันบุคคล พระสกิทาคามีบุคคล พระอานาคามีบุคคล และพระอรหันต์บุคคล จนถึงนิพพาน อันเป็นโลกุตรธรรม
    ขอความเจริญสมบูรณ์ใน ทาน ศีล ภาวนา ซึ่งนำไปสู่ อธิศีล อธิสมาธิ อธิปัญญา ก่อให้เกิดธรรมอันเป็นโพชฌงค์ องค์มรรค อริยะสัจย์ จงมีแด่ท่านทั้งหลาย ด้วยการปฏิบัติดังที่พระอริยะสงฆ์องค์อรหันต์สั่งสอนอบรมไว้
     
  17. raunheim

    raunheim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กันยายน 2009
    โพสต์:
    153
    ค่าพลัง:
    +232
    ขอกราบนมัสการหลวงปู่ อาราธนาบารมีขอให้ลูกหลานอยู่เย็นเป็นสุขโดยทั่วถ้วนหน้ากันเทอญ อนุโมทนาสาธุค่
     
  18. Picolo Fanta

    Picolo Fanta ต้นคต ปลายตรง ไม่มี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,086
    ค่าพลัง:
    +651
    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD class=alt1>albertalos (เมื่อวานนี้), Bull_psi (เมื่อวานนี้), jinny95 (เมื่อวานนี้), Karnta (วันนี้), lee_skl (เมื่อวานนี้), raunheim (วันนี้), ขันธ์ (เมื่อวานนี้), ยอดยาหยี (เมื่อวานนี้), เกริกไกร (วันนี้), เสขะ บุคคล (เมื่อวานนี้)

    ท่านที่กดอนุโมทนาทั้งหมดนี้ มีท่านไดฝึกดูจิตบ้างไหมค่ะ

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  19. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    กุศโลบายการดูจิตเป็นเพียงแผนการถอดถอน กิเลส แต่หาได้เข้าใจความเป็นจริงไม่หากผู้ปฏิบัติ เป็นผู้มีจิตอ่อน สติอ่อน ปัญญาอ่อน จึงเป็นของต้องห้ามต่อผู้มีอินทรีย์อ่อน พละอ่อน แต่สำหรับผู้มีอินทรีย์กล้า พละกล้า นั้นเป็นเครื่องเพิ่มพูนความบริสุทธิ์แห่งจิตเพื่อความหลุดพ้น เพราะนามธรรมนั้นเป็นของละเอียดยิ่ง ผู้มีอินทรีย์กล้าทั้งหลายจึงเห็นเป็นของสมควรกระทำ เพราะเป็นขั้นละเอียดประณีต แต่นั่นแหละไม่ใช่ว่าทำได้ทุกคน จะต้องเป็นผู้มีอินทรีย์กล้าแข็งมากเอาทีเดียว และหากคำถามนี้เพื่อหาประโยชน์อันเป็นธรรมทานละก้อ ก็จะขอกล่าวว่า บุคคลใดยังไม่รู้ความจริงแห่งจิต ไม่เห็นจิต ก็ไม่เห็นธรรม เมื่อไม่เห็นธรรม ก็ยังเป็นผู้ประมาทอยู่ แต่ระดับความละเอียดอ่อนนั้นแล้วแต่ความเพียร เป็นของรู้ได้เฉพาะตน เท่านั้น แต่ผลจากการเห็นสิ่งเหล่านั้น จะทำให้จิตมีความประณีตรู้จักสิ่งที่ควรและไม่ควรมากขึ้นเรื่อยๆ
     
  20. uncle jing

    uncle jing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    366
    ค่าพลัง:
    +219
    <o:smarttagtype namespaceuri="urn:schemas-microsoft-com<img src=" http:="" palungjit.org="" images="" smilies="" omg-smile.gif="" border="0" alt="" title="Surprised" smilieid="34" class="inlineimg"></o:smarttagtype>อนุโมทนา สาธุ<o></o>

    ขอผลบุญในการเผยแพร่<st1>ธรรมะ</st1>นี้จงเป็นปัจจัยให้ คุณ kengkenny[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]และท่านทั้งหลายที่ร่วมอนุโมทนา[/FONT]
    การเผยแพร่ธรรมะนี้[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]ได้ถึงซึ่งพระนิพพานในชาตินี้ด้วยเถิด[/FONT]
    <o></o>[FONT=&quot]<o>
    </o>[/FONT]
     

แชร์หน้านี้

Loading...