ผู้ที่มีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้เห็นอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมภูต, 26 มีนาคม 2014.

  1. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    [​IMG]

    ผู้ที่มีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้เห็นอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง

    สมาธึ ภิกฺขเว ภาเวถ สมาหิโต ยถาภูตํ ปชานาติ

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จงยังสมาธิให้เกิดขึ้นเถิด
    ผู้ที่มีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริง


    เมื่อกล่าวถึง ศีล สมาธิ ปัญญา ย่อมทราบกันดีว่าย่นย่อมาจากอริยมรรคมีองค์ ๘ นั่นเอง

    ผู้ปฏิบัติส่วนใหญ่มักให้สำคัญกับการพยายามที่จะรักษาศีลให้ได้
    โดยใช้ความตั้งใจพยายามรักษา การคอยระวังแบบที่ว่ามานั้น
    เหมือนข้าวคอยฝน ซึ่งบอกไม่ได้ว่าฝนจะตกเมื่อไหร่

    การรักษาศีลโดยการสร้างสติ จากการปฏิบัติธรรมสมาธิกรรมฐานภาวนานั้น
    เป็นสติปัฏฐาน ๔ ที่เกิดจากการภาวนา ย่อมระลึกรู้ได้รวดเร็ว
    กว่าการคอยระวังตั้งใจให้มีการรักษาศีล
    การมีสติจากการทำสมาธิกรรมฐานภาวนา "ศีลจะคอยรักษาบุคคล" นั้น

    พระพุทธองค์ทรงให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวดในการปฏิบัติธรรมสมาธิกรรมฐานภาวนา
    ทรงตรัสยืนยันหนักแน่นว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย"
    แสดงว่า พระพุทธองค์ทรงมิได้ยกเว้นให้กับพระภิกษุสงฆ์อันเป็นสาวกของพระพุทธองค์เลย

    เพราะบุคคลที่มีจิตใจเป็นสมาธิ มีสติสงบตั้งมั่นดีแล้ว ย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริง

    อะไรเล่าที่เรียกว่า "รู้เห็นตามความเป็นจริง"

    มีพระพุทธพจน์รับรองไว้ว่า คือ การรู้เห็นอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง ดังนี้คือ

    ทุกข์ ควรกำหนดรู้
    สมุทัย ควรละเหตุแห่งทุกข์นั้น
    มรรค ต้องเจริญ ต้องทำให้เกิดขึ้น
    นิโรธ ทำให้แจ้งในการดับทุกข์


    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
    ธรรมภูต
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • buddha-023.jpg
      buddha-023.jpg
      ขนาดไฟล์:
      145.8 KB
      เปิดดู:
      1,313
  2. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    ความจริงแล้ว เรื่องของ "อริยสัจสี่" เป็นเรื่องง่ายๆ และง่ายมากๆด้วยขอรับ
    เพียงแต่ผู้ที่เกี่ยวข้องในทางพุทธศาสนา อ่่านความในพระไตรปิฎกแล้วไม่เข้าใจ เพราะในพระไตรปิฎก กล่าวถึง ปลายเหตุ หรือจะเรียกว่าได้ กล่าวถึง เรื่องนอกตัวบุคคล ไม่ได้ กล่าวถึง ภายในตัวบุคคล

    ความจริงแล้ว ไม่ว่าจะเป็น ทุกข์,สมุทัย,นิโรธ,มรรค ล้วน เกิดขึ้นภายในตัวบุคคล เมื่อได้รับการสัมผัสจากภายนอก ดังนั้น "อริยสัจสี่" ที่มีปรากฎอยู่ในพระไตรปิฎก ก็เป็นเพียงกล่าวถึง ปลายเหตุ ไม่ใช่กล่าวถึงต้นเหตุ หรือต้นตอที่ทำให้เกิด ทุกข์ ,สมุทัย,นิโรธ,มรรค

    ข้าพเจ้าเคยสอนไว้เมื่อหลายปีก่อน แต่ก็ถูกบุคคลบางกลุ่มกล่าวหาใส่ร้าย บางเวบฯก็ไม่ให้เข้า บางเวบฯที่ดีหน่อยก็ลบออกไปซะแล้ว

    ครั้นจะสอนอีก ก็เกรงว่า คงจะมีผู้คัดค้านใส่ร้ายอีก ก็เลยไม่สอนดีกว่า ใครอยากรู้ ก็ติดต่อมาแล้วจะสอนให้ เอแล้วจะบอกว่า ควรมีค่าวิชชาติดมาด้วย คงไม่ค่อยดีเท่าไหร่ เอาเป็นว่าจะสอนให้เกี่ยวกับ "อริยสัจสี่"ที่ถูกต้อง ตามหลักพุทธศาสนานะขอรับ เพราะตัวข้าพเจ้าก็ฝึกฝน ศึกษา ค้นคว้า มาทางพุทธศาสนานี้แหละ


    จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์(ผู้เขียน)
    ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๗
     
  3. Piagk3

    Piagk3 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    606
    ค่าพลัง:
    +1,222
    เพราะไปอ่านคำต่อเติม แต่งใหม่ของสาวก ที่มีแทรกอยู่ในพระไตรปฎก แต่ไม่อ่านไปไม่ถึงคำสอนแท้ๆของพระพุทธเจ้า เรื่องอริยสัจสี่ชาวพุทธ เคยอ่านหรือศึกษาเรื่อง ปฏิจสมุปบาทหรือเปล่า เพราะปฏิจสมุปบาท คือ หัวใจของอริยสัจสี่ ถ้าชาวพุทธเข้าใจปฏิจสมุทบาป แล้ว ก็คือ ผู้เห็นธรรมะของพระพุทธเจ้า และ ตัวของพระองค์
     
  4. thammakarn

    thammakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2011
    โพสต์:
    98
    ค่าพลัง:
    +376
    Quote "พระพุทธองค์ทรงให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวดในการปฏิบัติธรรมสมาธิกรรมฐานภาวนา
    ทรงตรัสยืนยันหนักแน่นว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย"
    แสดงว่า พระพุทธองค์ทรงมิได้ยกเว้นให้กับพระภิกษุสงฆ์อันเป็นสาวกของพระพุทธองค์เลย

    เพราะบุคคลที่มีจิตใจเป็นสมาธิ มีสติสงบตั้งมั่นดีแล้ว ย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริง"

    สาธุครับ ชัดเจนแจ่มแจ้ง

    เมื่อก่อนก็เคยเจอกับนักปฏิบัติบางท่าน กล่าวว่า "ไม่ต้องไปทำสมาธิหรอก เจริญสติไว้เยอะๆ เดี๋ยวเกิดสมาธิเอง" ผมก็คงไม่ไปเถียงหรอกครับ เพราะมันอาจเป็นเช่นนั้นจริง แต่ผมเพียงแปลกใจว่า แล้วทำไมไม่ปฏิบัติไปพร้อมกันเลยทั้งสมาธิและการเจริญสติ ก็ในเมื่อ "อานาปานสติ" ก็เป็นทั้งการทำสมาธิและเจริญสติไปในตัวเสร็จสรรพ
     
  5. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    (การทำกิจของอินทรีย์เมื่อบรรลุธรรม) พระวจนะ" ถูกแล้ว ถูกแล้ว สารีบุตร สารีบุตร อริยสาวกใด มีความเลื่อมใสอย่างยิ่งในตถาคตถึงที่สุดโดยส่วนเดียว เขาย่อมไม่สงสัยหรือลังเลใน ตถาคตหรือ คำสอนของตถาคต สารีบุตร เมื่ออริยสาวกเป็นผู้มี สัทธาแล้วพึงหวังข้อนี้สืบไปว่า เขาจักเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรมทั้งหลาย เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดถุระในกุศลธรรมทั้งหลาย สารีบุตร ความเพียรเช่นนนั้นของอริยสาวก นั้น ย่อมเป็นวิริยินทรียืของเธอนั้น................สารีบุตร เมื่ออริยสาวกเป็นผู้มีสัทธา เป็นผู้ปรารภความเพียรอยู่แล้ว พึงหวังข้อนี้สืบไปว่า เขาจักเป็นผู้มีสติ ประกอบพร้อมด้วยสติเป็นเครื่องระวังรักษาตัวเป็นอย่างยิ่ง เป็นผู้ระลึกได้ ตามระลึกได้ ซึ่งสิ่งที่ทำและคำพูดแม้นานได้ สารีบุตร ความระลึกเช่นนั้นของอริยสาวกนั้น ย่อมเป็น สตินทรีย์ ของเธอนั้น..............สารีบุตร เมื่ออริยสาวกเป้นผู้มีสัทธา เป็นผู้ปรารภความเพียร เป็นผู้มีสติเข้าไปตั้งไว้แล้ว พึงหวังข้อนี้สืบไปว่า เขาจักเป็นผู้กระทำได้แล้วซึ่ง โวสสัคคารมณ์ จักได้ความตั้งมั่นแห่งจิต กล่าวคือ ความที่จิตมีอารมณ์อันเดียว สารีบุตร ความตั้งมั่นแห่งจิตเช่นนั้นของอริยสาวกนั้น ย่อมเป็นสมาธินทรีย์ ของเธอนั้น.......................สารีบุตร เมื่ออริยสาวกเป้นผู้มีสัทธา ปรารภความเพียร มีสติเข้าไปตั้งไว้ มีจิตตั้งมั่นโดยชอบแล้ว พึงหวังข้อนี้สืบไปว่า เขาจักเป็นผู้รู้ชัดอย่างนี้ว่า "สังสารวัฎ เป็นสิ่งที่มีที่สุดอันบุคคลรู้ไม่ได้ ที่สุดฝ่ายข้างต้นย่อมไม่ปรากฎแก่สัตวืทั้งหลาย ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัรหาเป็นเครื่องผูก กำลังแล่นไป ท่องเที่ยวไป ความจางคลายดับไปโดยไม่มีเหลือแห่งอวิชชาอันเป้นกองแห่งความมืดเสียได้ มีอยู่ นั่นเป็นบทที่สงบ นั่นเป็นบทอันปราณีต กล่าวคือธรรมอันเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนแห่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป็นความดับเป็น นิพพาน สารีบุตร ความรู้ชัดเช่นนั้นของอริยสาวกนั้น ย่อมเป็นปัญญินทรีย์ ของเธอนั้น .................สารีบุตร อริยสาวกนั้นแหละ ตั้งไว้แล้ว ตั้งไว้แล้วด้วยอาการอย่างนี้ ระลึกแล้วระลึกแล้วด้วยอาการอย่างนี้ ตั้งมั่นแล้ว ตั้งมั่นแล้ว ด้วยอาการอย่างนี้ รู็ชัดแล้ว รู้ชัดแล้ว ด้วยอาการอย่างนี้ เขาย่อมเชื่ออย่างยิ่ง อย่างยิ่ง อย่างนี้ว่า ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมที่เราเคยฟังแล้วในกาลก่อน ในบัดนี้ เราถูกต้องธรรมเหล่านั้นด้วยนามกายแล้วแลอยู่ ด้วย และแทงตลอดธรรมเหล่านั้นด้วยปัญญา แล้วเห็นอยู่ด้วย ดังนี้ สารีบุตร ความเชื่อเช่นนั้นของอริยสาวกนั้น ย่อมเป็น สัทธินทรีย์ของเธอนั้น ดังนี้แล----มหาวาร.สํ.19/-299-300/1017-1022:cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 มีนาคม 2014
  6. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    .............พระสูตร นี้ ชัดเจน ครับ:cool:
     
  7. comxeoo

    comxeoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +214
    สาธุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...