ปิด...อีกหนึ่งตำนานพระนักเคลื่อนไหวพระมหาดร.ต่วน สิริธมฺโม

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย paang, 16 สิงหาคม 2007.

  1. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    ปิด...อีกหนึ่งตำนานพระนักเคลื่อนไหว'พระมหาดร.ต่วน สิริธมฺโม'

    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width=567 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top></TD></TR><TR><TD class=Text_Story vAlign=top><!-- [​IMG][/IMG] [​IMG] ท่ามกลางกระแสความสับสนทางการเมืองเรื่องการลงประชามติรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับปี ๒๕๕๐ วงการศาสนาได้สูญเสียนักเผยแผ่และพระนักเคลื่อนไหวที่สำคัญอีกรูปหนึ่ง คือ พระมหาดร.ต่วนสิริธมฺโม (พิมพ์อักษร)



    ป.ธ.๕, พธ.บ., M.A.(Skt.),M.Phil., Ph.D. อดีตรองอธิการบดีฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแผ่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) และกรรมการบริหารศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทยได้มรณภาพลงอย่างสงบ ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี ด้วยโรคไตวาย เบาหวาน และน้ำท่วมปอด เมื่อเวลา ๑๕.๐๐น. วันเสาร์ที่๔ สิงหาคม ที่ผ่านมา
    ก่อนมรณภาพพระมหา ดร.ต่วนได้เดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๕๐ และอาพาธ จึงเข้ารับการรักษาที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และได้เดินทางกลับมารักษาตัวต่อที่เมืองไทย ตั้งแต่วันที่ ๑๖ กรกฎาคม ที่โรงพยาบาลสงฆ์ หลังจากนั้นได้ย้ายไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลรามาธิบดี
    หลังจากมรณภาพ เมื่อวันจันทร์ที่๖ สิงหาคม ๒๕๕๐ เวลา ๑๕.๓๐ น. สมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดสระเกศ ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เป็นประธานในพิธีพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ (เป็นกรณีพิเศษ)
    ทั้งนี้มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยญาติ และศิษยานุศิษย์ ได้ตั้งศพบำเพ็ญกุศล ณ วัดเทพนารี ซอยจรัญสนิทวงศ์๖๘ เขตบางพลัด กทม. จนถึงวันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๕๐ แล้วจะเก็บศพไว้ ๑๐๐ วัน เพื่อขอพระราชทานเพลิงศพในโอกาสต่อไป
    พระมหาดร.ต่วน เป็นพระนักเทศน์และพระนักเผยแผ่ที่มีชื่อเสียง ทั้งยังเป็นพระนักเคลื่อนไหวเพื่อปกป้องพระพุทธศาสนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ท่านได้สนับสนุนการเคลื่อนไหวของคณะสงฆ์มาโดยตลอด ท่านได้พูดถึงการเคลื่อนไหวของพระสงฆ์ไว้อย่างน่าคิดว่า
    "การออกมาเคลื่อนไหวของพระสงฆ์ก็อยู่ในพระวินัย ไม่ได้ทำอะไรที่เกินเลย ทุกอย่างของการเคลื่อนไหวก็อยู่ในความสงบเรียบร้อย แม้จะมีหลายฝ่ายออกมาวิจารณ์ว่า ไม่เหมาะสม ความรู้สึกที่ผ่านมาคิดว่า การออกมาเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องผลประโยชน์ให้ชาวพุทธ จึงเป็นเรื่องจำเป็น ยิ่งเป็นเรื่องแปลก หากไม่มีพระสงฆ์ออกมาเคลื่อนไหว กลุ่มคนที่ออกกฎหมายกลับไม่มีการแก้ไขไม่เช่นนั้นศาสนาพุทธของประเทศก็จะถูกครอบงำ หรือถูกทำลายจากคนบางกลุ่ม"
    ในกรณีที่พระสงฆ์ออกมาเคลื่อนไหวคัดค้านพ.ร.บ.จัดรูปที่ดินพระมหาดร.ต่วน ออกมาเปิดเผยข้อมูลบางส่วนว่า ถ้าพระสงฆ์เราไม่ออกมาเคลื่อนไหว มันก็ไม่แก้กฎหมาย เพราะกฎหมายที่ออกมาล้วนเอาเปรียบพระพุทธศาสนาตลอด ตัวอย่าง พ.ร.บ.จัดรูปที่ดิน ก็มีนักวิชาการนำเรื่องมาบอกอาตมาว่า การที่จะสร้างทางด่วนบริเวณถนนพระราม ๒ ผ่านไปถึงชะอำ หรือหัวหิน เป็นโครงการที่ตัดถนนผ่านวัดมากมาย และวัดจะต้องถูกเวนคืนที่ดินทั้งหมด แต่ที่ร้ายกว่านั้น ภาครัฐกลับตัดถนนหลบที่ตั้งของโรงแรมดังๆ
    แต่ใช่ว่าพระมหา ดร.ต่วน จะเห็นด้วยกับการเคลื่อนไหวของม็อบพระสงฆ์ทุกครั้งไป โดยเฉพาะม็อบต้านน้ำเมาท่านพูดไว้ว่าการต่อต้านธุรกิจน้ำเมา โดยยกข้ออ้างว่า ขัดต่อหลักธรรมคำสอนของศาสนานั้น จะต้องต่อต้านธุรกิจอื่นๆ ที่ขัดต่อหลักธรรมคำสอนของพระศาสนาด้วย และน่าจะเป็นปัญหาต่อสังคมรุนแรงมากกว่าด้วยซ้ำ การต่อต้านเจาะจงเฉพาะบริษัทใดบริษัทหนึ่ง มีความเสี่ยงที่ถูกตั้งข้อสงสัยว่า มีผลประโยชน์อื่นๆ แอบแฝง หรือมีใครอยู่เบื้องหลัง เป็นนายทุนในการเคลื่อนไหว
    อย่างไรก็ตามพระมหา ดร.ต่วน เคยพูดถึงเรื่องการสูญเสียพระผู้ใหญ่เป็นคติธรรมไว้อย่างน่าคิดว่า "การที่พระผู้ใหญ่มรณภาพหลายรูปในช่วงนี้ คงมีผลอยู่บ้าง ที่จะกระทบกระเทือนจิตใจของชาวพุทธ แต่ก็ขอให้อย่าลืมความเป็นจริง เรื่องการเกิดและดับ ซึ่งการมรณภาพแบบติดๆ กันของพระเกจิอาจารย์ พระเถระผู้ใหญ่ หากจะเปรียบกับฆราวาสก็เหมือนกับเพื่อนกลุ่มหนึ่ง รุ่นหนึ่ง พอแก่ชราก็ย่อมจะทยอยล้มหายตายจากไปตามกาลเวลา และสังขาร หากเคารพศรัทธาท่าน ก็ไม่ควรยึดติดกับสังขารที่สูญสลายไปของท่าน ทั้งนี้ ควรยึดถือหลักธรรมของแต่ละท่าน ที่ได้แนะนำสั่งสอนไว้ แล้วนำไปปฏิบัติตามจะดีกว่า การละสังขารของพระดังๆ ที่ปรากฏขึ้นบ่อยในระยะนี้ เป็นเสมือนหลักธรรมที่ชี้นำให้มนุษย์เห็นว่า ไม่ว่าใครก็ไม่สามารถหลีกพ้นจากกฎของธรรมชาติได้ แม้แต่พระพุทธเจ้าพระอรหันต์ ดังนั้นชาวพุทธไม่ควรยึดติดกับรูปลักษณ์ แต่ควรจะพิจารณาในหลักธรรมของพระเกจิอาจารย์ ที่ตนเลื่อมใสศรัทธา"


    ชาติภูมิ

    ดร.พระมหาดร.ต่วน สิริธมฺโม สิริรวมอายุ ๖๒ ปี พรรษา ๔๒ เคยดำรงตำแหน่งรองอธิการบดีฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแพร่มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นนักวิชาการ นักจัดรายการวิทยุ นักเผยแผ่ธรรมะ พิธีกร นักพูด นักเทศน์ที่มีชื่อเสียงรูปหนึ่งของคณะสงฆ์
    สำเร็จการศึกษา เปรียญธรรม ๕ ประโยค, พุทธศาสตรบัณฑิต(พธ.บ) จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, M.A. (ปรัชญา), M.A. (สันสกฤต), Ph.D. (ปรัชญา) จากBanaras Hindu University, Varauasi India สำเร็จหลักสูตรอบรมผู้บริหารการศึกษาระดับสูงเพื่อความเป็นเลิศจากมหาวิทยาลัยสงฆ์, อบรมนักเผยแผ่ธรรมะทางวิทยุกระจายเสียงกรมประชาสัมพันธ์
    ประวัติการทำงานเคยดำรงตำแหน่งรองคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย, อาจารย์คณะพุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระธรรมทูตสายประเทศอินเดีย, คณะอนุกรรมการเผยแผ่มหาเถรสมาคม, คณะอนุกรรมการจัดพิมพ์หนังสือเฉลิมพระเกียรติสำนักงานเอกลักษณ์ของชาติ, เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิฝ่ายวิชาการสำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง, เป็นกรรมการควบคุมและกรรมการตรวจวิทยานิพนธ์สถาบันการศึกษาต่างๆ ประสบการณ์เคยศึกษาและค้นคว้าพุทธสถานที่ประเทศอินเดีย๑๑ ปี, เป็นตัวแทนมหาวิทยาลัยไปร่วมประชุมเอ็นจีโอ เพื่อรอมชอมเขมรหลายฝ่ายที่ Berkley University USA, ได้รับอาราธนาไปบรรยายธรรมที่ยุโรป๖ ประเทศ อาทิ เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี ฝรั่งเศส เบลเยียม ฯลฯ, เป็นผู้เจรจาเพื่อความสงบวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๓๕, วิชาที่เชี่ยวชาญพุทธศาสนากับการประชาสัมพันธ์, ภาษาต่างประเทศ(อังกฤษฝรั่งเศส เขมร ฮินดี เยอรมัน), การเผยแผ่ธรรมทางวิทยุโทรทัศน์
    เรื่อง ไตรเทพ ไกรงู

    -->
    [​IMG]



    ท่ามกลางกระแสความสับสนทางการเมืองเรื่องการลงประชามติรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับปี ๒๕๕๐ วงการศาสนาได้สูญเสียนักเผยแผ่และพระนักเคลื่อนไหวที่สำคัญอีกรูปหนึ่ง คือ พระมหาดร.ต่วนสิริธมฺโม (พิมพ์อักษร)


    [​IMG]


    ป.ธ.๕, พธ.บ., M.A.(Skt.),M.Phil., Ph.D. อดีตรองอธิการบดีฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแผ่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) และกรรมการบริหารศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทยได้มรณภาพลงอย่างสงบ ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี ด้วยโรคไตวาย เบาหวาน และน้ำท่วมปอด เมื่อเวลา ๑๕.๐๐น. วันเสาร์ที่๔ สิงหาคม ที่ผ่านมา

    ก่อนมรณภาพพระมหา ดร.ต่วนได้เดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๕๐ และอาพาธ จึงเข้ารับการรักษาที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และได้เดินทางกลับมารักษาตัวต่อที่เมืองไทย ตั้งแต่วันที่ ๑๖ กรกฎาคม ที่โรงพยาบาลสงฆ์ หลังจากนั้นได้ย้ายไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลรามาธิบดี
    หลังจากมรณภาพ เมื่อวันจันทร์ที่๖ สิงหาคม ๒๕๕๐ เวลา ๑๕.๓๐ น. สมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดสระเกศ ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เป็นประธานในพิธีพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ (เป็นกรณีพิเศษ)


    [​IMG]


    ทั้งนี้มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยญาติ และศิษยานุศิษย์ ได้ตั้งศพบำเพ็ญกุศล ณ วัดเทพนารี ซอยจรัญสนิทวงศ์๖๘ เขตบางพลัด กทม. จนถึงวันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๕๐ แล้วจะเก็บศพไว้ ๑๐๐ วัน เพื่อขอพระราชทานเพลิงศพในโอกาสต่อไป
    พระมหาดร.ต่วน เป็นพระนักเทศน์และพระนักเผยแผ่ที่มีชื่อเสียง ทั้งยังเป็นพระนักเคลื่อนไหวเพื่อปกป้องพระพุทธศาสนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ท่านได้สนับสนุนการเคลื่อนไหวของคณะสงฆ์มาโดยตลอด ท่านได้พูดถึงการเคลื่อนไหวของพระสงฆ์ไว้อย่างน่าคิดว่า

    "การออกมาเคลื่อนไหวของพระสงฆ์ก็อยู่ในพระวินัย ไม่ได้ทำอะไรที่เกินเลย ทุกอย่างของการเคลื่อนไหวก็อยู่ในความสงบเรียบร้อย แม้จะมีหลายฝ่ายออกมาวิจารณ์ว่า ไม่เหมาะสม ความรู้สึกที่ผ่านมาคิดว่า การออกมาเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องผลประโยชน์ให้ชาวพุทธ จึงเป็นเรื่องจำเป็น ยิ่งเป็นเรื่องแปลก หากไม่มีพระสงฆ์ออกมาเคลื่อนไหว กลุ่มคนที่ออกกฎหมายกลับไม่มีการแก้ไขไม่เช่นนั้นศาสนาพุทธของประเทศก็จะถูกครอบงำ หรือถูกทำลายจากคนบางกลุ่ม"


    [​IMG]


    ในกรณีที่พระสงฆ์ออกมาเคลื่อนไหวคัดค้านพ.ร.บ.จัดรูปที่ดินพระมหาดร.ต่วน ออกมาเปิดเผยข้อมูลบางส่วนว่า ถ้าพระสงฆ์เราไม่ออกมาเคลื่อนไหว มันก็ไม่แก้กฎหมาย เพราะกฎหมายที่ออกมาล้วนเอาเปรียบพระพุทธศาสนาตลอด ตัวอย่าง พ.ร.บ.จัดรูปที่ดิน ก็มีนักวิชาการนำเรื่องมาบอกอาตมาว่า การที่จะสร้างทางด่วนบริเวณถนนพระราม ๒ ผ่านไปถึงชะอำ หรือหัวหิน เป็นโครงการที่ตัดถนนผ่านวัดมากมาย และวัดจะต้องถูกเวนคืนที่ดินทั้งหมด แต่ที่ร้ายกว่านั้น ภาครัฐกลับตัดถนนหลบที่ตั้งของโรงแรมดังๆ
    แต่ใช่ว่าพระมหา ดร.ต่วน จะเห็นด้วยกับการเคลื่อนไหวของม็อบพระสงฆ์ทุกครั้งไป โดยเฉพาะม็อบต้านน้ำเมาท่านพูดไว้ว่าการต่อต้านธุรกิจน้ำเมา โดยยกข้ออ้างว่า ขัดต่อหลักธรรมคำสอนของศาสนานั้น จะต้องต่อต้านธุรกิจอื่นๆ ที่ขัดต่อหลักธรรมคำสอนของพระศาสนาด้วย และน่าจะเป็นปัญหาต่อสังคมรุนแรงมากกว่าด้วยซ้ำ การต่อต้านเจาะจงเฉพาะบริษัทใดบริษัทหนึ่ง มีความเสี่ยงที่ถูกตั้งข้อสงสัยว่า มีผลประโยชน์อื่นๆ แอบแฝง หรือมีใครอยู่เบื้องหลัง เป็นนายทุนในการเคลื่อนไหว อย่างไรก็ตามพระมหา ดร.ต่วน เคยพูดถึงเรื่องการสูญเสียพระผู้ใหญ่เป็นคติธรรมไว้อย่างน่าคิดว่า "การที่พระผู้ใหญ่มรณภาพหลายรูปในช่วงนี้ คงมีผลอยู่บ้าง ที่จะกระทบกระเทือนจิตใจของชาวพุทธ แต่ก็ขอให้อย่าลืมความเป็นจริง เรื่องการเกิดและดับ ซึ่งการมรณภาพแบบติดๆ กันของพระเกจิอาจารย์ พระเถระผู้ใหญ่ หากจะเปรียบกับฆราวาสก็เหมือนกับเพื่อนกลุ่มหนึ่ง รุ่นหนึ่ง พอแก่ชราก็ย่อมจะทยอยล้มหายตายจากไปตามกาลเวลา และสังขาร หากเคารพศรัทธาท่าน ก็ไม่ควรยึดติดกับสังขารที่สูญสลายไปของท่าน ทั้งนี้ ควรยึดถือหลักธรรมของแต่ละท่าน ที่ได้แนะนำสั่งสอนไว้ แล้วนำไปปฏิบัติตามจะดีกว่า การละสังขารของพระดังๆ ที่ปรากฏขึ้นบ่อยในระยะนี้ เป็นเสมือนหลักธรรมที่ชี้นำให้มนุษย์เห็นว่า ไม่ว่าใครก็ไม่สามารถหลีกพ้นจากกฎของธรรมชาติได้ แม้แต่พระพุทธเจ้าพระอรหันต์ ดังนั้นชาวพุทธไม่ควรยึดติดกับรูปลักษณ์ แต่ควรจะพิจารณาในหลักธรรมของพระเกจิอาจารย์ ที่ตนเลื่อมใสศรัทธา"


    ชาติภูมิ

    ดร.พระมหาดร.ต่วน สิริธมฺโม สิริรวมอายุ ๖๒ ปี พรรษา ๔๒ เคยดำรงตำแหน่งรองอธิการบดีฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแพร่มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นนักวิชาการ นักจัดรายการวิทยุ นักเผยแผ่ธรรมะ พิธีกร นักพูด นักเทศน์ที่มีชื่อเสียงรูปหนึ่งของคณะสงฆ์

    สำเร็จการศึกษา เปรียญธรรม ๕ ประโยค, พุทธศาสตรบัณฑิต(พธ.บ) จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช
    วิทยาลัย, M.A. (ปรัชญา), M.A. (สันสกฤต), Ph.D. (ปรัชญา) จากBanaras Hindu University, Varauasi India สำเร็จหลักสูตรอบรมผู้บริหารการศึกษาระดับสูงเพื่อความเป็นเลิศจากมหาวิทยาลัยสงฆ์, อบรมนักเผยแผ่ธรรมะทางวิทยุกระจายเสียงกรมประชาสัมพันธ์

    ประวัติการทำงานเคยดำรงตำแหน่งรองคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย, อาจารย์คณะพุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระธรรมทูตสายประเทศอินเดีย, คณะอนุกรรมการเผยแผ่มหาเถรสมาคม, คณะอนุกรรมการจัดพิมพ์หนังสือเฉลิมพระเกียรติสำนักงานเอกลักษณ์ของชาติ, เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิฝ่ายวิชาการสำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง, เป็นกรรมการควบคุมและกรรมการตรวจวิทยานิพนธ์สถาบันการศึกษาต่างๆ ประสบการณ์เคยศึกษาและค้นคว้าพุทธสถานที่ประเทศอินเดีย๑๑ ปี, เป็นตัวแทนมหาวิทยาลัยไปร่วมประชุมเอ็นจีโอ เพื่อรอมชอมเขมรหลายฝ่ายที่ Berkley University USA, ได้รับอาราธนาไปบรรยายธรรมที่ยุโรป๖ ประเทศ อาทิ เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี ฝรั่งเศส เบลเยียม ฯลฯ, เป็นผู้เจรจาเพื่อความสงบวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๓๕, วิชาที่เชี่ยวชาญพุทธศาสนากับการประชาสัมพันธ์, ภาษาต่างประเทศ(อังกฤษฝรั่งเศส เขมร ฮินดี เยอรมัน), การเผยแผ่ธรรมทางวิทยุโทรทัศน์

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ที่มา คมชัดลึก
     
  2. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,130
    พระดีไม่ไปไหน อยู่ในใจเสมอ
     

แชร์หน้านี้

Loading...