ผู้พึงปลงใจเชื่อในพระตถาคต จักเห็นแจ้ง “อมตธรรม”

ในห้อง 'พระไตรปิฎก เสียงอ่าน' ตั้งกระทู้โดย บุญญสิกขา, 1 พฤษภาคม 2011.

  1. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    [​IMG]



    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔
    อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต<o></o>​

    [๓๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๖ ประการ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ชอบการงาน ๑ ความเป็นผู้ชอบคุย ๑ ความเป็นผู้ชอบหลับ ๑ ความเป็นผู้ชอบคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ๑ ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑ ความเป็นผู้ไม่รู้ประมาณในโภชนะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้ไม่ควรเพื่อพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ<o></o>
    <o></o>
    [๓๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการ เป็นผู้ควรเพื่อพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ชอบการงาน ๑ ความเป็นผู้ชอบคุย ๑ ความเป็นผู้ชอบหลับ ๑ ความเป็นผู้ชอบคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ๑ ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑ ความเป็นผู้ไม่รู้ประมาณในโภชนะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้ควรเพื่อพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ<o></o>
    <o></o>
    [๓๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๖ ประการ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อพิจารณาเห็นกายในกายเป็นภายในอยู่ ฯลฯ<o></o>
    เพื่อพิจารณาเห็นกายในกายเป็นภายนอกอยู่ ฯลฯ<o></o>
    เพื่อพิจารณาเห็นกายในกายทั้งกายในภายนอกอยู่ ฯลฯ<o></o>
    <o></o>
    [๓๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๖ ประการ เป็นผู้ไม่ควร<o></o>
    เพื่อพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ ฯลฯ<o></o>
    เพื่อพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายเป็นภายในอยู่ ฯลฯ<o></o>
    เพื่อพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายเป็นภายนอกอยู่ ฯลฯ<o></o>
    เพื่อพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ ฯลฯ<o></o>
    <o></o>
    [๓๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๖ ประการ เป็นผู้ไม่ควร<o></o>
    เพื่อพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ<o></o>
    เพื่อพิจารณาเห็นจิตในจิตเป็นภายในอยู่ ฯลฯ<o></o>
    เพื่อพิจารณาเห็นจิตในจิตเป็นภายนอกอยู่ ฯลฯ<o></o>
    เพื่อพิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งในภายในทั้งในภายนอกอยู่ ฯลฯ<o></o>
    <o></o>
    [๓๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๖ ประการ เป็นผู้ไม่ควร<o></o>
    เพื่อพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ ฯลฯ<o></o>
    เพื่อพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายเป็นภายในอยู่ ฯลฯ<o></o>
    เพื่อพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายเป็นภายนอกอยู่ ฯลฯ<o></o>
    เพื่อพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ ธรรม๖ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ชอบการงาน ... ความเป็นผู้ไม่รู้ประมาณในโภชนะ <o></o>
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้ไม่ควรเพื่อพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ ฯ<o></o>
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๖ ประการ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายเป็นภายในอยู่ ฯลฯ เพื่อพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายเป็นภายนอกอยู่ ฯลฯ เพื่อพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายทั้งภายในภายนอกอยู่ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ชอบการงาน ... ความเป็นผู้ไม่รู้ประมาณในโภชนะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้ไม่ควรเพื่อพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายทั้งภายในภายนอกอยู่ ฯ<o></o>
    <o></o>
    [๓๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการ เป็นผู้ควรเพื่อพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายทั้งภายในภายนอกอยู่ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ชอบการงาน ฯลฯ ความเป็นผู้ไม่รู้ประมาณในโภชนะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้ควรเพื่อพิจารณาเห็นธรรมในธรรม<o></o>ทั้งหลายทั้งภายในภายนอกอยู่ ฯ<o></o>
    <o></o>
    [๓๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตปุสสคฤหบดี ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เป็นผู้พึงปลงใจเชื่อใน พระตถาคต เห็นอมตธรรม ทำให้แจ้งอมตธรรมอยู่ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้า ๑ ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ๑ ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ๑ อริยศีล ๑ อริยญาณ ๑ อริยวิมุติ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตปุสสคฤหบดีประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้พึงปลงใจเชื่อในพระตถาคต เห็นอมตธรรม ทำให้แจ้งอมตธรรมอยู่ ฯ
    <o></o>
    [๓๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัลลิกคฤหบดี อนาถบิณฑิกสุทัตตคฤหบดี จิตตคฤหบดีชาวมัจฉิกาสัณฑนคร หัตถกคฤหบดีชาวเมืองอาฬวี เจ้าศากยะ พระนามว่ามหานามะ อุคคคฤหบดีชาวเมืองเวสาลี อุคคตคฤหบดี สูรอัมพัฏฐคฤหบดี ชีวกโกมารภัจ นกุลบิดาคฤหบดี ตวกัณณกคฤหบดี ปูรณคฤหบดี อิสิทัตตคฤหบดี สันธานคฤหบดี วิชยคฤหบดี วัชชิยมหิตคฤหบดี เมณฑกคฤหบดี วาเสฏฐอุบาสก อริฏฐอุบาสก สาทัตตอุบาสก ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เป็นผู้ปลงใจเชื่อในพระตถาคต เห็นอมตธรรม ทำให้แจ้งซึ่งอมตธรรมอยู่ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ๑ ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ๑ ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ๑ อริยศีล ๑ อริยญาณ ๑ อริยวิมุติ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สาทัตตอุบาสกประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้ปลงใจเชื่อในพระตถาคต เห็นอมตธรรม ทำให้แจ้งอมตธรรมอยู่ ฯ<o></o>
    <o></o>
    [๓๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการ อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อรู้ยิ่งราคะ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ ทัสสนานุตตริยะ ๑ สวนานุตตริยะ ๑ลาภานุตตริยะ ๑ สิกขานุตตริยะ ๑ ปาริจริยานุตตริยะ ๑ อนุสสตานุตตริยะ ๑ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการนี้ อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อรู้ยิ่งราคะ ฯ<o></o>
    <o></o>
    [๓๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการ อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อรู้ยิ่งราคะ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ พุทธานุสสติ ๑ ธัมมานุสสติ ๑สังฆานุสสติ ๑ สีลานุสสติ ๑ จาคานุสสติ ๑ เทวตานุสสติ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการนี้แล อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อรู้ยิ่งราคะ ฯ<o></o>
    <o></o>
    [๓๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการ อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อรู้ยิ่งราคะ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ อนิจจสัญญา ๑ อนิจเจทุกขสัญญา ๑ ทุกเขอนัตตสัญญา ๑ ปหานสัญญา ๑ วิราคสัญญา ๑ นิโรธสัญญา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการนี้แล อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อรู้ยิ่งราคะ ฯ<o></o>
    <o></o>
    [๔๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการ อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อกำหนดรู้ราคะ ฯลฯ เพื่อความสิ้นไปรอบแห่งราคะ เพื่อละราคะ เพื่อสิ้นไปแห่งราคะ เพื่อเสื่อมไปแห่งราคะ เพื่อความคลายกำหนัดราคะ เพื่อดับราคะเพื่อสละราคะ เพื่อปล่อยวางราคะ ฯลฯ<o></o>
    <o></o>
    [๔๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการ อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไปรอบ เพื่อละ เพื่อสิ้นไป เพื่อเสื่อมไปเพื่อคลายไป เพื่อดับ เพื่อสละ เพื่อปล่อยวาง ซึ่งโทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปฬาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเถยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ ฯลฯ <o></o>
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการนี้แลอันภิกษุพึงให้เจริญ เพื่อปล่อยวางปมาทะ ฯ<o></o>
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้จบลงแล้ว ภิกษุเหล่านั้นชื่นชม ยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล ฯ<o></o>

    จบฉักกนิบาต<o></o>​

    ----------------------------------------------------
    <o></o>

    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ บรรทัดที่ ๑๐๕๗๔ - ๑๐๖๖๕. หน้าที่ ๔๖๒ - ๔๖๕.
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=22&A=10574&Z=10665&pagebreak=0




    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.1476048/[/MUSIC]​


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 พฤษภาคม 2011
  2. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    ขอบนอบน้อมแด่ "พระธรรมเจ้า" ทั่งมวล

    [​IMG]



    “…อมตนิพพาน คือ ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง
    ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ ความออกจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด…”


    โสฬสมาณวกปัญหานิทเทส (๓๐ : ๒๑๐)


    ด้วยผลานิสงส์การอ่านพระไตรปิฏก
    ที่ข้าพเจ้าได้กระทำไว้อันดีแล้วด้วยจิตบริสุทธิ์


    ขอการปฏิบัติบุญกิริยานี้บูชาคุณพระพุทธเจ้า คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์
    บูชาคุณมารดาบิดา คุณครูบาอาจารย์ และคุณพระกรรมฐานเจ้า

    ขออานิสงฆ์แห่งมหาธรรมทานจงมีไปสู่ทุกสรรพชิวิต
    ขอให้ดวงจิตข้าพเจ้า และทุกดวงจิตทุกดวงวิญญาณ ได้รับรสพระธรรมแล้ว มีจิตผ่องใส
    เป็นบ่อที่เกิดแห่งคุณ คือ ศรัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ สูตะ จาคะ ปัญญา มีความเพียร และขันติ
    เป็นผู้กำเนิดแห่งไตรเหตุ (อโลภะ อโทสะ อโมหะ)
    ได้ญาณเป็นเครื่องรู้เฉพาะตนอันสูงสุด
    และห่างไกลพ้นเขตมารทั้งหลายโดยพลันและตลอดกาลเทอญ<o></o>

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 พฤษภาคม 2011
  3. อกนิษฐกา

    อกนิษฐกา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    219
    ค่าพลัง:
    +117
    [๓๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๖ ประการ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อพิจารณาเห็นกาย

    ในกายอยู่ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ

    ความเป็นผู้ชอบการงาน ๑

    ความเป็นผู้ชอบคุย ๑

    ความเป็นผู้ชอบหลับ ๑

    ความเป็นผู้ชอบคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ๑

    ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑

    ความเป็นผู้ไม่รู้ประมาณในโภชนะ ๑

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้ไม่ควรเพื่อพิจารณาเห็นกายใน

    กายอยู่ ฯ


    สาธุ สัพพะทานัง ธรรมะทานัง ชินาติ

    สาธุ นิพพานะ ปัจจะโยโหตุ

    สาธุ นิพพานัง ปะระมังสุขัง
     
  4. อกนิษฐกา

    อกนิษฐกา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    219
    ค่าพลัง:
    +117
    “…อมตนิพพาน คือ ความสงบสังขารทั้งปวง

    ความสละคืนอุปธิทั้งปวง

    ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ ความออกจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด…”

    โสฬสมาณวกปัญหานิทเทส (๓๐ : ๒๑๐)


    ด้วยผลานิสงส์การอ่านพระไตรปิฏก ที่ข้าพเจ้าได้กระทำไว้อันดีแล้วด้วยจิตบริสุทธิ์

    ขอการปฏิบัติบุญกิริยานี้บูชาคุณพระพุทธเจ้า คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์ บูชาคุณมารดา

    บิดา คุณครูบาอาจารย์ และคุณพระกรรมฐานเจ้า

    ขออานิสงฆ์แห่งมหาธรรมทานจงมีไปสู่ทุกสรรพชิวิต

    ขอให้ดวงจิตข้าพเจ้า และทุกดวงจิตทุกดวงวิญญาณ ได้รับรสพระธรรมแล้ว มีจิตผ่องใส

    เป็นบ่อที่เกิดแห่งคุณ คือ ศรัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ สูตะ จาคะ ปัญญา มีความเพียร และ

    ขันติเป็นผู้กำเนิดแห่งไตรเหตุ (อโลภะ อโทสะ อโมหะ)ได้ญาณเป็นเครื่องรู้เฉพาะตนอัน

    สูงสุดและห่างไกลพ้นเขตมารทั้งหลายโดยพลันและตลอดกาลเทอญ


    สาธุ สัพพะทานัง ธรรมะทานัง ชินาติ

    สาธุ นิพพานะ ปัจจะโยโหตุโนนิจจัง

    สาธุ นิพพานัง ปะระมังสุญญัง

    สาธุ นิพพานัง ปะระมังสุขัง
     
  5. อกนิษฐกา

    อกนิษฐกา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    219
    ค่าพลัง:
    +117
    [๓๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตปุสสคฤหบดี ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เป็นผู้พึงปลงใจ

    เชื่อใน พระตถาคต เห็นอมตธรรม ทำให้แจ้งอมตธรรมอยู่ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ

    ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้า ๑

    ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ๑

    ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ๑

    อริยศีล ๑

    อริยญาณ ๑

    อริยวิมุติ ๑

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตปุสสคฤหบดีประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้พึงปลงใจเชื่อ

    ในพระตถาคต เห็นอมตธรรม ทำให้แจ้งอมตธรรมอยู่ ฯ



    สาธุ สัพพะทานัง ธรรมะทานัง ชินาติ

    สาธุ นิพพานะ ปัจจะโยโหตุโนนิจจัง

    สาธุ นิพพานัง ปะระมังสุญญัง

    สาธุ นิพพานัง ปะระมังสุขัง

    สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามะ
     
  6. อกนิษฐกา

    อกนิษฐกา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    219
    ค่าพลัง:
    +117
    [๓๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการ อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อรู้ยิ่งราคะ

    ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ

    ทัสสนานุตตริยะ ๑

    สวนานุตตริยะ ๑

    ลาภานุตตริยะ ๑

    สิกขานุตตริยะ ๑

    ปาริจริยานุตตริยะ ๑

    อนุสสตานุตตริยะ ๑

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการนี้ อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อรู้ยิ่งราคะ ฯ

    ความหมายอนุตตริยะ ๖ ประการ
    http://palungjit.org/threads/46-%E0%B8%A8-28-%E0%B8%A1%E0%B8%B5-%E0%B8%84-51-%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3-%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A1-%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A1.120466/
     
  7. อกนิษฐกา

    อกนิษฐกา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    219
    ค่าพลัง:
    +117
    [๓๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการ อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อรู้ยิ่งราคะ

    ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ

    พุทธานุสสติ ๑

    ธัมมานุสสติ ๑

    สังฆานุสสติ ๑

    สีลานุสสติ ๑

    จาคานุสสติ ๑

    เทวตานุสสติ ๑

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการนี้แล อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อรู้ยิ่งราคะ ฯ


    [๓๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการ อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อรู้ยิ่งราคะ

    ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ

    อนิจจสัญญา(กำหนดหมาย ความไม่เที่ยงแห่งสังขาร) ๑

    อนิจเจทุกขสัญญา(กำหนดหมาย ความไม่เที่ยง ความทนอยู่ตลอดไปไม่ได้แห่งสังขาร) ๑

    ทุกเขอนัตตสัญญา(กำหนดหมาย ความทนอยู่ตลอดไปไม่ได้ ความสลายตัวไปในที่สุด

    เป็นของว่างเปล่าไม่ใช่ตน แห่งสังขารทั้งปวง) ๑

    ปหานสัญญา(กำหนดหมาย เพื่อละอกุศลวิตกและบาปธรรมทั้งหลาย) ๑

    วิราคสัญญา(กำหนดหมาย ความสิ้นไปแห่งราุคะ) ๑

    นิโรธสัญญา(กำหนดหมาย ความดับทุกข์) ๑

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการนี้แล อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อรู้ยิ่งราคะ ฯ



    [๔๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการ อัน

    ภิกษุพึงให้เจริญเพื่อกำหนดรู้ราคะ ฯลฯ

    เพื่อความสิ้นไปรอบแห่งราคะ

    เพื่อละราคะ

    เพื่อสิ้นไปแห่งราคะ

    เพื่อเสื่อมไปแห่งราคะ

    เพื่อความคลายกำหนัดราคะ

    เพื่อดับราคะเพื่อสละราคะ

    เพื่อปล่อยวางราคะ ฯลฯ



    [๔๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการ อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อรู้ยิ่ง

    เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไปรอบ เพื่อละ เพื่อสิ้นไป เพื่อเสื่อมไปเพื่อคลายไป เพื่อดับ

    เพื่อสละ เพื่อปล่อยวาง ซึ่ง

    โทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปฬาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเถยยะ ถัมภะ สารัม

    ภะ มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ ฯลฯ


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการนี้แลอัน

    ภิกษุพึงให้เจริญ เพื่อปล่อยวางปมาทะ ฯ



    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้จบลงแล้ว

    ภิกษุเหล่านั้นชื่นชม ยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล ฯ


    สาธุ สาธุ สาธุ
     
  8. ปฐมฌาณ

    ปฐมฌาณ เป็นและตาย..อยู่ใกล้กัน..เพียงลมหายใจ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2009
    โพสต์:
    486
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,870
    ภิกษุผู้มีกายสงบ..
    มีวาจาสงบ..มีใจสงบ
    ผู้ตั้งมั่นดีแล้ว
    มีอามิสในโลกอันคายเสียแล้ว
    เราเรียกว่า......................... ผู้สงบระงับ

    จากเรื่อง พระสันตกายเถระ ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่มที่๔๓ หน้า ๓๘๖-๓๘๗
     
  9. จานจ่อย

    จานจ่อย สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2012
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +12
    ผู้พึงปลงใจเชื่อในพระตถาคต จักเห็นแจ้ง "อมตธรรม"

    พระพุทธองค์เป็นผู้ชี้บอกทางเดิน ว่าทางนี้ตรงไม่มีอุปสรรค ไม่มีอันตราย ถึงที่หมายเร็วและปลอดภัย ใครเชื่อและปฏิบัติตามก็จะเห็นแจ้งด้วยใจของตนเอง ส่วนคนที่ไม่เชื่อ ก็ใช่ว่าจะไปไม่ถึงที่หมาย ถึงเหมือนกันแต่ช้า หรืออาจจะไม่ถึงก็ได้ เพราะเจออุปสรรคในระหว่างทางจนเอาชีวิตไม่รอด "พระพุทธองค์ไม่ทรงบังคับใครให้เชื่อหรือให้ทำตามที่พระองค์ตรัสบอก"ฯ
     
  10. พระประดับ

    พระประดับ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    104
    ค่าพลัง:
    +35
    ผู้ที่เห็นว่า สังขาร(การปรุงแต่ง)ทั้งหลายเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ และหาทางทำยังไงให้
    สังขาร ระงับลง หยุดลง วางลง ดับลง ไปได้ จิตผู้นั้นย่อมเข้าหนทาง ทำมรรคให้เกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน...นี่เป็นทางเดินของจิต ที่จะรู้จัก นี่ทุกข์ นี่เหตุให้เกิดทุกข์ นี่ความดับทุกข์ นี่ข้อปฎิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ ทำตาในให้เห็นอย่างนี้ จึงจะได้ชื่อว่าเห็น อมตธรรม ตามหัวข้อกระทู้นี้ จิตเจริญธรรม
     

แชร์หน้านี้

Loading...