ผู้ที่ศึกษา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย รสมน, 28 มกราคม 2010.

  1. รสมน

    รสมน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,451
    ค่าพลัง:
    +2,047
    ผู้ที่ศึกษาพระธรรมจนเข้าใจระดับหนึ่งแล้ว เริ่มศึกษาตัวสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ

    แต่ยังไม่แล้ว คือ ต้องค่อยๆสะสมอบรมความเข้าใจ สะสมสติสัมปชัญญะไปเรื่อยๆ

    จนกว่าปัญญาจะสมบูรณ์ จนถึงความเป็นพระอริยะขั้นพระอรหันต์ ซึ่งไม่รู้ว่าอีกกี่

    ร้อย อีกกี่พัน อีกกี่แสนชาติ หรืออีกกี่กัป ก็ยังไม่ทราบ ดังนั้นการศึกษา การฟังก็ต้อง

    มีต่อไปเรื่อยๆ ครับ
    คำว่า สติปัฏฐาน มี ๓ ความหมาย คือ

    ๑. สติปัฏฐาน เป็นปรมัตถอารมณ์ คือ นามธรรมและรูปธรรมที่สติ

    ระลึกรู้

    (สติปัฏฐาน ๔)

    ๒. สติปัฏฐาน เป็นสติเจตสิกที่เกิดกับกามาวจรญาณสัมปยุตตจิต

    ซึ่งระลึกรู้อารมณ์ที่เป็นสติปัฏฐาน

    ๓. สติปัฏฐาน เป็นหนทางที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระ

    อริยสาวกดำเนินไปแล้ว



    สติปัฏฐาน ก็คือ วิปัสสนา

    หากเจริญให้มากจนถึงระดับหนึ่งแล้ว

    ก็จะละ สักกายทิฏฐิ ได้

    จนไปถึงระดับที่เป็นพระอริยบุคคลได้ครับ

    หากเป็นพระอริยบุคคลแล้วถามว่าจะทำอะไรต่อไป

    ตอบว่าก็ขึ้นอยู่กับอัธยาศัยของผู้นั้นแล้วหละครับ

    ว่าจะเมตตาช่วยเหลือผู้อื่นผู้ยังไม่ถึงความเป็นอริยบุคคลหรือไม่ ?

    หากได้เป็นถึงระดับพระอรหันต์ แต่ยังเป็นปุถุชนอยู่ ก็จะดับขันธ์เองภายใน 7 วัน

    แต่หากเป็นภิกษุ จะยังไม่ดับขันธ์ก่อน เพราะมีหน้าที่เผยแพร่พระพุทธศาสนาต่อไปครับ
    จะเห็นว่าความเข้าใจพระธรรม คำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นไม่ได้ขึ้น

    กับเชื้อชาติ หรือสถานที่เลย แต่ขึ้นอยู่กับการสะสมปัญญามาพอที่จะเข้าใจพระธรรมที่

    สุขุมลุ่มลึก ยากจะรู้ตามเช่นนี้ ได้หรือไม่ แม้ชาวพุทธเองก็ยังแบ่งแยกออกไปหลาย

    นิกาย นำคำสอนของพระองค์ไปประยุกต์ตามความเชื่อ ความเข้าใจของตน แม้แต่

    นิกายเดียวกัน ความเข้าใจที่ไม่ลึกซึ้งพอ ก็ยังนำพระธรรมมาสอนตามความเข้าใจของ

    ตน และมีผู้นับถือมากมาย แต่อย่าลืมว่า พระพุทธศาสนานั้นคือศาสนาของผู้รู้ เมื่อไม่รู้

    จริง ก็เป็นเพียงความเชื่ออย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่พระพุทธศาสนา พระธรรมคำสอนนั้น

    ไม่สาธารณะสำหรับทุกคนจริงๆ แม้ในครั้งพุทธกาลก็ยังมีความเชื่อหลากหลาย บัดนี้

    เวลาผ่านไปสองพันกว่าปี จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า เหตุการณ์ของครูทั้ง ๖ ในสมัย

    พุทธกาลก็ยังมีปรากฏอยู่

    "...แต่อย่าลืมว่า พระพุทธศาสนานั้นคือศาสนาของผู้รู้ เมื่อไม่รู้

    จริง ก็เป็นเพียงความเชื่ออย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่พระพุทธศาสนา พระธรรมคำสอนนั้น

    ไม่สาธารณะสำหรับทุกคนจริงๆ..."

    และ

    "...ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตานั้น ต้องเป็นอนัตตาแต่เริ่มต้นทีเดียว

    ไม่ใช่ไปบังคับว่าต้องมีวิธีทำอย่างนั้น

    อย่างนี้ ปัญญาจึงจะเกิด แต่เพราะศึกษาพระธรรมมากพอที่จะเข้าใจคำสอน...

    ......จึงจะเป็นสังขารขันธ์ปรุงแต่งให้สติเกิดระลึกลักษณะของสภาพธรรม

    ที่กำลังปรากฏในขณะนี้ตามความเป็นจริง แล้วปัญญาจึงจะรู้ชัดในลักษณะนั้นๆ ตรง

    ตามที่ทรงแสดงไว้ในพระไตรปิฎกว่า ทุกอย่างเป็นธรรม และ ธรรมนั้นไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่

    บุคคล ไม่ใช่ตัวตน คืออย่างไร..."

    "...ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตานั้น ต้องเป็นอนัตตาแต่เริ่มต้นทีเดียว

    ไม่ใช่ไปบังคับว่าต้องมีวิธีทำอย่างนั้น

    อย่างนี้ ปัญญาจึงจะเกิด แต่เพราะศึกษาพระธรรมมากพอที่จะเข้าใจคำสอน...

    ......จึงจะเป็นสังขารขันธ์ปรุงแต่งให้สติเกิดระลึกลักษณะของสภาพธรรม

    ที่กำลังปรากฏในขณะนี้ตามความเป็นจริง แล้วปัญญาจึงจะรู้ชัดในลักษณะนั้นๆ ตรง

    ตามที่ทรงแสดงไว้ในพระไตรปิฎกว่า ทุกอย่างเป็นธรรม และ ธรรมนั้นไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่

    บุคคล ไม่ใช่ตัวตน คืออย่างไร..."


    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒-หน้าที่ 277


    การปรินิพพานของพระอานนท์

    ดังได้สดับมา พระอานนทเถระ พิจารณาดูอายุสังขารในกาลที่มี


    อายุได้ ๑๒๐ ปี ทราบความที่อายุนั้นสิ้นไปรอบ จึงบอกว่า " เราจัก


    ปรินิพพานในวันที่ ๗ แต่วันนี้." บรรดามนุษย์ผู้อยู่ที่ฝั่งทั้งสองแห่ง


    แม่น้ำโรหิณี ทราบข่าวนั้นแล้ว ผู้ที่อยู่ฝั่งนี้ กล่าวว่า "พวกเรา มี


    อุปการะมากแก่พระเถระ, พระเถระจักปรินิพพานในสำนักของพวกเรา."


    ผู้ที่อยู่ฝั่งโน้นก็กล่าวว่า " พวกเรามีอุปการะมากแก่พระเถระ, พระเถระ


    จักปรินิพพานในสำนักของพวกเรา." พระเถระฟังคำของชนเหล่านั้นแล้ว


    คิดว่า "แม้พวกชนผู้ที่อยู่ฝั่งทั้งสองก็มีอุปการะแก่เราทั้งนั้น. เราไม่อาจ


    กล่าวว่า ' ชนเหล่านี้ไม่มีอุปการะ' ได้, ถ้าเราจักปรินิพพานที่ฝั่งนี้,


    ผู้อยู่ฝั่งโน้นจักทำการทะเลาะกับพวกฝั่งนี้ เพื่อจะถือเอา (อัฐิ) ธาตุ;


    ถ้าเราจักปรินิพพานที่ฝั่งโน้น, พวกที่อยู่ฝั่งนี้ ก็จักทำเหมือนอย่างนั้น;


    ความทะเลาะแม้เมื่อจะเกิด ก็จักเกิดขึ้นอาศัยเราแน่แท้, แม้เมื่อจะสงบ


    ก็จะสงบอาศัยเราเหมือกัน" ดังนี้แล้ว กล่าวว่า "ทั้งพวกที่อยู่ฝั่งนี้


    ย่อมมีอุปการะแก่เรา, ทั้งพวกที่อยู่ฝั่งโน้น ก็มีอุปการะแก่เรา. ใคร ๆ


    ชื่อว่าไม่มีอุปการะไม่มี; พวกที่อยู่ฝั่งนี้จงประชุมกันที่ฝั่งนี้แหละ, พวก


    ที่อยู่ฝั่งโน้นก็จงประชุมกันที่ฝั่งโน้นแหละ." ในวันที่ ๗ แต่วันนั้น


    พระเถระนั่งโดยบัลลังก์ในอากาศประมาณ ๗ ชั่วลำตาล ในท่ามกลางแห่ง


    แม่น้ำ กล่าวธรรมแก่มหาชนแล้วอธิษฐานว่า "ขอสรีระของเราจงแตก


    ในท่ามกลาง, ส่วนหนึ่งจงตกฝั่งนี้, ส่วนหนึ่งจงตกฝั่งโน้น" นั่งอยู่ตาม


    ปกตินั่นแหละ เข้าสมาบัติมีเตโชธาตุเป็นอารมณ์. เปลวไฟตั้งขึ้นแล้ว.


    สรีระแตกแล้วในท่ามกลาง. ส่วนหนึ่งตกฝั่งนี้; ส่วนหนึ่งตกที่ฝั่งโน้น.


    มหาชนร้องไห้แล้ว. เสียงร้องไห้ ได้เป็นราวกะว่าเสียงแผ่นดินทรุด


    น่าสงสาร แม้กว่าเสียงร้องไห้ในวันปรินิพพานแห่งพระศาสดา. พวก


    มนุษย์ร้องไห้ร่ำไรอยู่ตลอด ๔ เดือน เที่ยวบ่นเพ้ออยู่ว่า " เมื่อพระเถระ


    ผู้รับบาตรจีวรของพระศาสดายังดำรงอยู่, ได้ปรากฏแก่พวกเรา เหมือน


    การที่พระศาสดายังทรงพระชนม์อยู่, บัดนี้ พระศาสดาของพวกเรา

    ปรินิพพานแล้ว."

    เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน กำหนดอิริยาบทย่อย
    สวดมนต์ นั่งสมาธิ เดินจงกรม อนุโมทนากับผู้ใส่บาตรตอนเช้าตามถนนหนทางหลายสาย
    สักการะพระธาตุ ถวายข้าวพระพุทธรูป ได้ฟังธรรม วันนี้ได้ไปปฏิบัติธรรมนอกสถานที่
    ซึ่งป็นป่าไม้ร่มรื่น และได้อุทิศบุญกุศลเจริญอนุสติ 8 อย่าง
    และเราตั้งใจว่าจะทำกิจต่างๆของตนเองให้ครบถ้วนตามที่ได้ตั้งไว้เพื่อเป็นการ
    ตั้งสัจจะแก่ตนเอง และเพื่อที่จะไม่ทำให้เสียสัจจะในตนเอง
    และวันนี้ก็ได้รักษาผู้ป่วยฟรี และตั้งใจว่าจะศึกษาตำราการรักษาโรคต่อไป และวันนี้ก็ได้.
    ศึกษาการรักษาโรคจนทำให้เหนื่อยอ่อนเพลียไปตามตามกัน
    ถึงแม้ว่าจะเหนื่อยแค่ไหนก็ต้องมีวิริยะเพื่อที่จะได้บารมีมาครบทั้ง 10 อย่าง
    และหลังจากได้บารมีตรงนี้มาแล้วก็ทำการอุทิศตลอด และได้อฐิษฐานจิต
    ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย





    ขอเชิญทัวว์ทำบุญกับวัดป่ากรรมฐานกับ สทท สัญจรจังหวัด เลย หนองบัวลำถู อุดรธานี สกลนคร
    และได้นมัสการสังเวชนียสถาน ในวันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์-วันอังคารที่ 2 มีนาคม 2553
    สนใจติดต่อสำรองที่นั่งได้ที่ 022592751, 0891431422
     

แชร์หน้านี้

Loading...