ผู้รู้ญาณวัตถุ ๗๗ ชื่อว่าเป็นพระโสดาบัน

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย อุรุเวลา, 17 มีนาคม 2012.

  1. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ๔. ญาณวัตถุสูตรที่ ๒
    [๑๒๖] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
    เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงญาณวัตถุ ๗๗
    แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟังญาณวัตถุนั้น จงใส่ใจให้ดีเถิด เราจักกล่าว
    ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว ฯ
    [๑๒๗] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ญาณวัตถุ ๗๗ เป็นไฉน ญาณวัตถุ ๗๗
    นั้น คือความรู้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อชาติไม่มี
    ชราและมรณะจึงไม่มี ๑ แม้ในอดีตกาลความรู้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมี ๑
    ความรู้ว่า เมื่อชาติไม่มีชราและมรณะจึงไม่มี ๑ แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะชาติ
    เป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี ๑ ความรู้ว่า
    ธรรมฐิติญาณของชาตินั้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑
    ความรู้ว่า เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อภพไม่มี ชาติจึงไม่มี ๑ แม้ในอดีตกาล
    ความรู้ว่า เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี ๑ความรู้ว่า เมื่อภพไม่มี ชาติจึงไม่มี ๑
    แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อภพไม่มี
    ชาติจึงไม่มี ๑ ความรู้ว่าธรรมฐิติญาณของภพนั้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย
    ความดับเป็นธรรมดา ๑ ความรู้ว่า เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี ๑ ความรู้ว่าเมื่ออุปาทานไม่มี
    ภพจึงไม่มี ๑ แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี ๑
    ความรู้ว่า เมื่ออุปาทานไม่มี ภพจึงไม่มี ๑ แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย
    ภพจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่ออุปาทานไม่มี ภพจึงไม่มี ๑ ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณ
    ของอุปาทานนั้น มีความสิ้นความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑
    ความรู้ว่าตัณหาเป็นปัจจัยอุปาทานจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อตัณหาไม่มี อุปาทานจึงไม่มี ๑
    แม้ในอดีตกาลความรู้ว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี ๑ ความรู้ว่า
    เมื่อตัณหาไม่มีอุปาทานจึงไม่มี ๑ แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี ๑
    ความรู้ว่า เมื่อตัณหาไม่มี อุปาทานจึงไม่มี ๑ ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของตัณหานั้น
    มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑ ความรู้ว่าเพราะเวทนาเป็นปัจจัย
    ตัณหาจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อเวทนาไม่มี ตัณหาจึงไม่มี ๑แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า
    เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อเวทนาไม่มี ตัณหาจึงไม่มี ๑
    แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อเวทนาไม่มี
    ตัณหาจึงไม่มี ๑ ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของเวทนานั้น มีความสิ้น ความเสื่อม
    ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑ ความรู้ว่าเพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี ๑ ความรู้ว่า
    เมื่อผัสสะไม่มี เวทนาจึงไม่มี ๑ แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย
    เวทนาจึงมี ๑ความรู้ว่า เมื่อผัสสะไม่มี เวทนาจึงไม่มี ๑ แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า
    เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อผัสสะไม่มี เวทนาจึงไม่มี ๑
    ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของผัสสะนั้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลายความดับ
    เป็นธรรมดา ๑ ความรู้ว่า เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี ๑ความรู้ว่า เมื่อสฬายตนะไม่มี
    ผัสสะจึงไม่มี ๑ แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่าเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี ๑
    ความรู้ว่า เมื่อสฬายตนะไม่มี ผัสสะจึงไม่มี ๑ แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า
    เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี๑ ความรู้ว่า เมื่อสฬายตนะไม่มี ผัสสะจึงไม่มี ๑
    ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของสฬายตนะนั้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย
    ความดับเป็นธรรมดา ๑ความรู้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี ๑ ความรู้ว่า
    เมื่อนามรูปไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี ๑ แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัย
    สฬายตนะจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อนามรูปไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี ๑ แม้ในอนาคตกาล
    ความรู้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี ๑ ความรู้ว่าเมื่อนามรูปไม่มี
    สฬายตนะจึงไม่มี ๑ ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของนามรูปนั้นมีความสิ้น ความเสื่อม
    ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑ ความรู้ว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี ๑
    ความรู้ว่า เมื่อวิญญาณไม่มี นามรูปจึงไม่มี ๑แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
    นามรูปจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อวิญญาณไม่มี นามรูปจึงไม่มี ๑ แม้ในอนาคตกาล
    ความรู้ว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อวิญญาณไม่มี นามรูปจึงไม่มี ๑
    ความรู้ว่าธรรมฐิติญาณของวิญญาณนั้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย
    ความดับเป็นธรรมดา ๑ ความรู้ว่า เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ๑ ความรู้ว่า
    เมื่อสังขารไม่มี วิญญาณจึงไม่มี ๑ แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะสังขารเป็นปัจจัย
    วิญญาณจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อสังขารไม่มี วิญญาณจึงไม่มี ๑ แม้ในอนาคตกาลความรู้ว่า
    เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อสังขารไม่มีวิญญาณจึงไม่มี ๑
    ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของสังขารนั้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับ
    เป็นธรรมดา ๑ ความรู้ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยสังขารจึงไม่มี ๑ ความรู้ว่า
    เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารจึงไม่มี ๑ แม้ในอดีตกาลความรู้ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
    สังขารจึงไม่มี ๑ ความรู้ว่า เมื่ออวิชชาไม่มีสังขารจึงไม่มี ๑ แม้ในอนาคตกาล
    ความรู้ว่าเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารจึงไม่มี ๑
    ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของอวิชชานั้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่า ญาณวัตถุ ๗๗ ฯ
    จบสูตรที่ ๔
    ๕. อวิชชาปัจจยสูตรที่ ๑
    [๑๒๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก
    เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชา
    เป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้
    ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
    [๑๒๙] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชรามรณะเป็นไฉน และชรามรณะนี้เป็นของใคร พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
    ตั้งปัญหายังไม่ถูก ดูกรภิกษุ ผู้ใดพึงกล่าวว่า ชรามรณะเป็นไฉน และชรามรณะ
    นี้เป็นของใคร หรือพึงกล่าวว่าชรามรณะเป็นอย่างอื่น และชรามรณะนี้เป็นของผู้อื่น
    คำทั้งสองของผู้นั้นมีเนื้อความอย่างเดียวกัน ต่างแต่พยัญชนะเท่านั้น ดูกรภิกษุ เมื่อมีทิฐิว่า
    ชีพก็อันนั้น ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี หรือว่าเมื่อมีทิฐิว่า ชีพอย่างหนึ่ง
    สรีระอย่างหนึ่ง ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี ดูกรภิกษุ ตถาคตย่อมแสดงธรรม
    โดยสายกลาง ไม่ข้องแวะส่วนสุดทั้งสองนั้นดังนี้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ ฯ
    [๑๓๐] ภิกษุรูปหนึ่งทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชาติเป็นไฉนและชาตินี้
    เป็นของใคร พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ตั้งปัญหายังไม่ถูก ดูกรภิกษุ ผู้ใดพึงกล่าวว่า
    ชาติเป็นไฉน และชาตินี้เป็นของใคร หรือพึงกล่าวว่า ชาติเป็นอย่างอื่น และชาตินี้เป็น
    ของผู้อื่น คำทั้งสองของผู้นั้น มีเนื้อความอย่างเดียวกัน ต่างแต่พยัญชนะเท่านั้น
    ดูกรภิกษุ เมื่อมีทิฐิว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้นความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี
    หรือว่าเมื่อมีทิฐิว่า ชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี
    ดูกรภิกษุ ตถาคตแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่ข้องแวะส่วนสุดทั้งสองนั้น ดังนี้ว่า
    เพราะภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ ฯ
    [๑๓๑] ภิกษุรูปหนึ่งทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภพเป็นไฉนและภพนี้เป็นของใคร
    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ตั้งปัญหายังไม่ถูก ดูกรภิกษุผู้ใดพึงกล่าวว่า ภพเป็นไฉน
    และภพนี้เป็นของใคร หรือพึงกล่าวว่า ภพเป็นอย่างอื่น และภพนี้เป็นของผู้อื่น คำทั้งสองของ
    ผู้นั้น มีเนื้อความอย่างเดียวกันต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น ดูกรภิกษุ เมื่อมีทิฐิว่า ชีพก็อันนั้น
    สรีระก็อันนั้นความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี หรือเมื่อมีทิฐิว่า ชีพอย่างหนึ่ง
    สรีระอย่างหนึ่ง ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี ดูกรภิกษุ ตถาคตย่อมแสดงธรรมโดยสายกลาง
    ไม่ข้องแวะส่วนสุดทั้งสองนั้น ดังนี้ว่า เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ ...
    เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน ... เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา ... เพราะผัสสะเป็นปัจจัย
    จึงมีเวทนา ... เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ ... เพราะนามรูปเป็นปัจจัย
    จึงมีสฬายตนะ ... เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป ... เพราะสังขารเป็นปัจจัย
    จึงมีวิญญาณ ... ฯ
    [๑๓๒] ภิกษุรูปหนึ่งทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สังขารเป็นไฉนและสังขาร
    นี้เป็นของใคร พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ตั้งปัญหายังไม่ถูกดูกรภิกษุ ผู้ใดพึงกล่าวว่า
    สังขารเป็นไฉน และสังขารนี้เป็นของใคร หรือพึงกล่าวว่า สังขารเป็นอย่างอื่น และสังขาร
    นี้เป็นของผู้อื่น คำทั้งสองของผู้นั้น มีเนื้อความอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น
    ดูกรภิกษุ เมื่อมีทิฐิว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี
    หรือเมื่อมีทิฐิว่า ชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี
    ดูกรภิกษุ ตถาคตย่อมแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่ข้องแวะส่วนสุดทั้งสองนั้นดังนี้ว่า
    เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร ฯ
    [๑๓๓] ดูกรภิกษุ ทิฐิไม่ว่าชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่เป็นข้าศึก อันบุคคลเสพผิด
    ส่ายหาไปว่า ชราและมรณะเป็นไฉน และชรามรณะนี้เป็นของใครหรือว่าชรามรณะเป็นของผู้อื่น
    และชรามรณะเป็นของผู้อื่น ว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง
    สรีระอย่างหนึ่ง ทิฐิเหล่านั้นทั้งสิ้น อันอริยสาวกนั้นละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว กระทำให้
    เป็นดังตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา
    เพราะวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ ฯ
    [๑๓๔] ดูกรภิกษุ ทิฐิไม่ว่าชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่เป็นข้าศึก อันบุคคลเสพผิด
    ส่ายหาไปว่า ชาติเป็นไฉน และชาตินี้เป็นของใคร หรือว่าชาติเป็นอย่างอื่น
    และชาตินี้เป็นของผู้อื่น ว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง
    ทิฐิเหล่านั้นทั้งสิ้น อันอริยสาวกนั้นละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว กระทำให้เป็นดังตาลยอดด้วน
    ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา เพราะวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่มีเหลือ ฯ
    [๑๓๕] ดูกรภิกษุ ทิฐิไม่ว่าชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่เป็นข้าศึก อันบุคคลเสพผิด
    ส่ายหาไปว่า ภพเป็นไฉน และภพนี้เป็นของใคร หรือว่าภพเป็นอย่างอื่น และภพนี้เป็นของผู้อื่น
    ว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ทิฐิเหล่านั้นทั้งสิ้น
    อันอริยสาวกนั้นละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว กระทำให้เป็นดังตาลยอดด้วน
    ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ ...
    อุปาทานเป็นไฉน ...ตัณหาเป็นไฉน ... เวทนาเป็นไฉน ... ผัสสะเป็นไฉน ... สฬายตนะเป็นไฉน ...
    นามรูปเป็นไฉน ... วิญญาณเป็นไฉน ... ฯ
    [๑๓๖] ดูกรภิกษุ ทิฐิไม่ว่าชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่เป็นข้าศึก อันบุคคลเสพผิด ส่ายหาไปว่า
    สังขารเป็นไฉน และสังขารนี้เป็นของใคร หรือว่าสังขารเป็นอย่างอื่น
    และสังขารนี้เป็นของผู้อื่นว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง
    ทิฐิเหล่านั้นทั้งสิ้น อันอริยสาวกนั้นละได้แล้วตัดรากขาดแล้ว กระทำให้เป็นดังตาลยอดด้วน
    ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ ฯ
    จบ สูตรที่ ๕
    ๖. อวิชชาปัจจยสูตร ที่ ๒
    [๑๓๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
    เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
    จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้
    ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
    [๑๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวว่า ชรามรณะเป็นไฉน และชรามรณะนี้
    เป็นของใคร หรือพึงกล่าวว่า ชรามรณะเป็นอย่างอื่น และชรามรณะนี้เป็นองผู้อื่น
    คำทั้งสองของผู้นั้น มีเนื้อความอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น เมื่อมีทิฐิว่า
    ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันั้น ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี หรือเมื่อมีทิฐิว่า ชีพอย่างหนึ่ง
    สรีระอย่างหนึ่ง ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตย่อมแสดง
    ธรรมโดยสายกลางไม่ข้องแวะส่วนสุดทั้งสองนั้น ดังนี้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย
    จึงมีชรามรณะ ฯลฯ
    ชาติเป็นไฉน ... ภพเป็นไฉน ... อุปาทานเป็นไฉน ... ตัณหาเป็นไฉน ...เวทนาเป็นไฉน ...
    ผัสสะเป็นไฉน ... สฬายตนะเป็นไฉน ... นามรูปเป็นไฉน ...วิญญาณเป็นไฉน ... ฯ
    [๑๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวว่า สังขารเป็นไฉน และสังขารนี้เป็นของใคร
    หรือพึงกล่าวว่า สังขารเป็นอย่างอื่น และสังขารนี้เป็นของผู้อื่น คำทั้งสอง
    ของผู้นั้น มีเนื้อความอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้นเมื่อมีทิฐิว่า ชีพก็อันนั้น
    สรีระก็อันนั้น ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มีหรือเมื่อมีทิฐิว่า ชีพอย่างหนึ่ง
    สรีระอย่างหนึ่ง ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตย่อมแสดง
    ธรรมโดยสายกลาง ไม่ข้องแวะส่วนสุดทั้งสองนั้น ดังนี้ว่า
    เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร ฯลฯ
    [๑๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทิฐิไม่ว่าชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่เป็นข้าศึก อันบุคคลเสพผิด
    ส่ายหาไปว่า ชรามรณะเป็นไฉน และชรามรณะเป็นของใครหรือว่าชรามรณะเป็นอย่างอื่น
    และชรามรณะนี้เป็นของผู้อื่น ว่าชีพก็อันนั้นสรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง
    ทิฐิเหล่านั้นทั้งสิ้น อันอริยสาวกนั้นละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว
    กระทำให้เป็นดังตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา
    เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ ฯ
    [๑๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทิฐิไม่ว่าชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่เป็นข้าศึก อันบุคคลเสพผิด
    ส่ายหาไปว่า ชาติเป็นไฉน และชาตินี้เป็นของใคร หรือว่าชาติเป็นอย่างอื่น
    และชาตินี้เป็นของผู้อื่น ว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง
    ทิฐิเหล่านั้นทั้งสิ้น อันอริยสาวกนั้นละได้แล้วตัดรากขาดแล้ว กระทำให้เป็นดังตาล
    ยอดด้วน ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา
    เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ ฯลฯ
    ภพเป็นไฉน ... อุปาทานเป็นไฉน ... ตัณหาเป็นไฉน ... เวทนาเป็นไฉน ... ผัสสะเป็นไฉน ...
    สฬายตนะเป็นไฉน ... นามรูปเป็นไฉน ... นามรูปเป็นไฉน ... วิญญาณเป็นไฉน ... ฯ
    [๑๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทิฐิไม่ว่าชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่เป็นข้าศึก อันบุคคลเสพติด
    ส่ายหาไปว่า สังขารเป็นไฉน และสังขารนี้เป็นของใคร หรือว่าสังขารเป็นอย่างอื่น และสังขารนี้
    เป็นของผู้อื่น ว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้นหรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ทิฐิเหล่านั้น
    ทั้งสิ้น อันอริยสาวกนั้นละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว กระทำให้เป็นดังตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี
    มีอันไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ ฯ
    จบ สูตรที่ ๖
    ๗. นตุมหากํสูตร
    [๑๔๓] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
    เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายนี้ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย
    ทั้งไม่ใช่ของผู้อื่น ดูกรภิกษุทั้งหลายกรรมเก่านี้พึงเห็นว่า อันปัจจัยปรุงแต่ง เกิดขึ้นด้วยความตั้งใจ
    เป็นที่ตั้งของเวทนา ฯ
    [๑๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วในเรื่องกายนั้น ย่อมมนสิการโดย
    แยบคาย ซึ่งปฏิจจสมุปบาทเป็นอย่างดีว่า เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น
    เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ ด้วยประการดังนี้ คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
    จึงมีสังขารเพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์
    ทั้งมวลนี้ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ก็เพราะอวิชชาดับโดยสำรอกไม่เหลือ สังขารจึงดับ
    เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
    จบ สูตรที่ ๗
    ๘. เจตนาสูตรที่ ๑
    [๑๔๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
    เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมจงใจ
    ย่อมดำริ และครุ่นคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นเป็นอารัมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ
    เมื่อมีอารัมณปัจจัย ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงมีเมื่อวิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้ว
    ความบังเกิดคือภพใหม่ต่อไปจึงมี เมื่อมีความบังเกิดคือภพใหม่ต่อไป ชาติ ชราและมรณะ
    โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส จึงมีต่อไป ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อม
    มีด้วยประการอย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ แต่ยังครุ่นคิดถึงสิ่งใด
    สิ่งนั้นเป็นอารัมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่อมีอารัมณปัจจัย ความตั้งมั่นแห่ง
    วิญญาณจึงมี เมื่อวิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้ว ความบังเกิดคือภพใหม่ต่อไป
    จึงมี เมื่อมีความบังเกิดคือภพใหม่ต่อไป ชาติชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัส
    และอุปายาสจึงมีต่อไป ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
    [๑๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ และไม่ครุ่นคิดถึงสิ่งใด
    สิ่งนั้นย่อมไม่เป็นอารัมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่อไม่มีอารัมณปัจจัย ความตั้งมั่น
    แห่งวิญญาณจึงไม่มี เมื่อวิญญาณนั้นไม่ตั้งมั่นแล้ว ไม่เจริญขึ้นแล้ว ความบังเกิดคือภพใหม่ต่อไปจึงไม่มี
    เมื่อความบังเกิดคือภพใหม่ต่อไปไม่มี ชาติชราและมรณะ โสกปริเทวทุกข
    โทมนัสและอุปายาสต่อไปจึงดับความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
    จบ สูตรที่ ๘
    ๙. เจตนาสูตรที่ ๒
    [๑๔๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
    เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมจงใจ
    ย่อมดำริ และครุ่นคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นย่อมเป็นอารัมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ
    เมื่อมีอารัมณปัจจัย ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงมี เมื่อวิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้ว
    ความหยั่งลงแห่งนามรูปจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะ
    เป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
    จึงมีตัณหาเพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
    เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกข
    โทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ แต่ยังครุ่นคิดถึงสิ่งใด
    สิ่งนั้นย่อมเป็นอารัมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่อมีอารัมณปัจจัย ความตั้งมั่น
    แห่งวิญญาณจึงมี เมื่อวิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้ว ความหยั่งลงแห่งนามรูปจึงมี
    เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
    เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย
    จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
    เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะโสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้น
    แห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
    [๑๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ และไม่ครุ่นคิดถึงสิ่งใด
    สิ่งนั้นย่อมไม่เป็นอารัมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่อไม่มีอารัมณปัจจัย
    ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงไม่มี เมื่อวิญญาณนั้นไม่ตั้งมั่นแล้วไม่เจริญขึ้นแล้ว ความหยั่งลง
    แห่งนามรูปจึงไม่มี เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
    เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับเพราะเวทนาดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ
    ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสต่อไปจึงดับ
    ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
    จบ สูตรที่ ๙
    ๑๐. เจตนาสูตรที่ ๓
    [๑๔๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
    เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมจงใจ
    ย่อมดำริ และย่อมครุ่นคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นย่อมเป็นอารัมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ
    เมื่อมีอารัมณปัจจัย ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงมี เมื่อวิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้ว
    ตัณหาจึงมี เมื่อมีตัณหา คติในการเวียนมาจึงมี เมื่อมีคติในการเวียนมา จุติและอุปบัติจึงมี
    เมื่อมีจุติและอุปบัติ ชาติ ชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงมี ความเกิดขึ้น
    แห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ
    แต่ยังครุ่นคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นย่อมเป็นอารัมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่อมีอารัมณ
    ปัจจัย ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงมี เมื่อวิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้ว ตัณหาจึงมี
    เมื่อมีตัณหา คติในการเวียนมาจึงมี เมื่อมีคติในการเวียนมา จุติและอุปบัติจึงมี เมื่อมีจุติและอุปบัติ
    ชาติชราและมรณะโสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงมี ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้
    ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
    [๑๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ และไม่ครุ่นคิดถึงสิ่งใด
    สิ่งนั้นย่อมไม่เป็นอารัมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่อไม่มีอารัมณปัจจัย
    ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงไม่มี เมื่อวิญญาณนั้นไม่ตั้งมั่นแล้วไม่เจริญขึ้นแล้ว ตัณหาจึงไม่มี เมื่อไม่มีตัณหา
    คติในการเวียนมาจึงไม่มี เมื่อไม่มีคติในการเวียนมา จุติและอุปบัติจึงไม่มี เมื่อไม่มีจุติและอุปบัติ
    ชาติ ชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสต่อไปจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้
    ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้
    จบ สูตรที่ ๑๐
     

แชร์หน้านี้

Loading...