ฝึกมโนมยิทธิ กับ วิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'ประสบการณ์อภิญญา' ตั้งกระทู้โดย kittitpx, 29 กันยายน 2008.

  1. kittitpx

    kittitpx เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +2,000
    อยากทราบว่า ระหว่างฝึกมโนมยิทธิ กับ วิชชาธรรมกาย
    อันไหนจะฝึกสำเร็จได้เร็วกว่ากัน แล้วอันไหนฝึกง่ายกว่ากัน

    ขอคำแนะนำจากผู้รู้ช่วยเปรียบเทียบความแตกต่างหน่อยนะครับ.......
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กันยายน 2008
  2. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    ในมุมมองของผม เราไม่ควรแบ่งแยกว่าฝึกอะไรอย่างไรสำเร็จยากง่ายกว่ากันนะครับ เพราะเมื่อเราฝึกปฏิบัติไปตามหลักคำสอนของพระพุทธองค์เหมือนกันเราก็ได้ชื่อว่าปฏิบัติจิตภาวนา การฝึกปฏิบัติภาวนาขึ้นอยู่กับวาสนาบารมีและความเพียร ฝึกไปตามหลัก ศีล สมาธิ ปัญญา หรือ หลักโพธิปักขิยธรรม ทั้งสมถะและวิปัสสนาแปลว่าเราปฏิบัติตามหลักพระพุทธศาสนา


    สำหรับวิชชาธรรมกายนั้น หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านให้เข้ากายในกายให้ครบ ๑๘ กาย เมื่อเราเห็นกายในกายเช่นนนี้แล้ว เราก็มีเครื่องมือหรือญาณทัสสนะไปเรียนรู้ตามหลักปฏิบัติของพระพุทธศาสนาได้ครบถ้วน ธรรมกายมีญาณทัสสนะที่ละเอียดสามารถเห็นและพิจารณาวิภาคเป็นส่วนๆ ในเรื่องของ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ ปฏิจจสมุปบาทธรรม อริยสัจ ๔ ฯลฯ ในชั้นวิปัสสนาได้นั่นเอง คือเห็นก่อนแล้วจึงรู้


    การบรรลุมรรคผลนั้นขึ้นอยู่กับวาสนาบารมีและความเพียร การฝึกสมาธิแนววิชชาธรรมกายช่วยให้ผู้ฝึกหมดกิเลสและรู้เห็นนิพพาน ภพ ๓ ตามความเป็นจริงได้ ส่วนท่านใดจะหมดกิเลสช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับตัวท่านเองเป็นกรณีๆ ไป ถ้ายังหมดกิเลสไม่ได้การได้ปฏิบัติภาวนานั้นอย่างน้อยก็เป็นอุปการปัจจัยให้ดำเนินตามทางมรรคผลย่นย่อให้เข้าใกล้มรรคผลนิพพานได้เร็วขึ้น การจักได้มรรคผลหมดกิเลสนั้น สำหรับการฝึกปฏิบัติตามแนววิชชาธรรมกายมีวิธีการสะสางธาตุธรรมตามแนวเดินวิชชามรรคผลพิสดารของหลวงพ่อวัดปากน้ำให้ผู้สนใจที่ปฏิบัติเบื้องต้นได้แล้วศึกษาทั้งปริยัติปฏิบัติในลำดับต่อไปอีกอย่างครบถ้วนชัดเจนครับ


    สรุปก็คือ ถ้าท่านปฏิบัติตามหลักธรรมของพระพุทธเจ้าแล้วย่อมได้ชื่อว่าเดินไปตามหลักมรรคผลนิพพานได้อย่างแน่นอน อยู่ที่ความเพียรและวาสนาบารมี ถ้ามีพร้อมครบถ้วนก็เหมือนผลไม้แก่สุกงอมมรรคผลเป็นอันหวังได้ แต่ถ้ายังไม่ถึงขั้นนั้นก็ต้องบ่มเพาะตนเองต่อไปอีก จะถึงช้าถึงเร็วนั้นขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัย ในส่วนของวิชชาธรรมกายนั้นมีให้ฝึกปฏิบัติทุกหลักสูตร ทั้งสมถะและวิปัสสนา ทั้งภาคฤทธิ์และปัญญา ส่วนจะง่ายหรือยากผมเห็นว่าถ้าท่านได้ครูดีก็ไม่ยาก ครูที่ดีจะต้องทำของยากให้เป็นของง่ายเพื่อนำมาสอนให้ศิษย์ทั้งหลายได้รู้ได้เห็นตาม ครูดีต่างหากที่หายาก ถ้าเราโชคดีพบเจอถือว่าเป็นโชควาสนาแล้วของที่ว่ายากก็จะเป็นของง่ายไปโดยบัดดล
     
  3. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    อุปกิเลส 11 ข้อ

    คำชี้แจงก่อนปฏิบัติภาวนา

    การปฏิบัติสมถวิปัสสนาวิชชาธรรมกาย ซึ่งดำเนินตามแนวทางการเสด็จไปของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอรหันต์ทุก ๆ พระองค์ ทางนี้ทางเดียว ไม่มีสองทาง อันถูกต้องร่องรอยความประสงค์ในพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง มีผู้ศึกษาและปฏิบัติทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต อุบาสก อุบาสิกา แพร่หลายไปทั่วประเทศไทย ซึ่งต่างได้รับผลของการปฏิบัติยืนยันได้ด้วย ตัวของท่านเอง เรียกว่า สันทิฏฐิโก อันผู้ได้บรรลุจะพึงเห็นเอง ส่วนการที่จะทำเป็นหรือไม่นั้น เกี่ยวกับผู้ปฏิบัติจริงหรือไม่จริง ถ้าปฏิบัติจริงแล้วต้องเป็นทุกคน เพราะมนุษย์เราทั้งชายและหญิงมีดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ เป็นดวงใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ อยู่ที่ศูนย์กลางกายทุก ๆ คน ถ้ามนุษย์คนใดเอาใจไปหยุดอยู่ที่ดวงธรรมนั้นให้มากที่สุดหรือนานที่สุด ต้องเป็นทุกคน ที่ไม่เกิด ไม่เป็น นั้นเพราะเหตุว่าใจไม่หยุด ตัวหยุดนี้แลเป็นตัวสำเร็จ ส่วนการที่ใจไม่หยุดนั้น เพราะมีอุปกิเลส 11 ข้อ ประจำอยู่ อันเป็นเรื่องสำคัญที่จะเป็นหรือไม่เป็น ได้หรือไม่ได้บรรลุมรรคผลมีดังนี้


    1. วิจิกิจฉา ความลังเลหรือความสงสัย

    2. อะมะนะสิการะ ความไม่สนใจไว้ให้ดี

    3. ถีนะมิทธะ ความท้อและความเคลิบเคลิ้มง่วงนอน

    4. ฉัมภิตัตถะ ความสะดุ้งหวาดกลัว

    5. อุพพิละ ความตื่นเต้นด้วยความยินดี

    6. ทุฏฐลละ ความไม่สงบกาย

    7. อัจจารัทธวิริยะ ความเพียรจัดเกินไป

    8. อะติลีนะวิริยะ ความเพียรย่อหย่อนเกินไป

    9. อะภิชัปปา ความอยาก

    10. นานัตตะสัญญา ความนึกไปในสิ่งต่าง ๆ เรื่องราวต่าง ๆ ที่ เคยผ่านมา หรือจดจำไว้มาผุดขึ้นในขณะทำสมาธิ

    11. รูปานัง อะตินิชฌา ยิตัตตะ ความเพ่งต่อรูปหรือเพ่งนิมิต นั้นจนเกินไป


    เมื่ออุปกิเลสเหล่านี้แม้อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นแก่เราแล้ว สมาธิของเราก็เคลื่อนไป เพราะอุปกิเลสเหล่านี้เป็นต้นเหตุ ฉะนั้นในการบำเพ็ญภาวนาเราต้องใช้ความเพียร ความอดทน ทั้งสองข้อนี้เป็นข้อสำคัญยิ่ง และคอยประคองคุมสติไว้ไม่ให้เผลอ ใช้ปัญญาสอดส่องดูว่า วิธีใดที่จะทำให้อุปกิเลสเหล่านี้เกิดขึ้นไม่ได้ เราก็จะทำใจไว้โดยวิธีนั้น จงวางใจของเราไว้ให้เป็นกลาง ๆ คือ มัชฌิมาปฏิปทา ให้อุเบกขา อย่ายินดียินร้าย ให้พยายามละจากความโลภ ความโกรธ ความหลง จงทำใจของเราให้ใสเป็นแก้ว ให้เยือกเย็น ให้แช่มชื่น ให้ถูกส่วนเป็นสมาธิแน่วแน่ เอาใจจดอยู่ที่ดวงนิมิต ที่ศูนย์กลางกายนั้นให้มากที่สุด ต้องทำสม่ำเสมอ ทำเนือง ๆ ในทุกอิริยาบถ ไม่ว่าจะนั่ง นอน เดิน ยืน ทำเรื่อยไปอย่าหยุด อย่าละ อย่าทอดทิ้ง อย่าท้อแท้ มุ่งรุดหน้าเรื่อยไป ผลจะเกิดสักวันหนึ่งไม่ต้องสงสัย ผลเกิดอย่างไร ท่านรู้ได้ด้วย ตัวของท่านเอง


    อนึ่ง ในการเจริญภาวนานี้ ให้ทุกท่านจงประกอบเหตุ สังเกตผล ทนเอาเถิด ประเสริฐนัก เพราะเป็นมหัคคตกุศล หรือ มหากุศลอันยิ่งใหญ่ไพศาล เป็นทางมรรคผล นิพพาน ถึงแม้ไม่ได้เห็นอะไร ก็จะเป็นอุปนิสัยติดตัวไปในสัมปรยภพเบื้องหน้า ท่านทั้งหลายจงอุตส่าห์ มานะ วิริยะ บำเพ็ญเพียร ให้บังเกิดมรรคแลผล เพราะเป็นวิชชาที่ช่วยและเป็นที่พึ่งของตนเองได้ อันเที่ยงแท้ อย่าได้เคลือบแคลงสงสัยอย่างหนึ่งอย่างใดเลย ให้ทุกท่านจงมีแต่ความสวัสดิพิพัฒน์มงคลและสัมฤทธิ์ผลดังมโนรถปรารถนา ให้นำทางแห่งมรรคผลนี้ไปประพฤติ และ ปฏิบัติโดยทั่วกันจงทุกประการ ฯ


    รักษ์ร่างพอสร่างร้าย รอดตน

    ยอดเยี่ยม “ธรรมกาย” ผล ผ่องแผ้ว

    เลอเลิศล่วงกุศล ใดอื่น

    เชิญท่านถือเอาแก้ว ก่องหล้าเรืองสกล

    พระมงคลเทพมุนี ( สด จนฺทสโร )
    </PRE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 ตุลาคม 2008
  4. kittitpx

    kittitpx เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +2,000
    ขอบคุงครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 มกราคม 2009
  5. Amine

    Amine เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +114
    แล้วแต่คนครับ ว่าคุ้นเคยและชอบแบบไหน ทำแบบใดแล้วชอบ และเห็นผลว่าช่วยให้เราบรรเทาลดละกิเลสได้ ก็ทำไปเถิดครับ
     
  6. ถนอม021

    ถนอม021 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,098
    ค่าพลัง:
    +3,163
    อนุโมทนาสาธุด้วยเทอญ สาธุ สาธุ สาธุ

    และขออุทิศบุญกุศลทั้งปวงแด่เจ้ากรรมนายเวรทุกภพทุกชาติ
    ให้ทุกท่านมีความสุขกายสุขใจตลอดไป ขอให้อโหสิรรมและ
    ขออโหสิกรรมกับทุกรูปทุกนามด้วยเถิด ให้ทุกท่านได้พระนิพพาน
    ในชาตินี้ด้วยเถิด

    ถนอม สุพัตรา ถกนธ์ พร้อมครอบครัวและญาติมิตร

    หลังจากสวดบูชาพระรัตนตรัยเสร็จเรียบร้อยแล้วสำหรับท่านที่ไม่ค่อยมีเวลามาก แนะนำบทสวดพุทธมนต์แบบย่อ ๆ แต่มีพลานุภาพมาก มีอานิสงส์มาก สวดไม่เกิน 5 นาทีจบ ดังนี้

    นะโม 3 จบ

    หัวใจ อิติปิโส ว่า
    อิสะวาสุ
    หัวใจพาหุง
    พา มา นา อุ กะ สะ นะ ทุ
    หัวใจพระเจ้าสิบชาติ
    เต ชะ สุ เน มะ ภู จะ นา วิ เว
    หัวใจบารมี 30 ทัส
    ทา สี เน ปะ วิ ขะ สะ อะ เม อุ
    หัวใจพระอาการวัตตาสูตร
    มุนินทะ วะทะนัมโพชะ คัพพะสัมภาวะ สุนทะรีปาณีนัง สะระณัง วาณี มัยหัง ปิณะ ยะตัง มะนัง
    หัวใจพระธารณะปริตร
    ทิฏฐิลา ทัณฑิลา มันติลา โรคิลา ขะระรา ทุพพิลา เอเตนะ สัจจะ วัชเชนะ โสตถิ เม โหตุ สัพพะทา
    หัวใจพระไตรปิฎก
    จิเจรุนิ
    หัวใจพระคาถาชินบัญชร
    ชะ จะ ต ะ สะ สี สัง หะ โก ทะ กะ เก นิ กุ โส ปุ เถ เส เอ ชะ ระ ธะ ขะ อา ชิ วา อะ ชิ สะ อิ ตัง
    คาถาบูชาพระพุทธเจ้า 16 พระองค์
    นะมะนะอะ นอกอนะกะ กอออนออะ นะอะกะอัง อุมิอะมิ มะหิสุตัง สุนะพุทธัง สุอะนะอะ

    [​IMG]สวดจบควรแผ่เมตตาทุกครั้ง[​IMG]
    <!-- / message -->
     

แชร์หน้านี้

Loading...