ผ้าป่า-กฐินลอยน้ำ-ตำนานบุญในวันน้ำหลาก

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 13 ตุลาคม 2006.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,492
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width=567 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>ผ้าป่า-กฐิน ลอยน้ำ ตำนานบุญในวันน้ำหลาก



    </TD></TR><TR><TD class=Text_Story vAlign=top><!-- [​IMG][/IMG] [​IMG] ข่าวภาพน้ำท่วมวันนี้ สื่อทุกสายกระหน่ำจนกลายเป็นเรื่องร้ายแรง แต่หากย้อนอดีตไปจะพบว่าวิถีชีวิตพุทธศาสนิกชนคนทั่วไปไม่ได้วิตกทุกข์ร้อนเลย กลับพบว่าเมื่อคราใดที่น้ำเหนือหลาก กลับสร้างชีวิตชีวาให้ท้องทุ่งและมวลมนุษย์ โดยเฉพาะคนภาคกลาง

    อดีตวิถีชีวิตและวัฒนธรรมเมื่อน้ำท่วมทุ่ง เขาดำรงกันอยู่ได้อย่างไรหรือ วันนี้คนอายุใกล้เกษียณที่ผ่านฤดูน้ำหลากจนถึงน้ำท่วม จะขอเล่าเรื่องให้อ่านกันเพลินๆ
    เมื่อกว่า ๕๐ ปี เด็กชายตัวผอมๆ เดินผ่านทุ่งนาที่เขียวขจีไปเรียนหนังสือที่วัด มือขวาหิ้วกระเป๋าหนังสือ มือซ้ายหิ้วปิ่นโตอาหารกลางวัน ต้นกล้าข้าวกำลังเติบโต เพราะว่าเป็นเดือนหก ฝนกำลังตกต้องตามฤดูกาล เรียกว่าหน้าฝน
    พอย่างเข้าหน้าน้ำ อันเป็นฤดูกาลที่น้ำเหนือไหลบ่าลงมาจนเต็มคลอง นักเรียนคนเดิมเหนื่อยมากขึ้นกับการต้องลุยน้ำเป็นบางจุด และลุยโคลนอีกหลายจุด ตกเย็นเมื่อกลับบ้านแล้ว นักเรียนคนเดิมลงเดินไปตามคันนา แล้วธงเบ็ด (ปักเบ็ด) ที่เกี่ยวเหยื่อด้วยไส้เดือนตัวโต บางคนเดินส่องไฟฉายตอนกลางคืน มือขวาถือฉมวก
    น้ำไหลบ่าลงมาจากเหนือน้ำเรื่อยๆ พ่อเข็นเรือลงคาน แล้วซ่อมแนวยาเรือกันน้ำรั่ว เป็นน้ำมันยางจากต้นยางนา และชันที่ผสมกันแล้วเป็นฉนวนกันน้ำอย่างดี ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เพิ่มสีสันของวัฒนธรรม ไม่เว้นแม้แต่พระก็ยกเรือลงมายาแนวกันรั่ว เพราะว่าพระต้องออกบิณฑบาตด้วยเช่นกัน
    ใต้ถุนกุฏิ ศาลาการเปรียญ เปี่ยมไปด้วยน้ำใสสะอาด ปลาเล็กใหญ่ดำผุดดำว่ายกันเกลื่อน นักเรียนกินอาหารเหลือเศษก็โปรยลงน้ำ ได้ดูปลานานาชนิดแย่งกันกินอาหาร
    พอเดือนสิบ น้ำไหลท่วมทุ่งนา และต้นข้าวโตจนใบพลิ้วไสวไปทั้งทุ่ง ความสวยงามของต้นข้าวสร้างความสุขและความหวังให้ชาวนา ต้นข้าวเติบโตทันกระแสน้ำหลาก และยาวถึง ๓-๔ เมตร ขึ้นอยู่กับความลึกของน้ำ เดือนสิบเอ็ดน้ำนองไปทั่วและนิ่ง
    ประเพณีเล่นเพลงเรือ แข่งเรือ และลอยกระทงในคืนเดือนเพ็ญ เป็นอีกวิถีชีวิตวัฒนธรรมพร้อมๆ กับการทอดกฐินที่วัด โดยพุทธศาสนิกชนคนที่จอง อาจเป็นคนต่างถิ่นที่อยากทำบุญ หรือคนในท้องถิ่นที่ได้ดิบได้ดีในเมืองกรุง การแห่เรือกฐินสมัยนั้นใช้เรือไอหลายลำ
    เมื่อมาถึงหน้าวัด พอเรือเทียบศาลาท่าน้ำวัด ขบวนต้อนรับของศรัทธาวัดก็แห่ขบวนกลองยาว ร้องโห่หิ้วกันสนุกสนาน ผู้ให้กับผู้รับ (เข้าวัด) มีความสุข นัยน์ตาเปล่งประกายสดใส หัวใจพองโต โดยมีสายน้ำที่เจิ่งนองเป็นพาหนะนำขบวน
    นี่แหละ องค์กฐินลอยน้ำมาจริงๆ ความสุขของชาวพุทธภาคกลางปรับตัวไปตามสภาพสิ่งแวดล้อมที่เป็นจริง เพราะว่าน้ำเหนือไหลมาจากที่สูง มีพื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์ คอยดูดซับน้ำและค่อยๆ ปลดปล่อยลงมาทีละน้อย เว้นแต่เกิดพายุกระหน่ำซ้ำซ้อน น้ำไหลบ่าก็เลยไหลทะลักลงมาอย่างรวดเร็ว กลายเป็นน้ำท่วม
    ปัจจุบันนี้พื้นที่ป่าไม้ทางภาคเหนือตอนบน ภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลาง ซึ่งเป็นป่าต้นน้ำของแม่น้ำสำคัญๆ หลายสาย เช่น แม่น้ำปิง วัง ยม น่าน ป่าสัก สะแกกรัง ท่าจีน แม่กลอง เหลืออยู่น้อย แม้กระทั่งบนยอดเขาก็ถูกบุกรุกทำลาย เป็นไร่สวน แหล่งดูดซับน้ำบนที่สูงหายไป เมื่อฝนตกลงมาก็จะรวมตัวกันไหลบ่าลงมาอย่างรวดเร็ว กลายเป็นน้ำท่วม น้ำท่วมเฉียบพลัน และไหลท่วมอย่างเร็วจี๋
    ประกอบกับวิถีชีวิตของชาวพุทธเปลี่ยนไป การใช้เรือเปลี่ยนเป็นรถยนต์ เส้นทางคมนาคมทางน้ำเป็นทางบก ถนนหนทางถูกสร้างกันทั่วไป เรือถูกเก็บเข้าพิพิธภัณฑ์
    ที่สำคัญ น้ำไม่เคยท่วมทุ่งนา และบริเวณวัดอีกเลย ต้นข้าวกลายเป็นต้นเตี้ยๆ สายบัวที่เคยลอยในทุ่งหาไม่พบ การวางข่ายดักปลาหายไป เพลงเรือและนักเล่นหายไป เหลือประเพณีลอยกระทงที่ลอยแต่ในสระน้ำกลางหมู่บ้านจัดสรร
    ประเพณีการทอดกฐิน ยังเหลืออยู่ แต่เป็นกฐินบก ที่ยกขบวนมากับรถยนต์ ความสดชื่นที่เกิดจากสายน้ำหายไป เป็นความล่มสลายของวัฒนธรรม วิถีชีวิต บ้านเรือนที่อยู่อาศัยเปลี่ยนเป็นบ้านชั้นเดียวติดดิน หรือสองชั้นแต่ติดดิน และสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง พอเกิดน้ำบ่าไหลกระแทกกระทั้นมาอย่างรวดเร็ว เหมือนน้ำไหลผ่านคนหัวล้าน ความเสียหายเกิดกับความเคยชินใหม่ที่ไม่ได้ค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป เรือกสวนไร่นาถูกน้ำท่วมเฉียบพลัน สินค้าที่เคยยกขึ้นที่สูงก็ถูกวางไว้ชั้นล่าง เกิดเป็นความเดือดร้อนมาก เพราะว่าไม่เคยชินกับน้ำท่วมทุ่ง
    ลพบุรี สระบุรี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง อยุธยา สุพรรณบุรี ปทุมธานี นนทบุรี เคยเป็นเมืองที่น้ำท่วมทุ่งมาแต่อดีต วิถีชีวิต วัฒนธรรม การอยู่การกิน การละเล่น และการเปลี่ยนแปลง คล้ายคลึงกัน เป็นไปตามวัฏจักรที่เคยเป็น
    แต่วันนี้ จังหวัดเหล่านี้ลืมอดีตไปแล้ว พอเกิดน้ำท่วมเฉียบพลันจึงรู้สึกรันทดใจยิ่งนัก ข่าวที่ประโคมกันอึงมี่ก็เพราะการสื่อสารโตเร็ว การข่าวจึงนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลง
    เช่นที่ จ.อ่างทอง น้ำท่วมเขต อ.เมือง ตรงคอสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาอย่างไรก็ท่วมอยู่อย่างนั้น ทุกปีๆ ที่ อ.ป่าโมก ก็เกิดแถวบ้านเสด็จอยู่เช่นเดิม เพราะว่าเป็นจุดที่ลุ่มมากกว่าที่อื่นๆ แต่เชื่อไหมน้ำท่วมเหล่านี้ไม่เคยท่วมขนาดเต็มทุ่งแต่อย่างใด มีก็แต่ชายๆ แม่น้ำเจ้าพระยา คลองแยกขนาดใหญ่
    ต่อให้สร้างเขื่อนปูนกันน้ำท่วมตลอดแม่น้ำเจ้าพระยา ก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาน้ำท่วมไปได้ แต่ถ้าสร้างใจให้ยอมรับว่าเราเป็นเมืองน้ำมาก่อน เป็นที่ราบลุ่มนาดี วิถีชีวิตดั้งเดิมอาจต้องรื้อฟื้นบางส่วน หากแต่เฉพาะพื้นที่ที่ล่อแหลมมากกว่า
    การหว่านงบประมาณลงไปอย่างไร้ทิศทาง ภาษีอากรที่สูญเสียไปกับการละลายน้ำท่วมบาดใจไม่หาย เพราะว่าความเจริญนำพาพวกเราหลงทางจนลืมวิถีชีวิตเดิมๆ ของเรา ไม่เคยชินก็รู้สึกเดือดร้อนใช่ไหม สัจธรรมความจริงที่เกิดขึ้นเพราะว่าเราลืมตัวตนที่แท้จริงของเราไป0 เรื่อง / ภาพ ธงชัย เปาอินทร์ 0

    -->
    [​IMG]



    ข่าวภาพน้ำท่วมวันนี้ สื่อทุกสายกระหน่ำจนกลายเป็นเรื่องร้ายแรง แต่หากย้อนอดีตไปจะพบว่าวิถีชีวิตพุทธศาสนิกชนคนทั่วไปไม่ได้วิตกทุกข์ร้อนเลย กลับพบว่าเมื่อคราใดที่น้ำเหนือหลาก กลับสร้างชีวิตชีวาให้ท้องทุ่งและมวลมนุษย์ โดยเฉพาะคนภาคกลาง
    อดีตวิถีชีวิตและวัฒนธรรมเมื่อน้ำท่วมทุ่ง เขาดำรงกันอยู่ได้อย่างไรหรือ วันนี้คนอายุใกล้เกษียณที่ผ่านฤดูน้ำหลากจนถึงน้ำท่วม จะขอเล่าเรื่องให้อ่านกันเพลินๆ

    เมื่อกว่า ๕๐ ปี เด็กชายตัวผอมๆ เดินผ่านทุ่งนาที่เขียวขจีไปเรียนหนังสือที่วัด มือขวาหิ้วกระเป๋าหนังสือ มือซ้ายหิ้วปิ่นโตอาหารกลางวัน ต้นกล้าข้าวกำลังเติบโต เพราะว่าเป็นเดือนหก ฝนกำลังตกต้องตามฤดูกาล เรียกว่าหน้าฝน

    พอย่างเข้าหน้าน้ำ อันเป็นฤดูกาลที่น้ำเหนือไหลบ่าลงมาจนเต็มคลอง นักเรียนคนเดิมเหนื่อยมากขึ้นกับการต้องลุยน้ำเป็นบางจุด และลุยโคลนอีกหลายจุด ตกเย็นเมื่อกลับบ้านแล้ว นักเรียนคนเดิมลงเดินไปตามคันนา แล้วธงเบ็ด (ปักเบ็ด) ที่เกี่ยวเหยื่อด้วยไส้เดือนตัวโต บางคนเดินส่องไฟฉายตอนกลางคืน มือขวาถือฉมวก
    น้ำไหลบ่าลงมาจากเหนือน้ำเรื่อยๆ พ่อเข็นเรือลงคาน แล้วซ่อมแนวยาเรือกันน้ำรั่ว เป็นน้ำมันยางจากต้นยางนา และชันที่ผสมกันแล้วเป็นฉนวนกันน้ำอย่างดี ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เพิ่มสีสันของวัฒนธรรม ไม่เว้นแม้แต่พระก็ยกเรือลงมายาแนวกันรั่ว เพราะว่าพระต้องออกบิณฑบาตด้วยเช่นกัน

    ใต้ถุนกุฏิ ศาลาการเปรียญ เปี่ยมไปด้วยน้ำใสสะอาด ปลาเล็กใหญ่ดำผุดดำว่ายกันเกลื่อน นักเรียนกินอาหารเหลือเศษก็โปรยลงน้ำ ได้ดูปลานานาชนิดแย่งกันกินอาหาร
    พอเดือนสิบ น้ำไหลท่วมทุ่งนา และต้นข้าวโตจนใบพลิ้วไสวไปทั้งทุ่ง ความสวยงามของต้นข้าวสร้างความสุขและความหวังให้ชาวนา ต้นข้าวเติบโตทันกระแสน้ำหลาก และยาวถึง ๓-๔ เมตร ขึ้นอยู่กับความลึกของน้ำ เดือนสิบเอ็ดน้ำนองไปทั่วและนิ่ง
    ประเพณีเล่นเพลงเรือ แข่งเรือ และลอยกระทงในคืนเดือนเพ็ญ เป็นอีกวิถีชีวิตวัฒนธรรมพร้อมๆ กับการทอดกฐินที่วัด โดยพุทธศาสนิกชนคนที่จอง อาจเป็นคนต่างถิ่นที่อยากทำบุญ หรือคนในท้องถิ่นที่ได้ดิบได้ดีในเมืองกรุง การแห่เรือกฐินสมัยนั้นใช้เรือไอหลายลำ

    เมื่อมาถึงหน้าวัด พอเรือเทียบศาลาท่าน้ำวัด ขบวนต้อนรับของศรัทธาวัดก็แห่ขบวนกลองยาว ร้องโห่หิ้วกันสนุกสนาน ผู้ให้กับผู้รับ (เข้าวัด) มีความสุข นัยน์ตาเปล่งประกายสดใส หัวใจพองโต โดยมีสายน้ำที่เจิ่งนองเป็นพาหนะนำขบวน
    นี่แหละ องค์กฐินลอยน้ำมาจริงๆ ความสุขของชาวพุทธภาคกลางปรับตัวไปตามสภาพสิ่งแวดล้อมที่เป็นจริง เพราะว่าน้ำเหนือไหลมาจากที่สูง มีพื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์ คอยดูดซับน้ำและค่อยๆ ปลดปล่อยลงมาทีละน้อย เว้นแต่เกิดพายุกระหน่ำซ้ำซ้อน น้ำไหลบ่าก็เลยไหลทะลักลงมาอย่างรวดเร็ว กลายเป็นน้ำท่วม

    ปัจจุบันนี้พื้นที่ป่าไม้ทางภาคเหนือตอนบน ภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลาง ซึ่งเป็นป่าต้นน้ำของแม่น้ำสำคัญๆ หลายสาย เช่น แม่น้ำปิง วัง ยม น่าน ป่าสัก สะแกกรัง ท่าจีน แม่กลอง เหลืออยู่น้อย แม้กระทั่งบนยอดเขาก็ถูกบุกรุกทำลาย เป็นไร่สวน แหล่งดูดซับน้ำบนที่สูงหายไป เมื่อฝนตกลงมาก็จะรวมตัวกันไหลบ่าลงมาอย่างรวดเร็ว กลายเป็นน้ำท่วม น้ำท่วมเฉียบพลัน และไหลท่วมอย่างเร็วจี๋

    ประกอบกับวิถีชีวิตของชาวพุทธเปลี่ยนไป การใช้เรือเปลี่ยนเป็นรถยนต์ เส้นทางคมนาคมทางน้ำเป็นทางบก ถนนหนทางถูกสร้างกันทั่วไป เรือถูกเก็บเข้าพิพิธภัณฑ์
    ที่สำคัญ น้ำไม่เคยท่วมทุ่งนา และบริเวณวัดอีกเลย ต้นข้าวกลายเป็นต้นเตี้ยๆ สายบัวที่เคยลอยในทุ่งหาไม่พบ การวางข่ายดักปลาหายไป เพลงเรือและนักเล่นหายไป เหลือประเพณีลอยกระทงที่ลอยแต่ในสระน้ำกลางหมู่บ้านจัดสรร

    ประเพณีการทอดกฐิน ยังเหลืออยู่ แต่เป็นกฐินบก ที่ยกขบวนมากับรถยนต์ ความสดชื่นที่เกิดจากสายน้ำหายไป เป็นความล่มสลายของวัฒนธรรม วิถีชีวิต บ้านเรือนที่อยู่อาศัยเปลี่ยนเป็นบ้านชั้นเดียวติดดิน หรือสองชั้นแต่ติดดิน และสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง พอเกิดน้ำบ่าไหลกระแทกกระทั้นมาอย่างรวดเร็ว เหมือนน้ำไหลผ่านคนหัวล้าน ความเสียหายเกิดกับความเคยชินใหม่ที่ไม่ได้ค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป เรือกสวนไร่นาถูกน้ำท่วมเฉียบพลัน สินค้าที่เคยยกขึ้นที่สูงก็ถูกวางไว้ชั้นล่าง เกิดเป็นความเดือดร้อนมาก เพราะว่าไม่เคยชินกับน้ำท่วมทุ่ง

    ลพบุรี สระบุรี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง อยุธยา สุพรรณบุรี ปทุมธานี นนทบุรี เคยเป็นเมืองที่น้ำท่วมทุ่งมาแต่อดีต วิถีชีวิต วัฒนธรรม การอยู่การกิน การละเล่น และการเปลี่ยนแปลง คล้ายคลึงกัน เป็นไปตามวัฏจักรที่เคยเป็น

    แต่วันนี้ จังหวัดเหล่านี้ลืมอดีตไปแล้ว พอเกิดน้ำท่วมเฉียบพลันจึงรู้สึกรันทดใจยิ่งนัก ข่าวที่ประโคมกันอึงมี่ก็เพราะการสื่อสารโตเร็ว การข่าวจึงนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลง
    เช่นที่ จ.อ่างทอง น้ำท่วมเขต อ.เมือง ตรงคอสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาอย่างไรก็ท่วมอยู่อย่างนั้น ทุกปีๆ ที่ อ.ป่าโมก ก็เกิดแถวบ้านเสด็จอยู่เช่นเดิม เพราะว่าเป็นจุดที่ลุ่มมากกว่าที่อื่นๆ แต่เชื่อไหมน้ำท่วมเหล่านี้ไม่เคยท่วมขนาดเต็มทุ่งแต่อย่างใด มีก็แต่ชายๆ แม่น้ำเจ้าพระยา คลองแยกขนาดใหญ่

    ต่อให้สร้างเขื่อนปูนกันน้ำท่วมตลอดแม่น้ำเจ้าพระยา ก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาน้ำท่วมไปได้ แต่ถ้าสร้างใจให้ยอมรับว่าเราเป็นเมืองน้ำมาก่อน เป็นที่ราบลุ่มนาดี วิถีชีวิตดั้งเดิมอาจต้องรื้อฟื้นบางส่วน หากแต่เฉพาะพื้นที่ที่ล่อแหลมมากกว่า

    การหว่านงบประมาณลงไปอย่างไร้ทิศทาง ภาษีอากรที่สูญเสียไปกับการละลายน้ำท่วมบาดใจไม่หาย เพราะว่าความเจริญนำพาพวกเราหลงทางจนลืมวิถีชีวิตเดิมๆ ของเรา ไม่เคยชินก็รู้สึกเดือดร้อนใช่ไหม สัจธรรมความจริงที่เกิดขึ้นเพราะว่าเราลืมตัวตนที่แท้จริงของเราไป 0 เรื่อง / ภาพ ธงชัย เปาอินทร์ 0



    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    Ref.
    http://www.komchadluek.net/2006/10/13/j001_55695.php?news_id=55695
     
  2. naf06

    naf06 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    577
    ค่าพลัง:
    +2,227
    [​IMG] ได้ความรู้ดีครับ เอาข่าวดีๆมาให้อ่านกัน
     

แชร์หน้านี้

Loading...