ผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย anand, 13 ตุลาคม 2009.

แท็ก: แก้ไข
  1. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น



    อาหุเนยยสูตร


    ว่าด้วยภิกษุผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย

    ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิืณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก

    ธรรม ๑๐ ประการอะไรบ้าง คือ

    ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    ๑. เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาฏิโมกข์ เพียบพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย

    ๒. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตุะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรมทั้งหลายที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วน ทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยทิฏฐิ

    ๓. เป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี

    ๔. เป็นสัมมาทิฏฐิ ประกอบด้วยความเห็นชอบ

    ๕. แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่างคือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฎหืรือให้หายไปก็ได้ ทะลุฝากำแพงและภูเขา ไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นหรือดำลงในแผ่นดินเหมือนไปในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำโดยที่น้ำไม่แยกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ นั่งขัดสมาธิเหาะไปในอากาศเหมือนนกบินไปก็ได้ ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์และดวงอาทิตย์อันมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้

    ๖. ได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์

    ๗. กำหนดรู้จิตของสัตว์และบุคคลอื่นได้ด้วยจิตของตน คือจิตมีราคะก็รู้ว่ามีราคะ หรือปราศจากราคะก็รู้ว่าปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ...หรือปราศจากโทสะ...จิตมีโมหะะ... หรือปราศจากโมหะ.... จิตหดหู่...หรือฟุ้งซ่าน...จิตเป็นมหัคตะ...หรือไม่เป็นมหัคตะ...(มหัคตะ แปลว่า ถึงความเป็นใหญ่ หมายถึงรูปาวจรกุศลจิตและอรูปาวจรกุศลจิต) จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า...หรือว่าไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ...จิตเป็นสมาธิ...หรือไม่เป็นสมาธิ... จิตหลุดพ้น..หรือไม่หลุดพ้นก็รู้ว่าไม่หลุดพ้น

    ๘. ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติบ้าง ๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง ๓๐ ชาติบ้าง ๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง ๑๐,๐๐๐ ชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า "ในภพนั้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหารเสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้นๆ จุติจากภพนั้นก็ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์และมีอายุอย่างนั้นๆ จุติจากภพนั้นแล้วจึงมาเกิดในภพนี้ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้

    ๙. เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดีและเกิดไม่ดีด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า "หมู่สัตว์ที่ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นผิดและชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นผิด พวกเขาหลังจากตายแ้ล้ว จะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก แต่หมู่สัตว์ที่ประกอบกายสุจิรติ วจีสุจริต และมโนสุจริต ไม่กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นชอบและชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบ พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์" เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิดทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดีและเกิดไม่ดีด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมอย่างนี้แล

    ๑๐. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
    ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล จึงเป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก.


    พระสุตตันตปิฎก
    อังคุตตรนิกาย
    ทสกนิบาต

    พระไตรปิฎกภาษาไทย
    ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย


     
  2. deelek

    deelek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    6,696
    ค่าพลัง:
    +16,255
    อนุโมทนา สาธุ ๆ กับท่านทั้งหลายที่ได้ถวายทานกับพระภิกษุผู้ประกอบไปด้วยธรรม 10 ประการ ตั้งแต่อดีตชาติจนถึงปัจจุบันชาติ ด้วยนะครับ นิพพานังปัจจโยโหตุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...