ผ้าอาบน้ำฝนกับประเพณีเข้าพรรษา !!

ในห้อง 'ธรรมทาน - วิทยาทาน' ตั้งกระทู้โดย Dharaya, 17 กรกฎาคม 2021.

  1. Dharaya

    Dharaya ศรัทธาอันประณีต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2020
    โพสต์:
    151
    ค่าพลัง:
    +51
    dc20194fb5d4e5d03fabb54f8f503c2e.md.jpg

    ผ้าอาบน้ำฝนที่เรียกกันว่า “วัสสิกพัตร” นั้นเป็นสิ่งที่ชาวพุทธในภาคเหนือนิยมแก่พระสงฆ์ในงานเข้าพรรษา เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่พระสงฆ์ ที่เข้าประจำอยู่ในวัด พระยาอนุมานราชธนได้เขียนไว้ในเรื่องเกี่ยวกับพิธีกรรมของชาวพุทธอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวกับวันเข้าพรรษา คือการถวายผ้าอาบน้ำฝนแก่ภิกษุสงฆ์เดิมทีเดียวนั้น
    พระพุธเจ้าทรงอนุญาตให้ ภิกษุใช้ผ้า 3 ผืน ซึ่งรวมเรียกว่าไตรจีวร คือ สบง ได้แก่ ผ้านุ่ง 1 จีวร ได้แก่ผ้าห่ม 1 สังฆาฏิ ได้แก่ผ้าพาดบ่า ยังไม่ได้ทรงอนุญาตให้ใช้ผ้าอาบน้ำฝนครั้นเวลาฝนตกภิกษุที่จะอาบน้ำฝนก็ไม่มีผ้าที่จะนุ่งอาบ จะต้องเปลือยกายอาบน้ำฝน วันหนึ่งนางวิสาขา ใช้หญิงคนใช้ให้เข้าไปในวัดขณะฝนตก หยิงคนใช้เห็นภิกษุเปลือยกาย อาบน้ำฝนเข้าใจว่าเป็นพวกเดียรถียร์ จึงกลับไปบอกนางวิสาขาจึงได้กราบทูลพระพุทธเจ้าเพื่อขอพระบรมพุทธานุญาตถวายผ้าอาบน้ำฝนแด่ภิกษุขอให้ภิกษุรับผ้าอาบน้ำฝนตั้งแต่นั้นมา และได้กลายเป็นประเพณีถวายผ้าอาบน้ำฝนจนบัดนี้

    ผ้าอาบน้ำฝนนั้น มีกำหนดไว้ตามที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตคือ กว้างศอกคืบ 14 นิ้ว 1 กระเบียดกับ 2 อนุกระเบียด ยาว 4 ศอกกับ 3 กระเบียด ทำยาวหรือกว้างกว่านี้ใช้ไม่ได้เป็นโทษแก่ภิกษุ เวลาที่จะถวายผ้าอาบน้ำฝนนั้น มีพระพุทธบัญญัติไว้ ตั้งแต่แรม 1 ค่ำเดือน 7 ถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 เป็นเวลาก่อนเข้าพรรษา 1 เดือน เวลานี้เป็นระยะเวลาที่ภิกษุจะแสวงหาผ้าอาบน้ำฝนได้ ผู้ประสงค์ที่บำเพ็ญถูกต้องตาม พระพุทธานุญาต จึงหาผ้าอาบน้ำฝนมาถวายในระยะนี้ ที่ปฏิบัติกันทั่วไป นิยมถวายกันในวันขึ้น 15 ค่ำก่อนพรรษา 1 วัน เพราะวันนี้เป็นวันธรรมสวนะและเป็นวันอาสาฬหบูชาด้วย พุทธศาสนิกชนทั่วไปประชุมกันที่วัดเป็นปกติอยู่แล้ว จึงถือโอกาสถวายผ้าอาบน้ำฝนในวันนั้น

    หน้าที่ของชาวพุทธ เมื่อถึงวันเข้าพรรษา นอกจากจะจัดดอกไม้ธูปเทียนและของใช้ประจำอื่นๆ เช่น สบู่ แปลงสีฟัน สีย้อมผ้า และยารักษาโรค เป็นต้น ไปถวายพระเถระอุปัชฌาย์อาจารย์ที่ตนเคารพนับถือแล้ว พึงทำจิตใจของตนให้สะอาด ปราศจากความอิจฉาริษยาพยาบาท ให้อภัยในความผิดพลาดหรือสิ่งที่ล่วงเกินซึ่งกันและกันที่ตั้งใจและไม่ต้องใจ ไม่ถือเป็นสาเหตุโกรธเคืองกัน เพื่อเป็นกำลังใจในการบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนาเพื่อให้เจริญถาวร ก้าวหน้าเป็นพุทธบูชา และตั้งจิตอธิษฐานว่า จะงดเว้นจากความชั่วทั้งปวง ประกอบแต่คุณงามความดี ตลอดเวลา เดือนในพรรษานี้ ก็จะเป็นบุญกุศลอันยิ่งใหญ่เพื่อที่จะบันดาลให้ได้รับความสุขอันยิ่งใหญ่ในจิตใจ อันสืบเนื่องมาจากมีความอิจฉาพยาบาทในจิตใจ และผลจากการบำเพ็ญคุณงามความดีตามที่ได้อธิษฐานใจไว้ตามควรแก่อัตภาพ

    ในวันเข้าพรรษา

    เมื่อถึงวันเข้าพรรษานอกจากทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ปฏิบัติธรรมก็จะมีการถวายผ้าอาบน้ำฝนรวมอยู่ด้วย การถวายผ้าอาบน้ำฝนแม้จะไม่มีการกำหนดวัน แต่โดยมากจะทำบุญถวายกันในวันเข้าพรรษา การถวายนั้นมีทั้งถวายแบบเจาะจง ถวายแบบสังฆทานไม่เจาะจงพระรูปหนึ่งรูปใดและในรูปแบบนี้จัดเป็นแบบสลากภัต การทำบุญเป็นเรื่องของการชำระใจให้สะอาด สุขใจที่ได้ทำในสิ่งดี ๆ และหากมีความตั้งใจทั้งก่อนให้ ขณะที่ให้และหลังจากการให้ จิตใจที่ปลื้มปีติทั้งสามเวลาเหล่านี้ก็จะก่อเกิด บุญเกิดความปีติสุขใจ

    นอกจากนี้ช่วงเทศกาลวันเข้าพรรษายังมีประเพณีท้องถิ่นที่ได้รับการกล่าวขานเป็นที่รู้จักอย่าง การทำบุญตักบาตร ดอกไม้ ดอกเข้าพรรษา อีกทั้งยังมีกิจกรรมที่ดีอีกมากมายที่ใช้ช่วงเวลาที่มีความหมายนี้เป็นการเริ่มต้น อย่าง การงดเหล้าเข้าพรรษา งดอบายมุขหรือแม้แต่การรณรงค์ปลูกต้นไม้ และอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งสอดคล้องกับสภาพอากาศอีกทั้งยังช่วยลดภาวะโลกร้อน นักวัฒนธรรมกล่าวทิ้งท้าย จากสองวาระสำคัญทางพุทธศาสนาวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษาในปีนี้ นับเป็นอีกโอกาสที่ดีต่อการตั้งมั่นทำบุญสร้างกุศล ตั้งจิตอธิษฐานปฏิบัติตัวเริ่มต้นทำสิ่งดีงาม ลด ละ เลิกอบายมุขทั้งหลายทั้งปวง บุญกุศลที่เกิดขึ้นก็จะก่อเกิดความสุขความปิติเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตทั้งต่อตนเองและคนรอบข้าง
     

แชร์หน้านี้

Loading...