ผ้าไตร กฐิน มีอะไรบ้าง กฐินมีกี่ประเภท

ในห้อง 'ธรรมทาน - วิทยาทาน' ตั้งกระทู้โดย Dharaya, 24 มีนาคม 2024.

  1. Dharaya

    Dharaya ศรัทธาอันประณีต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2020
    โพสต์:
    166
    ค่าพลัง:
    +53
    ผ้าไตร กฐิน หรือ ผ้าไตรที่จัดเตรียมถวายกฐินซึ่งเริ่มเตรียมจัดตั้งตามประเพณี เริ่มตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึง วันเพ็ญ 15 ค่ำ เดือน 12 เป็นเขตทอดกฐินตามหลักพระวินัย กฐิน เป็นศัพท์ในพระวินัยปิฎกเถรวาท เป็นชื่อเรียก “ผ้าไตรจีวร” ที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือนแล้ว สามารถรับมานุ่งห่มได้

    ผ้าไตร กฐิน มีอะไรบ้าง
    ผ้าไตรกฐิน องค์ประธานของกฐินก็คือ ผ้า ของอย่างอื่นถือว่าเป็นบริวารกฐิน

    ความสำคัญของกฐิน ดังนี้

    1. จำกัดประเภททาน คือ ต้องถวายเป็น สังฆทาน เท่านั้น จะถวายเฉพาะเจาะจงพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเหมือนทานอย่างอื่นไม่ได้
    2. จำกัดเวลา คือ กฐินเป็น กาลทาน (ตามพระบรมพุทธานุญาต) ดังนั้นจึงจำกัดเวลาว่าต้องถวายภายในระยะเวลา 1 เดือน นับแต่วัน ออกพรรษา เป็นต้นไป

    3. จำกัดงาน คือ พระภิกษุที่กรานกฐิน ต้องตัด เย็บ ย้อม และครองให้เสร็จภายในวันที่กรานกฐิน

    4. จำกัดไทยธรรม คือ ผ้าที่ถวายต้องถูกต้องตามลักษณะที่พระธรรมวินัยกำหนด

    5. จำกัดผู้รับ คือ พระภิกษุผู้รับกฐิน ต้องเป็นผู้จำพรรษาในวัดนั้นโดยไม่ขาดพรรษา และจำนวนไม่น้อยกว่า 5 รูป

    6. จำกัดคราว คือ วัด ๆ หนึ่งรับกฐินได้ปีละ 1 ครั้งเท่านั้น

    7. เป็นพระบรมพุทธานุญาต คือ ทานอย่างอื่นทายกทูลขอให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอนุญาต เช่น อุบาสิกาวิสาขาทูลขออนุญาตผ้าอาบน้ำฝน แต่ผ้ากฐินนี้พระองค์ทรงอนุญาตเอง นับเป็นพระประสงค์โดยตรง

    ผ้ากฐิน

    กฐินเป็นชื่อของผ้า หมายถึงผ้าที่ถวายให้เป็นกฐินภายในกำหนดกาล 1 เดือน นับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขี้น 15 ค่ำ เดือน 12 ผ้าที่จะถวายนั้นจะเป็นผ้าใหม่ หรือผ้าเทียมใหม่ เช่น ผ้าฟอกสะอาด

    สิ่งที่ต้องพิจารณา ผ้าไตรแบบไหน ที่พระภิกษุสงฆ์นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ ดังนี้

    สี ในประเทศไทยมีพระสงฆ์อยู่สองฝ่าย นุ่งห่มจีวรสีต่างกัน มีหลักๆ คือ

    • พระสงฆ์ธรรมยุต นุ่งห่มจีวรด้วยสีกรักแก่นขนุน สีพระราชทาน
    • พระสงฆ์มหานิกาย นุ่งห่มจีวรด้วยสีเหลืองส้ม สีพระราชทาน
    การเลือกสีควรพิจารณาว่า นำไปถวายวัดไหน ใช้สีอะไร หรือ ถ้าไม่รู้ก็ควรเลือกสีพระราชทาน

    ขอบคุณข้อมูลเพจ

    การทอดกฐิน ได้เป็น 2 ชนิด คือ

    1.จุลกฐิน

    จุลกฐิน คือ คำเรียกการทอดกฐินที่ต้องทำด้วยความรีบด่วน โดยต้องอาศัยความสามัคคีของผู้ศรัทธาจำนวนมาก เพื่อผลิตผ้าไตรจีวรให้สำเร็จด้วยมือภายในวันเดียว กล่าวคือ ต้องเริ่มตั้งแต่เก็บฝ้าย ตัดเย็บ ย้อม และถวายให้พระสงฆ์กรานกฐินให้เสร็จภายในเวลาเช้าวันหนึ่งจนถึงย่ำรุ่งของอีกวันหนึ่ง ดังนั้นโบราณจึงนับถือกันว่าการทำจุลกฐินมีอานิสงส์มาก เพราะต้องใช้ความอุตสาหะพยายามมากกว่ากฐินแบบธรรมดา (มหากฐิน) ภายในระยะเวลาอันจำกัด โดยจุลกฐินนี้ปัจจุบันมักจัดเป็นงานใหญ่ มีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก

    2.มหากฐิน

    มหากฐิน เป็นศัพท์ที่เรียกเพื่อหมายความถึงการทอดกฐินที่มีบริวารกฐินมาก ไม่ต้องทำโดยเร่งรีบเหมือนจุลกฐิน มหากฐินคือกฐินที่ทอดถวายตามวัดต่าง ๆ ในประเทศไทยในปัจจุบัน ที่จะมีการรวบรวมจตุปัจจัยไทยธรรมและสิ่งของต่าง ๆ เพื่อนำไปเป็นเครื่องประกอบในงานกฐินถวายแก่พระสงฆ์ เพื่อนำไปทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาต่อไป (มหากฐินไม่ใช่ศัพท์ที่ปรากฏในพระวินัยปิฎก) โดยมหากฐินนั้นอาจเป็นกฐินที่มีเจ้าภาพเพียงคนเดียวหรือกฐินสามัคคีก็ได้
    เครดิตจากเพจ
    https://dharayath.com/
     

แชร์หน้านี้

Loading...