ปโมทิโต รำลึก

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย pump - อภิเตโช, 9 กรกฎาคม 2009.

  1. pump - อภิเตโช

    pump - อภิเตโช เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,202
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +6,803
    ปโมทิโต รำลึก<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <?xml:namespace prefix = v ns = "urn:schemas-microsoft-com:vml" /><v:shapetype id=_x0000_t75 stroked="f" filled="f" path="m@4@5l@4@11@9@11@9@5xe" o:preferrelative="t" o:spt="75" coordsize="21600,21600"><v:stroke joinstyle="miter"></v:stroke><v:formulas><v:f eqn="if lineDrawn pixelLineWidth 0"></v:f><v:f eqn="sum @0 1 0"></v:f><v:f eqn="sum 0 0 @1"></v:f><v:f eqn="prod @2 1 2"></v:f><v:f eqn="prod @3 21600 pixelWidth"></v:f><v:f eqn="prod @3 21600 pixelHeight"></v:f><v:f eqn="sum @0 0 1"></v:f><v:f eqn="prod @6 1 2"></v:f><v:f eqn="prod @7 21600 pixelWidth"></v:f><v:f eqn="sum @8 21600 0"></v:f><v:f eqn="prod @7 21600 pixelHeight"></v:f><v:f eqn="sum @10 21600 0"></v:f></v:formulas><v:path o:connecttype="rect" gradientshapeok="t" o:extrusionok="f"></v:path><o:lock aspectratio="t" v:ext="edit"></o:lock></v:shapetype><v:shape style="WIDTH: 297pt; HEIGHT: 239.25pt" id=_x0000_i1025 alt="" type="#_x0000_t75"><v:imagedata o:href="http://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y8054532/Y8054532-0.jpg" src="file:///C:\DOCUME~1\jiradech\LOCALS~1\Temp\msohtml1\01\clip_image001.jpg"></v:imagedata></v:shape><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หลวงปู่หลอด ปโมทิโต<o:p></o:p>
    วัดสิริกมลาวาส (วัดใหม่เสนา)<o:p></o:p>
    ลาดพร้าว บางกะปิ กรุงเทพฯ (02 942-0161 )<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ณ บัดนี้หลวงปู่ได้จากพวกเราไปสู่สุคติแล้ว เมื่อบ่ายวันอาสาฬหบูชา ที่ 7 กรกฏาคม 2552 ผู้จัดทำขออนุญาติรวบรวม ประวัติ รูปภาพ และ ปฏิปทาของหลวงปู่ ที่หาได้ยาก เพื่อเป็นสังฆานุสติสืบไป<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ทางวัดได้ให้ญาติ โยม สรงน้ำหลวงปู่ตั่งแต่ บ่ายวันนี้ (9 กรกฏาคม) <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <v:shape style="WIDTH: 120.75pt; HEIGHT: 168.75pt" id=_x0000_i1027 alt="" type="#_x0000_t75" o:button="t" href="http://images.google.co.th/imgres?imgurl=http://www.dhammajak.net/board/files/_4_148.jpg&imgrefurl=http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php%3Ft%3D1715%26start%3D30%26sid%3D489122677cec4360d97ba5be85271290&usg=__6y5LvJV-SrSrGZ--jVlgTq1Mjls=&h=504&w=360&sz=60&hl=th&start=10&um=1&tbnid=sPPrDLGrsXlaLM:&tbnh=130&tbnw=93&prev=/images%3Fq%3D%25E0%25B8%259B%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%25B4%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%2595%26hl%3Dth%26sa%3DN%26um%3D1"><v:imagedata o:href="http://tbn3.google.com/images?q=tbn:sPPrDLGrsXlaLM:http://www.dhammajak.net/board/files/_4_148.jpg" src="file:///C:\DOCUME~1\jiradech\LOCALS~1\Temp\msohtml1\01\clip_image002.jpg"></v:imagedata></v:shape><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <TABLE style="MARGIN: auto auto auto 36pt; mso-cellspacing: 0cm; mso-padding-alt: 0cm 0cm 0cm 0cm" class=MsoNormalTable border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR style="mso-yfti-irow: 0; mso-yfti-firstrow: yes"><TD style="BORDER-BOTTOM: #ece9d8; BORDER-LEFT: #ece9d8; PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; PADDING-LEFT: 0cm; PADDING-RIGHT: 0cm; BORDER-TOP: #ece9d8; BORDER-RIGHT: #ece9d8; PADDING-TOP: 0cm"><TABLE style="WIDTH: 100%; BACKGROUND: #222244; mso-cellspacing: 0cm; mso-padding-alt: 0cm 0cm 0cm 0cm" class=MsoNormalTable border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR style="mso-yfti-irow: 0; mso-yfti-firstrow: yes; mso-yfti-lastrow: yes"><TD style="BORDER-BOTTOM: #ece9d8; BORDER-LEFT: #ece9d8; PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; PADDING-LEFT: 0cm; PADDING-RIGHT: 0cm; BORDER-TOP: #ece9d8; BORDER-RIGHT: #ece9d8; PADDING-TOP: 0cm"><v:shape style="WIDTH: 375pt; HEIGHT: 281.25pt" id=_x0000_i1026 alt="" type="#_x0000_t75"><v:imagedata o:href="http://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y8054532/Y8054532-1.jpg" src="file:///C:\DOCUME~1\jiradech\LOCALS~1\Temp\msohtml1\01\clip_image004.jpg"></v:imagedata></v:shape><o:p></o:p>
    </TD></TR></TBODY></TABLE><o:p></o:p>
    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: black 1pt; BORDER-LEFT: #ece9d8; PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-LEFT: 0cm; PADDING-RIGHT: 0cm; BACKGROUND: black; BORDER-TOP: #ece9d8; BORDER-RIGHT: #ece9d8; PADDING-TOP: 0cm; mso-border-bottom-alt: none black 0cm" vAlign=top><TABLE style="WIDTH: 100%; BACKGROUND: #222244; mso-cellspacing: 0cm; mso-padding-alt: 0cm 0cm 0cm 0cm" class=MsoNormalTable border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR style="mso-yfti-irow: 0; mso-yfti-firstrow: yes; mso-yfti-lastrow: yes"><TD style="BORDER-BOTTOM: #ffffff; BORDER-LEFT: #ffffff; PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 7.5pt; PADDING-RIGHT: 0cm; BORDER-TOP: #ffffff; BORDER-RIGHT: #ffffff; PADDING-TOP: 0cm" width=10> <o:p></o:p>
    </TD></TR></TBODY></TABLE><o:p></o:p>
    </TD></TR><TR style="mso-yfti-irow: 1; mso-yfti-lastrow: yes"><TD style="BORDER-BOTTOM: #ece9d8; BORDER-LEFT: #ece9d8; PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-LEFT: 0cm; PADDING-RIGHT: 0cm; BACKGROUND: black; BORDER-TOP: #ece9d8; BORDER-RIGHT: #ece9d8; PADDING-TOP: 0cm" colSpan=2><TABLE style="BACKGROUND: #222244; mso-cellspacing: 0cm; mso-padding-alt: 0cm 0cm 0cm 0cm" class=MsoNormalTable border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR style="mso-yfti-irow: 0; mso-yfti-firstrow: yes; mso-yfti-lastrow: yes"><TD style="BORDER-BOTTOM: #ffffff; BORDER-LEFT: #ffffff; PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 7.5pt; PADDING-RIGHT: 0cm; BORDER-TOP: #ffffff; BORDER-RIGHT: #ffffff; PADDING-TOP: 0cm" width=10> <o:p></o:p>
    </TD></TR></TBODY></TABLE><o:p></o:p>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <o:p> </o:p>
    ท่านเป็นผู้ที่เคยไปฝึกปฏิบัติด้วยตนเองกับ องค์หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต

    ในภาพคือ ภาพองค์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน กับ หลวงปู่หลอด ปโมทิโต <o:p></o:p>

    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    นามเดิม หลอด ขุริมน<o:p></o:p>
    เกิด วันพฤหัสบดีที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2458<o:p></o:p>
    ปีเถาะ จ.ศ. 1277 กำเนิด ณ บ้านขาม ต.หัวนา อ.หนองบัวลำภู จ. อุดรธานี<o:p></o:p>
    โยมบิดา คุณพ่อบัวลา ขุริมน<o:p></o:p>
    โยมมารดา คุณแม่แหล้ (แร่ ขุริมน) มีพี่น้องร่วมอุทรเดียวกัน 3 คน คือ<o:p></o:p>
    1. นายเกิ่ง ขุริมน (ถึงแก่กรรม)<o:p></o:p>
    2. นางประสงค์ ขุริมน (ถึงแก่กรรม)<o:p></o:p>
    3. พระครูปราโมทย์ธรรมธาดา (หลวงปู่หลอด ปโมทิตา)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    เมื่อพระเดชพระคุณหลวงปู่ มีอายุครบเกณฑ์ที่จะเข้าศึกษาเล่าเรียนในชั้นประถมศึกษา คุณพ่อบัวลาจึงได้พาไปฝากเรียนที่ดรงเรียนประชาบาลวัดบ้านหิน ตำบลหัวนา อำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำหมู่บ้าน จนกระทั่งท่านได้จบการศึกษาตามหลักสูตรในสมัยนั้น คือชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พออ่านออกเขียนได้ ซึ่งขณะนั้นหลวงปู่อายุได้ 16 ปี ก็เรียกได้ว่ากำลังหนุ่มแน่น มีกำลังแรงงานดี จึงเป็นแรงสำคัญของทางบ้านในการทำเรือกสวนไร่นา แต่ก็เป็นอันต้องมีเหตุให้เกิดความเศร้าเสียใจเป็นอย่างมาก เมื่อคุณแม่แหล้ผู้เป็นมารดาล้มป่วยอย่างหนัก และถึงแก่กรรมในที่สุด พระเดชพระคุณหลวงปู่ท่านตั้งใจไว้ว่าจะบรรพชา เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่มารดาเมื่อถึงเวลาอันสมควร<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    บรรพชา<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เมื่อหลวงปู่อายุได้ 18 ปี ก็ได้มีโอกาสเข้าบรรพชาเป็นสามเณรสมดังใจตั้งมั่นที่วัดศรีบุญเรือง ตำบลหัวนา อำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี โดยมีพระอธิการคูณ เจ้าอาวาส เป็นพระอุปัชฌาย์ และเมื่อบวชเณรอยู่ได้ไม่นาน บิดาก็มาเสียชีวิตไป เมื่อคุณพ่อบัวลามาด่วนจากไปเสียอีกคน หลวงปู่ท่านจึงต้องลาสิกขาออกมาเพื่อช่วยพี่ ๆ ทำเรือกสวนไร่นาต่อไป<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    อุปสมบท <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เมื่อความคิดอยากจะบวชอีกครั้งยังมีอยู่ ยังไม่ลบเลือนไปจากจิตใจ สองปีต่อมาหลวงปู่จึงได้หาโอกาสที่จะปล่อยวางงานและภาระทางบ้าน เพื่อมาบรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุในบวรพระพุทธศาสนา<o:p></o:p>
    พระเดชพระคุณหลวงปู่ได้ก้าวเข้าสู่ร่มผ้ากาสาวพัสตร์ สังกัดมหานิกาย ณ พัทธสีมาวัดธาตุหันเทาว์ ตำบลบ้านขาม บ้านเกิดของหลวงปู่นั่นเอง เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2479 ตรงกับวันจันทร์ขึ้น 15 ค่ำ เดือนสาม ปีจอ โดยมีพระอาจารย์ชาลีวัดโพธิ์ชัยสะอาด บ้านจิก อำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระอาจารย์ขาน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และได้พำนักที่วัดธาตุหันเทาว์ ในขณะนั้นมีพระอาจารย์มหาตัน สุตตาโนเป็นเจ้าอาวาส<o:p></o:p>
    เมื่อหลวงปู่บวชได้แล้วประมาณ 3 เดือน พอขึ้นเดือนมิถุนายน หลวงปู่ก็ได้มีโอกาสพบกับพระอาจารย์มณฑา ซึ่งท่านเดินทางมาจากวัดบ้านโกทา จังหวัดขอนแก่น และก็ได้ปรึกษากันว่าจะพากันไปศึกษาเล่าเรียนอยู่ที่วัดโพธิสมภรณ์ ในตัวจังหวัดอุดรธานี ซึ่งมีพระเดชพระคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เป็นเจ้าอาวาสปกครองดูแลอยู่ นับว่าเป็นสำนักเรียนที่มีชื่อเสียงที่สุดในภาคอีสานในขณะนั้นก็ว่าได้<o:p></o:p>
    พรรษาที่ 1-3 (พ.ศ.2479-2482) หลวงปู่ได้เดินทางมาถึงวัดโพธิสมภรณ์ อุดรธานี ในเดือนกรกฎาคม ปี พ.ศ.2479 เมื่อหลวงปู่ได้พำนักอยู่ที่วัดโพธิสมภรณ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ท่านจึงได้สมัครเรียนนักธรรม และพระบาลีตามประกาศของสำนักเรียนในวัดโพธิ์ฯ เมื่อเปิดเรียนไม่นาน หลวงปู่ก็ลาออกจากการเรียนพระบาลี เหลือแต่นักธรรมอย่างเดียว<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    แปรญัตติเป็นธรรมยุติ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เนื่องจากการที่ท่านเป็นพระมหานิกาย จึงทำให้เกิดความไม่สะดวกต่อการทำสังฆกรรม เช่นการลงประชุมฟังพระปาติโมกข์ หลวงปู่ก็มิได้ลงร่วมฟังสังฆกรรมดังกล่าว เมื่อเป็นเช่นนั้น หลวงปู่ท่านรู้สึกไม่ค่อยสะดวกและสบายใจเท่าไรนัก จึงได้ตัดสินใจที่จะขอแปรญัตติเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2479 โดยมีท่านเจ้าคุณพระเทพกวี (จูม พนฺธโล) ภายหลังได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ที่พระธรรมเจดีย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านพระครูศาสนูปกรณ์ วัดโพธิสมภรณ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และท่านพระครูประสาทคณานุกิจ วัดโพธิสมภรณ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า
    “ปโมทิโต” หมายถึง ผู้มีความบันเทิง ผู้ปลื้มใจ ผู้มีใจอันเบิกบาน ซึ่งขณะนั้นหลวงปู่มีอายุ 21 ปี<o:p></o:p>
    การอยู่ที่วัดโพธิสมภรณ์ในยุคโน้น นับว่าเป็นโชคดีแก่ชีวิตหลายอย่าง เพราะนอกจากจะเป็นสำนักเรียนที่มีชื่เสียงแล้ว ยังมีพระเถระผู้ใหญ่ ผู้มีบทบาท และมีชื่อเสียงโด่งดังในด้านการปกครอง ด้านการเผยแผ่ ตลอดทั้งด้านสมถะและวิปัสสนามาพำนักอยู่ที่วัดโพธิสมภรณ์อยู่เรื่อยมา จึงทำให้หลวงปู่ได้มีโอกาสได้พบเห็นและฟังการอบรมจากพระเถระเหล่านั้นมากท่านและหลายครั้ง และมีหลักในการปฏิบัติกับตนได้เป็นอย่างดี<o:p></o:p>
    หลวงปู่ได้อยู่วัดโพธิสมภรณ์ไปถึงเดือนมิถุนายน 2481 หลวงปู่ได้เดินทางกลับไปวัดธาตุหันเทาว์ และก็ได้ถูกมอบหมายหน้าที่ให้เป็นครูสอนนักธรรมตรี ซึ่งขณะนั้นกำลังขาดแคลนครูสอน ท่านเจ้าคุณพิศาลเถระ เจ้าคณะหนองบัวลำภู จึงได้ขอร้องให้หลวงปู่อยู่จำพรรษาที่วัดธาตุหันเทาว์ เพื่อเป็นครูสอนนักธรรม หลวงปู่ท่านเลยรับคำอยู่ช่วยสอนนักธรรมตรีจนออกพรรษาและสอบธรรมสนามหลวงประจำปี 2481 แล้วเสร็จ ท่านจึงได้เดินทางกลับมาที่วัดโพธิสมภรณ์เหมือนเดิม เพื่อมาศึกษานักธรรมโทต่อที่วัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี และสอบได้ในปีนั้นเอง จากนั้นก็สมัครสอบนักธรรมเอกในปีต่อมา<o:p></o:p>
    พรรษาที่ 4 (พ.ศ.2483) ในพรรษาที่ 3 ปี พ.ศ. 2482 หลังจากออกพรรษาและสอบนักธรรมเสร็จ หลวงปู่ท่านได้มีโอกาสพบกับเพื่อภิกษุรูปหนึ่ง ชื่อพระอาจารย์วิฤทธิ์ ปุญฺญมาโน ซึ่งท่านเคยอยู่วัดโพธิสมภรณ์มาก่อน และก็ได้ชวนหลวงปู่ให้ออกธุดงค์ปฏิบัติธรรมด้วยกัน ก็เป็นอันตกลง และในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ.2482 จึงได้พากันออกเดินธุดงค์โดยมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตก ตั้งจุดหมายปลายทางคือ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งต้องผ่านไปทางบ้านปากดง บ้านหนองขุ่ม บ้านนาแอ่ง การเดินธุดงค์ครั้งนี้ หลวงปู่มีความประทับใจไม่รู้ลืม ที่ได้สัมผัสกับธรรมชาติ เสียงของสัตว์นานาชนิด ป่าดงพงไพรยังอุดมสมบูรณ์ มีแหล่งน้ำที่ใสและเย็นสดชื่นให้ได้เห็นมากแห่ง เป็นสิ่งที่หายากยิ่งในปัจจุบัน ซึ่งเกิดาจากการทำลายป่าและความเห็นแก่ตัวของมนุษย์ การเดินธุดงค์ในครั้งนี้เป็นการเดินธุดงค์หาวิเวกเพื่อปฏิบัติธรรมจริง ๆ หากพบสถานที่ใดที่มีความสงบวิเวก เหมาะแก่การปฏิบัติบำเพ็ญเพียรแล้ว ก็จะพักปฏิบัติธรรมอยู่ระยะหนึ่ง จึงค่อยย้ายจากไปหาที่ใหม่ เพื่อจะได้ไม่ติดในสถานที่ และจิตใจจะได้มีการตื่นตัว แปลกที่อยู่เสมอ ทำให้การทำความเพียรได้ผลดีมาก<o:p></o:p>
    ท่านเดินทางธุดงค์ไปในที่ต่าง ๆ และหยุดพักปกิบัติธรรมในที่เห็นว่าสมควร และในที่สุดก็ได้มาพักอยู่ที่วัดสามัคคีพัฒนา อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งอาจารย์โชติ กาญจโน เป็นเจ้าอาวาส เป็นอันว่าในพรรษาของปี พ.ศ. 2483 พรรษาที่ 4 ของหลวงปู่ ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดนี้ และในพรรษานี้เอง หลวงปู่ได้ตั้งสัจจะปาวรณาถือเนสัชชิก (อาการสาม ยืน เดิน นั่ง) โดยเอาแบบอย่างการปฏิบัติของหลวงปู่ซามา โดยจะไม่ยอมให้หลังแตะพื้น จะเป็นอย่างไรจะไม่ยอมให้หลังนี้สัมผัสพื้นเลย หลวงปู่ท่านปฏิบัติอยู่อย่างนี้ตลอดพรรษามิได้ขาด และการปฏิบัติของท่านก้าวหน้าไปด้วยดี<o:p></o:p>
    พรรษาที่ 5-7 (พ.ศ.2484-2486) พอออกพรรษา หลวงปู่ก็ออกธุดงค์หาวิเวกไปในถิ่นต่าง ๆ ภายในเขตอำเภอหล่มสัก ต่อมาเมื่อใกล้จะเข้าพรรษาในปี พ.ศ.2484 หลวงปู่ตั้งใจว่าจะกลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดสามัคคีพัฒนาเหมือนเดิม แต่เนื่องจากทางวัดเกาะแก้ว ตำบลน้ำเฮี้ย อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ มีพระที่จำพรรษาไม่ครบ 5 รูป ทางพระอาจารย์สิงห์ทอง สุวณฺณธมฺโม เจ้าอาวาสในขณะนั้น จึงได้มากราบเรียนขอความอนุเคราะห์ และได้หลวงปู่ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดในพรรษานี้เอง หลวงปู่ท่านตั้งใจจะเพียรพยายามท่องปาติโมกข์ให้ได้ เนื่องจากท่านตั้งใจจะเป็นผู้สวดปาติโมกข์ในวันออกพรรษาเอง และท่านก็ทำได้สำเร็จสามารถท่องพระปาติโมกข์ได้จบ <o:p></o:p>
    ก่อนจะถึงวันออกพรรษา หลังจากออกพรรษามาไม่นาน หลวงปู่ก็กลับมาพักอยู่ที่วัดสามัคคีพัฒนา ในขณะที่ท่านกลับมาพักที่นี่ ก็มีคณะญาติโยมจากบ้านหนองไขว่ บ้านน้ำกร้อ บ้านน้ำชุน บ้านโนนทอง บ้านปากดุก บ้านดงเมือง มานิมนต์หลวงปู่ไปช่วยเทศน์อบรมชาวบ้านในหมู่บ้านของตน ซึ่งหลวงปู่ก็รับนิมนต์แล้วก็ย้ายไปเรื่อย ๆ ตามแนวริมผั่งแม่น้ำป่าสัก ตลอดระยะเวลา 4 เดือนในหน้าแล้ง พอถึงหน้าฝน หลวงปู่ก็ย้อนกลับมาวัดสามัคคีพัฒนาอีก รวมแล้วหลวงปู่ได้อยู่จำพรรษาและได้เที่ยวตระเวนธุดงค์ไปเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นระยะเวลา 3 ปีเต็มๆ หลังจากนั้นในพรรษาที่ 6 หลวงปู่ก็ได้เดินทางออกจากจังหวัดเพชรบูรณ์มาจำพรรษาที่วัดโนนนิเวศน์ จังหวัดอุดรธานี ซึ่งมีหลวงปู่ภูมี ฐิตธมฺโม เป็นเจ้าอาวาส จนกระทั่งเดือนมกราคม พ.ศ. 2486 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมและสะดวกแก่การออกธุดงค์ <o:p></o:p>
    และในระหว่างที่กำลังธุดงค์อยู่ในเขตจังหวัดอุดรธานีนั้น นับเป็นความโชคดีของหลวงปู่ที่ได้พบครูบาอาจารย์ผู้มีประสบการณ์ทางพระกรรมฐานมากอีกองค์หนึ่ง คือพระอาจารย์อ่อนศรี สีลขนฺโธ ซึ่งท่านเคยปฏิบัติธรรมอยู่กับหลวงปู่มั่นที่อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่เป็นเวลาหลายปี ท่านจึงได้ชวนกันไปเดินธุดงค์มุ่งหน้าไปทางอำเภอบ้านผือ และก็ได้ธุดงค์ไปในที่ต่าง ๆ และก็ได้กลับไปพักที่วัดโนนนิเวศน์ และก็ได้พบกับพระอาจารย์คำภา จุนโท จึงได้ชวนกันออกวิเวกไปแถบตำบลหนองหาร ซึ่งเป็นถิ่นกำเนิดของท่าน และก็เดินทางผ่านไปจนถึงบ้านเชียง เห็นว่าจวนเข้าพรรษาแล้ว จึงตกลงกันอยู่จำพรรษาที่ป่าช้าบ้านเชียง (พรรษาที่ 7) และที่นี่เองท่านได้ผจญกับมารทางจิตแทบเอาตัวไม่รอดในเรื่องของสตรีเพศ ในที่สุดท่านก็ใช้หลักมหาสติปัฏฐานมาแก้ปัญหาดังกล่าว และก็สามารถชนะอารมณ์กามคุณดังกล่าวได้สำเร็จ<o:p></o:p>
    พรรษาที่ 8 (พ.ศ.2487) ได้พบพระผู้เป็นบิดาแห่งกองทัพธรรม (พระบูรพาจารย์) เมื่อออกพรรษาแล้วคณะธุดงค์ของหลวงปู่และพระอาจารย์คำภาก็ยังคงปักหลักอยู่ที่ป่าช้าบ้านเชียงนั้นต่อไปอีก ประมาณ 2-3 เดือน จากนั้นเพื่อสหธรรมมิกผู้ร่วมธุดงค์ จึงได้มาชวนหลวงปู่ไปกราบนมัสการ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ที่วัดป่าบ้านโคก (ปัจจุบันคือ วัดป่าวิสุทธิธรรม อำเภอโคกสีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร) จึงออกเดินทางจากอุดร ราววันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2487 ในระหว่างที่อยู่กับหลวงปู่มั่น ท่านได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนทัศนธรรมกับพระอาจารย์ต่าง ๆ ที่ร่วมอยู่ในระหว่างนั้น ซึ่งพระอาจารย์เหล่านั้นก็มีชื่อเสียงโด่งดังในปัจจุบัน เช่น อาจารย์สุวัจน์ สุวจฺโจ หลวงตามหาบัว เป็นต้น จึงถือว่าพรรษานี้หลวงปู่ได้รับประโยชน์อย่างมหาศาล ที่ได้มีโอกาสปฏิบัติธรรมกับพระอาจารย์มั่น ผู้ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งกองทัพธรรม หลังจากนั้นมาระยะหนึ่ง หลวงปู่และพระอาจารย์บัวพา ปญฺญาพาโส ก็ตกลงกันว่าจะออกวิเวกร่วมกัน จึงได้เข้าไปกราบขออนุญาตลาหลวงปู่มั่นเพื่อออกธุดงค์หาประสบการณ์ ซึ่งหลวงปู่มั่นก็ได้อนุญาตการธุดงค์<o:p></o:p>
    ครั้งนั้นหลวงปู่ได้มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตก ล่องลงมาตามเขาภูพานในเขตจังหวัดสกลนคร เข้าสู่อำเภอเมือง และก็ได้ดั้นด้นลงถึงเชิงเขาภูพานที่บ้านกวนบุ่น และไม่ห่างไกลจากหมู่บ้านนี้นัก มีถ้ำพอพักอาศัยปฏิบัติได้ ท่านจึงได้พักอาศัยปฏิบัติอยู่ที่ถ้ำนี้ และก็ได้สอนให้ชาวบ้านในหมู่บ้านนี้เลิกนับถือผี และหันมาสนใจพระพุทธศาสนากันมากขึ้น หลวงปู่กับหลวงปู่บัวพาอยู่บำเพ็ญสมณธรรมที่บ้านกวนบุ่นเป็นระยะเวลาสองเดือนเศษ เมื่อย่างเข้าเดือนเมษายน หลวงปู่เกิดอาการอาพาธด้วยโรคไข้ป่า อาการหนักมาก เมื่ออาการยังไม่ดีขึ้น จึงได้ตกลงกับอาจารย์บัวพาว่าจะกับไปที่บ้านโคก เพื่อกราบพึงบารมีหลวงปู่มั่น ซึ่งหลวงปู่มั่นท่านไม่ให้ฉันยา ท่านให้ภาวนารักษาตัว อย่าไปยึดติด ที่สุดหลวงปู่ก็หายได้ด้วยกำลังของภาวนา<o:p></o:p>
    การได้พบกับหลวงปู่มั่นนั้นทำให้หลวงปู่ได้รับอุบายธรรมต่าง ๆ เพิ่มขึ้นอีกมากมาย ทำให้สติปัญญาสว่างไสวมากขึ้น เป็นอันว่าพรรษานี้ (พรรษาที่ 8 ปี พ.ศ.2487) หลวงปู่ก็ได้อยู่ปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่มั่น และได้รับธรรมคำสั่งสอนของหลวงปู่มั่น ชนิดที่เรียกว่าเป็นธรรมอันล้ำค่าทีเดียว<o:p></o:p>
    พรรษาที่ 9-10 (พ.ศ.2488 – 2489) เมื่อพ้นจากฤดูกาลเข้าพรรษาในปี พ.ศ. 2487 แล้ว หลวงปู่ก็ได้ชักชวนเพื่อนพรหมจรรย์ด้วยกันออกธุดงค์อีก ครั้งนั้นได้พากันธุดงค์มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตก เดินทางไปพักอยู่ที่ถ้ำขาม ซึ่งขณะนั้นยังไม่ได้รับการปรับปรุง ไม่มีพระเณรอยู่ประจำ ต่อมาพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ก็ได้พาคณะพระเณรมาปรับปรุงถ้ำขามจึงน่าอยู่มาก และมีพระเณรอยู่รักษาเป็นประจำจนกระทั่งทุกวันนี้ ถ้ำแห่งนี้เหมาะแก่การปฏิบัติธรรมเป็นอย่างมาก ถ้ำแห่งนี้เคยเป็นที่พำนักพักพิงของครูบาอาจารย์มาแล้วหลายรูป เช่น พระอาจารย์ขาว อนาลโน แห่งวัดถ้ำกลองเพล อุดรธานี และพระอาจารย์เทศก์ เทสฺรํสี ในช่วงบั้นปลายชีวิตของท่าน ท่านก็ได้มาพำนัก ณ ที่ถ้ำขามแห่งนี้จนกระทั่งมรณภาพ<o:p></o:p>
    หลวงปู่ท่านพักอยู่เพียงคืนเดียว รุ่งขึ้นท่านก็รีบเดินทางต่อ มุ่งไปทางอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ขณะนั้นอาการอาพาธจากไข้ป่าของหลวงปู่ก็ได้กำเริบขึ้นอีก หลวงปู่ก็พยายามอดทน และได้เดินทางออกวิเวกไปยังอำเภอหนองบัวลำภู ถิ่นกำเนิด ไปถึงป่าช้าบ้านบาม (วัดป่าศรีสว่างในปัจจุบัน) หลวงปู่ได้พักรักษาตัวอยู่ที่ป่าช้าบ้านขาม (วัดป่าศรีสว่าง) ประมาณหนึ่งเดือนอาการป่วยจึงหายเป็นปกติ ก็ออกตามหาพระอาจารย์คำภา เพื่อนธุดงค์คู่ทุกข์คู่ยาก จนในที่สุดก็ได้พบกันที่วัดป่าบ้านบก ก็ได้พากันออกวิเวกไปตามหมู่บ้านต่าง ๆ เพื่อปฏิบัติธรรมและอบรมประชาชน โดยแวะพักหมู่บ้านละคืนสองคืนเรื่อยไป และมุ่งหน้าไปทางจังหวัดเลยและเพชรบูรณ์ ซึ่งมากายไปด้วยภูเขา ถ้ำและเหว อันเหมาะแก่การปฏิบัติบำเพ็ญเพียร พอใกล้เข้าพรรษา (พรรษาที่ 9) หลวงปู่จำพรรษาที่วัดป่าบ้านหนองบัว พอออกพรรษา หลวงปู่ก็ได้ออกวิเวกไปหาพระอาจารย์คำภา ซึ่งจำพรรษาอยู่สำนักสงฆ์บ้านปากเหมือนใหม่ ต.ลานป่า อ.หล่มสัก ต่อมาหลวงปู่และคณะก็ตระเวนวิเวกและอบรมประชาชนไปตามที่ต่าง ๆ และประมาณเกือบ 15 วัน จะเข้าพรรษา ชาวบ้านน้ำเล็นมากราบขอพระไปอยู่จำพรรษาที่บ้านน้ำเล็น พระอาจารย์คำภาจึงตกลงในหลวงปู่ไปจำพรรษาอยู่ที่นั้น<o:p></o:p>
    เป็นอันว่า ปี 2489 (พรรษาที่ 10) หลวงปู่จำพรรษาอยู่ที่วัดป่าบ้านน้ำเล็น รวมแล้วหลวงปู่ท่านได้พำนักจำพรรษาอยู่ในเขตอำเภอหล่มสักติดต่อกันสองพรรษา<o:p></o:p>
    พรรษาที่ 11-13 (พ.ศ. 2490-2492) ครั้นพอได้เวลาออกพรรษา หลวงปู่ก็ออกจาริกธุดงค์ต่อ ได้ตั้งใจบำเพ็ญภาวนาและอบรมศีลธรรมแก่ญาติโยมตามเส้นทางที่ผ่านไปเท่าที่มีโอกาส ในระหว่างที่วิเวกนั้นท่านไปเพียงรูปเดียว หลวงปู่ได้ปรึกษากับพระอาจารย์คำภาว่า ปี 2490 นี้ จะขอให้ธุดงค์ ทางภาคเหนือ ดังนั้น ราวมต้นเดือนเมษายน ปี 2490 หลวงปู่ได้เดินทางมุ่งสู่ภาคเหนือ ท่านได้ไปพักอยู่ที่วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ อยู่หลายคืน เพื่อสืบเสาะหาวัดกรรมฐานที่อยู่ภายในจังหวัดเชียงใหม่ ก็ทราบว่ามีอยู่หลายแห่ง หลวงปู่ท่านจึงได้เริ่มต้นจากสำนักสงฆ์สันต้นเปา อำเภอสันกำแพง ท่านได้พักที่นี่หนึ่งเดือน และที่นี้เองหลวงปู่ได้พบตำราเล่มหนึ่ง คือโลกนิติคำกาพย์ ภาษาลาว และกาพย์ปู่สอนหลาน ซึ่งประพันธ์ขึ้นโดยหลวงปู่เจ้าคุณอุบาลี คุณูปมาจารย์ จากนั้นหลวงปู่ท่านก็ย้ายไปพำนักอยู่เพื่อศึกษาธรรมกับหลวงปู่สิม พุทฺธจาโร แห่งวัดป่าโรงธรรมสามัคคี อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ และในปี พ.ศ.2490 หลวงปู่จึงได้จำพรรษาที่วัดป่าโรงธรรมสามัคคี (พรรษาที่ 11) ในพรรษานี้หลวงปู่ตั้งสัจจะ จะไม่นอนทอดหลังจนตลอดภายในพรรษา ผลของการปฏิบัติภาวนาของหลวงปู่ในพรรษานี้มีความก้าวหน้าอย่างมาก ท่านทำความเพียรได้มากขึ้นจนเป็นที่น่าพอใจ<o:p></o:p>
    ในราวเดือนธันวาคมของปี พ.ศ.2490 หลวงปู่ได้ออกเดินทางจากวัดป่าโรงธรรมสามัคคี อำเภอสันกำแพง ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศใต้ ประมาณ 30 กิโลเมตร ท่านได้ออกวิเวกไปตามป่าในแถบนั้นเรื่อยไป หลวงปู่ท่านอยู่วิเวกในละแวกอำเภอสันป่าตอง ส่วนมากท่านก็จะพักปักกลดอยู่ตามป่าช้า จนถึงเดือนมิถุนายน 2491 ขณะที่ท่านพำนักอยู่ใกล้บ้านสันขะยอม ก็มีญาติโยมสนใจปฏิบัติฟังธรรมมาขอรับการอบรมจากท่านมาก เมื่อหลวงปู่ท่านพิาจารณาแล้วว่าในแถบนี้ เป็นสถานที่สัปปายะเหมาะแก่การเจริญภาวนา ญาติโยมสนใจภาวนาดี ท่านจึงได้สร้างกุฏิเล็ก ๆ ได้ 3 หลัง และศาลาโรงธรรม แล้วจึงตกลงใจอยู่จำพรรษา (พรรษาที่ 12 พ.ศ. 2491) ณ ที่นี้ ท่านอยู่ที่ป่าช้า บ้านสันขะยอมได้ 7 วัน ชาวบ้านพอทราบข่าว ก็มีศรัทธาหลั่งไหลมาฟังธรรมและชมบารมีหลวงปู่ทุกวัน ระยะแรกเข้าพรรษาไปได้ไม่กี่วัน คณะของท่านก็ได้ถูกพวกมารศาสนาผจญเอาอย่างหนัก พยายามเบียดเบียนรังแกสารพัดวิธี เพื่อให้คณะของท่านทนอยู่ไม่ได้ ต้องหนีไปจากที่นั่น เพราะไปขัดลาภสักการะของเขา อีกทั้งยังมีศีลาจารวัตรอันแตกต่าง ทำให้เกิดการเปรียบเทียบและช่องว่างขึ้นมา แต่คณะของท่านก็อดทนด้วยขันติตลอดมา โดยยึดมั่นอยู่ในศาสนธรรม ไม่มุ่งเบียดเบียนใคร มีแต่แผ่เมตตาและกระทำประโยชน์ให้เกิดแก่หมู่ชนเท่านั้น<o:p></o:p>
    เมื่อป่าช้าบ้านสันขะยอมไม่ใช่สถาน ที่ ๆ สัปปายะอีกต่อไปแล้ว ทั้งยังคับแคบเนื่องจากขณะนั้นมีญาติโยมมาขอฟังและปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่มากมาย ชาวบ้านสันขะยอมจึงเห็นพ้องต้องกันว่า ควรจะหาที่สร้างสำนักสงฆ์แห่งใหม่ และชาวบ้านหลาย ๆ คนเห็นว่า สวนมะม่วงและสวนลำใยซึ่งอยู่ไม่ห่างจากป่าช้าสันขะยอมมากนัก และเจ้าของที่ก็ได้ถวายที่ดินซึ่งเป็นสวนมะม่วงแห่งนั้นให้กับหลวงปู่ พร้อมกันนั้นชาวบ้านก็รวบรวมปัจจัยและมาช่วยสร้างสำนักสงฆ์กันอย่างมากมาย เพียงไม่กี่วันก็กลายเป็นสถานที่ที่เหมาะแก่การปฏิบัติภาวนา หลวงปู่สร้างเสร็จสมบูรณ์ภายในไม่ถึง 2 ปี เพราะญาติโยมที่นั่นเขาศรัทธาหลวงปู่มาก <o:p></o:p>
    เมื่อทุกอย่างพร้อมแล้ว หลวงปู่จึงได้ให้ชื่อสถานที่แห่งนี้ว่า สำนักสงฆ์
    อัมพวัน (ปัจจุบันคือวัดป่าเจริญธรรมนั่นเอง) และหลวงปู่ได้นิมนต์พระอาจารย์น้อย สุภโร เป็นประธานสงฆ์แทน ส่วนตัวหลวงปู่เองก็ออกวิเวกไปในอำเภอสันป่าตอง การวิเวกนั้นมักใช้ป่าช้าเป็นที่พำนักพักพิง เพราะเงียบสงัดดี แต่ละแห่งในเวลากลางคืนก็มักจะมีประชาชนไปฟังเทศน์ฟังธรรมกันมากมาย
    <o:p></o:p>
    เมื่อหลวงปู่ทราบว่า พระอาจารย์แว่น ธนปาโล ได้พาคณะไปบูรณะถ้ำพระสบาย ที่อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง มาประมาณ 6 เดือนแล้ว ท่านจึงได้ไปตรวจดูถ้ำที่นั่นและก็พอใจเป็นอย่างมาก แห่งเห็นว่าเหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรเป็นอย่างยิ่ง หลวงปู่จึงตัดสินใจอยู่จำพรรษา(พรรษาที่ 13 พ.ศ.2492) ที่นี้ และสาเหตุที่ถ้ำนี้ชื่อว่าถ้ำพระสบาย ก็เนื่องจากหลวงปู่สิม พุทฺธจาโร ท่านเป็นผู้ตั้งชื่อ โดยท่านปรารภว่าถ้ำนี้เย็นเงียบสงัด อากาศปลอดโปร่งทั้งกลางวันกลางคืน พระที่อยู่ก็รู้สึกสบาย ท่านจึงตั้งชื่อว่าถ้ำพระสบาย คนอื่นก็เรียกตาม ๆ กันมาจนถึงทุกวันนี้<o:p></o:p>
    พรรษาที่ 14-15 (พ.ศ. 2493-2494) ในวันแรม 8 ค่ำ เดือน 11 ทางวัดป่าสำราญนิวาสมีงานทอดกฐิน ทางวัดได้นิมนต์ให้คณะของหลวงปู่จากถ้ำพระสบายไปร่วมงานด้วย ระหว่างนี้หลวงปู่ท่านก็ไป ๆ มา ๆ ระหว่างถ้ำพระสบายกับวัดป่าสำราญนิวาส หลังจากเสร็จงานแล้ว หลวงปู่ก็ลาหลวงปู่แว่นและหลวงปู่หลวง เพื่อเดินทางไปเยี่ยมหลวงปู่เหรียญ ที่สำนักสงฆ์นันทวนาราม อำเภอเถิน หลวงปู่ไปช่วยบูรณะวัดร่วมกับพระอาจารย์เหรียญ ต่อมาจากนั้นอีก 15 ปี คณะกรรมการวัดก็ปรึกษากันและมีมติให้เปลี่ยนชื่อวัดจากเดิมคือวัดนันทวนาราม มาเป็นวัดสันติสุขาราม จนเท่าทุกวันนี้<o:p></o:p>
    ขณะที่หลวงปู่ได้พำนักอยู่ที่สำนักสงฆ์นันทวนารามนั้น ได้ทราบข่าวมาว่า ห่างจากอำเภอเถินไปประมาณ 10 ปิโลเมตร มีถ้ำสวยงามมากมาย หลวงปู่จึงเดินทางไปสำรวจ และพอใจในถ้ำแม่แก่งมาก และตั้งใจจะไปปฏิบัติธรรมที่ถ้ำนี้ หลวงปู่จึงได้ตัดสินใจว่าจะมาพัฒนาถ้ำแม่แก่ง และถ้ำใกล้เคียงให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม โดยมีชาวบ้านมากมายที่ศรัทธาหลวงปู่ มาช่วยกันสร้างที่พักชั่วคราวให้ตามริมฝั่งแม่น้ำแก่ง กลางคืนก็มีชาวบ้านพากันไปฟังเทศน์ ฝึกสมาธิ เป็นประจำ เมื่อหลวงปู่ปรับปรุงบันไดขึ้นสู่ถ้ำอินทร์โขงเรียบร้อยแล้ว ก็ย้ายขึ้นไปอยู่ถ้ำอินทร์โขง สำหรับเสนาสนะถ้ำอินทร์โขง หลวงปู่ท่านใช้เวลาบุกเบิกประมาณเกือบ 2 ปี จนมีกุฏิที่พักโยม ศาลาโรงธรรม ครบสมบูรณ์พอเป็นสถานที่บำเพ็ญสมณธรรม และอบรมสั่งสอนญาติโยมได้อย่างสะดวกสบาย ในระหว่างที่หลวงปู่มาอยู่ที่นี้ ก็มีญาติโยมออกมาปฏิบัติฟังธรรมมากมาย ซึ่งก็บรรลุวัตถุประสงค์ในการมาของท่านจริง ๆ เป็นอันว่า หลวงปู่ได้จำพรรษาที่ 14 ที่ถ้ำอินทร์โขง ซึ่งตรงกับปี พ.ศ.2493 และขณะที่หลวงปู่พักอยู่ที่ถ้ำอินทร์โขงนั่นเอง ก่อนออกพรรษาไม่นาน ท่านได้อาพาธเป็นไข้ป่าอีกครั้ง อาการหนักมาก ไม่ว่าจะรักษาประการใดอาการก็ไม่ดีขึ้น หลวงปู่จึงได้สัตตาหะไประหว่างพรรษา เพื่อความสะดวกในการรักษา จึงได้ไปพักที่วัดอุ่มลองในอำเภอเถิน ใกล้คลีนิคหมอผู้เป็นเจ้าของไข้ อาการก็ทุเลาลงมาก เมื่อครบ 7 วัน คือครบสัตตาหะ จึงต้องกลับถ้ำอินทร์โขง เพื่อประกอบพิธีออกพรรษาแล้วอาการก็ยังไม่ดีขึ้น ประกอบกับมีอาการหัวใจเต้นไม่ปกติควบคู่กันด้วย เมื่อหมอแนะว่าไข้หนักและมีโรคแทรกซ้อนด้วย จึงควรไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลใหญ่ที่เชียงใหม่ หลวงปู่จึงได้ออกจากถ้ำอินทร์โขงมุ่งไปแวะพักที่สำนักสงฆ์นันทวนาราม อำเภอเถิน พักอยู่ 4-5 วัน ก็ออกเดินทางต่อไปพักอยู่ที่วัดเจริญธรรม อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ พักรักษาตัวอยู่ 4-5 เดือน อาการโรคหายเกือบปกติ<o:p></o:p>
    ขึ้นปี 2494 คณะญาติโยมจากอำเภอเถิน จึงตามมานิมนต์ให้กลับไปอยู่จำพรรษา (พรรษาที่ 15) ที่วัดนันทวนาราม หรือวัดสันติสุขาราม ในปัจจุบัน ซึ่งหลวงปู่ท่านก็รับนิมนต์ ในพรราาท่านได้บำเพ็ญเพียรอย่างเต็มที่ พอออกพรรษาในปี พ.ศ.2494 หลวงปู่และเพื่อสหธรรมิกก็ได้ออกธุดงค์แสวงหาวิเวกเช่นเคย โดยวิเวกไปทางใต้ ผ่านบ้านนาเกลือ บ้านสันต้นขิง จนกระทั่งถึงอำเภอแม่พริก แล้วจึงกลับไปพักอยู่ที่วัดนันทวนารามตามเดิม<o:p></o:p>
    พรรษาที่ 16-32 (พ.ศ.2495-2511) ขึ้นปี พ.ศ.2494 พระอาจารย์แส่ว (กุศล) กุสลจิตฺโต พร้อมด้วยญาตโยมจากอำเภอหล่มเก่า ไปนิมนต์หลวงปู่ถึงอำเภอเถิน เพื่อให้หลวงปู่ไปช่วยก่อสร้างสำนักสงฆ์ที่อำเภอหล่มเก่า เดือนกุมภาพันธ์ท่านจึงออกเดินทาง สถานที่ที่จะสร้างสำนักสงฆ์นั่นเป็นเนินเล็ก ๆ อยู่ทางทิศตะวันออกของหล่มเก่า ซึ่งก็มีพวกต่อต้านสร้างปัญหาไม่เว้นแต่ละวัน จนญาติโยมที่มาช่วยงานต่างก็ท้อแท้ไปตาม ๆ กัน ถึงกระนั้นก็ยังมานะพยายามสร้างจนแล้วเสร็จ จนสามารถทำให้สำนักสงฆ์นฤมลวัฒนาเกิดขึ้นที่หล่มเก่า เมื่อปี พ.ศ.2495 ในเนื้อที่ 18 ไร่<o:p></o:p>
    เมื่อสำนักสงฆ์แห่งนี้เสร็จตามประสงค์แล้ว หลวงปู่ได้อยู่จำพรรษา ณ ที่แห่งนี้เป็นเวลา 3 พรรษา ติดต่อกัน โดยมิได้ย้ายไปวิเวก ณ ที่แห่งใดเลย และดูเหมือนว่าหลวงปู่จะชอบสถานที่แห่งนี้เป็นพิเศษ จึงเป็นอันว่าหลวงปู่ได้มาสร้างมาพัฒนาวัดนฤมลพัฒนาเป็นเวลา 3 ปี (พ.ศ. 2495-2497) ศาลาการเปรียญหลังเก่านั้น สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2496 ส่วนศาลาอเนกประสงค์หลังใหม่ สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2539 ซึ่งสร้างพร้อมกับปโมทิตะเจดีย์ ที่หนองบัวลำภู ครั้นเมื่อออกพรรษาปี พ.ศ. 2497 หลวงปู่ก็หวนคิดถึงถิ่นมาตุภูมิ หลวงปู่จึงได้เดินทางกลับมาตุภูมิ โดยไปพักที่ป่าช้าศรีสว่าง (ป่าช้าบ้านขาม) ตำบลบ้านขาม อำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี<o:p></o:p>
    พรรษาที่ 19-24 (พ.ศ.2498-2503) ท่านพักอยู่ที่ป่าช้าศรีสว่างประมาณ 2-3 ปี (พรรษาที่ 19-20) ก็ได้ทราบข่าวจากเพื่อนสหธรรมิกของท่านว่า ท่านพ่อลี ธมฺมโร ได้ไปสร้างวัดพัฒนาเสนาสนะอยู่ที่จังหวัดสมุทรปราการ ชื่อวัดอโศการาม หลวงปู่ท่านเคารพนับถือท่านพ่อลีเป็นเสมือนครูบาอาจารย์ และเคยอยู่ร่วมปฏิบัติกับท่านพ่อลี ไม่ว่าจะเป็นที่ห้วยน้ำริน จังหวัดเชียงใหม่ วัดนฤมล หล่มเก่า และภูกระดึง และนอกจากจะทราบว่าท่านพ่อลีไปสร้างวัดอโศการาม ท่านยังทราบอีกว่าท่านจะจัดงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ อย่างใหญ่โตมโหฬารในปี พ.ศ.2500 รับสมัครผู้บวชเณร 5,000 กว่าคน บวชพราหมโณ พราหมณี 5,000 คน หลวงปู่จึงตัดสินใจไปร่วมงานในครั้งนี้ด้วย เพราะคิดว่าคงมีพระอาจารย์ผู้มีชื่อเสียง ไปร่วมในงานใหญ่โตมโหฬารเช่นนี้มากมาย เรียกว่าเป็นงานประวัติศาสตร์ซึ่งหาจัดและดูได้ยากยิ่ง ดังนั้นในปี พ.ศ. 2500 นี้เอง หลวงปู่จึงได้อยู่จำพรรษากับท่านพ่อลีที่วัดอโศการาม ครั้นออกพรรษาแล้ว คณะญาติโยมจากอำเภอเถินก็ตามมานิมนต์หลวงปู่ถึงวัดอโศการาม เพื่อกลับไปอยู่ที่วัดนันทวนารามอีก ซึ่งหลวงปู่ก็รับนิมนต์ เป็นวันว่าปี พ.ศ. 2501 หลวงปู่ก็กลับมาจำพรรษาที่วัดนันทวนาราม อำเภอเถิน ให้การอบรมแก่ญาติโยมและพระเณร โดยเน้นหนักทางด้านการปฏิบัติ<o:p></o:p>
    ต่อมาในปี พ.ศ. 2502 หลวงปู่จึงได้ย้ายมาจำพรรษาที่วัดนฤมลวัฒนา ได้พัฒนาและจัดสร้างเสนาสนะที่ค้างอยู่จนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีเป็นที่น่าพอใจ และพอจวนจะเข้าพรรษาในปี พ.ศ. 2503 หลวงปู่จึงเดินทางมาพักจำพรรษาที่วัดอโศการามอีกครั้งหนึ่ง<o:p></o:p>
    พรรษาที่ 25-29 (พ.ศ.2504-2508) ครั้นในปี พ.ศ. 2504 และ 2505 หลวงปู่ได้กลับไปจำพรรษาที่วัดนฤมลวัฒนา คราวนี้หลวงปู่ท่านเร่งพัฒนาทั้งทางวัตถุและบุคคล ที่ว่าวัตถุนั้นคือท่านพัฒนาเสนาสนะภายในวัดในส่วนที่ท่านยังทำค้างคาอยู่ และด้านบุคคลคือท่านอบรมสั่งสอนชาวบ้านโป่งตูม และหมู่บ้านใกล้เคียง เน้นการเจริญภาวนา อีกทั้งเรื่องไตรสิกขา ซึ่งเป็นแนวทางเดียวกันกับหลวงปู่มั่นทุกประการ จากนั้นหลวงปู่ท่านได้กลับไปวัดป่าศรีสว่าง จังหวัดอุดรธานี ในราวต้นปี พ.ศ.2506 เพื่อรวมงานฉลองศาลาการเปรียญ เมื่อเสร็จงานหลวงปู่จึงได้ชักชวนหลวงปู่อ่อนสี จุนฺโทวัดบ้านอูบมุง(วัดป่ารัตน
    มงคล) อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี ไปวิเวกปฏิบัติธรรมทางจังหวัดหนองคาย ได้ไปแวะพักที่วัดอรัญญวาสี ในเขตอำเภอท่าบ่อ ซึ่งวัดนี้ท่านหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น และครูบาอาจารย์ในสายกรรมฐานอีกหลายรูปเคยมาพำนักปฏิบัติธรรมอยู่ที่วัดนี้ จึงเป็นอันว่าหลวงปู่ท่านพำนักอยู่ที่วัดอรัญญวาสี ถึง 3 พรรษาติดต่อกัน คือ พ.ศ. 2506-2508 หลังจากออกพรรษาในปี พ.ศ. 2508 แล้ว หลวงปู่ก็ได้ออกธุดงค์วิเวกในแถบอำเภอใกล้เคียง คือ อำเภอบ้านผือ อำเภอศรีเชียงใหม่ อยู่ประมาณ 2-4 เดือน แล้วจึงกลับมาพักอยู่ที่วัดอรัญญวาสี อีกระยะหนึ่ง
    <o:p></o:p>
    พรรษาที่ 30-32 (พ.ศ. 2509-2511) ในช่วงกลางปี พ.ศ. 2509 หลวงปู่ตัดสินใจจะเข้าอยู่กรุงเทพฯ โดยการชักชวนของเพื่อนพรหมจรรย์ ที่เคยร่วมทุกข์ร่วมยากกันมา ในที่สุดหลวงปู่ก็ตัดสินใจเข้าอยู่จำพรรษาที่วัดธรรมมงคล พระโขนง กรุงเทพฯ กับเจ้าคุณวิริยังค์ ซึ่งในอดีต หลวงปู่เคยอยู่ด้วยที่วัดป่าบ้านโคกนามน ตำบลตองโขป จังหวัดสกลนคร โดยขณะนั้นพระอาจารย์ใหญ่ หลวงปู่มั่น ภูริทต์โต เป็นประธานสงฆ์ ส่วนเจ้าอาวาสคือพระอาจารย์กงมา ส่วนวัดธรรมมงคล กรุงเทพฯ เพิ่งสร้างเมื่อปี พ.ศ.2506 หลวงปู่ได้จำพรรษาที่วัดนี้เมื่อปี พ.ศ.2509 และหลังจากออกพรรษาในปี พ.ศ.2511 แล้ว หลวงปู่จึงได้เดินทางไปประเทศอินเดีย ในวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ.2511 เพื่อไปสถานที่ต่าง ๆ ที่พระพุทธเจ้าเคยประทับ นับเป็นการเดินทางที่หลวงปู่ประทับใจมิรู้ลืมจนกระทั่งทุกวันนี้<o:p></o:p>
    พรรษาที่ 33-ปัจจุบัน (พ.ศ.2512-ปัจจุบัน) หลวงปู่อยู่ที่วัดธรรมมงคลเพียง 3 ปี (พ.ศ.2509-2511) พอปี พ.ศ.2512 ได้มีผู้ใจบุญถวายที่ดินจำนวน 6 ไร่ กับอีก 33 วา แก่พระเทพเจติยาจารย์ (ท่านเจ้าคุณวิริยังค์ สิรินฺธโร) หลวงพ่อวิริยังค์จึงให้หลวงปู่มาช่วยสร้างวัดสิริกมลาวาส (วัดใหม่เสนา) ในที่ดังกล่าว และขอร้องให้มาอยู่ เดิมทีนั้นหลวงปู่ได้มาสร้างวัดสิริกมลาวาส ในฐานะรักษาการเจ้าอาวาส ต่อมาเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2517 ท่านก็ได้รับพระราชทานแต่งตั้งสมณศักดิ์ เป็นพระครูสามัญที่ “พระครูปราโมทย์ ธรรมธาดา” พร้อมกันนั้นท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดสิริกมลาวาส โดยถูกต้อง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ พระบรมราชินีนาถ อีกทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธียกช่อฟ้า และตัดหวายลูกนิมิตในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2517 เวลา 16.19 น.<o:p></o:p>
    ต่อมาในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2519 ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ และในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2535 ท่านก็ได้รับการพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูชั้นสัญญาบัตรพัดยศในทินนามเดิม คือ พระครูปราโมทย์ธรรมธาดา ถึงแม้ว่าหลวงปู่ท่านจะไม่ค่อยถนัดในงานด้านคันถธุระมากนัก แต่ท่านก็ได้เพียรพยายามปฏิบัติหน้าที่ตลอดมาจนเป็นที่ยอมรับของพระภิกษุสามเณรและฆราวาสทั่วไป ส่วนทางด้านวิปัสสนาธุระนั้น ท่านก็มิได้ทิ้ง คงส่งเสริมให้มีการปฏิบัติกรรมฐานทุกวันในช่วงเวลาค่ำ หลังจากที่ได้สวดมนต์ทำวัตรเย็นกันเสร็จแล้ว โดยจะเริ่มในเวลาประมาณ 19.00 น. เรื่อยไปจนถึงเวลา 21.00 น. โดยที่หลวงปู่ท่านจะเป็นผู้นำพาญาติโยมปฏิบัติธรรมทุกวัน เว้นแต่เหตุจำเป็นและอาพาธ ซึ่งเป็นความเมตตาอย่างหาประมาณมิได้โดยแท้<o:p></o:p>
    ***************<o:p></o:p>
    ปกิณกะธรรมหลวงปู่หลอด ปโมทิโต

    ๑. อย่าถือวิสาสะ ให้รู้จัก กาล เวลา บุคคล และ สถานที่

    ๒. ความรักลูกเหมือนห่วงผูกคอ

    ความรักสิ่งของเหมือนปอผูกศอก
    ความรักไร่นาสาโทเหมือนปลอกสวมตีน
    ใครแก้สามอย่างนี้ไปนิพพานได้

    ๓. มีศิษย์คนหนึ่งเรียนถามปัญหาหนึ่งกับหลวงปู่ว่า

    "
    หลวงปู่ครับเคยมีฝรั่งที่ผมเคยเรียนภาษาอังกฤษด้วยเขาเป็นหมอสอนศาสนาคริสต์ เขาเคยถามผมว่าจิตเดิมมาจากไหน และสุดท้ายเขาก็ยัดเยียดความคิดให้ผมว่าพระเจ้าสร้างจิต แต่ผมไม่ยอมรับครับ ผมอยากทราบว่าจิตเดิมมาจากไหนครับหลวงปู่ ?"

    หลวงปู่ตอบว่า "จิตเดิม พระพุทธเจ้าท่านบอกว่ามาจากความไม่รู้ คือ อวิชชา ความไม่รู้นั่นแหละเป็นตัวพาให้มันมาเกิด เมื่อเกิดมาแล้วก็ทำให้มันรู้ซะ จะได้ไม่ต้องมาเกิดอีก จำไว้ว่ามันเกิดจากอวิชชาทั้งนั้น ทั้งโลภ โกรธ หลง จำไว้นะให้ตอบเขาแบบนี้นะ"

    ๔. คนฉลาดอยู่กับที่ สู้คนโง่เที่ยวไปที่ต่างๆ ไม่ได้

    ๕. มีศิษย์คนหนึ่งเรียนถามปัญหาหนึ่งกับหลวงปู่ว่า

    "
    หลวงปู่ครับ พระอริยเจ้าเวลาท่านเข้านิโรธสมาบัติ ท่านจะบอกผู้คนไหมครับ"

    หลวงปู่เมตตาตอบว่า "ไม่หรอก ถ้าท่านบอก ก็จะบอกกับโยมที่ใส่บาตรว่า โยมไม่ต้องมาใส่บาตรนะ อีก ๗-๘ วัน อาตมาจะพักผ่อน"

    ลูกศิษย์ถามต่อไปว่า "อย่างนี้แปลว่า พระอริยเจ้าเวลาท่านเข้านิโรธสมาบัติ ท่านไม่บอกใช่ไหมครับ"

    หลวงปู่ตอบว่า "เพิ่นบ่อบอกดอก"

    ๖. มีลูกศิษย์หลวงปู่คนหนึ่งซึ่งมีรูปร่างใหญ่ เรียนถามหลวงปู่ว่า

    "
    หลวงปู่ครับ เวลานั่งภาวนานานๆ ยิ่งปวดขึ้น เป็นเพราะร่างกายเราใหญ่โตหรือเปล่าถึงทำให้ปวดเมื่อยถึงขนาดนี้ อยู่ที่ร่างกายสังขารคนด้วยหรือเปล่าครับ" หลวงปู่ตอบว่า "ไม่เกี่ยวหรอก กิเลสลากไปให้คิดว่าเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ ลองใหม่ดูสิ เริ่มตั้งแต่ตอนนี้เลยนะ"

    ๗. มีลูกศิษย์หลวงปู่คนหนึ่งเรียนถามหลวงปู่ว่า

    "
    หลวงปู่ครับ การปฏิบัติแบบรูป - นาม กับการปฏิบัติแบบพระป่า เหมือนกันไหมครับ"

    หลวงปู่เมตตาตอบว่า "เหมือนกันอเมริกาหรือเมืองไทยอยู่ใต้ฟ้าเดียวกัน การปฏิบัติก็เหมือนกัน อริยสัจตัวเดียวกัน"

    ๘. มีพระรูปหนึ่งเรียนถามหลวงปู่ว่า

    "
    หลวงปู่ครับ จิตของพระอรหันต์เวลาว่างท่านคิดอะไรครับ"

    หลวงปู่ตอบว่า "ไม่คิดอะไรทั้งนั้น คิดแต่วิหารธรรมอย่างเดียว"

    พระรูปนั้นถามย้ำว่า "มีแต่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เท่านี้ หรือครับหลวงปู่"

    หลวงปู่ตอบว่า "อืม... กิเลสบ่อมีทางแทรกแซงได้เลย"

    ๙. ในแต่ครั้งมักมีผู้มาเรียนปรึกษาปัญหาต่างๆ กับหลวงปู่ แม้กระทั่งเรื่องปัญหาในครอบครัว การหย่าร้าง หลวงปู่ท่านจึงเทศน์ชี้ทางดับปัญหานี้ "เอาล่ะ เราจะเทศน์ให้ฟังเป็นคุณธรรมสำหรับ คนมีครอบครัว ผู้อยู่ร่วมกันอย่างไรมันก็ต้องกระทบกันบ้างเป็นธรรมดา มนุษยธรรม ๔ ข้อ สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ

    สัจจะ คือ ความซื่อตรง จริงใจต่อกัน ไว้วางใจกัน ไม่คิดว่าเขาจะนอกใจเรา ไม่คิดว่าเขาจะไปมีบ้านเล็กบ้านน้อย ให้อิสระแก่กัน เชื่อในเกียรติของกันและกัน ไม่ทำให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทุกข์ใจ ถ้ามีสัจจะต่อกันก็ไม่ต้องทะเลาะกัน

    ทมะ คือ ความอดกลั้นอารมณ์ ระงับอารมณ์ คนโกรธ โกรธเพราะไม่รู้จักระงับอารมณ์ คนเราอยู่ด้วยกัน ถ้าปล่อยให้อารมณ์เป็นใหญ่บ้านก็แตก มันก็อยู่ด้วยกันไม่ได้ คิดบ้างหรือเปล่าว่าลูกเต้าจะเป็นอย่างไร

    ขันติ ความอดทน ทนลำบาก ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน รักใคร่ปรองดองกัน จะยากจะจนก็ทนกัน อย่าเอาความลำบากเป็นอารมณ์ อดทนต่อสิ่งที่เราไม่ชอบ เช่าเขากินเหล้าใช่ใหม เราบอกให้เขาเลิก เขาไม่เลิก (เหล้า) เราก็ทนสู้ เพื่อลูก คิดดูให้ดี ถ้าเราอดทน แล้วปัญหาก็จะไม่เกิด ถ้าเกิดก็น้อยมาก

    จาคะ คือ การบริจาค ในที่นี้ไม่ใช่การบริจาคเงินทองอย่างเดียวนะ บริจาคกิเลสตัณหา ความโกรธ ความหึงหวงออกไป ไม่ใช่ตระหนี่ถี่เหนียวเอาความมีกิเลสตัณหาไว้ เมื่อโกรธก็บริจาคออกไป นี่แหละถ้าทำได้ทั้ง ๔ ข้อ ไม่ว่าที่ไหนก็ไม่ทะเลาะกัน นี่รักษาศีล ๕ ได้ไหม

    หลวงพ่อจะแถมให้ ถ้ารักษาไม่ครบ ๕ ข้อ ก็เอาแค่ ๒ ข้อ ก็พอ ข้อ ๓ กับ ข้อ ๕ ถ้าผิด ๒ ข้อนี้ ฆ่ากันได้นะ ไปยุ่งกับเมียเขา ผัวเขารู้โกรธเข้า ก็ฆ่านะซิ กินเหล้าพูดไม่เข้าหู ก็ฆ่ากันได้ แต่ถ้าจะว่า ๕ ข้อ ข้อใดบาปกว่ากัน ก็พอกันนั่นแหละ"

    ๑๐. การปฏิบัติธรรมกรรมฐาน ย่อมต้องมีศีลเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ หลายท่านที่สนใจปฏิบัติธรรมได้กราบเรียนถามธรรมะเพื่อการปฏิบัติ องค์หลวงปู่ท่านได้อธิบายไว้ว่า "ศีล ๕ นี้สำคัญ ศีล ๕ เป็นประธาน ศีลอื่นเป็นศีลบริวาร ศีล ๘ ศีล ๑๐, ๒๒๗ ข้อ ก็เป็นศีลบริวาร การปฏิบัติธรรมนั้นล้วนแต่ต้องประกอบด้วยศีลเป็นสำคัญ ศีล ๕ ขา ๒ แขน ๒ หัว ๑ จะฆ่าสัตว์ ก็เอาแขนทำ ขโมยของก็เอามือหยิบ ขาพาไป ผิดเมียเขา เอาทั้งกายทำ โกหกใช้ปากที่อยู่บนหัวพูด กินเหล้า ก็ใช้ปากกิน ถ้าศีลไม่บริสุทธิ์ ธรรมะปฏิบัติก็จะไม่เจริญ ปฏิบัติก็ไม่ไปไหน นี่สำหรับนักปฏิบัติ ศีลสำคัญมาก พึงรักษาไว้ให้ดี"<o:p></o:p>
     
  2. pump - อภิเตโช

    pump - อภิเตโช เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,202
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +6,803
    เพิ่มเติม โทรศัพท์ 02-570-8281. เส้นทางการเดินทาง ... คุณเรียกมอเตอร์ไซด์รับจ้างบอกเขา<WBR>นำทางไปวัดใหม่เสนา หรือวัดหลวงปู่หลอด ค่าจ้าง ๒๐ - ๓๐ บาท เขาจะนำทางให้ทุกคัน ...
    จาก ซอย ภาวนา นั่ง รถรับจ้าง 7 บาท ลงหน้าวัดเลยครับ
     
  3. sundav

    sundav เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    143
    ค่าพลัง:
    +115
    ขอก้มกราบแทบเท้าอุปัฌาชะ ด้วยความเคารพและอาลัย อย่างหาที่สุดมิได้
     

แชร์หน้านี้

Loading...