ผังวัดสุทัศน์ - จำลองโลกสัณฐาน

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย สังขารไม่เที่ยง, 25 กันยายน 2011.

  1. สังขารไม่เที่ยง

    สังขารไม่เที่ยง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,943
    ค่าพลัง:
    +24,697
    วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2554 ปีที่ 21 ฉบับที่ 7605 ข่าวสดรายวัน


    ผังวัดสุทัศน์ - จำลองโลกสัณฐาน

    คอลัมน์ คติ-สัญลักษณ์
    ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์


    <TABLE border=0 cellSpacing=5 cellPadding=0 width=360 align=left><TBODY><TR><TD bgColor=#e0e0e0 vAlign=top align=middle>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>จากแนวความคิดในการกำหนดให้ วัดสุทัศนเทพวราราม เป็นดังภูเขา ชั้นกลางที่ชื่อ สุทัศนะ อันเป็นที่ตั้งของ วิมานเทพ และเป็นที่อยู่ของพญาครุฑที่เป็นพาหะของพระนารายณ์ ผู้ปกป้องและปราบยุคเข็ญของแผ่นดิน

    หรือหมายรวมก็คือ เป็นสัญลักษณ์ของพระมหากษัตริย์ไทย ที่ทรงศักดิ์ รามาธิบดี ที่อยู่กลางเมืองหลวงหรือกลางกรุงเทพ มหานครเมืองของเทวดา

    สิ่งที่แอบแฝงอยู่ในแนวความคิดของการออกแบบในเรื่องของโลกทัศน์ของวัดสุทัศน์อีกทางหนึ่งก็คือ การวางผังจัดกลุ่มอาคารของวัด การกำหนดทิศทางที่ตัวของโบสถ์ วิหาร หมู่กุฏิสงฆ์

    ในโลกทัศน์ของจักรวาลที่ปรากฏอยู่ในไตรภูมิกถาหรือสัณฐานของโลกในความคิดของคนในอดีต

    โลกทัศน์ในความคิดของผู้คนในอดีตที่เรียกกันว่า ไตรภูมิกถา หรือ ไตรภูมิพระร่วง (ที่เชื่อกันว่าเพิ่งจะปรากฏความคิดนี้ ในสมัยปลายอยุธยาก็ตาม) กำหนดโลกสัณฐานที่มีเขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลาง มีทิวเขาล้อมอยู่ 7 ชั้น มีความสูงลดหลั่นกันลงมาตามลำดับ

    นอกทิวเขาออกไปจะมีทวีปหรือแผ่นดินใหญ่ 4 ทวีป ตั้งแต่ทิศเหนือเรียก อุตตรกุรทวีป ทิศตะวันออกเรียก บุพพวิเทหทวีป ทิศใต้เรียก ชมพูทวีป ทิศตะวันตกเรียก อมรโคยานทวีป

    ในส่วนกลางของชมพูทวีปนี้เรียก มัธยมประเทศ และในมัธยมประเทศนี้ มีทั้งทุกข์ สุข สลับกันไปมานั้น พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพระพุทธ พระสาวกของพระพุทธเจ้า พุทธอุปัฏฐาก พุทธมารดา พุทธพิศ อสิตมหาสาวก และพระเจ้าจักรพรรดิทั้งหลายย่อมอุบัติขึ้นในที่นี้

    ในแนวทางของการวางผัง วัดสุทัศน์ จะปรากฏว่าพระมหาวิหาร คือ ศูนย์กลางของจักรวาล ส่วนทางใต้หมายถึงชมพูทวีป คือพระ อุโบสถ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป อันหมายถึงพระพุทธเจ้าพร้อมอสิติสาวกหรือสาวกองค์สำคัญ 80 รูป ถัดออกไปก็เป็นกุฏิ สงฆ์ เป็นคณะ เป็นหมวดหมู่ดังกล่าว กับส่วนนอก ของชมพูทวีป เรียกว่า ปัจจันตชนบท อันเป็นที่อยู่ของพระสงฆ์ สามเณรทั่วไป

    นั่นคือ แนวความคิดในการวางผังของวัดสุทัศน์ก็คือ การจำลองโลกสัณฐาน ตั้งแต่เขาพระสุเมรุมาจนถึงชมพูทวีป มัธยมประเทศ ที่มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของดินแดนแห่งพระพุทธศาสนา ที่จะมีสาวกหรือภิกษุสงฆ์ที่ประพฤติดีประพฤติชอบ พ้นไปจากสังสารวัฏ

    เป็นสัญลักษณ์ของกรุงเทพมหานครที่จะเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา ที่มีพระพุทธเจ้า ซึ่งได้อุบัติมาแล้วและจะยังคงมีพระภิกษุสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบปรากฏอยู่ในกรุงเทพมหานคร

    [FONT=Tahoma,]หน้า 7[/FONT]

    �ѧ�Ѵ�ط�ȹ� - ���ͧ�š�ѳ�ҹ : ����ʴ�͹�Ź�==
     

แชร์หน้านี้

Loading...